-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 170 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

สิ่งแวดล้อม





การปลูกใบบัวเกษตรอินทรีย์ฤดูหนาวบกในระบบ


          ใบบัวบกพืชร้อยสรรพคุณและยาอายุวัฒนะมีการปลูกเพื่อการค้าและส่งออกมากมาย ซึ่งในระบบการปลูกของเกษตรกรยังคงใช้เคมีเพื่อควบคุมศัตรูพืชและวัชพืช เมื่อผู้บริโภคนำมาใช้รับประทานหรือนำมาใช้เพื่อเป็นยาบรรเทาอาการทางโรคอาจได้ผลไม่เพียงพอ มิหนำซ้ำยังได้รับสารตกค้างเข้าสู่ร่างกายอีกด้วย และเพื่อให้ได้สรรพคุณทางยาที่สมบูรณ์ ทางสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตรสนับสนุนนักวิจัยปริญญาโท วิจัยการปลูกใบบัวบกในระบบเกษตรอินทรีย์เพื่อผลิตเป็นยาขึ้น 
 

        นายอนันต์ พิริยะภัทรกิจ กล่าวถึงผลของการวิจัยการผลิตใบบัวบกในระบบเกษตรอินทรีย์ให้ฟังว่า “การผลิตใบบัวบกในระบบเกษตรอินทรีย์มีวัตถุประสงค์เพื่อนำใบบัวบกไปผลิตเป็นยา ให้ได้สรรพคุณทางยาที่สมบูรณ์ปราศจากสารตกค้างเนื่องจากระบบการผลิตทางเคมี เพราะปัจจุบันการนำใบบัวบกมาผลิตยานั้นยังรับซื้อจากเกษตรกรทั่วไป ซึ่งเกษตรกรยังใช้สารเคมี เพื่อกำจัดศัตรูพืชและวัชพืช อีกประการใบบัวบกที่เกษตรกรปลูกมีหลากหลายสายพันธุ์ซึ่งแต่ละสายพันธุ์ก็จะให้สารเอเชียติโคไซด์ (Asiaticoside)  ซึ่งเป็นสารออกฤทธิ์ทางยาแตกต่างกัน ผมจึงคิดวิจัยขึ้น เพื่อคัดเลือกว่าสายพันธุ์ใดจะมีสารเอเชียติโคไซด์มากเพื่อจะสนับสนุนให้เกษตรกรปลูกต่อไป ซึ่งจากการวิจัยพบว่า พันธุ์ที่มีสารเอเชียติโคไซด์มากคัดเลือกจากใบบัวบกจำนวน 16 สายพันธุ์ทั่วประเทศ  ปรากฏว่ามีเพียง 4 สายพันธุ์ที่มีปริมาณสารเอเชียติโคไซด์มาก ได้แก่ สายพันธุ์ปราจีนบุรี

 

นครศรีธรรมราช, อุบลราชธานี และระยอง ในจำนวนนี้สายพันธุ์ปราจีนบุรีมีสารดังกล่าวมากที่สุด นอกจากนี้การวิจัยได้จำแนกพันธุ์ที่มีผลต่อฤดูกาลที่ผลิต ได้ผลออกมาดังนี้ การผลิตใบบัวบกในฤดูหนาว พันธุ์ปราจีนบุรีจะให้ผลผลิตดีกว่าพันธุ์อื่น ๆ สำหรับฤดูร้อนพันธุ์นครศรีธรรมราชและอุบลราชธานีจะให้ผลผลิตดี และฤดูฝน พันธุ์ระยองและอุบลราชธานีจะให้ผลผลิตดี จากการวิจัยจึงเป็นแนวทางว่าหากเกษตรกรเลือกพันธุ์ที่เหมาะสมกับฤดูกาลปลูกก็จะได้ผลผลิตดี คุ้มค่าต่อการลงทุน”
          สำหรับเทคโนโลยีการผลิตใบบัวบกในระบบเกษตรอินทรีย์ฤดูหนาวนั้น นายอนันต์ ได้อธิบายรายละเอียดให้ฟังว่า “ฤดูหนาวเป็นฤดูที่ใบบัวบกเจริญเติบโตได้ดีเพราะอากาศแห้งในตอนกลางวันและมีความชื้นสัมผัสในตอนกลางคืนสูง ที่เลือกระบบการผลิตฤดูหนาวมานำเสนอเพราะจากงานวิจัยชี้ให้เห็นผลชัดเจนว่าพันธุ์ปราจีนบุรี เป็นพันธุ์ที่ปลูกเลี้ยงเจริญเติบโตได้ดีที่สุด และยังเป็นพันธุ์ที่มีสารเอเชียติโคไซด์มากที่สุดด้วย จึงเหมาะกับการปลูกเพื่อนำมาผลิตเป็นยา โดยวิธีการปลูกนั้นเริ่มต้นจากการเตรียมแปลง คือยกร่องแปลงให้สูงเหนือดินเพื่อป้องกันความชื้นและน้ำขัง เพราะใบบัวบกเป็นพืชคลุมดินหากไม่ยกแปลงขึ้นเวลามีน้ำขังหรือความชื้นมากเกินไปอาจทำให้ใบเน่าหรือเกิดเชื้อราได้ สำหรับการปลูกในระบบเกษตรอินทรีย์คือการปลูกโดยไม่ใช้สารเคมีทุกชนิดแม้แต่ปุ๋ยเคมี ดังนั้นปุ๋ยเราจะใช้ปุ๋ยคอกคือมูลวัว และใช้ยากำจัดศัตรูพืชคือ สารสกัดจากสะเดา หรือสารสกัดจากปลู  สำหรับการปลูกในครอปแรกเมื่อเรายกแปลงเรียกร้อยแล้วให้ตากหน้าดินไว้ 1 สัปดาห์ จากนั้นจึงกลับหน้าดิน และตากดินไว้อีก 1 สัปดาห์ จากนั้นพรวนดินอีกครั้งเพื่อย้อยให้ดินแตก แล้วจึงนำปุ๋ยคอกผสมรวมในดินและพรวนอีกครั้ง หลังจากที่เตรียมแปลงพร้อมที่จะลงต้นกล้าแล้ว ให้นำต้นกล้า ซึ่งตัดต้นย่อยที่งอกออกจากไหลต้นจริงนำมาลงแปลงปลูก โดยระยะห่างที่ใช้ปลูกคือ 10 เซนติเมตร ในช่วงสัปดาห์แรกหลังจากนำต้นกล้าลงแปลงเรียบร้อยแล้วควรใช้แสลนพรางแสงให้บัวบกด้วย เนื่องจากแดดบ้านเราร้อนจัด ส่งผลให้ต้นกล้าที่ลงแปลงใหม่ๆใบไหม้และอาจเฉาตายได้ หลังจาก 1สัปดาห์เมื่อรากเดินดีแล้วให้นำแสลนออก สำหรับการให้น้ำสามารถให้น้ำได้ 2 วิธีคือ ระบบมินิสปริงเกอร์ ซึ่งเปิดให้น้ำเช้าและเย็น ช่วงละ 10-15 นาที หากเป็นการใช้สายยางเดินฉีดน้ำให้รดจนกว่าจะชุ่มเพราะใบบัวบกจะเจริญเติบโตได้ดีเพราะความชื้น(ห้ามแฉะ)ระยะการปลูกในฤดูหนาวจะเริ่มปลูกตั้งแต่ต้นเดือนพฤศจิกายน และเก็บผลผลิตปลายเดือนมกราคม”
          

          ผลผลิตได้ถึง 4,000-5,000 กิโลกรัม ราคาจำหน่ายใบบัวบกในฤดูหนาว หากจำหน่ายทั้งต้นทั้งไหล ราคากิโลกรัมละ 7-8บจะเห็นได้ว่าการปลูกใบบัวบกในระบบเกษตรอินทรีย์จะให้ปุ๋ยเพียงครั้งเดียวคือในช่วงเตรียมแปลงก่อนปลูกเท่านั้น ในระยะเวลาการเติบโตเราก็เพียงควบคุมวัชพืชโดยใช้แรงงานคนเดินถอนวัชพืชออกเพื่อเร่งให้ใบบัวบกโตเร็วขึ้น หลังจากที่ใบบัวบกคลุมหน้าดินได้ วัชพืชก็ไม่ขึ้นแล้ว ซึ่งต้นทุนเมื่อเทียบกับระบบเคมีจะถูกมาก สำหรับผลผลิตที่สามารถเก็บเกี่ยวได้ จากงานวิจัยนั้นอนันต์ เผยว่าในพื้นที่ 1ตารางเมตรสามารถเก็บผลผลิตได้เฉลี่ย 2-3 กิโลกรัม ดังนั้นพื้นที่ 1 ไร่ (รวมระยะห่างระหว่างแปลงคิดเป็นพื้นที่สูญเสีย)สามารถเก็บเกี่ยวาท หากจำหน่ายเฉบกในระบบเกษตรอินทรีย์จะให้ปุ๋ยเพียงครั้งเดียวคือในช่วงเตรียมแปลงก่อนปลูกเท่านั้น ในระยะเวลาการเติบโตเราก็เพียงควบคุมวัชพืชโดยใช้แรงงานคนเดินถอนวัชพืชออกเพื่อเร่งให้ใบบัวบกโตเร็วขึ้น หลังจากที่ใบบัวบกคลุมหน้าดินได้ วัชพืชก็ไม่ขึ้นแล้ว ซึ่งต้นทุนเมื่อเทียบกับระบบเคมีจะถูกมาก สำหรับผล จากงานวิจัยนั้นอนันต์ เผยว่าในพื้นที่ 1ตารางเมตรสามารถเก็บผลผลิตได้เฉลี่ย 2-3 กิโลกรัม ดังนั้นพื้นที่ 1ไร่ (รวมระยะห่างระหว่างแปลงคิดเป็นพื้นที่สูญเสีย) สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ถึง  4,000-5,000 กิโลกรัม  ราคาจำหน่ายใบบัวบกในฤดูหนาว หากจำหน่ายทั้งต้นทั้งไหล ราคากิโลกรัมละ 7-8บาท หากจำหน่ายเฉพาะใบ ราคากิโลกรัมละ 50-55 บาท วได้แม้งานวิจัยดังกล่าวจะอยู่ในขั้นสรุปผล แต่ก็เป็นแนวทางใเกษตรพาะใบ ราคากิโลกรัมละ 50-55 บาท  กว่าเพราะได้คัดพันธุ์ที่มีจำนวนสารออกฤทธิ์แล้วว่ามีปริมาณมากกว่าสายพันธุ์ทั่วไป นอกจากนี้ผลการวิจัยยังชี้ชัดว่าหากจะเห็นไผลิตที่สามารถเก็บเกี่ยอินทรีย์นั้นสามารถทำได้จริงและลดต้นทุนได้มากกว่าระบบเคมีถึง 80 %


      

         อีกทั้งผลผลิตที่ได้ยังให้สรรพคุณทางยาที่สมบูรณ์ด้ว่าการปลูกใบบัวบกเกษตรกรผู้ผลิตใบบัวบกได้ทราบว่า การผลิตใบบัวบกในระบบ  แม้งานวิจัยดังกล่าวจะอยู่ในขั้นสรุปผล แต่ก็เป็นแนวทางให้เกษตรกรผู้ผลิตใบบัวบกได้ทราบว่า การผลิตใบบัวบกในระบบเกษตรอินทรีย์นั้นสามารถทำได้จริงและลดต้นทุนได้มากกว่าระบบเคมีถึง80%อีกทั้งผลผลิตที่ได้ยังให้สรรคุณทางยาที่สมบูรณ์กว่าเพราะได้คัดพันธุ์ที่มีจำนวนสารออกฤทธิ์แล้วว่ามีปริมาณมากกว่าสายพันธุ์ทั่วไป นอกจากนี้ผลการวิจัยยังชี้ชัดว่าหากเกษตรกรเลือกพันธุ์ที่เหมาะสมกับฤดูกาลก็จะทำให้เกษตรกรได้ผลผลิตที่คุ้มค่ากว่า เกษตรกรท่านใดสนใจสามารถสอบถามหรือพูดคุยกับนักวิจัย นายอนันต์ พิริยภัทรกิจ โทร. 08-9147-2870
        ใบบัวบกเป็นยาเย็น กินระยะยาวเกินไปมีผลทำให้ความดันต่ำ ร่างกายเย็น แต่ถ้าใช้ยาร้อนเข้าคุมกัน เช่น บัวบก ๔ ส่วน + แห้วหมู ๒ ส่วน + พริกไทย ๑ ส่วน กลับเป็นยาอายุวัฒนะ ศาสตราจารย์ ลี ซุง ยุน คนจีน อายุ ๑๕๖ ปี มีภรรยา ๒๔ คน ทานใบบกเป็นประจำกับโสม โบราณว่า ทานใบบัวบกวันละ ๓ ใบ ๓ วัน เว้น ๓ วัน ช่วย เรื่องความจำแต่ก็
ให้โทษกับหญิงมีครรภ์
 

หลักการใช้
         ใบบัวบกดิบ ใช้ไม่เกิน ๒ ตำลึง (๑๒๐ กรัม) ใบบัวบกแห้ง ใช้ไม่เกิน ๓ เฉียน (๑๑.๒๕ กรัม) ใช้ภายนอกกะพอประมาณ
การใช้ใบบัวบกปรุงเพื่อบำรุงร่างกายและบรรเทาอาการต่าง ๆ
๑.   บำรุงสมอง  ขับปัสสาวะ นำใบบัวบกมาล้างน้ำให้สะอาด โขลกให้แหลกนำไปต้มกรองเอาแต่น้ำมาดื่ม หรือจะคั้นสด ผสมกับน้ำดื่มก็ได้ อาจเติมน้ำตาลทราย และ เกลือ นิดหน่อย ให้ชวนดื่ม ดื่มไปทุกวันๆละ ๑ แก้ว แก้อาเจียนเป็นเลือดคั้นเอาน้ำสดๆ ดื่ม ๓ เวลา เช้า - กลางวัน -เย็น
๒.   บำรุงหัวใจต้มดื่ม เช้า-เย็น ครั้งละ ๑ แก้ว  แบ่งเป็น 4 ขนาน คือ ขนานที่ 1 บัวบก 1 กำมือต้มรวมกับใบเตยหอมหั่นเป็นท่อน 1 กำมือ ขนานที่ 2 ใบบัวบก 2 กำมือ ต้มรวมกับรากกระชายสดหั่น 2 กำมือ ขนานที่ 3 ใบบัวบก 1 กำมือ ต้มรวมกับรากแฝกหอม 12 กรัม  ขนานที่ 4 ใบบัวบก 2 กำมือต้มรวมกับแก่นกฤษณา 15 กรัม
๓.   แก้ร้อนในกระหายน้ำ จะต้มหรือคั้นสดก็ได้ ดื่ม ๑ แก้ว เวลากระหายน้ำ
๔.  แก้ช้ำในนำใบบัวบกสะอาดสดมาโขลก แล้วคั้นเอาแต่น้ำมาดื่ม เช้า-เย็น ครั้งละ ๑ ถ้วยตะไล ไม่นานอาการช้ำในก็จะทุเลาลงไปเรื่อยๆ
๕.   ความดันโลหิตสูง ใบบัวบกต้มกับน้ำสะอาดดื่ม เช้า-เย็น ครั้งละ ๑ แก้ว เป็นเวลา ๕-๖ วัน แล้วลองวัดความดันโลหิตดู จะลดลงมาปกติ อาการของโรคจะหายได้ จากนั้นควรควบคุมเรื่องอาหาร กับการออกกำลังกายและอารมณ์
๖.  ลดอาการแพ้ผื่นคัน ปวดแสบ ปวดร้อน อักเสบได้ นำใบบกสะอาดมาตำให้ละเอียดพอกบริเวณที่แพ้ อักเสบ อาการที่เป็นจะค่อยๆทุเลาลง





 

ใบบัวบก

ชื่อวิทยศาสตร์ : Centella asiatica (Linn.) Urban.

         ชื่อวงศ์ : Umbelliferae

         ชื่ออังกฤษ : Asiatic pennywort

         ชื่อท้องถิ่น : ผักแว่น, ผักหนอก, ปะหนะ, เอขาเด๊าะ

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

บัวบกเป็นพืชล้มลุก ขึ้นเป็นกอติดดิน มีอายุหลายปี ลำต้นเลื้อยไปตามพื้นดิน แตกราก และใบตามข้อ ใบเดี่ยว รูปไตออกเป็นกระจุกตามข้อ ขอบใบหยัก ก้านใบยาว ดอกเดี่ยวหรือเป็นช่อเล็กๆ ประมาณ 3 - 4 ดอก ดอกสีม่วงแดง ผลแบน

การขยายพันธุ์

การปักชำ การเพาะเมล็ด ไหล ตัดแยกไหลที่มีต้นอ่อนและมีรากงอก นำไปปลูกในที่ชื้นแฉะ แต่ต้องมีแดดพอสมควรเป็นพืชที่ปลูกแล้วขึ้นง่าย

การปลูกใบบัวบก

ระบบรากของต้นบัวบกจะลึกประมาณ 1.5 - 2 เซนติเมตร บัวบกชอบดินที่มีความชุ่มชื้นสูงมากและชอบร่มเงา ต้นจะเจริญเติบโตและขยายพันธุ์ด้วยการแตกไหล ต้นบัวบกสามารถปลูกได้ตลอดปี มีอายุเก็บเกี่ยว 1 - 2 เดือน นิยมปักชำด้วยต้นอ่อนๆ ที่งอกจากไหลจะแพร่ขยายได้รวดเร็ว หลังจากต้นตั้งตัวได้แล้วให้ใส่ปุ๋ยยูเรีย สามารถปลูกได้ในกระถางและภาชนะอื่น

โรคแมลงที่สำคัญที่เกิดกับใบบัวบก

หนอนกัดกินใบ หนอนชนิดนี้จะกัดกินใบจนเหลือแต่ก้านใบ ถ้าระบาดมากจะทำความเสียหายทั่วแปลง ตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อกลางคืน ขนาดเล็ก ลำตัวยาวประมาณ 1.2 เซนติเมตร เมื่อกางปีกเต็มที่กว้างประมาณ 2 เซนติเมตร หัวสีน้ำตาล ลำตัวสีน้ำตาลอ่อน ปลายปีกหน้าและปีกหลังมีสีน้ำตาลอมเทา

การเก็บเกี่ยวใบบัวบก 

หลังจากปลูกประมาณ 60 - 90 วัน เริ่มเก็บเกี่ยวได้ ใช้เสียมเหล็กขุดเซาะบริเวณใต้ราก แล้วดึงเอาต้นบัวบกออกมาล้างน้ำ ทำความสะอาดเก็บใบเหลืองออก

ส่วนที่ใช้เป็นยาต้นและใบสด

ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา เก็บใบที่สมบูรณ์เต็มที่ ในลำต้นและใบมีสารที่สำคัญคือ กรดมาดีคาสสิค (madecassic acid), กรดเอเซียติก (asiatic acid) สารเหล่านี้ จะมีฤทธิ์ในการสมานแผล ช่วยในการฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดเชื้อเป็นหนองในได้อีกด้วย

ประโยชน์ในทางการรักษา

1. ใช้รักษาแผลสด แผลเรื้อรัง หรือแผลหลังผ่าตัด บัวบกจะช่วยลดอาการอักเสบ ช่วยให้แผลหายเร็ว และแผลเป็นมีขนาดเล็ก

2. ใช้รักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก

วิธีใช้….ใช้ใบบัวบกสดทั้งต้น 1 กำมือ ล้างน้ำให้สะอาด ตำให้ละเอียด เอาน้ำทาบริเวณที่เป็นแผลเป็นบ่อยๆ ใช้กากพอกด้วยก็ได้ จะช่วยลดอาการอักเสบและทำให้แผลหายเร็วขึ้น ปัจจุบันทดลองในรูปครีมของสารสกัดจากบัวบก 1 % ใช้ได้ดี  

3.แก้อาการฟกช้ำ ช่วยให้เลือดกระจายตัว ชาวจีนเชื่อกันว่า บัวบกแก้ฟกช้ำ แก้ช้ำใน ทำให้เลือดกระจายตัวหายฟกช้ำได้ดี แก้กระหายน้ำ และบำรุงร่างกายได้อีกด้วย

วิธีใช้

มักใช้ในรูปของผักสด และเตรียมเป็นเครื่องดื่ม ประเทศฝรั่งเศสมีการพัฒนายาจากบัวบก โดยทำในรูปของครีมทาแผล ยาผงโรยแผล ยาเม็ดรับประทาน พลาสเตอร์ปิดแผล และในรูปยาฉีด เพื่อใช้ในการรักษาแผลสด และแผลหลังผ่าตัด ในประเทศไทย มีผู้ทดลองเตรียม ครีมจากสารสกัดบัวบกเพื่อใช้ทาแผล และบริเวณฟกช้ำ ใช้รักษาได้ผลดี

ประโยชน์ทางยา

ส่วนที่ใช้เป็นยา ทั้งต้นสด ใบและเมล็ด ช่วงเวลาที่เก็บยาเก็บตอนที่ใบสมบูรณ์เต็มที่ สรรพคุณทางยารวมทั้งต้นสามารถแก้เจ็บคอได้ ทำให้มีความสดชื่น ชุ่มคอ แก้ช้ำในก็ดีมาก สามารถแก้ความดันโลหิตสูงได้อย่างดีทีเดียว เอกสารบางเล่นเขียนบอกไว้ว่า ช่วยป้องกันโรคความจำเสื่อมได้ด้วย

ผู้ใดที่เป็นความดันโลหิตสูง เมื่อดื่มน้ำบัวบกทุกๆวันเป็นประจำเพียง 1 สัปดาห์เท่านั้นก็จะทราบได้ทันทีว่าความดันโลหิตลดลงอย่างน่าพิศวงโดยไม่ต้องรับประทานยา ทั้งยังใช้บำรุงกำลัง บำรุงหัวใจ แก้อ่อนเพลีย กระหายน้ำ ขับปัสสาวะ รักษาบาดแผล แก้โรคปวดเมื่อย แก้โรคเรื้อน แก้กามโรค ตับอักเสบ ส่วนเมล็ดมีรสขมเย็น แก้บิด แก้ไข้ ปวดศรีษะ

 ขนาดและวิธีใช้รักษา

  • แผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก ใช้บัวบกทั้งต้นสด 1 กำมือ ล้างแล้วตำให้ละเอียด คั้นเอาน้ำทาบริเวณที่เป็น ผสมกับน้ำมันมะพร้าวทาวันละ 3-4 ครั้งจนหาย
  • รักษาแผลเก่าแผลเป็นให้หายได้ รักษาโรคเรื้อนกวาง นำบัวบกมาดองเหล้า 7 วัน เอายามาทาผิวหนังวันละ 3 ครั้ง
  • ผู้ที่เป็นโรคตับ ตับโต ตับอักเสบ ใช้ต้นสด 240-550 กรัม ต้มคั้นเอาน้ำขนาดชามใหญ่ดื่มทุกวัน
  • อาการร้อนในกระหายน้ำ อ่อนเพลีย ใช้น้ำคั้นจากใบสด ทำให้เจือจาง ปรุงรสด้วยน้ำตาลใส่น้ำแข็ง ดื่มเป็นเครื่องดื่มอาการดังกล่าวจะค่อยหายไป

การทดลองและวิจัยมีรายงานพอน่าเชื่อถือได้ ว่า………………………..

แก้ปวดเมื่อย เจ็บหน้าอก เจ็บหลัง เอว ใช้ต้นแห้งบดเป็นผงรับประทานวันละ3-4 กรัม แบ่งรับประทานเป็น 3 ครั้ง แก้ตับอักเสบใช้ต้นสด 120 กรัม ผสมน้ำ 500 มิลลิลิตร นำไปต้มให้เหลือ 250 มิลลิลิตร ใส่น้ำตาลกรวดลงไป 60 กรัม ขณะที่ยังร้อน แบ่งรับประทาน 2 ครั้ง ตอนท้องว่างติดต่อกัน 7 วัน เป็น 1 รอบของการรักษา

นอกจากนี้ใช้ใบบัวบกรักษาแผลเรื้อรัง แผลอักเสบได้ผลดี

ประโยชน์ทางอาหาร

ส่วนที่ใช้ใบและเถา รสกรอบมัน รับประทานเป็นผัก ปรุงเป็นเครื่องดื่มได้ ใบบัวบกเอาไปรับประทานกับก๋วยเตี๋ยวผัดไทยได้อย่างเอร็ดอร่อยเข้ากันได้ดีมาก ทานก๋วยเตี๋ยวผัดไทยไปพลางแกล้มด้วยใบบัวบกได้รสชาติที่ดีจริงๆหรือ ใช้เป็นผักแกล้มกับแกงเผ็ดทางใต้ หรือนำมาหั่นแกงกะทิกับกุ้งก็อร่อยเช่นกัน ที่นิยมกันมากคือน้ำใบบัวบกมีผู้ไปทำขายเป็นเครื่องดื่มมีกลิ่มหอมรสดี บวกกับความหวาน ความเย็นแสนจะชื่นใจ ราคาก็ไม่แพงอย่างที่คิด มีประโยชน์คับแก้ว แต่ไม่ควรนำสีมาผสม เพราะไม่ใช่สีธรรมชาติ อาจก่อให้เกิดอันตรายได้ เราควรทำน้ำใบบัวบกดื่มเองจะดีกว่า ง่าย สะดวกไม่ยุ่งยากซับซ้อน 

 

คุณค่าทางโถชนาการ ของ ใบบัวบก 100 กรัม ให้พลังงานต่อร่างกาย 44 กิโลแคลอรี่


ประกอบด้วยน้ำ


86.0 กรัม


คาร์โบไฮเดรด


7.1 กรัม


โปรตีน


1.8 กรัม


ไขมัน


0.9 กรัม


กาก


2.6 กรัม


แคลเซี่ยม


146 มิลลิกรัม


ฟอสฟอรัส


30 มิลลิกรัม


เหล็ก


3.9 มิลลิกรัม


วิตามินเอ


10,962 IU


วิตามินบี 1


0.24 มิลลิกรัม


วิตามินบี 2


0.09 มิลลิกรัม


ไนอาซีน


0.8 มิลลิกรัม


วิตามินซี


4 มิลลิกรัม


 


จะเห็นว่าบัวบกเป็นสมุนไพรที่มีสารสำคัญที่มีประโยชน์ในทางยา ทั้งยังมีคุณค่าทางอาหารสูง การใช้ใบบัวบกเป็นอาหารและเป็นเครื่องดื่มจึงดีกว่าซื้อยาบำรุงกำลังดื่มเสียอีก โดยเฉพาะมีวิตามินเอสูงมาก ควรรับประทานบ่อยๆเป็นประจำเพื่อสุขภาพของท่านจะได้แข็งแรงครับ

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก 

- คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

- สำนักงานข้อมูลสมุนไพร

- สมุนไพรดอทคอม

- โหระพาดอทคอม










สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-05-16 (6525 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©