-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 353 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

สิ่งแวดล้อม







มะเขือพวง

1.พันธุ์ มะเขือพวงที่ปลูกกันอยู่ส่วนมากเป็นพันธุ์พื้นเมืองซึ่งปลูกกันมานาน


2. การเตรียมดิน
ไถ หรือขุดดินตากไว้ประมาณ 7-10 วัน ใส่ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก เก็บวัชพืช พรวนดิน ยกร่องเป็นแปลงๆ หรือชักร่องสำหรับปล่อยน้ำไปตามร่องรอการปลูก


3. การเพาะกล้า
ขุดดินตากแดดประมาณ 10 วัน ย่อยดิน ใส่ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมักลงแปลง หว่านเมล็ดพันธุ์ โรยทับด้วยฟางข้าว รดน้ำให้ชุ่ม เช้า-เย็น จนกว่าเมล็ดพันธุ์งอก หรือเพาะในกะบะเพาะ เมื่อกล้ามีใบจริงประมาณ 3-4 ใบ ก็นำไปปลูกได้จะทำให้ต้นกล้าตั้งตัวได้ดีกว่าการเพาะในแปลงเพาะ


4. การปลูก
เมื่อต้นกล้าอายุได้ประมาณ 30 วัน สูงประมาณ 15 เซนติเมตร ใช้ระยะปลูกระหว่างต้นประมาณ 2-3 เมตร ระหว่างแถวประมาณ 3-4 เมตร ขุดหลุมใส่ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก กลบโคนให้แน่น คลุมด้วยฟางข้าว รดน้ำให้ชุ่ม ส่วนปลูกในร่องปล่อยน้ำ ก็ขุดหลุมนำกล้าลงปลูกได้เลย จะรักษาความชื้นได้ดีกว่าการปลูกแบบร่อง แต่ควรดูแลอย่าให้น้ำขัง หรือท่วม


5. การให้น้ำ
ควรให้น้ำอย่างพอเพียง และสม่ำเสมอโดยระยะแรกของการเจริญเติบโต แต่อย่าให้มากเกินไปจนแฉะ


6. การใส่ปุ๋ย
ควรใส่ปุ๋ยคอก และปุ๋ยเคมีสูตร 13-13-21 อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ โดยแบ่งใส่ 2 ครั้ง ครั้งแรกรองพื้น และครั้งที่ 2 เมื่อมะเขือพวงอายุได้ 30 วัน โดยโรยรอบโคนต้น และพรวนดินกลบ


7. การกำจัดวัชพืช
ควรกำจัดวัชพืชอยู่เสมอ เพื่อไม่ให้แย่งน้ำแย่งอาหาร และเป็นที่อยู่ของแมลงศัตรูมะเขือพวงด้วย


8. การเก็บเกี่ยว
เมื่อผลมะเขือพวงโตเต็มที่ไม่อ่อน และแก่จนเกินไป ก็ทะยอยเก็บไปเรื่อยๆ และเก็บได้เป็นเวลานาน ส่วนมากมะเขือพวงจะมีราคาดีในฤดูแล้ง (เดือนกุมภาพันธ์-เมษายน) ของทุกปี


9. โรค
โรคของมะเขือพวง เช่น โรคเหี่ยวตาย โรคใบไหม้ โรคราน้ำค้าง โรคราสนิม ป้องกันกำจัดด้วยการพ่นสารป้องกันโรคพืช เช่น เมทาแลคซิล คาร์เบนดาซิม เมนโคเชป ตัวใดตัวหนึ่งตามอาการของโรค


10. แมลงศัตร
มะเขือพวง ได้แก่ เพลี้ยไฟ เพลี้ยจั๊กจั่น เพลี้ยอ่อน แมลงหวี่ขาว หนอนเจาะผล หนอนกระทู้ผัก ป้องกันกำจัดเหมือนกับมะเขือเปราะ มะเขือยาว ถั่วแขก และถั่วฝักยาว


ที่มา  :  กรมวิชาการเกษตร









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-05-16 (2931 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©