-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 414 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

สิ่งแวดล้อม




หน้า: 1/4


ผักหวานป่า



ลักษณะทั่วไป
ผักหวานป่าเป็นพืชในวงศ์ Opiliaceae มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Melientha suavis Pierre ชาวบ้านแถวจังหวัดสุรินทร์เรียก ผักหวานชื่อที่เรียกกันทั่วไป คือ ผักหวาน ซึ่งอาจสับสนกับผักหวานบ้านที่จะกล่าวถึงในตอนท้าย


ผักหวานป่า เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ต้นที่โตเต็มที่อาจสูงถึง 13 เมดร แค่ที่พบโดยทั่วไปมักมีลักษะเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก หรือเป็นไม้พุ่ม เนื่องจากมีการหักกิ่ง เด็ดยอด เพื่อกระตุ้นให้เกิดกิ่งและยอดอ่อนซึ่งเป็นส่วนที่ใช้บริโภค ใบของผักหวานป่าเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับกัน ใบอ่อนรูปร่างแคบรี ปลายใบแหลม สีเขียวอมเหลือง ใบแก่เต็มที่รูปร่างรีกว้าง ถึงรูปไข่หรือรูปไข่กลับ ใบสีเขียวเข้ม เนื้อใบกรอบ ขอบใบเรียบ ปลายใบมน ขนาดของใบประมาณ 2.5-5 ซม. x 6- 12 ซม. ก้านใบสั้น ช่อดอกแตกกิ่งก้านคล้ายช่อดอกมะม่วงหรือลำใย และเกิดตามกิ่งแก่ หรือตามลำต้นที่ใบร่วงแล้ว ดอกมีขนาดเล็กเป็นตุ่มสีเขียวอัดกันแน่นเป็นกระจุก ขณะที่ยังอ่อนอยู่ ผลเป็นผลเดี่ยว ติดกันเป็นพวง เหมือนช่อผลของมะไฟหรือลางสาด แต่ละผลมีขนาดประมาณ 1.5 x 2.5 ซม. ผลอ่อนสีเขียวมีนวลเคลือบ และเปลี่ยนเป็นสีเหลืองถึงหลืองอมส้ม เมื่อผลสุกแต่ละผลมีเมล็ดเดียว


มีพืชอีกชนิดหนึ่งอาจเรียกว่าผักหวานด้วยเช่นกัน ชนิดนี้มีชื่อใน 3-6 เมล็ดผักหวานชนิดนี้รับประทานยอดอ่อนได้เช่นเดียวกัน มีชื่อเรียกอื่น ๆ อีก เช่น มะยมป่า ผักหวาน ผักหวานบ้าน ผักหวานใต้ใบ เป็นต้น


นอกจากนี้ยังมีพืชอีกชนิดหนึ่งที่มี ยอดอ่อนลักษณะเหมือนยอดอ่อนของผักหวานป่ามากจนมีการเก็บผิดอยู่เสมอ และเมื่อกินเข้าไปจะเกิดอาการเมาเบื่อ พืชนี้มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Urobotrya siamensis hiepko คนลำปาง เรียก แกก้องหรือนางแย้ม ชาวเชียงใหม่เรียกนางจุม จันทบุรีเรียก ผักหวานเขา กาญจนบุรีและชลบุรีเรียก ผักหวานดง สระบุรีเรียก ผักหวานเมา หรือช้าผักหวาน ภาดอีสานเรียก เสน หรือ เสม ส่วนทางประจวบคีรีขันธ์เรียกว่า ดีหมี อย่างไรก็ตามหากสังเกตต้นและใบที่แก่ จะมีลักษณะต่างกันเห็นได้ชัด



การขยายพันธุ์
การขยายพันธุ์ผักหวานป่าที่ได้ผลดีที่สุดในปัจจุบันคือ วิธีการเพาะเมล็ด เนื่องจากวิธีการอื่น ๆ เช่น การตอน การตัดชำ มีเปอร์เซ็นต์การออกรากด่ำมาก และใช้เวลานานไม่น้อยกว่า 4 เดือน จึงจะออกราก รวมทั้งจำนวนกิ่งที่ได้น้อย เนื่องจากต้นแม่พันธุ์หายาก การขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดจึงเป็นวิธีที่ง่ายและได้ผลมากที่สุด โดยมีเงื่อนไขและวิธีปฎิบัติ ดังนี้

1. คัดเฉพาะผลผักหวานป่าที่สุดและสดใหม่เท่านั้น
2. แยกเนื้อหุ้มเมล็ดทิ้ง และขัดล้างเมล็ดให้สะอาดด้วยตะแกรง หรือภาชนะที่มีผิวหยาบ เช่นในกระดังหรือเข่งไม้ไผ่ ควรใส่ถุงมือยางขณะทำงานเนื่องจากเนื้อหุ้มเมล็ดมีสารที่ระคายเคืองต่อผิวหนัง
3. นำเมล็ดที่ขัดสะอาดแล้วแช่น้ำ แยกเมล็ดที่ลอยน้ำออก
4. นำเมล็ดที่จมน้ำขื้นผื่งพอสะเด็ดน้ำ คลุกด้วยยากันราให้ทั่ว แล้วนำขึ้นเกลี่ยในกระด้งหรือตะแกรงให้เป็นชั้น หนาไม่เกิน 1 นิ้ว คลุมตะแกรงด้วยกระสอบป่าน ที่ชุบน้ำหมาด ๆ เก็บไว์ในที่ร่ม 2-3 วัน
5. ดรวจดูเมล็ด ถ้าเปลือกเมล็ดเริ่มแตกร้าว ให้นำไปเพาะในถุงพลาสติกที่มีความลึกไม่น้อยกว่า 8 นิ้ว
6. วัสดุที่ใช้เพาะได้ผลดีควรใช้ดินลูกรัง ทรายหยาบ และปุ๋ยคอกเก่า หรือใบไม้ผุ ร่อนด้วยดะแกรงตาถี่ครื่งเซนดิเมตร ผสมกันในอัตราส่วน 1:1:1 โดยปริมาตร
7.วิธีเพาะให้กดเมล็ดด้วยนิ้วมือพอให้เมล็ดจมเสมอผิวดิน หรือโผล่พ้นผิวดินเพาะเล็กน้อยนำไปไว้ไตัร่มเงาที่มีความเข้มแสง ประมาณ 40-50 %
8. ดูแลรดน้ำให้พอวัสดุเพาะชื้น ระวังอย่าใหัแฉะ


ในช่วงเดือนแรกผักหวานป่าจะมีการพัฒนาของระบบรากอย่างรวดเร็ว เมื่อเข้าเดือนที่สองจึงเริ่มทะยอยแทงยอดขึ้นพ้นดินให้เห็นบ้าง หลังจากเพาะได้ 2 เดือนครึ่ง ต้นผักหวานป่าจะสูงประมาณ 5 -10 ซม.หลังจากนี้อาจใช้ปุ๋ยเกร็ดสูตร 15-15-15 ผสมน้ำฉีดพ่นกล้าทุก 2 สัปดาห์ การเจริญเติบโตของลำต้นเหนือดินในปีแรกจะช้ามาก



การปลูกและบำรงรักษา
ควรเริ่มเตรียมหลุมปลูกในช่วงหลังสงกรานต์ โดยขุดหลุมขนาด 50 X 50 ซม.รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักประมาณครึ่งปี๊บ คลุกเคล้าผสมกับหน้าดิน โดยลงหลุมทิ้งไว้ 2-3 อาทิตย์ในขณะเดียวกันก็เริ่มสร้าง ความแข็งแรงให้ต้นกล้าก่อนย้ายปลูกลงหลุม จริงด้วยการรดน้ำให้น้อยลง ให้ต้นกล้าได้รับ แสงแดดเพิ่มขี้นทีละน้อย ละลายปุ๋ยโปแตสเซียมในเตรท ความเข้มขันไม่เกิน 2 % (1 กรัมต่อน้ำ 50 ลิดร) รดต้นกล้าก่อนย้ายปลูก ประมาณ 2 อาทิตย์และงดให้น้ำ 1 วัน ล่วงหน้าก่อนย้ายปลูก


ในการถอดถุงพลาสติกเพื่อนำกล้าลงปลูกในหลุม ต้องระวังอย่าให้กระเปาะดินแตกหักหรือรากขาด เพราะจะทำให้ต้นกล้าชะงักการเจริญเดิบโตเป็นเวลานาน การปลูกควรให้ต้นกล้าสูงกว่าปากหลุมประมาณ 5 ซม. แล้วพูนดินกลบโคนขึ้นโดยรอบ เพื่อป้องกันไม่ให้มีน้ำขังในหลุมปลูกเมื่อมีการให้น้ำหรือฝนตก จากนั้นหว่านเมล็ดถั่วเขียวเป็นวงรอบหลุมให้ห่างจากต้นกล้าประมาณ 15-20 ซม. เพื่อให้ต้นถั่วเป็นพี่เลี้ยงในระยะแรก ก่อนสิ้นฤดูฝนประมาณเดือนกันยายน ให้หว่านถั่วมะแฮะ หรือพืชตระกูลถั่วที่มีลำต้นสูงและไม่ทิ้งใบช่วงฤดูแล้ง โดยหว่านเป็นวงรอบห่างจากต้นผักหวานป่า รัศมี 70-100 ซม. เพื่อให้เป็นไม้บังร่มในช่วงฤดูแล้ง ระยะปลูกผักหวานป่าควรใช้ระยะ 2-3 X 2-3 เมตร โดยเลือกสภาพที่ดินที่ลาดเอียงเล็กน้อย หรืออาจปลูกแซมในส่วนที่ค่อนข้างแห้งแล้งได้ เช่นในสวนป่าสัก ผักหวานป่าจะใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 3 ปี จึงเจริญเติบโตถึงระยะเริ่มเก็บผลผลิตได้ การใส่ปุ๋ยกระตุ้นการเจริญเติบโต ควรใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยที่หมักจนสลายตัวดีแล้ว หว่านกระจายโดยรอบโคนต้นในรัศมี 50 ซม. ต้นละ 1 ปี๊บในช่วงฤดูฝนปีละครั้ง ห้ามใช้จอบขุดพรวนรอบโคนต้น หากต้องการกำจัดวัชพืชให้ใช้ วิธีถอนหรือใช้มีดฟันให้ราบ เพื่อป้องกันรากผักหวานไม่ให้กระทบกระเทือน


การกระตุ้นยอดอ่อนเพื่อเก็บจำหน่าย
เมื่อผักหวานป่าเจริญเติบโตเต็มที่ ก็เริ่มทำการตัดแต่งกิ่ง โดยหักปลายกิ่งแขนงทิ้งให้เหลือยาว 15-20 ซม. รูดใบแก่บางส่วนทิ้งให้เหลือติดกิ่งละ 3-4 ใบ พร้อม ๆ กับการให้น้ำพอดินชื้น เมื่อยอดแตกออกมายาวประมาณ 15-25 ซม. ก็ตัดออกและมัดเป็นกำส่งจำหน่ายได้ หลังจากตัดยอดออกจำหน่ายแต่ละครั้ง ให้ใส่ปุ๋ยคอกต้นละ 1-2 ปี๊บหว่านรอบโคนต้นพร้อมกับให้น้ำ เพื่อบำรุงต้นให้สมบูรณ์ไดยเร็วต่อไป



การย้ายต้นกล้าแบบล้างราก
เนื่องจากในปัจจุบันพบว่า มีการจำหน่ายต้นกล้าเพาะเมล็ดจำนวนมาก ซึ่งมีปัญหาในการขนส่ง เนื่องจากน้ำหนักมากและเปลืองพื้นที่ จากผลการทดลองหาแนวทางส่งกล้าให้ได้จำนวนมากขึ้น และมีอัดราการชำรอดสูงอาจทำไต้ ดังนี้


1. เพาะต้นกล้าในแปลงที่ทำด้วยอิฐก่อขนาด 1 x 5 เมตร ลึก 60 ซม. ใช้วัสดุเพาะดินลูกรัง ทรายหยาบ และปุ๋ยหมักอัตราส่วน 1:1:1 หรือ 1:1:2 โดยปริมาตร ร่อนด้วยตะแกรงตาถี่ครึ่งเซนติเมตรผสมกัน คลุมแปลงเพาะให้ได้รับแสงประมาณ 40-50%


2. เมื่อกล้าผักหวานป่า งอกสูงประมาณ 5-10 ซม. หรือก่อนการส่งกล้าให้ลูกค้าประมาณ 2 อาทิตย์ ให้เริ่มกระตุ้นให้ต้นกล้าแข็งแรงเช่นเดียวกับก่อนการย้ายปลูกลงหลุม


3. เมื่อครบกำหนดให้ขุดต้นกล้าออกจากแปลง ระวังอย่าให้รากขาด ล้างดินออกจากรากให้สะอาด โดยใช้สายยางฉีดน้ำพร้อมกับตัด ส่วนเหนือดินทิ้งให้เหลือตอสูงประมาณ 5 ซม.<


4. นำต้นกล้าที่ล้างรากและตัดต้นทิ้งแล้วไปแช่ในน้ำยากันรา ประมาณ 15-20 นาที นำขึ้นผึ่งพอหมาด


5. นำกระดาษหนังสือพิมพ์ที่ซึมซับน้ำได้ดี มาแบ่งเป็นคู่ ๆ ซ้อนกัน 2 ชั้น โรยด้วยขุยมะพร้ามชื้นหรือแกลบดำที่ปราศจากเชื้อโรค (อาจเตรียมได้โดยการอบหรือนึ่ง หรือราดด้วยยากันราก่อนนำมาใช้) ให้เป็นแถบยาวบาง ๆ ความกว้างของแถบเท่ากับ ความยาวของรากต้นกล้า ต้องระวังวัสดุที่ใช้อย่าให้แฉะ


6. นำกล้าผักหวานป่าประมาณ 50 กล้า วางเรียบบนแถบวัสดุรักษาความชื้น อย่าให้กล้าซ้อนกัน


7. ม้วนกระดาาหนังสือพิมพ์ห่อต้นกล้าให้เป็นแท่งกลมพอหลวม ๆ เหมือนห่อโรตี ปิดหัวท้ายห่อ ฉีดด้วยยากันราให้กระดาษเปียกพอหมาด ๆ


8. บรรจุในถุงพลาสติกที่เจาะรูระบายอากาศ ปิดปากหลวม ๆ แล้วบรรจุลงกล่องกระดาษลูกฟูกซึ่งเจาะรูด้านข้างและกั้นเป็นช่อง ๆ ภายในด้วยกระดาษลูกฟูก โดยวางในแนวตั้งพอหลวม ๆ


9. ผนึกภายนอกลังตรงรอยต่อด้วยเทปกระดาษ โดยเว้นช่องระบายอากาศไว้แล้วนำไปส่งไปรษณีย์


10. การส่งแบบล้างรากเช่นนี้ ต้นกล้าจะทนทานได้นานประมาณ 8-10 วัน โดยมีอัตราการรอดตายสูง 80% ทั้งนี้เมื่อได้รับต้นกล้าแล้วต้องรีบชำทันที และเลี้ยงในสภาพแสง 40-50% พร้อมกับให้ชื้นอย่างสม่ำเสมอในระยะแรกๆ


11. หลังย้ายชำแล้วอาจราดด้วยสารสตาร์ทเตอร์ ซึ่งมีขายทั่วไปในท้องตลาดตามอัตราที่แนะนำในฉลาก


12. ข้อพึงระวังในการส่งกล้าแบบนี้ จะต้องระวังเรื่องความสะอาดเป็นพิเศษ และรากต้องไม่ขาด การห่อและการบรรจุลังต้องไม่แน่นเกินไปและต้องเจาะช่องระบายอากาศ





การปลูกผักหวานป่าเชิงระบบ
การปลูกผักหวานป่าเชิงระบบ คือ การปลูกพืชแบบผสมผสาน โดยมีผักหวานป่าเป็นพืชหลัก มีการปลูกพืชหลายระดับเพื่อจัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม และไม่ก่อให้เกิดปฏิสัมพันธ์ทางลบกับการเจริญเติบโตของผักหวานป่า โดยเริ่มจากปลูกไม้ผลหรือไม้ยืนต้น เช่น แคบ้าน กล้วย มะม่วง และสะเดา เป็นต้น เพื่อใช้เป็นไม้พี่เลี้ยงให้ร่มเงาที่ถาวร เนื่องจากตามธรรมชาติผักหวานป่าเจริญเติบโตได้ดีภายใต้ร่มเงาของไม้อื่น ตามด้วยการปลูกไม้ระดับกลางคือผักหวานป่าซึ่งเป็นพืชหลัก และการปลูกพืชระดับล่างเป็นพืชอายุสั้นที่ให้ผลผลิตได้เร็ว เช่น พืชผัก เป็นต้น

การเลือกพืชมาปลูกร่วมกับผักหวานป่า ต้องให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของผักหวานป่าด้วย โดยเฉพาะพืชที่นำมาปลูกเพื่อให้ร่มเงา ควรเป็นไม้ยืนต้น ไม่ผลัดใบ เจริญเติบโตได้ดี และมีผลผลิตที่สามารถเก็บเกี่ยวได้ ถ้าเป็นพืชตระกูลถั่วจะเป็นการดีมาก มีการกำหนดระยะปลูกให้เหมาะสมกับพืชแต่ละชนิด เพื่อป้องกันไม่ให้ต้นผักหวานป่าได้รับแสงแดดมากหรือน้อยเกินไป ส่วนพืชอายุสั้นอาจเป็นพืชผักกินใบหรือผลก็ได้ เช่น มะเขือ พริก กะเพรา ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ปลูก หรือความต้องการของตลาด

ตัวอย่างระบบการปลูกผักหวานป่า ในพื้นที่ 1 ไร่ เช่น ถ้าต้องการปลูกผักหวานป่าร่วมกับกล้วยน้ำว้า และมะเขือเปราะ เริ่มจากปลูกกล้วยเพื่อเป็นพืชให้ร่มเงา ระยะปลูก 3x3 เมตร ปลูกได้ 196 ต้น จากนั้นนำต้นกล้ามะเขือเปราะปลูกระหว่างแถวของต้นกล้วย โดยปลูกเป็นแถวคู่ ระยะปลูก 1x1 เมตร ปลูกได้ 1,040 ต้น เมื่อต้นมะเขือเปราะโตจนมีร่มเงา จึงปลูกผักหวานป่าระหว่างกึ่งกลางแถวคู่ของต้นมะเขือ ใช้ระยะปลูกระหว่างต้น 1 เมตร พื้นที่ 1 ไร่ ปลูกได้ 520 ต้น โดยในช่วงแรกผักหวานป่าจะอาศัยร่มเงาของต้นมะเขือ จนกว่าต้นกล้วยจะสามารถให้ร่มเงาได้

ต้นทุนระบบการปลูกผักหวานป่ามีความแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับประเภทของต้นพันธุ์ที่นำมาใช้ คือ ต้นพันธุ์จากการตอนกิ่งมีราคาสูงกว่าจากการเพาะเมล็ด ราคาต้นพันธุ์จากกิ่งตอนประมาณ 100 บาท/ต้น ส่วนเพาะเมล็ดราคาประมาณ 15-20 บาท/ต้น นอกจากนั้นจะเป็นต้นทุนของระบบน้ำ แรงงาน และปุ๋ย ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้ปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยคอกจากมูลสัตว์เป็นหลัก 

 
ต้นผักหวานป่า
ขอบคุณภาพประกอบจาก
http://www.oknation.net/blog/esan-banna  



การปลูกผักหวานป่า 1 ระบบนี้ ทำให้เกษตรกรได้รับประโยชน์ คือ ปีแรกผลตอบแทนจากการปลูกมะเขือเปราะ ปีที่สองจากการปลูกกล้วยน้ำว้า และเมื่อเข้าสู่ปีที่สามจะได้รับผลตอบแทนจากกล้วยน้ำว้าและผักหวานป่า

การปลูกผักหวานป่าเชิงระบบ จึงเป็นระบบการปลูกพืชที่ทำให้เกษตรกรมีรายได้ตลอดทั้งปี และทุก ๆ ปี ในระหว่างรอผลผลิตจากต้นผักหวานป่า นอกจากนั้นยังเป็นการใช้ประโยชน์ของพื้นที่ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่สถานีวิจัย ลำตะคอง สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) เลขที่ 333 หมู่ 12 ถนนมิตรภาพ ต.หนองสาหร่าย อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา 30130 โทร. 0-4439-0107, 0-4439-0150, 08-1999-4770 โทรสาร 0-4439-0150 E-mail:lamtakhong@tistr.or.th,
momtree_k@tistr.or.th


ขอบคุณที่มา เดลินิวส์






เกษตรกรคิดวิธีตอนผักหวานป่าได้ผลเป็นรายแรก  

ความสำเร็จภูมิปัญญาท้องถิ่นเกษตรกรคิดวิธีตอนผักหวานป่าได้ผลเป็นรายแรก
         
ผักหวานป่า พื้นที่ปลูกแหล่งใหญ่ต้นกำเนิดอยู่ อำเภอบ้านหมอ ซึ่งชาวบ้านปลูกสืบทอดกันมาช้านานต้นใหญ่ ๆ มีอายุนับร้อย ๆ ปีหรือหลายชั่วอายุคนก็ยังมีอยู่ให้เห็นเป็นจำนวนมาก แต่ทว่าที่ชาวบ้านปลูกตอนแรก ๆ นั้นคาดว่าปลูกเพื่อเป็นร่มเงา หรือปลูกล้อมเป็นรั้วบ้าน เสน่ห์อยู่ที่ยอดแตกใบอ่อนตลอดทั้งปีและชาวบ้านได้เด็ดยอดมาแบ่งสันปันส่วนกินกันมีทั้ง ลวกจิ้ม แกงเลียง และทำอื่น ๆ อีกหลากหลายชนิด  รสชาติมีความหวานเพียงเล็กน้อย และมีกลิ่น     ของผักหวานป่าน่ารับประทาน จนชาวบ้านริเริ่มปลูกขึ้นเป็นสวนป่าชุมชน ในอำเภอบ้านหมอ จังหวัดสระบุรี
         
จนกระทั่ง นายบุญส่ง เกิดหลำ  สมาชิกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสระบุรี (ส.อบจ.) กล่าวว่าผักหวานป่า ที่ชาวบ้านปลูก  ขึ้นเป็นป่าชุมชน ได้ช่วยกันหลายฝ่ายได้บูม  จัดงานผักหวานป่าติดต่อกันมาขึ้นเป็นครั้งที่ 7 ปี ที่ผ่านมา ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรจน  เป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวาง ปากต่อปากเล่าขานกันต่อ ๆ ไปด้วยจนกระทั่ง “ผักหวานป่าชื่อ  ก้องฟ้าเมืองไทย” จนเป็นที่นิยมซื้อหาไปรับประทานกันอย่างแพร่หลาย
         
นายยศพล ทัพพระจันทร์ เกษตรอำเภอพระพุทธบาท บอกว่า “ผักหวานป่า” ที่ชาวบ้านปลูกในพื้นที่ชุมชน อำเภอบ้านหมอนั้น  ในอดีตขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด แต่เชื่อว่าเจริญเติบโตช้าและไม่ค่อยได้ผล ส่วนวิธีตอนกิ่ง ชาวบ้านเคยทำมาแล้ว  แต่ไม่เป็นผลสำเร็จ เพราะเกรงว่าต้นเดิมจะตาย จึงไม่มีใครกล้าตอนกิ่งพันธุ์  จึงได้ไปทดลองส่งเสริมให้ “จ่าติ๊ก” หรือ จ.ส.อ.   เทวัญ ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา บ้านเลขที่ 45/1 ซอยวัดเขาเงิน หมู่ 10 ต.ธารเกษม อ.พระพุทธบาท ซึ่งมีที่ดินประมาณ 3 ไร่เศษได้แบ่งที่ดินส่วนหนึ่งปลูกสร้างเป็นที่พักอาศัย ในส่วนที่เหลือ ได้ปลูกผักหวานป่ามีจำนวนมากกว่า 1,000 ต้น
         
จ.ส.อ.เทวัญ บอกว่าในที่ดินดังกล่าว  เคยจัดหาพันธุ์ไม้กินผล นำมาปลูกสารพัดชนิด แต่ไม่ประสบความสำเร็จ จนกระทั่งศึกษาเรื่องดินและปุ๋ยอย่างจริงจัง โดยนำเอาดินไปตรวจที่หน่วยวิเคราะห์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พร้อมกับ   นำเอา “น้ำ” ไปตรวจที่กรมวิทยาศาสตร์ เมื่อผลออกมาพบว่าชั้นล่างเป็นดินมาร์ลมากมีความเป็นกรดเป็นด่างและมีหินปูนสูง จึงคิดปลูกไม้รากตื้นและทนต่อสภาพดินประเภทนี้ได้ ก็มีไผ่หวาน   มะละกอและพวกไม้ล้มลุก เมื่อปลูกลงไปก็ได้  ผลดีพอสมควร แต่ก็ไม่เป็นอย่างที่หวังไว้ว่า จะทำสวนไม้ยืนต้นที่อยู่ได้นานเป็นสิบ ๆ ปีเพื่อให้ลูกหลานได้ผลผลิตต่อไปนาน ๆ จากที่เห็นมีต้นผักหวานป่าขึ้นติดพื้นที่อยู่เพียง 3-4 ต้นซึ่งมีความ   ทนทานต่อการแห้งแล้งได้ดีพอสมควร จึงได้สังเกตและพยายามศึกษาเริ่มตั้งแต่ปี 2533 เป็นต้นมาโดยได้ทดลองขยายพันธุ์แทบจะทุกวิธี ทั้งแบบใช้เพศและไม่ใช้เพศคือ มีทั้งการเพาะเมล็ด ขุดตอ ตัดชำราก สกัดราก ตัดกิ่งชำ กิ่งอ่อน กิ่งแก่ ทาบกิ่ง และเป็นผลสำเร็จดัวยวิธีการตอนกิ่ง จากการทดลองมีผลสรุปดังนี้ การขุดตอ  ได้ผลพอสมควรแต่ต้องทนุถนอมมากต้องเข้าตู้อบ มีเปอร์เซ็นตายสูงและหาตอค่อนข้างยาก การชำราก ไม่ค่อยได้    ผล เปอร์เซ็นงอกน้อยมาก การตัดชำ ไม่ได้ผล  แม้จะเข้าตู้อบ การสกัดราก ได้ผลดีแต่ต้องมีต้นเดิมอยู่  จากการสังเกตรากผักหวานป่าจะมีความยาวมากกว่า 10 เมตรไม่ลงลึกหากินตามผิวดิน เมื่อพรวนดินหรือขุดดินห่าง ๆ รอบต้นจะพบรากขาดออกจากต้น แล้วจะแตกเป็นต้นขึ้นมาใหม่จากตาพิเศษบริเวณราก
         
จ.ส.อ.เทวัญ อดีตทหารช่างแนะวิธีการตอนกิ่งพันธุ์ที่ได้ที่สุดและประสบความสำเร็จ 
หากกระทำอย่างถูกต้องและการดูแลอย่างถูกวิธี  ซึ่งการตอนกิ่งไม่ยุ่งยากอะไร ก็เหมือนกับตอนกิ่งไม้  ทั่ว ๆ ไปที่เกษตรกรทุกคนทำได้ เพียงแต่ในเวลาตอนกิ่งที่นานกว่า 2-3 เดือนจนกว่าจะมีราก   ออกจนพร้อมที่จะตัดกิ่งลงชำได้ ทำให้ต้องดูแล  ตุ่มตอนอย่างสม่ำเสมอ ไม่ให้ตุ่มตอนแห้ง เพราะรากแห้งจะทำให้รากชะงัก หรือไม่ มด แมลงก็จะเข้าไปทำรังจนรากไม่งอกออกมา รากของกิ่งตอนเมื่อแก่พร้อมที่จะตัดลงได้ จะมีสีเขียว ไม่ใช่เป็น   สีน้ำตาลอย่างต้นไม้อื่น ที่บางตำราระบุว่า หากพบรากสีขาวยังไม่ควรตัดเพราะยังอ่อนอยู่ รากของ   กิ่งตอนจะแข็งแรงมาก จนสามารถแทงทะลุถุงพลาสติกออกมาได้ แล้วตัดนำใส่ถุงดำ ชำไว้ประมาณ 3 เดือนจึงนำลงไปปลูกได้ ส่วนความแข็งแรงของรากที่เห็นงอกออกมาจากถุงและที่ทะลุออกมาจากถุงเพาะชำ ทำให้เกิดความสงสัยว่า ทำไมเกษตรกรที่เคยตอนกิ่ง และเคยปลูกมาแล้ว จึงพูดกันว่าเอาไปปลูกแล้วตายหมด ซึ่งน่าจะมีวิธีการปลูกที่ทำให้รอดตายได้ หากมีการทำให้ถูกวิธี จากการเริ่มตอนปลูกเพื่อทดลองครั้งแรก ๆ เมื่อปี 2534 ที่มีตาย ก็เพราะยังไม่ได้สังเกตอย่างจริงจัง แต่ที่รอดมาก็ยืนต้นมาได้จนถึงทุกวันนี้มีอายุราว 16-17 ปี แล้วต้นก็ยังสมบูรณ์ สูงประมาณ กว่า 3 เมตร ที่ไม่สูงมากไปกว่านี้ เพราะจับตอนกิ่งทุก ๆ ปี และเมื่อเห็นว่าการตอนกิ่งปลูกแล้วไม่ตาย จึงได้เริ่มศึกษาและสังเกตอย่างจริงจังจนแน่ใจว่า ส่วนประกอบที่สำคัญ
1. แสงต้องรำไร หรือใต้ร่มต้นไม้
2. ระบบน้ำต้องดี ต้องลดน้ำบ่อยครั้ง และ
3. ระบบราก สิ่งสำคัญที่สุดในการที่จะทำให้

การขยายพันธุ์ผักหวานป่า ด้วยการตอนกิ่ง ประสบความสำเร็จ
         
“จ่าติ๊ก” บอกอีกว่าหลังจากแน่ใจว่าการตอนกิ่งแล้วปลูก ทำได้แน่นอน จึงเริ่มขยายพันธุ์ด้วยการตอนกิ่งปลูกอย่างจริงจัง จากต้นเดิมที่มีอยู่เพียงไม่กี่ต้น เมื่อตอนแล้วนำเอาลงปลูกเพิ่มขึ้นทุกปี โดยใช้เพียงต้นพันธุ์เดิมและที่ปลูกใหม่จนกิ่งพอตอนได้ ก็ตอนขยายพันธุ์ไปเรื่อย ๆ จนตอนนี้มีประมาณมากกว่าหนึ่งพันต้น และดูขนาดต้นที่โตพอจะตอนกิ่งได้ ก็ให้ตอนกิ่งทิ้งไว้ลดน้ำอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งหากเกษตรกรปลูกอย่างถูกวิธีและดูแลดี ๆ แล้วต้นที่นำปลูกลงดินอายุราว  2 ปีกว่า ก็สามารถตอนกิ่งได้หรือเก็บผลผลิตได้แล้ว แต่ควรดูต้นที่เจริญเติบโตและแข็งแรงดีแล้วเท่านั้น  เพราะการเจริญเติบโตของผักหวานป่า จะโตเร็วหรือช้าไม่เท่ากันอยู่ที่ว่า ต้นไหนรากจะเดินดีกว่ากัน และการบำรุงดูแลรดน้ำอย่างสม่ำเสมอหากเกษตรกรมีพื้นที่ว่างเปล่าควรปลูกผักหวานป่า เป็นพืชเศรษฐกิจ ซึ่งมีร่มเงายอดอ่อนยังเก็บขายได้ตลอดทั้งปี. --จบ--

         
ที่มา  :  เดลินิวส์






หน้าถัดไป (2/4) หน้าถัดไป


Content ©