-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 315 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

สิ่งแวดล้อม





ชาวสวนยางพัทลุงทุกข์ซ้ำ
ต้นยางเกิดโรคใบร่วงกว่า 50,000 ไร่




ชาวสวนยางพาราพัทลุงทุกข์ซ้ำสวนยางพาราที่เหลือจากพายุพัดถล่ม เกิดโรคใบร่วงลามหนักและระบาดไปแล้วกว่า 50,000 ไร่ เกษตรหวั่นวิตก ร้องสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางพัทลุงเร่งลงพื้นที่ให้คำแนะนำอย่างเร่งด่วน วันนี้ (13 ธ.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานจากจังหวัดพัทลุงว่า เกษตรกรชาวสวนยางพาราในพื้นที่ จ.พัทลุง ต้องทุกข์ซ้ำหลังจากเมื่อช่วงต้นเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมาเกิดพายุพัดถล่มทำให้สวนยางพาราล้มได้รับความเสียหายไปกว่า 58,000 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 10 ของปริมาณยางที่ปลูกในจังหวัด แต่ในขณะที่เกษตรกรชาวสวนยางยังไม่ฟื้น และพบว่าสวนยางที่เหลือจากพายุพัดถล่มกลับมีโรคใบร่วงระบาดไปแล้วกว่า 50,000 ไร่ และยังลุกลามอย่างหนัก โดยเฉพาะในพื้นที่ อ.เขาชัยสน อ.เมือง อ.ตะโหมด และ อ.ป่าบอน จนเป็นที่หวั่นวิตกของเกษตร และร้องให้สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางพัทลุงเร่งลงพื้นที่ให้คำแนะนำอย่างเร่งด่วน ด้านสำนักงานกองทุนสงเคราะห์จังหวัดพัทลุงเปิดเผยว่า โรคใบร่วงในสวนยางพารา จะระบาดบริเวณพื้นที่ปลูกยางที่มีฝนตกชุก ความชื้นสูง และพบมากในบริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันตก คือ จ.ระนอง จ.พังงา จ.กระบี่ จ.ตรัง จ.ภูเก็ต และ จ.สตูล และภาคตะวันออก ได้แก่ จ.ระยอง จ.จันทบุรี และ จ.ตราด ส่วนภาคใต้ฝั่งตะวันออก คือ จ.ชุมพร จ.สุราษฎร์ธานี จ.นครศรีธรรมราช จ.สงขลา และ จ.พัทลุง ภาคใต้ฝั่งตะวันออกจะเริ่มการระบาดของโรคในช่วงเดือนตุลาคม-ธันวาคม สำหรับโรคที่หน้ากรีดยางโดยมีเชื้อราชนิดเดียวกันนี้เป็นสาเหตุเรียกว่า โรคเส้นดำ ซึ่งอาการของโรคที่ส่วนต่างๆ ของต้นยางซึ่งถูกเชื้อราชนิดนี้เข้าทำลายมีดังต่อไปนี้ คือ สำหรับอาการของโรคใบร่วง ใบยางจะร่วงทั้งที่มีสีเขียวสดและสีเหลือง ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศโดยมีลักษณะที่ปรากฏเด่นชัด คือ มีรอยช้ำสีดำอยู่ที่บริเวณก้านใบ และที่จุดกึ่งกลางของรอยช้ำมีหยดน้ำยางเกาะติดอยู่ด้วยใบยางร่วงที่เกิดจากเชื้อรานี้ เมื่อนำขึ้นมาสะบัดไปมาเพียงเบาๆ ใบย่อยจะหลุดทันที ซึ่งต่างกับใบยางที่ร่วงหล่นตามธรรมชาติ คือเมื่อนำใบยางที่ร่วงตามธรรมชาติมาสะบัดใบย่อยจะไม่หลุดออกจากก้านใบแผ่นใบบางครั้งจะเป็นแผลที่มีลักษณะช้ำฉ่ำน้ำ ขนาดของแผลไม่แน่นอน สำหรับต้นยางอ่อนถ้าหากถูกเชื้อเข้าทำลายจะเกิดอาการยอดเน่าแล้วลุกลามไปทำลายก้านใบและแผ่นใบทำให้ต้นยางตายได้ การป้องกันกำจัดโรคใบร่วงของยางพาราที่เกิดจากเชื้อราชนิดนี้ เราสามารถทำการป้องกันและรักษาได้โดยใช้ยาฆ่าเชื้อราบางประเภท เช่น สารประกอบทองแดงผสมน้ำมันบางชนิดฉีดป้องกันก่อนถึงฤดูกาลของโรคระบาด อย่างไรก็ดี การปฏิบัติเพื่อป้องกันรักษาโรคโดยวิธีดังกล่าว ในสวนยางที่มีต้นยางขนาดใหญ่มีอุปสรรคหลายประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับเครื่องพ่นยา แต่ ทั้งนี้ต้นยางที่มีขนาดใหญ่ที่แสดงอาการใบร่วงนี้ไม่ได้รับอันตรายจนถึงกับทำให้ต้นยางตายได้ เพียงแต่ปริมาณน้ำยางหรือผลผลิตที่ได้ลดลงเท่านั้น จึงไม่แนะนำให้ชาวสวนยางทำการพ่นยารักษาโรคในสวนยางขนาดใหญ่ แต่ขอแนะนำให้เจ้าของสวนยางที่มีต้นยางอายุน้อยกว่า 2 ปี ทำการฉีดป้องกันรักษาโรคเพื่อมิให้ต้นยางเน่าตายเนื่องจากการเป็นโรค โดยใช้ยา ไดโฟลาแทน 80 ผสมน้ำมีอัตราส่วน ยา 2 กรัมต่อน้ำ 1 ลิตรฉีดพุ่มใบเพื่อป้องกันโรคทุกๆ สัปดาห์ ระหว่างที่เกิดโรคระบาดในท้องที่นั้นๆ สำหรับต้นยางขนาดใหญ่ที่เกิดโรคใบร่วงอย่างรุนแรงจนใบร่วงหมดต้น ให้เจ้าของสวนเร่งการเจริญเติบโตของต้นยางต่อไป

ที่มา : ASTV ผู้จัดการออนไลน์ (วันที่ 13 ธันวาคม 2553)

 





 
 
     
 
 
 
     
 
 
 
 
 
   
 
 
ชาวสวนยางพาราพัทลุงทุกข์ซ้ำสวนยางพาราที่เหลือจากพายุพัดถล่ม เกิดโรคใบร่วงลามหนักและระบาดไปแล้วกว่า 50,000 ไร่ เกษตรหวั่นวิตก ร้องสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางพัทลุงเร่งลงพื้นที่ให้คำแนะนำอย่างเร่งด่วน
 


     วันนี้ (13 ธ.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานจากจังหวัดพัทลุงว่า เกษตรกรชาวสวนยางพาราในพื้นที่ จ.พัทลุง ต้องทุกข์ซ้ำหลังจากเมื่อช่วงต้นเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา เกิดพายุพัดถล่มทำให้สวนยางพาราล้มได้รับความเสียหายไปกว่า 58,000 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 10 ของปริมาณยางที่ปลูกในจังหวัด

     แต่ในขณะที่เกษตรกรชาวสวนยางยังไม่ฟื้น และพบว่าสวนยางที่เหลือจากพายุพัดถล่มกลับมีโรคใบร่วงระบาดไปแล้วกว่า 50,000 ไร่ และยังลุกลามอย่างหนัก โดยเฉพาะในพื้นที่ อ.เขาชัยสน อ.เมือง อ.ตะโหมด และ อ.ป่าบอน จนเป็นที่หวั่นวิตกของเกษตร และร้องให้สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางพัทลุงเร่งลงพื้นที่ให้คำแนะนำอย่างเร่งด่วน

     ทางด้านสำนักงานกองทุนสงเคราะห์จังหวัดพัทลุงเปิดเผยว่า โรคใบร่วงในสวนยางพารา จะระบาดบริเวณพื้นที่ปลูกยางที่มีฝนตกชุก ความชื้นสูง และพบมากในบริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันตก คือ จ.ระนอง จ.พังงา จ.กระบี่ จ.ตรัง จ.ภูเก็ต และ จ.สตูล และภาคตะวันออก ได้แก่ จ.ระยอง จ.จันทบุรี และ จ.ตราด ส่วนภาคใต้ฝั่งตะวันออก คือ จ.ชุมพร จ.สุราษฎร์ธานี จ.นครศรีธรรมราช จ.สงขลา และ จ.พัทลุง ภาคใต้ฝั่งตะวันออกจะเริ่มการระบาดของโรคในช่วงเดือนตุลาคม-ธันวาคม

     สำหรับโรคที่หน้ากรีดยางโดยมีเชื้อราชนิดเดียวกันนี้เป็นสาเหตุ เรียกว่าโรคเส้นดำซึ่งอาการของโรคที่ส่วนต่างๆ ของต้นยางซึ่งถูกเชื้อราชนิดนี้เข้าทำลายมีดังต่อไปนี้ คือ สำหรับอาการของโรคใบร่วง ใบยางจะร่วงทั้งที่มีสีเขียวสดและสีเหลือง

     ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศโดยมีลักษณะที่ปรากฏเด่นชัด คือ มีรอยช้ำสีดำอยู่ที่บริเวณก้านใบ และที่จุดกึ่งกลางของรอยช้ำมีหยดน้ำยางเกาะติดอยู่ด้วยใบยางร่วงที่เกิดจากเชื้อรานี้ เมื่อนำขึ้นมาสะบัดไปมาเพียงเบาๆ ใบย่อยจะหลุดทันที ซึ่งต่างกับใบยางที่ร่วงหล่นตามธรรมชาติ คือเมื่อนำใบยางที่ร่วงตามธรรมชาติมาสะบัดใบย่อยจะไม่หลุดออกจากก้านใบแผ่นใบบางครั้งจะเป็นแผลที่มีลักษณะช้ำฉ่ำน้ำ ขนาดของแผลไม่แน่นอน

     สำหรับต้นยางอ่อนถ้าหากถูกเชื้อเข้าทำลายจะเกิดอาการยอดเน่าแล้วลุกลามไปทำลายก้านใบและแผ่นใบทำให้ต้นยางตายได้ การป้องกันกำจัดโรคใบร่วงของยางพาราที่เกิดจากเชื้อราชนิดนี้ เราสามารถทำการป้องกันและรักษาได้โดยใช้ยาฆ่าเชื้อราบางประเภท เช่น สารประกอบทองแดงผสมน้ำมันบางชนิดฉีดป้องกันก่อนถึงฤดูกาลของโรคระบาด

     อย่างไรก็ดี การปฏิบัติเพื่อป้องกันรักษาโรคโดยวิธีดังกล่าว ในสวนยางที่มีต้นยางขนาดใหญ่มีอุปสรรคหลายประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับเครื่องพ่นยา แต่ ทั้งนี้ต้นยางที่มีขนาดใหญ่ที่แสดงอาการใบร่วงนี้ไม่ได้รับอันตรายจนถึงกับทำให้ต้นยางตายได้ เพียงแต่ปริมาณน้ำยางหรือผลผลิตที่ได้ลดลงเท่านั้น

     จึงไม่แนะนำให้ชาวสวนยางทำการพ่นยารักษาโรคในสวนยางขนาดใหญ่ แต่ขอแนะนำให้เจ้าของสวนยางที่มีต้นยางอายุน้อยกว่า 2 ปี ทำการฉีดป้องกันรักษาโรคเพื่อมิให้ต้นยางเน่าตายเนื่องจากการเป็นโรค โดยใช้ยา ไดโฟลาแทน 80 ผสมน้ำมีอัตราส่วน ยา 2 กรัมต่อน้ำ 1 ลิตรฉีดพุ่มใบเพื่อป้องกันโรคทุกๆ สัปดาห์ ระหว่างที่เกิดโรคระบาดในท้องที่นั้นๆ สำหรับต้นยางขนาดใหญ่ที่เกิดโรคใบร่วงอย่างรุนแรงจนใบร่วงหมดต้น ให้เจ้าของสวนเร่งการเจริญเติบโตของต้นยางต่อไป


     Rubber farmers suffering repeated Phatthalung rubber left from the storm are everywhere. Disease outbreaks and heavy leaf fall and spread to more than 50,000 rai of Agriculture fear Lyrics Replanting Aid Fund rubber Phatthalung area accelerated to advise urgently.
 
 
 
 
   
 
 
ชาวสวนยางพาราพัทลุงทุกข์ซ้ำสวนยางพาราที่เหลือจากพายุพัดถล่ม เกิดโรคใบร่วงลามหนักและระบาดไปแล้วกว่า 50,000 ไร่ เกษตรหวั่นวิตก ร้องสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางพัทลุงเร่งลงพื้นที่ให้คำแนะนำอย่างเร่งด่วน
 


     วันนี้ (13 ธ.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานจากจังหวัดพัทลุงว่า เกษตรกรชาวสวนยางพาราในพื้นที่ จ.พัทลุง ต้องทุกข์ซ้ำหลังจากเมื่อช่วงต้นเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา เกิดพายุพัดถล่มทำให้สวนยางพาราล้มได้รับความเสียหายไปกว่า 58,000 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 10 ของปริมาณยางที่ปลูกในจังหวัด

     แต่ในขณะที่เกษตรกรชาวสวนยางยังไม่ฟื้น และพบว่าสวนยางที่เหลือจากพายุพัดถล่มกลับมีโรคใบร่วงระบาดไปแล้วกว่า 50,000 ไร่ และยังลุกลามอย่างหนัก โดยเฉพาะในพื้นที่ อ.เขาชัยสน อ.เมือง อ.ตะโหมด และ อ.ป่าบอน จนเป็นที่หวั่นวิตกของเกษตร และร้องให้สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางพัทลุงเร่งลงพื้นที่ให้คำแนะนำอย่างเร่งด่วน

     ทางด้านสำนักงานกองทุนสงเคราะห์จังหวัดพัทลุงเปิดเผยว่า โรคใบร่วงในสวนยางพารา จะระบาดบริเวณพื้นที่ปลูกยางที่มีฝนตกชุก ความชื้นสูง และพบมากในบริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันตก คือ จ.ระนอง จ.พังงา จ.กระบี่ จ.ตรัง จ.ภูเก็ต และ จ.สตูล และภาคตะวันออก ได้แก่ จ.ระยอง จ.จันทบุรี และ จ.ตราด ส่วนภาคใต้ฝั่งตะวันออก คือ จ.ชุมพร จ.สุราษฎร์ธานี จ.นครศรีธรรมราช จ.สงขลา และ จ.พัทลุง ภาคใต้ฝั่งตะวันออกจะเริ่มการระบาดของโรคในช่วงเดือนตุลาคม-ธันวาคม

     สำหรับโรคที่หน้ากรีดยางโดยมีเชื้อราชนิดเดียวกันนี้เป็นสาเหตุ เรียกว่าโรคเส้นดำซึ่งอาการของโรคที่ส่วนต่างๆ ของต้นยางซึ่งถูกเชื้อราชนิดนี้เข้าทำลายมีดังต่อไปนี้ คือ สำหรับอาการของโรคใบร่วง ใบยางจะร่วงทั้งที่มีสีเขียวสดและสีเหลือง

     ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศโดยมีลักษณะที่ปรากฏเด่นชัด คือ มีรอยช้ำสีดำอยู่ที่บริเวณก้านใบ และที่จุดกึ่งกลางของรอยช้ำมีหยดน้ำยางเกาะติดอยู่ด้วยใบยางร่วงที่เกิดจากเชื้อรานี้ เมื่อนำขึ้นมาสะบัดไปมาเพียงเบาๆ ใบย่อยจะหลุดทันที ซึ่งต่างกับใบยางที่ร่วงหล่นตามธรรมชาติ คือเมื่อนำใบยางที่ร่วงตามธรรมชาติมาสะบัดใบย่อยจะไม่หลุดออกจากก้านใบแผ่นใบบางครั้งจะเป็นแผลที่มีลักษณะช้ำฉ่ำน้ำ ขนาดของแผลไม่แน่นอน

     สำหรับต้นยางอ่อนถ้าหากถูกเชื้อเข้าทำลายจะเกิดอาการยอดเน่าแล้วลุกลามไปทำลายก้านใบและแผ่นใบทำให้ต้นยางตายได้ การป้องกันกำจัดโรคใบร่วงของยางพาราที่เกิดจากเชื้อราชนิดนี้ เราสามารถทำการป้องกันและรักษาได้โดยใช้ยาฆ่าเชื้อราบางประเภท เช่น สารประกอบทองแดงผสมน้ำมันบางชนิดฉีดป้องกันก่อนถึงฤดูกาลของโรคระบาด

     อย่างไรก็ดี การปฏิบัติเพื่อป้องกันรักษาโรคโดยวิธีดังกล่าว ในสวนยางที่มีต้นยางขนาดใหญ่มีอุปสรรคหลายประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับเครื่องพ่นยา แต่ ทั้งนี้ต้นยางที่มีขนาดใหญ่ที่แสดงอาการใบร่วงนี้ไม่ได้รับอันตรายจนถึงกับทำให้ต้นยางตายได้ เพียงแต่ปริมาณน้ำยางหรือผลผลิตที่ได้ลดลงเท่านั้น

     จึงไม่แนะนำให้ชาวสวนยางทำการพ่นยารักษาโรคในสวนยางขนาดใหญ่ แต่ขอแนะนำให้เจ้าของสวนยางที่มีต้นยางอายุน้อยกว่า 2 ปี ทำการฉีดป้องกันรักษาโรคเพื่อมิให้ต้นยางเน่าตายเนื่องจากการเป็นโรค โดยใช้ยา ไดโฟลาแทน 80 ผสมน้ำมีอัตราส่วน ยา 2 กรัมต่อน้ำ 1 ลิตรฉีดพุ่มใบเพื่อป้องกันโรคทุกๆ สัปดาห์ ระหว่างที่เกิดโรคระบาดในท้องที่นั้นๆ สำหรับต้นยางขนาดใหญ่ที่เกิดโรคใบร่วงอย่างรุนแรงจนใบร่วงหมดต้น ให้เจ้าของสวนเร่งการเจริญเติบโตของต้นยางต่อไป


     Rubber farmers suffering repeated Phatthalung rubber left from the storm are everywhere. Disease outbreaks and heavy leaf fall and spread to more than 50,000 rai of Agriculture fear Lyrics Replanting Aid Fund rubber Phatthalung area accelerated to advise urgently.









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-05-16 (1120 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©