-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 178 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

สิ่งแวดล้อม





กำลังปรับปรุงครับ


ปัญหาการปลูกยางในพื้นที่ไม่เหมาะสม

วันนี้ขอนำข่าวเรื่องปัญหาการปลูกยางพาราในพื้นที่ไม่เหมาะสมจากหนังสือพิมพ์ไทยโพสต์มาเล่าสูกันฟังเพื่อจะได้นำไปบอกเล่าแก้ผู้ปลูกยางพาราทั่วประเทศได้ปรับตัวทันกับสภาวะโลกร้อนด้วย

นางนุชนารถ กังพิศดาร นักวิชาการเกษตรชำนาญการพิเศษ รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสถาบันวิจัยยาง เปิดเผยว่า ยางพาราที่ปลูกในพื้นที่ไม่เหมาะสม เช่น พื้นที่ลุ่มนาข้าว พื้นที่มีหน้าดินตื้น พื้นที่มีระดับน้ำใต้ดินสูงหรือระดับน้ำใต้ดินอยู่ใกล้ผิวดิน พื้นที่มีชั้นดินดาน หรือดินที่มีชั้นกรวดอัดแน่น มีแผ่นหินแข็งระดับลึกจากผิวดินประมาณ 1 เมตร จะเป็นอุปสรรคต่อการเจริญเติบโตของต้นยางหลังจากปีที่ 3 ทำให้ชะงักการเติบโต ขอบใบแห้ง ตายจากยอดและยืนต้นตายในช่วงฤดูแล้ง เนื่องจากรากแขนงไม่สามารถชอนไชดูดน้ำในฤดูแล้งได้

ดังนั้น เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงปลูกในพื้นที่เหล่านี้ โดยปลูกพืชล้มลุกหรือพืชที่มีระดับตากตื้นจะเหมาะสมกว่า เนื่องจากต้นยางเป็นพืชที่ต้องการหน้าดินลึก และระบายน้ำได้ดี ส่วนต้นยางที่ปลูกในพื้นที่ลุ่มหรือพื้นที่นาเดิม ซึ่งเป็นพื้นที่มีระดับน้ำใต้ดินอยู่ใกล้ผิวดิน ทำให้รากถูกจำกัดไม่สามารถเติบโตได้เต็มที่ ในระยะ 1-3 ปีอาจเห็นว่าต้นยางเติบโตดี เนื่องจากระดับใต้ดินอยู่ตื้น ทำให้ต้นยางได้รับความชื้น แต่เมื่อโตขึ้นระบบรากถูกจำกัดและสภาพดินขาดออกซิเจน ทำให้ชะงักการเติบโต เปิดกรีดได้ช้า ต้นยางที่ปลูกในพื้นที่เหล่านี้จำเป็นต้องระบายน้ำออกจากพื้นที่ โดยไถพูนโคนเพื่อทำให้ระหว่างแถวเป็นร่องระบายน้ำได้ดี หรือขุดคูระบายน้ำให้ลึกกว่าระดับน้ำใต้ดิน จึงจะสามารถระบายน้ำได้ แต่ก็เพิ่มต้นทุนในการจัดการ

จากการสำรวจพื้นที่สวนยางเกษตรกร โดยศูนย์วิจัยยางหนองคาย ที่ อ.โนนสัง จ.หนองบัวลำภู ที่ประสบปัญหาต้นยางอายุ 2 ปี ใบเหลือง แคระแกร็น ในช่วงฤดูแล้งดินแห้งแข็ง และออกดอกในช่วงเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม โดยดอกมีลักษณะเป็นกระจุกคล้ายช่อดอกสะเดา พบว่าเป็นสวนยางที่ปลูกโดยไม่ยกร่องเพื่อระบายน้ำ เมื่อเข้าสู่ฤดูฝนทำให้น้ำท่วมขังเป็นเวลานาน ส่งผลให้ใบเหลืองและแคระแกร็น กรณีการออกดอกในช่วงดังกล่าวถือว่านอกฤดู ที่เป็นกระจุกเป็นผลมาจากสภาพแวดล้อมที่แห้งแล้ง เมื่อเข้าฤดูฝนได้รับการใส่ปุ๋ยลักษณะดังกล่าวก็จะหายไป

นอกจากนี้ยังพบปัญหาการปลูกยางในพื้นที่นาเดิมที่ จ.พัทลุง ซึ่งไม่เหมาะสมเพราะระดับใต้ดินอยู่ใกล้ผิวดินมาก โดยเฉพาะนาลุ่มที่มีระดับน้ำใต้ดินสูงกว่า 50 ซม. ส่วนพื้นที่นาดอนระดับน้ำใต้ดินสูงประมาณ 50 ซม. ขณะที่ยางพาราหากให้ระดับน้ำพอเหมาะไม่ควรน้อยกว่า 1 เมตร จึงพบว่ายางที่ปลูกในพื้นที่นาดอนส่วนใหญ่จะยืนต้นตายเมื่ออายุไม่เกิน 7-10 ปี และพื้นที่นาลุ่มเมื่ออายุ 2-5 ปี ขึ้นอยู่กับการระบายน้ำออกจากสวนยาง

นางนุชนารถกล่าวว่า ปัญหาการปลูกยางในพื้นที่ไม่เหมาะสมดังกล่าว หากไม่ได้รับการแก้ไขจะสูญเสียทางเศรษฐกิจ ดังนั้น ผู้เกี่ยวข้องจึงควรแนะนำเกษตรกรขุดคูระบายน้ำออกจากแปลงให้ลึกว่าระดับน้ำใต้ดิน และใส่ปุ๋ยอินทรีย์เพื่อปรับโครงสร้างของดินในร่วนซุย ก็จะช่วยให้ต้นยางรอดตายได้


หากเกษตรกรสนใจในรายละเอียดต่างๆ ขอคำแนะนำได้ที่ สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร โทร 0-2579-1576 ต่อ 501, 522, 523 ศูนย์วิจัยยางหนองคาย 0-4242-1396, ฉะเชิงเทรา 0-3813-6225-6 สุราษฎร์ธานี 0-7727-0425-7, สงขลา 0-7421-2401-5.



ที่มา: หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ -- อังคารที่ 8 ธันวาคม 2552 00:00:00 น. http://www.ryt9.com/s/tpd/853542









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-05-16 (1266 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©