-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 362 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

สิ่งแวดล้อม





เกษตรสวนยางพาราสร้างเนื้อยางพาราจากต้นยางอายุ 20-25 ปี
สามารถกรีดได้อีกครั้ง



เกษตรกรสวนยางพารากระบี่หัวใส คิดค้นวิธีการสร้างเปลือกยางพาราใหม่ได้สำเร็จ หลังศึกษาค้นคว้ามานานกว่า 8 ปี ด้วยวิธีการสร้างเนื้อเยื่อเฉพาะที่ โดยใช้เวลาไม่เกิน 5 เดือน ได้เปลือกยางใหม่ที่หนานุ่ม น้ำยางเข้มข้น เพิ่มปริมาณน้ำยาง รักษาหน้ายางตายนึ่ง แก้โรครากเน่า และยืดอายุต้นยางได้นานขึ้นหลายเท่าตัว

      
นายคมเพชร วิวัฒน์โชติกุล อายุ 50 ปี 81 หมู่ที่ 2 ตำบลห้วยยูง อ.เหนือคลอง จ.กระบี่ เกษตรกรชาวสวนยางบ้านนาป่อง ได้นำผู้สื่อข่าวเข้าตรวจสอบต้นยางพาราอายุ ประมาณ 25 ปี ที่ผ่านการปลูกสร้างหน้ายางใหม่ด้วยวิธีการสร้างสเต็มเซลหรือการปลูกสร้างเนื้อเยื่อเฉพาะที่ ภายหลังเริ่มทำการทดลองเมื่อช่วงเดือนตุลาคม ปี 52 ที่ผ่านมา พบว่าสภาพเปลือกยางที่ขึ้นมาใหม่มีความหนาขึ้น จากสภาพหน้ายางที่แห้งตายนึ่ง ก็กลับมามีเปลือกใหม่ขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

      
นายคมเพชร วิวัฒน์โชติกุล กล่าวว่า การคิดค้นวิธีการปลูกสร้างเปลือกยางด้วยวิธีสเต็มเซล เมื่อทำการทดลองกับต้นยาง ด้วยวิธีสเต็มเซล คือปลูกสร้างเนื้อเยื่อใหม่ ซึ่งเป็นยางพาราที่มีอายุระหว่าง 25-30 ปี ส่วนใหญ่จะต้องโค่นขายไม้ยางพารา เพื่อปลูกใหม่ เพราะไม่สามารถกรีดได้ ปริมาณน้ำยางน้อย และหน้ายางตายนึ่ง

      
แต่หลังจากทดลองปลูกสร้างเปลือกใหม่ ก็สามารถกลับมากรีดน้ำยางได้อีก นอกจากนั้นเปลือกยางที่ได้มีความหนานุ่มกว่าเดิม รวมทั้งให้น้ำยางเข้มข้น เพิ่มปริมาณมาก เกษตรกรสามารถกรีดต่อไปได้อีกหลายสิบปีโดยไม่ต้องโค่น ทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้นหลายเท่าตัว

      
การค้นพบดังกล่าวเกิดจากความสงสัยที่ว่า เมื่อยางพารามีอายุได้ประมาณ 20-25 ปี จะเกิดปัญหา หน้ายางตายหรือที่เรียกว่าหน้ายางตายนึ่ง น้ำยางไม่ออก ไม่มีหน้ายางให้กรีด และยังเกิดโรคราขาว ซึ่งเป็นปัญหาของชาวสวนยางมาช้านาน ส่วนใหญ่จะต้องโค่นและนำไม้ยางไปขาย ก่อนนำพันธุ์ยางมาปลูกใหม่ ซึ่งจะต้องใช้ระยะเวลานาน ถึง 7 ปี จึงจะสามารถกรีดยางได้

      
นายคมเพชร วิวัฒน์โชติกุล กล่าวอีกว่า จึงได้หาตำราศึกษาค้นคว้าใช้เวลาค้นคว้า และลองผิดลองถูกมานานกว่า 8 ปี โดย เริ่มจากต้นมะม่วงที่บ้าน ตัดกิ่งออก จากนั้นก็นำอาหารเลี้ยงเชื้อซึ่งเป็นจุลินทรีย์ ไปทาที่หน้าแก่นไม้ หลังจากนั้นกิ่งไม้ก็จะเริ่มสร้างเปลือกมาห่อหุ้มเนื้อไม้เรื่อยๆ และกลบเนื้อไม้จนสนิท โดยใช้เวลาประมาณ 9 เดือน จะได้เนื้อไม้ใหม่

      
ในส่วนของสร้างเนื้อยางพารานั้นได้ทดลองมาแล้วกว่า 70 แปลง และเพิ่งจะประสบความสำเร็จเมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา โดยไปขอทดลองกับแปลงที่เจ้าของสวนกำลังจะโค่นแล้ว ทีแรกไม่มีใครเชื่อว่าจะทำได้ แต่ภายหลังนำอาหารเลี้ยงเชื้อจุลินทรีย์สายพันธุ์ใหม่ ผสมน้ำ และฉีดพ่นบริเวณหน้ายาง และใส่จุลินทรีย์ที่โคนต้น เดือนละ1 ครั้ง ใช้เวลาประมาณ 3-5 เดือนก็จะมีเปลือกใหม่ขึ้นปกคลุมหน้ายาง ทำให้เจ้าของสวนยางพาราสามารถที่จะกรีดได้ใหม่อีกครั้งหนึ่ง

      
ตอนนี้มีเกษตรกรในจังหวัดกระบี่ และจังหวัดใกล้เคียงนำไปใช้ ซึ่งได้ผลมาแล้วกว่า 20 รายเมื่อนำวิธีการสร้างสเต็มเซล มาใช้ ด้วยต้นทุนเฉลี่ยต้นละ 30 บาท ก็สามารถชุบชีวิตยางพาราขึ้นมาใหม่ได้ในเวลาอันรวดเร็ว จากยางพารา 15 ไร่ เดิมให้ผลผลิต 50 แผ่นต่อวัน หลังจากใช้วิธีสเต็มเซล เพิ่มผลผลิตเป็น 81 แผ่นต่อวัน ปัจจุบันมีผู้สนใจเข้ามาศึกษาเรียนรู้จำนวนมาก ซึ่งตนก็ยินดีให้คำแนะนำกับทุกคน เพราะจะได้ช่วยเหลือเกษตรกรให้มีรายได้เพิ่มขึ้น

      
นายคมสันต์ บำรุงการ อายุ 49 ปี เกษตรกรที่นำวิธีการดังกล่าวไปใช้ได้ประมาณ 1 ปีเศษ ยอมรับว่า หลังจากที่นำวิธีการสร้างสเต็มเซล มาใช้ในสวนยางพาราที่มีอายุระหว่าง 20-25 ปี จนต้นยางสามารถผลิตเนื้อเยื่อหน้ายางพาราออกมาใหม่ ในระยะเวลา 5 เดือน ก็สามารถที่จะกรีดยางพาราได้อีกครั้งหนึ่ง ทำให้ได้น้ำยางพาราในปริมาณที่เพิ่มขึ้น เพิ่มรายได้ให้กับครอบครัว


76.nationchannel.com/playvideo.php?id=88326
-









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-05-16 (1777 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©