-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 333 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

สิ่งแวดล้อม








 

วิชาการฯแนะเคล็ด ดูแลสวนยางฤดูแล้ง เตือนช่วงสองปีแรก เอาใจใส่เป็นพิเศษ
นายสุขุม วงษ์เอก ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร เผยถึงวิธีการดูแลสวนยางในช่วงฤดูแล้ง ว่า ในช่วงฤดูแล้งเป็นช่วงที่อากาศร้อน ขาดความชุ่มชื้น เกษตรกรจึงต้องเอาใจใส่ดูแลต้นยางเป็นพิเศษ เฉพาะอย่างยิ่งต้นยางในช่วง 2 ปีแรก ที่ปลูกในเขตแห้งแล้ง ที่ระบบรากยังไม่สมบูรณ์ อาจชะงักการเจริญเติบโตหรืออาจแห้งตายได้ การคลุมโคนต้นยางด้วยเศษซากพืช ซากวัชพืชที่หาได้ในท้องถิ่น จะเป็นวิธีการที่ช่วยให้ต้นยางรอดตายและเจริญเติบโตอย่างเป็นปกติต่อไป ขณะเดียวกันต้นยางในช่วง 2 ปีแรก ที่ปลูกในเขตแห้งแล้งมักปรากฏรอยไหม้จากแสงแดดบริเวณลำต้น ทำให้เปลือกลำต้นไหม้และเป็นรอยแตก เนื่องจากเนื้อเยื่อส่วนนั้นดับแสงแดดเป็นเวลานานติดต่อกัน ดังนั้น เมื่อเข้าสู่ช่วงหน้าแล้งเกษตรกรควรใช้ปูนขาว (ปูนที่ใช้ปรับสภาพดิน) ละลายน้ำ ทาบริเวณโคนต้นตรงส่วนที่มีสีน้ำตาล หรือสีเขียวอมน้ำตาล หรือสูงจากพื้นดินประมาณ 1 เมตร จะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหาย

ทั้งนี้ เกษตรกรต้องดูแลต้นยางอ่อนเพื่อให้รอดตายแล้ว เกษตรกรต้องให้ความระมัดระวังไฟไหม้สวนยางด้วย เพราะเป็นช่วงที่อากาศแห้ง รวมทั้งกระแสลมที่พัดรุนแรง โดยเฉพาะภาคเหนือภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่มีช่วงแล้งยาวนาน ไม่ก่อกองไฟ หรือทิ้งก้นบุหรี่ในสวนยาง เฉพาะอย่างยิ่งสวนยางที่อยู่ริมถนนใหญ่ มีรถวิ่งผ่านไปมา ขณะเดียวกันเกษตรกรควรมีวิธีป้องกันไฟไหม้สวนยาง ซึ่งควรกระทำก่อนเข้าหน้าแล้ง โดยทำแนวกันไฟรอบบริเวณสวนยาง กำจัดวัชพืชในบริเวณแถวยางออกให้หมดข้างละ 1 เมตร การกำจัดวัชพืชในบริเวณแถวยางเป็นการป้องกันไฟไหม้ที่เกิดภายในสวนยางและไม่ควรใช้สารเคมีเพื่อกำจัดวัชพืช เพราะวัชพืชที่แห้งตายเป็นเชื้อไฟอย่างดี ดังนั้น หน้าแล้งเกษตรกรจึงควรเอาใจใส่ ปฏิบัติดูแลสวนยางเป็นพิเศษ



ที่มา : หนังสือพิมพ์แนวหน้า

http://www.naewna.com/news.asp?ID=88755









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-05-16 (1344 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©