-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 461 บุคคลทั่วไป และ 1 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

สิ่งแวดล้อม







 

สรุปประชุมวิชาการยางพารา


การประชุมวิชาการยางพาราแห่งชาติครั้งที่ 2 เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ก็ได้ผ่านพ้นไปด้วยดี มีผู้เข้าร่วมประชุมมากถึง 400 กว่าคน และที่สำคัญคือเป็นภาคเอกชนที่อยู่ในวงการธุรกิจยางพาราเข้าร่วมถึง 1 ใน 4 แสดงว่านักธุรกิจในปัจจุบันนี้เริ่มมองเห็นความสำคัญของความรู้ที่จะนำมาใช้ในการปรับปรุงหรือพัฒนาธุรกิจให้ก้าวหน้าได้



เนื้อหาของผลงานวิจัยที่ได้คัดเลือกมานำเสนอในการประชุมครั้งนี้ถึง 30 เรื่อง จากหน่วยงานหลัก 4 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย ประกอบด้วย สกว. สวทช. สภาวิจัย และกรมวิชาการเกษตร ซึ่งได้ร่วมกันเป็นเจ้าภาพในการจัดงานครั้งนี้ขึ้นมา และยังมีเจ้าภาพร่วมอีก 2 รายคือ สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร หรือสวก. และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ซึ่งถึงแม้จะยังไม่มีผลงานวิจัยเข้ามาร่วมแสดง แต่ก็ได้เข้ามาร่วมมองลู่ทางในการกำหนดทิศทางการดำเนินงานเกี่ยวกับยางพาราในอนาคตด้วยกัน


ผลงานที่นักวิชาการได้มานำเสนอทั้ง 30 เรื่องนั้น บางเรื่องก็เป็นผลงานที่เด็กนักเรียนระดับมัธยมศึกษาได้ทำขึ้น หลายคนคงนึกไม่ถึงว่าเด็กนักเรียนจะทำงานวิจัยได้อย่างไร แต่ก็เป็นไปแล้ว และผลงานก็ดีด้วย อย่างเช่นเรื่องของเครื่องถอนกล้าต้นยางพารา ซึ่งตอนนี้กำลังอยู่ในขั้นตอนของการขอรับสิทธิบัตรอยู่ เป็นผลงานของนายประกาศิต ล่องโลด และอาจารย์เฉลิมพร พงศ์ธีระวรรณ จากโรงเรียนสุราษฎร์พิทยา ที่จ.สุราษฎร์ธานี โดยเครื่องถอนต้นกล้าดังกล่าว สามารถถอนได้มากกว่า 300 ต้นต่อชั่วโมง ซึ่งเร็วกว่าใช้แรงงานคนประมาณร้อยละ 20 และที่สำคัญคือราคาต้นทุนต่ำ เทคโนโลยีไม่ซับซ้อน เกษตรกรสามารถผลิตใช้เองได้


ผลงานอื่นๆ ที่น่าสนใจก็มีอยู่หลายเรื่อง โดยสรุปแล้วถ้าแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ๆ จะได้เป็น 6 กลุ่ม คือกลุ่มแรกเป็นด้านการผลิตและการเขตกรรมหรือการปฏิบัติดูแลรักษาในแปลงต้นยาง กลุ่มที่สองเป็นเรื่องของการปรับปรุงคุณภาพวัตถุดิบ ไม่ว่าจะเป็นคุณภาพของยางแห้ง ยางแผ่นหรือน้ำยางข้น กลุ่มที่สามเป็นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ จากยางพารา ซึ่งทั้งสามกลุ่มแรกนี้มีผลงานรวมแล้วมากกว่าครึ่งหนึ่งของทั้งหมด นอกจากนั้นก็มีประปรายทางด้านการปรับปรุงกระบวนการทางอุตสาหกรรม งานวิจัยเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และงานวิจัยเชิงนโยบาย


สิ่งที่เห็นได้ชัดจากการร่วมประชุมครั้งนี้ก็คือ งานด้านยางพาราเป็นเรื่องใหญ่มาก เรียกได้ว่าใหญ่เกินกว่าที่หน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งจะรับผิดชอบหรือสามารถดำเนินการได้ด้วยตนเอง ดังนั้นการสร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อช่วยกันผลักดันจึงเป็นเรื่องจำเป็น และต้องร่วมมือกันอย่างจริงจัง โดยลดความเป็นเจ้าของลงให้ได้ ปัญหาใหญ่ในอนาคตของยางพาราไทยกำลังรออยู่ ซึ่งเกิดจากความไม่สมดุลของการผลิตและการใช้ประโยชน์


เนื่องจากมีการเพิ่มพื้นที่ปลูกมากขึ้น เพราะหากไม่มีการเตรียมการรองรับ เช่นการสร้างตลาดภายในประเทศให้เข้มแข็งเพื่อลดการพึ่งพาตลาดต่างประเทศ รวมทั้งให้ความสำคัญกับการสร้างมูลค่าเพิ่มให้มากขึ้น ปัญหาเหล่านี้จะมีผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่ออุตสาหกรรมยางไทย สิ่งที่ควรต้องให้ความสำคัญเร่งด่วนคือการวิจัยเชิงนโยบาย เพื่อให้ผู้กำหนดนโยบายได้เห็นภาพที่แท้จริงของอุตสาหกกรรมยางไทย รวมทั้งแนวทางการเตรียมการรองรับ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วไม่ใช่เรื่องของเทคโนโลยี ซึ่งเรามีค่อนข้างพร้อม แต่เป็นเรื่องของนโยบายที่ต้องมีความชัดเจน และตัดสินบนฐานของข้อมูลและความรู้ที่ได้จากการศึกษาวิจัยอย่างลึกซึ้งและจริงจัง



รศ.ดร.พีรเดช  ทองอำไพ


ที่มา  :  คม ชัด ลึก









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-05-16 (1450 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©