-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 678 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

สิ่งแวดล้อม





กำลังปรับปรุงครับ










ชื่อสามัญ ปาล์มน้ำมัน (Oil palm)
น้ำมันปาล์ม (crude palm oil) เรียกย่อว่า CPO
ชื่อวิทยาศาสตร์ Elaeis guineensis Jacq

ถิ่นกำเนิด

แอฟริกา แพร่กระจายพันธุ์ปลูกอยู่ในเขตภูมิอากาศร้อนชื้น ที่เส้นรุ้ง 10 องศาเหนือ-ใต้

แหล่งผลิตใหญ่ของโลก

มาเลเซีย อินโดนีเซีย พื้นที่ปลูกประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ของโลกแหล่งปลูกปัจจุบัน
มาเลเซีย อินโดนีเซีย ไนจีเรีย ไทย โคลัมเบีย อินเดีย และ แหล่งปลูกใหม่ของประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น พม่า กัมพูชา

พันธุ์การค้า

ลูกผสมเทเนอรา (ดูรา x พิสิเฟอรา)

พันธุ์แนะนำ

กรมวิชาการเกษตรรับรองพันธุ์ปาล์มน้ำมัน ปัจจุบันมี 6 พันธุ์ คือ พันธุ์ปาล์มน้ำมันลูกผสมสุราษฏร์ธานี 1, 2, 3, 4, 5 และ 6

แหล่งผลิตเมล็ดพันธุ์ที่มีจำหน่ายในประเทศไทย

- ศูนย์วิจัยปาล์มน้ำมันสุราษฎร์ธานี
- นำเข้าจากต่างประเทศ ได้แก่ ประเทศ คอสตาริก้า ปาปัวนิวกินี ไอวอรีโคสต์ แซร์ เบนิน ยกเว้น มาเลเซียและอินโดนีเซีย เนื่องจากมีนโยบายห้ามส่งออกพันธุ์ปาล์มน้ำมันตั้งแต่ปี 2526
- ผลิตโดยบริษัทเอกชนของประเทศไทย ขณะนี้มี 3 บริษัทได้แก่ บริษัทยูนิวานิช จังหวัดกระบี่, บริษัทเปา - รงค์ ออยล์ปาล์ม จำกัด จังหวัดนครศรีธรรมราช และ ห้างหุ้นส่วนจำกัด โกลด์เด้นเทเนอรา จังหวัดกระบี่

ลักษณะทั่วไปของปาล์มน้ำมัน

ประเภท
ปาล์มน้ำมันเป็นพืชผสมข้าม มีทั้งช่อดอกเพศผู้และช่อดอกเพศเมีย แยกช่อดอกอยู่ในต้นเดียวกัน การผสมเปิดจะได้ต้นปาล์มรุ่นลูก ที่แตกต่างจากต้นแม่เดิม จึงไม่แนะนำให้เก็บเมล็ดจากใต้ต้นไปขยายพันธุ์ ถ้าปลูกปาล์มน้ำมันจากเมล็ดที่หล่นใต้ต้น หรือนำมาจากแหล่งผลิตพันธุ์ ที่ไม่น่าเชื่อถือจะทำให้ผลผลิตทะลายสดลดลง 15 - 50 % และเปอร์เซ็นต์น้ำมันปาล์มดิบลดลง 35 - 55 %

ลักษณะผล

ปาล์มน้ำมันจำแนกตามลักษณะผล มี 3 แบบ

ดูรา (Dura)

กะลาหนา 2-8 มิลลิเมตร ไม่มีวงเส้นประสีดำอยู่รอบกะลา มีชั้นเปลือกนอกบาง 35 - 60 % เปอร์เซ็นต์น้ำมันดิบต่ำ มียีนควบคุมเป็นลักษณะเด่น

พิสิเฟอรา (Pisifera)

ลักษณะผลไม่มีกะลา มีข้อเสียคือ ช่อดอกตัวเมียมักเป็นหมัน ทำให้ผลฝ่อลีบ ทะลายเล็ก เนื่องจากผลไม่พัฒนาผลผลิตต่ำมากหรือไม่มีผลผลิต ทรงต้นมักจะใหญ่ไม่ใช้ปลูกเป็นการค้า ยีนควบคุมเป็นลักษณะด้อย

เทเนอรา (Tenera)

ลักษณะผลมีกะลาบาง 0.5 - 4 มิลลิเมตร มีวงเส้นประสีดำอยู่รอบกะลา มีชั้นเปลือกนอกหนา 60 - 90 % ลักษณะเทเนอราเป็นพันธุ์ทาง (heterozygous) เกิดจากการผสมข้ามระหว่างลักษณะดูรากับพิสิเฟอรา

สีผล
ปาล์มน้ำมันจำแนกสีผล 2 แบบ
1.สีผลดิบเป็นสีเขียว เมื่อสุกเปลี่ยนเป็นสีส้ม (virescens)
2.สีผลดิบเป็นสีดำ เมื่อสุกเปลี่ยนเป็นสีแดง (nigrescens)

น้ำมันปาล์ม
ได้จาก 2 ส่วน คือ ส่วนเปลือกนอกประมาณ 16 - 25 % ของน้ำหนักทะลายและส่วนเนื้อในประมาณ 3 - 5 % ของน้ำหนักทะลาย

อายุการเก็บเกี่ยว
เริ่มให้ผลอายุ 30 เดือน (นับจากหลังปลูกลงแปลง) ซึ่งขนาดทะลายเล็ก และมีขนาดทะลายโตเต็มที่ อายุ 5 ปีขึ้นไป

รอบการเก็บเกี่ยว
ประมาณ 15 วันต่อครั้ง

ขนาดทะลาย
ควรมีน้ำหนักเฉลี่ยมากกว่า 15 กก.ต่อทะลาย

ความสูง
ความสูงเพิ่มเฉลี่ย 20 - 50 ซม.ต่อปี แต่การปลูกเพื่อการค้า ต้องการปาล์มน้ำมันที่สูงประมาณ 15 - 18 เมตร อายุการเก็บเกี่ยวประมาณ 25 ปี

ระยะปลูก
ปลูกเป็นสามเหลี่ยมด้านเท่า ระยะ 9 x 9 x 9 เมตร จำนวนต้นปลูก 22.8 ต้นต่อไร่

การจัดการสวนปาล์มน้ำมัน

1. การเลือกพื้นที่
• ควรเลือกพื้นที่ที่ดินมีชั้นหน้าดินลึก ความอุดมสมบูรณ์สูงถึงปานกลาง
• ควรมีลักษณะดินร่วน ดินร่วนปนดินเหนียว ดินเหนียว เนื้อดินไม่ควรเป็นทรายจัด ไม่มีชั้นลูกรัง หรือชั้นดินดานสูงมากกว่า 0.50 เมตร
• มีการระบายน้ำดีถึงปานกลาง น้ำไม่แช่ขังนาน มีระดับน้ำใต้ดินตื้น ความเป็นกรดเป็นด่างของดินที่เหมาะสม 4 - 6
• ความลาดเอียง 1 - 12 % แต่ไม่ควรเกิน 23 %
• ควรอยู่ในเขตที่มีปริมาณน้ำฝนไม่น้อยกว่า 1,800 มม./ปี แต่ละเดือนควรมีฝนเฉลี่ยประมาณ 120 มม./เดือน ฝนทิ้งช่วงติดต่อกันนานไม่เกิน 3 เดือน เพราะช่วงแล้งที่ยาวนานทำให้ดอกตัวเมียลดลง ดอกตัวผู้เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ผลผลิตลดลงในเวลา 19 - 22 เดือนหลังจากนั้น
• มีแหล่งน้ำเพียงพอสำรองไว้ใช้ ถ้ามีการขาดน้ำมากกว่า 300 มม.ต่อปีหรือช่วงแล้งติดต่อมากกว่า 4 เดือน
• พื้นที่ที่มีสภาพไม่เหมาะสมสำหรับปลูกปาล์มน้ำมัน เช่น ดินขาดความอุดมสมบูรณ์ สภาพพรุ ดินค่อนข้างเค็ม พื้นที่ที่มีน้ำท่วมขังนาน ฯลฯ ต้องมีการจัดการแก้ไขตามสภาพปัญหาของพื้นที่นั้นๆ
• เป็นพื้นที่ที่มีแสงแดดประมาณ 2,000 ชั่วโมง/ปี หรือไม่ควรต่ำกว่า 5 ชั่วโมงต่อวัน
• อุณหภูมิ 22 - 32 องศาเซลเซียส
• ไม่อับลมและไม่มีลมพัดแรง

2. การเตรียมพื้นที่
• โค่นล้ม กำจัดซากต้นไม้และวัชพืชออกจากแปลง ไถพรวนปรับพื้นที่ให้เรียบ ในกรณีที่โค่นล้มปาล์มเก่าเพื่อปลูกใหม่ทดแทน ควรใช้วิธีสับต้นปาล์มและกองให้ย่อยสลายในแปลง ไม่ควรกองซากต้นปาล์มสูงเกินไป เพราะจะเป็นที่วางไข่ของด้วงแรด
• ทำถนนในแปลง เพื่อใช้เป็นเส้นทางขนส่งผลผลิตและปฏิบัติงานการดูแลรักษาสวน และเก็บเกี่ยวปาล์มการวางผังทำถนนขึ้นอยู่กับสภาพภูมิประเทศและขนาดของสวนปาล์มน้ำมัน โดยทั่วไปรูปแบบของถนน มี 3 แบบคือ
- ถนนใหญ่ กว้างประมาณ 6 - 8 เมตร ห่างกันประมาณ 1 กิโลเมตร เพื่อใช้เป็นเส้นทางขนส่งวัสดุการเกษตร และผลผลิตไปโรงงานสกัดน้ำมันปาล์ม (สำหรับสวนปาล์มขนาดเล็กกว่า 500 ไร่ ไม่จำเป็นต้องสร้างถนนใหญ่)
- ถนนย่อยหรือถนนเข้าแปลง เป็นถนนที่สร้างแยกจากถนนใหญ่ มีความกว้างประมาณ 4 - 6 เมตร ระยะห่างถนนประมาณ 500 เมตร เพื่อใช้สำหรับขนส่งวัสดุการเกษตรเข้าสวนปาล์ม และขนส่งผลผลิต
- ถนนซอย เป็นถนนขนาดเล็กแยกจากถนนย่อยเข้าไปในแปลงปลูกปาล์ม ความกว้างขนาด 3 - 4 เมตร มีระยะห่างประมาณ 50 เมตร สำหรับขนส่งวัสดุการเกษตร และผลผลิตสู่ถนนย่อย
• ทำทางระบายน้ำการทำระบบระบายน้ำควรทำตามความเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ และควรออกแบบให้เชื่อมโยงกับระบบการขนส่งเพื่อให้มีการสร้างสะพานน้อยที่สุด ในสวนปาล์มประกอบด้วยทางระบายน้ำ 3 ประเภท คือ
- ทางระบายน้ำระหว่างแถวปาล์ม ควรสร้างขนานกับทางระบายน้ำหลักและตั้งฉากกับทางระบายน้ำระหว่างแปลง ขนาดของทางระบายน้ำระหว่างแถวปากร่องกว้าง 1.20 เมตร ท้องทางระบายน้ำกว้าง 0.30 - 0.50 เมตร และลึก 1 เมตร การทำทางระบายน้ำระหว่างแถวปาล์มขึ้นอยู่กับชนิดของดินในแต่ละแปลง ถ้าเป็นที่ลุ่มน้ำท่วมขัง ควรขุดระบายน้ำทุก ๆ 2 - 4 แถวปาล์ม ถ้าเป็นที่ราบลุ่มควรมีการระบายน้ำที่ดี ควรทำทางระบายน้ำทุก ๆ 6 แถว ถ้าที่ดอนใช้ระยะ 100 เมตร
- ทางระบายน้ำระหว่างแปลง ควรสร้างขนานกับถนนเข้าแปลง มีระยะห่างกันประมาณ 200 - 400 เมตร ทางระบายน้ำนี้จะตั้งฉากและเชื่อมโยงกับทางระบายน้ำหลักมีขนาดของคูกว้าง 2.00 – 2.50 เมตร ลึก 1.20 – 1.80 เมตร ท้องคูกว้าง 0.60 - 1.00 เมตร
- ทางระบายน้ำหลัก เป็นทางระบายน้ำขนาดใหญ่สามารถรับน้ำจากทางระบายน้ำระหว่างแปลงได้ แล้วไหลลงสู่ทางน้ำธรรมชาติต่อไป ส่วนมากร่องน้ำขนาดใหญ่นี้จะสร้างขนานกับถนนใหญ่ หรือตามความจำเป็นในการระบายน้ำ มีขนาดปากร่อง 3.50 - 5.00 เมตร ท้องร่องกว้าง 1.00 เมตร และลึกประมาณ 2.50 เมตร โดยปกติด้านข้างของทางระบายน้ำจะมีมุมลาดชันประมาณ 50 - 60 องศา จากแนวขนานของทางระบายน้ำ
• วางแนวปลูก ทำหลังจากสร้างถนนและทางระบายน้ำ ระบบการปลูกใช้สามเหลี่ยมด้านเท่า ให้แถวปลูกหลักอยู่ในแนวเหนือ-ใต้ ระยะปลูก 9 เมตร x 9 เมตร x 9 เมตร เพื่อให้ต้นปาล์มทุกต้นได้รับแสงแดดมากที่สุดและสม่ำเสมอ
• ปลูกพืชคลุมดิน ปลูกในช่วงเตรียมพื้นที่เนื่องจากการปลูกปาล์มน้ำมันใช้ระยะปลูก 9 x 9 x 9 เมตร แบบสามเหลี่ยมด้านเท่า ซึ่งทำให้มีพื้นที่ว่างระหว่างแถวมากในช่วงตั้งแต่เริ่มปลูกจนกระทั่งปาล์มอายุ 3 ปี ดังนั้นจึงควรปลูกพืชตระกูลถั่วคลุมดินเพื่อช่วยป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน รักษาความชุ่มชื้นของดิน เพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้แก่ดินจากการตรึงไนโตรเจนจากอากาศของพืชตระกูลถั่ว อีกทั้งยังควบคุมวัชพืชในแปลงด้วย เนื่องจากพืชตระกูลถั่วบางชนิดปลูกคลุมดินครั้งเดียวอย่างถูกวิธี สามารถป้องกันกำจัดวัชพืชได้อย่างต่อเนื่องจนกระทั่งปาล์มน้ำมันให้ผลผลิต แต่มีข้อควรพิจารณาคือ ควรเป็นพืชที่เหมาะกับสภาพแวดล้อมของเขตนั้น เช่น ถั่วพร้า ก็จะเป็นพืชตระกูลถั่วที่เหมาะสมกับภาคอีสาน สำหรับภาคใต้พืชคลุมดินตระกูลถั่วที่นิยมปลูกกันทั่วไปในสวนปาล์มน้ำมันและได้ผลดี คือ ถั่วเพอราเรีย (Puraria phaseoloides) ถั่วเซ็นโตซีมา (Centrosema pubescence) ถั่วคาโลโปโกเนียม (Calopogonium mucunoides) ใช้อัตราเมล็ด 0.8 - 2.0 กิโลกรัมต่อไร่ โดยมีอัตราส่วนของเมล็ดพืชคลุม 3 ชนิดคือ คาโลโปโกเนียม : เพอราเรีย : เซ็นโตซีมา เท่ากับ 2: 2: 3 (เมล็ดมีความงอก 60 - 80 เปอร์เซ็นต์) เมล็ดถั่วทั้ง 3 ชนิดนี้หาชื้อได้ตามร้านค้าชุมชนในพื้นที่ที่มีการปลูกปาล์มน้ำมัน การปลูกพืชคลุมตระกูลถั่วในภาคใต้ ทำได้โดยใช้เมล็ด การปลูกพืชคลุมโดยใช้เมล็ดมี 2 วิธี วิธีแรกปลูกพืชคลุมพร้อมปลูกต้นปาล์มน้ำมัน โดยหลังปลูกปาล์มน้ำมันให้ปลูกตามด้วยพืชคลุมทันที โดยปลูกพืชคลุมหว่านหรือหยอดเมล็ดในระหว่างแถวปาล์มน้ำมัน 5 แถว แต่ละแถวห่าง 1 เมตร ขนานไปกับแถวปาล์ม ห่างจากโคนต้นปาล์ม 2 เมตร และปลูกเพิ่มในแถวปาล์มอีก 3 ในแนวตั้งฉาก นำเมล็ดพืชคลุมที่เตรียมไว้ลงปลูก โดยการเปิดร่องลึก 1.2 นิ้ว โรยเมล็ดในร่องให้กระจายอย่างสม่ำเสมอแล้วกลบ การปลูกด้วยเมล็ดอีกวิธีคือ ปลูกพืชคลุมก่อนปลูกปาล์มน้ำมัน หลังวางแนวปลูกปาล์ม และควรทำในต้นฤดูฝน ให้แนวปลูกพืชคลุมเหมือนกรรมวิธีแรก เมื่อพืชคลุมคลุมพื้นที่ได้ 50 - 60 เปอร์เซ็นต์ หรือ 2 - 3 เดือนหลังปลูกพืชคลุม จึงเอาต้นปาล์มน้ำมันลงปลูก ก่อนปลูกถากพืชคลุมบริเวณหลุมให้เป็นวงกว้างประมาณ 1 - 2 เมตร

ข้อควรระวังในการปลูกพืชคลุมดินคือ
ต้องไม่ให้เถาของพืชคลุมพันต้นปาล์มน้ำมัน และควรมีการป้องกันกำจัดหนูที่จะมากัดโคนต้นปาล์มน้ำมันอย่างสม่ำเสมอ

การวิเคราะห์ดินก่อนปลูกปาล์ม
เป็นการวิเคราะห์คุณสมบัติของดินทั้งทางเคมีและทางกายภาพ เพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปประเมินสภาพและองค์ประกอบของดิน วางแผนปรับปรุงดิน จัดการดิน กำหนดชนิดและวิธีการใส่ปุ๋ย การวิเคราะห์คุณสมบัติของดินทางกายภาพ ได้แก่ ส่วนประกอบของดิน ความลึกของดิน ความลาดเท การระบายน้ำ การวิเคราะห์คุณสมบัติของดินทางเคมี ได้แก่ ความเป็นกรด - ด่าง (pH) ความต้องการปูน อินทรีย์วัตถุ ความเค็มของดิน ฟอสฟอรัส โปแตสเชียม แคลเซียม แมกนีเซียม ส่วนในดินกรดจัดหรือดินพรุวิเคราะห์เพิ่มในธาตุ เหล็ก และทองแดง

3. การปลูกและดูแลรักษา
• เตรียมหลุมปลูก ขุดหลุมให้มีขนาดใหญ่กว่าถุงต้นกล้าเล็กน้อย รูปตัวยู หรือทรงกระบอก ควรแยกดินบน-ล่างออกจากกัน รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยร็อกฟอสเฟต (0-3-0) อัตรา 250 - 500 กรัม/หลุม
• ควรใช้ต้นกล้าที่มีอายุ 8 เดือนขึ้นไป ซึ่งมีลักษณะต้นสมบูรณ์แข็งแรง ไม่แสดงอาการผิดปกติ และมีใบรูปขนนก จำนวนอย่างน้อย 2 ใบ
• เวลาปลูก ควรปลูกในช่วงฤดูฝน ไม่ควรปลูกช่วงปลายฤดูฝนต่อเนื่องฤดูแล้ง หรือหลังจากปลูกแล้ว จะต้องมีฝนตกอีกอย่างน้อยประมาณ 3 เดือนจึงจะเข้าฤดูแล้ง ข้อควรระวัง หลังจากปลูกไม่ควรเกิน10 วันจะต้องมีฝนตก
• วิธีการปลูก ถอดถุงพลาสติกออกจากต้นกล้าปาล์มน้ำมัน อย่าให้ก้อนดินแตก จะทำให้ต้นกล้าชะงักการเจริญเติบโต วางต้นกล้าลงในหลุมปลูกใส่ดินชั้นบนลงก้นหลุมแล้วจึงใส่ดินชั้นล่างตามลงไป และจัดต้นกล้าให้ตั้งตรงแล้วจึงอัดดินให้แน่น เมื่อปลูกเสร็จแล้วโคนต้นกล้าจะต้องอยู่ในระดับเดียวกันกับระดับดินเดิมของแปลงปลูก
• ตอนปลูกควรใช้ตาข่ายหุ้มรอบโคนต้นเพื่อป้องกันหนู หลังจากปลูกเตรียมการป้องกันกำจัดหนูโดยวิธีผสมผสาน หากสำรวจแล้วพบว่ามีหนูเข้าทำลาย ควรวางเหยื่อพิษและกรงดัก
• การปลูกซ่อม เมื่อพบต้นปาล์มที่ถูกทำลายโดยศัตรูพืช และต้นที่กระทบกระเทือนจาการขนส่งหรือการปฏิบัติอย่างรุนแรง ตลอดจนต้นผิดปกติจะต้องขุดทิ้งและปลูกซ่อม ควรปลูกซ่อมให้เร็วที่สุด ดังนั้นควรเตรียมต้นกล้าไว้สำหรับปลูกซ่อมประมาณร้อยละ 5 ของต้นกล้าที่ต้องการใช้ปลูกจริง โดยดูแลรักษาไว้ในถุงพลาสติกสีดำ ขนาด 15 x 18 นิ้ว ต้นกล้าจะมีอายุระหว่าง 12 - 18 เดือน ทั้งนี้เพื่อให้ต้นกล้าที่นำไปปลูกซ่อมมีขนาดใกล้เคียงกับต้นกล้าในแปลงปลูกจริง หรือเตรียมโดยนำไปปลูกระหว่างต้นปาล์มในแถวนอกสุด เพื่อให้คงระยะปลูกภายในแปลงไว้และสะดวกในการจัดการสวน การปลูกซ่อมแบ่งออกเป็น 2 ระยะคือ
1. ปลูกซ่อมหลังจากปลูกในแปลงประมาณ 1 - 2 เดือน หรือไม่ควรเกิน 1 ปี อาจเกิดจากการกระทบกระเทือนตอนขนย้ายปลูก ได้รับความเสียหายจากศัตรูปาล์มน้ำมัน เช่น หนู เม่น หรือเกิดจากภัยธรรมชาติ เช่น น้ำท่วม ความแห้งแล้งหลังปลูกอย่างรุนแรง
2. ปลูกซ่อมหลังจากการย้ายปลูก 1 ปีขึ้นไป เป็นการปลูกซ่อมต้นกล้าที่มีลักษณะผิดปกติ เช่น ต้นมีลักษณะทรงสูง โตเร็วผิดปกติซึ่งเป็นลักษณะของต้นตัวผู้
• หลังปลูก ถ้าพบด้วงกุหลาบเริ่มทำลายใบเป็นรูพรุนให้ฉีดพ่นด้วยเซฟวิน 85 % ในตอนเย็นทั้งใบและบริเวณโคนต้น
• กำจัดวัชพืชรอบโคนต้นในช่วงอายุ 1 - 3 ปี ตามระยะเวลา เช่น ก่อนการใส่ปุ๋ย ถ้าใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชระวังอย่าให้สารเคมีสัมผัส ต้นปาล์มน้ำมัน

4. การใส่ปุ๋ย
• ปาล์มน้ำมันอายุ 1 - 3 ปี เป็นช่วงที่มีการเจริญเติบโตทางลำต้นและใบอย่างรวดเร็ว การใส่ปุ๋ยในช่วงนี้เพื่อให้มีการเจริญเติบโตทั้งทางลำต้นและทางใบอย่างรวดเร็ว โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ต้นปาล์มน้ำมันให้ผลผลิตที่สูง และสม่ำเสมอในระยะต่อ ๆ ไป อย่างไรก็ตามการใส่ปุ๋ยเคมีต้องคำนึงถึงชนิดของดินที่ปลูกปาล์มน้ำมัน เนื่องจากในดินแต่ละพื้นที่มีความอุดมสมบูรณ์ที่แตกต่างกัน ในคำแนะนำนี้ได้แบ่งชนิดดินออกเป็น 5 กลุ่ม เพื่อให้สามารถเลือกใส่ปุ๋ยได้ใกล้เคียงกับชนิดของดินที่ปลูกปาล์มน้ำมัน
• ควรกำจัดวัชพืชก่อนใส่ปุ๋ย และใส่ปุ๋ยในขณะที่ดินมีความชื้นเพียงพอ หลีกเลี่ยงการใส่ปุ๋ยเมื่อฝนแล้งหรือฝนตกหนัก
• ปุ๋ยไนโตรเจน โปแตสเชียม และแม็กนีเชียม ควรหว่านบริเวณรอบโคนต้นให้ระยะห่างจากโคนต้นเพิ่มขึ้นตามอายุปาล์ม (0.50 เมตร ถึง 2.50 เมตร) ส่วนฟอสฟอรัสมักถูกตรึงโดยดินได้ง่าย ควรลดการสัมผัสดินให้มากที่สุด จึงควรใส่ฟอสฟอรัสบนกองทางหรือทะลายเปล่า เนื่องจากเป็นบริเวณที่มีรากของปาล์มหนาแน่น อีกทั้งยังช่วยลดการสูญเสียปุ๋ยจากการชะล้างหรือไหลบ่าของปุ๋ยไปตามผิวดิน
• ควรใส่แมกนีเซียมก่อนโปแตสเซียมอย่างน้อย 2 สัปดาห์
• ใส่ทะลายเปล่าประมาณ 150 - 200 กก./ต้น/ปี วางรอบโคนต้นเพื่อปรับปรุงสภาพดิน รักษาความชื้นและป้องกันการชะล้างพังทลายของหน้าดิน
• การใส่ปุ๋ยปาล์มน้ำมันนั้นจะมีผลต่อผลผลิตหลังจากที่ใส่ไปแล้วประมาณ 2 ปี ดังนั้นจึงไม่ควรลดปริมาณปุ๋ยเนื่องจากตอนนั้นราคาผลผลิตปาล์มน้ำมันต่ำ เพราะการไม่ใส่ปุ๋ยหรือการลดอัตราปุ๋ยจะมีผลกระทบอย่างรุนแรงกับปาล์มที่มีอายุต่ำกว่า 8 ปี

5. การให้น้ำ
• ในสภาพพื้นที่ที่มีช่วงฤดูแล้งยาวนาน หรือสภาพพื้นที่ที่มีค่า การขาดน้ำมากกว่า 300 มม./ปี หรือมีช่วงแล้งติดต่อกันนานกว่า 4 เดือน ควรมีการให้น้ำเสริมหรือทดแทนน้ำจากน้ำฝนในปริมาณ 150 - 200 ลิตร/ต้น/วัน พื้นที่ที่มีขนาดใหญ่ มีแหล่งน้ำเพียงพอและมีแหล่งเงินทุน ควรติดตั้งระบบน้ำหยด (Drip irrigation) หรือแบบมินิสปริงเกอร์ (Minispringkler)

6. การตัดแต่งทางใบ
การตัดแต่งทางใบแตกต่างกันตามอายุของปาล์มน้ำมัน ดังนี้
• อายุระหว่าง 1 - 3 ปี หลังปลูกควรให้ต้นปาล์มน้ำมัน มีทางใบมากที่สุด ตัดแต่งทางใบออกเท่าที่จำเป็น เช่น ทางใบที่แห้ง ทางใบที่มีโรคหรือแมลงทำลายเป็นต้น
• อายุระหว่าง 4 - 7 ปี ต้นปาล์มควรเหลือทางใบ 3 รอบนับจากทะลายที่อยู่ล่างสุด
• อายุระหว่าง 7 - 12 ปี ต้นปาล์มควรเหลือทางใบ 2 รอบนับจากทะลายล่างสุด
• อายุมากกว่า 12 ปี ต้นปาล์มควรเหลือทางใบ 1 รอบนับจากทะลายล่างสุด

7. การเก็บเกี่ยว
• อายุการเก็บเกี่ยว เริ่มให้ผลผลิตครั้งแรกอายุประมาณ 30 เดือน นับจากหลังปลูกลงแปลง และจะให้ผลผลิตอย่างต่อเนื่องเก็บเกี่ยวได้ตลอดปี แต่ต้องมีการดูแลรักษาที่เหมาะสมต่ออายุและสภาพพื้นที่ แล้วปาล์มน้ำมันจะให้ผลผลิตเฉลี่ยตลอดชีวิต 3,000 กก./ไร่/ปี
• รอบการเก็บเกี่ยว อยู่ในช่วง 10 - 20 วัน แล้วแต่ฤดูกาล โดยเฉลี่ยประมาณ 15 วันต่อครั้ง
• ควรเก็บเกี่ยวเมื่อปาล์มน้ำมันสุกพอดี ชนิดผลดิบสีเขียวให้เก็บเกี่ยว เมื่อผลสุกเป็นสีส้มมากกว่า 80 % ของผล หรือมีผลร่วง 1 - 3 ผล ส่วนชนิดผลดิบสีดำเมื่อสุกเปลี่ยนสีผลเป็นสีแดง ให้เก็บเกี่ยวเมื่อมีผลสุก ร่วงจากทะลาย 1 - 3 ผล เมื่อเฉือนเปลือกจะเห็นเนื้อผลเป็นสีส้มเข้ม
• เก็บเกี่ยวทะลายปาล์มน้ำมันแล้ว ควรส่งโรงงานภายใน 24 ชั่วโมง

8. การกองทางใบ
ทางใบที่ตัดแล้วควรนำมาเรียงกระจายให้รอบโคนต้น หรือเรียงกระจายแบบแถวเว้นแถวไม่กีดขวางทางเดินเก็บเกี่ยวผลผลิตและขนผลผลิตและวางสลับแถวกันทุก ๆ ปี เพื่อกระจายทั่วแปลง ซึ่งทางใบเหล่านี้คิดเทียบเป็นปุ๋ยเคมีประมาณ 40 % ของปริมาณปุ๋ยที่ต้องใช้ตลอดทั้งปี จึงช่วยลดการใช้ปุ๋ยเคมีใน สวนปาล์มน้ำมันลงได้ส่วนหนึ่ง นอกจากนี้ทางใบเหล่านี้ยังเป็นตัวกระจายอินทรีย์วัตถุในสวนปาล์มน้ำมันได้เป็นอย่างดี (ประมาณ 1.6 ตันทางใบสดต่อไร่ต่อปี) โดยไม่ต้องเพิ่มต้นทุน จากการใส่ปุ๋ยอินทรีย์ หรือปุ๋ยชีวภาพอื่น ๆ อีก

9. การเลือกซื้อพันธุ์ปาล์มน้ำมัน
• ต้องเป็นพันธุ์ปาล์มน้ำมันลูกผสมเทเนอราเท่านั้น และมีการรับรองพันธุ์
• เลือกซื้อต้นกล้าที่มีลักษณะสมบูรณ์ แข็งแรง ไม่ผิดปกติ ไม่มีโรคและแมลงทำลาย
• โคนต้นควรมีขนาดใหญ่
• เลือกซื้อจากแปลงเพาะกล้าที่มีป้ายแสดงว่าเป็นแปลงเพาะกล้าปาล์มน้ำมัน ที่ได้รับการรับรองโดยกรมวิชาการเกษตร สามารถตรวจรายชื่อ ”ผู้ขอจดทะเบียนแปลงเพาะกล้าปาล์มน้ำมัน” ได้จาก http:// www.doa.go.th
• ดูหลักฐานแหล่งที่มาของพันธุ์ที่น่าเชื่อถือ และที่กรมวิชาการเกษตรรับรอง ซึ่งตรวจสอบได้จากแบบบันทึกการตรวจสอบแปลงเพาะต้นกล้าปาล์มน้ำมันสำหรับผู้ประกอบการ
• ขอดูบัตรประจำตัวเจ้าของแปลงเพาะชำปาล์มน้ำมัน รับรองโดยกรมวิชาการเกษตร
• ขอหนังสือสัญญาซื้อขายหรือใบเสร็จรับเงินเป็นหลักฐาน
• แหล่งที่มาของพันธุ์ปาล์มน้ำมันที่มีจำหน่ายในประเทศไทย ได้แก่
- ศูนย์วิจัยปาล์มน้ำมันสุราษฎร์ธานี ปัจจุบันมี 6 พันธุ์ คือ พันธุ์ปาล์มน้ำมันลูกผสมสุราษฏร์ธานี 1, 2, 3, 4, 5 และ 6
- ผลิตโดยบริษัทเอกชนของประเทศไทย
- นำเข้าจากต่างประเทศ ได้แก่ ประเทศคอสตาริก้า ปาปัวนิวกินี ไอวอรีโคสต์ แซร์ เบนิน ยกเว้น มาเลเซียและอินโดนีเซีย เนื่องจากมีนโยบายห้ามส่งออกพันธุ์ปาล์มน้ำมันตั้งแต่ปี พ.ศ. 2526
วั
ชพืชที่สำคัญและการป้องกันกำจัด

วัชพืชในสวนปาล์มน้ำมัน มีทั้งวัชพืชฤดูเดียว (annual weeds) และวัชพืชหลายฤดู หรือวัชพืชข้ามปี (perennial weeds) แบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท
1. วัชพืชใบแคบ ได้แก่ หญ้าคา หญ้าเห็บ หญ้าดอกแดง หญ้าตีนกา หญ้าตีนนก หญ้ามาเลเซีย เป็นต้น
2. วัชพืชใบกว้าง ได้แก่ ขี้ไก่ย่าน กระทกรก ผักปราบ ผักบุ้งไร่ สาบเสือ สาบแร้ง สาบกา ผักยาง ผักโขม น้ำนมราชสีห์ เป็นต้น
3. เฟิร์น ได้แก่ เฟิร์นก้างปลา ผักกูดแดง ย่านโซน ย่านลิเภา เป็นต้น

การควบคุมวัชพืช
การควบคุมวัชพืชมีหลายวิธี เช่น การใช้แรงงาน การใช้เครื่องจักร ตัดวัชพืช การใช้วัสดุคลุมดิน การปลูกพืชคลุมดินโดยใช้พืชตระกูลถั่ว การปลูกพืชแซม และการใช้สารเคมีกำจัดวัชพืช เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพ ดีกว่าการควบคุมวัชพืชด้วยวิธีอื่น ชนิดสารกำจัดวัชพืช อัตราการใช้ วิธีการใช้แสดงในตาราง โดยผสมน้ำ 60 - 80 ลิตร/ไร่ ใช้หัวพ่น ปล่อยน้ำยารูปพัดพ่นให้ทั่วต้นวัชพืช หลีกเลี่ยงละอองสารถูกใบ และต้นปาล์มน้ำมัน

โรคปาล์มน้ำมัน
โรคในระยะเมล็ด
โรคบราวน์เยิม (Browngerm disease)
สาเหตุ: เกิดจากเชื้อรา Aspergillus spp., Penicillium spp., Mucorales และ Fusarium spp.
ลักษณะอาการ: เิกิดจุดแผลสีน้ำตาลที่ปลายรากอ่อนและยอดอ่อนต่อมาแผลขยายตัวทำลายเนื้อเยื่อของรากและยอดอ่อนแผลขยายตัวทำลายเนื้อเยื่อของรากและยอดอ่อนแผลขยายตัวลุกลามเข้าสู่คัพภะ ทำให้ส่วนของคัพภะและเนื้อเยื่อในเมล็ด (kernal) ถูกทำลายในกรณีที่เชื้อราเข้าทำลายปลายรากอ่อนแต่ไม่รุนแรงจนถึงส่วนของคัพภะต้นกล้าสามารถสร้างรากแขนงออกมาทดแทนการเกิดโรคมีผลทำให้การเจริญของต้นกล้าหยุดชุงักไปชั่วขณะ หรือทำให้ต้นกล้าที่ได้มีการเจริญเติบโตช้ากว่าต้นกล้าปกติไม่สมบูรณ์ไม่เหมาะที่จะนำไปปลูกลงแปลงบนเมล็ดที่เป็นโรคมักพบกลุ่มของเชื้อราสีน้ำเงินปนเขียวคลุมบริเวณที่เชื้อเข้าทำลายพบการเกิดโรคได้ทั้งส่วนของยอดหรือราก หรือเกิดทั้งบนยอดและรากอาการของโรคที่พบบนยอดความรุนแรงน้อยกว่าที่เกิดบนราก เมล็ดที่มีีรอยแตกเป็นจุดให้เชื้อราเข้าทำลายบริเวณเนื้อในของเมล็ด และเป็นแหล่งสะสมของเชื้อราสามเหตุที่สามารถเข้าทำลายส่วนยอดและรากที่ที่งอกมาภายหลังได้

การแพร่ระบาด:
เชื้อราสาเหตุแพร่ระบาดไปกับลม

การป้องกันกำจัด:
เก็บเมล็ดไว้ที่มีความชื้อต่ำกว่า 19 % ทำความสะอาดเมล็ดโดยเอา เส้นใยออกให้หมดแยกเมล็ดแตกออกหลีกเลี่ยงการใช้สารป้องกันกำจัดเชื้อราและแมลงบางชนิดที่มีส่วนประกอบของทองแดง และปรอท เพราะจะทำให้เกิดอันตรายกับส่วนอ่อนที่เริ่มงอก

โรคที่เกิดจากเชื้อ Schizophyllum commune
สาเหต:ุ
เกิดจากเชื้อเห็ด Schizophyllum commune

ลักษณะอาการ:
เส้นใยของเชื้อสาเหตุเจริญเข้าไปในเมล็ดทางช่องสำหรับงอกเข้าทำลายส่วนของเนื้อในเมล็๋ด ทำให้เมล็ดไม่งอกในสภาพที่มีความชื้อที่พอเหมาะาจะสร้างดอกเห็ดขึ้นบนเมล็ด มีชื่อเรียกทางภาคใต้ว่าเห็ดแครง ทางภาคเหนือเรียก เห็ดแต้บ หรือเห็ดตามอด การเข้าทำลายพบรุนแรงมากยิ่งขึ้นในเมล็ดที่แตกหรือร้าว
เชื้อสาเหตุแพร่กระจายโดยลม ระบาดโดยการสัมผัสกันของเมล็ดที่ี่เป็นโรค กับเมล็ดปกติ

การป้องกันกำจัด:
* แยกเส้นใยออกจากเมล็ดให้หมด ไม่ให้มีเส้นใยของ ปาล์มน้ำมันเหลืออยู่เป็นอาหารของเชื้อเห็ด แยกเมล็ดแตกหรือร้าวออก
* ลดความชื้นของเมล็ดให้ต่ำกว่า 19 เปอร์เซ็นต์
* ตรวจถุงเพาะเมล็ดอย่างสม่ำเสมอ และแยกเมล็ดที่เป็นโรคออกจากถุงให้หมดควรใช้เทคนิคในการทำให้เมล็ดงอกที่ดีเพื่อป้องกันการเกิดโรค

โรคในระยะต้นกล้า
โรคแอนแทรคโนส (Anthracnose)
สาเหตุ:
เกิดจากเชื้อรา Botryodiplodia sp., Melanconium sp. และ Glomerella sp.

ลักษณะอาการ:
โดยทั่วไปจะเกิดแผลที่ทำให้เนื้อเยื่อของพืชตาย (necrosis) มีลักษณะยุบตัวลงอาการแตกต่างกันตามเชื้อสาเหตุ ดังนี้
1. เกิดจากเชื้อรา Botryodiplodia
ในระยะแรกเกิดจุดใสลักษณะโปร่งแสงบริเวณใกล้ยอดหรือปลายใบ จุดเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล และขยายใหญ่ขึ้น มีวงสีเหลืองล้อมรอบแผลต่อมาแผลขยายตัวรวมกันเจนเต็มพื้นที่ปลายใบ กลางแผลเริ่มแห้งเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล มีจุดสีดำเกิดบนแผลและเรียงตัว กันตามขวาง ซึ่งเชื้อราจะสร้างสปอร์ขึ้นภายในจุดเหล่านี้
2. เกิดจากเชื้อรา Melanconium
ลักษณะอาการในระยะแรกเกิดจุดใสเล็กบนใบ ต่อมาจุดใสเปลี่ยนเป็น สีน้ำตาลใสมีลักษณะฉ่ำน้ำ เกิดแผลเซลล์แห้งตายมีวงสีเหลืองล้อมรอบแผล บริเวณกลางแผลแห้งรวดเร็วกว่าแผลที่เกิดจากเชื้อรา Botryodipoldia แต่ความรุนแรงจะน้อยกว่าแผลมีขอบชัดเจน มักเกิดจากปลายใบ ต้นกล้า แสดงอาการของโรคเมื่อสภาพแวดล้อมเหมาะสม โดยเฉพาะในสภาพที่มีความชื้นสูง
3. เกิดจากเชื้อรา Glomerella
ระยะแรกเกิดจุดแผลสีน้ำตาลฉ่ำน้ำระหว่างเส้นใยและขยายตัวตามยาว เป็นรอยขีดมีสีน้ำตาลหรือดำล้อมรอบด้วยวงสีเหลือง สุดท้าย เนื้อเยื่อกลางแห้งแผลจะแห้ง เนื่องจากเซลล์ตายทำให้ใบขาดรุ่งริ่ง เชื้อราสร้างจุดดำ ๆ (Acervuli) ออกมาจาก epidermis เมื่อ acervuli แก่จะสร้างสปอร์สีชมพูเป็นเมือกสปอร์จาก acervuli ถูกน้ำฝนหรือน้ำจากการให้น้ำชะไปยังส่วนอื่นของใบหรือใบอื่นข้างเคียง ทำให้เกิดเป็น secondary infection

การแพร่ระบาด:
เกิดจากลมพัดสปอร์ของเชื้อปลิวไปตกบนใบปาล์มน้ำมัน หยดน้ำที่มาจากการให้น้ำหรือจากน้ำฝน

การป้องกันกำจัด:
* จัดระบบการให้น้ำโดยให้น้ำแบบเป็นฝอยมาก ๆ เพราะถ้าให้น้ำมากหยดน้ำที่ใหญ่จะทำให้เกิดแผลบนใบได้เป็นช่องทางให้เชื้อเข้าทำลายได้
* ไม่ควรวางต้นกล้าชิดเกินไป
* เพาะต้นกล้าจากเมล็ดงอก เพื่อเป็นการจะลดอาการช็อคเนื่องจากการย้ายต้นกล้า จะดีกว่าการเพาะจากต้นกล้าที่เปลือยราก
* เมื่อพบต้นกล้าที่แสดงอาการโรคควรนำต้นที่เป็นโรค ออกจากแปลงเพื่อลดการระบาด
* พ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืช แคปแทน หรือไทแรม หรือไทอะเบ็นดาโซล ทุก 10 วัน เมื่อโรคระบาด

โรคใบไหม้ (Seedling Blight)
สาเหตุ:
เกิดจากเชื้อรา Curvularia eragostidis

ลักษณะอาการ:
พบอาการของโรคบนยอดที่ยังไม่คลี่หรือบนใบที่เริ่มคลี่ 2 ใบแรกในระยะแรกเกิดจุดเล็ก ๆ ลักษณะโปร่งใสกระจายอยู่ทั่วไปบนใบ ต่อมาแผลมีการพัฒนาเห็นชัดเจนขึ้น เมื่อแผลเจริญเต็มที่มี รูปร่างกลมสีน้ำตาลดำบุ๋มตรงกลาง ขอบแผลนูนมีลักษณะเป็นมัน แผลมีวงสีเหลืองล้อมรอบ ต่อมาแผลขยายตัวใหญ่ขึ้นมีรูปร่างกลมรี ความยาวขาองแผลอาจถึง 7 - 8 มิลลิเมตร ถ้าหากโรคระบาดรุนแรงแผลจะรวมตัวกันทำให้ใบเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลมองดูคล้ายไฟไหม้ อาการใบแห้งจากโรคนี้จะเริ่มจากใบล่างขึ้นไป ใบแห้ง ม้วนงอมีลักษณะกรอบ ต่อมาเกิดอาการ die back การเจริญเติบโตของต้นกล้าชะงักและต้นกล้าสามารถฟื้นตัวขึ้นมาใหม่ได้ แต่ก็ไม่เหมาะในการนำไปปลูก เนื่องจากมีการเจริญเติบโตช้ากว่าต้นกล้าปกติ ในกรณีที่โรครุนแรงทำให้ต้นกล้าถึงตายได้

การแพร่ระบาด:
สปอร์ของเชื้อราปลิวไปกับลมในอากาศ น้ำฝน และในระหว่างการให้น้ำ ต้นกล้าปาล์มน้ำมัน

การป้องกันกำจัด:
* คอยสังเกตใบอ่อนของต้นกล้าซึ่งเป็นส่วนที่ง่ายต่อการ เข้าทำลายของเชื้อรา เมื่อพบอาการของโรคบนใบ ควรตัดส่วนที่เป็นโรค ออกทำลาย ถ้าเกิดอาการรุนแรงต้องนำต้นที่เป็นโรคออกจากแปลง เพื่อเป็นการกำจัดแหล่งของเชื้อสาเหตุในแปลงเพาะ
* บำรุงรักษาให้ปุ๋ยแก่ต้นกล้าให้ต้นกล้าแข็งแรง
* ใช้สารเคมี เบโนมิล หรือแคปแทน โดยใช้สารเคมี 56 กรัมต่อน้ำ 12.5 ลิตร

<ฺฺb> โรคใบจุด (Helminthosporium leaf spot)
สาเหตุ:
เกิดจากเชื้อรา Drechslera halodes Helminthosporium sp.

ลักษณะอาการ:
เริ่มที่ใบอ่อนหรือใบยอดที่ยังไม่คลี่ เกิดจุดกลมเล็ก ๆ ขนาดเท่าปลายเข็มหมุดมีสีเหลืองใส แต่ละจุดมีวงแหวนสีเหลืองล้อมรอบ ลักษณะการเกิดแผลเป็นกลุ่ม โดยมากเกิดบริเวณปลายใบเข้ามา ต่อมาจุดแผลเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลดำเมื่อโรคระบาดรุนแรงวงแหวนสีเหลืองขยายตัวรวมกัน ทำให้ใบมีสีเหลืองทั้งใบ และเริ่มแห้งเป็นสีน้ำตาล โดยเริ่มจากปลายใบ เข้าหาโคนใบ ขนาดของแผลเล็กกว่าแผลที่เกิดจากโรคใบไหม้ และแผลไม่ขยายตัวมากนัก

การแพร่ระบาด:
สปอร์ปลิวไปกับลม และน้ำ

การป้องกันกำจัด:
* แยกต้นที่เป็นโรคออกเผาทำลาย
* พ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืช ไทแรม หรือ แคปแทน ทั้งบนใบและใต้ใบ

โรคบลาส (Blast disease)
สาเหต:ุ
เกิดจากเชื้อรา Rhizoctonia lamellifera และ Pythium splendens

ลักษณะอาการ:
มีอาการใบด้านและนิ่ม สีของใบมีลักษณะทึบ ต่อมาสีของใบเปลี่ยนเป็น สีมะกอก หรือสีกากี เกิดอาการแห้งเปลี่ยนเป็นสีม่วงน้ำตาลและสีน้ำตาลเข้ม อาการเริ่มที่ปลายใบล่างแล้วลุกลามทั้งใบ ใบกรอบและเปลี่ยนเป็นสีเทา ในที่สุด อาการเริ่มจากใบล่างลุกลามไปยังใบยอด เมื่ออาการรุนแรง ต้นกล้าแห้งตายภายในเวลา 2 - 3 วัน ในระยะที่เริ่มแสดงอาการ บนใบจะเกิดการเน่าที่ปลายรากลุมลามเข้าทำลายเนื้อเยื่อส่วนของเปลือกราก ทำให้เหลือกรากหลุดออกเมื่อลอกเปลือกรากออกจพบส่วนเนื้อเยื่อภายใน ที่เป็นโรคเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลลักษณะฉ่ำน้ำ ในขณะที่ส่วนที่ไม่ถูก ทำลายจะมีสีขาว เปลือกรากที่ถูกทำลายมีลักษณะแห้ง มีสีเทาหรือดำ แต่การเน่าของรากไม่เข้าทำลายส่วนของลำต้น ซึ่งเป็นลักษณะ สำคัญที่ทำให้อาการโรคบลาส ต่างจากโรครากเน่าของต้นกล้าปาล์มน้ำมัน

การแพร่ระบาด:
เชื้อสาเหตุติดไปกับดิน หรือวัสดุปลูก และการให้น้ำ นอกจากนี้มีรายงาน พบว่า เพลี๊ยจักจั่น Recilla mica Kramer เป็นแมลงพาหะของโรค เพลี๊ยจั๊กจั่นอาศัยอยู่บนวัชพืช Paspalum และ Pennisetum ซึ่งพบในแปลงปลูกปาล์มน้ำมัน

การป้องกันกำจัด:
เน้นด้านการเขตกรรมเป็นหลัก คือ
- ดินที่ใช้เพาะกล้าควรมีลักษณะที่เก็บน้ำไว้ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในช่วงแล้ง
- ให้น้ำอย่างเพียงพอ
- การให้น้ำจะช่วยลดอุณหภูมิของดินลงในช่วงที่มีอากาศร้อน
- คลุมดินเพื่อลดการสูญเสียความชื้นและลดอุณหภูมิของดิน ควรจัดเรียงถุงเพาะเป็นแถวตามทิศตะวันออก-ทิศตะวันตก
- เพื่อเป็นการป้องกันการบังแสงแดดของต้นกล้า
- ให้ปุ๋ยบำรุงต้นกล้าให้แข็งแรง
- ในบริเวณที่แมลงมีส่วนในการทำให้เกิดโรค ควรกำจัดวัชพืชในแปลงและรอบแปลงเพาะโดยใช้สารเคมี aldicarb (Temik) 2 กรัมต่อต้น ทุกเดือน

โรคปาล์มน้ำมันในแปลงปลูก
โรคทางใบบิด (Crown disease)
เกิดจากสรีระของพืชและอาจถ่ายทอดทางพันธุกรรม
ลักษณะอาการ:
เป็นโรคที่เกิดในปาล์มอายุปลูก 1 - 3 ปี แต่เมื่อปาล์มน้ำมัน มีอายุมากขึ้นอาการของโรคจะหายไปได้เอง อาการในระยะแรก พบที่บริเวณกลางทางยอดเกิดแผลสีน้ำตาลแดงลักษณะฉ่ำน้ำ เมื่อแผลขยายตัวทำให้ใบย่อยที่ยังไม่คลี่เกิดอาการเน่าทางยอด มีลักษณะโค้งงอลงเมื่อทางยอดคลี่ออกพบว่าทางใบย่อยบริเวณกลางทาง ที่เกิดแผลแห้งหรือฉีกขาดรุ่งริ่งเหลือแต่เส้นกลางใบติดอยู่กลางทางที่เป็นโรค ในกรณีเป็นโรครุนแรงจะพบอาการทางโค้งงอเช่นนี้หลาย ๆ ทางโดยรอบยอด ทำให้ดูแล้วมีลักษณะคล้ายมงกุฎ

การป้องกันกำจัด:
* สร้างพันธุ์เพื่อให้ได้ลูกผสมที่ต้านทานต่อโรค
* เมื่อพบโรคก้านทางบิดในแปลงปลูกควรตัดส่วนที่แสดง อาการที่ยอดอ่อนที่ยังไม่คลี่ออกให้หมด แล้วพ่นด้วยสารป้องกันกำจัด โรคพืชแคปแทน 0.2 % หรือ ไทอะเบ็นดาโซล 0.1 % และสารฆ่าแมลง trichlorphon 0.1 %

โรคใบจุดสาหร่าย (Agal spot, Red rust)
สาเหต:ุ
เกิดจากเชื้อรา Cephaleuros virescence Kunze

ลักษณะอาการ:
เกิดจุดเล็ก ๆ ขนาดเท่าหัวเข็มหมุดที่ด้านบนของใบย่อยบนทางล่าง ๆ และอาจพบบริเวณบนก้านทางล่าง ๆ หรือก้านช่อดอก ต่อมาแผลขยายตัว เป็นตุ่มแผลสีน้ำตาลแดง ซึ่งเป็นที่สร้าง zoomsport ของเชื้อรา ขนาดผลโตเต็มที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 - 3 มม. แผลมองดูคล้ายกำมะหยี่ หากอาการของโรครุนแรงแผลจะรวมตัวกัน ทำให้แผลมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางถึง 1 ซม. เมื่อขูดส่วนที่เป็นตุ่มแผลออกพบว่าผิวใบด้านล่างไม่ถูกทำลาย บริเวณรอบ ๆ ตุ่มแผลอาจมีวงสีเหลืองล้อมรอบเนื่องจากเกิดการบังของแสงบริเวณ ๆ แผล แสดงโรคนี้ไ่ม่มีอันตรายกับปาล์มน้ำมันเพียงแต่เป็น epiphyte บนใบเท่านั้น ผลเสียหายเกิดเนื่องจากบดบังแสงเป็นการกีดขวางการสังเคราะห์แสงของใบปาล์มน้ำมัน ซึ่งเกิดบนทางใบที่แก่เท่านั้น

การแพร่ระบาด:
เชื้อราแพร่กระจายไปกับน้ำฝนหรือการให้น้ำไปยังบริเวณอื่นบน ใบเดียวกันหรือบนใบอื่น ในฤดูฝนการเกิดโรคสูงเนื่องจากปริมาณความชื้นสูง

การป้องกันกำจัด:
เนื่องจากการเกิดโรคของเชื้อรา C. virescence ไม่ทำลายส่วนของพืชแต่จะรบกวนกระบวนการสังเคราะห์แสงเท่านั้น ดังนั้นการตัดแต่งทางใบล่าง ๆ ที่แสดงอาการของโรคออกจะเป็นการป้องกัน
โรคไม่ให้ลุกลามได้

โรคลำต้นเน่า (Basal stem rot)
สาเหต:ุ
เกิดจากเชื้อเห็ด Ganoderma sp.

ลักษณะอาการ:
ทางใบล่างหักพับทิ้งตัวห้อยลงรอบ ๆ ลำต้น ทางยอดที่ยังไม่ คลี่มีจำนวนมากกว่าปกติ ในขณะเดียวกันพบว่าภายใน ลำต้นปาล์มน้ำมันถูกทำลายไปถึง 50 % เมื่ออาการรุนแรงขึ้น ทางล่างจะค่อย ๆ แห้งตายลุกลามจนถึงยอด ต้นปาล์มน้ำมันจะตายหลังจากแสดงอาการ 2 - 3 ปี เชื้อสาเหตุสร้างดอกเห็ดลักษณะคล้ายพัด มีสีน้ำตาลแดงขอบสีขาวผิวด้านบนเรียบเป็นมันคล้ายทาด้วยแลคเกอร์ ผิวด้านล่างมีสีขาวขุนเต็มไปด้วยรูเล็ก ๆ ซึ่งเป็นที่สร้างสปอร์สีน้ำตาลเป็นผลละเอียด ภายในลำต้นเกิดผลสีน้ำตาลขอบแผลไม่เรียบมีสีน้ำตาลเข้ม รากมีลักษณะเปราะหักง่าย เนื้อเยื่อภายในรากผุเปื่อยร่วนเป็นผง

การแพร่ระบาด:
โดยการสัมผัสกันของรากที่เป็นโรคกับรากของต้นปกติ

การป้องกันกำจัด:
1. ขุดหลุมรอบ ๆ ต้นปาล์มที่เป็นโรค เพื่อเป็นการป้องกันการแพร่ระบาด จากต้นที่เป็นโรคไปยังต้นปกติ โดยการสัมผัสกันของราก
2. เก็บดอกเห็ดที่เชื้อเห็ดสร้างออกทำลาย
3. ตรวจสอบต้นที่เป็นโรค โดยใช้ไม้เคาะลำต้นปาล์มน้ำมัน เพื่อฟังเสียงในบริเวณที่ถูกทำลาย ถากส่วนที่เป็นโรคออก
4. หลังจากถากเอาส่วนที่เป็นโรคออกหมดแล้ว ทาส่วนที่ตัดด้วยสารเคมีเช่น Coal tar หรือ ส่วนผสมของ Coal tar กับสารป้องกันกำจัดโรคพืช ไทแรม
5. เมื่อมีการปลูกแทนควรกำจัดตอปาล์มเก่าให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้

โรคลำต้นส่วนบนเน่า (Upper stem rot)
สาเหตุ:
เกิดจากเชื้อรา Phellinus noxius

ลักษณะอาการ:
ลำต้นของปาล์มน้ำมันหักพับลงตรงจุดใดจุดหนึ่งของลำต้น
และพบดอกเห็นสูงจากพื้นดินประมาณ 1 เมตร ในบางครั้งต้นปาล์มน้ำมันอาจจะหักพับ โดยไม่สร้างดอกเห็ดที่โคนต้น แต่จะมีดอกเห็ดบนต้นที่ตายแล้วในภายหลังในกรณีที่พบดอกเห็ดที่โคนต้นเชื้อสาเหตุเข้าทำลายต้นปาล์มน้ำมันทางซอกทางใบ และขยายตัวเข้าไปทำลายเนื้อเยื่อของลำต้น ทำให้เกิดการขัดขวางการขนส่งน้ำและอาหารที่จะส่งไปที่ใบทำให้ใบมีสีเหลืองศซีด ทางใบที่สร้างใหม่มีขนาดเล็กลงและมีจำนวนน้อยลงกว่าปกติ เมื่อแผลภายในลำต้นขยายตัวมากขึ้นทางใบแก่จะทิ้งตัวหักพับและห้อยขนานกับลำต้นซึ่งเป็นลักษณะอาการที่คล้ายกับอาการของโรคลำต้นเน่าที่เกิดจากเชื้อรา Ganoderma spp. เมื่อผ่าลำต้นพบเนื้อเยื่อภายในลำต้นถูกทำลายไปถึง 60 - 80 % ลักษณะอาการในลำต้น แผลเน่าเริ่มจากบริเวณกาบทางแผลมีสีน้ำตาล ส่วนใหญ่พบเส้นใยสีขาวของเชื้อราบริเวณขอบแผลเชื้อราทำลายส่วนของลำต้นของปาล์มน้ำมันแต่ไม่ลุกลามไปถึงส่วนของราก เชื้อราสาเหตุสามารถเข้าทำลายต้นปาล์มน้ำมันได้หลายจุดโดยรอบลำต้นเมื่อแผลภายในลำต้นขยายตัวมาชนกันทำให้ต้นหักพับได้

การแพร่ระบาด:
เชื้อสาเหตุแพร่กระจายไปตามลม
การป้องกันกำจัด:
1. ตัดแต่งทางใบแก่ โดยตัดทางใบให้เหลือตอทางสั้นเท่าที่จะทำได้ จะช่วยลดการเกิดโรคเนื่องจากซอกของตอทางที่เหลือยาวมีความชื้นสูงเหมาะที่จะเป็นทีอยู่อาศัยของเชื้อสาเหตุ
2. ตัดส่วนที่เป็นโรคออกในระยะแรกก่อนการสร้างดอกเห็ด หลังจากตัดส่วนที่เป็นโรคออกแล้วพ่นด้วยสาร tridemorph (1 % Calixin) เพื่อป้องกันเชื้อจุลินทรีย์ชนิดอื่นเข้าทำลายซ้ำเติม และติดตามผลหลังจากตัดส่วนที่เป็นโรคออก 6 เดือนเป็นอย่างน้อย
3. ตรวจสอบต้นที่เป็นโรคโดยใช้ไม้เคาะลำต้นปาล์มน้ำมัน เพื่อฟังเสียงในบริเวณที่ถูกทำลายและสังเกตพืชที่อาศัยอยู่บนต้นปาล์มน้ำมัน เช่น เฟิร์นถ้ามีลักษณะสมบูรณ์ใบมีสีเขียวเข้ม จะเป็นลักษณะที่แสดงให้เห็นว่าได้รับอาหารอย่างสมบูรณ์ เนื่องจากลำต้นที่เป็นโรคเป็นแหล่งอาหารอย่างดี เพราะเชื้อสาเหตุทำลายย่อยสลายเนื้อเยื่อของลำต้นปาล์มน้ำมันไปบ้างแล้ว ทำให้เป็นแปล่งที่อุดมสมบูรณ์ของพืชที่อาศัยบนต้นปาล์มน้ำมัน
4. ขุดต้นปาล์มน้ำมันที่เป็นโรคหักล้มในแปลงออกให้หมด ถ้าหากทิ้งต้นที่เป็นโรคไว้ในแปลงจะเป็นแหล่งของเชื้อราโดยเฉพาะอย่างยิ่งเชื้อ Ganoderma spp. สาเหตุของโรคลำต้นเน่าของปาล์มน้ำมัน

โรคผลร่วง (Bunch failure)
สาเหต:ุ
มีหลายสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคผลร่วงของปาล์มน้ำมัน เช่น โรค dry basal rot ทะลายแสดงอาการเน่าแห้ง จากการเข้าทำลายของแมลง การเข้า ทำลายของไส้เดือนฝอย Radinaphelenchus cocophilus การผสมเกสรที่ไม่สมบูรณ์ หรือการขาดธาตุอาหารของปาล์มน้ำมัน ในช่วงที่ให้ผลผลิตสูง

ลักษณะอาการ:
ผิวของผลปาล์มน้ำมันมีลักษณะด้านกว่าผลปกติ เมื่อมีการกระทบกระเทือนทะลายปาล์มที่แสดงอาการผิวด้าน จะร่วงจากทะลายอาการผลร่วงนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของทะลายเท่านั้นไม่ได้แสดงอาการผลร่วงหมดทั้งทะลาย ดยมากพบว่าบริเวณที่ร่วงจะอยู่ส่วนปลายของทะลาย ปริมาณผลที่ร่วง พบได้ตั้งแต่ 1/4 - 1/2 ของทะลาย ส่วนของผลที่แสดงอาการยังคงติดอยู่บนทะลาย แต่ผลจะค่อย ๆ แห้ง และถ้ามีการกระทบกระเทือนทะลาย เช่น การตัดทะลาย สุกหรือตัดแต่งก้านทาง ลที่แสดงอาการผิดปกตินี้จะร่วงหลุดจากทะลายกระจายอยู่บนพื้นดินใต้ต้นส่วนผลปกติที่เหลือบนทะลายยังคงติดอยู่บนทะลายบนต้นโดยไม่แสดงอาการผิดปกติแต่อย่างใด
การแพร่ระบาด:
เชื้อสาเหตุแพร่กระจายโดยลม

การป้องกันกำจัด:
* ทำลายส่วนที่แสดงอาการออกให้หมด เป็นการลดแหล่งสะสมของ เชื้อโรคและแมลง
* หลีกเลี่ยงสภาพที่จะทำให้เกิดอาการ โดยให้ปุ๋ยและน้ำแก่ ปาล์มน้ำมันในช่วงที่มีผลผลิตสูง

โรคทะลายเน่า (Marasmius bunch rot)
สาเหตุ:
เกิดจากเชื้อเห็ด Marasmius palmivorus

ลักษณะอาการ:
ในระยะแรกพบเส้นใยสีขาวของเชื้อราบนทะลายปาล์มน้ำมัน เส้นใยเจริญอยู่บริเวณช่องระหว่างผลปาล์มน้ำมันและโคนทะลายส่วนที่ติดทางใบ ต่อมาเส้นใยขึ้นปกคลุมทั้งทะลาย เกิดอาการผลเน่าเป็นสีน้ำตาล ทำให้เกิดกรดไขมันอิสระเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในผลที่เน่าถ้าหากทะลายที่แสดงอาการ ยังคงติดอยู่บนต้นผลจะแสดงอาการเน่าแห้งและมีเชื้อราชนิดอื่น ๆ เข้าทำลายภายหลังได้ ในแปลงที่ไม่มีการกำจัดทะลายที่แสดงอาการเน่าออกจากต้น เชื้อราสาเหตุจะ กระจายไปยังทะลายที่อยู่ใกล้เคียงตลอดจนส่วนอื่น ๆ ของต้นปาล์มน้ำมัน เช่น บนโคนก้านทาง ก้านทาง หรือบนใบย่อย

การแพร่ระบาด:
เชื้อสาเหตุแพร่กระจายโดยลม

การป้องกันกำจัด:
วิธีการป้ิองกันกำจัดที่ดีที่สุดก็คือ วิธีการทางเขตกรรม โดยกำจัดส่วน ที่เป็นโรคออก ดูแลการผสมเกสรให้เพียงพออีกประการหนึ่งที่สำคัญคือ หลีกเลี่ยงการสร้างทะลายจำนวนมากในระยะที่ต้นปาล์มน้ำมันกำลังอยู่ในช่วงเจริญเติบโตให้ผลผลิตในระยะแรก โดยการตัดช่อดอกหรือทะลายทิ้ง ช่วยผสมเกสรในช่วงทีมีเกสรตัวผู้หรือแมลง ข่วยผสมน้อย ควรเก็บทะลายที่มีการผสมเกสรไม่สมบูรณ์ออกให้หมด ตลอดจนการตัดแต่งก้านทางใบให้สั้นลงเป็นการลดความชื้นที่คอทาง

แมลงศัตรูปาล์มน้ำมัน
หนอนหน้าแมว
ชื่ออื่น:หนอนดาน่า
ชื่อสามัญ:The Oil Palm Slug Caterpillar
ชื่อวิทยาศาสตร์:Darna furva Wileman
ชื่อวงศ์: Limacodidae
ชื่ออันดับ: Lepidoptera

ความสำคัญและลักษณะการทำลาย:
หนอนกัดทำลายใบปาล์มน้ำมัน ถ้าอาการรุนแรงมากใบถูกกัด จนเหลือแต่ก้านใบ ทำให้ผลผลิตลดลง ต้นชะงักการเจริญเติบโต และกว่าต้นจะฟื้นคืนดังเดิมใช้เวลานานเป็นปี เมื่อเกิดมีการระบาดแต่ละครั้งมักต้องใช้เวลาในการกำจัดนาน เป็นเพราะหนอนมีหลายระยะในเวลาเดียวกัน เช่น มีทั้งหนอน มีทั้งดักแด้ เราจึงไม่สามารถกำจัดให้หมดได้ในคราวเดียวกัน ทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงในการกำจัดและติดตามการระบาดที่ต่อเนื่อง

รูปร่างลักษณะและชีวประวัติ

ไข่ :
รูปไข่สีใส แบนราบติดใบผิวเป็นมัน คล้ายหยดน้ำค้าง ถ้าส่องกับแสงแดดจะทำให้เห็นไข่ชัดเจนขึ้น ผีเสื้อจะวางไข่เป็นฟองเดี่ยว ๆ กระจัดกระจายใต้ใบย่อยของทางใบปาล์มน้ำมัน มักจะพบไข่มากที่สุดบริเวณทางใบตอนล่างนับขึ้นมาจนถึงทางใบที่ 17 และพบบริเวณค่อนไปทางปลายใบเป็นส่วนใหญ่ ขนาดประมาณ 1.1 x 1.3 มิลลิเมตร
หนอน :
หนอนที่ฟักจากไข่ใหม่ ๆ มีขนาดลำตัว 0.2 x 0.8ื มิลลิเมตร สีขาวใส มีสีน้ำตาลอยู่กลางลำตัว มีกลุ่มขนบนลำตัว 4 แถว เห็นไม่ชัดเจน ส่วนหัวหลบซอนอยู่ใต้ลำตัว เคลื่อนไหวช้า กินแบบแทะผิวใบ หนอนที่เจริญเต็มที่มีขนาดลำตัวกว้าง 5 - 6 มิลลิเมตร ยาว 15 - 17 มิลลิเมตร มีกลุ่มขนข้างลำตัวข้างละ 11 กลุ่ม สีของลำตัวเป็นสีน้ำตาลเข้มถึงดำ แต้มสีเป็นรอยเว้ารูปสามเหลี่ยมจากด้านข้างเข้าหากึ่งกลางลำตัว ปลายยอดสามเหลี่ยมห่างกันเล็กน้อย ภายในสามเหลี่ยมสีตองอ่อนมีขอบเป็นสีเหลือง ส่วนท้ายลำตัวมีสีเหลือง กลางหลังของลำตัวมีเส้นประสีเหลืองและจุดสีดำขนานไปกับกลุ่มขนสีดำอีก 2 แถว
ดักแด้ :
รังดักแด้สีน้ำตาล รูปทรงกลม ขนาดกว้าง 5 - 6 มิลลิเมตร ยาว 7 - 8 เมตร อยู่ตามซอกโคนทางใบ ซอกมุมของใบย่อย หรือตามใบพับของใบย่อย
ตัวเต็มวัย :
เป็นผีเสื้อกลางคืนนาดเล็ก เวลากลางวันผีเสื้อเกาะนิ่งหุบปีกไม่เคลื่อนไหว จะเคลื่อนไหวบินในช่วงพลบค่ำจนถึงรุ่งเช้า

การป้องกันกำจัด:
การป้องกัน
1. หมั่นสำรวจการราดบาดของหนอนเป็นประจำ เมื่อพบกลุ่มหนอนให้ติดตามว่าหนอนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นหรือลดลงเพื่อตัดสินใจพ่นสารฆ่าแมลงกำจัดก่อนที่หนอนจะเพิ่มขยายจนเป็นวงกว้าง
2. ควรเลือกใช้สารฆ่าแมลงที่มีผลกระทบต่อศัตรูธรรมชาติน้อยที่สุด เพราะแมลงศัตรูธรรมชาติในสวนปาล์มน้ำมันเหล่านี้มีความสามารถในการควบคุมหนอนได้อย่างดี
3. ไม่ควรใช้สารกำจัดวัชพืชมากเกินไป และควรมีพืชคลุมดิน หรือปล่อยให้มีวัชพืชต้นเล็กที่ออกดอกสม่ำเสมอขึ้นอยู่ในสวน เพื่อเป็นแหล่งอาหารของแมลงศัตรูธรรมชาติ

การกำจัด :
1. โดยวิธีจับแมลงโดยตรง เช่น ตัดใบย่อยที่มีหนอนทำลาย หรือจับผีเสื้อ ซึ่งเกาะนิ่งในเวลากลางวันตามใต้ทางใบปาล์มน้ำมัน หรือเก็บดักแก้ตามซอกโคนทางใบรอบลำต้น
2. ใช้กับดักแสงไฟ โดยใช้แสงไฟ Black light หรือหลอดนีออนธรรมดา วางบนกะละมังพลาสติก ซึ่งบรรจุน้ำผสมผงซักฟอก ให้หลอดไฟอยู่เหนือน้ำประมาณ 5 - 10 ซม. วางล่อผีเสื้อช่วงเวลา 18.00 - 19.00 น. สามารถช่วยกำจัดการขยายพันธุ์ในรุ่นต่อไป
3. ใช้สารฆ่าแมลงพ่น เริ่มพ่นสารตั้งแต่หนอนยังเล็กอยู่ ควรพ่นซ้ำที่เดิมอีก 1 ครั้ง โดยห่างจากครั้งแรกประมาณ 10 วัน ได้แก่
- carbaryl (Sevin 85 % MP) ต่ออัตรา 10 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร lambda cyhalothrin (Karate 2.5 % EC) ในอัตรา 10 มล. ต่อน้ำ 20 ลิตร
- trichlorfon (Dipterex 95 % WP) ในอัตรา 15 – 20 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร deltamethrin (Decis 3 % EC )ในอัตรา 5 มล. ต่อน้ำ 20 ลิตร
- permethrin (Ambush 25 % EC) ในอัตรา 5 - 10 มล. ต่อน้ำ 20 ลิตร
- cyfluthrin (Baythriod 10 % EC ) ในอัตรา 5 - 10 มล. ต่อน้ำ 20 ลิตร
- chlorpyrifos (Lorsban 40 % EC) ในอัตรา 20 - 30 มล. ต่อน้ำ 20 ลิตร
- pirimiphos methyl (Actellic 50 % EC) ในอัตรา 20 มล. ต่อน้ำ 20 ลิตร
4. ใช้สารฆ่าแมลงประเภทพ่นฝุ่น เช่น carbaryl (Sevin 5 % D) หรือ fenvalerate (Sumicidin 0.3 % D) พ่นในช่วงที่มีน้ำค้างเกาะที่ใบ (เวลากลางคืน) ซึ่งต้องระมัดระวัง ในการปฏิบัติงาน และใช้ในกรณีจำเป็นจริง ๆ
5. ใช้เชื้อ Bacillus thuringiensis (เชื้อ 16,000 i.u) จำนวน 30 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร สารฆ่าแมลงประเภทเชื้อแบคทีเรียทำลายเฉพาะหนอนแมลงศัตรูปาล์มน้ำมันเท่านั้น ไม่ทำอันตรายต่อแมลงที่มีประโยชน์
6. การเจาะลำต้นใส่สารฆ่าแมลงประเภทดูดซึม จำนวน 10 - 15 มล.ต่อต้น
7. ใช้สารสกัดสะเดา กลุ่มงานวิจัยการใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืช ได้ทดลองโดยใช้สะเดาอัตราความเข้มข้น 5 % สามารถกำจัดหนอนได้ผลดี
8. การใช้วิธีผสมผสาน เป็นการนำวิธีการกำจัดหลายๆ วิธีมาใช้ร่วมกัน เช่น
8.1 การใช้กับดักแสงไฟล่อผีเสื้อในช่วงดักแด้กำลังออกเป็นผีเสื้อ สลับกับการใช้สารฆ่าแมลงหรือเชื้อแบคทีเรียในช่วงเป็นหนอนวัยที่ 2 - 3
8.2 การใช้เชื้อแบคทีเรียสลับกับการใช้สารฆ่าแมลง
8.3 การใช้ตัวห้ำสลับกับการใช้เชื้อแบคทีเรีย
8.4 การใช้ระดับเศรษฐกิจเป็นเครื่องกำหนดการฉีดพ่นสารฆ่าแมลง หรือเชื้อแบคทีเรีย
9. ในกรณีที่มีการระบาดเป็นพื้นที่กว้าง สามารถพ่นสารฆ่าแมลงทางเครื่องบิน สามารถปฏิบัติงานได้อย่างรวดเร็ว และประหยัดแรงงาน

หนอนปลอกเล็ก
ชื่อสามัญ:The Case Caterpillar
ชื่อวิทยาศาสตร์: Cremastopsyche pendula Joannis
ชื่อวงศ์:Psychidge
ชื่ออันดับ: Lepidoptera
ลักษณะการทำลาย:
หนอนปลอกเล็กจะแทะผิว ทำให้ใบแห้งเป็นสีน้ำตาล และกัดทะลุใบ เป็นรูและขาดแหว่ง ถ้ารุนแรงจะเห็นทางใบทั้งต้นเป็นสีน้ำตาลแห้ง ทำให้ต้นชะงักการเจริญเติบโตผลผลิตลดลง
รูปร่างลักษณะและชีวประวัติ:
ไข่ สีครีม รูปทรงกลมอยู่เป็นกลุ่ม วางไข่ในซากดักแด้ของตัวเมียเอง และอยู่ภายในปลอกหุ้มอีกชั้นหนึ่ง ขนาดของไข่ 0.45 x 0.65 มม. อายุไข่นับตั้งแต่ ตัวเต็มวัยถูกผสมและวางไข่อยู่ภายในรังดักแด้
หนอน หนอนที่ฟักออกจากไข่ใหม่ ๆ มีลำตัวสีน้ำตาลไหม้ หัวสีดำ ขนาดความยาวประมาณ 0.8 - 1 มม. เวลาหนอนเคลื่อนไหวจะยกส่วนท้องขึ้นและแทะผิวใบผสมกับใยที่ออกมาจากปาก สร้างปลอกห่อหุ้มตัวเอง โดยใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง ปลอกมีสีน้ำตาล ผิวเรียบ ขนาดปลอกมีความยาวตั้งแต่ 1.1 - 1.2 มม. ลักษณะปลอกมีรูเปิด 2 ทางเช่นเดียวกับหนอนปลอกใหญ่ ส่วนหัวของตัวหนอนจะโผล่ออกมาทางช่องเปิดส่วนฐานปลอก ปลายปลอกเรียวแหลมมีรูเปิดไว้เพื่อให้หนอนขับถ่ายมูลออกมา หนอนวัยที่ 3 ส่วนหัวและลำตัวมีสีน้ำตาล หนอนจะสร้างปลอกหุ้มใหญ่ขึ้น และเริ่มนำเศษชิ้นส่วนของใบพืชแห้งชิ้นเล็ก ๆ ปะติดกับปลอกหุ้มด้วย ทำให้ผิวปลอกเริ่มขรุขระ หนอนวัย 1 - 4 กินอาหารแบบแทะผิวใบ หนอนวัยที่ 5 - 6 จะกัดกินทั้งใบ เมื่อหนอนเจริญเติบโตเต็มที่จะสร้างปลอกหุ้มตัวเองมีขนาดยาวตั้งแต่ 6.8 - 10.0 มม. ช่องเปิดฐานปลอกมักพบคราบกะโหลกขนาดต่าง ๆ ติดอยู่

ด้วงแรด
ชื่อสามัญ:Coconut Rhinoceros Beetle
ชื่อวิทยาศาสตร์์:Oryctes rhinoceros L.,Oryctes gnu Mohner
ชื่อวงศ์: Scarabaeodae
ชื่ออันดับ: Coleoptera
ความสำคัญ:
ด้วงแรด เป็นแมลงที่สำคัญของมะพร้าวและปาล์มน้ำมัน มี 2 ชนิด คือ ด้วงแรดชนิดเล็ก ชื่อ Oryctes rhionoceros L. พบทั่วทุกภาคของประเทศไทยและพบบ่อยที่สุด อีกชนิดหนึ่ง คือ ด้วงแรดชนิดใหญ่ ชื่อ Oryctes gnu Mohner มักพบไม่บ่อยนัก ตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไปทางภาคใต้ของประเทศ ในปาล์มน้ำมันเริ่มมีความสำคัญมาก เพราะเริ่มมีการโค่นล้มต้นปาล์มอายุมาก และปลูกทดแทนใหม่ ทำให้มีแหล่งขยายพันธุ์ของด้วงแรดมากขึ้น ประชากรของด้วงแรดจึงเพิ่มมากขึ้น และเข้าทำลายต้นปาล์มที่ปลูกใหม่ ตั้งแต่ต้นปาล์มน้ำมันขนาดเล็กจนถึงต้นปาล์มน้ำมันให้ผลผลิต สำหรับต้นปาล์มน้ำมันขนาดเล็ก โอกาสทำให้ต้นผิดปกติและตายมีมากที่สุด ปกติด้วงแรดไม่สามารถเกิดการระบาดได้เลย เหตุที่เกิดการระบาด อาจกล่าวได้ว่าส่วนใหญ่เกิดจากความละเลยของมนุษย์ที่ปล่อยให้มีแหล่งขยายพันธุ์จำนวนมาก ทำให้ด้วงแรดเพิ่มปริมาณมากจนเข้าทำลายพืชให้ได้รับความเสียหาย สาเหตุที่เกิดเองตามธรรมชาติน้อยมาก การเกิดวาตภัย เช่น พายุไต้ฝุ่นเกย์ ทำให้ต้นมะพร้าวและปาล์มน้ำมันล้มตายเป็นจำนวนมาก จึงเป็นแหล่งขยายพันธุ์ขนาดใหญ่ของด้วงแรดในเวลาต่อมา
ลักษณะการทำลาย:
ตัวเต็มวัยบินขึ้นไปกัดเจาะโคนทางใบ ทำให้ทางใบหักง่าย และกัดเจาะทำลายยอดอ่อน ทำให้ทางใบที่เกิดใหม่ไม่ สมบูรณ์มีรอยขาดแหว่งเป็นริ้ว ๆ คล้ายรูปสามเหลี่ยม ถ้าโดนทำลายมาก ๆ ทำให้ใบที่เกิดใหม่แคระแกรน รอยแผลที่ถูกด้วงแรดกัดเป็นเนื้อเยื่ออ่อน ทำให้ด้วงงวงมะพร้าวเข้ามาวางไข่ หรือเป็นทางให้เกิดโรคยอดเน่า จนถึงต้นตายได้ในที่สุด
แหล่งขยายพันธุ์ของด้วงแรด:
แหล่งขยายพันธุ์ได้แก่ ซากเน่าเปื่อยของลำต้นหรือตอของต้นปาล์มน้ำมัน และมะพร้าว ซากพืชที่เน่าเปื่อยเช่น ซากทะลายปาล์ม กองมูลสัตว์เก่า กองปุ๋ยคอก กองขุยมะพร้าว กองกากเมล็ดกาแฟ กองขยะ เป็นต้น แหล่งขยายพันธุ์เหล่านี้เป็นสถานที่ผสมพันธุ์ วางไข่ และแหล่งอาหารของหนอนวัยต่าง ๆ จนเข้าดักแด้และเป็นตัวเต็มวัย
รูปร่างลักษณะและชีวประวัติ
รูปร่างลักษณะ: ด้วงแรดชนิดเล็กและด้วงแรดชนิดใหญ่มีรูปร่างลักษณะและชีวประวัติคล้ายคลึงกันมาก ต่างกันเพียงขนาดของลำตัว และขอบของแผ่นปกคลุมด้านหลังของส่วนอกซึ่งมีลักษณะคล้ายฟันเล็ก ๆ ด้วงแรดชนิดใหญ่มี 3 ซี่ ด้วงแรดชนิดเล็กมี 2 ซี่
ไข่ มีลักษณะกลมรี สีขาวนวล มองเห็นได้ชัดขนาดกว้าง 2 - 3 มม. ยาว 3 - 4 มม. เมื่อใกล้ฟักไข่จะมีสีน้ำตาลอ่อน ไข่ถูกวางลงลึกไปประมาณ 5 - 15 ซม. ในแหล่งขยายพันธุ์ที่ผุพัง
หนอน เมื่อฟักออกมาจากไข่ใหม่ ๆ มีลำตัวสีขาว ขนาด 2 x 7.5 มม. หัวกะโหลกสีน้ำตาลอ่อน กว้างประมาณ 2 - 2.5 มม. มีขาจริง 3 คู่ ด้านข้างลำตัวมีรูหายใจจำนวน 9 คู่ เมื่อหนอนกินอาหารแล้วผนังลำตัวจะมีลักษณะโปร่งใส มองเห็นภายในสีดำ เมื่อหนอนลอกคราบครั้งที่ 1 หัวกะโหลกจะมีสีขาวนวล กว้างประมาณ 4.5 มม. ต่อมาหัวกะโหลกมีสีน้ำตาลแดง ขนาดลำตัวประมาณ 4.5 x 2.5 มม. ลักษณะลำตัวหนอนเหมือนเดิม เมื่อหนอนเจริญเติบโตขึ้นจะลอกคราบครั้งที่ 2 ทำให้เห็นหัวกะโหลกกว้างประมาณ 10 มม. ขนาดลำตัวประมาณ 11 x 50 มม. ลำตัวสีขาวเข้ม เห็นรูหายใจข้างลำตัวสีน้ำตาลเด่นชัด มีขนสีน้ำตาลขึ้นอยู่ทั่วลำตัวเด่นชัดเช่นกัน หนอนเมื่อเจริญเติบโตเต็มที่จะมีขนาดลำตัวยาวประมาณ 60 - 90 มม.
ดักแด้ เมื่อหนอนเจริญเติบโตเต็มที่จะหยุดกินอาหารและสร้างรังเป็นโพรง หนอนจะ หดตัวอยู่ภายในเป็นเวลา 5 - 8 วัน จึงเปลี่ยนรูปร่างเป็นดักแด้ แบบ exarate มีน้ำตาลแดง ขนาดประมาณ 22 x 50 มม. สามารถแยกเพศได้ โดยดักแด้ เพศผู้เห็นส่วนที่เป็นระยางค์ คล้ายเขายื่นยาวชัดเจนกว่าของเพศเมีย
ตัวเต็มวัย เป็นด้วงปีกแข็งสีดำ เป็นมันวาว ใต้ท้องสีน้ำตาลแดง มีขนาดกว้าง 20 - 23 มม. ยาว 30 - 52 มม. สามารถแยกเพศได้ โดยตัวเต็มวัยเพศผู้มีเขาลักษณะคล้ายเขาแรด อยู่บนส่วน หัวยาวโค้งไปทางด้านหลังขณะที่เขาของตัวเต็มวัยเพศเมียสั้นกว่า และบริเวณท้องปล้องสุดท้ายของเพศเมียสีขนสีน้ำตาลแดงขึ้นหนาแน่นกว่าของเพศผู้
ชีวประวัติ:
ระยะไข่ 10 - 12 วัน
ระยะหนอน 80 - 150 วัน
ระยะดักแด้ 23 - 28 วัน
ระยะตัวเต็มวัย 90 - 180 วัน
หนอนมีการลอกคราบ 2 ครั้ง 3 วัย
วงจรชีวิต:
ตั้งแต่ไข่จนถึงดักแด้ออกเป็นตัวเต็มวัยใช้เวลาประมาณ 4 - 9 เดือนโดยเฉลี่ยประมาณ 6 เดือน ดังนั้น ใน 1 ปี ด้วงแรดจึงมี 2 รุ่น (generation)
การผสมพันธุ์และปริมาณการวางไข่:
ด้วงแรดมีอายุยืนยาวหลายเดือนจึงมีการผสมพันธุ์หลายครั้งตลอดอายุขัย จากรายงานพบว่าด้วงแรดเพศเมียรับการผสมพันธุ์สูงสุดถึง 8 ครั้ง แต่ยังพบว่าด้วงแรดเพศเมียที่ได้รับการผสมพันธุ์ครั้งเดียว สามารถวางไข่ที่สมบูรณ์ได้นานถึง 130 วัน ด้วงแรดชอบวางไข่ในแหล่งขยายพันธุ์ที่มีความชื้นพอเหมาะที่อุณหภูมิระหว่าง 20 - 30 0C ด้วงแรดเพศเมียจะรับการผสมพันธุ์และวางไข่ เมื่อออกจากดักแด้แล้วประมาณ 40 - 50 วัน วางไข่ครั้งละประมาณ 10 - 30 ฟอง วางไข่ได้สูงสุดประมาณ 152 ฟอง
พฤติกรรมต่าง ๆ ของด้วงแรดเต็มวัย หนอนวัยต่าง ๆ ดักแด้ และไข่ ชอบซุกซ่อนตัวเอง จึงพบอยู่ในแหล่งที่ไม่มีแสงสว่าง แต่ตัวเต็มวัยของด้วงแรดเท่านั้นที่ทำลายพืชสด มักพบในแหล่งที่เป็นอาหาร เช่น ภายในรูที่เจาะกินยอดปาล์มน้ำมัน อาจพบมากกว่า 1 ตัว นอกจากนี้ยังพบในแหล่งขยายพันธุ์อีกด้วย ด้วงบินออกหากินในเวลาพลบค่ำและเวลาก่อนตะวันขึ้น มักพบด้วงแรดมาเล่นไฟนีออนหลังฝนตก ในเวลากลางคืนด้วงแรดมักบินไปมาในระยะทางสั้นๆ ระหว่างแหล่งที่เป็นอาหาร และที่เป็นแหล่งขยายพันธุ์เท่านั้น ด้วงแรดสามารถบินได้นาน 2 - 3 ชั่วโมง และเป็นระยะทางไกล 2 - 4 กิโลเมตร
ดักแด้ มักพบในแหล่งขยายพันธุ์ที่แตกต่างกัน เช่น ถ้าพบในซากท่อน มะพร้าว ปาล์มน้ำมันที่ผุพัง หนอนวัยสุดท้ายจะสร้างเป็นโพรงรูปไข่ เพื่อเข้าดักแด้ แต่ถ้าอยู่ในกองปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก กากกาแฟ กองขี้เลื่อย กองขยะ กองเศษพืชที่เน่าเปื่อย หนอนวัยสุดท้ายจะสร้างรัง (cocoon) ด้วย วัสดุเหล่านั้นเป็นก้อนรูปไข่ขนาดใหญ่ และหนอนเข้าดักแด้อยู่ภายใน ยังพบหนอนเข้าดักแด้ในดินอีกด้วย มีรายงานว่าพบดักแด้ลงใต้ดินลึกถึง 150 ซม และมักพบตัวเต็มวัยที่ออกจากดักแด้ จะอาศัยอยู่ในรังดักแด้อีกประมาณ 11 - 20 วัน จึงจะออกมาหากินต่อไป
หนอน ลักษณะหนอนของด้วงแรดสามารถสังเกตได้อย่างหนึ่ง คือหนอนจะงอตัวเสมอเป็นอักษรซี บางครั้งเห็นส่วนหัวกับส่วนท้าย ลำตัวเกือบชนกัน หนอนถ้าอยู่ในสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสมอาจ มีอายุยืนยาวถึง 420 วัน
พืชอาหาร:
สกุลปาล์มน้ำมันทุกชนิด เช่นมะพร้าว ปาล์มน้ำมัน ปาล์มประดับ
การแพร่กระจายและฤดูกาลระบาด:
ด้วงแรดเกิดแพร่กระจายทั่วประเทศและตลอดปี สำหรับปริมาณจะมีมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับแหล่งขยายพันธุ์
ศัตรูธรรมชาติ:
พบโรคที่สามารถทำลายด้วงแรด ดังนี้
1. เชื้อราเขียว ชื่อ Metarrhizium anisopliae (Metsch) Sorokin สามารถทำลายหนอน ด้วงแรด โดยมีสีขาวจับเป็นก้อนอยู่ภายนอกตัวหนอน ต่อไปจะเกิดโคนีเดีย สีเขียวทำให้เห็นหนอนมีสีเขียวและตายในที่สุด เชื้อรานี้อาจทำลายดักแด้และตัวเต็มวัยได้ด้วย
2. เชื้อไวรัส ชื่อ Rhabdionvirus oryctes Huger หรือเรียกว่า Baculovirus ทำลายตัว เต็มวัย หนอน ดักแด้ หนอนที่เป็นโรคไวรัสตาย สังเกตเห็นส่วนของก้น (rectum) จะพองโตยื่นออกมา
การป้องกันกำจัดด้วงแรด:
1. โดยวิธีเขตกรรม คือการกำจัดแหล่งขยายพันธุ์ ซึ่งเป็นวิธีที่ดีที่สุด ลงทุนน้อย สะดวกในการทำเพราะอยู่บนพื้นดิน สามารถกำจัดไข่หนอน ดักแด้และตัวเต็มวัย ไม่ให้เพิ่มปริมาณได้ โดยยึดหลักว่าไม่ควรปล่อยให้แหล่งขยายพันธุ์เหล่านี้ทิ้งไว้นานเกิน 3 เดือน โดยปฏิบัติดังนี้
1.1 เผาหรือฝังซากลำต้นหรือตอของปาล์มน้ำมันหรือมะพร้าว
1.2 เกลี่ยกองซากพืช กองมูลสัตว์ให้กระจายออกโดยมีความสูงไม่เกิน 15 ซม.
1.3 ถ้ามีความจำเป็นต้องกองนานเกินกว่า 2 - 3 เดือน ควรหมั่นพลิกกลับกองเพื่อตรวจหาไข่ หนอน ดักแด้ ตัวเต็มวัยเพื่อกำจัดเสีย
2. โดยวิธีกล หมั่นทำความสะอาดบริเวณคอมะพร้าวหรือปาล์ม ตามโคนทางใบ หากพบรอยแผลเป็นรู ใช้เหล็กแหลมแทงหา ด้วงแรดเพื่อกำจัดเสีย พร้อมใส่สารฆ่าแมลงป้องกันด้วงงวงมะพร้าว เข้ามาวางไข่
3. ใช้ฮอร์โมนเพศ เป็นกับดักล่อตัวเต็มวัยมาทำลาย ขณะนี้สามารถสังเคราะห์และผลิตเป็นรูปการค้า มีชื่อว่า chrislure มาจากสารเคมีชื่อ ethyl dihydrochrysanthemumate และชื่อ rhinolure มาจากสารเคมีชื่อ ethyl chrysanthemumate
4. โดยใช้สารฆ่าแมลง carbofuran (Furadan 3 % G) อัตรา 200 กรัมต่อต้น ใส่รอบยอดอ่อน และซอกโคนทางใบถัดออกมา หรือสาร chlorpyrifos (Lorsban 40 % EC) อัตรา 80 มล. ต่อน้ำ 20 ลิตร ราดรอบยอดอ่อน และโคนทางใบถัดมา ต้นละประมาณ 1 ลิตรเดือนละ 1 ครั้ง หรือใช้สาร carbaryl (Sevin 85 % WP) ผสมขี้เลื่อยในอัตรา สารฆ่าแมลง 1 ส่วนต่อขี้เลื่อย 33 ส่วน ใส่รอบยอดอ่อน ซอกโคนทางใบเดือนละ 1 ครั้ง หรือใช้สารไล่ naphthalene ball (ลูกเหม็น) อัตรา 6 - 8 ลูก ต่อต้นโดยใส่ไว้ที่ซอกโคนทางใบ
5. โดยชีววิธี ในธรรมชาติจะมีเชื้อราเขียวและเชื้อไวรัสช่วย ทำลายหนอนด้วงแรด จึงมีการพัฒนานำมาใช้ในการป้องกันกำจัด เช่น ใช้เชื้อราเขียว อัตรา 200 - 400 กรัมต่อกับดักขนาด 2 x 2 x 0.5 เมตร กับดักประกอบด้วย ซากเน่าเปื่อยของพืช ขี้วัว ขุยมะพร้าว กากกาแฟ และขี้เลื่อย เป็นต้น ผสมคลุกกันเพื่อให้ด้วงแรดมาวางไข่และขยายพันธุ์ จนถูกเชื้อราเขียวเข้าทำลายหนอน ดักแด้ โดยจะมีลำตัวสีเขียวคล้ำและ ตายในที่สุด
แนวทางการบริหารด้วงแรดทำลายปาล์มน้ำมัน:
การกำจัดที่ดีที่สุด คือ การกำจัดแหล่งขยายพันธุ์ เช่น ซากทะลาย ปาล์มน้ำมัน ที่เหลือจากการสกัดน้ำมันแล้ว จะต้องกองทิ้งไว้ไม่เกิน 3 เดือน ควรเกลี่ยให้กระจายให้หนาประมาณ 15 ซม. ควรกำจัดซากต้นปาล์มที่ล้มตายในสวนให้หมด ถ้าพบไข่ หนอน ดักแด้ของด้วงแรดควรจับมาทำลายการใช้ราเขียวในการกำจัดหนอนด้วงแรดในแหล่งขยายพันธุ์ ทำได้โดยทำกับดักกองปุ๋ยขนาด 2 x 2 x 0.5 เมตร เมื่อกองปุ๋ยเริ่มเปื่อยใส่เชื้อราเขียว 200 - 400 กรัม ต่อกับดักคลุกให้ทั่ว สามารถลดจำนวนด้วงแรดในสวนลงได้บ้าง
แหล่งขยายพันธุ์:
-กองซากทะลายปาล์มน้ำมัน
-ลำต้นปาล์มล้มตาย
-กองขุยมะพร้าว
-กองกากกาแฟ
-กองมูลสัตว์
-ต้นมะพร้าวยืนตาย

ด้วงกุหลาบ
ชื่อสามัญ:Rose Beetle
ชื่อวิทยาศาสตร์: Adoretus compressus Weber
ชื่อวงศ์: Rutelidae
ชื่อลำดับ: Coleoptera
ความสำคัญและลักษณะการทำลาย:
ด้วงกุหลาบ จะกัดกินทำลายใบปาล์มน้ำมันเล็กในแปลงปลูก โดยเฉพาะในที่ดินบุกเบิกใหม่ จะกัดใบในช่วงเวลากลางคืนเท่านั้น ถ้าอาการรุนแรงจะทำให้ต้นปาล์มน้ำมันขนาดเล็กใบโกร๋นหมด และชะงักการเจริญเติบโต
ลักษณะการทำลาย:
รูปร่างลักษณะและชีวประวัติ :
ไข่ ด้วงวางไข่ในดินเป็นฟองเดี่ยวๆ ไข่ที่ออกใหม่ ๆ มีลักษณะกลมรี เปลือกเรียบสีขาวขุ่น มีขนาดกว้าง 0.8 มม. ยาว 1.3 มม. ต่อมาประมาณ 3 - 5 วัน ไข่จะกลมขึ้นและเป็นสีเหลือง ระยะไข่ขึ้นกับอุณหภูมิของอากาศ ที่อุณหภูมิ 25 0C ระยะไข่เฉลี่ย 6.5 วัน ส่วนที่อุณหภูมิ 22 0C ระยะไข่เฉลี่ย 8.9 วัน และจะ เปลี่ยนเป็นสีเข้มภายใน 1 - 2 วัน จึงฟักออกเป็นตัว
หนอน อาศัยอยู่ในดิน ไม่ปรากฏว่าทำความเสียหายให้แก่ต้นพืช ตัวหนอนที่ฟักออกจากไข่ใหม่ๆ มีสีขาว และตัวโค้งงอ หัวสีน้ำตาลอ่อนมีเขี้ยวเห็นได้เด่นชัด หนอนที่โตเต็มที่หัวกะโหลกกว้าง 3 มม. และลำตัวยาว 13 - 20 มม. ลำตัวสีขาวมีขนสั้นๆ กระจายทั่วไป ตามลำตัวมีรอยพับย่น ซึ่งจะเป็นปล้อง มีขา 3 คู่ ที่ส่วนอกมีรูหายใจ ตามข้างลำตัว ข้างละ 8 รู ปลายท้องใหญ่ทำให้เคลื่อนไหวไปมาไม่สะดวก หนอนจะมุดดินอยู่ลึกลงไป 3 - 6 นิ้ว และทำเป็นโพรงรอบ ๆ ตัวเพื่อเป็นที่อาศัย หนอนมีการลอกคราบ 3 ครั้ง
ดักแด้ ตัวหนอนจะหยุดกินอาหารไม่เคลื่อนที่ และหดตัวเล็กลงก่อนเข้า ดักแด้ ลักษณะของดักแด้เป็นแบบ exarate pupa สีเหลืองอ่อน มีขนละเอียดสีน้ำตาลอ่อนปกคลุม ที่ปลายท้องที่ขนสีน้ำตาลแดง 2 กระจุก ขนาดของดักแด้ 5.6 x 11.3 มม.
ตัวเต็มวัย เป็นด้วงปีกแข็งลำตัวป้อมค่อนข้างแบน สีน้ำตาลอ่อน ตาสีดำ มีขนสั้นละเอียด ปกคลุมทั่วตัว เพศผู้มีขนาด 4.8 x 10.3 มม. เพศเมียมีขนาด 5.6 x 11.2 มม. เพศเมียจะวางไข่เดี่ยว ๆ ในเวลากลางวัน วางไข่ประมาณ 3 - 12 ครั้ง เฉลี่ย 6 ครั้ง ๆ ละ 2 - 5 ฟอง ช่วงการวางไข่ 6 - 20 วัน จำนวนไข่ 10 - 70 ฟอง หรือโดยเฉลี่ย 30 ฟอง
ชีวประวัติ:
ระยะไข่ 5 - 11 วัน
ระยะหนอน 52 - 95 วัน
ระยะดักแด้ 11 - 14 วัน
ระยะตัวเต็มวัยเพศผู้ 7 – 26 วัน
เพศเมีย 12 - 57 วัน
หนอนมีการลอกคราบ 3 ครั้ง
การแพร่กระจายและฤดูกาลระบาด:
พบด้วงกุหลาบมากในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือนเมษายน พบในที่ดินมีการบุกเบิกใหม่เพื่อทำการปลูกปาล์มน้ำมัน และเกิดกับปาล์มน้ำมันในระยะแรกปลูกเท่านั้น
การป้องกันกำจัด:
ใช้สารฆ่าแมลงประเภท carbaryI (Sevin 85 % WP) อัตรา 40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร carbosulfan (Posse 20 % EC) อัตรา 40 มล.ต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นทุก 7 - 10 วัน ในตอนเย็นทั้งใบและ บริเวณโคนต้น

หนูศัตรูปาล์มน้ำมัน
หนูป่ามาเลย์
พบมากในสวนป่าละเมาะ ดงหญ้าที่เกิดภายหลังการเปิดป่าใหม่ ป่าโกงกาง พบเฉพาะในภาคใต้ตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไปโดยเฉพาะในสวน ปาล์มน้ำมันทางภาคใต้ของประเทศไทยแม้ว่าหนูชนิดนี้มีอุปนิสัยปีนป่ายต้นไม้คล่องแคล่วแต่เมื่อใช้กรงดักวางบนพื้นดิน หนูชนิดนี้ก็ติดกรงดักได้ง่ายกว่าหนูนาใหญ่
ลักษณะหนูป่ามาเลย์:
เป็นหนูขนาดกลาง ขนด้านหลังสีน้ำตาลเขียวมะกอก และจะเข้มขึ้นใน บริเวณกลางหลัง ขนเรียบนุ่มไม่มีขนแข็งปนขนด้านท้องขาวล้วนหรือ ขาวปนเทาจาง ขนาดความยาวหัวถึงลำตัว 100 - 180 มม. ความยาวหาง 125 - 198 มม. ความยาวตีนหลัง 28 - 32 มม. ความยาวหู 16 - 22 มม. น้ำหนักตัว 55 - 152 กรัม นมที่บริเวณคอถึงขาหน้า 2 คู่ บางตัวมีเต้านมคู่ที่ 3 อยู่ชิดคู่ที่ 2 หรือห่างกันไม่เกิน 10 มม. จากคู่ที่ 2 และบางครั้งมีเต้านมคู่ที่ 3 ข้างเดียว และที่บริเวณขาหลัง 3 คู่ หนูป่ามาเลย์เพศเมียสามารถผสมพันธุ์ได้ตั้งแต่อายุ 84 วัน เพศผู้เมื่ออายุ 163 วัน ระยะตั้งท้องนาน 21 - 22 วัน จำนวนลูกต่อครอก 5 ตัว วงรอบเป็นสัดทุก ๆ 5 - 8 วัน ในสวนปาล์มน้ำมันประเทศมาเลเซีย เพศเมียสามารถให้ลูกต่อครอก 4 - 10 ตัว อายุขัยในสภาพสวนปาล์มน้ำมัน 7 - 8 เดือน ระยะหากินของเพศผู้โดยเฉลี่ย 30 เมตรเพศเมียประมาณ 25 เมตร
ลักษณะการทำลาย:
หนูป่ามาเลย์ชอบกินดอกตัวเมียและดอกตัวผู้ ตลอดจนลูกปาล์มน้ำมันทั้ง ดิบและสุก เมื่อหนูป่ามาเลย์กินลูกปาล์มน้ำมันที่ร่วงบนพื้นดิน มันจะขน ลูกปาล์มน้ำมันไปกินใต้กองทางใบ หนูป่ามาเลย์จะเริ่มเข้าทำลายปาล์มน้ำมัน ตั้งแต่ปาล์มปลูกใหม่จนถึงต้นปาล์มสิ้นอายุการให้ผลผลิต และจะขยายพันธุ์ อย่างรวดเร็ว จึงเป็นศัตรูปาล์มน้ำมันที่สำคัญที่สุด

หนูพุกใหญ่หรือหนูแผง
พบทั่วประเทศในพื้นที่เกษตรกรรมที่มีดงหญ้าคา หญ้าขน เป็นศัตรูสำคัญ ในนาข้าว พืชไร่ และในสวนปาล์มน้ำมันที่มีอายุไม่เกิน 3 ปี โดยเฉพาะ บริเวณที่มีวัชพืชขึ้นในพื้นที่
ลักษณะหนูพุกใหญ่:
เป็นหนูที่มีขนาดใหญ่ คือ ตัวเต็มวัยความยาวหัวและลำตัว 246 มม. ความยาวหาง 244 มม. ความยาวตีนหลัง 56 มม. ความยาวหู 30 มม. น้ำหนักโดยเฉลี่ยประมาณ 480 กรัม วัยเจริญพันธุ์อายุประมาณ 4 เดือนขึ้นไป เพศเมียมีวงรอบเป็นสัด 5 - 8 วัน ระยะตั้งท้อง 23 - 30 วัน ให้ลูกปีละ 2 ครอก ๆ ละ 5 - 8 ตัว
ลักษณะการทำลาย:
กัดกินโคนต้นอ่อน ทางใบ และลูกปาล์มน้ำมันที่อยู่ใกล้กับพื้นดินเท่านั้น เนื่องจากเป็นหนูขนาดใหญ่ จึงไม่ชอบปีนป่ายต้นไม

หนูบ้านท้องขาว
พบทั่วประเทศทั้งในนาข้าว พืชไร่ ไม้ผล บ้านเรือน สวนผลไม้ต่าง ๆ และสวนปาล์มน้ำมันตั้งแต่เริ่มปลูกใหม่ จนถึงต้นปาล์มสิ้นอายุการให้ผลผลิต
ลักษณะหนูบ้านท้องขาว:
เป็นหนูขนาดกลาง น้ำหนักตัวประมาณ 140 - 250 กรัม ความยาวหัวถึงลำตัว 182 มม. ความยาวหาง 188 มม. ความยาวตีนหลัง 33 มม. ความยาวหู 23 มม. นมที่ท้องบริเวณคอถึงขาหน้า 2 คู่ ที่บริเวณขาหลัง 3 คู่ ขนด้านหลังสีน้ำตาล ขนที่ท้องสีขาวนวล ตีนหลังสีขาว หน้าค่อนข้างแหลม หูใหญ่กว่าหนูชนิดอื่น เมื่อเทียบกับหน้า ผสมพันธุ์ได้ตั้งแต่อายุ 130 วัน ระยะตั้งท้องนาน 21 - 23 วัน จำนวนลูกต่อครอก 7.2 ตัว วงรอบเป็นสัดทุก ๆ 4 วัน ในสภาพมีอาหารสมบูรณ์ มีลูกได้ตลอดปี
ลักษณะการทำลาย:
กัดกินทางใบและโคนต้นปาล์มเล็ก
ข้อพิจารณาในการป้องกันกำจัดหนู:
* เมื่อต้นปาล์มยังมีขนาดเล็ก (1 - 3 ปี) ถ้าพบความเสียหาย แม้เพียงต้นเดียว ก็ควรดำเนินการป้องกันกำจัดทันที
* เมื่อต้นปาล์มให้ผลผลิตแล้วหมั่นสำรวจทะลายปาล์ม ถ้าพบรอย ทำลายใหม่ในผลดิบบนต้น ซึ่งสังเกตจากรอยกัดผลปาล์มยังเขียวสดไม่แห้ง ตั้งแต่ 5% คือ ใน 100 ต้น พบรอยทำลายใหม่ 5 ต้นขึ้นไป ให้ทำการป้องกันกำจัดทันที
วิธีป้องกันกำจัดหนู:
ควรใช้วิธีการป้องกันกำจัดหนูโดยวิธีผสมผสาน ดังนี้
1. ตอนปลูกควรใช้ตาข่ายหุ้มรอบโคนต้นปาล์ม ทำตอนปลูกเพื่อชะลอหรือขัดขวางไม่ให้หนูกัดต้นปาล์มได้สะดวก
2. การล้อมตี
3. การดัก โดยใช้กรงดักและกับดักชนิดต่าง ๆ เช่น กับดักตีตาย บ่วง ด้วง กับฟ้าผ่า แร้วคันใต้
4. วิธีเขตกรรม หมั่นถางหญ้ารอบต้นปาล์มเพื่อไม่ให้เป็นที่หลบ กำบังของหนู
5. วิธีธรรมชาติ คือการอนุรักษ์สัตว์ศัตรูธรรมชาติ เช่น งูสิง งูแมวเซา งูแสงอาทิตย์ งูเห่า พังพอง เหยี่ยว นกเค้าแมว และนกแสก สัตว์เหล่านี้จะจับหนูกินเป็นอาหาร
6. ป้องกันโดยใช้สารเคมี
6.1 สารเคมีประเภทออกฤทธิ์เฉียบพลัน ซิงค์ฟอสไฟด์ เป็นสาร ที่ออกฤทธิ์เร็ว เมื่อหนูกินเหยื่อพิษเข้าไปจะตายภายใน 3 - 24 ชั่วโมง อัตราส่วนที่ใช้ผสมคือซิงค์ฟอสไฟด์ 80 % ชนิดผง 1 กรัม ผสมกับเหยื่อคือ ปลายข้าว 75 กรัม ผสมมะพร้าวขูดที่คั่วให้หอม 3 กรัม คลุกให้เข้ากัน หากบนพื้นที่วางเหยื่อมีมดมากให้ผสมสารฆ่าแมลง เซฟวิน 85 ชนิดผงครึ่งช้อนชา คลุกให้ทั่วก่อนนำไปใช้ การใช้ซิงค์ฟอสไฟด์ กำจัดหนูควรใช้ครั้งเดียวในพื้นที่ หรือในฤดูที่หนูระบาดมาก เพื่อลด ประชากรหนูให้ ต่ำลงทันทีให้วางเหยื่อพิษบนเส้นทางหากินของหนู หรือที่โคนต้นปาล์ม ที่มีร่องรอยความเสียหายใหม่บนทะลายต้นละ 1 ช้อนชา ควรใช้ใบไม้แห้งหรือเศษกระดาษรองเหยื่อพิษ เพื่อป้องกันความชื้นจากดิน ถ้ามีน้ำค้างมาก ควรใช้ใบไม้ ใบปาล์มหรือเศษไม้ทำหลังคาคลุมไว้ และต้องระวังสัตว์เลี้ยง เช่น เป็ด ไก่ สุนัข ฯลฯ ไม่ให้กินเหยื่อพิษ เพราะเป็นอันตรายถึงชีวิต
ข้อควรระวังสำหรับการใช้เหยื่อพิษซิงค์ฟอสไฟด์:
• ห้ามใช้มือเปล่าคลุกสารฆ่าหนูในการวางเหยื่อ และควรคลุกเหยื่อพิษ ในที่มีการระบายอากาศดี
• ต้องวางในที่ที่ปลอดภัยจากเด็ก และสัตว์เลี้ยงอื่น ๆ จุดที่วางเหยื่อพิษ ไม่ควรวางเกิน 5 กรัมต่อจุด
• ไม่ควรใช้ในวันที่ฝนตก เพราะเมื่อเหยื่อพิษถูกความชื้นจะเสื่อมสภาพ
6.2 สารเคมีประเภทออกฤทธิ์ช้า ชนิดหนู หนูนาใหญ่ หนูท้องขาว หนูป่ามาเลย์ หนูบ้านมาเลย์ หนูพุกใหญ่ หนูฟันขาวใหญ่
สารป้องกันกำจัดสัตว์ศัตรู:
o โบรไดฟาคูม (คลีแร็ต 0.005 %)
o โฟลคูมาเฟน (สะตอม 0.005 %)
o โบรมาดิโอโลน (เส็ด 0.005 %)
o ไดฟีธิอาโลน (บาราคี 0.00255 %)
อัตราการใช้ 1 ก้อน/ปาล์มน้ำมัน 1 ต้น
การใช้และข้อควรระวัง:
• ทุก ๆ 6 เดือน วางเหยื่อพิษที่โคนต้นปาล์มน้ำมัน ต้นละ 1 ก้อน ๆ ละ 5 กรัม ตรวจสอบทุก ๆ 10 วัน ถ้าพบหนูกินเหยื่อมากกว่า 20 % ควรวางเหยื่อพิษให้ชิดโคนต้นปาล์ม และอย่าวางขวางทางน้ำไหล
• ห้ามบริโภคเนื้อหนูในบริเวณที่วางเหยื่อพิษ
• ระวังสัตว์เลี้ยงมากินเหยื่อพิษและซากหนูตาย
• กรณีพบหนูพุกใหญ่ หรือหนูฟันขาวใหญ่ให้เพิ่มเหยื่อพิษเป็นต้นละ 5 ก้อน

http://it.doa.go.th/vichakan/news.php?newsid=12









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-05-16 (1343 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©