-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 431 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

สิ่งแวดล้อม








การบำรุงรักษาสวนปาล์มน้ำมัน

  • การป้องกันและการกำจัดวัชพืช ไม่ควรกำจัดวัชพืชในช่วงฤดูแล้งเพราะจะทำให้ดินขาดความชุ่มชื่นได้
  • การใส่ปุ๋ย ต้องคำนึงถึง ปริมาณธาตุอาหารที่มีอยู่ในดินเดิม ความต้องการของปาล์มน้ำมันในระยะต่าง ๆ สภาพแวดล้อมลมฟ้าอากาศ ชนิดของปุ๋ยและอัตราส่วนในการใช้
  • การป้องกันกำจัดโรคแมลง เมื่อพบศัตรูพืชไม่ควรพ่นสารเคมีทันที เพราะจะทำให้เสียค่าใช้จ่ายสูงและยังทำลายศัตรูธรรมชาติที่เป็นประโยชน์ต่อปาล์มน้ำมันอีกด้วย ควรสุ่มตัวอย่าง เช่น ตัดทางใบที่ 17 ตรวจนับหนอนร่าน ถ้าพบมีมากกว่า 5 ตัว ต่อทางใบโดยเฉลี่ย จึงควรป้องกันกำจัดโดยพ่นสารเคมี
  • การตัดช่อดอก ในระยะเริ่มการเจริญเติบโต การตัดช่อดอกตัวผู้และตัวเมีย ทิ้งในระยะแรก มีผลทำให้ต้นปาล์มเจริญเติบโตเร็ว แข็งแรง และมีขนาดใหญ่ เพราะอาหารที่ได้รับจะเสริมส่วนของลำต้น แทนการเลี้ยงช่อดอกและผลผลิต เมื่อถึงระยะให้ผลผลิตที่ต้องการ ผลผลิตจะมีขนาดใหญ่ และสม่ำเสมอ ถ้าไม่ตัดปล่อยทิ้งไว้ไม่เก็บเกี่ยว อาจเป็นแหล่งของเชื้อโรค โดยเฉพาะโรคทะลายเน่าได้

การปลูกปาล์มน้ำมัน

การปลูกปาล์มน้ำมัน


การเกษตรเรื่องการปลูกปาล์มน้ำมัน
การปลูกปาล์มน้ำมันควรให้ตรงกับช่วงฤดูฝน เพื่อทำให้ต้นปาล์มอยู่รอดและเจริญเติบโต ฤดูปลูกที่เหมาะสม อยู่ในระหว่างเดือนพฤษภาคม – มิถุนายน ซึ่งเป็นช่วงต้นฤดูฝนควรปลูกเมื่อตกแล้ว เพราะดินมีความชื้นการปลูกในช่วงนี้ทำให้ต้นปาล์มน้ำมัน ตั้งตัวในแปลงได้ยาวนานก่อนถึงฤดูแล้ง

  • ต้นกล้าที่จะใช้ปลูกต้องมีอายุระหว่าง 10 – 12 เดือน
  • ระยะเวลาปลูกอยู่ช่วงฤดูฝนเพราะเป็นปัจจัยสำคัญ เดือนพฤษภาคม – มิถุนายน
  • ก่อนจะทำการปลูกต้นปาล์มควรทำการให้น้ำและพ่นสารเคมีป้องกันโรคและแมลงเสียก่อน ส่วนต้นกล้าที่เน่าเสียหรือผิดปกติให้คัดทิ้งได้ทันที
  • หลุมปลูกมีขนาด 45 x 45 x 35 ขุดหลุมดินชั้นบน และชั้นล่างแยกกัน และตากหลุมประมาณ 10 วัน
  • การขนย้ายต้นปาล์มน้ำมันควรใช้รถบรรทุกเพื่อหลีกเลี่ยงการกระทบกระเทือน และขณะทำการเคลื่อนย้ายควรระมัดระวังต้นกล้าให้มาก
  • ก่อนทำการปลูกต้นปาล์มน้ำมันให้นำร๊อกฟอสเฟตใส่รองก้นหลุม อัตราส่วน 250 กรัมต่อหลุม ก่อนนำต้นกล้าลงปลูก ควรคลุกเคล้าดินกับปุ๋ย เพื่อป้องกันการสัมผัสของรากโดยตรง ใส่ดินชั้นบนลงไปในหลุม และอัดดินให้แน่น
  • การตรวจแปลงหลังจากปลูก ต้นกล้าจะต้องอยู่ในสภาพเดิม ถ้าตรวจพบควรแก้ไขทันที
  • หากพบว่าต้นกล้าตายหรือเกิดความเสียหายควรทำการปลูกซ่อมภายในระยะเวลา 1 เดือน หลังจากปลูก

ปาล์มเป็นไม้ยืนต้น ชื่อสามัญ palm ชื่อวิทยาศาสตร์ Palmae หรือ Arecacae นับเป็นพืชวงศ์ใหญ่ที่สุดรองจากหญ้า ทั้งในแง่จำนวนของชนิด และปริมาณที่มีอยู่อย่างอุดมสมบูรณ์ จำแนกได้กว่า 210 สกุล และราว 3,800 ชนิด ปาล์มส่วนใหญ่มีลักษณะเฉพาะที่เด่นชัด คือลำต้นเป็นข้อ มีใบบนยอดเพียงที่เดียว ไม่แตกกิ่งก้าน มีก้านใบที่ยาวและใหญ่ ลักษณะใบแตกต่างกัน แต่ก็ไปรวมกลุ่มกันที่ปลายก้านที่เดียว




ต้นปาล์ม

ต้นปาล์ม

  • ลำต้น
    ปาล์มส่วนมากมีลักษณะลำต้นเดี่ยว งอกขึ้นจากพื้นต้นเดียว ไม่แตกหน่อหรือแตกกิ่ง เช่น มะพร้าว หมาก ปาล์มน้ำมัน ตาล เป็นต้น ยังมีปาล์มอีกหลายชนิด ที่มีลำต้นเดียวแต่มีการแตกกอขึ้นในที่ใกล้กันเป็นกอใหญ่ เช่น หมากแดง หมากเหลือง ปาล์มไผ่ ส่วนปาล์มที่มีขนาดลำต้นเล็ก นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ



  • ใบปาล์ม

    ใบปาล์ม


  • ใบ
    ปาล์มมีลักษณะเด่นอยู่ที่ใบมีก้านใบที่ยาว และมีใบย่อยเรียงรายจำนวนมาก ใบอ่อนเป็นก้านยาวชูขึ้นไปบนยอด แล้วคลี่ขยายออกมา จำแนกได้เป็นสองประเภทใหญ่ๆ คือ ใบรูปขนนก และใบรูปพัดหรือฝ่ามือ

    • ใบรูปขนนก (Pinnate) มีก้านใบเป็นแกนกลาง และมีใบย่อยเรียงสองข้าง ที่เห็นชัดก็ได้แก่ มะพร้าว หมาก ปาล์มขวด นอกจากนี้ยังมีใบของเต่าร้าง ที่เป็นรูปขนนกสองชั้น และใบปาล์มหางกระรอก เป็นใบพวง
    • ใบรูปพัดหรือรูปฝ่ามือ (fan leaf, palmate leaf) ใบรูปพัด มีลักษณะคล้ายพัดจีน มีใบย่อยแตกออกจากจุดปลายของก้านใบในรัศมีวงกลม แผ่ออกไปติดกันบ้าง แยกกันบ้าง เช่น ใบตาล ลาน ปาล์มพัด เป็นต้น


  • ผลปาล์ม

    ผลปาล์ม



    ผล
    ผลของพืชจำพวกปาล์มโดยมากมีเปลือกแข็ง มีขนาดที่หลากหลาย ผลปาล์มหลายชนิดรับประทานได้ ที่รู้จักกันดี ก็คือ ตาล จาก ชิด สละ ระกำ มะพร้าว หมาก (ใช้เคี้ยว) ปาล์มที่มีผลขนาดใหญ่ที่สุด คือมะพร้าวแฝด (coco-de-mer) ลักษณะผลของปาล์มส่วนใหญ่มีความคล้ายกัน บางชนิดก็มีผลเล็กมาก ออกเป็นช่อ เป็นทะลายเช่นเดียวกับหมากและมะพร้าว ส่วนเปลือกของผลระกำและสละนั้นบางมาก เปลือกนอกของปาล์มหลายชนิดเป็นเส้นใยเกาะตัวหนาแน่น ผลปาล์มส่วนใหญ่เหมาะแก่การแพร่พันธุ์เป็นอย่างยิ่ง หลายชนิดมีเปลือกนอกที่เบา มีเส้นใยเกาะหนา ลอยน้ำได้ บางชนิดมีเปลือกบางเป็นอาหารของสัตว์ป่า



    ดอกปาล์ม

    ดอกปาล์ม



    ดอก
    จั่น หรือ ดอก ของพืชในวงศ์ปาล์มไม่ได้มีกลิ่น ไม่มีกลีบดอกสวยงาม โดยมากเป็นดอกขนาดเล็กและแข็ง ดอกของปาล์มนั้นประกอบด้วยกลีบเลี้ยง 3 กลีบ กลีบดอก 3 กลีบ เกสรตัวผู้ 3-6 อัน หรือมากกว่า เกสรตัวเมียมีรังไข่ 1-3 อัน ดอกของปาล์ม ออกเป็นช่อเป็นพวง ช่อดอกที่ยังอ่อนของปาล์มหลายชนิด เมื่อปาดส่วนปลายออกจะได้น้ำหวาน ทำน้ำตาลสด น้ำตาลปึก และน้ำตาลเมา ปาล์มส่วนใหญ่จะออกดอกเป็นระยะเรื่อยไปตลอดอายุขัย แต่มีปาล์มบางชนิดออกดอกครั้งเดียวเท่านั้น เพราะว่ากว่าจะออกดอกนั้นใช้เวลานานมาก เมื่อออกดอกและให้ผลแล้วต้นก็จะตายไป เนื่องจากใช้อาหารที่สะสมในลำต้นจนหมด ปาล์มที่มีลักษณะเช่นนี้ ได้แก่ สาคู




    น้ำมันปาล์ม

    น้ำมันปาล์ม



    ประโยชน์ของปาล์ม
    1. อาหาร น้ำมันที่ใช้ประกอบอาหารในปัจจุบันสกัดจากปาล์มน้ำมันเป็นส่วนใหญ่นอกจากนี้คนไทยบริโภคน้ำมันจากมะพร้าวในรูปของกะทิ น้ำตาลจากมะพร้าว ตาล จาก อินทผลัม ต้นสาคู เเละชิด เป็นต้น
    2. ที่อยู่อาศัย มนุษย์ได้เริ่มใช้ปาล์มมาทำเป็นที่อยู่อาศัยก่อนไม้ชนิดอื่น ๆ จะเห็นจากการใช้ใบจากมุงหลังคา ต้นหมาก ต้นเหลา ชะโอนทำเสาบ้าน พื้นบ้านและฝาบ้าน หวายใช้ผูกมัดในการก่อสร้าง ทำเครื่องเรือน เฟอร์นิเจอร์ต่าง ๆ
    3. เครื่องนุ่งห่ม ปาล์มมีส่วนเกี่ยวข้องกับการย้อมสีเครื่องนุ่งห่ม ผลปาล์มบางชนิดใช้เป็นส่วนผสมในการย้อมสี เช่น หมากสง ปาล์มบางชนิดก็มีเส้นใยมากพอที่จะนำมาทำเครื่องนุ่งห่มได้
    4. ยารักษาโรค ปาล์มหลายชนิดสามารถใช้รักษาโรคได้ อาจจะได้ในรูปสกัดออกมาเป็นทิงเจอร์หรือเป็นน้ำมัน ยาไทยโบราณหลายชนิดใช้รากจากปาล์มเป็นส่วนผสมอยู่มาก เช่น รากหมาก รากมะพร้าว รากตาล
    5. ปาล์มยังเป็นที่นิยมในการนำมาปลูกเป็นไม้ประดับ เพื่อความสวยงามในการตกแต่งสถานที่ต่าง ๆ มีลักษณะสวยงามตกแต่งกันมากมายนับตั้งแต่ต้นเล็ก ต้นขนาดกลาง ต้นใหญ่ เป็นกอเป็นพุ่ม ต้นโต สูงชะลูด เป็นเถาเลื้อย รูปร่างลักษณะของใบก็มีให้เลือกใช้ได้หลายประการหลายชนิดทั้งขนาดและสีสัน จึงสามารถที่จะเลือกและนำมาตกแต่งสถานที่ทั้งขนาดใหญ่หรือขนาดเล็กใช้ได้อย่างเหมาะสมและสวยงาม



    www.การเกษตร.com/tag/ปาล์ม/ -









    สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

    ติดประกาศ: 2010-05-16 (2305 ครั้ง)

    [ ย้อนกลับ ]
    Content ©