-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 196 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

สิ่งแวดล้อม





บทบาทของธาตุอาหารพืชในปาล์มน้ำมัน


ในการทำสวนปาล์มนั้นการจัดการเรื่องธาตุอาหาร หรือปุ๋ย นับว่ามีความสำคัญมากที่สุด (โดยค่าใช้จ่ายในการจัดการสวนปาล์มประมาณ 50-60% จะเป็นค่าปุ๋ยเคมี)


 ไนโตรเจน (N)
ช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโตของพืช
ถ้าขาดจะมีลักษณะใบสีเหลืองซีด ต่อไปจะเหลืองทั้งต้น ทางใบสั้น  ต้นโตช้า  ทะลายเล็กลง ปริมาณน้ำมันน้อย



ฟอสฟอรัส (P)
กระตุ้นการแตกรากฝอย ทำให้ปาล์มสามารถดูดปุ๋ยได้ดีขึ้น มีส่วนทำให้ออกดอกได้ดีขึ้น
ถ้าขาดจะชะงักการเจริญเติบโต  ใบสีเขียวด้านเหลือบม่วง ขอบใบม่วง ออกดอกน้อย ยอดสั้นลง


โปแตสเซียม (K)
เป็นธาตุอาหารที่ต้องการมากที่สุด ทำให้ปาล์มสะสมแป้งและเปลี่ยนเป็นน้ำมันได้มาก  ให้ผลผลิตและเปอร์เซ็นต์น้ำมันสูง ทนแล้งได้ดี  ถ้าขาดจะมีจุดสีเหลืองส้มเป็นจ้ำ ๆ บริเวณทางใบ  เมื่อเป็นมาก ๆ เนื้อใบส่วนที่มีสีเหลืองจะแห้ง การผลิตดอกตัวเมียจะหยุดชะงัก ดอกตัวผู้น้อยลง ทางใบหดสั้น ทะลายเล็ก เปอร์เซ็นต์น้ำมันลดลง ไม่ทนแล้ง







แมกนีเซียม (Mg)
ช่วยในการสังเคราะห์แสง หากขาดจะทำให้ดูดซึมอาหารน้อยลง  ต้นอ่อนแอ  ลักษณะอาการทางใบล่างจะมีสีเหลืองแถบยาว   แต่เส้นใบยังเป็นสีเขียว  หากไม่แก้ไขใบจะเริ่มแห้ง ไหม้ และผลผลิตลดลง




โบรอน (B)
เป็นธาตุอาหารที่ต้องการน้อย แต่ขาดไม่ได้  ช่วยกระตุ้นให้เกิดตาดอก และ ตายอด เมื่อขาดจะมีลักษณะปลายใบย่อยหักงอเป็นรูปตะขอ ใบหยิกเป็นคลื่น  ยอดหัก อาจเกิดเฉพาะทางหรือทุกทางได้  ทางและใบย่อยเรียวแหลม สั้นผิดปกติ ดอกตัวเมียน้อย การผสมเกสรไม่สมบูรณ์ ผลผลิตลดลง





oilpalm.exteen.com/20090827/entry-1 -









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-05-16 (2096 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©