-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 460 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

สิ่งแวดล้อม








รหัสโครงการ : RDG4120009

ชื่อโครงการ :
ความต้องการธาตุอาหารและการจัดการปุ๋ยเพื่อเพิ่มผลผลิตของปาล์มน้ำมัน


ชื่อนักวิจัย : ชัยรัตน์ นิลนนท์1, ธีระ เอกสมทราเมษฐ์2, ธีระพงษ์ จันทรนิยม3, ประกิจ ทองคำ3,
วรรณา เลี้ยววาริณ4
1ภาควิชาธรณีศาสตร์ คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2ภาควิชาพืชศาสตร์
คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 3โครงการจัดตั้งศูนย์วิจัยและพัฒนาปาล์มน้ำ
มัน มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 4ศูนย์ปฏิบัติการวิเคราะห์กลาง

ระยะเวลาโครงการ : มกราคม 2541 – มิถุนายน 2544

ได้ศึกษาผลของการใช้ปุ๋ยต่อการให้ผลผลิตและปริมาณธาตุอาหารในใบของปาล์มน้ำมันที่แปลงทดลองจังหวัดตรัง สุราษฎร์ธานี กระบี่ และพังงา ระหว่างเดือนมกราคม 2541-มิถุนายน 2544 โดยทำการทดลองกับปาล์มน้ำมันที่ให้ผลผลิตแล้วอายุ 5 ปี ที่ปลูกในดินชุดนาท่าม (Fine loamy, mixed, isohyperthermic Oxic Plinthudults) ของแปลงจังหวัดตรัง ทดลองกับปาล์มน้ำมันที่ให้ผลผลิตแล้วอายุ 7 ปี ที่ปลูกในดินชุดชุมพร (Clayeyskeletal, kaolinitic, isohyperthermic Typic Paleudults) ของแปลงจังหวัดสุราษฎร์ธานี ทดลองกับปาล์มน้ำมันที่ให้ผลผลิตแล้วอายุ 6 ปี ที่ปลูกในดินชุดท่าแซะ (Fineloamy, mixed, isohyperthermic Typic Paleudults) ของแปลงจังหวัดกระบี่และทดลองกับปาล์มน้ำมันที่ให้ผลผลิตแล้วอายุ 5 ปี ที่ปลูกในดินชุดรือเสาะ (Fine loamy, mixed, isohyperthermic Typic Paleudults) ของแปลงทดลองจังหวัดพังงา โดยทุกแปลงทดลองมีที่ระยะปลูก 9x9x9 เมตร มีการวางแผนการทดลองแบบสุ่มภายในบล็อกมี 3 ซ้ำ และ 6 อัตราปุ๋ย โดย T1(อัตราปุ๋ยใส่ตามเกษตรกร) และ T2 เป็นอัตราปุ๋ยต่ำ T3 และ T4 เป็นอัตราปุ๋ยปานกลางและ T5 และ T6 เป็นอัตราปุ๋ยสูง  ทั้งนี้ T6 ได้รับปุ๋ยสูงสุด แต่ละซ้ำมีปาล์น้ำมันที่บันทึกข้อมูลผลผลิต 20 ต้น ในแปลงทดลองจังหวัดตรัง ผลการทดลองพบว่าในแปลงที่มีการใส่ปุ๋ยอัตราสูง (T5, T6) จะมีปริมาณธาตุอาหารในใบสูงโดยเฉพาะ N, P และ K ซึ่งมีค่าอยู่ในช่วง 2.6-2.8%, 0.16-0.18% และ 1.13-1.18% ตามลำดับ อย่างไรก็ตามพบว่าปริมาณ Ca และ Mg ในใบของแปลงที่ใส่ปุ๋ยในอัตราสูงนี้มีค่าลดลงจาก 0.75-0.80% และ 0.33-0.37% ในตอนเริ่มทดลองเหลือ 0.65-0.70% และ 0.22-0.24% ตามลำดับ ในช่วงท้ายของการทดลองมีการเพิ่มขึ้นเล็กน้อยของปริมาณซัลเฟอร์และโบรอนในใบเมื่อมีการใส่ปุ๋ยในอัตราสูงเช่นเดียวกันโดยมีค่าอยู่ประมาณ 0.20-0.22% และ 16-19 มก./กก. ตามลำดับ ผลผลิตที่เป็นน้ำหนักทะลายสดสะสมจะเพิ่มขึ้นตามอัตราปุ๋ยที่ใส่เพิ่มขึ้นโดยในช่วงเวลา 3 ปี ของการทดลอง พบว่า น้ำหนักทะลายสดสะสมมีค่า 268.4 กก./ต้น ในแปลงที่ใช้ปุ๋ยอัตราต่ำตามแบบของเกษตร (T1) และ 278.8 กก./ต้น ในแปลงที่ใช้ปุ๋ยอัตราต่ำ (T2) เมื่อเปรียบเทียบกับน้ำหนักทะลายสดสะสมของแปลงที่ใช้ปุ๋ยอัตราสูงสุด (T6) ที่มีค่าสูงถึง 370.2 กก./ต้น เมื่อพิจารณาถึงผลตอบแทนทางเศรษฐกิจพบว่า อัตราปุ๋ยระดับกลาง (T3) ที่ให้ผลผลิตน้ำหนักทะลายสด 2.74 ตัน/ไร่/ปี ให้ผลตอบแทนเป็นกำไรสูงสุดเป็นเงิน 3,645 บาท และมีค่า VCR (Value: Cost ratio) 2.53

แปลงทดลองจังหวัดสุราษฎร์ธานีเป็นแปลงของบริษัทขนาดใหญ่ ที่มีการจัดการด้านพื้นฐานดี  มีการใช้ปุ๋ยในอัตราที่ค่อนข้างสูง (แอมโมเนียมซัลเฟต 4 กก./ต้น, โพแทสเซียมคลอไรด์ 3 กก./ต้น และหินฟอสเฟต (Cristmas Island Rock Phosphate) 2 กก./ต้น) ทำให้มีปริมาณธาตุอาหารสะสมอยู่ในดินมากพอเพียง ดังนั้นการปรับอัตราปุ๋ยเพื่อหาอัตราปุ๋ยที่เหมาะสมในการทดลองช่วง 3 ปีครึ่ง จึงยังไม่เห็นความแตกต่างของผลการทดลองชัดเจน ปริมาณ N, P, K ในใบ ของ T1-T6 ในช่วงสุดท้ายของการทดลองยังอยู่ในช่วงใกล้เคียงกัน คือ 2.4-2.6%, 0.15-0.17% และ 0.92-0.95% ตามลำดับ ปริมาณ Ca และ Mg ในใบของแปลงที่ใส่ปุ๋ยในอัตราสูง (T5,T6) เริ่มมีค่าลดลงจาก 0.74-0.75% และ 0.27- 0.28% ในตอนเริ่มต้นทดลองเหลือ 0.69-0.72% และ 0.19-0.25% ตามลำดับ ในช่วงท้ายของการทดลองการที่ยังไม่พบความแตกต่างที่ชัดเจนของธาตุอาหารในใบสะท้อนถึงความใกล้เคียงกันของน้ำหนักทะลายสดสะสม ซึ่งเมื่อสิ้นสุดการทดลองน้ำหนักทะลายสดสะสมจะใกล้เคียงกันมากและไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติโดยอยู่ในช่วง 591-612 กก./ต้น อย่างไรก็ตามแปลงที่ไม่ได้ใส่ปุ๋ย (Control) มีน้ำหนักทะลายสดสะสมเพียง 553 กก./ต้น ซึ่งอาจเป็นข้อมูลบ่งชี้ถึงการเริ่มลดลงของผลผลิต หลังจากไม่ได้ใส่ปุ๋ยมา 3 ปี ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจซึ่งพิจารณาจากข้อมูล 30 เดือนช่วงสุดท้ายของการทดลองพบว่าแปลง  T2 ที่ให้ผลผลิต 4.59 ตัน/ไร่/ปี ให้ผลตอบแทนเป็นกำไรสูงสุดเป็นเงิน 7,746 บาท และมีค่า VCR 4.27

แปลงทดลองจังหวัดกระบี่ พบว่า ในแปลงที่ใส่ปุ๋ยในอัตราสูง (T5, T6) มีปริมาณธาตุอาหารในใบสูงโดยเฉพาะ N และ P ซึ่งมีค่าอยู่ในช่วง 2.47-2.48% และ 0.16-0.17% ตามลำดับ เมื่อเทียบกับ 2.15-2.35% และ 0.15-0.16% ใน T1 และ T2 ตามลำดับ สำหรับ K มีแนวโน้มสูงขึ้นเล็กน้อยในแปลงที่ใส่ปุ๋ยในอัตราสูง โดยมีค่าอยู่ประมาณ 1.12-1.13% ปริมาณ Ca และ Mg ในใบของแปลงที่ใส่ปุ๋ยในอัตราสูงมีแนวโน้มที่ลดลง เมื่อเทียบกับแปลงที่ใส่ปุ๋ยในอัตราต่ำ (T2) และไม่ใส่ปุ๋ย (Control) โดยลดลงจาก 0.89-0.94% และ 0.21-0.25% เหลือ 0.74-0.85% และ 0.20-0.23% ตามลำดับ สำหรับปริมาณ S มีค่าลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับตอนเริ่มการทดลองแต่ปริมาณไม่แตกต่างกันมากนักอยู่ในช่วงประมาณ 0.16-0.20% ส่วนปริมาณ B ในใบมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเล็กน้อยในแปลงที่ใส่ปุ๋ยในอัตราสูงอยู่ในช่วง 16-18 มก./กก. ผลผลิตที่เป็นน้ำหนักทะลายสดสะสม ตั้งแต่เริ่มการทดลองเพิ่มขึ้นเมื่อมีการใส่ปุ๋ยเพิ่มขึ้นในอัตราสูงโดยเพิ่มจาก 423 กก./ต้น ใน T1 เป็น 430, 452, 488, 489 และ 480 กก./ต้น ใน T2, T3, T4, T5 และ T6 ตามลำดับ ทั้งนี้จะมีความแตกต่างอย่างชัดเจนจากแปลงที่ไม่ใส่ปุ๋ย (Control) ที่มีน้ำหนักทะลายสดสะสมเพียง 181 กก./ต้น ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจที่พิจารณาจากข้อมูลในช่วง 30 เดือนสุดท้ายของการทดลอง พบว่าการใช้ปุ๋ยในระดับต่ำ (T2) ที่ให้ผลผลิต 3.10 ตัน/ไร่/ปี ให้ผลตอบแทนเป็นกำไรสูงสุดเป็นเงิน 4,885 บาท และมีค่า VCR 3.51

แปลงทดลองจังหวัดพังงาผลการทดลองพบว่า ในแปลงที่ใส่ปุ๋ยอัตราสูง (T5, T6) มีปริมาณ N, P และ K ในใบเพิ่มขึ้นค่อนข้างชัดเจน ในช่วงท้ายของการทดลอง โดยมีค่า 2.61-2.64%, 0.17-0.18% และ 1.06-1.13% ตามลำดับใน T5 และ T6 เมื่อเทียบกับ 2.35-2.47% , 0.15-0.16% และ 0.97-1.04% ตามลำดับใน T1 และ T2 ตามลำดับ อย่างไรก็ตามปริมาณ Ca และ Mg มีแนวโน้มลดลงจาก 0.72-0.77% และ 0.21-0.22% ใน T1 และ T2 เหลือเพียง 0.68-0.70% และ 0.12-0.15% ตามลำดับ ในช่วงท้ายของการทดลองปริมาณ S ในใบมีค่าลดลงเล็กน้อยจากเมื่อเริ่มการทดลองโดยลดลงจาก 0.18-0.20% เหลือประมาณ 0.16-0.19% ซึ่งไม่มีความแตกต่างกันมากนักในอัตราการใส่ปุ๋ยที่ต่างกัน สำหรับปริมาณ B มีค่าเพิ่มขึ้นเล็กน้อยในแปลงที่ใส่ปุ๋ยในอัตราสูง (T5,T6) โดยมีค่าอยู่ในช่วประมาณ 13-16 มก./กก. เมื่อเทียบกับ 12-15 มก./กก. ในแปลง T1 และ T2 ผลผลิตที่เป็นน้ำหนักทะลายสดสะสมตั้งแต่เริ่มการทดลองเพิ่มขึ้นเมื่อมีการใส่ปุ๋ยเพิ่มขึ้นในอัตราสูงโดยเพิ่มจาก 428 กก./ต้น ใน T1 เป็น 489, 468, 504, 520 และ 510 กก./ต้น ใน T2, T3, T4, T5 และ T6 ตามลำดับ ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจที่พิจารณาจากข้อมูลในช่วง 30 เดือนสุดท้ายของการทดลอง พบว่าการใช้ปุ๋ยในระดับต่ำ (T2) ที่ให้ผลผลิต 3.72 ตัน/ไร่/ปี ให้ผลตอบแทนเป็นผลกำไรสูงสุดเป็นเงิน 6,061 บาท และมีค่า VCR 3.84



ที่มา
http://www.trf.or.th/research/abstract/Thai/RDG4120009.txt

และอีกหลายเรื่องที่น่าสนใจ
http://www.trf.or.th/research/subject.asp?issue_name=เกษตร&code_issue=AGR&subj_name=พืช&subj_code=AGR01









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-05-16 (1476 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©