-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 447 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

อาชีพเสริม








การผลิตสาโท (โดยย่อ) 



สาโทเป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ผลิตจากข้าวเหนียว นำมาคลุกกับลูกแป้งเหล้า หมักไว้จนเกิด น้ำซึมออกมา เรียกว่าน้ำต้อย ซึ่งเกิดจากการเจริญของเชื้อราที่เปลี่ยนแป้งให้เป็นน้ำตาล หลังจากนั้น มีการเติมน้ำลงไปให้เกิดการหมักน้ำตาลให้เป็นแอลกอฮอล์ เดิมสาโทผลิตในชุมชนตามงานบุญ งานเลี้ยงต่างๆ ดื่มสดๆ โดยไม่สามารถเก็บไว้ได้นาน สาโทแบบดั้งเดิมมีรสหวานเนื่องจากการหมัก น้ำตาลยังไม่สิ้นสุด แต่บางแห่งปล่อยให้มีการหมักจนตกตะกอนได้น้ำใส มีแอลกอฮอล์สูง สามารถ เก็บได้นานขึ้น หรือนำไปกลั่นเป็นเหล้าขาว




นึ่งข้าวเหนียว ->

ผึ่งให้เย็น

คลุกกับลูกแป้ง หรือใส่เชื้อรา ->

หมักขั้นแรก 3 - 5 วัน

เติมน้ำ ปรับให้เหลือ 20 องศาบริกส์ และเติมยีสต์

หมักขั้นที่ 2 จนได้แอลกอฮอล์ตามต้องการ

ถ่ายน้ำสาโทออกจากกาก บ่มในถังบ่ม

กรอง

บรรจุขวด

อาจพาสเจอไรส์สาโทก่อนบรรจุ




ราที่เกี่ยวกับการหมักสาโท 

ราที่พบในลูกแป้งจากการศึกษา ของนักวิจัยหลายคณะพบว่า ราที่พบมากที่สุดได้แก่ ไรโซปัส (Rhizopus spp.) และอะไมโลไมซิส (Amylomyces rouxii)  และยังพบราอีกหลายชนิดปะปน เช่น Penicillium , Aspergillus ดังนั้นหากมีราที่ไม่พึงประสงค์เกิดขึ้นอาจทำให้เกิดสารพิษอะฟลาทอกซิน ในสาโทได้

ราที่เหมาะสมในการหมักสาโทที่สุดคือ Amylomyces rouxii เพราะมีประสิทธิภาพในการ ย่อย แป้งให้เป็นน้ำตาลสูง และสร้างกรดในปริมาณที่เหมาะสม ในการปรับสภาพข้าวให้เหมาะกับ การเจริญของ ยีสต์ในการหมักช่วงต่อไป แต่ไม่เกิดรสเปรี้ยวมากเกินไป



Rhizopus

Amylomyces

 Mucor





ยีสต์ที่เกี่ยวกับการหมักสาโท 

ยีสต์หลักที่พบในลูกแป้ง คือ แซคคาโรไมคอปซิส ฟิบูลิเจอร่า (Saccharomycopsis fibuligera ) ซึ่งเป็นยีสต์ที่มีความสามารถผลิตน้ำย่อย ย่อยแป้งได้ แต่ในลูกแป้งกลับไม่ค่อยพบยีสต์ แซคคาโรไมซิส ซิริวิซิอี ( Saccharomyces cerevisiae ) ซึ่งเป็นยีสต์ที่ใช้ทำไวน์ ซึ่งขัดกับความเชื่อ เดิมที่ว่า ลูกแป้งเป็นแหล่งของยีสต์นี้ ซึ่งเป็นยีสต์ที่ทำให้เกิดการหมัก เพราะผลิตแอลกอฮอล์ได้ดี






แต่ในระหว่างการหมักสาโท ยีสต์ Saccharomycopsis จะเจริญได้เพียงช่วงแรกของการหมัก จากนั้น S.cerevisiae จะเป็นยีสต์ที่ดำเนินการหมักจนสิ้นสุด เนื่องจาก Saccharomycopsis ไม่ทน แอลกอฮอล์ แต่ยีสต์นี้อาจมีความจำเป็นในช่วงแรกของการหมัก เพื่อช่วยย่อยแป้งที่เหลือจากการ หมักด้วยเชื้อรา และอาจผลิตกลิ่นรสที่เฉพาะของสาโทก็เป็นได้ ซึ่งจำเป็นต้องมีผลงานวิจัยยืนยัน ต่อไป


แบคทีเรียที่เกี่ยวกับการหมักสาโท
ในลูกแป้งและระหว่างการหมักสาโท จะพบว่ามีเชื้อแบคทีเรียบางชนิด เช่นแบคทีเรียที่ผลิต กรดแลคติก (กรดที่พบในแหนมและผักดอง) และแบคทีเรียที่ผลิตกรดอะซิติค (กรดน้ำส้มสายชู) ดังนั้นหากมีแบคทีเรียเหล่านี้ปนเปื้อน อาจทำให้สาโทเสื่อมเสียจากการเกิดรสเปรี้ยว หรือมีกลิ่นน้ำส้มสายชู กลิ่นหมักดอง กลิ่นลูกโป่งวิทยาศาสตร์ ขณะนี้กำลังมีการศึกษาบทบาทของแบคทีเรียกรดแลคติก ว่ามีผลต่อกลิ่น รสของสาโทอย่างไร














สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-05-16 (3251 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©