-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 303 บุคคลทั่วไป และ 1 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

อาชีพเสริม






หม้อแกงหม้อดิน

'อ่อนหวาน' รายได้ไม่อ่อน

กระแสดูแลสุขภาพมาแรง ขนมหวานไทย ๆ บางอย่างกลายเป็นของแสลงสำหรับคนที่กังวลเรื่องความหวาน จึงมีกลุ่มแม่บ้านที่ทำขนมไทยขายเลือกใช้กลยุทธ์ลดความหวาน เพื่อดึงดูดใจลูกค้าที่ห่วงใยสุขภาพ แต่ยังติดใจรสชาติอร่อยของขนมไทย เกิดเป็น “ขนมไทยอ่อนหวาน” เป็นอีก “ช่องทางทำกิน” ที่น่าสนใจ...
   
ดวงเดือน เจียมศิริ ประธานกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรร่วมความคิดสามัคคี ต.แควอ้อม อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม ซึ่งผลิต “ขนมไทยอ่อนหวาน” เล่าว่า เดิมทางกลุ่มก็ผลิตขนมไทยทั่วไปสารพัดชนิดขาย โดยมีทั้งที่ผลิตเพื่อขายส่งและจำหน่ายปลีกที่หน้าร้าน ต่อมาเห็นว่ากระแสคนรักสุขภาพมาแรง ประกอบกับได้แนวคิดจากการเข้าร่วมอบรมใน โครงการสมัชชาอาหารปลอดภัยสมุทรสงคราม โดยการสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จึงกลับมานั่งคิดดูและพบว่าลูกค้าหลายคนของกลุ่มก็มีความกังวลเรื่องความหวานของขนม จึงคิดว่าน่าจะลองปรับสูตรขนมไทยดั้งเดิมที่ทำอยู่ ให้มีความหวานลดลง เพื่อเอาใจกลุ่มลูกค้ารักสุขภาพ จึงเกิดเป็นขนมไทยอ่อนหวาน
   
ประธานกลุ่มแม่บ้านอธิบายว่า ปัจจุบันคนไทยเป็นโรคอ้วนและมีความเสี่ยงต่อพฤติกรรมการกินติดหวานมากขึ้น โดยปริมาณน้ำตาลที่บริโภคเกินความต้องการ เมื่อใช้ไม่หมดก็จะเป็นพลังงานส่วนเกินที่ร่างกายสะสม ก่อให้เกิดภาวะอ้วนหรือลงพุงได้ นอกจากนั้นก็ยังอาจจะมีโรคเรื้อรังอื่น ๆ ตามมาอีกมากมาย
   
ในระยะแรกหลังจากปรับรสชาติขนมให้มีความหวานลดลงนั้น ดวงเดือนยอมรับว่า ยอดขายลดลงอย่างเห็นได้ชัด เนื่องจากลูกค้าส่วนใหญ่ยังติดรสชาติหวานแบบดั้งเดิมอยู่ แต่เมื่อได้พยายามประชาสัมพันธ์ พร้อมแนะนำข้อดีของขนมไทยอ่อนหวานให้ฟัง สินค้าก็เริ่มขายดี จนกลายเป็นเอกลักษณ์ขนมไทยของกลุ่ม
   
ลูกค้าหลัก ๆ จะเป็นกลุ่มผู้สูงอายุที่ชอบขนมไทย ซึ่งตัวสินค้าก็ ใช่ว่าจะลดความหวานลงไปเสียทั้งหมด แต่ปรับลดความหวานลงมาให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม คือลดความหวานของขนมไทยลงมาประมาณ 25% จากสัดส่วนเดิม เพื่อไม่ให้เสียรสชาติมากจนเกินไป และต้องการรักษาจุดเด่น  ของขนมไทยไว้ด้วย
   
 “แรก ๆ ลูกค้ายังไม่เข้าใจ ยอดขายก็ลดลงไปบ้าง แต่เมื่อเราพยายามแนะนำข้อดีว่าการทานขนมหวานน้อยจะเป็นผลดีต่อสุขภาพ ลูกค้าก็เริ่มเข้าใจและเริ่มรับได้กับแนวทางของเรา”
   
สำหรับขนมไทยอ่อนหวานที่ทำขาย ก็มีเกือบทุกประเภท อาทิ ทองหยิบ, ทองหยอด, ฝอยทอง, เม็ดขนุน, ข้าวเหนียวตัด, ถั่วกวน, เผือกกวน, บ้าบิ่น แต่ที่เป็นจุดเด่นและเป็นที่นิยมของลูกค้ามากที่สุดเห็นจะเป็นเมนู “ขนมหม้อแกงหม้อดิน” โดยความหวานของขนมไทยที่ทางกลุ่มผลิตขึ้นนั้น จะเน้นใช้ความหวานจาก “น้ำตาลมะพร้าว” เป็นหลัก เพราะเป็นวัตถุดิบคุณภาพดี และหาได้ง่ายในพื้นที่สมุทรสงคราม โดยจุดเด่นของน้ำตาลมะพร้าวคือจะทำให้ขนมมีรสชาติที่กลมกล่อมและหอมมากขึ้น
   
ทุนเบื้องต้นในการทำ ขนมขาย ขึ้นอยู่กับขนาดกิจการ ส่วนทุนวัตถุดิบอยู่ที่ประมาณ 70% จากราคาขาย ซึ่งหากเป็นขนม  ไทยใส่ถาดจะขายราคาชิ้นละ 5 บาท ส่วนขนมหม้อแกงหม้อดินจะอยู่ที่หม้อ  ละ 40 บาท
   
อุปกรณ์ที่ใช้ หลัก ๆ มีอาทิ กะละมังหรือหม้อสำหรับผสมขนม, เตาถ่านหรือเตาแก๊ส สำหรับอบ, ถาดสำหรับใส่ขนม, หม้อหรือกระทะทองเหลือง, หม้อดินเผาสำหรับใส่หม้อแกง และอุปกรณ์เครื่องครัวอื่น ๆ
   
ส่วนผสมในการทำ “ขนมหม้อแกงหม้อดิน” สูตรอ่อนหวาน ประกอบด้วย ไข่เป็ด 100 ฟอง (ใช้เฉพาะไข่ขาว 70 ลูก และเฉพาะไข่แดง 30 ลูก), น้ำตาลมะพร้าว 1.5 กิโลกรัม, หัวกะทิ 1.2 กิโลกรัม, ถั่วเขียว 12  กิโลกรัม โดยสูตรนี้จะสามารถทำขนมหม้อแกงหม้อดินได้ประมาณ 30 หม้อ
   
ขั้นตอนการทำ เริ่มจากการนำไข่เป็ดมาทำความสะอาดและต่อยเอาไข่ขาวกับไข่แดงในอัตราส่วน 70:30 ทำการตีไข่ให้ขึ้น จากนั้นนำน้ำตาลมะพร้าวและหัวกะทิมาผสมให้เข้ากัน เสร็จแล้วกรองด้วยผ้าขาวบาง นำไข่ที่เตรียมไว้มาเทใส่ลงผสมรวมกันกับน้ำตาลมะพร้าวและกะทิ
   
นำถั่วเขียวนึ่งมาปั่นให้แหลกจากนั้นเทรวมกับส่วนผสมแรก ทำการขยำให้เข้ากัน
   
หลังจากนั้นให้เทส่วนผสมทั้งหมดใส่หม้อหรือกระทะทองเหลือง ตั้งไฟกวนพอข้น เทใส่หม้อดิน (หรือถาด) ที่ทำความสะอาดไว้แล้ว จากนั้นนำขนมที่บรรจุในภาชนะแล้วใส่เข้าเตาอบใช้เวลาอบประมาณ 30-40 นาที จนขนมสุก หน้าเหลือง จึงนำออกมาโรยด้วยหอมเจียว เป็นอันเสร็จขั้นตอนการทำ
   
“หม้อใส่ขนมของที่นี่ก่อนนำมาใช้จะแช่น้ำทิ้งไว้ 2 คืน จากนั้นจึงจะนำมาล้างอีก 2 ครั้ง ก่อนนำไปอบในตู้อบเพื่อให้สะอาดและปราศจากกลิ่นเหม็นหืนของหม้อ ซึ่งนอกจากเรื่องความปลอดภัยตามหลักโภชนาการแล้ว ความสะอาดก็เป็นสิ่งสำคัญที่มองข้ามไม่ได้ สำหรับคนทำอาชีพเกี่ยวกับขนมและอาหาร” ดวงเดือนกล่าว
   
ใครสนใจผลิตภัณฑ์ของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรร่วมความคิดสามัคคี ซึ่งเข้าโครงการสมัชชาอาหารปลอดภัย โดยการสนับสนุนของ สสส. ติดต่อได้ที่เลขที่ 49 หมู่ 6 ต.แควอ้อมอ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม โทร. 08-6762-0899 ทั้งนี้ “อ่อนหวาน” นี่ก็ถือเป็น “ช่องทางทำกิน” เกี่ยวกับอาหารที่น่าสนใจในยุคนี้.

ศิริโรจน์ ศิริแพทย์ : รายงาน


ที่มา  :  เดลินิวส์









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-05-16 (1488 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©