-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 422 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

อาชีพเสริม








สุพจน์ สอนสมนึก suphotso@matichon.co.th

ข้าวฮางงอก บ้านน้อยจอมศรี ขายดีแท้ๆ


อาชีพการเกษตรบนแผ่นดินไทยของเรานี้มีหลากหลายนัก หากได้ตระเวนไปในจังหวัดต่างๆ ย่อมพบเห็นอาชีพการเกษตรที่แปลกใหม่อยู่เสมอ

เป็นหลากหลายอาชีพ ไม่ว่า ทำไร่ ทำนา เลี้ยงสัตว์ การประมง ฯลฯ ซึ่งเราจะพบว่าเกษตรกรในพื้นที่ต่างๆ ได้พยายามพลิกแพลงงานอาชีพให้สามารถสร้างรายได้ที่เป็นกอบเป็นกำกว่าที่ทำอยู่ และมีลักษณะยั่งยืน ตลาดต้องการสูง คู่แข่งน้อย ทำให้ขายได้ราคา

วันนี้มีโอกาสเดินทางไปที่อำเภอเมืองสกลนครและได้พบกับ คุณนิพนธ์ แก้วดี พัฒนาการอำเภอเมืองสกลนคร ซึ่งก็เป็นที่รู้จักคุ้นเคยกันดี ตั้งใจว่าจะไปหาข้อมูลเรื่องราวการประกอบอาชีพของกลุ่มเกษตรกร แม่บ้าน พ่อบ้าน ที่นี่พอจะนำมาเผยแพร่บ้าง

คุณนิพนธ์ บอกว่า ตอนนี้มีกลุ่มที่น่าสนใจและสามารถทำเงินได้มากมาย และทำไม่พอจำหน่าย มีลูกค้าสั่งเข้ามามาก ก็คือกลุ่มทำ "ข้าวฮางงอก" บ้านน้อยจอมศรี หมู่ที่ 4 ตำบลฮางโฮง อำเภอเมืองสกลนคร

เราจึงขับรถตามรถคุณนิพนธ์ พัฒนาการอำเภอเมืองไป รถยนต์วิ่งเลาะเลียบมาถึงหมู่บ้านน้อยจอมศรี พบทุ่งนาสองข้างทางมีข้าวนาปรังกำลังเขียวชอุ่ม มองแล้วสดชื่นหัวใจดีแท้ แต่เรื่องราคาไม่รู้ยังไง รถยนต์วิ่งเลาะเลียบมาตามถนนริมคลอง พบป้ายขนาดใหญ่ทางซ้ายมือ ข้อความว่า "กลุ่มวิสาหกิจชุมชน ข้าวฮางงอก บ้านน้อยจอมศรี"

ได้พบกับ คุณพรพิศ ทองก้อน พร้อม คุณสาคร ภูรัพพา สามี กำลังช่วยกันกรอกข้าวจากกระสอบขึ้นชั่งเพื่อนำไปให้สมาชิกในหมู่บ้านคัดเมล็ดข้าวที่ยังไม่ร่อนออก เรียกว่าเก็บ "กาก" ข้าว

คุณนิพนธ์ บอกว่า ข้าวฮาง เป็นข้าวที่ผลิตขึ้นตามกรรมวิธีโบราณตามภูมิปัญญาท้องถิ่นของชาวเผ่าภูไท ในภาคอีสาน สืบต่อกันมากว่า 200 ปี โดยใช้วิธีนำข้าวเปลือกมาบ่มพักไว้ 2 คืน จากนั้นนำไปแช่น้ำ ประมาณ 12-48 ชั่วโมง เพื่อกระตุ้นให้เกิดการงอก ขั้นตอนต่อมานำข้าวเปลือกที่แช่น้ำไว้นึ่ง ประมาณ 30-60 นาที แล้วตากให้แห้ง และสีเป็นข้าวกล้องต่อไป โดยรวมใช้ระยะเวลา ประมาณ 5 วัน ต่อการผลิต 1 รอบ

ทั้งนี้ การนำข้าวเปลือกมาแช่น้ำให้เกิดการงอกจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางชีวเคมีในเมล็ดข้าว โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเพิ่มขึ้นของปริมาณสารกาบา (GABA) ซึ่งเป็นสารอาหารที่มีประโยชน์แก่ร่างกายหลายด้าน นอกจากนั้น จากกรรมวิธีผลิตข้าวฮาง ทำให้ได้ข้าวเต็มเมล็ดที่มีจมูกข้าวและรำข้าว ซึ่งเป็นส่วนที่อุดมไปด้วยแร่ธาตุและวิตามินต่างๆ รวมกว่า 20 ชนิด อีกทั้ง ข้าวฮางมีเส้นใยอาหารปริมาณสูง ช่วยการทำงานของระบบขับถ่าย

ความโดดเด่นของข้าวฮาง คือ มีสารอาหารต่างๆ สูงมาก โดยเฉพาะสาร GABA (Gamma Amino Butyric Acid) ซึ่งช่วยลดความดันโลหิตและปริมาณคอเลสเตอรอล มีส่วนช่วยในการควบคุมน้ำหนักและลดความเสี่ยงจากการเป็นโรคอัลไซเมอร์ อีกทั้ง มีธาตุแมงกานีสในปริมาณสูง ซึ่งจะช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ อันเป็นสาเหตุของโรคมะเร็ง นอกจากนั้น ข้าวฮางมีค่าการเปลี่ยนเป็นน้ำตาลในกระแสเลือดต่ำ จึงเหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน และเป็นสารสื่อประสาทที่สำคัญที่มนุษย์จำเป็นต้องใช้ในการควบคุมระบบประสาทรวมทั้งกล้ามเนื้อ

จุดเด่นของข้าวฮางที่ผ่านกระบวนการต่างๆ แล้ว จะมีลักษณะพิเศษ นิ่ม อร่อย ใกล้เคียงข้าวขาว สามารถหุงได้เหมือนกับข้าวขาวทั่วไป และมีกลิ่นหอมอ่อนๆ ของเปลือกข้าว ขณะที่สารอาหารต่างๆ สูงกว่าข้าวกล้องทั่วไป

คุณพรพิศ วัย 38 ปี ประธานกลุ่มเล่าว่า แต่เดิมนั้นก็เรียนหนังสือจนจบชั้น ป.6 และเข้าเรียนต่อในเมืองจนจบ ม.3 จึงได้ออกมาทำงานรับจ้างครั้งแรกเป็นพนักงานจุลทัศนากรของสถานีอนามัยตำบลเชียงเครือ อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร เป็นผู้ช่วยพยาบาลที่โรงพยาบาลรักษ์สกล แผนกห้องคลอด เมื่อรายได้ไม่พอรายจ่าย จึงมุ่งหน้าเข้ามาหางานทำในกรุงเทพฯ เป็นพนักงานห้างสรรพสินค้า บางลำภู และเมื่อได้ประสบการณ์จากกรุงเทพฯ แล้ว ก็มุ่งหน้ากลับบ้าน มาเป็นแม่ค้าขายข้าวเหนียว ส้มตำ ไก่ย่าง เปิดร้านขายปลาเผา เป็นแม่ค้าในตลาดสด

สุดท้าย รับจ้างขายแรงงานและแต่งงานกับ คุณสาคร ภูรัพพา กลับมาอยู่บ้าน แล้วได้รับคำแนะนำจากญาติให้ทำข้าวฮาง ลองดู ที่สุดก็มาก่อตั้งกลุ่มข้าวฮางงอก บ้านน้อยจอมศรี จนถึงปัจจุบัน

"ตอนแรกการทำข้าวฮางงอก ทำกินในครอบครัวเท่านั้น ส่วนวิธีการทำได้รับการถ่ายทอดมาจากคุณแม่ และต่อมาทดลองนำไปจำหน่ายในตลาด ลองดู ปรากฏว่ามีคนสนใจสั่งซื้อจำนวนมาก จึงคิดหาทุนและต้องการแรงงานหรือสร้างรายได้เพิ่ม จึงทำให้เกิดการรวมตัวตั้งกลุ่ม" คุณพรพิศ บอก



กลายเป็นจุดเรียนรู้ การทำข้าวฮางงอก

คุณพรพิศ กล่าวถึงประวัติความเป็นมาของกลุ่ม เดิมเป็นการทำข้าวฮางไว้เพื่อการบริโภคในครัวเรือน ต่อมาจึงมีการรวมกลุ่มและทดลองทำข้าวฮางที่ทำให้งอก โดยได้รับข้อมูลและพัฒนาในการผลิต ตลอดจนการแปรรูปจาก คุณทัศนีย์ ยะไชยศรี พยาบาลวิชาชีพ ซึ่งเป็นญาติพี่น้องกันเอง ซึ่งผลลัพธ์ที่ออกมาเป็นที่น่าพอใจ เพราะการที่ทำให้ข้าวฮางเกิดการงอกหรือทำให้มีจมูกข้าว ส่งผลให้คุณค่าทางโภชนาการทางอาหารของข้าวฮางมีเพิ่มมากยิ่งขึ้น และต่อมาทางสำนักงานเกษตรอำเภอเมืองสกลนคร จึงได้เข้ามาจัดตั้งกลุ่มให้เป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชนข้าวฮางงอกบ้านน้อยจอมศรี เมื่อวันเสาร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ 2552 ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 4 ณ บ้านเลขที่ 222/4 บ้านน้อยจอมศรี ตำบลฮางโฮง อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร จนถึงปัจจุบัน



ลักษณะการดำเนินงาน

ของกลุ่มข้าวฮางงอกบ้านน้อยจอมศรี


เป็นการผลิตข้าวฮางงอก ที่ผ่านกรรมวิธีหลากหลายขั้นตอน ซึ่งอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลจากผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง ทางกลุ่มมีลักษณะการดำเนินงานแบบบูรณาการ โดยให้คนในชุมชนมีส่วนร่วมในการผลิต โดยเปรียบเสมือนเป็นเจ้าของร่วมกัน เปิดโอกาสในการแสดงความคิดเห็น ทั้งในด้านการบริหารงานและการบริหารตัวบุคคล การดำเนินงานของกลุ่มเป็นการกระจายรายได้ให้เข้าถึงกลุ่มบุคคล ทุกเพศ ทุกวัย

ปัจจุบัน ทางกลุ่มมีพนักงานคัดแยกข้าวที่เป็นคนในหมู่บ้าน จำนวน 14 คน และเป็นคนจากชุมชนใกล้เคียง 15 คน หนึ่งในนี้เป็นคนพิการ จำนวน 1 คน (พิการอัมพาตครึ่งตัว) โดยที่ทางกลุ่มจะรับซื้อข้าวจากคนในชุมชน หรือตกลงทำสัญญาว่าจะทำนาเพื่อขายข้าวให้กับทางกลุ่ม ซึ่งกลุ่มจะรับซื้อข้าวดังกล่าวในราคาที่สูงกว่าโรงสีข้าว เมื่อทางกลุ่มนำข้าวที่ซื้อมาผ่านกระบวนการต่างๆ แล้ว ก็จะนำข้าวไปส่งให้พนักงานคัดแยกข้าวตามบ้าน โดยชั่งน้ำหนักรวมทั้งหมด กิโลกรัมละ 3 บาท ซึ่งหมายความว่า เมื่อพนักงานคัดแยกจะต้องเก็บข้าวส่วนที่ไม่ผ่านเกณฑ์ไว้ เพื่อชั่งน้ำหนักรวม เมื่อทางกลุ่มมารับข้าวคืน ผลิตภัณฑ์ของกลุ่ม มีหลากหลายประเภท ดังนี้

1. ข้าวมะลิ 105

2. ข้าวหอมนิล

3. ข้าวมันปู

4. ข้าวสามสี (การนำข้าวมะลิ 105 ข้าวหอมนิล และข้าวมันปู มาผสมกัน)

5. ข้าวเหนียวก่ำ

(หมายเหตุ : ข้าวทุกชนิดต้องผ่านกรรมวิธีการทำข้าวฮางงอกก่อน)



สำหรับวิธีการทำข้าวฮางงอกของกลุ่ม

1. นำข้าวที่มีคุณภาพเต็มเมล็ดมาคัดสรรสิ่งเจือปนออก

2. แช่น้ำสะอาด 24 ชั่วโมง

3. นำข้าวที่แช่ขึ้นจากน้ำ พักไว้ให้งอก (ประมาณ 24 ชั่วโมง)

4. นึ่งข้าวให้สุก แล้วนำไปผึ่งแดด

5. เมื่อข้าวแห้งแล้ว นำเข้าสู่กระบวนการสีข้าว

6. ผึ่งแดดอีกครั้ง จนข้าวแห้งได้ที่

7. คัดสรรสิ่งเจือปนอีกครั้ง

8. บรรจุข้าวใส่ถุงที่ปราศจากอากาศภายนอก เพื่อเป็นการรักษาอายุการเก็บรักษาข้าวให้นานขึ้น



การจำหน่าย/รายได้

ข้าวที่มีการนำมาผลิตเพื่อทำเป็นข้าวฮางงอก มี 4 ประเภท คือ

ข้าวหอมมะลิ 105 ขายในราคาปลีก 55 บาท ราคาส่ง 50 บาท

ข้าวหอมนิล ขายในราคาปลีก 65 บาท ราคาส่ง 60 บาท

ข้าวมันปู ขายในราคาปลีก 65 บาท ราคาส่ง 60 บาท

ข้าวเหนียวก่ำ ขายในราคาปลีก 55 บาท ราคาส่ง 50 บาท

รายได้ที่เกิดขึ้นในกลุ่มที่หักค่าใช้จ่ายแล้ว ประมาณ 15,000-25,000 บาท ต่อเดือน

การดำเนินงานของกลุ่ม จะเป็นการกระจายรายได้ สร้างงานให้กับชุมชน โดยการให้คนในชุมชน ทุกเพศ ทุกวัย และคนที่พิการ ได้มีส่วนร่วมในการผลิต ลดปัญหาการว่างงาน และเป็นงานเสริมรายได้ให้กับคนในชุมชน และยังเป็นการอนุรักษ์ไว้ซึ่งการทำข้าวฮาง ที่นับว่าสืบทอดกันมาช้านาน ซึ่งจะเป็นการสร้างแหล่งเรียนรู้ให้กับเยาวชนอีกทางหนึ่งด้วย



ประโยชน์ของข้าวฮางงอก

ข้าวฮางงอก สุดยอดอาหารเพื่อสุขภาพ กาบา-ไรซ์ นวัตกรรมใหม่ของการพัฒนาข้าวเพื่อสุขภาพที่ผลิตจากข้าวกล้องหอมมะลิ 100% ผ่านกระบวนการทางธรรมชาติ ทำให้สารอาหารภายในเมล็ดเกิดการเปลี่ยนแปลง มีใยอาหาร วิตามิน แมกนีเซียม โพแทสเซียม สังกะสี และสารต้านอนุมูลอิสระ อาทิ ออริซานอล กรดเฟอรูลิก กรดไฟติก เพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะกรดแกมมาอะมิโนบิวทิริกแอซิด หรือสารกาบา ซึ่งเป็นสารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ช่วยป้องกันการเกิดโรค อาทิ โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน ข้าวกล้องงอกหอมมะลิหรือข้าวฮางงอก ที่ผ่านกระบวนการแล้วจะมีปริมาณสารกาบาเพิ่มสูงขึ้นกว่าข้าวกล้อง ปกติถึง 10 เท่า และมีกลิ่นหอมกว่าข้าวกล้องปกติ รับประทานง่าย และมีคุณค่าทางอาหารสูง

คุณสาคร บอกว่า ปัจจุบันบอกได้ว่าสามารถลืมตาอ้าปากได้ จนขณะนี้ได้ซื้อรถยนต์บรรทุก 6 ล้อ เพิ่ม 1 คัน ทั้งนี้ เนื่องจากใช้รถปิคอัพไปขนข้าวที่ซื้อไว้ไม่พอ ประกอบกับการจำหน่ายต้องวิ่งไปส่งไกล ซึ่งทุกวันนี้ทางกลุ่มรับส่งข้าวให้กับผู้ที่สั่งเข้ามาแทบไม่ทัน มีทุกภาคของประเทศ โดยนำไปจำหน่ายและรับประทานเอง ในเรื่องของตลาดนั้นไม่มีปัญหา ปัญหาขณะนี้คือผลิตให้ไม่ทัน เพราะปัจจุบันมีเครื่องสีข้าวฮางเพียง 2 เครื่อง เท่านั้น

โดยเครื่องสีข้าวได้ซื้อมาจากทางวิทยาลัยเทคนิคสกลนคร ปัจจุบันการบริโภคข้าวฮางงอกมีจำนวนมากขึ้น เพราะคุณสมบัติของข้าวฮางมีมากมาย ทำให้ผู้คนหันมาสนใจสุขภาพของตนเอง และก็เป็นข้าวที่ผลิตโดยมีกรรมวิธีการทำแบบโบราณสมัยเก่า ที่ทรงคุณค่าทางโภชนาการไม่ลดลง เพราะทุกคนยังรับประทานข้าวนั่นเอง

สนใจสอบข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่ คุณพรพิศ ทองก้อน บ้านเลขที่ 222 บ้านน้อยจอมศรี ตำบลฮางโฮง อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร โทร. (085) 457-2461





สมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนข้าวฮางงอก บ้านน้อยจอมศรี

1. คุณพรพิศ ทองก้อน ตำแหน่ง ประธาน

2. คุณสาคร ภูรัพพา ตำแหน่ง รองประธาน

3. คุณอารีรัตน์ ยะไชยศรี ตำแหน่ง ฝ่ายการตลาด

4. คุณสุทธภรณ์ ขัดจำปา ตำแหน่ง ปฏิคม

7. คุณวราพร สุขทวี ตำแหน่ง ประชาสัมพันธ์

5. คุณบังอร สีนวลแล ตำแหน่ง เหรัญญิก

6. คุณเฉลียว ทองก้อน ตำแหน่ง เลขานุการ

8. คุณทัยการ ลีคำงาม ตำแหน่ง กรรมการ

9. คุณบุญรวม ขัดจำปา ตำแหน่ง กรรมการ

10. คุณสุทธิพงษ์ ขัดจำปา ตำแหน่ง กรรมการ

11. คุณไวพจน์ เพ็ชรดีคาย ตำแหน่ง กรรมการ



ที่มา  :  เทคโนโลยีชาวบ้าน









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-05-16 (1653 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©