-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 237 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

เกษตรดีเด่น








ประวัติการก่อตั้งโรงเรียนชาวนา

     ข้าพเจ้า อาจารย์พัฒน์ สันทัด วิทยากร กอ.รมน. และข้าราชการบำนาญ กระทรวงศึกษาธิการ ได้อบรมเพื่อเป็นวิทยากรแกนนำด้านข้าว ( Training of Trainers – Rice )จากองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ ( FAO )  และมูลนิธิการศึกษาโลกแห่งเอเซีย( World Education , Asia )  จัดโดยกรมการศึกษานอกโรงเรียน ระหว่างเดือนกรกฏาคม – พฤศจิกายน 2542  กิน นอน อยู่กับการทดลองปลูกข้าว เรียนรู้วิธีจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสาน  (Integrated Pest Management - IPM)  อยู่ 4 เดือน ที่วัดหน่อพุทธางกูร อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี  20 คน  9 จังหวัด ใช้เงินไป 700,000 บาท ( เจ็ดแสนบาทถ้วน ) แต่ก็คุ้ม  พวกเราไปช่วยตั้งโรงเรียนเกษตรกรกัน หลายโรงเรียน ข้าพเจ้าเองเปิดมาแล้วตั้งแต่ปี  2542 รวมแล้ว 100 โรงเรียนต้น ๆ บางโรงเรียน ลดต้นทุนการผลิตได้ปีละล้านบาท ซึ่งคุ้มมาก สุขภาพก็ดีมากด้วย หลังจากที่ข้าพเจ้าค้นพบ เมื่อปี 2548 ร่วมกับนายสมเดช  กองเป็ง ศิษย์เอกว่า “ฮอร์โมนไข่” นอกจากใช้กับพืชแล้ว ยังกินได้ด้วย ทำให้สุขภาพดีกันถ้วนหน้า แต่นั้นมา

            
ปี 2544 คุณเทอดศักดิ์  สิทธิธัญญกิจ ผู้สื่อข่าวเดลินิวส์ และทีวีช่อง 3 จังหวัดอุทัยธานี สัมภาษณ์ ข้าพเจ้าเกี่ยวกับการดำเนินงานโรงเรียนเกษตรกรเฉลิมพระเกียรติของ กศน. จังหวัดอุทัยธานี เพียง 2 ปี กับ 1 เดือน ตั้งโรงเรียนเกษตรกรได้ถึง 33 โรงเรียน คุณเทอดศักดิ์ ผู้สื่อข่าว ได้ใช้คำว่า “โรงเรียนชาวนา” ตีพิมพ์ลง น.ส.พ. เดลินิวส์ เดือนกรกฏาคม  2544 หลังจากนั้น ไอทีวี ก็มาถ่ายทำ “โรงเรียนชาวนา กศน. อุทัยธานี” ไปออกอากาศ เมื่อ 29 สิงหาค 2544 จนเป็นที่เลื่องลือ

               
โรงเรียนชาวนา (Farmer Field School - FFS) ไม่ใช่สอนแต่เรื่อง นาข้าว อย่างเดียว ปัจจุบันได้พ่วงการเกษตรแบบผสมผสาน คือ ครบถ้วนทั้งพืช นา ไร่ สวน ผัก  ประมง และปศุสัตว์ ปัจจุบัน ( ปี 2552 )  ได้ทำหลักสูตรไว้ 3 หลักสูตร คือ หลักสูตรต่อเนื่อง 20 ครั้ง ( มีแห่งเดียวคือโรงเรียนชาวนาโยนก ล้านนา บ้านป่าสักน้อย อ.เชียงแสน จ.เชียงราย โทร. 08-1575-6973 คุณสุกัญญา เจริญพร ) หลักสูตรต่อเนื่อง 16 ครั้ง ( มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย โทร 08-1595-3968 ผศ.จำรัส กลิ่นหนู ) และได้ปรับเป็นหลักสูตรต่อเนื่อง 5 เดือน ๆ ละครั้ง เพื่อช่วยพี่น้องชาวไทย ใหกว้างขวางยิ่งขึ้น

              
ปี 2551 ได้ร่วมกับรายการ “ทั่วทิศถิ่นไทย” สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย ดำเนินรายการโดยคุณจำรัส เซ็นนิล จัดโครงการโรงเรียนชาวนาทางอากาศ (Distance Farmer Field School Project) ขึ้นเป็นครั้งแรก มีผู้ฟังรายการประมาณ 1,000,000 คน ( หนึ่งล้านคน ) ลงทะเบียนเป็นลายลักษณ์อักษรเรียนกับข้าพเจ้า 700 คน นอกนั้นเรียนโดยไม่ต้องลงทะเบียน เป็นรายการที่มีเรตติ้งสูงสุด ทางรัฐบาลก็ทราบ

             
ข้าพเจ้าได้เน้นการสอนแบบอินทรีย์-เคมี มาประมาณ 8 ปี พอปี 2551 จึงได้เริ่มสอนแบบเกษตรอินทรีย์ (Organic Farming ) ไม่ใช้ปุ๋ยเคมี ไม่ใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชเลย ใช้หลักทำดินดี มีอินทรีย์วัตถุ และจุลินทรีย์หน่อกล้วย ครอบครองพื้นที่เพาะปลูกอย่างทั่วถึง พอเพียง เพิ่มเติมธาตุอาหารและสารป้องกันศัตรูพืช เพื่อให้พืชแข็งแรง มีความต้านทานสูง รสชาติอร่อย ด้วยน้ำ 20 ลิตร จุลินทรีย์หน่อกล้วย 10 ซีซี (1 ช้อนแกง)  และฮอร์โมนไข่ 10 ซีซี (1 ช้อนแกง)  ทุก ๆ 3 วัน ต่อครั้ง (ฮอร์โมนไข่ มีธาตุอาหารหลัก ธาตุอาหารรอง และกรด ประมาณ 7 ชนิด วิเคราะห์โดย กรมวิชาการเกษตร เมื่อปี 2544 )

            
โรงเรียนชาวนาทางอากาศ ช่วยการเกษตรในภาวะโลกร้อน (Global Warming) ได้มาก พืชและสัตว์ ต้านทานสูง ผลผลิตเพิ่ม รสชาติอร่อย และจะไม่ได้รับความเสียหายมาก เหมือนการเกษตรแบบเดิม ๆ ซึ่งปลายปี 2552 ได้รับรายงานจาก นายบุญส่ง เนียมหอม ศิษย์ โรงเรียนชาวนาทางอากาศ จังหวัดนครนายก ว่า มะปราง เสียหาย 99% มีดอก แต่ไม่ติดผล มีแต่สวนคุณบุญส่ง และพรรคพวกที่ทำตามแนวทางโรงเรียนชาวนาทางอากาศจึงได้ผลดกและไม่ร่วง









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-05-16 (1810 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©