-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 200 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

เกษตรดีเด่น






ประจิม ผลศิริ เกษตรกรหัวใจอินทรีย์ 


 ธานี กุลแพทย์ (thanee@nationgroup.com)

         
กว่า 30 ปีที่ ประจิม ผลศิริ เกษตรกรวัย 50 ปีเศษ แห่งบ้านตะพง ต.ตะพง อ.เมือง จ.ระยอง จะประสบผลสำเร็จในฐานะเจ้าของสวนผลไม้ "ผลศิริ" บนพื้นที่ 30 ไร่เศษนั้น เขาต้องเจออุปสรรคมากมาย แต่ที่สุดเขามองว่าวิถีชาวสวนแบบยึดทำเกษตรอินทรีย์เป็นทางออกที่ดี ทั้งแง่การลงทุน รายได้ที่เพิ่มขึ้น 
         
สวนผลไม้แห่งนี้ ประจิมบอกว่า เป็นมรดกตกทอดของพ่อแม่ที่ทิ้งไว้ให้เขาและน้องสาวให้ช่วยกันดูแลสืบเนื่องมา แต่ด้วยเป็นสวนเก่าแก่คู่พื้นถิ่น ที่การเพาะปลูกเป็นแบบชาวบ้าน ไม่มีหลักเกณฑ์ที่แน่นอน ทว่าวิธีการดูแลรักษาผลผลิต ซึ่งมีมังคุด ทุเรียน เงาะ และมะปรางนั้น ใช้ปุ๋ยเคมีทั้งหมด
         
"ปัญหาเยอะมาก ยิ่งแต่ละปีราคาปุ๋ยและสารเคมีกำจัดศัตรูพืชแพงขึ้น สวนทางราคาผลไม้ไม่ได้สูงตามไปด้วย บวกกับผลพวงการใช้สารเคมีนานๆ ทำให้เกิดปัญหาดินเสื่อม ที่เลี่ยงไม่ได้คือ สุขภาพร่างกายทั้งของผมและคนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องเริ่มมีปัญหาตามมา" ประจิมบอกถึงความจำเป็นต้องก้าวไปสู่วิถีทำสวนเกษตรอินทรีย์เมื่อ 10 กว่าปีที่ผ่านมา
         
การหันหาคำตอบด้วยยึดระบบเกษตรอินทรีย์ ปฏิเสธปุ๋ยเคมี ให้ความสำคัญกับปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก น้ำหมักชีวภาพ ตามคำแนะนำของผู้รู้นั้น ประจิมยอมรับว่า ต้องใช้ความอดทน อดกลั้น ตลอดถึงการลองผิดลองถูกอยู่นานเป็นปีกว่าทุกอย่างจะเข้าที่เข้าทาง ไปพร้อมๆ กับปรับเปลี่ยนโฉมหน้าการทำสวนไม้ผลให้มีระบบ มีหลักเกณฑ์ อันส่งผลดีหลายด้าน ทั้งเงินลงทุนน้อยลง ผลผลิตมีคุณภาพ ที่สำคัญผู้บริโภคไม่ต้องรับพิษภัยจากสารเคมีตกค้าง
         
"ที่สวนตอนนี้ปลูกมังคุดเป็นหลัก มี 300 ต้น ทุเรียนชะนี หมอนทอง กระจิบ ราว 200 ต้น เงาะโรงเรียน 100 ต้น และมะปรางอีกราว 50 ต้น เราพยายามเปลี่ยนสถานะสวนอยู่ตลอดเวลา โดยยึดทำเกษตรอินทรีย์ จนเดี๋ยวนี้ลงตัวมากขึ้น" เจ้าของสวน "ผลศิริ" บอก และฝากถึงเพื่อนเกษตรกร ผู้สนใจทำเกษตรอินทรีย์ที่ใช้ทุนน้อย ผลผลิตดี แถมตลาดต้องการแล้วล่ะก็ ไปชมที่สวนเขาได้ หรือโทรไปสอบถาม 08-1001-8490
         
ปัจจุบันสวน "ผลศิริ" เป็น 1 ใน 4 สวนผลไม้ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานให้เปิดเป็นสวนเกษตรเพื่อการท่องเที่ยวขององค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ตะพง โดยเป็นสวนน้องใหม่ล่าสุด ที่ทาง อบต.เปิดตัวเมื่อวันที่ 27 เมษายน ที่ผ่านมา
         

       
ที่มา  :  คมชัดลึก









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-05-16 (1156 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©