-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 339 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

เกษตรดีเด่น







มังคุดร้อยปี (เกษตรสร้างสรรค์)
 


ผมไปภาคตะวันออกหนนี้ ไปพบเจอสวนผลไม้ที่มีต้นไม้อายุนับร้อยปีอย่างมังคุดก็หลายสวน

ไม่ใช่เป็นการกล่าวอ้างลอยๆ ว่า ร้อยปี ส่วนใหญ่นับขึ้นไปแค่ชั่วปู่ย่าก็เกินร้อยกันทั้งนั้น และมังคุดเป็นไม้โตช้า ถ้าต้นเบ้งๆ เชื่อได้ว่าหลายสิบจนถึงนับร้อยปีครับ

สวนคุณไพบูลย์ อรัญนารถ ที่ ต.นาตาขวัญ อ.เมือง ระยอง สร้างความต่างเรื่องราคา โดยกำหนดราคามังคุดร้อยปีที่กิโลละ 90 บาท มังคุดไม่ถึงร้อยปีก็ 30-50 บาท ตามแต่ช่วงเวลา สวนแห่งนี้มีต้นมังคุดร้อยปีร่วม 20 ต้น ลำต้นสูงใหญ่ ให้ผลผลิตเฉลี่ยต้นละ 200 กิโลกรัม

มังคุดร้อยปีกับมังคุดอายุน้อยต่างกันไหม

ดูจากสภาพทั่วไปไม่ต่างกันเลย แต่พอผ่าผลมังคุดก็จะเห็นความต่าง .....หนึ่ง-มังคุดร้อยปีเปลือกจะบางกว่าเยอะเลย อันนี้เป็นหลักธรรมชาติของผลไม้..... สอง-เนื้อในของมังคุดร้อยปีจะขาวและฟูคล้ายกระท้อน.... สาม-รสชาติจะหวานกว่า ในขณะมังคุดหนุ่มสาวจะมีรสเจือเปรี้ยว ซึ่งเขาบอกว่า เหมือนกับคน ถ้ายังสาวๆ ก็มักเปรี้ยว แก่แล้วเปรี้ยวไม่ไหว ทำนองนั้น

เขียนมานี้เพื่อที่จะบอกว่า การที่สวนผลไม้มีต้นไม้อายุเกินร้อยปี แสดงให้เห็นว่าบรรพบุรุษได้ปลูกไม้ผลเหล่านี้มายาวนาน มันถึงหลงเหลือเป็นประจักษ์พยานถึงวันนี้

แต่จะเป็นประจักษ์พยานอะไร อย่างไร เดี๋ยวว่ากันต่อ

ผมนั่งคุยกับผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง คุณสยุมพร ลิ่มไทย ซึ่งพยายามช่วยชาวสวนผลใม้อย่างเต็มที่ตลอด 1 ปีที่มานั่งเก้าอี้นี้ ท่านยอมรับว่า มาตรการแก้ไขปัญหาราคาผลไม้ภาคตะวันออกล่าช้าไม่ทันการณ์ ปีนี้ว่าเร็วกว่าปีที่แล้ว แต่ก็ยังช้าอยู่ดี อนุมัติโครงการช่วยเหลือแล้ว แต่เงินยังมาไม่ถึง ข้าราชการในพื้นที่ก็ไม่กล้าทำ จนตัวท่านเองต้องบอกว่า ทำไปเลย เดี๋ยวรับผิดชอบเอง งานถึงเดินได้ ปีหน้าค่อยว่ากันใหม่ แต่รูปการณ์อย่างนี้ ผมเชื่อโดยสุจริตใจว่า ปีหน้าก็ไม่ดีไปกว่าปีนี้ ระบบช้ากว่าความเป็นจริงเสมอ

นี่เองที่ทำให้ชาวสวนผลไม้ต้องล้มละลายน่าเอน็จอนาถ

ผมเห็นมังคุดร้อยปีแล้วสะท้อนใจบอกไม่ถูก ต้นที่เหลืออยู่เหมือนเป็นอนุสรณ์ของความล้มเหลวในการแก้ไขปัญหาราคาผลไม้ของชาวสวนผลไม้ ไประยองหนนี้ก็จ๊ะเอ๋เข้ากับสวนที่เปิดให้เข้าชมและชิม แต่เริ่มปลูกต้นยางพาราแซมไว้เป็นแถวๆเป็นเวลาปีกว่าแล้ว ผมไม่ต้องถามว่าปลูกไปทำไม

อย่างที่เคยเขียน ก่อนเป็นสวนผลไม้ พื้นที่ระยองหลายแห่งเป็นสวนยางมาก่อน พอราคายางไม่ดีก็หันไปปลูกผลไม้ที่ราคาดีกว่า ตอนนี้ผลไม้ไม่ดี ยางดีมากกิโลละ100 บาทก็หันไปปลูกยางอีกกลายเป็นวงจรอุบาทว์ที่ฆ่าเกษตรกรนับศพไม่ถ้วนแล้ว

ร้อยปีที่ผ่านมา เป็นอย่างนี้ กระท่อนกระแท่น จั๊กแหล่นล้มหายตายจาก อีกร้อยปีหรือไม่ถึง บวกกับการแก้ปัญหาของรัฐบาลอย่างที่กล่าวข้างต้น ชาวสวนผลไม้ตายยังไงก็ไม่มีทางที่ตาจะหลับหรอกครับ

เรามีสวนผลไม้คุณภาพเยี่ยมระดับโลก แต่ร้อยปีเราก็ปล่อยให้เขาเหล่านั้นล้มตายมาโดยตลอด ประเทศไทยวันข้างหน้า คงต้องซื้อหาผลไม้จากประเทศเพื่อนบ้านกินแทนละครับ

พอใจ สะพรั่งเนตร


ที่มา  :  แนวหน้า









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-05-16 (1062 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©