-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 452 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

จุลินทรีย์








นวัตกรรม "จุลินทรีย์ใหม่" สร้างปุ๋ยในดิน
http://www.komchadluek.net/detail...


นวัตกรรม"จุลินทรีย์ใหม่"สร้างปุ๋ยในดิน คมชัดลึก : เกษตร : ข่าวทั่วไป
นวัตกรรม"จุลินทรีย์ใหม่"สร้างปุ๋ยในดิน คมชัดลึก : เกษตร : ข่าวทั่วไป


คมชัดลึก :ปัจจุบันเกษตรอินทรีย์กลายเป็นกระแส และเป็นทางเลือกของการเกษตรทั่วโลก รวมทั้งไทยที่กำลังขับเคลื่อนเป็นวาระแห่งชาติ และแม้เราจะขับเคลื่อนมานาน แต่ก็ยังไม่ได้รับกระแสขานรับที่ดี ปัจจัยหลักอยู่ที่ราคาสารเคมีเกษตรพุ่งขึ้นจนเกินขีดความสามารถของเกษตรกร ทำให้หลายรายหันไปหาเกษตรอินทรีย์ที่ต้นทุนต่ำกว่า ไม่มีพิษภัยต่อตัวเองและผู้บริโภค

หน่วยงานหลักในการฟื้นฟูดินก็คือกรมพัฒนาที่ดิน ซึ่งพบว่าสภาพดินที่ใช้สารเคมีได้รับผลกระทบมาก เพราะมีส่วนสำคัญในการทำลายจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในดิน "งานใหญ่ของกรมคือเฟ้นหาจุลินทรีย์ในดินที่มีความสามารถย่อยสลายซากพืช เพื่อเพิ่มอินทรียวัตถุในดิน รวมถึงฮอร์โมนที่เป็นประโยชน์ต่อพืช ซึ่งกรมได้เริ่มโครงการและประสบความสำเร็จ ปี 2529 พบจุลินทรีย์ที่ย่อยสลายซากพืชได้ดี และแปรจุลินทรีย์ในรูปสารเร่งพด.1 ซึ่งเป็นฐานสำคัญในเวลาต่อมาในการเฟ้นหาจุลินทรีย์ที่หลากหลาย"

ฉลอง เทพวิทักษ์กิจ รองอธิบดีฝ่ายวิชาการ กรมพัฒนาที่ดิน แจง พร้อมระบุว่าไม่เพียงแต่กลุ่มเกษตรกรนำผลิตภัณฑ์สารเร่ง พด.ประเภทต่างๆ มาใช้ประโยชน์เท่านั้น แต่ยังต่อยอดขยายสู่ชุมชนที่ประสบปัญหาน้ำเน่าเสีย ขยะในครัวเรือน ขณะที่ภาคเอกชนไม่น้อย เริ่มหันมาสนใจงานวิจัยจุลินทรีย์เพื่อนำไปปรับใช้ในธุรกิจของตน

ล่าสุด รองฯ ฉลอง ยอมรับว่า กรมยังมีเป้าหมายใช้จุลินทรีย์สร้างโรงปุ๋ยหรือธาตุอาหารในดินโดยตรง โดยกำลังวิจัยพัฒนาจุลินทรีย์สายพันธุ์ใหม่ ที่มีความสามารถในการตรึงไนโตรเจนได้เอง โดยไม่ต้องอาศัยปมรากถั่วอีกต่อไป เท่ากับเป็นการสร้างโรงปุ๋ยขึ้นในดินนั่นเอง ทั้งนี้ ปัจจุบันการเพิ่มธาตุอาหารในดินกระทำโดยใช้จุลินทรีย์ไปย่อยสลายซากพืช หรือไม่ก็ปลูกพืชตระกูลถั่วที่ตรึงไนโตรเจนได้ แล้วไถกลบ "กระบวนการวิจัยพัฒนาจุลินทรีย์สายพันธุ์ใหม่เริ่มบ้างแล้ว โดยคัดเลือกจุลินทรีย์ที่มีความสามารถดึงไนโตรเจนได้เอง จากนั้นใช้กระบวนการฟิวชั่น (Fusion) หรือใช้เซลล์ของจุลินทรีย์ผนวกด้วยกัน เพื่อสร้างจุลินทรีย์สายพันธุ์ใหม่ และคัดเลือกจุลินทรีย์ที่มีคุณสมบัติตามต้องการ เช่นเดียวกับฟอสฟอรัส และโปแตสเซียมที่มีอยู่ในดินแล้ว แต่ไม่สามารถปลดปล่อยให้พืชดูดไปใช้ประโยชน์ได้ ก็ต้องพัฒนาจุลินทรีย์เพื่อมาใช้ในการนี้ด้วย"

รองฯ ฉลอง แจง ถ้าธาตุอาหารหลักในดินที่จุลินทรีย์สายพันธุ์ใหม่สร้างได้ครบ ทั้งไนโตรเจน (N) ฟอสฟอรัส (P) และโปแตสเซียม (K) ก็เท่ากับเรามีโรงงานสร้างปุ๋ยในดินโดยตรง ซึ่งนับเป็นประโยชน์ต่อเกษตรกรไทยอย่างมาก" -


SoClaimon from Bookmarklet

friendfeed.com/soclaimon/05b9bc21 -









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-05-10 (2329 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©