-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 322 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

จุลินทรีย์




หน้า: 2/2





มหัศจรรย์ของจุลินทรีย์



จุลินทรีย์คืออะไร จุลินทรีย์ คือ สิ่งมีชีวิตขนาดเล็กมากๆ ขนาดที่เราไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า เช่น แบคทีเรีย ไวรัส เชื้อรา ยีสต์ เป็นต้น ซึ่งจุลินทรีย์เหล่านี้มันก็มีความต้องการปัจจัยเหมือนกับคน ได้แก่ อาหาร ที่อยู่อาศัย,น้ำ,อากาศ  ความมหัศจรรย์ของจุลินทรีย์มันมีอยู่ 3 ข้อด้วยกัน คือ


1. มีความสามารถในการขยายพันธุ์แบบทวีคูณจาก 1 เป็น 2 จาก 2 เป็น 4 ไปเรื่อยๆ หากเริ่มจาก 100 ตัว มันก็จะขยายพันธุ์แบบทวีคูณจาก 100 ×100 เป็น 10,000 ตัว และดับเบิ้ล(Double timing) จาก 10,000 × 10,000ตัว เป็น 100 ล้านตัว โดยใช้เวลาเพียง 4-6 ชั่วโมงเท่านั้นเอง และขยายเป็น ล้าน ล้านตัวภายใน 24ชั่วโมง


2. มันมีอายุสั้นมากเพียง 48-72 ชั่วโมง มันจึงสามารถเป็นแหล่งอาหารให้กับพืชและสัตว์ได้อย่างรวดเร็ว


3. ตัวมันมีองค์ประกอบของธาตุอาหารหลักครบถ้วน ได้แก่ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม แคลเซียม แมกนีเซียม คาร์โบไฮเดรต ไขมัน โปรตีน เกลือแร่ เป็นต้น มันจึงเป็นอาหารสำหรับพืชได้



ในหัวเชื้อจุรินทรีย์เข้มเข้น จะมีองค์ประกอบของจุรินทรีย์ กลุ่มต่างๆ ดังนี้

1. กลุ่มที่ให้ธาตุไนโตรเจน (N) แทนยูเรีย เช่น อะโซโตแบคเตอร์ (Acetobacter sp.) โซเบียม (Rhizobium sp.)

ไนโตรแบคเตอร์ (Nitrobacter sp.)


2. กลุ่มที่ย่อยฟอสเฟต (P) ทำหน้าที่ไปละลายฟอสฟอรัสในดินให้ออกมาในรูปที่พืชนำมาใช้ประโยชน์ได้ เช่น ฟิวซาเรียม (Fusarium sp.) เพนนิซิลเลียม (Penicillium sp.)


3. กลุ่มที่ย่อยโปรแตสเซียม (K)ทำหน้าที่ละลายโปรแตสเซียม ในดิน ที่ให้ออกมาในรูปที่พืชนำไปใช้ไประโยชน์ ได้ เช่นเชื้อแบคทีเรียกลุ่มบาซิลลัส (Bacillus sp.)


4. กลุ่มที่ให้ธาตุอาหารรองแก่พืช (S,Ca,Mg,และอื่นๆ) กลุ่มนี้เมื่อตายลงจะถูกตัวอื่นย่อยสลายและถูกปลดปล่อยออกมาให้แก่พืช เช่น แคนดิดา (Candida sp.) แซคคาโรไมซีส (Saccharomyces cerevisiae)


5. กลุ่มที่ผลิตฮอร์โมนพืช ทำหน้าที่สร้างสารกระตุ้นการเจริญเติบโตของพืช เช่น เบอโคลเดอร์เรีย (Burkholderia sp.)

ซูโดโมแนส (Pseudomonas sp.)


6. กลุ่มที่ทำหน้าที่ย่อยสลาย ทำหน้าที่ช่วยเร่งการย่อยสลายของซากพืชและซากสัตว์ ได้แก่ แอสเพอร์จิลลัส(Aspergillus sp.) คลอสตริเดียม (Clostridium sp.)


7. กลุ่มที่ผลิตสารป้องกันและทำลายโรคและแมลงในพืช ทำหน้าที่ป้องกันและยับยั้งการเจริญของเชื้อรา และ แบคทีเรีย เช่น

แลคโตบาซิลลัส (Lactobacillus sp.) คีโตเมียม (Chaetomium sp.)


8. กลุ่มที่สร้างสีสันให้กับพืช ทำหน้าที่ผลิตสารให้สีที่เรียกว่า แคโรทีนอยส์ และ แอสตาแซนทิน เมื่อพืชผักได้รับสารจะช่วยเพิ่มสีสันให้สวยงามและน่ารับประทานยิ่งขึ้น เช่น พัฟเฟียโรโดไซมา (Phaffia rhodozyma) โรโดทอรูลา (Rhodotorula sp.) Pseudomonas syringae


9. กลุ่มที่ทำหน้าที่ทำให้ดินฟู และปรับสภาพดินที่เป็นกรด-ด่าง ให้เป็นกลาง ทำให้ดินเป็นรูพรุน 25 % ทำให้ดินร่วนซุ่ยและอุ้มน้ำได้ดี



ตัวอย่างหัวเชื้อที่ใช้กับนาข้าว

สูตรสำหรับนาข้าว

1 ลิตร ขยายได้ 1,000 ลิตร ใช้ได้กับพื้นที่ 5 ไร่ เพื่อธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ผ่านการพัฒนาสายพันธุ์โดยทีมงานผู้เชี่ยวชาญทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพ ประกอบด้วยจุลินทรีย์ที่มีชีวิตไม่น้อยกว่า 1.0 x 109 cfu/ml


คุณประโยชน์

สูตรสำหรับนาข้าว เป็นปุ๋ยชีวภาพจุลินทรีย์นาโนชนิดหัวเชื้อเข้มข้นหลากสายพันธุ์ที่ใช้เทคโนโลยีจุลินทรีย์ขั้นสูงประกอบด้วยจุลินทรีย์ที่ได้รับการปรับปรุงสายพันธุ์หลายพันล้านตัวช่วยสร้างเสริมการเจริญเติบโตเพิ่มความสมบูรณ์แข็งแรงแก่พืชช่วยฟื้นฟูปรับสภาพดินให้ร่วนซุย อยู่ในรูปที่พืชนำไปใช้ได้ทันทีและรวดเร็วสร้างและยังช่วยเสริมสร้างความแข็งแกร่งทนทานต่อโรคและแมลงได้ดีอีกทั้งยังช่วยเพิ่มน้ำหนักป้องกันความทรุดโทรมของพืช


สูตรสำหรับนาข้าว ประกอบไปด้วยธาตุอาหารหลัก ธาตุอาหารรอง วิตามินและอะมิโนโปรตีนในรูปที่เป็นประโยชน์ต่อพืชปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม สามารถใช้ได้ดีกับสำหรับนาข้าว ใช้เพื่อเพิ่มความแข็งแรงของลำต้น สามารถใช้เพื่อเพิ่มการสะสมแป้งในรวงเพิ่มขนาดของเมล็ดข้าวเมล็ดไม่ลีบ ใช้ได้ทุกระยะของการเจริญเติบโต



ประกอบด้วยจุลินทรีย์กลุ่มสร้างสรรค์ประโยชน์ที่สำคัญ ดังนี้

- จุลินทรีย์สังเคราะห์แสงผลิตออกซิเจน (Oxigenic photosynthetic organics)

- จุลินทรีย์ผลิตกรดแลคติก (Lactic Acid Bacteria)

- จุลินทรีย์ตรึงไนโตรเจน (Nitrogen Fixing Bacteria)

- ยีสต์ (Yeasts)

- จุลินทรีย์กลุ่มบาซิลลัส (Bacillus)



คุณสมบัติ

- ช่วยเพิ่มผลผลิตได้อย่างน่าอัศจรรย์ และลดต้นทุนในการผลิต

- เป็นสารชีวภาพ ปลอดภัยในขณะฉีดพ่น

- ลดการใช้ยาฆ่าแมลง

- กำจัดข้าวดีด

- ทำลายไข่ของเพลี้ยกระโดด

- เมื่อใช้ต่อเนื่องเป็นประจำจะช่วยลดปริมาณหนอนและแมลงศัตรูพืชลงไปได้มาก

- ช่วยในการปรับปรุงบำรุงดิน ทำให้ดินร่วนซุย

- ช่วยป้องกันและขจัดปัญหาโรคขาดธาตุอาหารของต้นขาว

- ช่วยเพิ่มการแตกกอของต้นข้าว ข้าวออกรวงดี

- ช่วยทำให้ต้นข้าวเจริญเติบโตเร็ว สมบูรณ์แข็งแรง

- ช่วยร่นอายุ เก็บเกี่ยวผลผลิตได้เร็วกว่าปกติ

- ช่วยเพิ่มการสะสมแป้งในรวงข้าวและขนาดของเมล็ดข้าว

- ตะแง้กี่ รวงยาว เมล็ดข้าวสมบูรณ์ เพิ่มน้ำหนักได้ดี



การนำจุลินทรีย์ไปใช้กับนาข้าว

การใช้จุลินทรีย์ใช้ได้กับแปลงนา ดำและ นาหว่าน นาปีและนาปลัง โดยการใช้งานถ้าจะให้ผลดีมากๆ จะต้องเริ่มจาก การย่อยสลายตอซังข้าว



ขั้นตอนการเตรียมอุปกรณ์สำหรับ การย่อยสลาย

1. หัวเชื้อจุลินทรีย์เข้มข้นจำนวน 1 ชุด (หัวเชื้อ และ อาหารเลี้ยงเชื้อ)

2. ถังหมักจุลินทรีย์ถังละ 200 ลิตร(ใช้ 5 ถัง), หรือ 1000 ลิตร (ใช้ 1 ถัง)

3. เครื่องมือในการฉีดพ่นปุ๋ย หรือ สารเคมี



ขั้นตอนหมักหัวเชื้อ (ใช้กับ 5 ไร่)

1.นำถังที่เตรียมไว้ใส่น้ำสะอาดที่ไม่มีคอลีน หรือ ยาฆ่าแมลง ลงในถึง 200 ลิตร(ใช้ 5 ถัง) หรือ 1000 ลิตร (ใช้ 1 ถัง)


2.นำหัวเชื้อและอาหารเลี้ยงเชื้ออย่างละ 200 มิลลิลิตร เทลงในถึง 200 ลิตร ต่อ 1 ถัง(จำนวน 5 ถัง), หรือนำหัวเชื้อและอาหารเลี้ยงเชื้อจำนวน 1 ลิตร เทลงในถึง 1000 ลิตร


3.หมักหัวเชื้อทิ้งไว้ 1 วัน หรือ 2 วัน ก็ได้แล้วแต่สะดวก (แต่แนะนำให้หมัก 2 วันจะได้ปริมาณจุลินทรีย์เข้มข้นมากกว่า) ห้ามปิดฝาถัง เพราะจุรินทรีย์ต้องการอากาศหายใจ


4.เมื่อหมักเป็นเวลา 1 หรือ 2 วัน จะสังเกตฝ้าบนผิวน้ำซึ่งจะเกิดจากจุรินทรีย์มีการขยายตัวเป็นที่เรียบร้อยแล้วและน้ำจะเป็นสีน้ำตาล ซึ่งน้ำไปไปฉีดพ่นหรือสเปรย์ ให้ทั่วบนพื้นที่ 5 ไร่



ขั้นตอนในการปฎิบัติในการขบวนการย่อยสลาย (ใช้หัวเชื้อทั้งหมดจำนวน 2 ชุด / 5ไร่)

1. ปล่อยน้ำเข้าแปลงนา ให้ท่วมพอประมาณ

2. เอารถย่ำตอซังให้จมน้ำจนทั่วแปลงนา

3. หลังจากย่ำเรียบร้อยแล้วให้นำหัวเชื้อที่ได้หมักแล้ว ฉีดพ่นให้ทั่วแปลงนา (ครั้งที่ 1)

4. หลังจากใช้หัวเชื้อจุลินทรีย์เข้มข้นย่อยตอ่ซัง ครบ 3 วันให้ใส่หัวเชื้อสูตรย่อยสลายครั้งที่ 2

5. ทิ้งไว้ให้ครบอีก 3 ? 4 วัน ก็เป็นการสิ้นสุดการย่อยสลาย การย่อยสลายจะใช้เวลา 5 ? 7 วัน



ขั้นตอนในการปฎิบัตในขั้นตอนการปลูกข้าว (ใช้หัวเชื้อทั้งหมดจำนวน 5 ชุด / 5ไร่)

1. เริ่มใช้ปุ๋ยจุลินทรีย์ครั้งที่ 1 เมื่อหว่านข้าวครบ 20 วัน(จำนวน 1 ชุด)

2. และใส่ปุ่ยครั้งที่ 2 เมื่อข้าวอายุได้ 40 วัน (จำนวน 1 ชุด)

3. ใส่ปุ๋ยครั้งที่ 3 เมื่อข้าวอายุได้ 60 วัน(จำนวน 1 ชุด)

4. ใส่ครั้งสุดท้ายเมื่อต้นข้าวเริ่มต้นตั้งท้องออกรวง (จำนวน 2 ชุด)



การย่อยจะเกิดผลดีดังนี้คือ

1. ย่อยตอซังข้าวในแปลงนาให้เป็นปุ๋ย ซึ่งเราจะได้ปุ๋ยตอซังข้าวด้วยธาตุอาหาร N,P,K โดยไม่ต้องใส่ปุ๋ยเคมีใดๆ

2. ย่อยวัชพืชในแปลงนา ข้าวดีด ข้าวหาง ข้าวลาย ข้าวนก จะย่อยสลาย เป็นการขจัดวัชพืชในแปลงนาอย่างได้ผล

3. ทําให้ดินร่วนซุย ทําให้ต้นข้าวออกรากลึกและรากเยอะขึ้น ช่วยให้ต้นข้าวหาอาหารได้มากขึ้น

4. ช่วยควบคุมจุรินทรีย์ตัวร้าย หรือ เชื้อราซึ่งเป็นสาเหตุของการแพร่ระบายโรคต่างๆ ของต้นข้าวได้

5. ย่อยสลายไข่เพลี้ย และ ไข่หอยเชอรี่ ทําให้การแพร่ระบาดลดลง แถบไม่ต้องใช้ยาฆ่าแมลงเลย



ขั้นตอนการใส่ปุ๋ย (ใน 1 ฤดูกาล)

ครั้งที่ วันที่ใส่ จำนวนชุด

1 เมื่อข้าวอายุครบ 20 วัน 1 ชุด

2 เมื่อข้าวอายุครบ 40 วัน 1 ชุด

3 เมื่อข้าวอายุครบ 60 วัน 1 ชุด

4 เมื่อข้าวเริ่มตั้งท้องออกรวง 2 ชุด



การย่อยจะเกิดผลดีดังนี้คือ

1. ให้อาหารหลัก N,P,K และธาตุอาหารรอง แมงกานีส, สังกะสี, โมดินั่ม และอื่นๆ โดยไม่ต้องใส่ปุ๋ยเคมีใดๆ

2. ทําให้ดินร่วนซุย ทําให้ต้นข้าวออกรากลึกและรากเยอะขึ้น ช่วยให้ต้นข้าวหาอาหารได้มากขึ้น

3. ช่วยควบคุมจุรินทรีย์ตัวร้าย หรือ เชื้อราซึ่งเป็นสาเหตุของการแพร่ระบายโรคต่างๆ ของต้นข้าวได้

4. ช่วยปรับสภาพดินที่เป็นกรด-ด่าง ให้เป็นกลาง


ข้อเสียของการใช้จุรินทรีย์

1. ใบข้าวจะไม่เขียวเหมือนการใส่ปุ๋ยเคมีใบจะออกเขียวอมเหลืองหรือเขีียวอ่อน




สนใจขอรายละเอียดเพิ่มเติม ติดต่อ 087-5077829 (เจียบ)



http://market.taradkaset.com/993/%E0%B8%81%E0%B8%B3%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%AB%E0%B8%B2-%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%8A%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B8%8A%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%87-%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B8%94-%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%81-%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A2-%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%9C%E0%B8%A5-%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B8%AB%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%88%E0%B8%B8%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%A1%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%99-.html







หน้าก่อน หน้าก่อน (1/2)


สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-05-10 (8789 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©