-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 327 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

จุลินทรีย์




หน้า: 1/2




 สิ่งมีชีวิตที่เป็นสาเหตุของโรคพืช ได้แก่ ไวรัส (virus) ไมโคพลาสมา (mycoplasma or mycoplasmalike organism) แบคทีเรีย (bacteria) รา (fungi) ไส้เดือนฝอย (nematode) และพืชชั้นสูงที่เป็นปรสิต (higher plant parasites) ได้แก่ กาฝาก (mistletoes) และฝอยทอง (dodders

 

ไวรัส (viruses)

 
 

ภาพที่ 20 โครงสร้างของไวรัส
ที่มา :
http://micro.magnet.fsu.edu/cells/virus.html

 

                  ไวรัสมีลักษณะสำคัญ 3 ประการ คือ

                  1. สามารถทำให้เกิดโรคและติดต่อได้ (transmissible)

                  2. สามารถเพิ่มจำนวนได้เฉพาะในพืชที่มีชีวิตเท่านั้น( reproduce only in vivo )

                  3. มีขนาดเล็กมากจนไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยกล้องจุลทรรศน์ชนิดใช้แสงธรรมดา( light microscope )

                  การจัดจำแนก( classification ) โดยใช้ธรรมชาติของเชื้อยังไม่สามารถกระทำได้ เนื่องจากความรู้และข้อมูลที่สำคัญในเรื่องธรรมชาติของเชื้อไวรัสสาเหตุของโรคยังไม่สมบูรณ์พอ ดังนั้นการจัดจำแนกกลุ่มของไวรัสสาเหตุของโรคพืชจึงใช้ลักษณะอื่นๆ แทน

 

ลักษณะอาการของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อไวรัส ( symptoms of viral diseases in plant )

 

                  ลักษณะอาการที่เกิดจากเชื้อไวรัสแบบทั่วไปทั้งต้นเรียกว่า systemic symptom เนื่องจากไวรัสแพร่กระจายไปทุกส่วนของพืช สำหรับลักษณะอาการแบบเฉพาะที่ เรียกว่า local symptom ลักษณะอาการทั่วไปของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อไวรัสคือ การลดลงของขนาดพืช ส่วนยอดของพืชอาจไหม้และส่วนของใบอาจมีสีเหลืองซีดหรือเป็นจุดสีเหลืองซีดหรือจุดสีน้ำตาล หรือเป็นรอยจุดด่างเป็นดวงๆ( ring spot ) หรือเป็นรอยขีด( streak ) ใบพืชอาจจะเสียรูปร่างไปเพียงเล็กน้อย ใบเป็นคลื่น หรืออาจจะเสียรูปร่างไปจนไม่เหลือลักษณะเดิม

                  ความรุนแรงและลักษณะอาการของโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสชนิดหนึ่งจะผันแปรไปได้ด้วยปัจจัยต่างๆ เช่น ชนิดและอายุของพืช สภาพแวดล้อมก่อนเกิดการติดเชื้อ( infection ) และในระหว่างที่มีการพัฒนาของโรค และความผันแปรในตัวของเชื้อไวรัสเอง ความผันแปรในตัวเชื้อไวรัสชนิดใดชนิดหนึ่งสามารถตรวจสอบได้จากความแตกต่างในเรื่องของ ความสามารถในการก่อให้เกิดโรคกับพืชชนิดต่างๆ ลักษณะอาการของโรคที่เกิดขึ้นในต้นพืช และการถ่ายทอดเชื้อโรคโดยแมลงว่าเป็นแมลงชนิดใด ซึ่งความผันแปรนี้ก่อให้เกิดการแบ่งชนิดของไวรัสเป็น strain

 

การถ่ายทอดเชื้อไวรัส ( virus transmission )

 

                  การแพร่กระจายของเชื้อไวร้สเกิดได้ 4 ทางดังนี้

                  1. ทางเมล็ด แต่เกิดขึ้นได้ยากมาก อาจเป็นเพราะว่าขณะเกิดต้นอ่อนภายในเมล็ดนั้น เชื้อไวรัสไม่สามารถติดเข้าไปได้

                  2. ทางส่วนขยายพันธุ์โดยไม่อาศัยเพศ ( vegetative organ ) เชื้อไวรัสสาเหตุของโรคพืชที่ก่อให้เกิดอาการแบบ systemic ทั้งหมด ถ่ายทอดเชื้อโรคได้ด้วยวิธีนี้

                  3. ทางการสัมผัส มักเกิดในกรณีที่มีเชื้อไวรัสในปริมาณความเข้มข้นสูง อาจเกิดโดยการเสียดสีของกิ่งของต้นที่อยู่ใกล้กันขณะที่มีลมพัด หรือการที่รากของต้นไม้มาแตะกันแล้วเชื้อผ่านเข้าทางรอยแผล หรือเกิดการเชื่อมกันของราก ( root grafting )

                  4. ทางตัวพาหะ( vector ) เป็นวิธีการถ่ายทอดเชื้อที่สำคัญที่สุด ตัวพาหะนี้ได้แก่ รา ไส้เดือนฝอย นก สัตว์ขนาดใหญ่ และแมลง ซึ่งแมลงจัดว่าเป็นตัวพาหะที่สำคัญที่สุด

 

ความสัมพันธ์ระหว่างไวรัสสาเหตุของโรคพืชและตัวพาหะที่เป็นสัตว์ขาปล้อง ( The relations of plant viruses to arthropod vectors )

 

                  ไวรัสเกือบทุกชนิด ยกเว้น TMV มีการแพร่กระจายและปลูกเชื้อโดยแมลง และแมลงที่เป็นพาหะที่สำคัญ คือ เพลี้ยอ่อน( aphid ) ซึ่งตามปกติเป็นตัวนำเชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดโรค mosaic และไวรัสชนิดที่ใกล้เคียงอื่นๆ

 
 

ภาพที่ 21 เพลี้ยอ่อน (aphids) ซึ่งเป็นแมลงพาหะที่สำคัญของเชื้อไวรัส
ที่มา :
http://www.freshops.com/nutrient.html

 

                  แมลงที่เป็นพาหะสำคัญลำดับที่สองคือ เพลี้ยกระโดด ( leafhopper ) ซึ่งเป็นตัวการถ่ายทอดเชื้อ yellow virus นอกจากนี้ยังมีพาหะชนิดอื่นที่สำคัญ ได้แก่ เพลี้ยไฟ ( thrips) แมลงหวี่ขาว ( white fly ) เพลี้ยแป้ง ( mealy bug ) และไร( mite )

 
 

ภาพที่ 22 เพลี้ยกระโดด เป็นแมลพาหะของเชื้อไวรัสลำดับที่สอง
ที่มา :
http://www.ent.iastate.edu/imagegal/homoptera/leafhopper/potato/0212.37potatoleafhopper.html



การจำแนกไวรัสสาเหตุของโรคพืชโดยใช้แมลงพาหะ

 

                  ไวรัสสาเหตุของโรคพืชส่วนใหญ่ถ่ายทอดโดยมีเพลี้ยอ่อนเป็นพาหะ จึงถูกแยกออกเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้

                  1. stylet-borne virus หรือ nonpersistent virus จะสามารถถ่ายทอดโดยติดไปกับปากของแมลงและหายไปจากตัวแมลงอย่างรวดเร็ว เพียงแค่การไปดูดกินน้ำเลี้ยงพืชหนึ่งครั้งเท่านั้น ไวรัสกลุ่มนี้มีสมาชิกมากที่สุด

                  2. circulative virus หรือ persistent virus ไวรัสสาเหตุของโรคพืชเข้าไปอยู่ภายในตัวแมลงเป็นระยะเวลายาวนานหรือตลอดชั่วชีวิตของแมลง ไม่เป็นที่แน่ชัดว่าไวรัสมีการเพิ่มจำนวนในตัวของเพลี้ยอ่อนหรือไม่ แต่ถ้าเป็นไวรัสที่ถ่ายทอดโดยเพลี้ยกระโดด มันจะผ่านต่อไปยังรุ่นลูก รุ่นหลานได้ทางไข่

 

คุณสมบัติทางกายภาพและทางเคมีของไวรัสสาเหตุของโรคพืช ( physical and chemical properties of plant viruses )

 

                  คุณสมบัติที่ว่านี้ได้แก่ ความเจือจางต่ำสุดของเชื้อที่สามารถก่อให้เกิดโรคกับพืช ( dilution end point ) อุณหภูมิในระดับที่สามารถหยุดปฏิกิริยาของเชื้อไวรัสได้( thermal inactivation point ) และความยาวนานในการดำรงชีวิตอยู่ได้นอกเซลล์สิ่งมีชีวิต ( longevity in vitro ) ซึ่งคุณสมบัตินี้สามารถช่วยในการวินิจฉัยชนิดของไวรัสที่ก่อให้เกิดลักษณะอาการของโรคที่คล้ายคลึงกันได้ แต่การทดสอบคุณสมบัติทางกายภาพนั้นบ่อยครั้งที่มีปัจจัยภายนอกอื่นๆ เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย

                  TMV มีคุณสมบัติทางกายภาพและทางเคมีที่คงที่มากกว่าไวรัสชนิดอื่น ๆ มักถูกนำไปใช้ในการศึกษาเรื่องต่างๆ มากมาย จนทำให้ทราบว่าตัว particle ของไวรัสประกอบด้วย nucleic acid และ protein โดย protein เป็นตัวห่อหุ้ม nucleic acid ไวรัสสาเหตุของโรคพืชส่วนใหญ่ที่ก่อให้เกิดอาการด่าง ( mosaic ) มี nucleic acid ประเภท ribonucleic acid ( RNA ) และมีไวรัสสาเหตุของโรคพืชอย่างน้อยที่สุด 1 ชนิด คือ cauliflower-mosaic virus ที่ nucleic acid เป็น deoxy- ribonucleic acid ( DNA )

                  ไวรัสมีรูปร่าง 3 แบบ คือ แบบเป็นท่อนตรง ( rigid rod ) แบบเป็นท่อนคด ( flexuous rod ) และแบบทรงกลมหลายเหลี่ยม ( polyhedral ) มีขนาดอยู่ระหว่าง 16 – 475 m? (1 m ? = 10 -6 mm ) ไวรัส TMV มีรูปร่างเป็นท่อนตรง มีขนาด 15 x 280 m?

 

วงจรของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อไวรัส ( virus disease cycle )

 

                   เมื่อเชื้อไวรัสเข้าสู่เซลล์พืชโดยอาศัยตัวพาหะต่างๆแล้ว จะปล่อย RNA เข้าไปดึงเอาสารประกอบที่มีไนโตรเจนอยู่จาก cytoplasm และจาก nucleus ไปใช้ในการเพิ่มจำนวน nucleic acid ของตัวไวรัส และใช้ amino acid ของเซลล์พืชในการสร้าง protein ของตัวมันเอง หลังจากการสร้าง particle ใน vacuole ของเซลล์พืชหรือใน cytoplasm แล้ว อาจทำให้เห็นผลึกของเชื้อไวรัสเมื่อตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์

 

ความสัมพันธ์ทางเซรุ่มวิทยา ( serological relationships )

 
                   ไวรัสเป็น antigen ที่เฉพาะเจาะจง ดังนั้น antiserum ที่ได้จากการใช้ไวรัสชนิดหนึ่งฉีดเข้าไปในตัวสัตว์จึงทำปฏิกริยากับของเหลวที่สกัดออกมาจากพืชที่เป็นโรคอันเนื่องมาจากไวรัสชนิดนั้น โดยของเหลวที่สกัดมาจากพืชต้องมีปริมาณของเชื้อไวรัสมากพอ antiserum ที่ได้มานี้จะไม่ทำปฏิกิริยากับของเหลวที่สกัดออกมาจากต้นพืชที่ไม่เป็นโรคหรือที่เป็นโรคอันเนื่องมาจากไวรัสชนิดอื่น การทดสอบทางเซรุ่มวิทยาช่วยให้สามารถบอกความสัมพันธ์ในระหว่างไวรัสพืชต่างๆ ได้อย่างรวดเร็วและถูกต้อง

ปรากฏการณ์การเข้าไปรบกวนพืชของเชื้อไวรัส ( interference phenomena )

                   ต้นพืชที่ถูกเชื้อไวรัส strain หนึ่งเข้าไปทำลายแล้วนั้น ตามปกติจะไม่ถูกเชื้อไวรัสชนิดเดียวกันแต่ต่าง strain เข้าไปก่อให้เกิดโรคได้อีก ถ้าเชื้อไวรัสเป็นชนิดอื่นจึงจะเกิดโรคขึ้นได้ ความสัมพันธ์ในลักษณะนี้ได้ถูกนำมาใช้ทดสอบเชื้อไวรัสว่าเป็นชนิดเดียวกันหรือต่างชนิดได้เป็นอย่างดี คือ เมื่อมีโรคเกิดขึ้นจากเชื้อไวรัส strain หนึ่ง แล้วสามารถคุ้มกันตัวเองไม่ให้เป็รโรคจากเชื้อไวรัสอีก strain หนึ่งได้ เป็นการแสดงว่าไวรัสทั้งสองเป็นชนิดเดียวกันแต่ต่าง strain

การควบคุมโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส ( control of virus diseases )

                   กระทำโดยการป้องกันไม่ให้พืชเป็นโรค อาจทำโดยการใช้สารฆ่าแมลงฉีดพ่นเพื่อลดจำนวนแมลงพาหะเมื่อทำการปลูกพืช อาจใช้ความร้อนเข้าช่วยในการกำจัดเชื้อไวรัสออกไปจากตอพันธุ์ หรือตัดเอา apical meristem จากยอดอ่อนพืชที่มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วไปทำการขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ( tissue culture ) ซึ่งจะทำให้ได้ต้นพืชที่ปลอดเชื้อไวรัส


Privacy Policy | About Us
Copyright © 2000-2008 - Job Online Co.,Ltd. All rights reserved.
Contact Webmaster :
Webmaster@Jobpub.com
www.jobpub.com/articles/showarticle.asp?id=2404 -






โรค, เชื้อรา, ไวรัส ในพืชตระกูลส้ม 

โรคแคงเกอร์
สาเหตุ เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Xanthomonas campestris pv citri Hasse

            
ความสำคัญ
ทำให้ใบร่วง กิ่งแห้งตาย และผลไม่มีคุณภาพ
         

ลักษณะอาการ
โรคแคงเกอร์เกิดได้ทั้งที่ใบ กิ่ง ก้าน และผลส้ม มีลักษณะอาการ ดังนี้ อาการบนใบ ใบอ่อนเกิดเป็นจุดกลม และฉ่ำน้ำ มีสีเหลืองซีดหรือเขียวอ่อน เมื่อขยายใหญ่ขึ้นมีลักษณะฟูคล้ายฟองน้ำสีเหลืองอ่อน ต่อมาจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้ม แตกสะเก็ดขรุขระนูนและแข็งตรงกลางเป็นรอยบุ๋ม มีวงสีเหลืองล้อมรอบแผล การเกิดแผลนี้ส่วนใหญ่จะเกิดได้ทั้งสองด้านของใบ และเกิดรุนแรงมากเมื่อหนอนชอนใบเข้าทำลายด้วยใบที่เป็นโรคนี้มักร่วงก่อนกำหนด
             
อาการบนกิ่งก้าน
เมื่อเชื้อทำลายกิ่งอ่อนเริ่มแรกเกิดจุดสีเหลืองนูน ฟูบนเปลือกของกิ่งก้าน ต่อมาแผลจะแตกแห้งเป็นสะเก็ดสีน้ำตาล แล้วลุกลามขยายออกไปตามความยาว หรือรอบกิ่งจนกลายเป็นปุ่มหรือ ปมขนาดใหญ่ รูปร่างไม่แน่นอน และไม่มีวงแหวนสีเหลืองล้อมรอบแผล ถ้าเป็นโรครุนแรงจะทำให้ต้นแคระแกร็น กิ่งก้านแห้งตาย และทรุดโทรมอาจถึงตายได้ 
             
อาการบนผล

เกิดจุดแผลฝังลึกลงไปในผิวผลอ่อน แผลนูนคล้ายฟองน้ำ มีสีเหลืองเข้ม ต่อมาเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลและแตกสะเก็ดมีวงแหวนสีเหลืองล้อมรอบแผลทำให้เกิดการปริแตกตามรอยแผลของโรคแคงเกอร์
             
การสำรวจ
สำรวจที่ใบอ่อน ผลอ่อน
             
การป้องกันกำจัด
ใช้กิ่งพันธุ์ที่ปราศจากโรค แข็งแรงปลูก, ตัดแต่ง เก็บใบหรือส่วนที่เป็นโรคนำไปเผาทำลาย เพื่อป้อง กันการระบาด, ใช้จุลินทรีย์ปฏิปักษ์ในการป้องกันและกำจัด, ใช้ธาตุพิเศษในการป้องกัน (ซิลิคอน) ฉีดพ่นทุก 7 วัน, ใช้หินแร่ภูเขาไฟ (ซีโอไลท์แท้) หว่านหรือผสมปุ๋ยเคมีเป็นประจำ เพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้กับพืช
             
การแพร่ระบาด
เชื้อสาเหตุ เป็นเชื้อบักเตรีที่สามารถเข้าทางปากช่องใบ หรือบาดแผลได้ง่าย และสามารถฟักตัวอยู่ในดินได้เป็นเวลานาน ดังนั้นโรคนี้จะระบาดรุนแรงเมื่อสภาพแวดล้อมเหมาะสมแพร่ระบาดโดยเชื้อติดไปกับกิ่งพันธุ์ ดิน และน้ำ



โรคกรีนนิ่ง
สาเหตุ เกิดจากเชื้อบักเตรี (Bacterial like organism)

ลักษณะอาการ

อาการของโรค ใบส้มโอที่เป็นโรคนี้จะมีสีเหลืองจนถึงเหลืองซีด เส้นกลางใบและเส้นแขนงมีสีเขียวอยู่ด้วย บางครั้งพบว่าใบจะสีจุดสีเหลืองเป็นแต้ม ๆ หรือจ้ำ กระจายไปทั่วบนใบ ส่วนมากจะพบกับใบอ่อน ส้มที่เป็นโรคนี้ขนาดของใบจะเล็กลงหนากว่าปกติ และปลายใบตั้งชี้ขึ้น ถ้าหากเป็นโรครุนแรงใบแก่จะโค้งงอผิดปกติ กิ่งและข้อสั้นกว่าปกติ แตกกิ่งมาก ขนาดผลเล็กเมล็ดลีบ ผลมักร่วงก่อนแก่ และจะพบกิ่งแห้งตายจากส่วนปลายยอด แล้วลุกลามไปทั่วต้น
           
การป้องกันกำจัด
คัดเลือกกิ่งพันธุ์ที่สมบูรณ์ และปราศจากโรคไปปลูก, ตัดแต่งกิ่งที่เป็นโรคเผาทำลาย เพื่อลดปริมาณของเชื้อโรค, ถ้าหากเป็นโรคกรีนนิ่งรุนแรง ให้ขุด ถอน และเผาทำลาย เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรค, ใช้แร่หินภูเขาไฟ (ซีโอไลท์แท้), ใช้ธาตุอาหารพิเศษ (ซิลิคอน) ชนิดฉีดพ่นทุก 7 วัน เพื่อป้องกันและสร้างภูมิต้านทานให้แก่ต้นพืช และกำจัดแมลงพาหะนำโรค คือเพลี้ยกระโดดส้ม หรือ เพลี้ยไก่แจ้
            
การแพร่ระบาด
โรคกรีนนิ่ง แพร่ระบาดโดยเชื้อบักเตรีติดไปกับกิ่งพันธุ์ และถ่ายทอดโดยเพลี้ยกระโดดส้ม หรือเพลี้ยไก่แจ้





โรคทริสเตซ่า (Tristeza Disease)
สาเหตุ เกิดจากเชื้อไวรัสทริสเตซา (Citrus Tristeza Virus, CTV)

            
ลักษณะอาการ
อาการของโรคทริสเตซาที่ใบอ่อน จะเห็นเส้นใบเป็นขีดโปร่งใสสั้น ๆ ประกอบกันเป็นแต้มเหลือง รูปใบโค้งงอ บิด เบี้ยว ใบหนาด้านและชี้ตั้งขึ้น ใบอ่อนมีขนาดเล็กสีเหลืองซีด ข้อสั้น บางครั้งยอดและใบอ่อนที่แตกออกมาจะเป็นกระจุก ส่วนอาการบนลำต้นหรือกิ่งขนาดใหญ่จะพบเปลือกไม่ราบเรียบเป็นรอยคลื่น หรือร่อง จำนวนมาก ลักษณะร่องจะขนานไปตามความยาวของลำต้นหรือกิ่งเมื่อเปิดเปลือกลำต้นหรือกิ่งดูเยื่อไม้จะพบร่องเว้า รอยบุ๋มลึกมีสีน้ำตาลแดง และด้านในของเปลือกที่เปิดออกมา จะมีลักษณะเส้นยื่นออกทางตามแนวหรือบุ๋มลึกของเนื้อไม้ บางครั้งพบว่าด้านในของเปลือกอาจเป็นหนามแหลมยื่นออกมา ถ้าหากส้มเป็นโรคนี้รุงแรงอาจทำให้ต้นโทรม
             
ความสำคัญ
ต้นโทรมไม่ติดผล เป็นแหล่งแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส
             
การป้องกันกำจัด
เนื่องจากโรคทริสเตซา เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส ซึ่งไม่มีสาร เคมีป้องกันกำจัดโรคได้ ถ้าหากส้มเป็นโรคนี้แล้วควรตัดทิ้งและ เผาทำลาย เพื่อลดปริมาณของโรค และลดการ ระบาดของโรคนี้ ควรใช้กิ่งพันธุ์ที่แข็งแรง สมบูรณ์ และปราศจากโรคปลูก ตัดแต่ง เก็บใบหรือส่วนที่เป็นโรคนำไปเผาทำลาย เพื่อป้อง กันการระบาด, ใช้จุลินทรีย์ปฏิปักษ์ในการป้องกันและกำจัด, ใช้ธาตุพิเศษในการป้องกัน (ซิลิคอน) ฉีดพ่นทุก 7 วัน, ใช้
ภูไมท์ซึ่งเป็นหินแร่ภูเขาไฟ (ซีโอไลท์แท้) หว่านหรือคลุกผสมปุ๋ยเคมีเป็นประจำ เพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้กับพืช
             
การแพร่ระบาด
พบการแพร่ระบาดของโรคทริสเตซามากในสวนส้มที่มีแมลงพาหะอาศัยอยู่ เช่น เพลี้ยอ่อนส้ม หรือบางครั้งเชื้อติดไปกับกิ่งพันธุ์ที่นำไปปลูก


 

โรคโคนเน่าและรากเน่า ( Phytophthora foot and root rot)
สาเหตุ เกิดจากเชื้อ Phytophthora parasitica Dastur

           
ลักษณะอาการ
เชื้อสามารถเข้าทำลายรากฝอย รากแขนง และตามโคนต้น สังเกตเห็นได้ว่าอาการใบจะมีสีเหลืองซีดถึงเหลือง โดยเริ่มที่เส้นกลางใบก่อนแล้วลุกลามไปเรื่อย ๆ ใบจะเขียวม้วนงอ เมื่อโดนแดดจัด ๆ ในตอนกลางวัน หรือใบเหี่ยวคล้ายขาดน้ำ ใบจะร่วงกิ่งแห้งตาย ผลมีสีเหลืองร่วงหล่นง่าย เมื่อขุดดูที่รากจะพบว่ารากฝอยเน่า ถอดปลอก รากแขนงหรือรากขนาดโตเน่าเปื่อยยุ่ย และลุกลามไปทั่ว นอกจากนั้นยังมีสาเหตุอื่น ๆ อีกที่ทำให้รากเน่า เช่น น้ำท่วมขัง การใช้สารเคมีผิด และพิษจากปุ๋ยเคมี เป็นต้น
            
ความสำคัญ
ใบแห้ง ผลร่วง ถ้าเป็นมากอาจถึงต้นตายได้
            
การป้องกันกำจัด
1. ป้องกันอย่าให้น้ำขังหรือแฉะที่โคนต้น เพราะเป็นสาเหตุชักนำให้ เกิดโรคได้ง่าย
2. ปรับสภาพดินปลูกให้โปร่ง โดยการใช้ปุ๋ยอินทรีย์เพื่อทำให้การ ระบายน้ำอากาศดี
3. ตัดแต่งทรงพุ่มให้โปร่ง เพื่อให้อากาศถ่ายเทสะดวก และ แสงแดดส่องเข้ามาถึงโคนต้น
4. ควรหลีกเลี่ยงการกระทำใด ๆ ที่อาจทำให้โคนต้น ราก เกิดบาด แผลเพราะเชื้อราสาเหตุจะเข้าทำลายได้ง่าย
5. หากต้นทรุดโทรม ในระยะแรกควรบำรุงต้นด้วยการให้ธาตุ อาหารเสริมทางใบเพราะรากทำงานไม่เต็มที่
6. ใช้เชื้อราปฏิปักษ์เข้าไปเจริญกีดกันและกำจัดเชื้อราโรคพืช เช่น
เชื้อไตรโคเดอร์ม่า, คีโตรเมี่ยม และบาซิลลัสพืช
            
การแพร่ระบาด
โรคนี้ระบาดมากในฤดูฝน หรือสภาพที่มีความชื้นสูง แพร่ระบาดโดยสปอร์เชื้อ สาเหตุติดไปกับลมพายุ ฝน น้ำ กิ่งพันธุ์ หรือน้ำที่ไหลไปตามร่องสวน



www.thaigreenagro.com/aticle.aspx?id=561 -



การควบคุมไวรัส

ไวรัสเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้พืชสูญเสียอย่างมากในการเกษตรทั่วโลก เช่น ข้าว มะเขือเทศ อ้อย ฝ้าย เป็นต้น พันธุศาสตร์สามารถใช้ควบคุมไวรัสได้ดีที่สุด ไวรัสที่พบในพืชมีทั้ง อาร์เอ็นเอ และดีเอ็นเอ ไวรัส การควบคุมไวรัสพืชสามารถทำได้ 2 หลักการดังนี้ :

  1.  ไวรัสเคลือบโปรตีน (viral coat protein) เรียกย่อเป็น ซีพี (CP)

  2.  อาร์เอ็นเอ-ดีเพนเดนท์ อาร์เอ็นเอ โพลีเมอเรส (RNA-depende RNA polymerase)

ในหลักการของซีพีเริ่มใช้กับยาสูบซึ่งมีไวรัส โทแบคโค โมซาอิค ไวรัส (Tobacco Mosaic Virus : TMV) และได้ขยายไปใช้กับมันฝรั่ง เรียกว่า โพเทโท้ ไวรัส เอกซ์ และ วาย (Potato Virus X and Y : PVX และ PVY), แตงกวา เรียกว่า คิวคัมเบอร์โมซาอิค ไวรัส (Cucumber Mosaic Virus : CMV), มะละกอ เรียกว่า พาพาย่า ริงสปอต์ ไวรัส (Papaya Ring Spot Virus : PRSV), แตงฝรั่ง เรียกว่า ซัคชินี่ เยลโลว์ โมซาอิค ไวรัส (Zuccchini Yellow Mosaic Virus : ZYMV), แตงโม เรียกว่า วอเตอร์เมล่อน โมซาอิคไวรัสสอง (Watermelon Mosaic Virus : WMV II) ดู รายละเอียดใน Fitchen และ Beachy, (1993)

ส่วนหลักการที่สอง ใช้ในมันฝรั่งที่เกิดจากไวรัสที่ส่วนของใบเรียกว่า โพเทโท้ ลีฟโรล ไวรัส (Potato Leaf Roll Virus : PLRV) (Kaniewski และคณะ 1994) นอกจากนี้มีผู้ทดลองอื่น ๆ เช่น Baulcombe, 1994, Wilson 1993 และ Braun และ Hemenway, 1992)

การผลิตพืชที่ต้านทานต่อโรคต่าง ๆ นับวันจะมีความสำคัญมากขึ้น นักวิจัยด้านเทคโนโลยีชีวภาพพืชทั้งของไทยและประเทศอื่น ๆ ต้องให้ความสนใจ และมีผลงานออกมาเสนอต่อเพื่อนมนุษย์ในอนาคตอย่างแน่นอน

คุณภาพที่ดีขึ้น

นอกจากการควบคุมวัชพืช แมลง และไวรัสได้แล้วนักเทคโนโลยีชีวภาพพืช ยังได้ทำการปรับปรุงให้พืชมีคุณค่าทางอาหารดีขึ้น สามารถเก็บได้นานขึ้น และให้พืชสามารถผลิตสารทางชีวภาพอื่น ๆ ที่สำคัญได้อีกด้วย เช่น การผลิตมะเขือเทศที่มีอายุการเก็บได้นานขึ้น โดยทำให้น้ำย่อยหรือเอนไซม์ที่เรียกว่าโพลีกาแลคตูโรเนส (polygalacturonase) หยุดการทำงาน โดยเทคนิคที่เรียกว่า แอนตี้เซนส์ (antisense) จากความสำเร็จดังกล่าวทำให้เราทราบว่า ถ้าหากต้องการให้พืชเก็บได้ในสภาพสดนานขึ้นแล้วล่ะก็ สามารถกระทำได้โดยการชะลอฮอร์โมนที่เรียกว่าเอทธิลีนให้มีน้อยลงหรือ ไม่มีเลย เพราะฮอร์โมนชนิดนี้เป็นตัวการทำให้พืชเกิดการสุกและนิ่มเร็ว (Kende, 1994) ดังนั้นประเทศไทยสมควรนำเทคนิคดังกล่าวมาใช้กับผลไม้และผักที่มีอายุการเก็บได้สั้น ๆ จะได้มีอายุการเก็บได้นานขึ้น เช่น กล้วย มะม่วง เห็ด พริก ฯลฯ นอกจากนี้พืชบางชนิดสามารถนำมาผลิตสารประกอบที่มีคุณประโยชน์ จนมีการเรียกชื่อว่า พืชเป็นแหล่งผลิตแทนถังหมัก หรือที่เรียกว่า Plants as reactor (Goddijn และ Pen, 1995) พืชน้ำมันชนิดหนึ่งที่มีมากในแคนาดารู้จักในชื่อของคาโนลา (canola) ได้มีการใช้เทคนิคพันธุวิศวกรรม และทำให้คาโนลาสามารถผลิตประเภทของกรดไขมันตามที่เราต้องการได้ เช่น คาโนลาที่มีกรดไขมัน ลอเรท (laurate) สเตียเรท (stearate) และโอลีเอท (oleate) สูง (Topfer และคณะ, 1995) นอกจากกรดไขมันในคาโนลาแล้ว นักเทคโนโลยีชีวภาพพืชยังได้ถ่ายทอดยีนส์โพลีเมอร์ของโพลีไฮดรอกซีบิวทีเรท (poly hydroxybutyrate : PHB) จากแบคทีเรียสู่พืชเพื่อผลิตพลาสติกที่ย่อยสลายได้ (Poirier และคณะ, 1995) เมื่อเร็ว ๆ นี้ Rossnagel และ Chibbar, 1997 ได้ประสบความสำเร็จในแปลงทดลองการปลูกข้าวบาร์เลย์ที่ผ่านการทำพันธุวิศวกรรมในแคนาดาโดยถ่ายทอดยีนส์สัญญลักษณ์ (marker) และรายงาน (reporter) จากการรวบรวมข้อมูลการยอมรับแปลงทดลองของพืชที่ผ่านเทคโนโลยีชีวภาพเมื่อปี 1988 และ 1997 มีพืชที่รับรอง 14 และ 814 รายการตามลำดับ เฉพาะในแคนาดามีการใช้คาโนลา (พืชน้ำมัน) ที่ผ่านเทคโนโลยีชีวภาพในปี 1996-1997 จำนวนพื้นที่ที่ปลูก 350,000 และ 4,000,000 เอเคอร์ (ตามลำดับ) และในปี 1998 คาดว่าจะเพิ่มเป็น 6,500,000 เอเคอร์

ในสหรัฐอเมริกามีผลิตผลการเกษตรที่ผ่านการทำพันธุวิศวกรรมออกสู่การค้าแล้วตั้งแต่ปี ค.ศ. 1994-1997 ได้แก่ มะเขือเทศ (ด้านคุณภาพเก็บได้นานขึ้น), คาโนลา ถั่วเหลือง (พืชน้ำมัน), ฝ้าย ถั่วเหลือง ข้าวโพด (ทนต่อ ยาปราบวัชพืช), น้ำเต้า (squash) ทนต่อไวรัส, มันฝรั่ง ข้าวโพด และฝ้าย (ทนต่อแมลง) ดูรายละเอียดใน Wilkinson, 1997

สรุป

จะเห็นได้ว่าเทคโนโลยีชีวภาพพืชมีความเหมาะสมต่อการผลิตอาหารที่มีคุณค่าทางอาหารสูง ต้านทานต่อโรคพืชต่าง ๆ และที่สำคัญยิ่งเป็นแหล่งผลิตสารประกอบที่มีคุณค่าแบบธรรมชาติได้อีกด้วย จึงเหมาะแก่การนำมาปรับปรุงใช้ตามความเหมาะสมของแต่ละท้องถิ่น ประเทศ รวมทั้งประเทศที่กำลังพัฒนา และประเทศที่พัฒนาแล้ว ผลิตภัณฑ์การเกษตรที่ผ่านการทำพันธุวิศวกรรมโดยเฉพาะพืชได้ผ่านจากโค้งปฏิบัติการสู่ระดับการค้าที่เรารู้จักในนามของเทคโนโลยีชีวภาพพืช (Wilkinson, 1997)


library.uru.ac.th/webdb/images/charpa_bioplant3.html -




โรคพืช (Pathology)

เนื้อหาเกี่ยวกับโรคพืชที่นำมาเสนอนี้ เป็นเพียงบทความเกี่ยวกับโรคพืชอย่างกว้างๆ สำหรับพืชทั่วไป ไม่ได้เจาะจงสำหรับพืชชนิดใดชนิดหนึ่ง ทั้งนี้ เพื่อปูทางในการเรียนรู้และทำความเข้าใจกับโรคที่เกิดกับพืชก่อน หลังจากนั้น เราจึงค่อยพยายามทำความเข้าใจเพิ่มเติม เกี่ยวกับโรคพืชที่เกิดขึ้นกับเฟินโดยเฉพาะโอกาสต่อไป (ขออภัยที่ยังไม่มีภาพประกอบ ซึ่งจะนำมาปรับปรุงเพิ่มเติมในโอกาสต่อไป)

โรคพืช เกิดจาก 2 สาเหตุหลัก คือ เกิดจากศัตรูของพืช กับอีกสาเหตุ ปัจจัยสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม

ก. ลักษณะอาการของโรคพืช

1 อาการของโรคพืชบนใบ
2. อาการของโรคที่พบทั้งต้น
3. อาการของโรคที่พบที่ราก
4. อาการของโรคที่ต้นกล้าพืช

ข. โรคพืชที่เกิดจากปัจจัยสภาแวดล้อม

1. การขาดแร่ธาตุอาหารในพืช
2. การมีธาตุอาหารมากเกินไป
3. สภาพของภูมิอากาศไม่เหมาะสม
4. การปฏิบัติทางการเกษตรที่ไม่เหมาะสม

ค. โรคพืชที่เกิดจากศัตรูของพืช
อันเกิดจากสิ่งมีชีวิต จำพวก เชื้อจุลินทรีย์ จำพวกเชื้อรา เชื้อบัคเตรี เชื้อไวรัส ไส้เดือนฝอย

ง. โรคพืชที่เกิดจาก แมลงศัตรูพืช

ก. ลักษณะอาการของโรคพืช

1. อาการของโรคบนใบ
โรคที่เกิดบนใบ แสดงอาการแตกต่างกันไปหลายแบบ อาการเหล่านี้จะเกิดจาก หลายสาเหตุ
ทั้งขาดธาตุอาหาร หรือเกิดจากเชื้อไวรัส บัคเตรีและเชื้อราเข้าทำงาย ตัวอย่าง เช่น

1.1 อาการใบจุด แผลแห้งเป็นจุดกระจายบนใบ แผลมีขนาดใกล้เคียงกัน โดยอาจจะเกิดแผลกลมหรือ แผลเหลี่ยม ถ้าเป็นรุนแรงอาจมีจำนวนแผลมาก และลามติดต่อกันและทำให้ใบแห้ง สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อรา เชื้อบัคเตรี

1.2 อาการใบไหม้ แผลแห้งมีขนาดใหญ่ อาจจะแห้งในบริเวณเนื้อในหรือจากขอบใบก็ได้ เมื่อเปรียบเทียบ กับโรคใบจุดแล้ว แผลที่เกิดจากอาการใบไหม้จะมีแผลขนาดที่ใหญ่กว่าและเป็นบริเวณกว้างกว่า สาเหตุส่วนใหญ ่เกิดจากเชื้อรา เชื้อบัคเตรีและอาจเกิดจากการให้ปุ๋ยหรือฉีดสารเคมี เช่น ยาปราบวัชพืช ยากันรามากเกินไปใน เวลาที่มีอากาศร้อนจัด

1.3 อาการใบเปลี่ยนสี มีหลายแบบ เช่น
(1) ใบด่าง เช่น ด่างเขียวเข้มสลับเขียวอ่อน ด่างเขียวสลับเหลือง ด่างโดยเกิดวงเหลืองหรือวงสีเขียวบนใบ อาการใบด่างอาจเกิดจากเชื้อ ไวรัส การขาดธาตุอาหาร แมลงดูดกิน หรือเกิดจากลักษณะการกลายพันธุ์ของพืช แต่โดยทั่วไป มักเกิดจากเชื้อไวรัส
(2) ใบขาวหรือเหลือง เนื้อใบสีเขียวจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองซีด หรือเขียวอ่อนถึงสีขาว โดยมักจะเปลี่ยนสีทั้งใบ สาเหตุเกิดจากเชื้อไมโคพลาสมา และขาดธาตุอาหารบางประเภท
1.4 อาการใบหงิกและใบหด เนื้อใบไม่แผ่เรียบ มักจะหงิกงอเป็นคลื่น ขอบใบมักจะม้วนขึ้นหรือม้วนลง พืชมีการเจริญไม่ปกติ มักแคระแกร็น มีขนาดเล็กลงเห็นได้ชัดเมื่อเทียบกับต้นปกติ สาเหตุมักเกิดจากเชื้อไวรัสหรือแมลง ดูดกิน ถ้าเป็นการดูดกินของแมลงมักสังเกตเห็นตัวแมลงและรอยแผลเล็กๆบนพืชนั้น

1.5 อาการแคงเคอร์ บางทีเรียกว่าแผลสะเก็ด โดยเกิดเป็นแผลตุ่มนูนสีน้ำตาล ทั้งด้านบนและด้านล่าง ของใบ พบได้ทั้งบนผลและกิ่ง สาเหตุุส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อบัคเตรี

1.6 อาการสแคป หรือแผลสะเก็ดคล้ายแคงเคอร์มาก แต่มักเกิดเฉพาะบนใบเท่านั้น ส่วนอาหารบนผลและ กิ่งเหมือนโรคแคงเคอร์ สาเหตุเกิดจากเชื้อราและบัคเตรี

1.7 อาการสนิมเหล็ก เกิดแผลเป็นตุ่มขุยสีสนิม พบได้ทั้งด้านบนใบ ด้านล่างของใบ รวมทั้งบริเวณ ก้านและลำต้น พบเป็นมากกับพืชตระกูลหญ้า เมื่อเกิดอาการรุนแรงจะเห็นผงสนิมมาก และเมื่อเอานิ้วลูบ จะมี ละอองสีเหลืองส้มติดนิ้วให้เห็น สาเหตุเกิดจากเชื้อรา

1.8 อาการราแป้งขาว จะเห็นเชื้อราซึ่งมีลักษณะเป็นผงสีขาวขึ้นปกคลุมบนใบคล้ายแป้งฝุ่น หรือผงชอล์ก ปกคลุมทั่วไป อาการเริ่มแรกมักเกิดเป็นหย่อมๆแล้วขยายจนเต็มใบ ถ้าเป็นรุนแรงจะทำให้ใบแห้งตาย อาการส่วน ใหญ่มักเกิดกับใบอ่อน ยอดอ่อน และทำให้ส่วนต่างๆเหล่านี้ได้รับความเสียหายมากกว่าส่วนที่เจริญเติบโตเต็มที่แล้ว สาเหตุเกิดจากเชื้อรา

1.9 อาการราน้ำค้าง บนใบ เกิดบริเวณเหลืองๆ เมื่อพลิกดูใต้ใบจะเห็นลักษณะแผลเด่นชัดกว่าด้านบน บางครั้งพบอาการเซลล์ตายบนรอยแผลใต้ใบ และถ้าอากาศเย็นชื้นจะเห็นผงขาวๆซึ่งเป็นส่วนของเชื้อราสาเหคุได้ชัดเจน อาการของโรคนี้จะต่างกันไปในแต่ละพืช เช่น แตง คะน้า ข้าวโพด ถ้าเป็นกับข้าวโพดจะแสดงอาการด่างเป็นปื้นเหลืองสลับเขียว และมักผิดปกติ

1.10 อาการราดำ ใบจะมีผงคล้ายเขม่าดำปกคลุมผิวใบหรือตามส่วนต่างๆของพืช เมื่อใช้มือลูบผงดำนี้ จะหลุดออก อาการราดำนี้จะพบพร้อมๆกับแมลงจำพวกเพลี้ย เพราะเชื้อราชนิดนี้ชอบน้ำหวานจากเพลี้ยที่ขับออกมา

1.11 อาการแอนแทรคโนส เกิดแผลแห้งตายสีน้ำตาล มีลักษณะเป็นวงๆคล้ายวงแหวน เรียงซ้อนกัน เป็นชั้นๆ อาจเกิดบริเวณเนื้อใบ หรือจากปลายใบเข้ามา ถ้าเป็นรุนแรง ใบจะแห้งตายในที่สุด เกิดกับส่วนใบ กิ่งและผล สาเหตุเกิดจากเชื้อรา

2. อาการของโรคที่พบทั้งต้น เช่น

2.1 อาการเหี่ยว เริ่มแรกมักเห็นใบเหี่ยวลู่ลงก่อน แล้วค่อยๆเหี่ยวทั้งต้นและตายในที่สุด เมื่อพบอาการเหี่ยว ควรพิจารณาถึงสาเหตุเนื่องจากพืชขาดน้ำ แต่ถ้าพืชแสดงอาการเหี่ยวในบริเวณที่มีน้ำสมบูรณ์ แสดงว่าการทำงาน ของระบบรากไม่ปกติ อาจเกิดรากเสีย เช่น รากปม รากเป็นแผล รากขาดเนื่องจากการทำลายของไส้เดือนฝอยหรือ การเขตกรรม รากเน่าจากการทำลายของเชื้อรา บัคเตรีหรือมีน้ำขัง บางครั้งพบว่าระบบท่อน้ำภายในพืชถูกอุดตัน เนื่องจากสาเหตุบางประการ

2.2 อาการแตกพุ่ม บริเวณจุดเจริญ เช่น ตาดอก ตาใบมีการเจริญแตกเป็นกิ่งก้านและใบมากกว่าปกติ แต่ใบและก้านที่แตกนี้ไม่สมบูรณ์ มีขนาดเล็ก เป็นพุ่มกระจุกคล้ายไม้กวาด ในพืชบางชนิดกลีบดอกจะมีลักษณะ คล้ายใบและเกิดเป็นพุ่มสีเขียวแทนดอก ตัวอย่างที่พบ ได้แก่ การแตกพุ่มไม้กวาดของลำไย การแตกพุ่มไม้กวาดของ ถั่วฝักยาว การแตกพุ่มของตะบองเพชร การเกิดพุ่มสีเขียวของพิทูเนีย และพังพวย สาเหคุเกิดจากเชื้อไมโคพลาสมา

2.3 อาการเน่าเละ เนื้อเยื่อพืชจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลอ่อนถึงดำ เกิดอาการเน่าเละมีน้ำเมือก มักมีกลิ่นเหม็น รุนแรง เกิดได้กับส่วนต่างๆของพืชทั้งผล ราก หัว และใบ มักเกิดกับพวกผัก เช่น กะหล่ำปลี ผักกาดเขียว ผักกาดหัว และผลผลิตทางการเกษตรในโรงเก็บ สาเหตุเกิดจากเชื้อบัคเตรี

2.4 อาการแคระแกร็น พืชเจริญเติบโตไม่เต็มที่ มีการชะงักการเจริญเติบโตต้น กิ่ง ก้าน ใบและผล มีขนาดเล็ก บางครั้งพบลำต้น ข้อปล้อง กิ่งก้าน สั้นและแข็งกระด้าง มักมีอาการใบเปลี่ยนสีและหงิกงอรวมอยู่ด้วย สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัส

3. อาการของโรคที่พบที่ราก เช่น

3.1 อาการรากปม รากจะมีอาการพองออกเป็นปม โดยจะพองออกจากภายใน มิใช่พองด้านในด้านหนึ่ง สาเหตุเกิดจากไส้เดือนฝอย

3.2 อาการรากแผล รากเกิดแผลเล็กๆซึ่งอาจเกิดจากการทำลายของไส้เดือนฝอยหรือแมลงบางชนิด

3.3 อาการรากเน่า สังเกตได้โดยต้นพืชมักจะเหี่ยวเมื่อตรวจดูราก จะพบว่ารากเน่าดำหรือเป็นสีน้ำตาล เปลือกจะล่อนหลุดติดมือออกมา สาเหตุมักเกิดจากเชื้อรา หรืออาจเกิดจากมีน้ำขังทำให้รากเน่าเปื่อย เป็นต้น
4. อาการของโรคที่ต้นกล้าพืช ได้แก่

อาการต้นกล้าเน่า อาการทั่วไปในแปลง จะพบว่าต้นกล้าฟุบตายเป็นหย่อมๆ เมื่อนำกล้ามาพิจารณาดูที่ต้น จะเห็นว่า บริเวณโคนต้นจะมีลักษณะแผลช้ำ เหี่ยวแฟบ คอรวงเป็นสีน้ำตาลดำและเน่า เป็นเหตุทำให้ต้นกล้าหักพับลง พบกับกล้าพืชแทบทุกชนิดในแปลงที่มีกล้าแน่นเกินไปและมีความชื้นสูง สาเหตุเนื่องจากเชื้อรา

ที่มา : สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เล่ม 7. พิมพ์ครั้งที่ 10.กรุงเทพฯ : รุ่งศิลป์การพิมพ์, 2542.

ข. โรคพืชที่เกิดจากปัจจัยสภาพแวดล้อม

สาเหตุของโรคพืชเนื่องจากปัจจัยสภาพแวดล้อม ได้แก่ การขาดแร่ธาตุอาหาร การได้รับพิษจากสารเคมีมากเกินไป ความเสียหายเนื่องจากพืชได้รับอุณหภูมิสูงหรือต่ำเกินไป ความแห้งแล้ง ไฟป่า เป็นต้น อาการผิดปกติเนื่องจากสาเหตุเหล่านี้ บางครั้งพืชแสดงอาการคล้ายกันกับโรคติดเชื้อ เช่น อาการขาดแร่ธาตุบางชนิด แสดงอาการซีดเหลืองคล้ายกับที่เกิดจากเชื้อไวรัส และมายโคพลาสมา และอาการเป็นพิษจากสารเคมีที่ทำให้เกิดแผลคล้ายที่เกิดจากเชื้อรา เป็นต้น ทำให้เกิดการสับสนได้ จึงมีความจำเป็นต้องทำการตรวจวินัจฉัยอย่างละเอียดก่อนสรุปว่าเกิดจากสาเหตุใดแน่

1. การขาดแร่ธาตุอาหารในพืช
เป็นสาเหตุที่สำคัญที่สุดของโรคพืชที่เกิดจากสิ่งไม่มีชีวิต พืชจะแสดงอาการขาดธาตุอาหารเมื่อสภาพดินที่ปลูกขาดแร่ธาตุชนิดนั้น ๆ หรืออยู่ในสภาพที่พืชไม่สามารถนำไปใช้ได้เนื่องจากสภาพความเป็นกรดเป็นด่างไม่เหมาะสม ลักษณะอาการพืชที่ขาดธาตุบางชนิดอาจสรุปได้ดังนี้
ขาดธาตุไนโตรเจน พืชเจริญเติบโตช้า ใบมีสีซีดเหลืองทั่วทั้งต้น เริ่มจากใบล่างก่อน
ขาดธาตุฟอสฟอรัส พืชเจริญเติบโตช้า ใบมีสีเขียวเข้มหรือม่วงบริเวณใบล่าง ๆ ลำต้นมียอดสั้น
ขาดธาตุโพแทสเซียม ต้นพืชมียอดน้อย ใบล่างซีดเหลือง ขอบใบม้วนขึ้น ปลายใบและขอบใบแห้งมีสีน้ำตาล ผลมีขนาดเล็กลง
ขาดธาตุแมกนีเซียม ใบแก่ แสดงอาการซีดเหลืองหรือแดงบริเวณขอบใบและปลายใบก่อน ใบมีสีซีดเหลืองเป็นรูปตัววีหัวกลับ ขอบใบม้วนขึ้น
ขาดธาตุแคลเซียม ใบอ่อนบิดงอ ชะงักการเจริญเติบโต แสดงอาหารบิดม้วนขอบใบฉีก ตายอดแห้งตาย ลำต้นมีรากน้อย ทำให้ผลแตกในไม้ผลหลายชนิด
ขาดธาตุโบรอน  ทำให้ก้านใบอ่อนแตกและหัก ใบบิดงอ ราก ลำต้น และผลแสดงอาการแผลแตก ลำต้นเป็นรูกลวง และเมล็ดลีบในผักหลายชนิด
ขาดธาตุกำมะถัน ใบอ่อนมีสีซีดเหลืองทั่วทั้งใบ
ขาดธาตุเหล็ก ใบอ่อนมีสีซีดเหลืองแต่เส้นใบยังคงมีสีเขียว
ขาดธาตุสังกะสี ใบด่างเหลืองระหว่างเส้นใบ ใบมีขนาดเล็กเกิดเป็นกระจุก
การวินิจฉัยการขาดธาตุในพืชอาจทำได้โดยการวิเคราะห์จากเนื้อเยื่อพืช (tissue analysis) จากใบที่สร้างใหม่ ๆ แล้วเปรียบเทียบกับค่ามาตรฐานที่วิเคราะห์ได้จากพืชปกติ
การวิเคราะห์ดินและวัดระดับความเป็นกรดเป็นด่างในดิน จะช่วยในการเตรียมป้องกันการขาดธาตุอาหารในพืชได้

2. การมีธาตุอาหารมากเกินไป
ธาตุอาหารที่พืชมีความต้องการในปริมาณเพียงเล็กน้อยเท่านั้น อาจเกิดการสะสมทำให้เกิดความเข้มข้นในเนื้อเยื่อพืชสูงขึ้นจนถึงขั้นที่เป็นพิษกับพืช เช่น 
การมีธาตุโบรอน (B) มากเกินไป ทำให้พืชเกิดอาการใบเหลืองขึ้นเป็นแห่ง ๆ เนื่องจากขาด chiorophyll เริ่มจากปลายใบแล้วจึงลุกลามไปตามของใบเกิดการไหม้และใบร่วงหล่นได้ เป็นต้น

3. สภาพของภูมิอากาศไม่เหมาะสม

3.1 ปริมาณน้ำไม่เหมาะสม 
พืชที่ประสบกับความแห้งแล้งของอากาศจะมีอาการใบเหลือง ใบมีสีม่วง ใบเหี่ยวย่น และตายอย่างรวดเร็วและใบไหม้ระหว่างเส้นใบ และตามขอบใบ หรือถ้าเกิดการแห้งแล้งอย่างรุนแรงใบจะเหี่ยวแห้งตาย ใบและผลของไม้ยืนต้นจะหลุดร่วงก่อนกำหนด การตายของใบและผลอาจเนื่องจากการขาดน้ำภายในเซลล์ทำให้ความเข้มข้นของธาตุเพิ่มขึ้นจนเป็นพิษ ในไม้ยืนต้น ผลของความแห้งแล้งมักจะปรากฎในฤดูถัดไป โดยเกิดการตายแบบตายจากปลายยอด (dieback) ของกิ่งก้าน
กรณีความชื้นในดินที่มากเกิน ทำให้โรคบางชนิดเกิดได้ง่าย เช่น รากเน่า ในดินที่มีการระบายน้ำไม่ดีจะมี ไนไตรท์ (nitrite) สูงและเป็นพิษกับพืช พืชจะเจริญเติบโตช้า ใบเหลือง ในไม้ยืนต้นใบจะร่วงและเกิดอาการ dieback ของยอด

3.2  อุณหภูมิที่สูงหรือต่ำเกินไป
อุณหภูมิที่ต่ำทำให้เกิดผลเสียแก่พืชคือ อุณหภูมิที่ใกล้เคียงกับอุณหภูมิต่ำสุดที่พืชจะเจริญได้ ทำให้อัตราการเผาผลาญพลังงาน (metabolism) ช้าลง มีผลทำให้พืชโตช้า ถ้าเกิดติดต่อกันยาวนาน พืชจะตายก่อนกำหนด หรืออุณหภูมิที่ต่ำกว่า 0  องศาเซลเซียสอาจจะฆ่าต้นพืช เพราะน้ำที่อยู่ระหว่างเซลล์และภายในเซลล์กลายเป็นน้ำแข็งใบของต้นพืชที่ถูกกับอุณหภูมิที่ร้อนจัดมากเกินไปจะสูญเสียน้ำและเนื้อเยื่อจะตาย โดยเริ่มที่ปลายใบก่อนเป็นที่ขอบใบ ต้นพืชจะเหี่ยวอย่างรวดเร็ว อาการที่พบคือ เกิดแผลพอง (scald) ที่ผล และอาการแผลแตก (heat canker) ที่ลำต้น  

3.3 แสง ได้รับแสงไม่เหมาะสมกับประเภทของพืช

4. การปฏิบัติทางการเกษตรที่ไม่เหมาะสม
การปฏิบัติทางการเกษตรที่ไม่เหมาะสมและถูกต้องอาจเป็นสาเหตุที่ทำความเสียหายแก่พืช เช่น การใช้สารเคมีเพื่อการเกษตรต่าง ๆ ได้แก่ ปุ๋ย สารกำจัดศัตรูพืชชนิดต่าง ๆ (สารกำจัดเชื้อสาเหตุโรค สารกำจัดแมลง และสารกำจัดวัชพืช) โดยอาจใช้ในอัตราที่เข้มข้นสูงเกินไป เลือกสารไม่เหมาะสมกับพืช ซึ่งจะทำให้พืชแสดงอาการใบไหม้หรือใบจุดได้

ค. โรคพืช อันเกิดจากศัตรูของพืช
จำพวกจุลินทรีย์และไส้เดือนฝอย
เช่น เชื้อรา (fungi), แบคทีเรีย (bacteria), ไส้เดือนฝอย (nematode), ไฟโตพลาสมา (phytoplasma), ไวรัส (virus), ไวรอยด์ (virord) เป็นต้น

1. เชื้อราสาเหตุโรคพืช
ลักษณะของเชื้อราทั่วไปจะเป็นเส้นใยคล้ายเส้นด้ายละเอียด มีขนาดเล็กมาก มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น จะเห็นได้เมื่อมีการเจริญเป็นกลุ่มก้อนหรือเป็นกลุ่มโคโลนีของเส้นใย สปอร์ก็จะเจริญและงอกเข้าไปในพืชโดยการแทงผ่านผิวพืชเข้าไปในพืชได้โดยตรง หรืองอกแล้วแทงผ่านเข้าไปตามแผลที่เกิดขึ้นตามส่วนต่าง ๆ ของพืช หรือเข้าตามช่องเปิดธรรมชาติ เช่น ปากใบ เมื่อเข้าไปแล้วเชื้อราพวกนี้ก็จะมีการสร้างสารพิษ เอนไซม์ หรือสารกระตุ้นต่าง ๆ ทำลายพืชให้ได้รับความเสียหาย เกิดการเปลี่ยนแปลงผิดปกติไป มีเชื้อรามากกว่า 8,000 ชนิดที่เป็นสาเหตุโรคพืช ไม่น้อยกว่า 100,000 โรค
เชื้อราสาเหตุโรคพืชสามารถจัดกลุ่มตามลักษณะอาการต่าง ๆ ของโรคได้ เช่น โรคเน่าคอดิน (damping off), ราสนิม (rust), ราแป้ง (powdery mildew), จุดนูนดำ (tar spot), ใบไหม้ (leaf blight), ยอดตาย (dieback), แผลแตกตามลำต้น (canker) ฯลฯ เป็นต้น

2. เชื้อแบคทีเรียสาเหตุโรคพืช
แบคทีเรียเป็นจุลินทรีย์เซลล์เดียว มีผนังแข็งห่อหุ้มเซลล์ (cell wall) รูปร่างจึงคงที่ ขนาดเล็กมาก มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น
แบคทีเรียสาเหตุโรคพืชมีประมาณ 200 ชนิด ส่วนใหญ่มีรูปร่างเป็นทอนสั้นและไม่สร้างสปอร์ แต่จะมีชั้นเมือกหรือแคบซูลห่อหุ้มผนังด้านนอกเซลล์อีกชั้นหนึ่ง จึงช่วยให้มีอายุนานและทนต่อสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมได้ดีขึ้น แบคทีเรียบางชนิดสามารถผลิตสารพิษและเอนไซม์ทำลายพืชให้ได้รับความเสียหายได้ บางชนิดสร้างสารเร่งการเจริญเติบโตไปทำให้เซลล์พืชเจริญมากผิดปกติ เกิดอาการบวมพอง เป็นปุ่มปม
แบคทีเรียเข้าทำลายพืชได้ทางแผลที่เกิดขึ้นตามผิวพืชและทางช่องเปิดธรรมชาติ เช่น ปากใบ
การแพร่กระจายของแบคทีเรียไปสู่ที่ต่าง ๆ จะเป็นไปในลักษณะเช่นเดียวกับการแพร่ระบาดของเชื้อรา
แบคทีเรียมักจะถูกยับยั้งการเจริญได้ง่ายโดยการปฏิชีวนะแทบทุกชนิด รวมทั้งสารประกอบที่มีธาตุทองแดงเป็นส่วนผสม

3. ไส้เดือนฝอยศัตรูพืช
ไส้เดือนฝอยเป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง มีขนาดเล็กมากยากที่จะมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า มีลักษณรูปร่างยาวเรียวเป็นส่วนใหญ่ บางชนิดตัวเมียเมื่อโตเต็มวัย มีลักษณะบวมพอง อ้วนกลม ไส้เดือนฝอยดูดแย่งอาหารจากพืชโดยใช้หลอดดูดอาหารในช่องปากที่มีลักษณะเป็นเข็มกลวงปลายแหลมเรียกว่า spear หรือ stylet บางชนิดเกาะติดอยู่ภายนอกส่งเฉพาะ stylet เข้าไปดูดอาหารในเซลล์พืช บางชนิดปักเฉพาะส่วนปากและหัวเข้าไป บางชนิดเข้าไปอยู่ในพืชทั้งตัว ทำให้พืชเป็นโรคโดยทำลายเซลล์พืชหรือไปเปลี่ยนแปลงขบวนการเจริญเติบโตของพืชให้ผิดปกติไป

4. เชื้อไฟโตพลาสมาสาเหตุโรคพืช
เริ่มมีรายงานว่าเป็นเชื้อสาเหตุโรคได้ เมื่อ พ.ศ. 2503 มีเซลล์เดียวและมีเฉพาะเนื้อเยื่อห่อหุ้มเซลล์ แต่ไม่มีผนังล้อมรอบ ทำให้รูปร่างของเซลล์ไม่แน่นอน จะพบอยู่ในเซลล์พืชเท่านั้น โดยเฉพาะที่ท่อลำเลียงอาหารทำให้พืชแสดงอาการเหลืองผิดปกติ เชื้อแพร่ระบาดได้ดี โดยมีแมลงพวกปากดูดเป็นพาหะพาไป โดยเฉพาะเพลี้ยจักจั่น ซึ่งเชื้อนี้จะเจริญและทวีจำนวนในตัวแมลงได้ ลักษณะเฉพาะของเชื้ออีกประการหนึ่งคือมีสารปฏิชีวนะเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่สามารถยับยั้งการเจริญหรือฆ่าเชื้อบนพืชได้คือสารเตตราไซคลีน (tetracycline) ปัจจุบันมีรายงานพบเชื้อไฟโดพลาสมามากกว่า 80 ชนิดเป็นสาเหตุโรคของพืชกว่า 300 ตระกูล

5. เชื้อไวรัสและไวรอยด์สาเหตุโรคพืช
ไวรัสและไวรอยด์เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีขนาดเล็กที่สุด อนุภาคของไวรัสมีเฉพาะกรดนิวคลีอิค (nucleic acid) ซึ่งส่วนใหญ่เป็นอาร์เอ็นเอ และโปรตีนเป็นส่วนประกอบเท่านั้น ไวรอยด์ไม่มีโปรตีนมีแต่อาร์เอ็นเอ (RNA) จะมองเห็นได้เมื่อใช้กล้องจุลทรรศน์ชนิดพิเศษ (Electron Microscopes) กำลังขยาย 2,000-3,000 เท่า มีรายงานว่าพบไวรัสไม่น้อยกว่า 500 ชนิด ที่สามารถเข้าทำลายและเป็นสาเหตุโรคพืชได้




หน้าถัดไป (2/2) หน้าถัดไป


Content ©