-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 483 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

จุลินทรีย์




หน้า: 2/2


..เทพบุตรเชื้อรา..ไตรโคเดอร์มา..



รายละเอีย


เชื้อราไตรโคเดอร์มา (Trichoderma harzianum) สายพันธุ์ CB-Pin-01 ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่ได้ถูกคัดเลือกแล้วว่าดีที่สุดสำหรับโรคพืชที่เกิดในประเทศไทย เป็นเชื้อราชั้นสูง จัดเป็นเชื้อราปฏิปักษ์ที่สามารถใช้ควบคุมโรคพืช ซึ่งเกิดจากเชื้อราสาเหตุโรคพืชในดินได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น โรคโคนเน่า โรคเน่าระดับดิน (เน่าคอดิน)ของกล้าพืช

นอกจากจะยับยั้งแล้วยังใช้ป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราเช่น

เชื้อราพิเทียม (โรคเน่าระดับดิน กล้ายุบ กล้าเน่า)
เชื้อราฟิวซาเรียม (โรคเหี่ยว)
เชื้อราสเคลอโรเทียม (โรคโคนเน่า เหี่ยว)
เชื้อราไรซอคโทเนีย (โรคเน่าระดับดิน กล้ายุบ กล้าเน่า)
เชื้อราคอลเรโตตริคัม (โรคใบจุด ใบไหม้ ผลเน่า แอนแทรคโนส )
เชื้อราโฟมอพซิส (โรคใบจุด ลำต้นไหม้ )
เชื้อราอัลเทอร์นาเรีย (โรคใบจุด ใบไหม้)

ใช้ได้กับกล้วยไม้และเฟินทุกชนิด แม้จะใช้เชื้อปริมาณ เข้มข้นกว่าปกติ หรือใช้บ่อยครั้งกว่าที่แนะนำไว้

สารกำจัดเชื้อราที่ไม่ควรใช้ร่วมอย่างเด็ดขาดคือ ชื่อสามัญ : คาเบนดาซิมและโปรปิโครนาโซล ส่วนตัวอื่นๆสามารถใช้ร่วมกันได้ แต่ควรลดปริมาณการใช้ลงครึ่งหนึ่ง แต่ถ้าเลี่ยงได้ ไม่ใช้เลยจะเป็นการดีที่สุด



nanasarathai.brinkster.net/260609/tricoderma.htm






 


การผลิตและการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาเพื่อการจัดการโรคพืช

ผศ.ดร. จิระเดช  แจ่มสว่าง
ภาควิชาโรคพืช  คณะเกษตร กำแพงแสน  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์วิทยาเขตกำแพงแสน
นครปฐม 73140
  

ลักษณะและคุณสมบัติ
           
เชื้อราไตรโคเดอร์มา เป็นเชื้อราที่ดำรงชีวิตอยู่ในดิน อาศัยเศษซากพืช ซากสัตว์และแหล่งอินทรีย์วัตถุ
เป็นแหล่งอาหาร เป็นเชื้อราที่พบได้โดยทั่วไปในดินทุกหนทุกแห่ง เชื้อบริสุทธิ์ที่แยกได้จากดิน
ธรรมชาติ เจริญได้รวดเร็วบนอาหารเลี้ยงเชื้อราหลายชนิด สร้างเส้นใยสีขาวและผลิตส่วนขยายพันธุ์เป็น
เม็ดกลมๆ ขนาดเล็กมาก เรียกว่า “โคนิเดีย” หรือ “สปอร์” จำนวนมากมายรวมเป็นกลุ่มหนาแน่นจนเห็น
เป็นสีเขียว บางชนิดอาจมีสีขาวหรือสีเหลือง เชื้อราไตรโคเดอร์มาเป็นศัตรู (ปฏิปักษ์) ต่อเชื้อรา
สาเหตุโรคพืชหลายชนิดโดยวิธีการเบียดเบียน หรือเป็นปรสิต และแข่งขันหรือแย่งใช้อาหารที่เชื้อโรค
ต้องการ นอกจากนี้เชื้อราไตรโคเดอร์มายังสามารถผลิต ปฏิชีวนสาร และสารพิษ ตลอดจนน้ำย่อย
จำพวกเอนไซม์ สำหรับช่วยละลายผนังเส้นใยของเชื้อโรคพืช คุณสมบัติพิเศษของเชื้อราไตรโคเดอร์มา
คือ สามารถชักนำให้ต้นพืชมีความต้านทานต่อเชื้อโรคพืชทั้งเชื้อราและเชื้อแบคทีเรียสาเหตุโรคพืช
 

ประโยชน์ของเชื้อราไตรโคเดอร์มา
                       
ไตรโคเดอร์มาเป็นเชื้อราที่มีคุณสมบัติและศักยภาพสูงในการใช้ควบคุมเชื้อราสาเหตุโรคพืช ตรงตาม
หลักการ และแนวคิดของการควบคุมเชื้อสาเหตุโรคพืชโดยชีววิธี ทั้งนี้เพราะเชื้อราชนิดนี้สามารถเจริญ
อย่างรวดเร็ว สร้างสปอร์ปริมาณสูงมาก โดยอาศัยอาหารจากเศษอินทรีย์วัตถุ ช่วยให้สามารถแข่งขันกับ
เชื้อโรคพืช หรือจุลินทรีย์ที่มีอยู่รอบข้างได้ดี  

1.
ไตรโคเดอร์มาลดกิจกรรมของเชื้อราสาเหตุโรคพืช
             
เชื้อราสาเหตุโรคพืชหลายชนิดสามารถเจริญได้โดยอาศัยอาหาร ทั้งจากพืชอาศัย โดยตรงในขณะที่
กำลังเข้าทำลายพืชอยู่ หรืออาศัยวัสดุอินทรีย์จำพวกเศษซากพืชที่กำลังย่อยสลาย ตัวอย่าง เช่น เชื้อ
ราพิเทียม เชื้อราไฟทอฟธอรา เชื้อราไรซ็อคโทเนีย และ เชื้อราสเคลอโรเทียม
 เอกสารประกอบการฝึก
อบรม ของโครงการการผลิตเชื้อราปฏิปักษ์ไตรโคเดอร์มาเพื่อใช้ทดแทนสารเคมีในการควบคุมโรคของ
พืชในระบบ GAP และเกษตรอินทรีย์ ภายใต้แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดนครปฐม งบประมาณ
จังหวัดแบบบูรณาการปี 2548 ให้แก่ กลุ่มเกษตรกร และผู้สนใจ ระหว่าง เดือนกันยายน ถึงเดือน
ธันวาคม 2548  ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จ.นครปฐม
(ราเม็ดผักกาด)
เป็นต้น ส่วนเชื้อราไตรโคเดอร์มาเป็นเชื้อราที่ไม่ทำให้พืชเกิดโรคจึงไม่สามารถใช้อาหารจากพืชปกติได้
แต่จะอาศัยอาหารจากอินทรีย์วัตถุและเศษซากพืชในดินแต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น เชื้อราไตรโคเดอร์
มามีผลกระทบต่อกิจกรรมของเชื้อราสาเหตุโรคพืชได้ในช่วงระยะที่เชื้อโรคอาศัยอาหารจากอินทรีย์วัตถุ
เพื่อการเจริญและสร้างส่วนขยายพันธุ์ให้มีปริมาณมาก เชื้อราไตรโคเดอร์มาสามารถลดกิจกรรมของเชื้อ
ราสาเหตุโรคพืชดังกล่าว โดยการพันรัดเส้นใย แล้วปลดปล่อยเอนไซม์ออกมาหลายชนิด เช่น ไคติเนส
เซลลูเลส กลูคาเนส เพื่อสลายผนังเส้นใยของเชื้อโรคก่อนที่จะแทงส่วนของเส้นใยเข้าไปภายในเส้นใย
ของเชื้อโรค เชื้อราไตรโคเดอร์มาเจริญอย่างรวดเร็วโดยใช้อาหารจากภายในเส้นใยของเชื้อโรค
กิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเจริญของเส้นใยเชื้อโรคจะลดลงอย่างมาก ส่งผลให้กิจกรรมเกี่ยวกับ
การสืบพันธุ์ลดลงไปด้วย   
               

นอกจากนี้ในกรณีที่เชื้อโรคกำลังเข้าทำลายรากพืช หรือส่วนใดส่วนหนึ่งของพืช เช่น  บริเวณแผล
หรือรอยตัด  เชื้อราไตรโคเดอร์มาจะทำหน้าที่ขัดขวางกิจกรรมการเข้าทำลายของเชื้อโรคบริเวณดัง
กล่าวได้ โดยการแข่งขันการใช้อาหาร และรบกวนการพัฒนาของเชื้อโรคพืช   ทุกระยะเป็นเหตุให้
การงอกของสปอร์ การเจริญและพัฒนาของเส้นใยการขยายพันธุ์และสืบพันธุ์ของเชื้อโรคพืชลดลง  
ผลจากการรบกวนและขัดขวางกิจกรรมต่างๆ ของเชื้อโรค จะส่งผลให้ความรุนแรงของการเกิดโรคพืชลด
ลงได้ในที่สุด
 

2. 
ไตรโคเดอร์มาลดปริมาณเชื้อราสาเหตุโรคพืช
             
เชื้อราไตรโคเดอร์มาสามารถขัดขวางกิจกรรมต่างๆ ของเชื้อโรคพืชจะทำให้ความ รุนแรงของการเกิดโรค
ลดน้อยลง ส่งผลให้ปริมาณเชื้อราสาเหตุโรคพืชลดลงจนอยู่ในระดับที่ไม่สามารถก่อให้เกิดความเสีย
หายรุนแรงกับพืชที่ปลูกได้ เชื้อราไตรโคเดอร์มาสามารถเข้าทำลายส่วนที่เป็นโครงสร้างของเชื้อสาเหตุ
โรคพืชซึ่งถูกสร้างขึ้นเพื่อการสืบพันธุ์หรือเพื่อความอยู่รอดภายใต้สภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมได้ เช่น
กรณีของเชื้อราไตรโคเดอร์มาที่เข้าทำลายเม็ดสเคลอโรเทียมซึ่งเป็นส่วนขยายพันธุ์ของเชื้อราสเคลอโร
เทียม รอล์ฟสิไอ (ราเมล็ดผักกาด) ทำให้เม็ดสเคลอโรเทียมฝ่อตายไปก่อนที่จะมีโอกาสงอกเป็นเส้น
ใยเพื่อเข้าทำลายพืช แสดงให้เห็นว่าเชื้อราไตรโคเดอร์มามีบทบาทในการทำลายเชื้อโรคพืชขณะที่อยู่
ในระยะพักตัวได้ ส่งผลให้ปริมาณของเชื้อโรคพืชลดลงอย่างต่อเนื่อง
                

3.ไตรโคเดอร์มาเพิ่มการเจริญเติบโตของพืช
 
นอกจากเชื้อราไตรโคเดอร์มาจะช่วยป้องกันการเข้าทำลายของเชื้อโรคพืชหลายชนิดแล้ว ยังพบว่าโตร
โคเดอร์มาสามารถเพิ่มการเจริญเติบโต  การสร้างดอกและผลผลิตของพืชต่างๆ เช่น ไม้ดอกไม้ประดับ
ที่ปลูกในกระถาง พืชผักต่างๆ กล้าไม้ผลที่เพาะด้วยเมล็ด ตลอดจนกิ่งปักชำ และพืชหัว โดยเพิ่มขนาด
และความสูงของต้น น้ำหนักของต้นพืชทั้งต้น น้ำหนักของหัว ตั้งแต่ 10-60% เมื่อเปรียบเทียบกับ
กรณีที่ไม่ได้ใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา  มีผู้รายงานว่าเชื้อราไตรโคเดอร์มาสามารถสร้างสารเร่งการเจริญ
เติบโต (ฮอร์โมน) ต่างๆ ได้เอง ในขณะที่บางกรณีเชื่อว่าเชื้อราไตรโคเดอร์มาสร้างสารไปกระตุ้นให้
พืชสร้างสารเร่งการเจริญเติบโตมากกว่าปกติ และบางกรณีเชื้อราไตรโคเดอร์มาไปขัดขวางหรือทำลาย
จุลินทรีย์ต่างๆ ที่รบกวนระบบรากของพืช ทำให้ระบบรากพืชสมบูรณ์ และแข็งแรง สามารถดูดซับอาหาร
และแร่ธาตุต่างๆ  เชื้อราไตรโคเดอร์มาผลิตสารหลายชนิดที่มีผลในการเพิ่มน้ำหนักสดของต้นและราก
แตงกวา การเพาะเมล็ดที่ปลูกในดินซึ่งปลูกหรือโรยด้วยเชื้อราไตรโคเดอร์มา พบว่าเมล็ดจะงอกเร็วกว่า
ปกติ  2-3 วัน และต้นกล้าจะมีขนาดใหญ่โตกว่าปกติ นอกจากนี้พบว่าเปอร์เซ็นต์ความงอกและ
จำนวนต้นรอดตายเพิ่มมากขึ้นด้วย ในต่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา และนิวซีแลนด์ มีชีวภัณฑ์ไตรโค
เดอร์มาที่มีคุณสมบัติดังกล่าวข้างต้นวางจำหน่ายแล้ว  
 

4. ไตรโคเดอร์มาเพิ่มความต้านทานของพืช
             
ในปัจจุบันได้เริ่มมีการใช้ไตรโคเดอร์มาฝัง หรือฉีดเข้าสู่ลำต้นหรือระบบรากพืช เพื่อจุดประสงค์ในการ
ป้องกันโรค และรักษาพืชที่เป็นโรค โดยเฉพาะอย่างยิ่งในไม้ผลยืนต้น จากการสังเกตพบว่า พืชที่ได้รับ
เชื้อโดยวิธีนี้ จะมีความแข็งแรงและต้านทานต่อการเกิดโรคได้คล้ายกับการฉีดวัคซีนในมนุษย์หรือสัตว์
ขณะนี้มีรายงานผลการวิจัยว่าสามารถชักนำให้ต้นพืชต่างๆ มีความต้านทานต่อเชื้อราและเชื้อแบคทีเรีย
ที่เป็นสาเหตุของโรคพืชหลายโรคเช่น โรครากเน่า โรคโคนเน่า โรคใบไหม้ โรคใบจุด โรคราน้ำค้าง
และโรคราแป้ง เป็นต้น
 

เชื้อโรคพืชที่ไตรโคเดอร์มาควบคุมได้
                       
เชื้อราไตรโคเดอร์มาที่ผ่านการทดสอบประสิทธิภาพอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการแล้ว  พบว่า
สามารถควบคุมหรือยับยั้งการเจริญตลอดจนเข้าทำลายเส้นใยของเชื้อราที่เป็นสาเหตุโรคพืชหลายชนิด
ซึ่งประกอบด้วยเชื้อราไรซ็อคโทเนีย เชื้อราสเคลอโรเทียม เชื้อราพิเทียม  ที่เป็นสาเหตุของโรคเมล็ด
เน่า โรครากเน่า โรคเน่าระดับดิน (โรคกล้ายุบ) เชื้อราไฟทอฟธอรา ที่เป็นสาเหตุของโรครากเน่า โรค
โคนเน่า เชื้อราฟิวซาเรียม ที่มักก่อให้เกิดโรคเหี่ยวบนพืชสำคัญทางเศรษฐกิจหลายชนิดทั้งพืชไร่ ไม้
ผล พืชผัก และไม้ดอกไม้ประดับ และเชื้อรามาโครโฟมินา  ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคเมล็ดเน่า และโคน
เน่าของพืชตระกูลถั่ว นอกจากนี้มีรายงานการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาควบคุมเชื้อราโบไทรทิส สาเหตุ
ของโรคผลเน่าของสตรอเบอรี่และพืชผักในประเทศอิตาลี ฝรั่งเศส อิสราเอล และสหรัฐอเมริกา  
   


ไตรโคเดอร์มาชนิดสด :
การผลิตและการใช้ประโยชน์
  
เชื้อราไตรโคเดอร์มาชนิดสด ในบทความนี้จะขอเรียกย่อๆว่า “เชื้อสด” หมายถึงเชื้อรา  ไตรโคเดอร์มา
ที่กำลังเจริญและสร้างสปอร์ปกคลุมอยู่บนผิวของอาหารเลี้ยงเชื้อ เช่น พีดีเอ (อาหารวุ้นที่มีน้ำสกัดมัน
ฝรั่งและน้ำตาลเดกซ์โตรสเป็นองค์ประกอบ) หรือบนอาหารธรรมชาติ เช่น เมล็ดข้าวฟ่าง ข้าวโพด
ข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์ และข้าวเปลือก ซึ่งผ่านการนึ่งฆ่าเชื้อจุลินทรีย์แล้ว โดยปล่อยให้เชื้อราไตรโค
เดอร์มาเจริญสร้างเส้นใยและสปอร์ปกคลุมผิวเมล็ดพืชอย่างทั่วถึง เป็นเวลา 5-7 วันก่อนนำไปใช้ 
เชื้อสดที่ดีควรสร้างสปอร์สีเขียวเข้มปกคลุมเมล็ดพืช หรือวัสดุอาหารอย่างทั่วถึง ไม่มีสปอร์เชื้อราชนิด
อื่น หรือเชื้อแบคทีเรียปนเปื้อน จนทำให้เกิดลักษณะเป็นเมือกหรือมีกลิ่นเหม็น
 

การผลิตและการใช้เชื้อสดมีปัญหา
                       
ปัญหาหลักที่หน่วยงานของรัฐมักประสบคือ ไม่สามารผลิตเชื้อสดให้เพียงพอกับความต้องการของ
เกษตรกรได้ ในขณะเดียวกันผู้ผลิตเองก็มักพบปัญหาเกี่ยวกับการปนเปื้อนของจุลินทรีย์ต่างๆ บางครั้ง
จำเป็นต้องทิ้งหรือทำลายเชื้อราไตรโคเดอร์มาที่ผลิตแล้วเกิดการปนเปื้อนด้วยเชื้อราหรือเชื้อแบคทีเรีย
เป็นจำนวนมาก ทำให้สูญเสียงบประมาณและโอกาสที่เกษตรกรจะได้ใช้เชื้อที่ผลิตได้ตามกำหนดเวลา
การเก็บรักษาเชื้อสดไว้ได้ไม่นานก็เป็นอีกปัญหาหนึ่งที่ทำให้ต้องสูญเสียเชื้อราไตรโคเดอร์มาที่ผลิตได้
แล้วไป เนื่องจากบางครั้งเกษตรกรไม่สามารถใช้เชื้อสดที่ได้รับแจกจากหน่วยราชการได้ในทันที จึงต้อง
ปล่อยให้เชื้อเสื่อมสภาพไปอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ การนำเชื้อราไตรโคเดอร์มาที่เสื่อมสภาพหรือเจริญ
เป็นเส้นใยสีขาวหมดแล้วมาใช้ก็จะไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ในการควบคุมโรคพืชแต่ประการใด
             
ปัญหาแอบแฝงอีกประการที่ยังไม่เคยมีการตระหนักถึงคือ ปัญหาเกี่ยวกับการเสื่อมหรือกลายพันธุ์ของ
เชื้อราไตรโคเดอร์มาที่กำลังผลิตใช้กันอยู่ในปัจจุบัน การผลิตเชื้อโดยวิธีต่อเชื้อจากหัวเชื้อเดิมต่อเนื่อง
ไปเรื่อยๆ หรือการเก็บรักษาหัวเชื้ออย่างไม่ถูกวิธี เป็นสาเหตุที่ทำให้เชื้อเสื่อมหรือกลายพันธุ์ได้
สัญญาณที่บ่งบอกว่าเชื้อเริ่มกลายพันธุ์แล้ว สามารถสังเกตได้คือ เชื้อเจริญบนอาหารเลี้ยงเชื้อ (พีดี
เอ) หรือบนเมล็ดข้าวฟ่างช้ากว่าปกติ มีเส้นใยสีขาวเกิดขึ้นปะปน หรือมี สปอร์ของเชื้อเปลี่ยนสีไป
ความสามารถในการสร้างสปอร์ลดลง เชื้อราไตรโคเดอร์มาที่ผลิตได้จากหัวเชื้อที่กลายพันธุ์อาจส่งผล
ให้คุณภาพและประสิทธิภาพของเชื้อในการควบคุมโรคด้อยลง
 

เกษตรกรผลิตเชื้อสดใช้เองไม่ได้
                 
จากอดีตถึงปัจจุบัน หน่วยงานต่างๆ ได้พยายามที่จะส่งเสริมให้เกษตรกรหรือกลุ่มเกษตรกรผลิตเชื้อรา
ไตรโคเดอร์มาไว้ใช้เอง โดยการสอนหรือฝึกอบรมให้เลี้ยงเชื้อบนเมล็ดข้าวฟ่าง หรือเมล็ดพืชต่าง ๆ ถึง
แม้จะประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง แต่ก็ยังคงประสบปัญหาหลายประการกล่าวคือ วัสดุอาหารที่ใช้
เลี้ยงหายาก (บางฤดูกาล) มีราคาแพง หรือคุณภาพไม่สม่ำเสมอ การเตรียมวัสดุอาหารมีขั้นตอนการ
เตรียมที่ยุ่งยากและต้องใช้เวลานาน การปลูกเชื้อต้องใช้เทคนิคและความระมัดระวังสูง หัวเชื้อราไตรโค
เดอร์มาที่ใช้ไม่บริสุทธิ์เพียงพอ หรืออาจมีการกลายพันธุ์ (โดยไม่รู้ตัว) ปัญหาดังกล่าวล้วนเป็น
อุปสรรคที่สำคัญส่งผลให้แผนการส่งเสริมให้เกษตรกรผลิตเชื้อไตรโคเดอร์มาด้วยตนเองไม่สามารถ
บรรลุเป้าหมายตามที่คาดหวังไว้ได้ นอกจากนี้ยังพบปัญหาในการเก็บรักษาเชื้อราไตรโคเดอร์มาที่ผลิต
ได้แล้ว เชื้อบางส่วนเสียหายในระหว่างการเก็บรักษา  บางส่วนเสื่อมคุณภาพในระหว่างการขนส่งและ
การรอแจกจ่ายให้เกษตรกร และบางส่วนทั้งเสื่อมและสูญเสียประสิทธิภาพในขณะที่เชื้ออยู่ในมือ
เกษตรกร  
 

วัสดุสำหรับการผลิตเชื้อสด 
             
ในการผลิตเชื้อสดนั้น วัสดุอาหารและหัวเชื้อราไตรโคเดอร์มาบริสุทธิ์เป็นปัจจัยที่สำคัญ ผลการวิจัยพบ
ว่า ปลายข้าวจ้าวหรือข้าวสาร เป็นวัสดุอาหารที่ดีที่สุด หาซื้อง่ายและราคาถูก ผู้ผลิตจะใช้ข้าวจ้าวพันธุ์
ใดก็ได้ ข้าวใหม่หรือข้าวเก่าก็ไม่มีปัญหา แต่จากการทดลองพบว่าเชื้อรา            

ไตรโคเดอร์มาจะเจริญและสร้างสปอร์ได้ดีมากเมื่อใช้ปลายข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ (ข้าวหอมมะลิ) และ
เป็นข้าวใหม่ ส่วนหัวเชื้อราไตรโคเดอร์มา ขณะนี้ได้รับการพัฒนาให้อยู่ในรูปผงแห้ง ในผงหัวเชื้อจะมี
สปอร์ของเชื้อราไตรโคเดอร์มาสายพันธุ์ CB-Pin-01 ที่ดีที่สุดจากการคัดเลือกในปริมาณไม่น้อย
กว่า 100 ล้านหน่วยชีวิต (สปอร์) ต่อผงหัวเชื้อหนัก 1 กรัม สามารถเก็บรักษาได้เป็นระยะเวลา
นาน ถ้าเก็บไว้ในตู้เย็น (ประมาณ 8-10 องศาเซลเซียส)สามารถมีชีวิตอยู่ได้นานไม่น้อยกว่า 1 ปี
ถ้าเก็บที่อุณหภูมิในห้องปกติ (25-30 องศาเซลเซียส) สามารถเก็บไว้ได้นาน 6 เดือน ลักษณะ
ของหัวเชื้อเป็นชนิดผงแห้งจึงสะดวกต่อการนำไปใช้เพื่อขยายหรือเพิ่มปริมาณ ตลอดจนการเก็บรักษา
  

ขั้นตอนการขยายเชื้อราไตรโคเดอร์มาชนิดสด
1. ใช้ปลายข้าวหรือข้าวสาร 3 แก้ว (1 แก้ว มีความจุประมาณ 250 ซีซี) ประมาณ 600 กรัม
ใส่น้ำเปล่าสะอาด 2 แก้ว หรือประมาณ 0.5 ลิตร หุงด้วยหม้อข้าวไฟฟ้า เมื่อสุกแล้วจะได้ ข้าวสุก
(ประมาณ 1 กิโลกรัม) ถ้าข้าวนิ่มเกินไปอาจปรับสัดส่วนของข้าวต่อน้ำเป็น 2 ต่อ 1 ก็ได้


2. เมื่อสวิทช์ของหม้อหุงข้าวตัดไฟ ใช้ทัพพีซุยข้าวในหม้อก่อนตักข้าวที่หุงสุกใหม่ ๆ ใส่ถุงพลาสติก
ทนร้อนขนาด 8 x 12 นิ้ว ถุงละ 2 ทัพพีพูนๆ หรือ 3 ทัพพีปกติ (ประมาณ 250-300 กรัม)
วางถุงข้าวตามแนวราบ รีดอากาศออกจากถุง แล้วพับปากถุงไว้ รอให้ข้าวอุ่นหรือเกือบเย็น จึงเท
(เหยาะ) หัวเชื้อรา ไตรโคเดอร์มาใส่ลงในถุงพลาสติกเพียงเล็กน้อย (หัวเชื้อราไตรโคเดอร์มา 1
ขวด บรรจุ 50 กรัม  ใส่ในข้าวสุกได้ จำนวน 80 ถุง หรือประมาณ 20 กิโลกรัม)


3. หลังใส่หัวเชื้อราไตรโคเดอร์มาแล้ว มัดปากถุงด้วยหนังยางให้แน่น (มัดให้สุดปลายถุง) เขย่า
หรือขยำเบา ๆ ให้หัวเชื้อคลุกเคล้ากับข้าวสุกทั่วทั้งถุง รวบถุงให้มีลมพองตรงบริเวณปากถุงที่รัดยาง
ไว้  แล้วใช้ปลายเข็มเจาะถุงพลาสติกใต้หนังยางที่มัดไว้เล็กน้อย ประมาณ 15-20 จุดต่อถุง (เพื่อ
ให้มีอากาศถ่ายเทเหมาะสมต่อการเจริญของเชื้อราไตรโคเดอร์มา) แล้วแผ่ถุงข้าวสุกให้แบนราบ  ดึง
ตรงส่วนกลางของถุงให้พองขึ้น  เพื่อให้ภายในถุงมีอากาศพอเพียง

4. บ่มเชื้อไว้ในที่มีอากาศถ่ายเท มีแสงสว่างส่องถึง ไม่ตากแดด ปลอดภัยจากมด ไร และสัตว์อื่นๆ
เมื่อครบ 2 วัน ขยำถุงเบาๆ เพื่อให้เส้นใยของเชื้อกระจายทั่วทั้งถุง บ่มถุงเชื้อต่ออีก 4-5 วัน ก่อนนำ
ไปใช้ รวมระยะเวลาของการบ่มเชื้อคือ 6-7 วัน    
        

คำแนะนำ
:
ในการบ่มเชื้อ ควรวางถุงเชื้อในบริเวณที่ได้รับแสงสว่างจากหลอดฟลูโอเรสเซนต์ (หลอดนีออน) โดย
ให้แสงสว่างนาน 10-12 ชั่วโมง/วัน หรือตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อกระตุ้นการสร้างสปอร์ของเชื้อ เชื้อ
ที่ขึ้นดีจะมีสีเขียวเข้ม
        

คำเตือน 
: ต้องขยายเชื้อโดยใช้หัวเชื้อบริสุทธิ์เท่านั้น ไม่ควรใช้เชื้อที่เจริญบนเมล็ดข้าวแล้วไป
ขยายต่ออีก เพราะจะทำให้เกิดการปนเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์ชนิดอื่น และเชื้อที่ขยายต่ออาจเกิดการกลาย
พันธุ์และมีประสิทธิภาพในการควบคุมโรคพืชลดลง
 

การเก็บรักษาเชื้อสด                 
             
เมื่อครบกำหนด 6-7 วันของการบ่มเชื้อ โดยปกติจะเห็นสปอร์สีเขียวเข้มของเชื้อราไตรโคเดอร์มาขึ้น
ปกคลุมปกคลุมปลายข้าวในถุงอย่างหนาแน่น จนอาจมองไม่เห็นสีขาวของเมล็ดข้าว แต่ถ้าเกิดความผิด
พลาดเช่น ขยำเชื้อไม่กระจายทั่วทั้งถุง หรือเจาะรูให้อากาศเข้าถุงน้อยไป อาจพบว่าข้าวบริเวณก้นถุง
ยังคงเป็นสีขาว ให้แก้ไขโดยการใช้เข็มเจาะรูตรงปลายปากถุงเพิ่ม ดึงถุงให้พองลม แล้วบ่มเชื้อต่ออีก
2-3 วัน
  เชื้อที่เจริญทั่วถุงดีแล้วให้นำไปใช้ทันที สำหรับกรณีที่ไม่สามารถใช้เชื้อสดได้ทันที ให้นำถุง
เชื้อสดรวมใส่ถุงพลาสติก แล้วนำไปเก็บไว้ในตู้เย็นช่องธรรมดา (8-10 องศาเซลเซียส) สามารถ
เก็บเชื้อสดไว้ได้เป็นเวลาไม่เกิน 30 วัน
 

ข้อควรระวังในการผลิตเชื้อชนิดสด
1. ควรหุงปลายข้าวด้วยหม้อหุงข้าวไฟฟ้าอัตโนมัติหรือใช้ซึ้งนึ่งข้าวเท่านั้น เพราะการใช้หม้อหุงข้าว
ชนิดที่ใช้แก๊ส อาจทำให้ข้าวไหม้ หรือการหุงข้าวแบบเช็ดน้ำ มักได้ข้าวที่แฉะเกินไป ปลายข้าวที่หุงจน
สุกด้วยหม้อหุงข้าวไฟฟ้าจะมีลักษณะเป็นไตขาวอยู่บ้างจัดเป็นลักษณะที่ดี

2. ต้องตักปลายข้าวที่หุงแล้วใส่ถุงพลาสติก ขณะที่ข้าวกำลังร้อน เพื่อให้ความร้อนในถุงข้าวทำลาย
จุลินทรีย์ที่อาจปนเปื้อนอยู่ในถุงข้าว
         

3. การใช้เข็มแทงรอบบริเวณปากถุงที่รัดยางไว้มีความสำคัญอย่างยิ่ง ควรแทงไม่น้อยกว่า 15-20
จุด/ถุง เพราะถ้าอากาศไม่สามารถระบายถ่ายเทได้ดี เชื้อจะเจริญไม่ทั่วทั้งถุง (ก้นถุงยังเห็นข้าวเป็นสี
ขาว) และห้ามใช้ไม้แหลมหรือตะปูหรือวัตถุแหลมคมอื่นแทงถุง เพราะอาจทำให้เกิดรูขนาดใหญ่เกิน
ไปทำให้มด ไร หรือจุลินทรีย์เข้าไปปนเปื้อนภายในถุงได้
         

4. ควรบ่มเชื้อไว้ในบริเวณที่ร่มและเย็น (25-30 องศาเซลเซียส) ไม่ถูกแสงแดด และให้เชื้อได้
รับแสงสว่างจากหลอดฟลูออร์เรสเซ็นต์ (นีออน) อย่างพอเพียงอย่างน้อย 10-12 ชั่วโมง/วัน หรือ
ตลอด 24 ชั่วโมง 

5. อย่าลืมขยำข้าวเมื่อบ่มเชื้อครบ 2 วัน (หลังใส่เชื้อ)และกดข้าวให้แผ่แบนราบมากที่สุด
อีกครั้ง
หลังขยำข้าวแล้ว ดึงถุงให้โป่งขึ้นเพื่อให้มีอากาศในถุง ห้ามวางถุงทับซ้อนกัน

6. ป้องกันอย่าให้มด  แมลง  หรือสัตว์มากัดแทะถุงข้าว

7. ถ้าพบเชื้อสีชมพู สีส้ม สีเหลือง หรือสีดำ ในถุงเชื้อใดเป็นจำนวนมากเกิน 20 เปอร์เซ็นต์ ของ
พื้นที่ในถุง ให้นำถุงเชื้อดังกล่าวไปทิ้งขยะ หรือทิ้งใส่หลุมชนิดฝังกลบ โดยไม่ต้องเปิดปากถุง
         

8. ห้ามใช้เชื้อสดที่ได้จากการเลี้ยงเชื้อบนข้าวสุก เป็นหัวเชื้อเพื่อการผลิตขยายเชื้อต่อไป เพราะ
จะเกิดการปนเปื้อน และเชื้อจะเสื่อมคุณภาพและประสิทธิภาพ
  วิธีการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาชนิดสด

การใช้เชื้อสดสามารถใช้ได้หลายวิธีตามโอกาสและความสะดวกของเกษตรกร เช่น ใช้เชื้อสดผสมกับ
ปุ๋ยอินทรีย์สำหรับใส่หลุมปลูกหรือหว่านลงแปลงปลูก ใช้เชื้อสดล้วนๆ ในการคลุกเมล็ดพืชก่อนปลูก
และใช้เชื้อสดผสมน้ำสำหรับฉีดพ่น ราด รดลงดิน หรือใช้แช่ส่วนขยายพันธุ์พืชก็ได้ 
     

การใช้เชื้อสดผสมกับปุ๋ยอินทรีย์ 
                       
ใช้เชื้อสดผสมกับรำข้าวละเอียดและปุ๋ยอินทรีย์ (ปุ๋ยหมัก/ปุ๋ยคอกเก่า) ในสัดส่วน 1: 4: 100
โดยน้ำหนัก
               

1.เติมรำข้าวเล็กน้อยลงไปในถุงเชื้อราไตรโคเดอร์มาชนิดสด คลุกเคล้าและบีบให้เชื้อที่เกาะเป็นก้อน
แตกออก ต่อจากนั้นจึงเทเชื้อที่คลุกรำข้าวแล้วผสมกับรำข้าวที่เหลือให้ครบตามจำนวน แล้วคลุกเคล้า
ให้เข้ากันอีกครั้ง
               

2. นำหัวเชื้อสดที่ผสมกับรำข้าว (อัตรา 1: 4 โดยน้ำหนัก) ผสมกับปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก 100
กิโลกรัม คลุกเคล้าจนเข้ากันอย่างทั่วถึง อาจพรมน้ำพอชื้นเพื่อลดการฟุ้งกระจาย
               
3.ในกรณีที่ไม่สามารถหารำข้าวละเอียดได้ หรือต้องการเก็บปุ๋ยอินทรีย์ที่ผสมเชื้อรา          
ไตรโคเดอร์มาไว้ใช้นานๆ ให้ใช้เชื้อสดผสมกับปุ๋ยอินทรีย์โดยตรง ในอัตราส่วน 1:100 โดยน้ำหนัก
 

เมื่อได้ส่วนผสมของเชื้อสดกับปุ๋ยอินทรีย์แล้วสามารถนำไปใช้ด้วยวิธีการดังต่อไปนี้
 
1.  การผสมกับวัสดุปลูกสำหรับการเพาะกล้าในกระบะเพาะเมล็ดหรือถุงเพาะชำ : ใส่ส่วนผสม
ของเชื้อสด + ปุ๋ยอินทรีย์ ผสมดินหรือวัสดุปลูกอัตรา 1:4 โดยปริมาตร (20%) นำดินหรือวัสดุปลูก
ที่ผสมด้วยส่วนผสมของเชื้อสดแล้วใส่กระบะเพาะเมล็ด ถุงหรือกระถางปลูกพืช
                       

2. การใส่หลุมปลูกพืช :
ใช้ส่วนผสมของเชื้อสด+ปุ๋ยอินทรีย์ อัตรา 10-20 กรัม (1-2 ช้อนแกง) ต่อหลุม โรยในหลุมก่อน
การหยอดเมล็ดพืช หรือใช้ส่วนผสมของเชื้อสด+ปุ๋ยอินทรีย์ อัตรา 10-20 กรัม คลุกเคล้ากับดินใน
หลุมปลูกพืช ถ้าหลุมปลูกใหญ่อาจใช้ 50-100 กรัม/หลุม หรือมากกว่านี้
                       
3. การใช้เชื้อหว่านในแปลงปลูก :
หว่านส่วนผสมเชื้อสด+ปุ๋ยอินทรีย์ลงบนแปลงปลูกก่อนการปลูกพืช หรือหว่านส่วนผสมเชื้อสด+ปุ๋ย
อินทรีย์ลงบนแปลงปลูก ขณะที่พืชกำลังเจริญเติบโต หรือกำลังมีโรคระบาด ด้วยอัตรา 50-100 กรัม
ต่อตารางเมตร                        
                       

4. การใช้เชื้อหว่านใต้ทรงพุ่มหรือโรยโคนต้นพืช :
หว่านส่วนผสมเชื้อสด+ปุ๋ยอินทรีย์ทั่วบริเวณใต้ทรงพุ่มจนถึงรอบชายพุ่ม อัตรา 50-100 กรัมต่อ
ตารางเมตร หรือโรยส่วนผสมเชื้อสด+ปุ๋ยอินทรีย์บริเวณโคนต้นพืชกรณีที่เกิดโรคโคนเน่า ด้วยอัตรา
10-20 กรัมต่อต้น (เพิ่มปริมาณการใช้กรณีพืชโต)
 

หมายเหตุ
:
สามารถหว่านเชื้อสด+ปุ๋ยอินทรีย์ได้ทุกระยะการเจริญเติบโตของพืช โดยเฉพาะในช่วง ที่ให้น้ำแก่พืช
ได้
  การใช้เชื้อสดคลุกเมล็ดพืช     ใส่เชื้อสดลงในถุงพลาสติกที่จะใช้คลุกเมล็ด อัตรา 10 กรัม (1
ช้อนแกง)ต่อเมล็ด 1 กิโลกรัม เติมน้ำ 10 ซีซี. บีบเชื้อสดให้แตกตัว เทเมล็ด 1 กิโลกรัมลงใน
ถุงแล้วเขย่าให้เชื้อสดคลุกเคล้าจนติดผิวเมล็ด นำเมล็ดออกผึ่งลมให้แห้งก่อนนำไปปลูก หรือใช้ปลูกได้
ทันที (ไม่ควรคลุกเมล็ดแล้วเก็บไว้นานๆ)
  การใช้เชื้อสดผสมกับน้ำ        

ในกรณีที่ไม่สะดวกในการจัดหาปุ๋ยหมักปุ๋ยคอกและรำข้าว หรือกรณีที่ต้องการใส่เชื้อราไตรโคเดอร์มา
ลงดินโดยไม่ประสงค์จะใส่ปุ๋ยอินทรีย์ และรำข้าวลงไปในดินด้วย  เนื่องจากไม่อยู่ในช่วงที่เหมาะสม
สำหรับการใช้ปุ๋ยอินทรีย์  สามารถใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาชนิดสดที่เตรียมไว้ผสมกับน้ำ ในอัตรา 100
กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ 250 กรัม (เชื้อสด 1 ถุง) ต่อน้ำ 50 ลิตร 

สำหรับขั้นตอนการใช้เชื้อสดผสมน้ำมีดังนี้
            
1. นำเชื้อสดมา 1 ถุง (250 กรัม) เติมน้ำลงไปในถุง 300 มิลลิลิตร (ซีซี) หรือพอท่วมตัว
เชื้อ แล้วขยำเนื้อข้าวให้สปอร์สีเขียวหลุดจากเมล็ดข้าวจนได้น้ำเชื้อสีเขียวเข้ม
  
                  
2.  กรองน้ำเชื้อด้วยผ้าหรือกระชอนตาถี่ ล้างกากที่เหลือบนกระชอนด้วยน้ำอีกจำนวน
หนึ่ง จนเชื้อ
หลุดจากเมล็ดข้าวหมด เติมน้ำเปล่าลงในน้ำเชื้อที่ล้างได้ให้ครบ 50 ลิตร ก่อนนำไปใช้
             
3.  น้ำเชื้อสดที่เตรียมได้แล้ว สามารถนำไปใช้ได้ทันที หรื ใช้ให้หมดภายใน 24 ชั่วโมง 
 


ิธีการนำน้ำเชื้อสดไปใช้ในการควบคุมโรค
         
1. การฉีดพ่นน้ำเชื้อสดลงในกระบะเพาะกล้า กระถาง หรือถุงปลูกพืช:
หลังจากหยอดเมล็ดแล้ว หรือในระหว่างที่ต้นกล้าเริ่มเจริญเติบโต ควรฉีดน้ำเชื้อสดลงดินให้ดินเปียกชุ่ม
บางกรณีอาจใช้น้ำเชื้อสดฉีดพ่นลงในถุงเพาะกล้าหรือกระถางปลูกพืช ตั้งแต่เริ่มปลูกหรือในระหว่างที่
พืชกำลังเจริญเติบโต โดยฉีดน้ำเชื้อสดให้ดินเปียกชุ่ม คล้ายกับการรดน้ำพืช 
         

2. การฉีดพ่นน้ำเชื้อสดลงในหลุมปลูกพืช:
หลังจากเพาะเมล็ดหรือย้ายกล้าพืชลงปลูกในหลุมปลูกแล้ว ควรฉีดพ่นน้ำเชื้อสดให้ดินในหลุมบริเวณ
รอบหลุมปลูกเปียกชื้น
                

3. การฉีดพ่นน้ำเชื้อสดลงบนแปลงปลูกพืช: หลังจากหว่านเมล็ด และคลุมแปลงด้วยฟางแล้ว ใช้น้ำ
เชื้อฉีดพ่นในอัตรา 10-20 ลิตร/100 ตารางเมตร และให้น้ำแก่พืชทันที กรณีที่ต้องการคลุมแปลง
ปลูกด้วยพลาสติกดำ ให้ฉีดพ่นน้ำเชื้อสดลงบนแปลงปลูก อัตรา 10-20 ลิตร/100 ตารางเมตร
ก่อนคลุมแปลงด้วยพลาสติกดำ (ต้องรดน้ำให้ดินบนแปลงปลูกมีความชื้น 60-80 เปอร์เซ็นต์ก่อน
คลุมแปลงได้ก็จะดียิ่งขึ้น) สำหรับกรณีที่พืชกำลังเจริญเติบโตอยู่ในแปลงแล้ว สามารถฉีดพ่นน้ำเชื้อ
สดลงบนแปลง ในอัตรา 10-20 ลิตร/100 ตารางเมตร ได้ทุกระยะการเจริญเติบโตของพืช
              
4. การฉีดพ่นน้ำเชื้อสดโคนต้นพืช: ให้ฉีดพ่นโคนต้นพืชและดินบริเวณรอบโคนต้นพืชจนเปียกชื้น
(เพื่อป้องกันโรคโคนเน่า) หรือใช้อัตรา 20 ลิตร/100 ตารางเมตร
              

5. การฉีดพ่นน้ำเชื้อสดหรือปล่อยไปพร้อมระบบการให้น้ำใต้ทรงพุ่มของพืช: ให้ฉีดพ่นน้ำเชื้อสดจน
ดินใต้ทรงพุ่มเปียกชื้น โดยใช้อัตรา 10-20 ลิตรต่อ 100 ตารางเมตร ควรให้น้ำแก่พืชก่อนและหลัง
ฉีดพ่นน้ำเชื้อเพื่อให้น้ำพาเชื้อซึมลงดิน และช่วยให้เชื้อเจริญได้ดีในดินที่มีความชื้น การปล่อยน้ำเชื้อ
สดไปกับระบบการให้น้ำแก่พืช แบบพ่นฝอยสามารถทำได้ โดยใช้อัตรา 10-20 ลิตรต่อ 100 ตาราง
เมตร ควรให้น้ำเปล่าประมาณ 10-15 นาที เพื่อให้ดินชื้นก่อนปล่อยน้ำเชื้อ จากนั้นปล่อยน้ำเชื้อจน
หมดถังแล้วต้องปล่อยน้ำเปล่าตามอัก 10-15 นาทีเพื่อไล่น้ำเชื้อที่ตกค้างในท่อให้ออกจากระบบท่อ
ให้หมด  เพื่อป้องกันเส้นใยของเชื้ออุดตันท่อ
               

6. การฉีดพ่นน้ำเชื้อสดลงส่วนบนของต้นพืช
:
ให้เติมสารจับใบลงในน้ำเชื้อสด 5 ซีซี./20 ลิตร ก่อนนำไปฉีดพ่นลงบนใบ กิ่งก้าน ดอก ผล ของ
พืช เพื่อป้องกันโรคที่เกิดจากเชื้อรา ฉีดพ่นทุก 7-10 วัน เพื่อป้องกันการเข้าทำลายของเชื้อโรค บาง
กรณีที่มีโรคระบาดรุนแรงอาจใช้น้ำเชื้อสดเข้มข้นกว่าปกติคือ เชื้อสด 20 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร (หรือ
เชื้อสด 1 กิโลกรัมต่อน้ำ 100 ลิตร) ฉีดพ่นพืชทุก 3-7 วัน
 

คำเตือน
:  
1. ควรฉีดพ่นในเวลาแดดอ่อน หรือเวลาเย็น กรณีที่บริเวณที่ฉีดพ่นไม่มีร่มเงาจากพืชเลย
    

2. ถ้าดินบริเวณที่จะฉีดพ่นเชื้อแห้งมาก ควรให้น้ำพอให้ดินมีความชื้นเสียก่อน หรือให้น้ำทันทีหลัง
ฉีดพ่น เพื่อให้น้ำพาเชื้อซึมลงดิน
  

3. การปล่อยน้ำเชื้อสดไปกับระบบน้ำหยดอาจก่อให้เกิดปัญหาการอุดตันของหัวน้ำหยด ในกรณีที่มี
น้ำเชื้อเหลือค้างในท่อ โดยสปอร์จะงอกเป็นเส้นใยไปทำให้อุดตัน จึงจำเป็นต้องปล่อยน้ำล้างสายและ
หัวน้ำหยดหลังการใช้ทุกครั้ง
  

4. การฉีดพ่นน้ำเชื้อลงบนดินในแปลงปลูก ควรปฏิบัติควบคู่ไปกับการใช้เชื้อสดผสมปุ๋ยอินทรีย์หว่าน
คลุกเคล้าไปกับดินในช่วงของการเตรียมแปลงปลูกพืช  เมื่อพืชอยู่ในระยะกำลังเจริญเติบโต สามารถ
ใช้น้ำเชื้อฉีดพ่นลงดินได้ทุก 1-2 เดือนหรือบ่อยครั้งตามความต้องการ
  ใช้เชื้อสดต้องระวังและ
รอบคอบ

            

การใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาชนิดสด เป็นวิธีการที่เกษตรกรหรือผู้ใช้ต้องเพิ่มความระมัดระวังเป็นกรณี
พิเศษ ทั้งนี้เพราะเชื้อชนิดสดอาจไม่ทนทานต่อสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ดังนั้นในการ
ใช้เชื้อสดทุกครั้ง ต้องพยายามปรับสภาพแวดล้อมในบริเวณที่หว่านหรือฉีดพ่นเชื้อสดลงไป ให้มีความ
ชื้นพอเพียงเพื่อช่วยรักษาชีวิตของเชื้อสดและช่วยส่งเสริมให้เชื้อสดสามารถเจริญเพิ่มปริมาณต่อไปได้

            

เชื้อสดเป็นเชื้อที่อยู่ในสภาพพร้อมที่จะเจริญอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา เมื่ออยู่ในสภาพ
อุณหภูมิปกติ โดยสปอร์ของเชื้อซึ่งมีสีเขียวเข้มจะงอกและเจริญกลับเป็นเส้นใยสีขาวใหม่อีกครั้ง เส้นใย
ดังกล่าวจะอ่อนแอต่อสภาพแวดล้อมภายนอก สูญเสียคุณภาพและประสิทธิภาพได้ง่าย ดังนั้นข้อควร
ระวังที่สำคัญประการหนึ่งของเชื้อสดคือ ต้องนำเชื้อสดไปใช้ทันที อย่างไรก็ตาม ถ้าเกษตรกร หรือผู้ใช้
ยังไม่พร้อมที่จะใช้เชื้อสดที่มีอายุครบ 7 วันแล้ว ต้องเก็บรักษาเชื้อสดไว้ในตู้เย็นที่อุณหภูมิประมาณ
8-10 องศาเซลเซียส  โดยสามารถเก็บไว้ได้นานไม่เกิน 30 วัน   
            

นอกจากนี้ผู้ใช้เชื้อสดควรระลึกไว้เสมอว่าการใช้เชื้อสดใส่ลงในดินที่มีสภาพแวดล้อมไม่เหมาะต่อการ
เจริญและการเพิ่มปริมาณเชื้อ เช่น ดินเป็นกรดจัดหรือด่างจัด เกินไป ดินมีความเค็มสูง โครงสร้างของ
ดินหรือเนื้อดินมีลักษณะแน่นทึบ การระบายอากาศและความชื้นไม่ดี ดินมีอินทรีย์วัตถุต่ำ อาจทำให้การ
ใช้เชื้อสดไม่ประสบผลสำเร็จได้ ควรปรับปรุงดินให้เหมาะสมกับการปลูกพืชเสียก่อน  สำหรับข้อควร
ปฏิบัติและข้อควรระวังต่างๆ ในการใช้เชื้อสดนอกเหนือจากที่กล่าวข้างต้นมีดังนี้
            

1. ปุ๋ยหมักปุ๋ยคอกที่เหมาะสมกับการใช้ผสมเชื้อราไตรโคเดอร์มาชนิดสด ควรเป็นปุ๋ยที่ผ่านกระบวน
การหมักโดยสมบูรณ์แล้ว (เย็นแล้ว) หรือเป็นปุ๋ยที่กองทิ้งไว้จนเก่าแล้ว             

2. ควรหลีกเลี่ยงการใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีทุกชนิดคลุกเคล้าหรือผสมร่วมกับเชื้อสด แล้วใช้พร้อมกั
นทีเดียว กรณีที่มีความจำเป็นต้องใช้ร่วมกัน สามารถใช้เชื้อสดชนิดน้ำผสมกับสารเคมีควบคุมแมลงทุก
ชนิด สารกำจัดวัชพืชทุกชนิด ฮอร์โมน/อาหารเสริม ปุ๋ยน้ำทุกชนิดหรือสารเคมีควบคุมเชื้อโรคพืชทุก
ชนิด ยกเว้นคาร์เบนดาซิม หรือเบโนมิล เมื่อผสมน้ำเชื้อสดกับสารเคมีเสร็จให้รีบใช้ทันที (ห้ามผสม
แช่ทิ้งไว้เกิน 3 ชั่วโมง)
            

3. กรณีที่ต้องการผสมเชื้อราไตรโคเดอร์มาชนิดสดกับปุ๋ยอินทรีย์-เคมี (ปุ๋ยอินทรีย์ผสมด้วยปุ๋ยเค
มีสูตรต่าง ๆ) ทั้งชนิดผงหรือชนิดอัดเม็ด หรือปุ๋ยเคมีชนิดเม็ด อนุโลมให้ผสมได้ แต่ต้องใช้หว่านทันที
หลังผสมเสร็จ ห้ามผสมแล้วเก็บไว้ในกระสอบ หรือกองไว้ เพราะเชื้อราไตรโคเดอร์มาอาจได้รับอันตราย
จากปุ๋ยเคมี
            

4. เมื่อผสมเชื้อราไตรโคเดอร์มาชนิดสดกับรำข้าวและปุ๋ยอินทรีย์แล้ว ให้ใช้หว่านทันที ห้ามบรรจุลง
ในกระสอบหรือกองทิ้งไว้นานกว่า 24 ชั่วโมง เพราะอาจเกิดความร้อนในกองปุ๋ย เป็นอันตรายต่อเชื้อ
ราไตรโคเดอร์มาได้ ดังนั้นจึงควรเตรียมส่วนผสมของเชื้อสด รำข้าว และปุ๋ยอินทรีย์ให้พอใช้ในแต่ละ
ครั้ง เชื้อสดผสมปุ๋ยอินทรีย์ เหมาะกับการใช้หว่านแล้วคลุกเคล้ากับดินบนแปลงปลูก หรือหว่านใต้
บริเวณทรงพุ่มของพืช หรือใส่หลุมปลูกพืช
            

5. ถ้าผสมเชื้อราไตรโคเดอร์มาชนิดสดกับปุ๋ยอินทรีย์ (เก่าหรือหมักดีแล้ว) โดยไม่ใส่รำข้าว
สามารถเก็บปุ๋ยไว้ได้ไม่เกิน 4 เดือน โดยใส่กระสอบหรือกองไว้ในที่ร่มและเย็นภายในโรงเรือน ถ้าปุ๋ย
อินทรีย์ที่ผสมเชื้อสดมีความชื้นสูงมาก (30-40 เปอร์เซ็นต์) ไม่ควรใส่ปุ๋ยดังกล่าวในถุงพลาสติก
หรือกระสอบพลาสติกแล้วรัดปากถุงจนแน่น แต่ควรกองไว้ในที่ร่มและเย็นแทน

             
6. เชื้อราไตรโคเดอร์มาชนิดสดผสมกับปุ๋ยอินทรีย์ โดยไม่ใส่รำข้าว เมื่อใช้หว่านลงดินจะได้ปริมาณ
เชื้อน้อยกว่ากรณีที่ใช้รำข้าวผสมด้วย อย่างไรก็ตาม พบว่าเชื้อสดผสมปุ๋ยอินทรีย์โดยไม่มีรำข้าวมี
ประสิทธิภาพควบคุมโรคได้ดีเช่นกัน และเหมาะกับการใช้ใส่รองก้นหลุมก่อนหยอดเมล็ด หรือย้ายกล้า
พืชลงปลูก

             
7. สามารถใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา ก่อนหรือหลังการหว่านปุ๋ยเคมีได้ทันที
            

8. ควรใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาหลังหว่านปูนโดโลไมท์ ปูนขาว หรือปรับสภาพดินไปแล้ว 5-7 วัน

            
9. การฉีดพ่นสารเคมีควบคุมโรค แมลงศัตรูพืช และวัชพืช เหนือพื้นดิน ไม่มีผลกระทบต่อเชื้อราไตร
โคเดอร์มาในดิน แม้ว่าสารเคมีเบโนมิล และคาร์เบนดาซิม อาจมีผลยับยั้งการเจริญของเชื้อราไตรโค
เดอร์มาได้ระยะหนึ่งก็ตาม  เพราะสารเคมีมีโอกาสสัมผัสเชื้อน้อยมาก

          
10. ควรใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาเพื่อป้องกันโรคอย่างต่อเนื่อง เช่น ใช้ก่อนปลูกพืชรุ่นใหม่ทุกครั้ง ใน
กรณีของการปลูกพืช ผัก ไม้ดอกไม้ประดับ และพืชไร่ หรือใช้  ปีละ 2-3 ครั้ง ในกรณีของไม้ผล
ยืนต้น (ใช้บ่อย ๆ ไม่มีอันตรายต่อพืช) 
          

11. ควรใช้เศษหญ้า  เศษใบไม้ หรือวัสดุต่างๆ คลุมผิวดิน  เพื่อรักษาความชื้นในดินไว้ซึ่งจะช่วย
ให้เชื้อราไตรโคเดอร์มาเจริญได้ดี  และมีชีวิตอยู่รอดในดินได้นานยิ่งขึ้น
          

12. ควรใส่ปุ๋ยอินทรีย์ หรือวัสดุอินทรีย์ลงดินเป็นระยะๆ โดยแบ่งใส่ทีละน้อยอย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็น
แหล่งอาหารให้กับเชื้อราไตรโคเดอร์มา และเพื่อช่วยปรับสภาพแวดล้อมในดินให้เหมาะสมต่อการเจริญ
ของเชื้อราไตรโคเดอร์มา
                  

13. ควรใช้ไตรโคเดอร์มาชนิดสดที่ผสมรำข้าวระเอียดและปุ๋ยอินทรีย์ (1:4:100) หรือใช้เชื้อสด
ผสมปุ๋ยอินทรีย์ (1:100) หว่านลงดินในช่วงของการเตรียมดินก่อนการปลูกพืช และใช้น้ำเชื้อสดฉีด
พ่นลงดินบนแปลงปลูกในหลุมปลูก หรือรอบโคนต้น หรือใต้ทรงพุ่มในระยะที่พืชกำลังเจริญเติบโตต่อ
เนื่องเป็นระยะๆ (ทุก 10-20 วันสำหรับพืชอายุสั้น และทุก 2-3 เดือน ในกรณีของไม้ผลหรือพืช
ยืนต้น)

          
14. เชื้อราไตรโคเดอร์มาชนิดสดเก็บรักษาได้ไม่นาน แต่มีประสิทธิภาพควบคุมโรคสูงกว่าการใช้เชื้อ
ในรูปผงแห้ง (ถ้าใช้ถูกต้องตามคำแนะนำ)

      

การใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาชนิดสดควบคุมโรคพืชต่าง ๆ
        
การใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาสดคลุกเมล็ด อัตรา 1 ช้อนแกง/เมล็ด 1 กิโลกรัม คลุกเมล็ด
¶การใช้
เชื้อราไตรโคเดอร์มาสดผสมกับปุ๋ยอินทรีย์ อัตรา เชื้อสด รำละเอียด ปุ๋ยคอก (1:4:100
โดย
น้ำหนัก) หรือใช้เชื้อสดผสมปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก (1:100 โดยน้ำหนัก)หว่าน/โรย/ผสมดินหรือ
วัสดุปลูก
             

การใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาสดผสมน้ำ อัตรา เชื้อสด 1 กิโลกรัม/น้ำ 100-200 ลิตร

           
ฉีดพ่น
 ตารางที่ 1 อัตราและวิธีการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาชนิดสดในการควบคุมโรคพืช 
พืช โรคพืช/เชื้อสาเหตุ อัตราและวิธีใช้
ไม้ผล โรคที่สำคัญ  
ทุเรียน  ส้ม  มะนาว ฝรั่ง  มะละกอฯลฯ *โรครากเน่าและโคนเน่า    l เชื้อราไฟทอฟธอรา     lพิเทียม    lฟิวซาเรียม -รองก้นหลุมก่อนปลูก 50-100 กรัม/หลุม-หว่านลงดินใต้ทรงพุ่ม 50-100 กรัม/ตารางเมตร-ฉีดพ่นลงดิน10-20 ลิตร/100 ตารางเมตร-ฉีดพ่นบนต้น (1 กก./น้ำ 100-200 ลิตร)
พืชผักต่าง ๆ โรคที่สำคัญ  
มะเขือเทศ พริก  โหระพา กะเพรา *โรคเน่าระดับดิน *โรคกล้าเน่ายุบ*โรครากเน่า      *โรคลำต้นเน่า -ผสมดินโดยใส่ส่วนผสมของเชื้อสด+ปุ๋ยอินทรีย์: ดินหรือวัสดุปลูก  อัตรา 1: 4 โดยปริมาตร (20%) เพาะกล้า/เมล็ด-คลุกเมล็ดขนาดเล็กใช้เชื้อสด 1 ช้อนแกง/เมล็ด  1กก.-คลุกเมล็ดขนาดใหญ่ใช้เชื้อ 1-2 ช้อนแกง/เมล็ด  1 กก.-หว่านในแปลงปลูก 50-100 กรัม/ตารางเมตร-รองก้นหลุมและใส่โคนต้นเป็นโรค 10-20 กรัม/ หลุม
หน่อไม้ฝรั่ง ขึ้นฉ่าย  ตระกูลกะหล่ำ *โรครากและโคนเน่า*โรคเหี่ยว
หอมใหญ่  ผักชีฝรั่ง  ตระกูลถั่ว เชื้อสาเหตุ   l เชื้อราพิเทียม -ฉีดพ่นหลุมปลูกและโคนต้น20-50 ซีซี/ หลุม-ฉีดพ่นกระบะเพาะกล้าและแปลงปลูกพืช  10-20
ตระกูลแตง กระชาย กระเจี๊ยบเขียวขิง เผือก ฯลฯ    l สเคลอโรเทียม   l ไรซอคโทเนีย    l ฟิวซาเรียม ลิตร/100 ตารางเมตร-ฉีดพ่นส่วนบนของต้นพืช (1 กก./น้ำ 100-200 ลิตร)
ไม้ดอกไม้ประดับ โรคที่สำคัญ  
ดาวเรือง  มะลิ      เยอบีร่า  ชบาเบญจมาศ    ตระกูล-ฟิโลเดนดรอน *โรคเหี่ยว*โรคกล้าเน่ายุบ*โรคเน่าดำเชื้อสาเหตุlเชื้อราฟิวซาเรียม -ผสมดินโดยใส่ส่วนผสมของเชื้อสด+ปุ๋ยอินทรีย์ : ดินหรือวัสดุปลูก อัตรา 1:4 โดยปริมาตร (20%) เพาะกล้า/เมล็ด-หว่านในแปลงเพาะกล้า 50-100 กรัม/ตารางเมตร 
 ตารางที่ 1 ต่อ
พืช โรคพืช/เชื้อสาเหตุ อัตราและวิธีใช้
ไม้ดอกไม้ประดับ เชื้อสาเหตุ  
ตระกูลขิง ซ่อนกลิ่น            กล็อกซีเนียกล้วยไม้ ฯลฯ    lไฟทอฟธอรา   lพิเทียม      lสเคลอโรเทียม   lไรซอคโทเนีย -โรยในกระถาง /ถุงเพาะ 10-20 กรัม/   กระถาง/ถุง-รองก้นหลุมก่อนปลูก 10-20 กรัม/หลุม-ฉีดพ่นในกระบะเพาะ   แปลงเพาะกล้าแปลงปลูก 10-20 ลิตร/100 ตารางเมตร
     -ฉีดพ่นในกระถาง  ถุงเพาะกล้า   ก่อนย้ายกล้าปลูก 20-50 ซีซี/ กระถาง/ถุง/ หลุม-ฉีดพ่นส่วนบนของต้นพืช (1 กก./น้ำ 20 ลิตร)
พืชไร่ โรคที่สำคัญ  
ข้าวบาร์เลย์  ข้าวเจ้าทานตะวัน  ถั่วลิสงถั่วเหลือง ฯลฯ *โรคกล้าเน่ายุบ *โรคโคนเน่าเชื้อสาเหตุ   lเชื้อราสเคลอโรเทียม               lสเคลอโรเทียม    lพิเทียม   l ไรซอคโทเนีย -คลุกเมล็ดก่อนปลูก เมล็ดขนาดเล็ก ใช้เชื้อสด 1 ช้อนแกง/ เมล็ด 1 กก.-คลุกเมล็ดก่อนปลูก  เมล็ดขนาดใหญ่ ใช้เชื้อสด 1-2  ช้อนแกง/เมล็ด 1 กก. 
 



จำนวนครั้งของการใช้
ไม้ผลหรือพืชยืนต้น :

ใส่เชื้อสดผสมปุ๋ยอินทรีย์ช่วงเริ่มปลูก และหว่านใต้ทรงพุ่ม ปีละ 3-4 ครั้งหรือฉีดพ่นน้ำสดเชื้อลงดิน
ปีละ 3-4 ครั้ง หรือมากกว่า  โดยเฉพาะในช่วงที่ดินมี  ความชื้น หรือสามารถให้น้ำแก่พืชได้ ฉีด
พ่นน้ำเชื้อสดส่วนบนของต้นพืช ทุก 1-2 เดือนในช่วงปกติหรือทุก 7-10 วัน ในช่วงโรคระบาด

พืชผัก/ไม้ดอกไม้ประดับ :
หว่านเชื้อสดผสมปุ๋ยอินทรีย์ลงดินหรือฉีดพ่นน้ำเชื้อสดลงดิน หรือส่วนบนของต้นพืชได้ทุกระยะคือ ก่อน
ปลูกพืช ระยะต้นกล้า ระยะออกดอก ระยะติดผล ทุก 5-7 วัน ในช่วงที่เหมาะสมต่อการเกิดโรคและ
การระบาดของโรค หรือทุก 10-14 วัน ในช่วงปกติ
  

การใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาควบคุมโรคส่วนบนของพืช                   
จากรายงานผลการทดลองและข้อมูลที่ได้รับทราบจากเกษตรกรผู้ใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาชนิดสดฉีดพ่น
ลงบนส่วนต่างๆ ของพืชหลายชนิด  พบว่าเชื้อราชนิดนี้สามารถใช้ควบคุมโรคแอนแทรคโนสที่เกิดบน
ผลพริก (โรคกุ้งแห้ง) ที่เกิดจากเชื้อราคอลเลโททริคัม  โรคลำต้นไหม้แห้งของหน่อไม้ฝรั่งที่เกิด
จากเชื้อราโฟมอพซิส เชื้อราโฟมา เชื้อราคอลเลโททริคัม โรคใบจุด-ใบไหม้ของข้าวโพดที่เกิดจากเชื้อ
ราเดรชเลอรา หรือเฮลมินโทสปอเรียม และโรคราน้ำค้างของข้าวโพด  ที่เกิดจากเชื้อราเพอโรโน
สเคลอโรสปอรา
                   

การใช้น้ำสปอร์ของเชื้อราไตรโคเดอร์มาใส่ลงในน้ำยาปลูกเลี้ยงพืชของระบบไฮโดรโพนิกส์ สามารถ
ควบคุมโรครากเน่าของผักสลัดและผักต่างๆ ซึ่งเกิดจากเชื้อราพิเทียมได้ผลดี จากการติดตามผลการใช้
เชื้อสดของเกษตรกรผู้ทำสวนมะนาว พบว่าการฉีดพ่นหรือ               

การรดน้ำสปอร์ของเชื้อราไตรโคเดอร์มาลงดินบริเวณรากใต้ทรงพุ่มทุก 2 เดือน สามารถลด ความ
รุนแรงของการเกิดโรคแคงเกอร์ที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียลงได้ ในกรณีของการควบคุมโรคแอนแทรค
โนสของพริก โรคลำต้นไหม้แห้งของหน่อไม้ฝรั่งและการควบคุมโรครากเน่าของผักสลัดในระบบไฮโดร-
โพนิกส์ ได้รับพิสูจน์ยืนยันผลในเชิงวิชาการบ้างแล้ว สำหรับกรณีอื่นๆนั้น กำลังอยู่ในขั้นตอนของการ
ศึกษากลไกของเชื้อราไตรโคเดอร์มาในการยับยั้งเชื้อสาเหตุโรคหรือควบคุมโรคอยู่
 

การควบคุมโรคข้าวด้วยเชื้อราไตรโคเดอร์มา
                     
การควบคุมโรคข้าวควรเริ่มต้นจากการปลูกข้าวด้วยเมล็ดพันธุ์ข้าวที่สมบูรณ์ เพื่อให้ได้ต้นกล้าที่แข็ง
แรง การแช่เมล็ดข้าวเปลือกในน้ำ 1 คืน ก่อนนำไปแช่ในน้ำเชื้อสดของเชื้อรา
ไตรโคเดอร์มาที่ได้
จากการใช้เชื้อสด 1 กิโลกรัมผสมน้ำ 50 ลิตร ยกถุงเมล็ดพันธุ์ข้าวให้สะเด็ดน้ำเชื้อ ก่อนนำไปบ่มใน
สภาพชื้น (หุ้มข้าว) เพื่อให้เมล็ดงอก วิธีนี้จะช่วยให้ได้กล้าข้าวที่สมบูรณ์แข็งแรง เมื่อนำไปหว่านใน
นาข้าว  เชื้อราไตรโคเดอร์มาจะช่วยปกป้องรากข้าวจากการเข้าทำลายของเชื้อรา และช่วยกระตุ้นการ
เจริญเติบโตของกล้าข้าวได้ด้วย
                     

ในระยะข้าวเริ่มแตกกอ การปล่อยเชื้อราไตรโคเดอร์มาไปตามน้ำที่สูบเข้านา เป็นวิธีที่สะดวก อัตราของ
เชื้อที่ใช้คือ 2 กิโลกรัมต่อไร่ โดยนำเชื้อสดผสมน้ำในถังแล้วกวนให้เชื้อหลุดจากเมล็ดข้าว ก่อนจะตัก
หรือเทตรงบริเวณที่น้ำออกจากปากท่อ ขณะที่สูบน้ำเข้านา เชื้อราไตรโคเดอร์มาจะแพร่กระจายไปทั่ว
ทั้งพื้นที่ ช่วยป้องกันเชื้อราที่เกิดกับกอข้าว เช่น โรคกาบใบแห้ง เนื่องจากสปอร์ของเชื้อราไตรโคเดอร์
มาจะมีน้ำหนักเบาและลอยไปตามผิวน้ำได้ เช่นเดียวกับส่วนขยายพันธุ์ของเชื้อราสาเหตุโรคกาบใบแห้ง
เชื้อราไตรโคเดอร์มาจะยับยั้งเชื้อโรคไม่ให้สามารถเจริญและเข้าทำลายข้าวได้ ทำให้การเกิดโรคกาบใบ
แห้งลดลง
                     

ในระหว่างที่ข้าวกำลังเจริญเติบโตจนถึงระยะตั้งท้อง  การฉีดพ่นข้าวด้วยน้ำเชื้อสด ทุก 10-15 วัน
ด้วยอัตราเชื้อไตรโคเดอร์มาชนิดสด 1 กิโลกรัมต่อน้ำ 200 ลิตร (ผสมน้ำยาจับใบ) จะช่วยป้องกัน
การเกิดโรคใบจุด ใบไหม้ ที่เกิดจากเชื้อราชนิดต่างๆ ได้ ช่วยให้ต้นข้าวมีความแข็งแรง  สามารถ
ออกรวงได้ตามปกติ การฉีดพ่นน้ำเชื้อสด อัตราเดียวกัน หลังจากข้าวออกรวงแล้ว จนถึงก่อนเก็บเกี่ยว
(ปล่อยน้ำออกจากนาข้าว) อีก 1-2 ครั้ง จะช่วยป้องกันการเกิดโรคใบจุดและโรคเมล็ดด่าง ซึ่งเกิด
จากการเข้าทำลายของเชื้อราสาเหตุโรคหลายชนิด ทำให้ได้เมล็ดข้าวที่สมบูรณ์ ช่วยเพิ่มน้ำหนักของ
ผลผลิตโดยรวมได้
 

ข้อควรระวัง
: 
ฟางข้าวที่ได้จากนาข้าวที่ใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา ไม่ควรนำไปใช้ในการเพาะเห็ดใดๆ เพราะเชื้อราไตร
โคเดอร์มาที่ติดอยู่กับฟางข้าวจะแย่งอาหารจากกองเห็ด แล้วเจริญอย่างรวดเร็ว ทำให้เห็ดเจริญไม่ดีเท่า
ที่ควร แต่การกระจายฟางเหล่านี้กลับลงสู่แปลงนา หรือการนำไปใช้คลุมแปลงปลูกผัก จะเกิดประโยชน์
อย่างมาก เพราะเชื้อราไตรโคเดอร์มาจะช่วยทำลายเชื้อสาเหตุโรคพืชในนาหรือแปลงผักจนมีปริมาณลง
ลดได้
 

การควบคุมโรคของหน่อไม้ฝรั่งด้วยเชื้อราไตรโคเดอร์มา
             
การปลูกหน่อไม้ฝรั่งมักประสบปัญหาโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราหลายชนิดประกอบด้วย โรคต้นไหม้แห้ง
(โรคต้นไหม้ หรือ โรคไอ้เหลือง) เกิดจากเชื้อราโฟมอพซิส แอสพาราไจ (Phomopsis
asparagi
) โรคใบเทียมร่วง (โรคลำต้นและใบจุด หรือโรคกิ่งไหม้) เกิดจากเชื้อราเซอโคสปอรา
แอสพาราไจ (Cercospora asparagi) โรคแอนแทรคโนส (โรคตาเสือ) เกิดจากเชื้อรา
คอลเลโททริคัม กลีโอสปอริออยเดส (Colletotrichum gloeosporioides) และโรค
เน่าเปียก เกิดจากเชื้อราโคแอนเนฟอรา (Choanephora sp.)  โรคดังกล่าวมักพบระบาด
รุนแรงในช่วงฤดูฝน หรือเมื่อต้นแก่ สภาพความชื้นสูงส่งเสริมให้เกิดโรคได้ง่าย การสุมกองซากพืชที่
เป็นโรคไว้ในแปลงปลูก หรือรอบๆแปลงปลูก เป็นแหล่งสะสมเชื้อโรคที่สำคัญยิ่ง  และเป็นสาเหตุ
สำคัญที่ทำให้การใช้สารเคมีฉีดพ่นไม่สามารถหยุดยั้งการแพร่ระบาดของโรคได้ การปลูกหน่อไม้ฝรั่ง
ตามระบบเกษตรดีที่เหมาะสม หรือจีเอพี (GAP) มีความจำเป็นต้องลดการใช้สารเคมีควบคุมเชื้อรา
สาเหตุโรคพืชลง  ดังนั้นการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาฉีดพ่นหน่อไม้ฝรั่งทดแทนสารเคมี จึงเป็นทาง
เลือกหนึ่งที่น่าสนใจ
                   

จากผลการทดสอบในห้องปฏิบัติการ และการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาชนิดสดในสภาพแปลงปลูก ให้ผล
ตรงกันคือ การใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาชนิดสดผสมน้ำ อัตรา 1 กิโลกรัมต่อน้ำ 100-200 ลิตร ฉีด
พ่นส่วนบนของต้นหน่อไม้ฝรั่ง และโคนกอจนเปียก ทุก 7-10 วัน 4 ครั้งติดต่อกัน สามารถหยุดยั้ง
การเกิดโรค หรือลดความรุนแรงของโรคต้นไหม้แห้ง โรคกิ่งไหม้ และโรคแอนแทรคโนสลงได้  ทั้งนี้
เนื่องจากเชื้อราไตรโคเดอร์มาทำให้แผลของโรคหยุดการขยายตัวและป้องกันการเกิดแผลใหม่ได้
 

ระยะเริ่มปลูก
                               
1. ใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาสดผสมปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก อัตราเชื้อสด 1 กิโลกรัมต่อปุ๋ยหมัก/ปุ๋ยคอก
100 กิโลกรัม ผสมคลุกเคล้าให้เข้ากัน นำไปใส่บริเวณหลุมปลูก หลุมละ 250 กรัม (2 กำมือ)
คลุกเคล้ากับดินในหลุมปลูกก่อนย้ายกล้าลงปลูก หรืออาจใช้วิธีหว่านปุ๋ยหมัก/ปุ๋ยคอกผสมเชื้อราลงบน
แปลง อัตรา 0.5-1 ตัน/ไร่ แล้วสับคลุกเคล้าลงดิน ก่อนย้ายกล้าลงปลูก

                  
2.  หลังย้ายกล้าลงปลูกจนถึงช่วงเก็บหน่อครั้งแรก (6-8 เดือน)  ใช้เชื้อสดผสมน้ำ อัตรา 1
กิโลกรัมต่อน้ำ 100-200 ลิตร รดหรือฉีดพ่นลงบนต้นและดินรอบๆต้น จนเปียกชุ่ม ฉีดพ่นทุก 1-2
เดือน ติดต่อกันไปเรื่อยๆ จนกว่าจะเริ่มเก็บหน่อ


 
ระยะเก็บหน่อ

 ใช้เชื้อสดผสมน้ำ (1 กิโลกรัม/100 ลิตร) ผสมสารจับใบตามอัตราที่แนะนำฉีดพ่นลงทั้งส่วนบน
ของต้นหน่อไม้ฝรั่งและโคนกอ ฉีดพ่นทุก 7-10 วันตลอดช่วงของการเก็บหน่อ เพื่อป้องกันโรคที่จะ
เกิดกับต้นแม่และหน่อที่แทงขึ้นมาใหม่ เชื้อราไตรโคเดอร์มาไม่มีอันตรายต่อ ผู้ใช้และผู้บริโภค

 
ระยะพักต้น - ระยะเก็บหน่อ                               
1. ฉีดพ่นน้ำเชื้อสดอัตราเชื้อสด 1 กิโลกรัมต่อน้ำ 100-200 ลิตร ลงบนต้นที่งอกใหม่ ทุก 10-
14 วัน เพื่อป้องกันการเข้าทำลายของเชื้อราบนต้นแม่จนถึงระยะเก็บหน่อ
                  

2. ระยะเก็บหน่อควรฉีดพ่นเชื้อราไตรโคเดอร์มาทุก 7-10 วัน และควรใช้เชื้อสดผสมน้ำในอัตรา 1
กิโลกรัมต่อน้ำ 100 ลิตร ผสมสารจับใบ

หมายเหตุ
:
ในช่วงฤดูฝน หรือปลายฤดูฝนต้นฤดูหนาว ควรใช้เชื้อสดผสมน้ำ อัตรา 1 กิโลกรัม ต่อ 100 ลิตร
ผสมสารจับใบ ฉีดพ่นทุก 5-7 วัน เนื่องจากช่วงนี้สภาพแวดล้อมเหมาะสมต่อการเข้าทำลายของเชื้อ
โรคมากที่สุด
     

การควบคุมโรคของพริกและมะเขือเทศด้วยเชื้อราไตรโคเดอร์มา
                
การเตรียมกล้าพริกและมะเขือเทศ
1. เพาะเมล็ดในกระบะหรือแปลงเพาะกล้า

2. ใช้น้ำเชื้อสด ที่เตรียมจากการใช้เชื้อสด 1 กิโลกรัมผสมน้ำ 100-200 ลิตร  ราดลงในกระบะ
หรือแปลงเพาะให้ชุ่มโชก

3. กรณีที่เพาะเมล็ดในหลุมปลูก ให้รดน้ำเชื้อหรือฉีดพ่นน้ำเชื้อลงในหลุมให้ชุ่ม
 


การปลูกกล้าพริกและมะเขือเทศ
1. ใช้เชื้อสดที่ผสมด้วยปุ๋ยอินทรีย์ (ปุ๋ยหมัก/ ปุ๋ยคอก) อัตราเชื้อสด 1 กิโลกรัมต่อปุ๋ยอินทรีย์
100 กิโลกรัม ใส่คลุกเคล้ากับดินในหลุมปลูก ประมาณ 1 กำมือต่อหลุมปลูก

2. ย้ายกล้าลงปลูกในหลุม แล้วรดน้ำ

3. เมื่อครบ 15 วันหลังย้ายกล้า พริกและมะเขือเทศเริ่มออกดอกให้ใช้น้ำเชื้อสด (1 กิโลกรัมต่อ
น้ำ 200 ลิตร)รดหรือฉีดพ่นลงบนทรงพุ่มใบของพริก และฉีดลงดินบริเวณระบบรากของพืชให้ชุ่ม โดย
ใช้อัตราเชื้อ 200 ลิตรต่อไร่

4. เมื่อผลพริกและมะเขือเทศเริ่มพัฒนาเป็นตุ่มแล้ว ให้ฉีดพ่นน้ำเชื้อสดเช่นเดียวกับข้อ 3  ทุก 7-
10 วัน จนกว่าจะเก็บเกี่ยวผลผลิตเสร็จ
 

คำแนะนำและข้อควรระวัง
1. สามารถใส่น้ำหมักชีวภาพและสมุนไพรทุกชนิด ปุ๋ยน้ำ ฮอร์โมน สารเคมีฆ่าแมลง และสารเคมีควบ
คุมเชื้อราร่วมกับน้ำเชื้อสดได้

2. ห้ามใช้สารเคมีควบคุมเชื้อรา คาร์เบนดาซิม และเบโนมิล (เบนเลท) ผสมกับน้ำเชื้อสด

3. ฉีดพ่นน้ำเชื้อสดช่วงบ่าย 3 โมง หรือตอนเย็น

4. ควรให้ดินมีความชื้นเสมอ ก่อนหรือหลังการฉีดพ่นน้ำเชื้อสด


ประโยชน์ของเชื้อราไตรโคเดอร์มา
                     
จากการศึกษาวิจัยพบว่า เมื่อใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา (ยูนิเซฟ) ชนิดสดคลุกหรือแช่เมล็ดพืชก่อนปลูก
หรือฉีดพ่นน้ำเชื้อสดลงบนดินหลังเพาะเมล็ด สามารถป้องกันการเกิดโรคกล้าเน่าได้ผลดีมาก การฉีดพ่น
น้ำเชื้อสดลงบนทรงพุ่มพริกเป็นประจำ (ทุก 7-10 วัน) สามารถป้องกันโรคใบจุด และโรคแอน
แทรคโนส (โรคกุ้งแห้ง) ของใบยอดและผลพริกได้ผลดี  สำหรับการฉีดพ่นน้ำเชื้อสดลงบริเวณโคน
ต้นและลงดินใต้ทรงพุ่มของพริกและมะเขือเทศสามารถป้องกันโรครากเน่าและโคนเน่าของพริกที่เกิด
จากเชื้อราสเคลอโรเทียม (Sclerotium rolfsii) และโรคเหี่ยวที่เกิดจากเชื้อราฟิวซาเรียม
(Fusarium oxysporum) ขณะนี้ ทางโครงการฯสังเกตพบว่าการใช้น้ำเชื้อราไตรโคเดอร์มา
ผสมกับปุ๋ยน้ำ (ปุ๋ยเกล็ดผสมน้ำ) หรืออาหารเสริมของพืช ฉีดพ่นลงบนใบพืช จะช่วยเร่งการเจริญเติบ
โตของพืช และเพิ่มความสมบูรณ์แข็งแรงให้พืชได้  นอกจากนี้มีรายงานในต่างประเทศว่าการใส่เชื้อรา
ไตรโคเดอร์มาลงดิน จะช่วยกระตุ้นให้พริกและมะเขือเทศเกิดความต้านทานต่อโรคใบจุดที่เกิดจากเชื้อ
ราอัลเทอร์นาเรีย (Alternaria sp.) และเพิ่มผลผลิตให้แก่พริกได้
 

การควบคุมโรครากเน่าและโคนเน่าของส้มด้วยเชื้อราไตรโคเดอร์มา
             
การใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาผสมสารเสริมควบคุมโรครากเน่าของส้มที่เกิดจากเชื้อราไฟทอฟธอราในดิน
ปลูกกล้าส้มและกิ่งตอน พบว่าช่วยให้มีต้นรอดตายเพิ่มขึ้น โดยทำให้ประสิทธิภาพของเชื้อโรคลดลง
การใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาร่วมกับสารเคมีเมทาแลคซิล (ครึ่งหนึ่งของอัตราปกติ) พบว่าประสิทธิภาพ
ในการควบคุมโรคเพิ่มขึ้น (จิระเดช และคณะ, 2538) และจากการหว่านเชื้อราไตรโคเดอร์มาผสม
สารเสริมพวกรำข้าวและปุ๋ยหมักปุ๋ยคอกใต้ทรงพุ่มของส้มในสวนเกษตรกร อัตรา 100 กรัม/ ตาราง
เมตร รวม 4 ครั้งในช่วง 24 เดือน พบว่าปริมาณเชื้อราไตรโคเดอร์มาในดินมีปริมาณเพิ่มขึ้น 120-
165 เท่า ในขณะที่เชื้อราไฟทอฟธอราลดลง การฉีดพ่นน้ำเชื้อของเชื้อราไตรโคเดอร์มา (ไม่ผสมสาร
เสริม) อัตรา 100 กรัม/ต้น รวม 4 ครั้ง ในช่วง 2-3 เดือน ก็ให้ผลในทำนองเดียวกันกับการ
หว่านผงเชื้อราไตรโคเดอร์มาผสมสารเสริม (สุณีรัตน์ และคณะ,2540)
 
                      

ในการปลูกส้มควรเริ่มใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาเพื่อป้องกันโรครากเน่าไว้ตั้งแต่เริ่มเตรียมกล้าส้ม ใช้เชื้อ
สดผสมปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก (เชื้อ 1 กิโลกรัม ผสมปุ๋ยหมัก หรือปุ๋ยคอก 100 กิโลกรัม) ใส่ลงใน
ถุงเพาะชำกล้าส้ม อัตรา 10-20 กรัม/ถุง ในช่วงของการย้ายต้นพันธุ์ส้มลงปลูก ควรใส่เชื้อสดผสม
ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก (1:100) ลงในหลุมปลูกส้ม อัตรา 100-200 กรัม/หลุม รองก้นหลุมปลูก
โดยคลุกเคล้าเชื้อผสมปุ๋ยหมักกับดินในหลุมก่อนนำต้นพันธุ์ส้มลงปลูก การแช่กิ่งตอนของส้มในน้ำเชื้อ
สด (เชื้อสด 1 กก. ต่อน้ำ 50 ลิตร) เป็นเวลา 5-10 นาที ก่อนย้ายปลูกลงในถุงเพาะชำหรือ
ปลูกลงแปลง จะช่วยให้เชื้อราไตรโคเดอร์มาติดไปกับรากส้มได้ดียิ่งขึ้น กรณีของต้นพันธุ์ส้มที่ย้ายลง
ปลูกในแปลงแล้ว หรือต้นส้มที่โตแล้ว ควรหว่านเชื้อสดผสมปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก อัตรา 100-200
กรัม/ตารางเมตร หรือฉีดพ่นน้ำเชื้อ (เชื้อสด 1 กิโลกรัม ผสมน้ำ 100-200 ลิตร) ลงในดินบริเวณ
โคนต้นและตรงที่มีรากส้มเจริญอยู่ใต้บริเวณทรงพุ่มทุก 1-2 เดือน
    

การควบคุมโรคของผักกินใบด้วยเชื้อราไตรโคเดอร์มา
                
การเตรียมแปลงปลูก 
                     
หลังการพักแปลงด้วยการตากดินโรยปูนขาว หรือเข้าน้ำท่วมแปลงแล้วจึงเตรียมแปลงปลูกโดยการไถ
พรวนดินและหว่านปุ๋ยหมัก/ปุ๋ยคอกผสมเชื้อราไตรโคเดอร์มาอัตราเชื้อสด 1 กก.ต่อปุ๋ยหมัก/ปุ๋ยคอก
100 กิโลกรัม หว่านให้ทั่วแปลงปลูกอัตรา 0.5-1 ตัน/ไร่ แล้วไถคลุกเคล้ากับดินก่อนหว่านเมล็ด
 
                     
ระยะต้นกล้าถึงเก็บเกี่ยว
                     
หลังจากเมล็ดงอกถึงระยะเก็บเกี่ยว ให้ฉีดพ่นเชื้อราไตรโคเดอร์มาอัตราเชื้อสด 1 กิโลกรัมผสมน้ำ
200 ลิตร กรณีเชื้อราไตรโคเดอร์มาชนิดน้ำใช้ผสมเชื้อน้ำ 1 ลิตรต่อน้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่นทุก 7 วัน
(สามารถฉีดพ่นเชื้อราไตรโคเดอร์มาร่วมกับสารเคมีฆ่าแมลงได้) โดยฉีดพ่นให้ทั่วบริเวณส่วนบนของ
ต้นและฉีดพ่นลงดินบริเวณโคนต้นผักให้ชุ่ม 
                     

คำแนะนำและข้อควรระวัง
1. สามารถใส่น้ำหมักชีวภาพและสมุนไพรทุกชนิด ปุ๋ยน้ำ ฮอร์โมน สารจับใบสารเคมีฆ่าแมลง และ
สารเคมีควบคุมเชื้อราร่วมกับน้ำเชื้อสดได้

2. ห้ามใช้สารเคมีควบคุมเชื้อรา คาร์เบนดาซิม และเบโนมิล (เบนเลท) ผสมกับน้ำเชื้อสด

3. ฉีดพ่นน้ำเชื้อสดช่วงบ่าย 3 โมง หรือตอนเย็น

4. ควรให้ดินมีความชื้นเสมอ ก่อนหรือหลังการฉีดพ่นน้ำเชื้อสด
 



การควบคุมโรคของขิง ข่า ขมิ้นชันและกระชายด้วยเชื้อราไตรโคเดอร์มา
การเตรียมแปลงปลูก

1. พักแปลงด้วยการไถตากดินประมาณ 1-2 เดือน


2. อบดินฆ่าเชื้อแบคทีเรียด้วยการผสมปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) และปูนขาวอัตรา ยูเรีย 1 กก.
ผสม
ปูนขาว 8-10 กก. โรยบริเวณร่องปลูกอัตรา 800-1000 กก./ไร่ กลบดินและรดน้ำให้ความชื้น
ทิ้งไว้ไม่ต่ำกว่า 15 วัน


3. ไถพรวนดินและหว่านปุ๋ยหมักผสมเชื้อราไตรโคเดอร์มาอัตราเชื้อสด 1 กก.ผสมปุ๋ยหมัก/ปุ๋ยคอก
100 กก. หว่านให้ทั่วแปลงปลูกอัตรา 1-2  ตัน/ไร่

4. ชุบหรือแช่ท่อนพันธุ์ก่อนปลูกด้วยเชื้อราไตรโคเดอร์มาสดผสมน้ำอัตรา 1 กก./น้ำ 50 ลิตร
กรณีเชื้อราไตรโคเดอร์มาชนิดน้ำใช้อัตราเชื้อน้ำ 1 ลิตร/น้ำ 50 ลิตร โดยแช่ท่อนพันธุ์นาน 15-30
นาทีก่อนปลูก


 
5. หลังปลูกท่อนพันธุ์แล้ว ให้ฉีดพ่นเชื้อราไตรโคเดอร์มาสดผสมน้ำอัตรา 1 กก./น้ำ200 ลิตรให้
ชุ่มบริเวณที่ปลูกท่อนพันธุ์ลงไป กรณีเชื้อราไตรโคเดอร์มาชนิดน้ำใช้อัตราเชื้อน้ำ 1 ลิตร/น้ำ 200 ลิตร
                       
ระยะเจริญเติบโตถึงเก็บเกี่ยว
                     
1. หลังปลูกท่อนพันธุ์อายุ 1 เดือน ฉีดพ่นเชื้อราไตรโคเดอร์มาสดผสมน้ำอัตราเชื้อสด 1 กก.ผสม
น้ำ 200 ลิตร กรณีเชื้อราไตรโคเดอร์มาชนิดน้ำใช้อัตราเชื้อน้ำ 1 ลิตรผสมน้ำ 200 ลิตร ต่อจากนั้น
ฉีดพ่นทุกเดือน (สามารถฉีดพ่นเชื้อราไตรโคเดอร์มาร่วมกับสารเคมีฆ่าแมลงได้) โดยฉีดพ่นให้ทั่ว
บริเวณส่วนบนของต้นและฉีดพ่นลงดินบริเวณกอให้ชุ่ม 
                     

2. เมื่อขิง ข่า ขมิ้นชันและกระชายอายุ 4 เดือน ใส่ปุ๋ยหมักผสมเชื้อราไตรโคเดอร์มาอัตราเชื้อสด 1
กก.ผสมปุ๋ยหมัก/ปุ๋ยคอก 100 กก. โดยการใส่ปุ๋ยหมักผสมเชื้อราไตรโคเดอร์มาควรทำควบคู่กับ
การพูนโคนด้วยเสมอ

หมายเหตุ
 
สำหรับสวนที่มีการให้น้ำด้วยระบบพ่นฝอย (สปริงเกลอร์) สามารถใช้เชื้อสดผสมน้ำหรือเชื้อน้ำอัตรา
เชื้อสด 1-2 กก./ไร่ หรือเชื้อน้ำ 1-2 ลิตร/ไร่



 www.cedis.or.th/cedisnew/project/project1/trico.rtf                                                                                                                                           ( 







หน้าก่อน หน้าก่อน (1/2)


สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-05-10 (9605 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©