-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 692 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

จุลินทรีย์




หน้า: 1/2





เกษตรอินทรีย์ด้วยเทคนิคจุลินทรีย์ท้องถิ่น
เกษตรอินทรีย์ด้วยเทคนิคจุลินทรีย์ก็คือการทำการเกษตรอินทรีย์ที่ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ คือ ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก และปุ๋ยพืชสดเป็นหลัก ไม่ใช้ปุ๋ยเคมีและยาปราบศัตรูพืชที่เป็นสารเคมีนั้นเอง ต่างกันที่เกษตรธรรมชาติด้วยเทคนิคจุลินทรีย์ ท้องถิ่นการใส่จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ที่ผลิตขึ้นในท้องถิ่น ลงในไปดินและฉีดพ่นให้แก่พืชด้วย

 

 
กลุ่มจุลินทรีย์หมัก-ดอง
ตามประวัติความเป็นมาของเกษตรธรรมชาติของประเทศเกาหลีมีว่า ได้มีผู้นำเอาน้ำที่ได้จากการทำผักดอกของเกาหลีที่เรียกว่า "กิมจิ" ไปรดต้นไม้ ปรากฏว่าทำให้ต้นไม้งามดี ต่อมาเราทราบว่า ในน้ำผักดองนั้นประกอบด้วยจุลินทรีย์หมักดอง และสารอินทรีย์ต่างๆ ที่จุลินทรีย์ผลิตขึ้นมากมาย สารอินทรีย์เหล่านั้นล้วนเป็นประโยชน์ต่อพืช ทั้งทางตรงและทางอ้อม ซึ่งได้แก่ เอนไซม์ ฮอรโมน และธาตุอาหารต่างๆ เช่น กรดอะมิโน และไวตามิน เป็นต้น

เอนไซม์ คือสารอินทรีย์ที่พืชและสัตว์ รวมทั้งจุลินทรีย์ที่สร้างขึ้น มีหน้าที่ช่วยมการทำงานของทุกระบบในสิ่งที่มีชีวิตทั้งหมด สิ่งมีชีวิตจะมีชีวิตอยู่ไม่ได้ถ้าขาดเอนไซม์

เอนไซม์ บางชนิดทำหน้าที่ย่อยอาหารในคนและสัตว์ จุลินทรีย์ผลิตเอนไซม์เพื่อย่อยอินทรีย์วัตถุให้เป็นสารอินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ต่อจุลินทรีย์เองและต้นไม้ ในการทำไวน์ ทำเนยแข็ง ก็ต้องอาศัย เอนไซม์เปลี่ยนน้ำองุ่นให้เป็นไวน์ เปลี่ยนนมสดให้เป็นเนยแข็ง ผงซักฟอกบางยี่ห้องมีผสมเอนไซม์บริสุทธิ์ที่สกัดได้จากจุลินทรีย์ เพื่อช่วยในการย่อยสลายโปรตีน และไขมันที่เปรอะเปื้อนเสื้อผ้า

ยางมะละกอมีเอนไซม์ช่วยในการย่อยโปรตีน เมื่อนาไปคลุกกับเนื้อจะช่วยให้เนื้อนุ่ม แสงหิ่งห้อยก็เกิดจากการทำงานของเอนไซม์ และสิ่งมหัศจรรย์อีกมากมายของธรรมชาติที่เกิดจากการทำงานของเอนไซม์
ฮอร์โมน เป็นสารอินทรีย์อีกชนิดหนึ่งที่พืช สัตว์ และจุลินทรีย์สร้างขึ้น เพื่อทำหน้าที่กระตุ้นการทำงานของส่วนต่างๆ ของสิ่งมีชีวิต ในคนและสัตว์เรารู้จักฮอร์โมนเพศ และฮอร์โมนกระตุ้นการเจริญเติบโต ฮอร์โมนในพืชที่เราคุ้นเคยกันดี ได้แก่ ฮอร์โมนเร่งราก ฮอร์โมนเร่งการงอกของเมล็ด จุลินทรีย์ก็สามารถผลิตฮอร์โมนต่างๆ ได้เช่นเดียวกับพืชและสัตว์ ในอดีตเราต้องสกัดฮอร์โมนกระตุ้นการเจริญเติบโตจากต่อมใต้สมองของสัตว์เพื่อนำไปใช้ในการแพทย์ ปัจจุบันด้วยเทคโนโลยีชีวภาพ เราสามารถสกัดได้จากจุลินทรีย์

ธาตุอาหารต่างๆ สัตว์ไม่สามารถสังเคราะห์เองได้ จำเป็นต้องกินธาตุอาหารครบทั้ง 5 หมู่ คืออาหารพวกแป้ง ไขมัน โปรตีน ไวตามิน และแร่ธาตุ ผิดกับพืชและจุลินทรีย์ ที่สามารถสังเคราะห์อาหารขึ้นเองได้ โดยไม่จำเป็นต้องมีธาตุอาหารครบทั้ง 5 หมู่
พืชที่เจริญเติบโตได้ 90% ได้รับอาหารจากการสังเคราะห์แสงของสารสีเขียว หรือคลอโรฟีล กับก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์ และน้ำ และพลังงานจากแสงแดด พืชได้รับแร่ธาตุจากดิน แร่ธาตุ ส่วนใหญ่จะทำหน้าที่เป็นส่วนประกอบของเอนไซม์ต่างๆ หลายชนิดในต้นพืช

จุลินทรีย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีความสามารถพิเศษ สามารถมีชีวิตและขยายพันธุ์ได้โดยอาศัยอินทรีย์วัตถุเป็นแหล่งอาหาร จุลินทรีย์หลายชนิดอย่รวมกันและอาศัยพึ่งพาซึ่งกันและกัน จุลินทรีย์มีความทนทานเป็นพิเศษ สามารถมีชีวิตอยู่ได้แม้ในสภาพแวดล้อมที่ร้อนจัด หรือเย็นจัด หรือแห้งแล้งจัด

ด้วยเทคนิคจุลินทรีย์ การปลูกพืชไม่จำเป็นต้องใช้ปุ๋ยอินทรีย์ เพราะพืชสามารถสังเคราะห์อาหารเองได้เกือบทั้งหมด ส่วนที่ขาดก็จะได้จากการย่อยสลายของอินทรีย์วัตถุที่ได้จากซากพืช ซากสัตว์ในดิน ด้วยการทำงานของจุลินทรีย์เอง และพืชก็จะได้รับประโยชน์ด้วยจากการดูดเข้าไปทางรากในรูปของสารอินทรีย์ต่างๆ เช่น กรดอะมิโน, กลูโคลส, ไวตามิน, ฮอร์โมนและแร่ธาตุ เป็นต้น จุลินทรีย์บางชนิดยังเข้าไปอยู่ในปมรากของพืชตระกูลถั่ว และสามารถตรึงธาตุไนโตรเจนจากอากาศ มาสร้างเป็นส่วนประกอบของอาหารโปรตีนให้แก่พืชได้อีก จึงทำให้พืชตระกูลถั่วประกอบด้วยโปรตีนในปริมาณที่สูงกว่าพืชชนิดอื่นๆ


ที่มา  :  ศูนย์ปฏิบัติการเกษตรอินทรีย์ จ.สุรินทร์






หน้าถัดไป (2/2) หน้าถัดไป