-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 460 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

จุลินทรีย์




หน้า: 2/2




จุลินทรีย์ในพื้นที่หรือ IMO (lndigenous Micro-organism)  

   ในธรรมชาติจุลินทรีย์จะมีอยู่ทั่วไปแต่จุลินทรีย์ที่เราจะนำมาใช้ตามเทคโนโลยีของสมาคมเกษตรธรรมชาติเกาหลีนั้นจะมีมากในแหล่งที่มีใบไม้หล่นทับถมกัน จุลินทรีย์ IMO ที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดจะอยู่ใต้กอไผ่ เพราะระบบรากของไผ่มีรสหวาน จุลินทรีย์ของเราชอบความหวานที่สุด เราจะพบว่าเราสามารถเก็บจุลินทรีย์ IMO ได้ทั่วไป เช่นในดงไผ่ ในป่า ในสวนใกล้ ๆบ้าน แม้แต่บนบ้านก็เก็บจุลินทรีย์ได้เพราะมีอยู่ทั่วไป



วิธีการเก็บจุลินทรีย์ในพื้นที่


เราสามารถเก็บจุลินทรีย์ในพื้นที่ได้โดยใช้กล่องไม้สี่เหลี่ยมสูงประมาณ 10 เซ็นติเมตร ใส่ข้าวเจ้าที่หุงสุกค่อนข้างแห้ง หนาไม่เกิน 7 เซ็นติเมตร เพราะถ้าข้าวหนาเกิน 7 เซนติเมตร จุลินทรีย์ที่เราต้องการจะตายเพราะขาดออกซิเจน จุลินทรีย์ที่เราจะเก็บไปใช้นี้เป็นจุลินทรีย์ที่ต้องการออกซิเจน (aerobic micro-organism) เราไม่เลือกใช้จุลินทรีย์ที่ไม่ต้องการออกซิเจน เราจึงต้องมีที่สำหรับให้ออกซิเจนอยู่เพื่อให้มันหายใจ เพราะเมื่อเรานำเอาจุลินทรีย์ที่ต้องการออกซิเจนไปใช้ในดิน มันก็จะสร้างบ้านของมันให้มีที่สำหรับออกซิเจนเพื่อตัวมันเองจะได้หายใจได้ จะได้ดำรงชีวิตอย่างเหมาะสม รากต้นไม้ซึ่งต้องการออกซิเจนเหมือนกันก็จะได้อาศัยออกซิเจนที่จุลินทรีย์ IMO สร้างขึ้นด้วย เท่ากับว่ามันได้ใช้ประโยชน์จากออกซิเจนเพื่อชีวิตของมันเองและเผื่อไปถึงต้นไม้ด้วย มีเคล็ดลับอยู่อย่างหนึ่งว่าเวลาตักข้าวใส่กล่องต้องใส่ให้โปร่ง อย่าให้ข้าวเป็นก้อน อย่าใช้มือแตะต้อง ใช้ทัพพีตัก เกลี่ยข้าวอย่างเบามือ อย่ากดอัด ใช้กระดาษปิดแทนการใช้ฝาและผูกด้วยเชือกให้แน่น อย่าให้น้ำเข้าได้ เราอาจจะใช้ผ้าพลาสติกก็ได้เพื่อกันน้ำ ทิ้งกล่องไว้ใต้กองใบไม้ แล้วควรใช้ผ้าพลาสติกผืนใหญ่คลุมกองใบไม้ไว้อีกชั้นหนึ่ง เอาก้อนหินทับ 4 มุมกันลมพัด ถ้าต้องการป้องกันหนูให้ใช้ตะแกรงลวดคลุมทับพลาสติกอีกชั้นหนึ่ง ที่เมืองไทยอากาศร้อนและความชื้นสูง ไม่ควรทิ้งกล่องไว้เกิน 3 วัน ถ้าน้ำเข้าได้จะเกิดจุลินทรีย์สีดำ ก่อนที่จะกลายเป็นตัวแก่สีดำมันจะมีสีชมพูส้ม เป็นจุลินทรีย์ที่ไม่ต้องการออกซิเจน เราจะใช้มันสำหรับใส่ในดินที่มีการไถพรวนลึก ๆ เนื่องจากว่ามันเป็นจุลินทรีย์ที่ไม่ต้องการออกซิเจน มันจะหนีออกซิเจนลงไปในดินในส่วนที่ออกซิเจนเข้าไปไม่ถึงโดยการแทรกตัวลงไปในดิน ก็เท่ากับว่ามันช่วยซุยดินให้เราโดยที่เราไม่ต้องไปไถ




วิธีใช้ประโยชน์จากจุลินทรีย์ในพื้นที่
จุลินทรีย์ IMO นี้ จะเป็นองค์ประกอบหลักในการทำดินหมัก หลังจากหมกกล่องข้าวไว้ 3 วัน จุลินทรีย์ IMO จะฟักตัวบนข้าวเป็นแพสีขาวหนา ให้นำเอาข้าวที่เก็บมาไปขยำผสมกับน้ำตาลแดงในอัตราส่วนเท่า ๆ กัน เราจะได้น้ำข้นสีแดงเข้ม เสร็จแล้วเก็บไว้ในภาชนะทึบแสงเอากระดาษปิด ผูกเชือกทิ้งไว้ 3 วัน เวลาใช้ให้ผสมน้ำในอัตราส่วน 1:1,000 (IMO1ส่วน:น้ำ1,000 ส่วน) แล้วคลุกผสมกับรำข้าว สัดส่วนที่เหมาะสมจะกำหนดได้ยาก เราต้องทดลองกำดู ผสมแล้วกำไว้ เมื่อคลายมือแบออกก้อนรำผสมนั้นจะอยู่คงรูป ถ้าส่วนผสมเหลวเกินไปเพราะน้ำมากไปเราจะต้องเติมรำเข้าไปคลุกอีกจนได้ลักษณะที่ต้องการ

ส่วนผสมที่เราทำขึ้นนี้จะเป็นเชื้อดินหมักที่เราจะใช้สำหรับเอาไปโรยบนดินที่ต้องการทำการเพาะปลูก เมื่อผสมแล้วเราต้องเอาฟางคลุมทิ้งไว้อีก 7-10 วัน เชื้อดินหมักจะได้ที่ ฟางที่คลุมนั้นถ้าสานเป็นเสื่อฟางได้จะดีมาก จุลินทรีย์ IMO ชอบนอนใต้ฟาง กองเชื้อดินหมักนี้ต้องทำในร่ม ใต้หลังคา อย่าให้ถูกฝนถูกน้ำ จากนั้นเอาดินในพื้นที่ของเราน้ำหนักเท่ากับเชื้อดินหมัก คลุกเคล้าให้เข้ากัน ทำเป็นกอง เอาฟางคลุมไว้ดังเดิม ทิ้งไว้อีก 3 วันแล้วจึงนำไปใช้โรยในไร่นาเพื่อเตรียมดินทำการเพาะปลูกได้ งานนี้จะช่วยประหยัดแรงงานได้มากทีเดียว
                                                          
http://www.budmgt.com/agri/agri01/imo.html







IMO จุลินทรีย์ท้องถิ่น

IMO : Indigenous Microorganism เป็นจุลินทรีย์ที่เราได้จากท้องถิ่นของเราเอง ในสวนของเราเอง



จุลินทรีย์ท้องถิ่น (IMO: Indigenous Microorganism)


เป็นจุลินทรีย์ที่เราได้จากท้องถิ่นของเราเอง ในสวนของเราเอง เพราะผมคิดว่าจุลินทรีย์ก็เหมือนกับสัตว์ การที่เราเอาสัตว์ต่างถิ่นมาเลี้ยงมันย่อมไม่เหมาะกัน ทั้งสภาพอากาศ อุณหภูมิ ความชื้น อาหาร การที่เราเอาจุลินทรีย์ต่างถิ่นที่ถูกวิจัยว่ามีความสามารถสูง แต่พอเอามาไว้ในถิ่นที่มันไม่คุ้นเคย มันอาจจะลดความสามารถลงก็ได้ แต่ถ้าเป็นจุลินทรีย์ที่มีในท้องถิ่นอยู่แล้ว คุ้นเคยกับสภาพอากาศ อุณหภูมิ ความชื้น อาหาร อยู่แล้วย่อมไม่มีปัญหา  จุลินทรีย์ท้องถิ่น ช่วยในการย่อยสลายอินทรีย์วัตถุที่มีอยู่ในดินทั้งบนผิวดินและใ ต้พื้นดิน IMO จัดเป็นจุลินทรีย์ที่อยู่ในประเภทจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ ช่วยในการกำจัดจุลินทรีย์ที่ไม่มีประโยชน์หรือจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโทษ (จุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดการเน่าเหม็นต่างๆ) ช่วยให้พืชสามารถนำธาตุอาหารต่างๆไปใช้ได้สะดวก ทำให้พืชแข็งแรง และเจริญเติบโตได้ดียิ่งขึ้น

วิธีการทำหัวเชื้อจุลินทรีย์ท้องถิ่น ที่ค้นหามามีอยู่หลายวิธีครับเป็นวิธีที่สามารถทำได้ไม่ยากนัก แล้วผมลองสรุปออกเป็นขั้นตอน

ขั้นตอนที่ 1 ขั้นตอนการคัดสรรจุลินทรีย์ท้องถิ่น
วัสดุที่ใช้
1. ข้าวเจ้า 2 ลิตร (หุงด้วยน้ำเสมอกับข้าวสาร ให้ออกมาแข็งหน่อย ทิ้งให้เย็น 1-2 ชั่วโมง)
2. กล่องพลาสติกใส ที่ลึกไม่เกิน 5 นิ้ว
3. ผ้าขาวบาง
4. เชือกรัด
5. ผ้าพลาสติกหรือถุงพลาสติก

วิธีทำ
1. นำข้าวสวยใส่ลงในกล่องพลาสติก โดยให้หนาประมาณ 1-2 นิ้ว แล้วห่อด้วยผ้าขาวบางมัดด้วยเชือกพอหลวมๆ
2. ขุดหลุมที่ใต้กองใบไม้ที่มีการเน่าเปื่อย ให้กว้างยาวลึกเท่ากับขนาดของกล่องพลาสติก แล้วนำกล่องใส่ข้าว วางลงในหลุม แล้วคลุมปากหลุมด้วยใบไม้ที่มีอยู่เดิม ควรทำในช่วงเย้นที่อากาศไม่ร้อนนัก ถ้าทำในช่วงฤดูฝน ให้ใช้ผ้าพลาสติกคลุมทับอีกชั้นเพื่อกันฝน ทิ้งไว้ประมาณ 3-5 วัน

สิ่งที่ได้คือ ข้าวจะมีเชื้อราขึ้น เป็นราสีต่างๆ เช่น สีขาว, สีดำ, สีเหลือง-เขียว เป็นต้น ให้เขี่ยเอาเฉพาะเชื้อราสีขาว เพราะเป็นเชื้อราที่จัดว่าเป็นประโยชน์ไม่เกิดโทษ หรือไม่สร้างสารพิษ เท่านี้ก็จะได้เชื้อจุลินทรีย์ท้องถิ่นมาแล้ว

ขั้นตอนที่ 2 ขั้นตอนการขยายเชื้อ
วัสดุที่ใช้
1. กล้วยน้ำว้าสุกงอม แต่ไม่เน่าเสีย 3 กิโลกรัม บดหรือสับ
2. น้ำตาลทรายแดงหรือน้ำอ้อย 1 กิโลกรัม ต้มกับน้ำฝน 10 ลิตร ทิ้งให้เย็น(น้ำต้องปราศจากเคมีเช่นคลอลีน ถ้าจำเป็นต้องใช้น้ำปะปา ต้องทิ้งน้ำไว้ 2-3 วันก่อนนำมาใช้)
3. ถังพลาสติกกันแสงและมีฝาปิดสนิท ขนาดพอใช้หมักวัสดุ ทั้งหมด
4. ข้าวที่มีเชื้อราจาก ขั้นตอนการคัดสรรจุลินทรีย์ท้องถิ่น

วิธีทำ
นำวัสดุทั้งหมด ผสมเข้าด้วยกัน ในถังพลาสติกกันแสง  แล้วนำข้าวที่มีเชื้อรามาเขี่ยราสีขาวใส่ลงไป (พยายามทำขั้นตอนต่างๆ ให้เร็วและสะอาดที่สุดเท่าที่จะทำได้ เช่น พอน้ำเชื่อมเย็นแล้วบดกล้วย เข้าผสม ไม่ควรบดไว้ก่อนแล้วทิ้งไว้ เพราะอาจจะมีจุลินทรีย์ที่เราไม่ต้องการปะปนมากเกินไป) ปิดฝาให้สนิท หมักทั้งไว้ 45 อาจเปิดฝาทุกๆ 15 วันเพื่อระบายแก๊สเท่านั้น ไม่ต้องเปิดทิ้งไว้ เนื่องจากจุลินทรีย์ท้องถิ่น เป็นจุลินทรีย์ที่ไม่ใช้ออกซิเจนในกระบวนการย่อยสลาย เมื่อเปิดฝาดมดูหากมีกลิ่นหอมอมเปรี้ยวอมหวาน แสดงว่า จุลินทรีย์กำลังเจริยเติบโต หากเหม็นเน่าแสดงว่าเน่าเสียใช้การไม่ได้ เมื่อหมักครบ 45 วัน แล้วกรองกากออก จึงเอาน้ำที่ได้ไปใช้

วิธีการใช้
น้ำจุลินทรีย์ผสมกับน้ำในอัตราส่วน 1:500 หรือ 1:1000 นำไปฉีดพ่น โคนต้นไม้, กองปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก, กองมูลเล้าไก่เล้าหมู จุลินทรีย์จะช่วยย่อยสลาย ทำให้กองมูลไม่มีกลิ่นเหม็น โดยรดให้ทั่วทุก 5-7 วัน



อ้างอิง :
http://www.bankaset.com

สินค้าจากฟาร์มเกษตรที่เกี่ยวข้อง
IMO จุลินทรีย์ประสิทธิภาพสูง กำจัดเชื้อราในดิน แก้ปัญหาโรคราในยางพารา เร่งการย่อยสลายใบไม้ในสวนยาง
คลิกที่นี่

หากเนื้อหาเป็นประโยชน์ อย่าลืมกด +1 ให้กับเนื้อหานี้นะคะ...


http://www.farmkaset.org/contents/default.aspx?content=00423







หน้าก่อน หน้าก่อน (1/2)


สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-05-10 (5220 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©