-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 288 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

จุลินทรีย์





ปุ๋ยอินทรีย์ ตอน  ปุ๋ยคอก-ปุ๋ยพืชสด


ปุ๋ยคอก
(Farm Manure) หมายถึง ปุ๋ยอินทรีย์ที่ประกอบด้วย อุจจาระ ปัสสาวะของสัตว์ต่างๆ เช่น โค กระบือ เป็ด ไก่ แพะ แกะ ค้างคาว และสัตว์อื่นๆ ผสมกับเศษอาหารต่างๆ เข้าไปด้วย ในปุ๋ยคอกจึงมีจุลินทรีย์อินทรีย์ต่างๆ มากมาย มีทั้งพวกที่เป็นฮิวมัสแล้ว และส่วนของอาหารที่ยังสลายตัวไม่หมด มีทั้งส่วนที่เป็นเซลลูโลสลิกนินและสารอินทรีย์อื่นๆ นอกจากนั้นยังพบว่ามีวิตามินและฮอร์โมนพืช เช่น กรดอะมิโน ไทอามีน (Thiamine) ไบโอดิน (Biotin) และไพริด็อกซิน (Pyridoxine)


ในประเทศไทยนอกจากการทำการเกษตรด้านการเพาะปลูกพืชแล้ว ยังมีการเลี้ยงสัตว์ด้วยโดยเฉพาะการเลี้ยงสุกร วัว ควาย และไก่ จะมีการเลี้ยงกันอย่างแพร่หลายทั่วทุกภาคของประเทศไทย ซึ่งการเลี้ยงสัตว์ต่างๆ ดังกล่าวจำนวนมาก ทำให้ได้มูลสัตว์ในปริมาณมากด้วย ซึ่งมูลจากสัตว์ต่างๆ เหล่านั้น เมื่อนำมาผ่านกระบวนการหมักแล้ว จะได้ปุ๋ยคอกที่สามารถนำมาใช้ในพื้นที่เพาะปลูกทางการเกษตรได้อย่างดี


ตารางแสดงปริมาณปุ๋ยคอกที่ได้จากการเลี้ยงสัตว์ชนิดต่างๆ ในประเทศไทย

ชนิดสัตว์

ปริมาณมูลที่ได้ต่อตัวต่อวัน (กิโลกรัม)

ประมาณมูลที่ได้ต่อปี (พันตัน)

โค

19

10,317

กระบือ

27

5,600

สุกร

2.7

4,596

เป็ด

0.03

4,019

ไก่

0.03

535


ปุ๋ยคอกแม้ว่าจะมีปริมาณธาตุอาหารอยู่สูง แต่เป็นอินทรียวัตถุที่ถูกจุลินทรีย์เข้าย่อยสลายให้เกิดเป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สูญเสียไปกับน้ำหรือระเหยไปได้ง่าย ธาตุอาหารพืชในปุ๋ยคอกจะสามารถเปลี่ยนเป็นก๊าซและสูญเสียไปโดยการระเหยได้ สำหรับธาตุที่ไม่เปลี่ยนเป็นก๊าซจะสูญเสียโดยการละลายในน้ำได้ เช่น ธาตุไนโตรเจนที่มักอยู่ในรูปของก๊าซแอมโมเนีย


ตารางแสดงปริมาณธาตุอาหารพืชที่มีในปุ๋ยคอกแต่ละชนิด

ประเภทของปุ๋ยคอก

N (%)

P2O5 (%)

K2O (%)

โค

1.91

0.56

1.40

กระบือ

1.23

0.69

1.66

ไก่

3.77

1.89

1.76

เป็ด

2.15

1.33

1.15

สุกร

3.11

12.20

1.84

ค้างคาว

5.28

8.42

0.58

นกนางแอ่น

2.04

1.66

1.83

แกะ

2.33

0.83

1.31

ม้า

2.80

1.36

1.18





ปุ๋ยพืชสด
(Green Manure) หมายถึง ปุ๋ยอินทรีย์ที่เกิดจากการไถกลบพืชที่ปลูกอยู่ในแปลงซึ่งส่วนมากจะเป็นพืชตระกูลถั่ว ในขณะที่พืชนั้นกำลังเจริญเติบโตและยังสดอยู่ในระยะเริ่มออกดอก เมื่อพืชนั้นถูกไถกลบแล้วก็จะถูกย่อยสลายโดยจุลินทรีย์ในดิน และปลดปล่อยธาตุอาหารพืชออกมา


พืชที่เหมาะสมจะนำมาปลูกเป็นปุ๋ยพืชสด ควรเป็นพืชที่เจริญเติบโตรวดเร็ว ไม่ต้องดูแลมาก ทนแล้งทนต่อโรคแมลงศัตรูพืชดี แข่งขันกับวัชพืชได้ดี มีระบบราก ใบ และลำต้นที่เจริญแพร่กระจายสามารถสังเคราะห์แสง และเก็บสะสมธาตุอาหารได้เร็วและดี เติบโตได้ดีในดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ และไม่เป็นพิษต่อพืชปลูกชนิดอื่นๆ เมล็ดราคาไม่แพง และหาได้ง่าย ตัวอย่างเช่น พืชตระกูลถั่ว เช่น ถั่วพุ่ม ถั่วเขียว ถั่วอัญชัน ถั่วแปบ ถั่วลาย ปอเทือง โสนอัฟริกัน โสนอินเดีย เป็นต้น และพืชที่ไม่ใช่พืชตระกูลถั่ว เช่น ข้าวโพด ข้าวฟ่าง ข้าวไรย์ ข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์ และพืชตระกูลหญ้าชนิดอื่นๆ


การปลูกพืชที่จะทำเป็นปุ๋ยพืชสดจะไม่ค่อยพิถีพิถันมาก โดยทั่วไปจะทำการปลูกโดยใช้เมล็ดหว่านประมาณ 3-4 กิโลกรัมต่อไร่ (โดยจำนวนเมล็ดต่อไร่ที่ใช้อาจแตกต่างกันตามขนาดของเมล็ด ลักษณะทรงพุ่มและอัตราการงอก) ไถกลบแล้วให้ความชื้นตาม เพื่อให้เมล็ดงอกและเจริญเตอบโต เมื่อถึงระยะที่พืชใกล้ออกดอกจึงจะใส่ธาตุฟอสฟอรัสและโพแทสเซียมลงไปเล็กน้อย โดยไม่จำเป็นต้องดูแลในเรื่องวัชพืชหรือโรคและแมลง


การไถกลบจะทำการไถกลบในขณะที่พืชเจริญเติบโตเต็มที่ และกำลังจะออกดอก ซึ่งเป็นระยะที่พืชจะมีการสะสมธาตุอาหารพืชอย่างเต็มที่ โดยจะมีธาตุไนโตรเจนในระยะนี้สูงสุด และเป็นระยะที่พืชไม่แก่มาก เนื้อเยื่อจะเน่าสลายตัวได้ง่ายเมื่อทำการไถกลบ เมื่อไถกลบแล้วจะปล่อยพืชดังกล่าวให้เนาสลายประมาณ 15-20 วัน จึงปลูกพืชหลักตาม สำหรับพืชที่ไม่ใช่พืชในตระกูลถั่ว เมื่อไถกลบแล้วควรเติมธาตุไนโตรเจนประมาณ 4-5 กิโลกรัมต่อไร่ เพื่อใช้เป็นสารอาหารให้แก่จุลินทรีย์ในการช่วยย่อยสลายเศษพืชสดที่ไถกลบ สำหรับพืชตระกูลถั่วไม่จำเป็นต้องเพิ่มธาตุไนโตรเจน เนื่องจากมีไรโซเบียมในบริเวณรากที่สามารถตรึงไนโตรเจนได้เพียงพออยู่แล้ว


การใช้ปุ๋ยพืชสดจะเป็นการเพิ่มปริมาณอินทรียวัตถุ แร่ธาตุ และความอุดมสมบูรณ์แก่ดินในเวลารวดเร็ว การสลายตัวของพืชจะได้กรดคาร์บอนิก ซึ่งช่วยให้แร่ธาตุอาหารพืชต่างๆ ละลายได้ดีขึ้นนอกจากนี้ยังได้สารอินทรีย์ที่คงความเป็นประโยชน์ได้นาน อีกทั้งยังช่วยเพิ่มความเข้มข้นของคาร์บอนไดออกไซด์ในส่วนใต้ดินส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช




ที่มา : แนวคิด หลักการ เทคนิคปฎิบัติในประเทศไทย เกษตรธรรมชาติ ประยุกต์
โดย รศ. ดร.อานัฐ ต้นโช

http://www.maejonaturalfarming.org









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-05-10 (2916 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©