-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 370 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

ฮอร์โมน




หน้า: 1/2


กำลังปรับปรุงครับ


ฮอร์โมนพืช (เรียบเรียงโดย :ดร. ปิยะ เฉลิมกลิ่น)

ฮอร์โมนพืช เป็นสารประกอบอินทรีย์ที่สร้างขึ้นภายใต้ต้นพืช เพื่อใช้ควบคุมการเจริญเติบโต ถึงแม้ว่าจะมีปริมาณเพียงเล็กน้อยก็สามารถ เปลี่ยนแปลงปฏิกิริยาทางเคมีภายในต้นพืชได้
ฮอร์โมนพืชมีมากมายหลายชนิด แต่ละชนิดมีผลต่อการเจริญ เติบโตของพืชแตกต่างกัน พอจำแนกออกเป็นกลุ่มได้ดังนี้


1. ออกซิน (auxins) พืชจะสร้างขึ้นมาที่บริเวณยอดอ่อนและลำเลียง ไปใช้ในส่วนอื่นๆ ของพืช เช่น IAA (indole acetic acid) ทำหน้าที่ เร่งความเจริญเติบโต โดยจะกระตุ้นการขยายตัวของเซลล์ ควบคุมการแตกตา ข้าง การเจริญเติบโตของกิ่งข้าง การเจริญเติบโตของผล การร่วงของใบ ดอก และผล เร่งการออกดอกของพืชบางชนิด


2. จิบเบอเรลลิน (gibberellins) สร้างขึ้นมาจากพวกเชื้อราและ จากพืชชั้นสูงบางชนิด นิยมเรียกชื่อย่อว่า GA ปัจจุบันมีมากกว่า 40 ชนิด ทำหน้าที่ทำลายการพักตัวของเมล็ด ส่งเสริมการออกดอกของพืช กระตุ้น การยืดตัวของเซลล์ ใช้มากในสวนองุ่นเพื่อยืดช่อให้ยาวและทำให้ผลมีขนาดใหญ่ขึ้น


3. ไซโตไคนิน (cytokinins) สร้างขึ้นในบริเวณปลายราก พบในเมล็ด ข้าวโพด และในน้ำมะพร้าว เช่น ซีอาติน (zeatin) ทำหน้าที่กระตุ้นการเกิดตา การแบ่งเซลล์ การเจริญเติบโตของลำต้น ใช้กันมากในการเพาะเลี้ยง เนื้อเยื่อกล้วยไม้


4. เอทิลีน (ethylene) เป็นฮอร์โมนที่อยู่ในรูปก๊าซ พืชสร้างได้มาก ในช่วงผลไม้ใกล้จะสุก ทำหน้าที่ควบคุมการแก่ของพืช เร่งการสุกของผลไม้ เร่งการหลุดร่วงของใบ ดอก และผล เร่งการออกดอกในพืชบางชนิด


5. สารยับยั้งการเจริญเติบโต พืชสร้าง ขึ้นมาเพื่อยับยั้งมิให้ฮอร์โมนชนิดอื่นๆ กระตุ้นให้พืชเจริญเติบโตรวดเร็วเกินไป สารกลุ่มนี้จะควบคุมการพักตัวการหลุดร่วงของใบ ดอกและผล ควบคุมการออกดอก เช่น ABA (abscisic acid)
ฮอร์โมนที่ได้จากพืชนี้จะมีจำนวนน้อยมาก เมื่อสกัดออกมาจากพืช แล้ว จึงมีราคาสูงมากและมักจะอยู่ในรูปที่เสื่อมสภาพหรือเปลี่ยนไปเป็นสาร อื่นได้ง่าย จึงไม่สะดวกต่อการจะนำไปใช้ ปัจจุบันมีการสังเคราะห์สารอินทรีย์หลายชนิดขึ้นมาเพื่อใช้ควบคุมการเจริญเติบโตของพืช และมีคุณสมบัติ คล้ายคลึงกับฮอร์โมนพืชทั้ง 5 กลุ่มที่กล่าวมาแล้ว รวมเรียกว่า สารควบคุมการเจริญเติบโตของพืช (plant growth regulator) นำมาใช้ประโยชน์ในทาง การผลิตพืช ไม่ว่าจะเป็นพืชไร่ พืชสวน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผัก ไม้ดอกไม้ ประดับ และผลไม้ ในบรรดาสารที่สังเคราะห์ขึ้นมานี้ยังมีอีกกลุ่มหนึ่งซึ่งมี คุณสมบัติเป็นสารควบคุมหรือชะลอการเจริญเติบโตของพืช นำมาใช้กำจัดความสูงของพืช ทำให้ทรงต้นกะทัดรัด แข็งแรง เช่น ในไม้กระถาง ช่วยเร่งการออกดอกและติดผลนอกฤดู เช่น ในมะม่วงที่นิยม ใช้สารพาโคลบิวทาโซลฯ


http://banlek.com/diary_show.php?fmb_id=28030&diaD=11&diaY=2009&diaM=10








ฮอร์โมนพืช

การศึกษาการใช้สารควบคุมการเจริญเติบโตของพืชไม้ผล มีทำกันมากในต่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักร ส่วนในประเทศไทยยังมีการศึกษากันน้อยเกษตรกรโดยทั่วไปแทบไม่มีความรู้ด้านนี้ ยกเว้นในสับปะรดใช้กันมานานแล้ว ส่วนเกษตรกรชาวสวนผลไม้บางอย่างเช่น มะม่วงและทุเรียน ก็เริ่มรู้จักและใช้มากขึ้นโดยเฉพาะในด้านการควบคุมการออกดอก แต่ก็มีเกษตรกรจำนวนมากยังไม่เข้าใจในการใช้งาน บางครั้งก็เกิดความเสียหายหรือสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายโดยไม่จำเป็น

ฮอร์โมนพืช (Plant Hormone) หมายถึง สารที่สร้าง ขึ้นในพืช มีหน้าที่ควบคุมการเจริญเติบโต กระตุ้นหรือยับยั้งขบวนการทางสรีระวิทยา สามารถเคลื่อนย้ายไปมีผลต่อเนื้อเยื่อต่างๆ หรือมีผลต่อบริเวณที่สร้างก็ได้ ทั้งนี้จะต้องเป็นสารที่ทำงานได้ที่ความเข้มข้นต่ำและไม่ใช่สารอาหารพืช ส่วนความหมายของคำว่าสารควบคุมการเจริญเติบโตของพืช (สคพ. PRG, Plant Growth Regulator) นั้นหมายความรวมถึงฮอร์โมนพืชและสารที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อให้ทำหน้าที่เหมือนฮอร์โมนพืช

สารหลายชนิดมีผลต่อการเจริญเติบโตของพืช หรือแม้กระทั่งการออกดอก แต่สารเหล่านี้อาจไม่ใช่ PGR เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องจึงควรทราบดังต่อไปนี้

1. ต้องเป็นสารอินทรีย์ ซึ่งจะต้องประกอบด้วยคาร์บอนด์ (C) ไฮโดรเจน (H) และออกซิเจน (O) เป็นหลัก มีสารหลายชนิดที่สามารถกระตุ้นหรือเร่งการเจริญเติบโตของพืชได้ เช่น ปุ๋ยชนิดต่างๆ หรือแม้แต่โปแตสเซียมไนเตรท (KNO3) ซึ่งใช้เร่งการออกดอกของมะม่วงแต่สารเหล่านี้ไม่จัดเป็น PGR เนื่องจากไม่ใช่สารอินทรีย์

2. ใช้หรือมีในปริมาณเล็กน้อยเท่านั้นก็สามารถแสดงผลต่อพืชได้ ส่วนใหญ่แล้วที่ใช้กันอยู่ทั่วไปจะใช้ความเข้มข้นต่ำมากๆ เช่น 1 มก/ล ก็สามารถมีผลต่อพืชได้ บางครั้งอาจใช้ถึง 5,000 มก/ล ซึ่งก็ยังถือว่าความเข้มข้นที่ใช้อยู่กับชนิดของสารและจุดประสงค์ที่ต้องการ

3.ไม่ใช่อาหารหรือธาตุอาหารของพืช สารพวกน้ำตาล กรดอะมิโน และไขมัน ถึงแม้ว่าจะเป็นสารอินทรีย์ และมีผลต่อการเติบโตของพืชแต่ก็ไม่จัดว่าเป็น PGR 
 
1. ออกซิน (auxins) สารในกลุ่มนี้มีทั้งที่พืชสร้างขึ้นเอง (ฮอร์โมน) และสารสังเคราะห์มีอาหารของพืชโดยตรง ธาตุอาหารต่างๆ เช่น ไนโตรเจน (N) ฟอสฟอรัส (P) เป็นวัตถุดิบในการสร้างอาหารและไม่จัดเป็นสารอินทรีย์ จึงไม่อยู่ในข่ายที่จะเป็น PGRC เช่นกัน PGR เป็นสารกลุ่มใหญ่ ประกอบด้วยสารชนิดต่างๆ มากมาย ซึ่งสามารถแยกออกเป็นหมวดหมู่ตามคุณสมบัติซึ่งแตกต่างกันได้ดังนี้หน้าที่ควบคุมการขยายตัวของเซลล์ การเจริญเติบโตของใบ การติดผล การเกิดราก และเกี่ยวข้องกับกระบวนการอื่นๆ อีกมากมาย สารออกซินที่ใช้ในในการเกษตรส่วนใหญ่ เป็นสารสังเคราะห์โดยใช้ประโยชน์ในการเร่งรากของกิ่งตอนหรือกิ่งปักซำ ช่วยเปลี่ยนเพศดอกของพืชบางชนิด ช่วยติดผล ป้องกันผลร่วง หรือขยายขนาดผล ออกซินบางชนิดใช้กันมากเพื่อกำจัดวัชพืช  สรุปโดยย่อออกซิน
มีประโยชน์ดังนี้

1.1 ช่วยในการออกรากของกิ่งตอนและกิ่งตัดชำของไม้ผลหลายชนิด
-ใช้ IBA 20-200 ส่วนต่อล้าน (สตล.) แซ่โคนกิ่งนานประมาณ 6-12 ชั่วโมง
- ใช้ IBA 500-5,000 สตล. จุ่มโคนกิ่ง 2-3 นาที

1.2 ช่วยลดปัญหาผลร่วงก่อนเก็บเกี่ยว
- สาลี่ ใช้ NAA 10 สตล. พ่นทั่วต้น 3สัปดาห์ก่อนการเก็บเกี่ยว
- แอปเปิ้ลใช้ NAA 20 สตล. พ่นทั่วต้น 3-4 สัปดาก่อนการเก็บเกี่ยว

1.3 ใช้ปลิดผลทิ้งเมื่อมีการติดผลมากเกินไป
- สาลี่ใช้ NAA 10-15 สตล. พ่นทั่วต้น 15-21 วัน หลังจากดอกบานเต็มต้น
- แอปเปิล ใช้ NAA 20 สตล. พ่นทั่วต้น 15-25 วัน หลังจากดอกบานเต็มต้น

1.4 ยากำจัดวัชชพืชใบเลี้ยงคู่ ใช้ 2,4 - D 2,000-6,000 สตล. พ่นให้ทั่วต้นวัชพืชและ พ่นซ้ำหลังจากครั้งแรก 15-30 วัน เมื่อวัชพืชยังไม่ตาย


2. จิบเบอเรลลิน (gibberelllins) สารกลุ่มนี้พืชสร้างขึ้นได้เอง และยังมีเชื้อราบางชนิดสร้างสารนี้ได้ จึงมีการเลี้ยงเชื้อราเหล่านี้เพื่อนำมาสกัดสารจิบเบอเรลลินออกมาใช้ประโยชน์ ปัจจุบันยังไม่สามารถสังเคราะห์สารนี้ได้ในห้องปฏิบัติการ จึงทำให้สารชนิดนี้มีราคาสูง จิบเบอเรลลินมีหน้าที่ควบคุมการยืดตัวของเซลล์ การติดผล การเกิดดอก เร่งการเจริญเติบโตของต้นพืช ชาวสวนองุ่นใช้ประโยชน์จากจิบเบอรเรลลินกันมาก โดยใช้ในการยืดช่อผล และปรับปรุงคุณภาพผล เป็นต้น ในด้านปฏิบัติจิบเบอเรลลินใช้เป็นประโยชน์พอสรุปได้ดังนี้

2.1 ชลอการแก่ของผลเชอรี่ ใช้จิบเบอเรลิกแอชิค (GA3 ) 5-10 สตล. พ่นทั่วต้น 3 สัปดาห์ก่อนเก็บเกี่ยว

2.2 ช่วยทำให้ผลแอปเปิ้ลมีขนาดใหญ่ขึ้น ใช้ GA3 5-25 สตล. พ่นทั่วต้นหลังจากกลีบดอกร่วง

2.3 ช่วยให้ช่อผลขององุ่นยาวขึ้น ทำให้ผลไม่เบียดกันแน่นเกินไป ใช้ GA3 20-40 สตล. จุ่มช่อผลหลังจากติดผล

2.4 ช่วยเพิ่มเปอร์เซ็นต์การงอกของเมล็ดไม้ผลหลายชนิด ใช้ GA3 5-100 สตล. แช่เมล็ด 24 ชั่วโมงก่อนนำไปเพาะ



3. ไซโตไคนิน (cytokinin) มีหน้าที่ควบคุมการแบ่งเซลล์ การเจริญเติบโตทางด้านกิ่งใบ การแตกแขนง สารกลุ่มนี้ใช้ประโยชน์ทางพืชสวนน้อยมาก ส่วนใหญ่ใช้ในงานเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช แต่ปัจจุบันเริ่มนำมาใช้เร่งการแตกตาข้างของพืช โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการขยายพันธุ์พืชโดยการติดตา สรุปแล้ว ไซโตไคนินใช้ประโยชน์โดย

3.1 ช่วยเพิ่มการแตกกิ่งของกิ่งพันธุ์ที่จะนำไปปลูกในไม้ผลหลายชนิด ใช้ไคเนติน (Kinetin) 100-200 สตล. พ่นทั่วต้นเมื่อกิ่งพันธุ์อยู่ในช่วงกำลังเจริญเติบโต

3.2 ช่วยทำให้ผลแอปเปิ้ลยาวขึ้น ใช้ BA 25 สตล. พ่นทั่วต้นตั้งแต่ดอกบานจนถึง 10 วัน หลังจากดอกบาน

3.3 ช่วยเพิ่มเปอร์เซ็นต์การงอกของเมล็ดไม้ผลหลายชนิดใช้ไคเนติน 100-500 สตล. แช่เมล็ด 24 ชั่วโมง ก่อนนำไปเพาะ



4. เอทิลีนและสารปลดปล่อยเอทีลีน (ethylene and ethylene releasing compounds) สารเอทีลีนเป็นก๊าช ซึ่งพบได้ทั่วๆ ไป แม้กระทั่งในควันไฟก็มีเอทีลีนเป็นองค์ประกอบ พืชสามารถสร้างเอทีลีนได้เอง จึงจัดเป็นฮอร์โมนพืชชนิดหนึ่ง เอทีลีนมีหน้าที่คบคุมการออกดอก การแก่และการสุกของผล และเกี่ยวข้องกับการหลุดล่วงของใบ ดอก ผล อาจกล่าวรวมๆ ได้ว่า เอทีลีนมีหน้าที่กระตุ้นให้พืชแก่ตัวเร็วขึ้น การใช้ประโยชน์จากเอทีลีนในแปลงปลูกกระทำได้ยากเนื่องจากเอทีลีนเป็นก๊าช ดังนั้นจึงมีการสังเคราะห์สารต่างๆ ให้อยู่ในรูปของแข็งหรือของเหลวที่สามารถปล่อยก๊าชเอทีลีนออกมาได้ ซึ่งปัจจุบันได้นำมาใช้ประโยชน์ในการเร่งดอกสับปะรด เร่งการแก่ของผลไม้บนต้น เร่งการไหลของน้ำยางพารา ในด้านปฏิบัติ เอทีลีนถูกนำมาใช้โดย

4.1 ช่วยเพิ่มการออกดอกในไม้ผลหลายชนิด ใช้เอทธีฟอน (Ethephon) 100-1,000 สตล. พ่นทั่วต้นก่อนการเกิดตาดอกประมาณ 40-50 วัน

4.2 ช่วยในการปลิดผลทิ้งเมื่อติดผลมากเกินไป ในไม้ผลหลายชนิดใช้เอทธีฟอน 20-200 สตล. พ่นทั่วต้น 4-8 สัปดาห์ หลังจากดอกบาน

4.3 ช่วยเพิ่มเปอร์เซ็นต์ความงอกของเมล็ดไม้ผลหลายชนิด ใช้เอทธีฟอน 100-500 สตล. แซ่เมล็ด 24 ชั่วโมงก่อนนำไปเพาะ



5. สารชะลอการเจริญเติบโต (plant growth retardants) สารกลุ่มนี้ไม่พบตามธรรมซาติในพืช เป็นกลุ่มของสารซึ่งสังเคราะห์ขึ้นมาทั้งหมด คุณสมบัติหลักของสารกลุ่มนี้คือยับยั้งการสร้างกรือการทำงานของจิบเบอรเรลลิน ดังนั้นลักษณะของพืชที่ได้รับสารเหล่านี้จึงมักแสดงออกในทางที่ตรงกันข้ามกับผลของจิบเบอเรลลิน ประโยชน์ของสารชะลอการเจริญเติบโตมีหลายอย่าง เช่น ลดความสูงของต้น ทำให้ปล้องสั้นลง ช่วยในการออกดอกและติดผลของพืชบางชนิด โดยทั่วไปสารชะลอการเจริญเติบโตถูกนำไปใช้ด้านปฏิบัติคือ

5.1 ช่วยเพิ่มการออกดอกของสาลี่และแอปเปิ้ลใช้ SADH 500-1,000 สตล.พ่นทั่วต้น 30-40 วัน หลังจากดอกบาน

5.2 ช่วยเพิ่มการติดผลขององุ่นใช้ SADH 2,000 สตล. พ่นทั่วต้นเมื่อดอกเริ่มบาน

5.3 ช่วยลดการเจริญเติบโตทางกิ่งและใบเพิ่มการออกดอกของแอปเปิ้ล ใช้ PP 333 0.2 กรัม/ตารางเมตร หรือ 1,000 สตล. พ่นทั่วต้น 3 สัปดาห์ หลังจากติดผล



6. สารยับยั้งการเจริญเติบโต (plant growth inhibitors) สารกลุ่มนี้พืชสร้างขึ้นมาเพื่อถ่วงดุล กับสารเร่งการเจริญเติบโตต่างๆ ไม่ให้พืชเติบโตมากเกินไป สารกลุ่มนี้ยังควบคุมการพักตัว การหลุดร่วงของใบ ดอก ผล หรือแม้กระทั่งควบคุมการออกดอกของพืช ปัจจุบันมีการใช้สารสังเคราะห์ที่มีผลยับยั้งการเจริญเติบโตของพืช เพื่อประโยชน์ทางการเกษตร เช่น ทำให้พืชแตกกิ่งแขนงมากขึ้น ยับยั้งการเกิดหน่อยาสูบ เร่งการออกดอกของพืชบางชนิด



7. สารอื่นๆ เป็นสารที่ไม่อาจจัดอยู่ในกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งข้างต้นได้ เนื่องจากมีคุณสมบัติแตกต่างกันออกไป เช่น สารเร่งการเจริญเติบโตทั่วๆ ไป สารทำให้ใบร่วง สารเพิ่มผลผลิต สารในกลุ่มนี้มีผลต่อพืชค่อนข้างจำกัด และมักใช้เพื่อประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่งโดยเฉพาะ

จากการที่สารดังกล่าวมีคุณสมบัติแตกต่างกันนี้เอง ทำให้เราสามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างกว้างขวางในหลายแง่มุมที่ต้องการ แต่ผู้ใช้สารควรมีความรู้เกี่ยวกับสารนั้นๆ พอสมควร เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นโดยรู่เท่าไม่ถึงการณ์ การใช้สารเหล่านี้มีข้อจำกัดที่ต้องคำนึงถึงมากพอสมควร มีหลายครั้งที่พบว่าการใช้ชนิดเดียวกันกับพืชชนิดเดียวกัน แต่ต่างสถานที่ทำให้ผลที่ได้รับแตกต่างกัน จากกรณีนี้จะเห็นได้ว่าสภาพแวดล้อมมีผลอย่างมาก แต่ไม่ใช่เฉพาะสภาพแวดล้อมเพียงอย่างเดียวเท่านั้นที่มีผลต่อการใช้สาร ยังมีปัจจัยอื่นๆ อีกที่เกี่ยวข้อง จึงขอยกตัวอย่างดังต่อไปนี้

ชนิดของพืช
พืชแต่ละชนิดมีระบบกลไกลปลีกย่อยแตกต่างกันไป การใช้สาร PGRC เป็นทำให้กลไกลภายในเหล่านี้เปลี่ยนแปลงไป ดังนั้นพืชชนิดหนึ่งอาจตอบสนองต่อการใช้สารได้ดี ถ้า PGRC สามารถเข้าไปควบคุมกลไกลนั้นๆ ในขณะที่สารชนิดเดียวกันนี้อาจใช้ไม่ได้ผลกับพืชอีกชนิดหนึ่ง หรือแม้กระทั่งพืชนิดเดียวกันแตกต่างกันเพียงแค่พันธุ์ ก็อาจตอบสนองได้ไม่เหมือนกัน เช่น จากการทดลองใช้สาร daminozide กับผักกาดขาวปลี 2 พันธุ์ ซึ่งปลูกในฤดูร้อนคือพันธุ์ B40 ซึ่งเป็นพันธุ์ไม่ทนร้อน และพันธุ์ hybrid # 58 ซึ่งเป็นพันธุ์ทนร้อน พบว่าพันธุ์ B40 ตอบสนองได้ดี มีผลผลิตเพิ่มขึ้นมากในขณะที่พันธุ์ hybrid #58 ไม่ตอบสนองใดๆ ทั้งสิ้น ทั้งๆ ที่ให้สารโดยวิธีเดียวกันและพร้อมๆ กัน หรืออย่างเช่นการใช้สาร ethephon สามารถเร่งการออกดอกของสับปะรดได้ แต่ก็ไม่จำเป็นเสมอว่าสารดังกล่าวจะสามารถเร่งการออกดอกของไม้ผลชนิดอื่นได้ ดังนั้นผลที่เกิดขึ้นจากการใช้ PGRC กับพืชชนิดหนึ่งอาจใช่เป็นเพียงแนวทางในการทดลองกับพืชชนิดอื่นเท่านั้น โดยที่ผลที่เกิดขึ้นไม่จำเป็นต้องเหมือนกับที่คาดหวังไว้

ชนิดของสาร
สารแต่ละชนิดมีความจำเพาะเจาะจงต่อพืชไม่เหมือนกันบางชนิดใช้ได้ผลดีกับพืชมากชนิดกว่าเช่น การทดลองใช้สาร ancymdol และ daminozide กับพืช 88 ชนิด พบว่ามีพืชถึง 68 ชนิดที่ตอบสนองต่อการใช้สาร ancymidol แต่มีเพียง 44 ชนิด เท่านั้นที่ตอบสนองต่อการใช้สาร daminozide ถึงแม้สารทั้ง 2 ชนิดนี้ จัดอยู่ในกลุ่มสารชะลอการเจริญเติบโตเหมือนกันก็ตาม

สภาพแวดล้อม
มีผลต่อการดูดซึมสาร การสลายตัว และการแสดงผลของสารต่อพืช โดยปกติแล้ว ในสภาพที่มีอุณหภูมิสูง ความชื้นในอากาศสูง จะทำให้การดูดซึมสารเป็นไปได้ดี และพืชจะตอบสนองต่อสารได้มากขึ้น การใช้สารบางชนิดอาจต้องลดความเข้มข้นลงจากปกติเมื่อ ใช้สารในขณะที่มีอากาศร้อนจัด เนื่องจากว่าถ้าให้โดยความเข้มข้นปกติอาจก่อให้เกิดพิษขึ้นได้ ยกตัวอย่างเช่นการใช้สาร ethephon
ความสมบูรณ์ของต้นพืช ต้นพืชที่มีความสมบูรณ์สูงย่อมตอบสนองต่อ PGR ได้ดีกว่าพืชที่อ่อนแอ PGR ไม่ได้จัดว่าเป็นปุ๋ยหรืออาหารของพืช ดังนั้นจึงไม่สามารถใช้เพื่อฟื้นฟูสภาพของต้นไม้ที่โทรมหรืออ่อนแอ ให้กลับแข็งแรงขึ้นมาได้ การ PGR ให้ได้ผลดีจึงควรใช้กับต้นที่มีความสมบูรณ์ และอยู่ในสภาพพร้อมที่จะตอบสนองต่อสาร เช่น มีอายุมากพอหรือมีอายุที่เหมาะสม ยกตัวอย่างเช่นการใช้ ethephon เร่งการออกดอกขอสับปะรด จะใช้ได้ผลก็ต่อเมื่อมีต้นอายุไม่ต่ำกว่า 4 เดือน หรือมีน้ำหนักสดไม่ต่ำกว่า 878 กรัม แต่ใช้สารเมื่อต้นมีอายุ 2 เดือน ซึ่งมีน้ำหนักสดเพียง 514 กรัม ปรากฏว่าไม่สามารถเร่งการออกดอกได้

ช่วงอายุของพืชหรือช่วงเวลาของการใช้สาร
เรื่องนี้มีความสำคัญมาก และเป็นเรื่องยากที่จำกำหนดแน่นอนลงไปว่า เมื่อใดควรให้สารงานทดลองหลายเรื่องประสบความล้มเหลวเนื่องจากให้สารในช่วงอายุที่ไม่เหมาะสม ซึ่งมีผลทำให้พืชตอบสนองไปในทางที่ไม่ต้องการ เช่น การทดลองใช้ daminozide กับแรดิชเมื่อต้นกล้ามีอายุต่างๆ กัน ตั้งแต่ 8 ถึง 20 วัน พบว่า การให้สารดังกล่าวเมื่อต้นกล้ามีอายุ 16 วัน จะทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นได้มาก ในขณะที่การใช้สารเมื่ออายุน้อยหรือมากกว่านี้กลับมีผลทำให้ผลผลิตลดลงกว่าปกติ อาจกล่าวได้ว่าถ้างานทดลองครั้งนี้ทำขึ้นโดยไม่คำนึงถึงช่วงอายุเป็นสำคัญ ผลที่ได้รับอาจสรุปออกมาได้ว่าการใช้สารทำให้ผลผลิตลดลง ถ้าบังเอิญการให้สารนั้นอยู่ในช่วงที่เหมาะสมดังกล่าวมาแล้ว

วิธีการให้สาร
การให้สารแก่พืช ทำได้หลายวิธี เช่นการพ่น ทา จุ่ม หรือ แซ่ การที่จะใช้วิธีใดนั้นต้องคำนึงถึงจุดประสงค์ที่ต้องการ ชนิดของสาร และความเข้มข้นของสารเป็นสำคัญ เหตุที่ต้องคำนึงถึงวิธีการให้สาร เนื่องจากสารแต่ละชนิดมีการดูดซึมและเคลื่อนย้ายภายในต้นต่างกัน PGRC จะแสดงผลต่อพืชได้ก็ต่อเมื่อมีการเคลื่อนที่จากจุดที่ให้สารไปยังจุดที่จะแสดงผล ยกตัวอย่างเช่น สาร paclobutrazol เคลื่อนที่ได้ดีในท่อน้ำของพืชแต่ไม่เคลื่อนที่ในท่ออาหาร ดังนั้นวิธีการใช้สารที่เหมาะสมคือการรดลงดินให้รากพืชดูดขึ้นไปพร้อมกับธาตุอาหารต่าง ๆ เพื่อขึ้นไปสู่ส่วนบนของลำต้น

ปัจจัยที่กล่าวมาทั้งหมดข้างต้นนี้เป็นส่วนหนึ่งที่อาจใช้อธิบายได้ว่าเหตุใดการใช้ PGR จึงยุ่งยากกว่าการใช้สารเคมีชนิดอื่นๆ และผลจากการใช้ PGR ก็ไม่คงที่แน่นอนเหมือนกันทุกครั้ง ดังนั้นการจะใช้ PGR ให้ได้ผลแน่นนอนจึงจำเป็นต้องอาศัยเวลาเพื่อศึกษาผลของสารและปัจจัยที่เกี่ยวข้องจนกระทั่งได้ข้อสรุปหรือคำแนะนำที่เหมาะสม PGR มีนับร้อยชนิด แต่ที่สามารถนำมาใช้ในเชิงพาณิชย์ได้มีเพียงไม่กี่ชนิดเท่านั้น และที่เหลือก็ยังอยู่ในขั้นทดลองหาความเหมาะสมดังที่กล่าวมา PGR ที่ใช้ในโลกปัจจุบันมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นทุกปี แต่เมื่อเปรียบเทียบปริมาณการใช้กับสารเคมีการเกษตรอื่นๆ เช่นยาฆ่าแมลง หรือยากำจัดวัชพืชแล้วพบว่ามีสัดส่วนน้อยมากทั้งนี้อาจเป็นเพราะสาเหตุที่กล่าวมาข้างต้น และอีกประการหนึ่งคือ ปริมาณการใช้ PGR แต่ละครั้งน้อยมาก เนื่องจากการใช้ได้ผลที่ความเข้มข้นต่ำ ๆ ก็แสดงผลต่อพืชได้ ในบรรดา PGR ที่ใช้ในโลกมากที่สุด 6 อันดับแรก คือ chlormequat, daminozide, gibberellin, ethephon, maleic hydrazide และ gyphosine สารเหล่านี้ใช้กันมากกับพืชสวน ยกเว้น gyphosine ใช้มากกับพืชไร่

การเตรียมและวิธีใช้ฮอร์โมน
ฮอร์โมนที่ใช้ในการเกษตรโดยทั่วไปนั้นมีอยู่ 4 รูปแบบ คือ แบบน้ำ (aqueous solution ) แบบแป้งเปียก (paste) แบบผล (dust) และแบบไอระเหย (aerosol)

1. แบบน้ำ เป็นฮอร์โมนที่ใช้ในรูปสารละลาย นิยมใช้กันมาก อาจเป็นกรด เกลืออะมัน อะมีดหรือเอสเทอร์ พวกเกลือมักจะละลายน้ำได้ดีกว่ากรด จึงเหมาะในการเตรียมฮอร์โมนที่มีความเข้มข้นสูง ๆ ความเป็นกรดเป็นด่าง pH ของสารละลายจะมีความสำคัญต่อการดูดซึม และการทำงานของสารเคมีในเซลล์พืช pH ที่เหมาะสมควรอยู่ระหว่าง 3-5.5

ในการทำยาฮอร์โมนแบบใช้น้ำผสมนั้น ถ้าใช้สารฮอร์โมนที่เป็นผลึกละลายน้ำโดยตรงทีเดียวจะละลายยากควรละลายใน cosolvent เช่น เอธิแอลกอฮอล์ 95% ให้ดีเสียก่อนแล้วจึงเติมน้ำลงไปทีหลังให้ได้ปริมาตรที่ต้องการ ถ้าเป็นฮอร์โมนชนิดละลายจากก็อาจใช้แอมโมเนียมไฮดร็อกไซด์แทนแอลกอฮอล์ แล้งจึงค่อยทำน้ำยาให้เป็นกรดอ่อนๆ โดยเติมกรดลงไปอีกทีหนึ่ง ในการเตรียมน้ำยาที่มีความเข้มข้นสูงๆ หรือเตรียม stock solution ควรใช้แอลกอฮอล์ล้วนๆ แทนน้ำ เพราะแอลกอฮอล์ละลายได้ดีกว่าน้ำมาก สำหรับฮอร์โมนที่ใช้พ่นกับต้นพืชควรเติมสารพวก spreader หรือ carrier ลงไปด้วยเพื่อให้เป็นตัวช่วยให้สารเกาะจับกันส่วนของพืชได้ดีอันจะทำให้การซึมและการออกฤทธิ์ของตัวยาดีขึ้น

2. แบบแป้งเปียก การเตรียมแบบนี้ทำได้โดยการผสมฮอร์โมนกับสารที่มีลักษณะคล้ายแป้งเปียก เช่น น้ำมันขนแกะ (lanolin) โดยละลายไขขนแกะใน water bath เอาผลึกฮอร์โมนละลายในแอลกอฮอล์หรืออีเทอร์ให้ดีเสียก่อน แล้วเอามาเทลงไปในน้ำมันขนแกะที่ละลายเป็นของเหลวนี้ คนให้เข้ากันอย่างทั่วถึงแล้วทำให้เย็น น้ำมันขนแกะจะคืนสภาพเป็นครีมเหนียวๆ อย่างเดิม แล้วนำไปใช้ได้เลย

3. แบบผง แบบนี้ทำได้โดยละลายผลึกฮอร์โมนในแอลกอฮอล์ หรืออิเทอร์เสียก่อนแล้วเทลงคลุกเคล้ากับแป้ง (talc) คนให้เข้กันดีแล้วจึงนำไปทำให้แห้งอีกทีหนึ่ง ก็จะได้ผลที่มีฮอร์โมนผสมอยู่

4. แบบไอระเหย ทำได้โดยผสมฮอร์โมนกับสารเคมีที่มีสมบัติในการระเหยที่ดี อัดใส่ในภาชนะด้วยความดัน เมื่อเปิดภาชนะไอของยาก็จะระเหยออกมา เหมาะสำหรับใช้ในที่มิดชิด เช่น ห้องเก็บพืชผลหรือในโรงกระจก

การคำนวณความเข้มข้นของฮอร์โมนจากฮอร์โมนที่มีความเข้มข้นสูงๆ หรือสารละลายหลัก (stock solution) อาจใช้สูตร

N1V1 = N2V2

เมื่อ N1 และ V2 เป็นความเข้มข้นและปริมาตรของ stock solution
N1 และ V2 เป็นความเข้มข้นและปริมาตรของฮอร์โมนที่เราต้องการ

สมมุติว่าถ้าเราต้องการเตรียมฮอร์โมนความเข้มข้น 100 ppm. สัก 200 ซีซี จาก stock solution ที่เข้มข้น 10,000 ppm. ทำได้ดังนี้
N1V1 = N2V2
10,000 x V1 = 100 x 200
V1 = 100 x 200
10,000
= 2 ซีซี

เราก็ตวงเอา stock solution มาเป็น 2 ซีซี แล้วเติมน้ำหรือแอลกอฮอล์ 85 % ลงไปจนครบ 200 ซีซี เราก็จะได้สารละลายที่มีความเข้มข้น 100 ppm. จำนวน 200 ซีซี ที่ต้องการ สำหรับการเตรียมฮอร์โมนก็อาจทำได้เช่นเดียวกัน
วิธีการใช้ฮอร์โมนก็อาจทำได้หลายอย่างด้วยกัน แล้วแต่ความเหมาะสมในการปฏิบัติหรือการทดลองนั้นๆ โดยทั่วไปอาจแบ่งออกได้เป็น 6 วิธีด้วยกันคือ

1. พ่นเป็นน้ำ (spray)
2. จุ่มส่วนต่างๆ ของพืชในน้ำยาหรือผงฮอร์โมน หรือใช้น้ำยาหรือผงฮอร์โมนทาส่วนต่างๆ ของพืช
3. ใช้น้ำมันขนแกะ (lanolin) ผสมฮอร์โมนทาส่วนต่างๆ ของพืช
4. ฮอร์โมนแบบไอระเหย (aerosol)
5. บังคับให้น้ำยาฮอร์โมนซึมซาบเข้าไปในส่วนต่างๆ ของพืชโดยใช้ความดัน
6. ฉีดน้ำยาฮอร์โมนเข้าไปในส่วนต่างๆ ของพืช

ในการใช้ฮอร์โมนกับกิ่งปักชำ (cutting) นั้นควรทำให้บริเวณส่วนล่างของกิ่งปักชำมีแผลเพิ่มขึ้นจากรอยตัด จะทำให้ฮอร์โมนซึมเข้าสู่พืชมากขึ้น การใช้การพ่นอย่างในวิธีที่ 1 นั้นมีข้อเสียอยู่ตรงที่ว่าเราไม่สามารถหรือควบคุมจำนวนน้ำหรือสารให้ซึมเข้าสู่ส่วนของพืชได้ฉะนั้นจึงขึ้นอยู่กับความสามารถในการซึมของฮอร์โมนเอง วิธีที่ 3 เป็นวิธีที่ควรใช้ได้ดีเมื่อต้องการใช้ยาเฉพาะแห่ง โดยที่สามารถป้ายตรงจุดใดจุดหนึ่งได้แน่นอน และฮอร์โมนจะติดอยู่กับพืชนานและทำให้ซึมซาบได้มาก วิธีที่ 4 เหมาะสำหรับใช้ในที่ปิดมิดชิดเช่นดรงกระจกหรือภาชนะที่มีฝาปิดอื่นๆ ส่วนวิธีที่ 5 และ 6 เหมาะสำหรับการทดลองที่ต้องการทราบรายละเอียดเพราะสามารถทราบจำนวนฮอร์โมนที่เข้าไปในต้นพืชได้แน่นนอน
ฮอร์โมนที่มีความเข้มข้นต่ำ ๆ ปกติจะเสื่อมคุณภาพเร็ว โดยเฉพาะที่ใช้น้ำธรรมดาเป็นตัวทำลายจะเสื่อมเร็วกว่าพวกที่ใช้แอลกอฮอล์ ฮอร์โมนที่เป็นเกล็ดหรือผลึกจะคงคุณภาพได้นานที่สุด IAA รูปน้ำจะยิ่งเสียเร็วยิ่งขึ้น ดังนั้นเมื่อจะใช้ IAA แบบน้ำจึงควรผสมแล้วใช้ทันที

หน่วยความเข้มข้นของฮอร์โมน
ความเข้มเข้นของฮอร์โมนมีหน่วยที่ใช้วัดหลายอย่างด้วยกัน อาจเลือกวิธีไหนก็ได้ที่เห็นว่าสะดวก หน่วยต่างๆ มีดังนี้

1. ส่วนต่อล้าน (part per million) เขียนย่อว่า ppm. หมายถึงจำนวนสารฮอร์โมนบริสุทธิ์เป็นกรัมในฮอร์โมนผสม 1 ล้านกรัม เช่น NAA 10 ppm. หมายถึงฮอร์โมนผสมที่มี NAA แท้อยู่ 10 กรัมในทุกๆ 1 ล้านกรัม หรือ 1 ล้าน ซีซี ของฮอร์โมนผสม

2. เปอร์เซ็นต์ (percentage) หมายถึงสารฮอร์โมนหนักเป็นกรัมในฮอร์โมนผสม 100 กรัม เช่น 2,4 – D 5% จะมี 2,4 – D แท้ ๆอยู่ 5 กรัมในทุกๆ 100 กรัมของฮอร์โมนชนิดนี้ถ้าเป็นน้ำยาหรือสารละลายจะถือเอาน้ำหนัก 1 กรัม ของตัวละลาย (solute) เทียบเท่ากับ 1 ซีซี ดังนั้น 2,4 – D บริสุทธิ์อยู่ 5 กรัมทุกๆ 100 ซีซีของฮอร์โมนผสมนี้

3. กรัมหรือมิลลิกรัมต่อหน่วยปริมาตร คือเป็นจำนวนสารฮอร์โมนเป็นกรัมหรือมิลลิกรัมในน้ำยาที่ผสมแล้วปริมาตร (volume) หนึ่งเช่น 5 กรัมต่อลิตร (5 gm/1) หมายถึงน้ำยาผสมแล้ว 1 ลิตรมีสารฮอร์โมนบริสุทธิ์ละลายอยู่หนัก 5 กรัมหรือ 0.5 มิลลิกรัมต่อ 1 ซีซี (0.5 mg/cc)

4. โมลาร์ (molarity) ใช้อักษรย่อว่า “M” สารละลายฮอร์โมนที่มีความเข้มข้น 1 โมลาร์หมายความว่าทุก ๆ 1 ลิตร ของสารละลายนี้มีฮอร์โมนบริสุทธิ์ละลายอยู่ 1 กรัม-โมล (gram-mole)








หน้าถัดไป (2/2) หน้าถัดไป


Content ©