-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 466 บุคคลทั่วไป และ 1 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

ฮอร์โมน




หน้า: 3/5



ผลของไคโตซานฉายรังสีต่อการเจริญเติบโต
การให้ผลผลิตและการต้านทานโรคในข้าว


Effect of Irradiated Chitosan as Plant Growth Promoter and Elicitor in Rice

พิริยาธร สุวรรณมาลา1 เกศินี เหมวิเชียร1

นิตยา รื่นสุข2 เกษม สุนทราจารย์2 มานิตย์ ซ้อนสุข1 1 กนกพร บุญศิริชัย1



บทคัดย่อ

ไคโตซานเป็นอนุพันธ์ของไคติน (chitin) ซึ่งเป็นพอลิเมอร์ชีวภาพที่มีปริมาณ มากเป็นอันดับสองของโลก รองจากเซลลูโลส (cellulose) สามารถละลายได้ดีในกรดอินทรีย์ (organic acid) หลายชนิด นอกจากนี้ไคโตซานมีคุณสมบัติเป็นพอลิเมอร์ที่มีประจุบวก (dominantly positive charge) สารละลายไคโตซานมีความเหนียว (vicous) และมีความใส (clear) ไคโตซานเป็น สารที่มีความว่องไวในการทำปฎิกิริยา ด้วยลักษณะสมบัติที่เป็นเอกลักษณ์ จึงมีการนำไคตินและไค โตซานมาประยุกต์ในผลิตภัณฑ์ต่างๆมากมาย แต่การนำไคโตซานมาใช้งานนั้นยังมีข้อจำกัด เนื่องจากมีน้ำหนักโมเลกุลและความเป็นผลึกสูง จึงได้มีการปรับปรุงคุณภาพทางโมเลกุลโดยการ เตรียมไคติน/ไคโตซานที่มีการแจกแจงน้ำหนักโมเลกุลไม่มากนัก มีการประยุกต์ใช้รังสีในการ เตรียมโอลิโกไคโตซานถึงแม้เป็นกระบวนการที่ต้องใช้ระบบการปฏิบัติการที่เฉพาะและอาศัยผู้ที่มี ความรู้ทางด้านรังสีแต่กระบวนการใช้รังสีในการเตรียมโอลิโกไคโตซานเป็นวิธีการที่ง่าย และการ เตรียมตัวอย่างในขั้นตอนเดียว อย่างไรก็ดี การทดลองเกี่ยวกับการใช้ ไคโตซานฉายรังสี เพื่อช่วย การเจริญเติบโต ให้ผลผลิต ตลอดจนช่วยควบคุมโรคพืช โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในข้าวซึ่งเป็นพืช เศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทย ยังไม่มีการทดลอง ดังนั้น จึงควรทำการทดลองเกี่ยวกับ ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวนี้ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่พร้อมแนะนำให้เกษตรกร หากผลการทดลองเป็นประโยชน์ ต่อการผลิตข้าวในประเทศไทย การทดลอง แบ่งออกเป็น 2 การทดลองย่อย คือ

การทดลองย่อยที่ 1. ผลของไคโตซานฉายรังสีต่อการเจริญเติบโต การให้ผลผลิตของข้าว วางแผนการทดลองแบบ RCB จำนวน 4 ซ้ำ ประกอบด้วย 6 กรรมวิธี คือ
1.ไม่ใส่ปุ๋ย
2.ใส่ไคโตซานฉายรังสี
3.ใส่ไคโตซาน (สารเคมี)
4.ใส่ปุ๋ยและควบคุมโรคตามคำแนะนำ
5.ใส่ปุ๋ยตามคำแนะนำ + ไคโตซานฉายรังสี และ
6.ใส่ปุ๋ยตามคำแนะนำ + ไคโตซาน (สารเคมี)

ปลูกข้าวพันธุ์พิษณุโลก 2 โดยวิธีหว่านน้ำตม อัตรา เมล็ดพันธุ์ 20 กิโลกรัม/ไร่ ฉีดพ่นไคโตซาน 3 ครั้ง โดยฉีดในอัตรา 80 ลิตร/ไร่ ที่ระยะ 20 วันหลัง หว่านข้าว ระยะแตกกอ และระยะกำเนิดช่อดอก ตามลำดับ บันทึกการเจริญเติบโต การให้ผลผลิต และองค์ประกอบผลผลิตข้าว ดำเนินการที่แปลงทดลองศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี อ. ธัญบุรี จ. ปทุมธานี


การทดลองย่อยที่ 2. ผลของไคโตซานฉายรังสีต่อความต้านทานโรคข้าว วางแผนการ ทดลองแบบ RCB จำนวน 4 ซ้ำ ประกอบด้วย 6 กรรมวิธี ได้แก่
1. ไคโตซานฉายรังสี ความเข้มข้น 1:250
2. ไคโตซานฉายรังสี ความเข้มข้น 1:500
3. ไคโตซานฉายรังสี ความเข้มข้น 1:1000
4. ไคโตซานการค้า
5. ใช้สารเคมีป้องกันกำจัดโรคพืชตามคำแนะนำ และ
6. ไม่มีการใช้สารเคมีป้องกัน
กำจัดโรคพืช

เพาะข้าวพันธุ์พิษณุโลก 2 ในจานเพาะเป็นเวลา 2 วัน แล้วนำมาตกกล้าในกระถางดิน เผาขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 12 ซม. โดยกรรมวิธีที่ 1-3 นำเมล็ดที่เพาะแล้วมาแช่ในไคโตซานฉายรังสี ความเข้มข้น 1:100 ก่อนตกกล้า เมื่อกล้าอายุได้ 21 วัน นำมาปักดำในกระถางปลูกข้าวขนาด เส้นผ่าศูนย์กลาง 35 เซนติเมตร วางสิ่งทดลองภายในโรงเรือนกันนก ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี อ. ธัญบุรี จ. ปทุมธานี

ฉีดพ่นไคโตซาน 3 ครั้ง ที่ระยะ 20, 30 และ 40 วันหลังปักดำ ใส่ปุ๋ยเคมีและ ฉีดพ่นสารป้องกันกำจัดแมลงตามคำแนะนำของกรมการข้าว ตรวจนับเปอร์เซ็นต์โรคข้าวโดย ประเมินด้วยสายตาตั้งแต่ระยะแตกกอจนถึงก่อนเก็บเกี่ยว หลังเก็บเกี่ยวแล้วข้าวทุกต้นนำมาตรวจ นับปริมาณโรคข้าว และผลผลิต ดำเนินการฤดูนาปี 2552



ผลการทดลอง พบว่า การใส่ไคโตซานฉายรังสี ในแปลงที่ไม่ใส่ปุ๋ยเคมี มีส่วนเสริมให้ จำนวนเมล็ด/รวงของข้าวเพิ่มขึ้น แต่มีแนวโน้มให้จำนวนเมล็ด/รวงในแปลงที่มีการใส่ปุ๋ยเคมีลดลง ถึงแม้จะไม่แตกต่างทางสถิติ
การใช้ไคโตซานฉายรังสีที่ความเข้มข้น 20 ppm สามารถต้านทานต่อโรคกาบใบแห้งที่ ระยะออกรวงและระยะแป้งแข็งได้ดีที่สุด ข้าวที่ใช้ไคโตซานฉายรังสีสามารถต้านทานการเกิดโรค กาบใบเน่าได้เทียบเท่ากับการใช้สารเคมีป้องกันการกำจัดโรคข้าวและสามารถต้านทานการเกิดโรค กาบใบเน่าได้ดีกว่าการเมื่อเทียบกับข้าวที่เป็นไม่มีการควบคุม



คำหลัก : ไคโตซานฉายรังสี, การเจริญเติบโต, ผลผลิต, การต้านทานโรค






นักวิจัยผู้หลงใหล'ไคโตซาน'


โดย : สาลินีย์ ทับพิลา


แผ่นซับหน้ามัน น้ำตาเทียม หรือเจลล้างมือแบบไม่ใช้น้ำ ผลิตภัณฑ์จากแลบเภสัชฯ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งมุ่งวิจัยเพิ่มค่าเปลือกกุ้งกระดองปู


แผ่นซับหน้ามัน น้ำตาเทียม หรือเจลล้างมือแบบไม่ใช้น้ำ ล้วนแต่เป็นสิ่งของธรรมดาที่หาได้ง่ายในห้างสรรพสินค้า แต่เมื่อนักวิจัยเลือกใช้วัสดุธรรมชาติที่เขาสนใจ มาเป็นส่วนผสมพิเศษเติมแต่งผลิตภัณฑ์ให้มีความ "พิเศษ" มากขึ้นกว่าเดิมด้วย "ไคโตซาน"

 รศ.ภูริวัฒน์ ลี้สวัสดิ์ อาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์เภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นคนหนึ่งที่มองเห็นโอกาสทางเศรษฐกิจจากไคโตซาน

 "ไคโตซานเป็นโพลีเมอร์เพียงชนิดเดียวที่สามารถผลิตได้เองในประเทศ สามารถสกัดได้จากเปลือกกุ้ง ปู และแกนปลาหมึก ซึ่งเป็นของเหลือจากอุตสาหกรรมอาหารทะเลที่ประเทศเราส่งออกเป็นอันดับต้นของโลก เป็นการเปลี่ยนของเหลือทิ้งให้กลายเป็นของที่มีมูลค่าขึ้นมาได้" นักวิจัยจากเชียงใหม่กล่าว

  รศ.ภูริวัฒน์เริ่มทำงานวิจัยมาทางสายโพลีเมอร์ โดยเฉพาะตัวเซลลูโลสและประสิทธิภาพในการควบคุมการปลดปล่อยตั้งแต่ปริญญาตรี เพิ่งมีโอกาสวิจัยเกี่ยวกับการสกัดไคโตซานเมื่อสมัยเรียนระดับปริญญาโท แต่หวนกลับไปวิจัยเกี่ยวกับเซลลูโลสเหมือนเดิมเมื่อไปเรียนต่อปริญญาเอกในต่างประเทศ

 จนเมื่อกลับมาทำงานที่บ้านเกิด ก็ยังคงตั้งเป้าจะทำงานวิจัยด้านโพลีเมอร์ แต่เซลลูโลสกลับกลายเป็นปัญหา เพราะเป็นวัตถุดิบที่ต้องนำเข้ามาจากต่างประเทศ เขาจึงมองหาวัตถุดิบใหม่ และเน้นที่สามารถทำได้เองในประเทศไทย จนมาเจอ "ไคโตซาน"

 "พอมาสนใจจริงจังก็พบว่า น่าสนใจ เพราะเป็นวัตถุดิบที่ราคาไม่แพง ผู้ประกอบการอาหารทะเลเองแปรรูปของเหลือทิ้งเป็นไคโตซานขายอยู่แล้ว ซึ่งหากเราไม่คิดจะใช้ทำประโยชน์เป็นผลิตภัณฑ์ของตนเอง ของเหล่านี้จะถูกส่งขายไปญี่ปุ่น เพื่อนำไปผ่านการคิด วิเคราะห์และเพิ่มมูลค่า ส่งกลับมาขายในประเทศเราเองในราคาที่แพงกว่าหลายเท่าตัว"

 งานวิจัยไคโตซานของรศ.ภูริวัฒน์จึงเริ่มต้นขึ้นโดยมีแนวทางสำคัญคือ การเติมไอเดีย และแนวคิดด้านการตลาดเข้าไปด้วย

 นักวิจัยไคโตซานตั้งเป้าจะนำงานวิจัยไปสู่การต่อยอดใช้เชิงพาณิชย์ โดยเน้นงานวิจัยที่ร่วมพัฒนากับเอกชน ทำให้เขาต้องเตรียมข้อมูลให้ครบถ้วนทั้งส่วนงานวิจัย และแผนความเป็นไปได้ทางธุรกิจ

 "งานวิจัยต่างๆ มักจะเลือกจากสรรพคุณหรือคุณสมบัติที่เหมาะสมแต่เพียงอย่างเดียว แต่พอจะต่อยอดไปสู่เชิงพาณิชย์ ภาคเอกชนเกิดความลังเลและตั้งคำถาม โดยเฉพาะวัตถุดิบที่จะต้องเพียงพอสำหรับการทำเป็นสินค้าจำหน่ายในท้องตลาด เหมือนกับกวาวเครือที่เป็นพืชป่า แม้สรรพคุณดี แต่ถ้าจะใช้จริงเป็นจำนวนมาก ๆ ก็มีวันหมด และยังก็ไม่สามารถปลูกได้เอง" นักวิจัย จี้จุดอ่อน

 ตรงกันข้างกับไคโตซาน ที่เรียกได้ว่าไม่ขาดแคลน เนื่องจากไทยส่งออกอาหารทะเลเป็นอันดับ 4 ของโลก และมีเปลือกกุ้ง ปู แกนปลาหมึกเหลือทิ้ง ทำให้โรงงานอุตสาหกรรมอาหารทะเลมักจะมีโรงงานทำไคโตซานอยู่ใกล้ ๆ ทำให้ความเป็นไปได้เชิงธุรกิจสูง

 ผลงานชิ้นแรก คือ ฟิล์มไคโตซานผสมสารสกัดขมิ้นชันรักษาแผลร้อนใน ภูริวัฒน์เล่าว่า ตอนนั้นขมิ้นชันกำลังได้รับความสนใจจึงนำมาประยุกต์กับไคโตซานที่มีคุณสมบัติที่สามารถยึดติดกับเยื่อเมือกได้ดี เหมาะกับการนำมาปิดแผลร้อนในภายในช่องปาก หลังจากพัฒนาต้นแบบสำเร็จได้ส่งให้ทันตแพทย์เป็นผู้ทดสอบ ได้ผลออกมาดีมาก และตามมาด้วยการจดสิทธิบัตร

 ทิศทางการทำวิจัยของนักวิจัยไคโตซานไม่ได้ตีกรอบกำหนดทิศทางการทำวิจัยเอาไว้ แต่สิ่งเดียวที่ช่วยขยายขอบเขตงานวิจัยของเขาออกไปคือ "ไอเดีย"

 รศ.ภูริวัฒน์เป็นคนชอบอ่านหนังสือ ทั้งวารสารวิชาการเพื่อติดตามข่าวความก้าวหน้าด้านงานวิจัยจากทั่วโลก หนังสือรวบรวมบทความ หนังสือแนววิเคราะห์สถานการณ์ เศรษฐกิจ การตลาด แม้กระทั่งนวนิยาย

 "การอ่านทำให้เกิดไอเดีย งานวิจัยหลายอย่างผมได้ไอเดียดีๆ มาใช้สร้างผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย"

 หนึ่งในผลงานที่พิสูจน์ได้คือ แผ่นซับหน้ามันจากไคโตซานที่ได้ไอเดียจากงานวิจัยของต่างประเทศกับประสิทธิภาพของไคโตซานที่จับและดูดซับไขมันในร่างกายจนเกิดการต่อยอดนำมาทำเป็นอาหารเสริมในรูปแคปซูล ที่ใช้กินเข้าไปดักจับไขมันในร่างกาย

 หลังจากพบว่าไคโตซานสามารถจับและดูดซับไขมันในร่างกายได้ โอกาสพัฒนาผลิตไคโตซานสำหรับเป็นแผ่นดูดซับน้ำมันบนใบหน้าก็มีมากเช่นกัน ในที่สุด แผ่นซับหน้ามันจากไคโตซานที่มีต้นทุนที่ถูกกว่าจึงถูกผลิตออกมาแย่งส่วนแบ่งตลาด โดยชูจุดเด่นสารจากธรรมชาติไม่ก่อให้เกิดการแพ้หรือระคายเคือง และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ข้อดีทั้งประสิทธิภาพและต้นทุนทำให้งานวิจัยชิ้นนี้ได้รับการติดต่อจากเอกชนหลายแห่ง

 รศ.ภูริวัฒน์ยังได้ไอเดียดีๆ จากธุรกิจขายยาของคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และในฐานะเภสัชกรทำให้ได้เห็นผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่ในร้านขายยา มองเห็นตลาด มองเห็นความต้องการของผู้บริโภค และช่องว่างที่ผลิตภัณฑ์ที่มีไม่สามารถตอบโจทย์ความต้องการได้จริง จุดประกายให้เกิดเป็นงานวิจัยออกมาเป็นระยะ

อาทิเช่น น้ำตาเทียมผสมไคโตซาน ที่ใช้ไคโตซานเพียง 1% แต่ได้เปรียบน้ำตาเทียมผสมเซลลูโลสในแง่ความหนืด ที่สำคัญ ไคโตซานสามารถเปลี่ยนรูปเป็นเจลเคลือบดวงตาเอาไว้ ทำให้คงความชุ่มชื้นของดวงตาได้มากกว่าถึง 40% ปัจจุบัน ผลงานวิจัยชิ้นนี้อยู่ระหว่างการยื่นขออนุมัติจากคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)

 แผ่นปิดแผลห้ามเลือดจากไคโตซาน (SeaShell) งานวิจัยใช้ได้จริงแต่ไม่ได้มุ่งหวังเชิงธุรกิจ โดยร่วมมือกับโรงงานเภสัชกรรมทหารพัฒนาเป็นเครื่องมือช่วยห้ามเลือด ในกรณีของอุบัติเหตุ อาชญากรรมหรือการก่อการร้ายที่ทำให้ทหาร ตำรวจหรือประชาชนเสียเลือดมาก อาจช็อกและเสียชีวิตได้ แผ่นห้ามเลือดไคโตซานจะช่วยลดห้ามเลือดให้ทัน ก่อนส่งถึงมือหมอ ปัจจุบันเป็นผลิตภัณฑ์ที่ส่งไปช่วยภาคใต้แล้ว

 สำหรับของใหม่ในปี 25523 รศ.ภูริวัฒน์มีแผนจะนำไคโตซานไปทำเจลทาผิวไล่ยุงที่มีความพิเศษคือ ทาแล้วจะกายเป็นฟิล์มเคลือบผิว ออกฤทธิ์ไล่ยุงในบริเวณกว้าง ไม่ต้องทาทั่วแขนทั่วขา และจะประยุกต์ทำเป็นเจลฟิล์มรักษาส้นเท้าแตกอีกด้วย

 เขามองว่า การทำงานวิจัยเฉพาะองค์ความรู้ที่ตนเองถนัดเพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอแล้ว  นักวิจัยจำเป็นต้องรู้ในสิ่งที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยของเรา รู้ในสิ่งที่เอกชนต้องถาม และต้องค้นคว้าหาคำตอบให้ได้ หากทำสำเร็จจะได้รับความเชื่อใจและมั่นใจ ตลอดจนการสนับสนุนจากภาคเอกชน ซึ่งเป็นผู้นำผลงานไปสานต่อเป็นผลิตภัณฑ์ที่เป็นจริง และทำตลาดได้

 10 ปีสำหรับการทำวิจัยด้านไคโตซาน รศ.ภูริวัฒน์ยังไม่มีความคิดที่จะหยุดวิจัย เขายังคงเอ่ยถึงงานวิจัยต่างๆ อย่างสนุกสนาน และบอกเสมอว่า ยังคงสนุกกับการทำวิจัย งานวิจัยแต่ละชิ้น ความมั่นใจมีเพียง 70% ที่จะไปให้ถึงปลายทาง ส่วนอีก 30% ที่เหลือเป็นความท้าทายที่ตัวเขาเองจะต้องขับเคลื่อนให้ไปถึงฝั่งให้ได้

 "สิ่งที่สำคัญคือ การลงมือทำ เพราะหากรู้อย่างเดียวไม่ลงมือทำก็จบเกม การขยับตัวลงมือทำทำให้เราได้เรียนรู้กระบวนการ พบเจอปัญหาและอุปสรรค และต้องแก้ปัญหา เปลี่ยนวิกฤติให้กลายเป็นทางออกที่ดีที่สุด" เจ้าของสิทธิบัตรผลิตภัณฑ์ไคโตซานให้แง่คิด



Tags : ภูริวัฒน์ ลี้สวัสดิ์ • -->ภูริวัฒน์ ลี้สวัสดิ์ • ไคโตซาน • -->ไคโตซาน • อาหารทะเล-->อาหารทะเล






ไคติน-ไคโตซาน

ไคติน-ไคโตซาน เป็นวัสดุชีวภาพเกิดในธรรมชาติ จัดอยู่ในกลุ่มคาร์โบไฮเดรตผสม ที่ประกอบด้วยอนุพันธ์ของน้ำตาลกลูโคสที่มีธาตุไนโตรเจนติดอยู่ด้วยทำให้มีคุณสมบัติที่โดดเด่น และหลากหลายมีประสิทธิภาพสูงในกิจกรรมชีวภาพ และยังย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ ดังนั้นจึงเป็นสารที่มีความปลอดภัยในการใช้กับมนุษย์ สัตว์ และสิ่งแวดล้อม สารไคติน-ไคโตซานนี้มีลักษณะพิเศษในการนำมาใช้ดูดซับและจับตะกอนต่างๆในสารละลายแล้วนำสารกลับมาใช้ใหม่ได้ซึ่งเป็นการหมุนเวียนตามระบบธรรมชาติ

โครงสร้างทางเคมีของสารไคติน คล้ายคลึงกับเซลลูโลส คือเป็นเส้นใยที่ยาว ไคตินที่เกิดในธรรมชาติมีโครงสร้างของผลึกที่แข็งแรงมีการจัดตัวของรูปแบบของผลึกเป็น 3 ลักษณะได้แก่ แอลฟ่าไคติน, บีต้าไคติน, และแกมม่าไคติน ไคตินที่เกิดในเปลือกกุ้งและปู ส่วนใหญ่อยู่ในรูปแอลฟ่าไคติน ส่วนไคตินที่อยู่ในปลาหมึกพบว่าส่วนใหญ่เป็นบีต้าไคตินในการจัดเรียงตัวของโครงสร้างตามธรรมชาติ พบว่าแอลฟ่าไคตินมีคุณลักษณะของเสถียรภาพทางเคมีสูงกว่าบีต้าไคติน ดังนั้นจึงมีโอกาสที่บีต้าไคตินสามารถจะเปลี่ยนแปลงรูปแบบไปเป็นแอลฟ่าไคตินได้ในสารละลายของกรดแก่ เช่น กรดเกลือ เป็นต้น ส่วนแกมม่าไคตินเป็นโครงสร้างผสมระหว่างแอลฟ่าและบีต้าไคติน

ไคตินเป็นโพลีเมอร์ที่มีสายยาว  มีองค์ประกอบของหน่วยย่อยเป็นอนุพันธ์ของน้ำตาลกลูโคสมีชื่อว่า N-acetyl glucosamine ไคตินเป็นสารที่ละลายยากหรือไม่ค่อยละลาย ส่วน  ไคโตซานเป็นโพลีเมอร์ของหน่วยย่อยที่ชื่อว่า glucosamine มากกว่า 60% ขึ้นไป (นั้นคือมีปริมาณ N- acetylglcosamine นั้นเอง ในธรรมชาติย่อมมีไคตินและไคโตซาน ประกอบอยู่ในโพลิเมอร์ ที่เป็นสายยาวในสัดส่วนต่างๆกัน ถ้ามีปริมาณของ glucosamine น้อยกว่า 40 % ลงมา พอลิเมอร์นั้นจะละลายได้ในกรดอินทรีย์ต่างๆนั้นหมายถึง มีปริมาณไคโตซานมากกว่า 60 % นั้นเอง ฉะนั้นการเปลี่ยนแปลงทางเคมีทำให้ไคตินเปลี่ยนไปเป็นไคโตซาน คือการลดลงของหมู่อะซีติลหรือเรียกว่า Deacetylation ขณะที่มีการลดลงของหน่วยย่อย N-acetyl glucosamine ย่อมเป็นการเพิ่มขึ้นของ glucosamine ในปริมาณที่เท่ากัน ซึ่งคือการเปลี่ยนแปลงไคตินให้เป็นไคโตซานนั่นเอง การจัดระดับของการ Deacetylation มีค่าร้อยละหรือเรียกว่า Percent Deacetylation ( % DD)

กล่าวคือเมื่อในพอลิเมอร์มีค่าเกิน % DD เกินกว่า 60 % ขึ้นไป ของการกระจายไคโตซานในกรดอินทรีย์มากจะเพิ่มขึ้นของหมู่อะมิโนของ glucosamine ทำให้มีความสามารถในการรับโปรตรอน จากสารละลายได้เพิ่มขึ้นซึ่งช่วยในการละลายดีขึ้น เพราะมีสมบัติของประจุบวกเพิ่มขึ้น ฉะนั้น ไคโตซานจึงสามารถละลายได้ดีขึ้นในกรดต่างๆ เช่น กรดน้ำส้ม กรดแลคติก และกรดอินทรีย์อื่นๆ

ซึ่งโดยธรรมชาติแล้ว ไคโตซานจะไม่ละลายน้ำเช่นเดียวกับเปลือกกุ้ง กระดองปู หรือเปลือกไม้ทั่วไป แต่ไคโตซานจะละลายได้ดีเมื่อใช้กรดอินทรีย์เป็นตัวทำละลาย สารละลายของไคโตซานจะมีความข้นเหนียวแต่ใสคล้ายวุ้น หรือพลาสติกใส ยืดหยุ่นได้เล็กน้อยจึงมีคุณสมบัติที่พร้อมจะทำให้เป็นรูปแบบต่างๆได้ง่าย โดยเฉพาะถ้าต้องการทำเป็นแผ่นหรือเยื่อบางๆเป็นเจล หรือรูปร่างเป็นเม็ด เกล็ด เส้นใย สารเคลือบและคอลลอยด์ เป็นต้น นอกจากนี้ไคโตซานยังย่อยสลายตามธรรมชาติ จึงไม่เกิดผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิต เมื่อกินเข้าไปและไม่มีผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมเมื่อเติมลงไปในน้ำหรือในดินเพื่อการเกษตร

ไคโตซานที่ผลิตขึ้นมาใช้ในปัจจุบันนี้ มีหลายรูปแบบ และส่วนใหญ่จะผลิตมาจากบริษัทต่างประเทศ จึงมีราคาค่อนข้างสูง



"นักเรียนทุน พสวท.มอ.หาดใหญ่ วิจัยไคโตซาน"

ไคโตซาน คือ สารโพลิเมอร์ชีวภาพที่สกัดจากไคติน ซึ่งเป็นโครงสร้างของเปลือกกุ้ง กระดองปู แกนปลาหมึก และผนังเซล ของเห็ด ราบางชนิด ไคติน-ไคโตซาน จัดเป็นโคโพลิเมอร์ที่อยู่ร่วมกันในธรรมชาติ มีปริมาณของไคติน มากเป็นอันดับสองรองจากเซลลูโลส ไคติน-ไคโตซาน มีสมบัติพื้นฐานที่เข้ากับธรรมชาติได้ดี ย่อยสลายง่าย ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งไคติน-ไคโตซาน มีหมู่อะมิโนที่แสดงสมบัติพิเศษหลายประการที่ต่างจากเซลลูโลส เช่น การละลายได้ในกรดอินทรีย์เจือจาง การจับกับอิออนของโลหะได้ดี และการมีฤทธิ์ทางชีวภาพ ปัจจุบันมีการนำสาร ไคติน-ไคโตซาน มาประยุกต์ใช้จริงทั้งในภาคอุตสาหกรรม ภาคเกษตรกรรม ทางการแพทย์ และเภสัชกรรม เช่น สารตกตะกอนในการบำบัดน้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรม อุตสาหกรรมเส้นใยสิ่งทอ เพื่อป้องกัน แบคทีเรียและเชื้อรา ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อคุณภาพในการลดไขมันและคอเลสเตอรอล เรื่องความสวยความงามที่เป็นที่สนใจของคุณสุภาพสตรีทั้งหลาย สารเร่งการเติบโตในพืชและสัตว์ แลกเนื้อต่างๆ เช่น สุกร กุ้ง เป็ด ไก่ สารเคลือบผลไม้เพื่อยืดอายุการเก็บรักษา สารถนอมอาหาร และแผ่นฟิล์มปิดแผล ช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น


นางสาวเบญจวรรณ บุญแก้ว ชั้นปีที่ 4 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ ได้ทำวิจัยเรื่อง การศึกษาการดูดซับของ Acid Orange 12 บนไคโตซาน โดยมี อาจารย์สุรจิตร ทีฆสกุล ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ หาดใหญ่ เป็นที่ปรึกษา จากศึกษาการใช้ไคโตซานดูดซับสารละลายสีย้อม Acid Orange 12 ที่อุณหภูมิ 30 Celciovs degree 50 Celciovs degree และ 70 Celciovs degree การดูดซับเป็นไปตาม Freundlich adsorption Isotherm และจากการเปรียบเทียบประสิทธิภาพของการดูดซับที่อุณหภูมิต่างๆ โดยพิจารณาจากค่า Q(theoretical monolayer saturation capacity) ตามวิธีของ Langmuir พบว่า การดูดซับทางกายภาพและเคมีเกิดร่วมกัน ซึ่งที่ 30 Celciovs degree ค่า Q = 1,012 mg/g ที่ 50 Celciovs degree ค่า Q =3,603 mg/g และ ที่ 70 Celciovs degree ค่า Q =2,933mg/g


นางสาวนีรนุช ภู่สันติ ชั้นปีที่ 4 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ ได้ทำวิจัยเรื่องเตรียมและศึกษาคุณลักษณะของเยื่อแผ่นไคโตซาน โดยมี อาจารย์สุรจิตร ทีฆสกุล ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ หาดใหญ่ เป็นที่ปรึกษาศึกษาการเตรียมและคุณลักษณะของเยื่อแผ่นไคโตซาน ที่เตรียมโดย 2 วิธี วิธีแรกเตรียมเยื่อแผ่นไคโตซานจากสารละลาย 2%


โดยน้ำหนักและปริมาตรของไคโตซานในกรดอะซิติกเข้มข้น 1% โดยปริมาตรแล้วผสมกับ porogens คือ poly(ethylene glycol)(PEG) หรือ poly(vinyl alcohol)(PVA) เมื่อทำการตรวจสอบโครงสร้างเยื่อแผ่นด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด พบว่าเยื่อแผ่นที่ได้ มีลักษณะเป็นเยื่อแผ่นไม่สมมาตรมีชั่นผิวแบบแน่นเกิดขึ้นที่ผิวด้านที่สัมผัสกับอากาศ วิธีที่สองเป็นการเตรียมและศึกษาคุณลักษณะเยื่อแผ่น ไคโตซาน สำหรับกระบวนการ pervaperation โดยใช้เทคนิค response surface methodology(RSM)ในการออกแบบการทดลอง ซึ่งเตรียมเยื่อแผ่นจากสารละลาย 1% โดยน้ำหนักต่อปริมาตรของไคโตซาน ในกรดอะซิติกเข้มข้น 1% หลังจากนั้น ทำการเชื่อมขวางด้วยกรด ซัลฟิวริก


ทั้งนี้ผลงานดังกล่าว จะนำเสนอในงานประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี "วิทยาศาสตร์เพื่อเยาวชน" ระหว่างวันที่ 14-15 มีนาคม 2549 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมประชุมไบเทค บางนา กรุงเทพมหานคร ภายในงานมีการเสวนาเรื่อง 3 วัย...นักวิทย์กับชีวิตงานวิจัย การบรรยายและจัดแสดงผลงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์กว่าสี่ร้อยหัวข้อจากนิสิต นักศึกษาระดับปริญญาตรี โท เอก และนักวิทยาศาสตร์ไทยในโครงการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี(พสวท.) และ โครงการอื่นๆ และนิทรรศการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ผู้สนใจสามารถเข้าชมนิทรรศการดังกล่าวได้ โดยคลิกไปดูรายละเอียดได้ในเว็บไซต์ เว็บไซต์ www.ipst.ac.th





หน้าก่อน หน้าก่อน (2/5) - หน้าถัดไป (4/5) หน้าถัดไป


Content ©