-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 302 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

ฮอร์โมน




หน้า: 2/4



ไซโตไคนิน ทำเอง

สัตว์ ที่ไม่มีกระดูกสันหลังทุกชนิดเช่น กุ้ง-ปู-ปูนิ่ม-ใส้เดือน-หนอน-แมลง-รกสัตว์-ไข่อ่อน-ไข่หอยเชอร์รี่ ใช้สดๆ
พืช น้ำมะพร้าวอ่อน-ข้าว-ข้าวโพดหวาน ระยะน้ำนม-หัวไชเท้าแก่จัด-ผักปรัง-ยอดพืชอ่อนๆ-เมล็ดอ่อน-รากพืชอ่อนๆ ที่กำลัง โต-สด-ใหม่-ใหญ่-อวบ-สมบูรณ์-ไม่มีโรค

วิธีทำ
นำส่วนผสมอย่างละเท่าๆกันมาบดใส่ถังพลาสติกทึบแสง  กากน้ำตาล = 1 : 1 น้อยกว่าเล็กน้อย หัวเชื้อจุรินทรีย์แห้งหรือแป้งข้าวหมากเปลือกสัปรดก็ด้ายน้ำมะพร้าวอ่อนใส่ใด้ไม่จำกัดเก็บถังหมักไว้ในร่ม อุณหภูมิห้อง ปิดฝาให้แน่นสนิท หมั่นคนวันละ 2-3 รอบ มากกว่าก็ได้ใช้ของหนักกดทับไม่ให้ลอย 24 ช.ม จุรินทรีย์ต้องการอากาศหลังจากนั้นคลายฝาปิดออกใช้ผ้าหรือกระสอบปิดแทน หมักนาน 3-6 เดือน ขึ้นไปจะได้ผลดี ถ้าให้ดีต้องข้ามปี
ฉีดพ่นทางใบใด้ตลอด ยกเว้นช่วงดอกบาน อัตรา 10-20 ซีซี ./น้ำ20ลิตร ทุก 7วัน จุรินทรีย์ที่ดีจะมีกลิ่นฉุนหอมหวาน

ไซโตไคนินในพืชจะมีน้ำตาลเพนโทส (คาร์บอน 5 อะตอม) เกาะติดอยู่หรือมีฟอสเฟสอยู่ด้วยหมายความว่า ไซโตไคนินเกิดขึ้นแบบไรโบไซด์ (riboside) หรือไรโบไทด์ (ribotide) ตัวอย่างเช่น อนุพันธ์ของซีอะทินที่พบว่าในผลอ่อนข้าวไรโบไทด์ชนิดหนึ่ง

นอกเหนือจากไซโตไคนินที่พบในพืช มีสารที่เกิดขึ้นจากการสังเคราะห์ทางเคมีและมีคุณสมบัติเช่นเดียวกับไซโตไคนินเรียก ไซโตไคนินสังเคราะห์ ได้แก่ เบนซิลแอดินีน (benzyladenine) หรือ BA และเตตระไฮโดรไพรานิล เบนซิลแอดินีน (tetrahydropyranyl) หรือ PBA เป็นต้น ใน t-RNA ของสัตว์และจุลินทรีย์หลายชนิดก็สามารถสร้างสารกระตุ้นการแบ่งเซลล์นี้ได้

แหล่งของไซโตไคนินในพืชจะพบมากในบริเวณปลายราก และสามารถเคลื่อนย้ายไปในส่วนของใบ ลำต้น และส่วนต่าง ๆ ของพืชโดยผ่านทางท่อน้ำ(สมบุญ, 2544)

ไซโตไคนินในพืชจะถูกสังเคราะห์ขึ้นในรากแล้วมีการเคลื่อนย้ายไปยังใบ และลำต้นโดยผ่านทางท่อลำเลียงน้ำ (xylem)( นิรันดร์ ,2536 )


ผลของไซโตไคนินที่มีต่อการเจริญเติบโตของพืช
1.ส่งเสริมการแบ่งเซลล์ หน้าที่หลักของไซโตไคนิน คือช่วยให้ไซโตพลาสซึมของเซลล์ใน
ส่วนต่าง ๆ ของพืช เช่น ลำต้น และราก เกิดการแบ่งตัว ( นิตย์,2541)

2.เร่งการขยายตัวของเซลล์ จากการศึกษาการเลี้ยงเนื้อเยื่อของไส้ (pith)ยาวสูบ พบว่า ไซโตไคนินสามารถขยายขนาดของแวคิวโอลในเซลล์ ทำให้เซลล์ขยายใหญ่ขึ้นได้ และพบว่าในเซลล์ที่เจริญเต็มที่ของแผ่นใบและใบเลี้ยงซึ่งปกติจะไม่มีการขยายตัว ไซโตไคนินสามารถส่งเสริมการขยายตัวของเซลล์ในส่วนที่ตัดจากแผ่นใบและใบเลี้ยงได้ (สมบุญ,2544)

3.ส่งเสริมการสร้างและการเจริญของตา การเพิ่มไซโตไคนินให้กับตาข้าง( lateral buds )ทำให้แตกออกมาเป็นใบได้ ทั้งนี้เพราะตาข้างจะดึงอาหารมาจากส่วนอื่น(ดนัย,2539) ช่วยในการงอกของเมล็ด ไซโตไคนินเป็นสารช่วยเร่งการแบ่งเซลล์ จึงมีผลทำให้เมล็ดงอก
สามารถงอกได้เร็วขึ้น ในเมล็ดที่กำลังงอกจะพบไซโตไคนินในปริมาณสูง ไซโตไคนินยังสามารถกระตุ้นเมล็ดและตาข้างที่พักตัวให้เกิดการงอกได้

4.ส่งเสริมการสร้างโปรตีน ไซโตไคนินสามารถดึงสารและกรดอะมิโนชนิดต่าง ๆ เข้าใกล้ตัว และสามารถสร้าง RNA,DNA ซึ่งทั้งกรดอะมิโน RNAและDNA เป็นสารที่จำเป็นในการสร้างโปรตีน ทำให้พืชทั้งต้นเจริญเติบโต

5.ชะลอกระบวนการเสื่อมสลายตัวของคลอโลฟิลล์ (นิตย์, 2541;นพดล, 2537) โดยเฉพาะBAP (benzyladenine) สามารถชะลอการแก่ของพืช แต่สารนี้มีราคาสูงไม่นิยมใช้ในทางพาณิชย์ (สมบุญ, 2544)

6.ควบคุมการเปิดปิดของปากใบ ในพืชทั่วไปปากใบจะเปิดในที่มีแสงและปิดในที่มืด ไซโต
ไคนินมีผลทำให้ปากใบเปิดในที่มืดได้ (สมบุญ, 2544)

7.ส่งเสริมการพัฒนาของคลอโรพลาสต์และการสังเคราะห์คลอโรฟิลล์ ส่วนของพืชที่มีไซโตไคนินจะสามารถดึงเอาอาหารมาจากส่วนอื่นๆได้ และยังช่วยให้ใบที่เปลี่ยนเป็นสีเหลืองสามารถสังเคราะห์คลอโรฟิลล์ขึ้นได้อีก ทำให้ส่วนของพืชที่ได้รับสารไซโตไคนินมีอายุได้นาน (สมบุญ, 2544)

8.ชักนำการสร้างตาดอกและพัฒนาตาดอก พบว่าไซโตไคนินมีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าออกซินและจิบเบอเรลลิน ( Bernier et al., 1985 )

9.ไซโตไคนินเพิ่มขนาดเซลล์ในใบเลี้ยงและในใบของพืชใบเลี้ยงคู่ (นพดล, 2537 )



เกี่ยวข้องกับการแบ่งเซลล์ และการยืดตัวของเซลล์ ผลทางสรีรวิทยาของไซโตไคนินมีดังนี้
1.ส่งเสริมการสร้าง แคลลัส
2.เร่งการแตกตาข้าง
3.ชะลอการชราภาพ (senescence)
4.ช่วยในการเคลื่อนย้ายธาตุอาหารในพืช
5.ส่งเสริมการสังเคราะห์โปรตีน
6.ชะลอการสูญเสียคลอโรฟิลล์


สารกลุ่มนี้ในธรรมชาติคือ kinetin (น้ำมะพร้าว) zeatin (ข้าวโพด)
สารสังเคราะห์ในกลุ่มนี้คือ benzylaminopurine (BA) ,kenetin ,PBA เป็นต้น


อ้างอิงจาก
http://www.geocities.com/psplant/pgr003.htm



ใช้กระปิละลายในกากน้ำตาล และน้ำมะพร้าวอ่อนก้ได้ใช่ไหม
กะปิ + น้ำตาลปึก คนให้เข้ากัน หาฝักจำพวกพริก หอมแดง หั่นลงไป ใช้ได้ดีกับ ผลไม้รสเปรี้ยว
.....แต่ ด้านชิชาการแล้ว กะปิมีส่วนผสมของเกลือ ซึ่งสารพัดโซเดียม เป็นพิษต่อพืช ถ้าต้องการสารที่ได้จากเปลือกกุ้ง เปลือกปู  ขอย้ำ ควรใช้สัตว์น้ำจืด เพราะการหมักและสกัดสารหรือฮอร์โมนบางชนิดต้องใช้จุลลินทรีย์แต่ละอย่างไป ไม่ได้ใช้ได้กับทุกๆตัว และจุลลินทรีย์แต่ละระดับในถังหมัก จะมีประสิทธิภาพย่อยสลายที่แตกต่างกันไป ดังนั้นควรคนให้จุลลินทรีย์ได้หมุนเวียนทั่วทั้งถังหมัก
.....วิธีเทส ว่ากระบวนการหมักเพื่อเอาสารดังกล่าวมีผลอย่างไร ให้ดม ถ้ามีกลิ่นหอมเหมือนเบียร์ ก็ใช้ได้ แต่ถ้าดมแล้วหงายท้อง ถือว่าสอบไม่ผ่าน

www.pantown.com/board.php?id=3402&area...




ไซโทไคนิน (cytokinin) 
เป็นฮอร์โมนพืชที่พบมากบริเวณปลายราก เอ็มบริโอ ผลอ่อน น้ำมะพร้าว และยีสต์ มีคุณสมบัติในการกระตุ้นการแบ่งเซลล์และการเจริญเปลี่ยนแปลงของเซลล์ในระหว่างการเจริญเติบโต
ผลของไซโทไคนินต่อพืช
 
กระตุ้นการแบ่งเซลล์และการเจริญเปลี่ยนแปลงของเซลล์
กระตุ้นให้เกิดหน่อใหม่และตาใหม่ จึงใช้มากในการเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช
กระตุ้นการเจริญของกิ่งแขนง
ช่วยให้พืชรักษาความสดไว้ได้นาน
ช่วยให้ปากใบเปิดในที่มืดได้
ยืดอายุไม้ตัดดอกบางชนิดไม่ให้เหี่ยวเร็ว
ชะลอการแก่ของใบ และผลไม้ให้ช้าลง
ช่วยในการสร้างโปรตีน RNA  และ DNA
เพิ่ม

www.cmw.ac.th/elibrary/.../sec%203%20page%205.html


 ยืดอายุดอกกุหลาบด้วยน้ำมะพร้าว
จากการศึกษาเรื่อง ฮอร์โมนพืชจากแบบเรียนวิชาชีววิทยา รหัส ว044 ทำให้ทราบว่าในนำมะพร้าวมีฮอร์โมนชื่อ ไซโทไคนิน ซึ่งฮอร์โมนนี้มีคุณสมบัติในการกระตุ้นการแบ่งเซลล์และได้มีผู้นำไปผสมในสูตรอาหารสำหรับเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ นอกจากนี้ไซโทไคนินในนำมะพร้าวยังเป็นสารที่ใช้ในการเกษตรอย่างแพร่หลายในด้านการกระตุ้นการเจริญเติบโตของกิ่งแขนง ช่วยชะล่อการแก่ของผลไม้

จากข้อมูลที่ศึกษาในแบบเรียนชีววิทยาทำให้คณะผู้ทำมีความคิดว่าฮอร์โมนไซโทไคนินในนำมะพร้าวที่ชะลอการแก่ของผลไม้เน่าจะชะลอการเหี่ยวของดอกไม้ได้ ซึ่งดอกไม้ที่นิยมกันอย่างแพร่หลายแทบทุกเทศกาลก็คือดอกกุหลาบในบางฤดูดอกกุหลาบจะมีราคาแพงมาก ถ้าเรามีวิธียืดอายุของดอกกุหลาบไว้จำหน่ายได้หลายวัน

คณะผู้จัดทำจึงทดลองศึกษาเกี่นวกับการยืดอายุของดอกกุหลาบด้วยนำมะพร้าวโดยทดลองหาความเข้มข้นของมะพร้าวที่จะทำให้ดอกกุหลาบอยู่ได้นานที่สุดโดยใช้นำมะพร้าวโดยทดลองหาความเข้มข้นต่างกัน 0% , 1% , 5% และ 10% ผลปรากฏว่าดอกกุหลาบที่แช่ในนำมะพร้าว 1% อยู่ได้นานประมาณ 5 วัน ซึ่งเมื่อเทียบกับนำมะพร้าวเข้มข้น 0% , 1% , 5% และ 10% ดอกกุหลาบอยู่ได้นานประมาณ 3 4 5 ตามลำดับ

จากผลการทดลองจะเห็นได้ว่าเมื่อแช่ดอกกุหลาบในนำมะพร้าว 1% สามารถทำให้ดอกกุหลาบอยู่ได้นานที่สุด ดังนั้นนำมะพร้าวจึงสามารถยืดอายุของดอกกุหลาบได้

st.mengrai.ac.th/users/research/detial.php?id=165 -



ไซโตไคนิน ในน้ำมะพร้าว

ในการสกัดสารฮอร์โมนไซไตโคนินจากน้ำมะพร้าว ที่ได้จากผลมะพร้าวที่อายุต่างๆ คือ มะพร้าวอ่อน มะพร้าวกึ่งแก่กึ่งอ่อน (มะพร้าวทึนทึก) และมะพร้าวแก่ (มะพร้าวแกง) ผลปรากฎว่า ปริมาณสารฮอร์โมนไซโตไคนินที่สกัดได้ใน

มะพร้าวอ่อนเฉลี่ย 0.53 ppm ซึ่งมีประมาณมากที่สุด รองลงมาได้แก่
มะพร้าวกึ่งแก่กึ่งอ่อน เฉลี่ย 0.12 ppm และใน
มะพร้าวแก่ 0.02 ppm ตามลำดับ

ส่วนสารประกอบอื่นๆ ที่มีอยู่ในน้ำมะพร้าว ได้แก่
น้ำตาล
Galactose และ
Arabinose และ
ไขมัน


pikul.lib.ku.ac.th/cgi-bin/agdb1.exe?rec_id...



กะปิเร่งราก
กะปิใช้ได้ดีเนื่องจากกุ้งฝอยในกะปิเร่งการงอกรากของกิ่งตอนพืชชนิดต่าง ๆ โดยการทดลองจากโรงเรียนพนมสารคาม "พนมอดุลวิทยา" อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา ที่ได้รับรางวัลจาก ชนะการประกวดรางวัลชมเชย สาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ ภาคตะวันออก ปี 2545 ว่าการศึกษาการตอนกิ่งชมพู่ กิ่งตอนไทรยอดทองและกิ่งตอนมะนาว ด้วยการทาฮอร์โมน ทากะปิจากกุ้งฝอยเพื่อเร่งการงอกรากของกิ่งตอน ตัวแปรที่ศึกษา ได้แก่ออร์โมน กะปิส่วนประกอบต่างๆของกุ้งฝอย และเกลือ ผลการศึกษาพบว่า ฮอร์โมนและกะปิเร่งการงอกรากของกิ่งตอนชมพู่ กิ่งตอนไทรยอดทอง และกิ่งตอนมะนาวได้ดีกว่า โดยใช้ระยะเวลารวมเฉลี่ยน้อยและใกล้เคียงกันและจำนวนรากที่งอกของกิ่งตอนทาฮอร์โมนน้อยกว่ากะปิ ส่วนการตอนกิ่งชมพู่ กิ่งตอนไทรยอดทอง และกิ่งตอนมะนาวด้วยการทาส่วนประกอบของกะปิคือกุ้งฝอยและเกลือ ปรากฏว่ากุ้งฝอยทั้งตัวเร่งการงอกรากในระยะเวลาที่น้อยที่สุดในพืชทั้ง 3 ชนิด ส่วนจำนวนรากที่งอกมากกว่ากิ่งตอนทาด้วยเกลือ ในการศึกษาการตอนกิ่งชมพู่ กิ่งตอนไทรยอดทอง และกิ่งตอนมะนาว ด้วยการทากิ่งตอนด้วยส่วนต่างๆของกุ้งฝอย พบว่าที่ดีที่สุดที่ระยะเวลาและจำนวนรากที่งอกได้แก่ ส่วนทั้งตัวตัวของกุ้งฝอย รองลงมาคือส่วนเปลือกของกุ้งฝอย ดังนั้นในการตอนกิ่งชมพู่ กิ่งตอนไทรยอดทอง และกิ่งตอนมะนาว เพื่อให้ได้ผลที่ดีและไม่ยุ่งยากจนเกินไปนำส่วนทั้งตัวของกุ้งฝอย ทำให้แห้งบดเป็นผง ละลายน้ำก่อนทากิ่งตอน ทาให้รอบตรงบริเวณส่วนที่ควั่นกิ่ง แล้วทำการตอนกิ่งทิ้งไว้ประมาณ 12-24 วัน ในช่วงฤดูหนาวถ้าฤดูฝนจะใช้เวลาน้อยกว่า


การใช้กะปิช่วยเร่งการแตกรากในการตอนกิ่ง
การตอนกิ่ง คือ การทำให้กิ่งหรือต้นพืชเกิดรากขณะติดอยู่กับต้นแม่ จะทำให้ได้ต้นพืชใหม่ ที่มีลักษณะทางสายพันธุ์ เหมือนกับต้นแม่ทุกประการ โดยมีขั้นตอนการปฏิบัติ ดังนี้
1. เลือกกิ่งกึ่งแก่กึ่งอ่อนที่สมบูรณ์ปราศจากโรคและแมลง
2. ควั่นกิ่ง ลอกเอาเปลือกออก แล้วขูดเยื่อเจริญที่เป็นเมือกลื่น ๆ ออก นำกะปิเท่าหัวนิ้วมือ ผสมน้ำ 1 แก้ว(150 CC) คนให้เข้ากัน ใช้ทาส่วนที่เราต้องควั่นกิ่ง
3. นำตุ้มตอน (ขุยมะพร้าวที่แช่น้ำ แล้วบีบหมาด ๆ อัดลงในถุงพลาสติก ผูกปากถุงให้แน่น) มาผ่าตามความยาวแล้วนำไปหุ้มบนรอยแผลของกิ่งตอน มัดด้วยเชือกทั้งบนและล่างรอยแผล
4. เมื่อกิ่งตอนมีรากงอกแทงผ่านวัสดุ และเริ่มแก่เป็นสีเหลือง สีน้ำตาล ปลายรากมีสีขาว และมีจำนวนมากพอจึงตัดกิ่งตอนได้
5. นำกิ่งตอนไปชำในภาชนะ กระถางหรือถุงพลาสติก เพื่อรอการปลูกต่อไป
www.kuankaset.com/index.php?topic=684.0




หน้าก่อน หน้าก่อน (1/4) - หน้าถัดไป (3/4) หน้าถัดไป


Content ©