-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 196 บุคคลทั่วไป และ 1 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

อินทรีย์ชีวภาพ










แหล่งเรียนรู้การทำปุ่ยอินทรีย์ชีวภาพ



แหล่งการเรียนรู้การทำปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ
แหล่งการเรียนรู้การทำปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ
ที่ตั้ง  5 หมู่ 13 บ้านทุ่งวัว   ตำบลทุ่งพระยา   อำเภอสนามชัยเขต   จังหวัดฉะเชิงเทรา
ประวัติความเป็นมา
       ในปัจจุบันมีการนำสารเคมีต่าง ๆ มาใช้ในชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก รวมถึงการใช้สารเคมีทางการเกษตร
ซึ่งแพร่หลายมาก ผลที่ตามมาทำให้เกิดสภาพการเสื่อมโทรมของดิน และพืชไร่จนกระทั่งในปี 2544 ได้เข้ารับการ
อบรมเป็นหมอดินอาสาประจำหมู่บ้าน โดยสถานีพัฒนาที่ดินฉะเชิงเทรา อบรมให้ความรู้เรื่องการปรับปรุงดินให้มี
คุณภาพโดยการใช้สารอินทรีย์ ชีวภาพ และได้มีการพัฒนาความรู้อย่างสม่ำเสมอรวมไปถึงการนำมาปฏิบัติ จน
ได้การยอมรับจากชุมชน และมีผู้สนใจเข้ามาศึกษาอย่างต่อเนื่อง  
องค์ความรู้
วัตถุประสงค์/จุดมุ่งหมาย
1.       เพื่อเป็นแหล่งศึกษาดูงานของบุคคลทั่วไปที่มีความสนใจในด้านการใช้สารอินทรีย์ชีวภาพ
2.       เพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารและให้ความรู้เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง(ไร่นาสวนผสม)
3.       เพื่อเป็นสถานที่สาธิตการทำปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพและการปลูกพืชโดยวิธีเกษตรธรรมชาติ
โครงสร้างเนื้อหา   สาระหลักสูตร
การทำปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ
1. ปุ๋ยหมักชีวภาพเพิ่มผลผลิตและปรับปรุงหน้าดิน
ปุ๋ยหมักชีวภาพ คือ ปุ๋ยอินทรีย์ที่ผ่านกระบวนการหมักกับน้ำสกัดชีวภาพ ช่วยในการปรับปรุงดิน
ย่อยสลายอินทรียวัตถุในดินให้เป็นอาหารแก่พืช
ส่วนผสม
                1. ปุ๋ยขี้นก             6              ส่วน (ให้ธาตุไนโตรเจน)
                2. ปุ๋ยขี้ไก่             6              ส่วน (ให้ธาตุฟอสฟอรัส)
                3. ปุ๋ยขี้วัว             6               ส่วน (ให้ธาตุโปรแตสเซี่ยม)
                4. ปุ๋ยขี้ค้างคาว      2               ส่วน (ให้ธาตุหลักและไวโตซาน)
                5. ปุ๋ยกระดูกป่น     2               ส่วน (ให้ธาตุแคลเซี่ยม)
                6. รำละเอียด        2               ส่วน (ให้วิตามินบี)
                7. แกลบดำ-ขาว                 3              ส่วน (ให้ซิลิก้า)
                8. ยิบซัมและปูนขาว           1               ส่วน (ด่าง)
                9. เศษพืชแห้ง                   1              ส่วน (ให้ซิลิก้า)
                10. จุลินทรีย์ พด.1 หรือปุ๋ยน้ำ 20 ลิตร ผสมน้ำ 200 ลิตร (เป็นตัวย่อยสลาย)
วิธีทำ
              1. นำส่วนผสมลำดับที่ 1-9 มาคลุกเคล้าให้เข้ากันดีจึงนำข้อ 10 มารดให้ได้ความชื้น 50-60 เปอร์เซ็นต์
 แล้วคลุกเคล้าให้เข้ากัน   จากนั้นเกลี่ยกองปุ๋ยสูงประมาณ 1 ฟุต เพื่อป้องกันไม่ให้กองปุ๋ยร้อนเกินไป
               2. นำกระสอบมาคลุมกองไว้
               3. กลับกองปุ๋ยทุก 7-15 วัน จึงนำไปใช้ได้
วิธีใช้
1. ผสมปุ๋ยหมักชีวภาพกับดินในแปลงปลูกผักทุกชนิดในอัตรา 1  กิโลกรัมต่อพื้นที่  1 ตารางเมตร
2. พืชผักอายุเกิน 2 เดือน เช่น กะหล่ำปลี ถั่วฝักยาว แตง และฟักทอง ใช้ปุ๋ยหมักชีวภาพคลุกกับดิน
รองก้นหลุมก่อนปลูกกล้าผัก ประมาณ 1 กำมือ
3.ไม้ผลควรรองก้นหลุมด้วยเศษหญ้า ใบไม้แห้ง ฟาง และปุ๋ยหมักชีวภาพ 1-2 กิโลกรัม สำหรับไม่ที่ปลูก
แล้วใส่ปุ๋ยหมักชีวภาพแนวทรงพุ่ม 1-2 กำมือ ต่อ 1 ตารางเมตร แล้วคลุมด้วยหญ้าแห้งใบไม้แห้งหรือฟาง
แล้วรดน้ำสกัดชีวภาพให้ชุ่ม
4. ไม้ดอก ไม่ประดับ ไม้กระถาง ควรใส่ปุ๋ยหมักชีวภาพ เดือนละ 1 ครั้งๆ ละ 1 กำมือ
หมายเหตุ  ปุ๋ยหมักชีวภาพไม่ใช่ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก แต่เป็นหมักจุลินทรีย์ เมื่อใส่ลงดินที่มีความชื่นพอเชื่อ
จุลินทรีย์ที่ได้จากน้ำสกัดชีวภาพ จะทำหน้าที่ย่อยสลายอินทรีย์วัตถุ ให้เป็นสารอินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ต่อต้นไม้
จึงไม่จำเป็นต้องให้ในปริมาณมากๆ และในดินต้องมีอินทรีย์วัตถุ พวกปุ๋ยหมักปุ๋ยคอก หญ้าแห้ง และใบไม้แห้ง
และมีความชื้นอย่างเพียงพอ เป็นต้น จึงจะได้ประโยชน์เต็มที่จากการใส่ปุ๋ยหมักชีวภาพ และบ่อยครั้งเท่าไรเพื่อ
ให้ได้ประโยชน์สูงสุดนั้น ท่านต้องให้ความสังเกตเอาเอง เพราะพืชแต่ละชนิด และในแต่ละพื้นที่มีการตอบสนอง
ต่อปุ๋ยหมักชีวภาพไม่เหมือนกัน
การนำปุ๋ยหมักไปใช้อย่างประหยัดและได้ผลอีกวิธีหนึ่งคือ ก่อนนำไปใช้ควรผสมปุ๋ยหมักชีวภาพกับปุ๋ย หรือปุ๋ยคอก
เสียก่อน ในอัตราส่วนปุ๋ยหมักชีวภาพ 1 ส่วนต่อปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก 10 ส่วน คลุกให้เข้ากันดี แล้วนำไปใช้เช่นเดียว
กับการใช้ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก โดยวิธีนี้จะใช้มากเท่าไหร่ก็ไม่เป็นผลเสีย อย่าลืมด้วยว่าด้วยเทคนิคจุลินทรีย์เราไม่
จำเป็นต้องใช้ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกปริมาณมาก เช่นที่เราเคย ปฏิบัติมา ใช้เพียง 1 ใน 4 ส่วนก็พอแล้ว หรือขึ้นอยู่กับ
ปริมาณอินทรีย์ที่มีอยู่แล้วในดิน ถ้ามีอยู่มากเราก็ใส่แต่น้อย ถ้ามีอยู่น้อยเราก็ใส่มากหน่อยหรือบ่อยหน่อย
2. การผลิตปุ๋ยหมักโดยใช้สารเร่ง ซุปเปอร์ พด.1
                สารเร่งซุปเปอร์ พด.1 
                เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีคุณภาพสูงในการย่อยสลายวัสดุเหลือใช้จากการเกษตรและอุตสาหกรรมแปรูปผลผลิต
ทางการเกษตรเพื่อผลิตปุ๋ยหมักในเวลารวดเร็วและมีคุณภาพสูงขึ้น   ประกอบด้วยเชื้อราและแอคติโนมัยซีสที่ย่อยสาร
ประกอบเซลลูโลสและแบคทีเรียที่ย่อยไขมัน
                จุดเด่นของสารเร่งซุปเปอร์ พด.1
1.       มีประสิทธิภาพสูงในการย่อยสารประกอบเซลลูโลส
2.       สามารถย่อยสลายน้ำมัน/ไขมันในวัสดุหมักที่สลายตัวยาก
3.       ผลิตปุ๋ยหมักในระยะเวลารวดเร็ว และมีคุณภาพ
4.       เป็นจุลินทรีย์ที่ทนอุณภูมิสูง
5.       เป็นจุลินทรีย์ที่สามารถสร้างสปอร์จึงเก็บรักษาผลผลิตได้นาน
6.       สามารถย่อยวัสดุเหลือใช้ได้หลากหลายและครอบคลุมมากขึ้น
ส่วนผสม
เศษพืชแห้ง                          1,000                     กิโลกรัม
มูลสัตว์                                   200                     กิโลกรัม
ปุ๋ยไนโตรเจน                               2                   กิโลกรัม
สารเร่งซุปเปอร์ พด.                    1                      ซอง
วิธีการกองปุ๋ยหมัก
                การกองปุ๋ยหมัก 1   ตัน มีขนาดความกว้าง 2 เมตร   ยาว 3 เมตร สูง 1.5 เมตร การกอง มี 2 วิธี
ขึ้นอยู่กับชนิดของวัสดุวัสดุที่มีขนาดเล็กให้คลุกเคล้าวัสดุให้เข้ากันแล้วจึงกองเป็นรูปสี่เหลี่ยมพื้นผ้า   ส่วนวัสดุ
ที่มีชั้นขนาดยาวให้กองเป็นชั้นประมาณ 3-4 ชั้น   โดยแบ่งส่วนผสมที่จะกองออกเป็น 3-4 ส่วน ตามจำนวนชั้นที่กอง ดังนี้
                1. ผสมสารเร่งซุปเปอร์ พด.1 ในน้ำ 20 ลิตร   นาน 10-15 นาที เพื่อกระตุ้นให้จุลินทรีย์ออกจากสภาพ
ที่เป็นสปอร์และพร้อมที่จะเกิดกิจกรรมการย่อยสลาย
                2. การกองชั้นแรกให้นำวัสดุที่แบ่งไว้ส่วนที่หนึ่งมากองเป็นชั้นมีขนาดกว้าง 2 เมตร ยาว 3 เมตร สูง 30-40 เซนติเมตร ย่ำให้พอแน่นและรดน้ำให้ชุ่ม
                3. นำมูลสัตว์โรยที่ผิวหน้าเศษพืชตามด้วยปุ๋ยไนโตรเจน   แล้วราดสารละลายสารเร่งซุปเปอร์ พด. 1 ให้ทั่ว 
โดยแบ่งใส่เป็นชั้น ๆ
                4. หลังจากนั้นนำเศษพืชมากองทับเพื่อทำชั้นต่อไป ปฏิบัติเหมือนการกองครั้งแรก ทำเช่นนี้ อีก 2-3 ชั้น 
ชั้นบนสุดของกองปุ๋ยควรปิดทับด้วยเศษพืชที่เหลืออยู่เพื่อป้องกันการสูญเสียความชื้น
การดูแลรักษากองปุ๋ยหมัก
                1. รดน้ำรักษาความชื้นในกองปุ๋ย   ให้มีความชื้นประมาณ 50-60 %
                2. การกลับกองปุ๋ยหมัก   กลับกอง   10 วันต่อครั้ง   เพื่อเพิ่มออกซิเจน ลดความร้อนในกองปุ๋ย และช่วย
ให้วัสดุคลุกเคล้ากัน   หรือใช้ไม้ไผ่เจาะรูให้ทะลุตลอดทั้งลำและเจาะรูด้านข้างปักรอบ ๆ กองปุ๋ยหมัก ห่างกันลำละ 50-70 เซนติเมตร
                3. การเก็บรักษากองปุ๋ยหมักที่เสร็จแล้ว เก็บไว้ในโรงเรือน อย่าตากแดดและฝนจะทำให้ธาตุอาหารพืช
ในปุ๋ยหมักสูญเสียไปได้
การพิจารณาปุ๋ยหมักที่เสร็จสมบูรณ์แล้ว
1.       มีสีน้ำตาลเข็มจนถึงสีดำ
2.       อ่อนนุ่ม ยุ่ย ไม่แข็งกระด้างและขาดออกจากกันได้ง่าย
3.       ปุ๋ยหมักที่เสร็จสมบูรณ์จะไม่มีกลิ่นเหม็น
4.       อุณหภูมิภายในกองปุ๋ยใกล้เคียงกับอุณหภูมิภายนอกกอง
5.       พืชสามารถเจริญเติบโตได้โดยไม่เป็นอันตราย
อัตราและวิธีการใช้ปุ๋ยหมัก
            -  ข้าว ใช้ 2 ตันต่อไร่ หว่านให้ทั่วพื้นแล้วไถกลบก่อนปลูก
         -  พืชไร่ ใช้ 2 ตันต่อไร่ โรยเป็นแถวตามแนวปลูกพืช แล้วคลุกเคล้ากับดิน
         -  พืชผัก ใช้ 4 ตันต่อไร่ หว่านทั่วแปลงปลูกไถกลบขณะเตรียมดิน
           -  ไม้ผล ไม้ยืนต้น เตรียมหลุมปลูก   ใช้ 20   กิโลกรัมต่อหลุม คลุกเคล้าปุ๋ยหมักกับดินใส่รองก้นหลุมต้นพืช
ที่เจริญเติบโตแล้ว ใช้ 20-50 กิโลกรัมต่อต้น ขึ้นกับอายุของพืชโดยขุดร่องตามแนวทรงพุ่มใส่ปุ๋ยหมักในร่องและกลบ
ด้วยดิน   หรือหว่านให้ทั่วภายใต้ทรงพุ่ม
           -  ไม้ตัดดอก ใส่ปุ๋ยหมัก 2 ตันต่อไร่ ไม้ดอกยืนต้นใช้ 5-10 กิโลกรัมต่อหลุม
           -   ใส่ปุ๋ยหมักช่วงเตรียมดิน และไถกลบขณะที่ดินมีความชื้นเพียงพอจะทำให้ธาตุอาหารเป็นประโยชน์ต่อพืชสูงสุด
ประโยชน์ของปุ๋ยหมัก
                1. ปรับปรุงสมบัติทางกายภาพของดิน ทำให้ดินร่วนซุย การระบายอากาศ และการอุ้มน้ำของดินดีขึ้น 
รากพืชแพร่กระจายได้ดี
                2. เป็นแหล่งธาตุอาหารพืช ทั้งธาตุอาหารหลัก ธาตุอาหารรอง และจุลธาตุ
                3. ดูดยึดและเป็นแหล่งเก็บธาตุอาหารในดินไม่ให้ถูกชะล้างสูญเสียไปได้ง่าย และปลดปล่อยออกมาให้พืช
ได้ใช้เป็นประโยชน์ทีละน้อยตลอดฤดูปลูก
                4. เพิ่มความต้านทานต่อการเปลี่ยนแปลงความเป็นกรดด่างของดิน
                5. เพิ่มแหล่งอาหารของจุลินทรีย์ดิน ทำให้ปริมาณและกิจกรรมจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ในดินเพิ่มมากขึ้น
3. การผลิตปุ๋ยอินทรีย์น้ำ โดยใช้สารเร่งซุปเปอร์ พด.2
                ปุ๋ยอินทรีย์น้ำ หมายถึง ปุ๋ยอินทรีย์ในรูปของเหลว ซึ่งได้จากการย่อยสลายวัสดุเหลือใช้จากพืชหรือสัตว์ลักษณะสด อวบน้ำ หรือมีความชื้นสูงโดยอาศัยกิจกรรมของจุลินทรีย์ทั้งในสภาพที่ไม่มีอากาศและมีอากาศ ได้ของเหลวสีน้ำตาล 
ประกอบด้วยฮอร์โมนหรือสารเสริมการเจริญเติบโตของพืช เช่น ออกซิเจน จิบเบอเรลลินและไซโตไคนิน   รวมทั้งกรดอินทรีย์หลายชนิด เช่น กรดแลคติก กรดอซิติก กรดอะมิโน และกรดฮิวมิก
                สารเร่งซุปเปอร์ พด.2   เป็นเชื้อจุลินทรีย์ที่มีคุณสมบัติในการย่อยสลายวัสดุการเกษตรในลักษณะสด 
อวบน้ำหรือมีความชื้นสูง เพื่อผลิตปุ๋ยอินทรีย์น้ำ โดยดำเนินกิจกรรมทั้งในสภาพที่ไม่มีอากาศและมีอากาศ ประกอบด้วยจุลินทรีย์ 5 สายพันธุ์ ดังนี้ ยีสต์ ผลิตแอลกอฮอล์และกรดอินทรีย์   แบคทีเรียผลิตกรดแลคติก    แบคทีเรียย่อยสลาย
โปรตีน   แบคทีเรียย่อยสลายไขมัน และแบทีเรียละลายอนินทรียฟอสฟอรัส
                จุดเด่นของสารเร่งซุปเปอร์ พด.2
1.       สามารถผลิตปุ๋ยอินทรีย์น้ำจากวัตถุดิบได้หลากหลาย เช่น ผัก ผลไม้ ปลา หอยเชอรี่ เปลือกไข่ 
      เศษก้งและกระดูกสัตว์
2.       เพิ่มประสิทธิภาพการละลายธาตุอาหารในการหมักวัตถุดิบจากเปลือกไข่ ก้าง และกระดูกสัตว์
3.       เป็นจุลินทรีย์ที่เจริญได้ในสภาพความเป็นกรด
4.       จุลินทรีย์ส่วนใหญ่สร้างสปอร์ ทำให้ทนต่อสภาพแวดล้อมและเก็บรักษาได้นาน
5.       สามารถผลิตปุ๋ยอินทรีย์ในเวลาสั้นและได้คุณภาพ
6.       ช่วยให้พืชแข็งแรง ต้านทานต่อการเข้าทำลายของโรค/แมลง
ส่วนผสมสำรัยผลิตปุ๋ยอินทรีย์น้ำ
ปุ๋ยอินทรีย์น้ำจากผักและผลไม้    จำนวน 50 ลิตร    (ใช้เวลาหมัก   7 วัน)
ผักหรือผลไม้                      40           กิโลกรัม
กากน้ำตาล                         10           กิโลกรัม
น้ำ                                    10           ลิตร
สารเร่งซุปเปอร์ พด.2            1            ซอง(25 กรัม)
ปุ๋ยอินทรีย์จากปลาหรือหอยเชอรี่   จำนวน   50 ลิตร (ใช้เวลาหมัก 15-20 วัน)                              
ปลาหรือหอยเชอรี่              30           กิโลกรัม
ผลไม้                              10           กิโลกรัม
น้ำ                                  10           ลิตร
สารเร่งซุปเปอร์ พด.2          1             ซอง(25 กรัม)
วิธีการทำปุ๋ยอินทรีย์น้ำ โดยใช้สารเร่งซุปเปอร์ พด.2
                1. หั่นหรือสับวัสดุพืชหรือสัตว์ให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ ผสมกับกากน้ำตาลในถังหมัก ขนาด 50 ลิตร
                2. นำสารเร่งซุปเปอร์ พด.2 จำนวน 1 ซอง ผสมในน้ำ 10 ลิตร คนให้เข้ากันนาน 5 นาที
                3. เทสารละลายสารเร่งซุปเปอร์ พด.2 ในถังหมัก   คนส่วนผสมให้เข้ากันปิดฝาไม่ต้องสนิทและตั้งทิ้ง
ไว้ในที่ร่ม
                4. ในระหว่างการหมัก คนหรือกวน 1-2 ครั้ง/วัน เพื่อระบายก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และทำให้ส่วนผสม
คลุกเคล้าได้ดียิ่งขึ้น
                5. ในระหว่างการหมักจะเห็นฝ้าขาวซึ่งเป็นเชื้อจุลินทรีย์ที่ผิวหน้าของวัสดุหมัก ฟองก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
และกลิ่นแอลกอฮอล์การผลิตปุ๋ยอินทรีย์น้ำโดยการต่อเชื้อ
การพิจารณาปุ๋ยอินทรีย์น้ำที่มักสมบูรณ์แล้ว
                -  การเจริญของจุลินทรีย์น้อยลง โดยคราบเชื้อที่พบในช่วงแรกจะลดลง
   - ไม่พบฟองก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
    -  กลิ่นแอลกอฮอล์ลดลง
    -   ความเป็นกรดด่าง (ph) อยู่ระหว่าง 3-4
อัตราและวิธีการใช้
                Yเจือจางปุ๋ยอินทรีย์น้ำ ต่อน้ำ อัตราส่วน 1:500-1:1,000
                Y ฉีดพ่นหรือลดลงดิน ในช่วงการเจริญเติบโตของพืช
ประโยชน์ของปุ๋ยอินทรีย์น้ำ
       1.   ส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช   โดยพบว่าปุ๋ยอินทรีย์น้ำมีฮอร์โมนและกรดอินทรีย์หลายชนิด 
ออกซิน จิบเบอเรลลิน ไซโตไคนิน กรดแลคติก   กรดอะซิติก   กรดอะมิโน   และกรดฮิวมัส
2.       กระตุ้นการงอกของเมล็ด
3.       เพิ่มการย่อยสลายตอซังพืช
การทำปุ๋ยน้ำชีวภาพ (สูตรเร่งโตยอดใบ)
ส่วนผสม
1. น้ำคั้นหัวไชเท้า                            1              แก้ว
2. น้ำคั้นยอดผักอ่อนๆ                       1              แก้ว
3. น้ำมะพร้าว                                  1              แก้ว
4. น้ำนึ่งปลา                                   1              แก้ว
5. คลูโคลส                                    2              แก้ว
6. เฟตริลอนคอมบิ (ธาตุเสริม/ธาตุรอง)1     ซอง
7. สารกันบูด                                   1              ซอง
วิธีทำ
                นำส่วนผสมทั้งหมดเทใส่ถังพลาสติก คนให้เข้ากันเก็บไว้ใช้ได้เลย
วิธีใช้
                30-50 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ผสมอาหารเสริม 25-5-5   1-2 ช้อนแกง สมุนไพร   และเชื้อรา
ฉีดพ่นทางใบ 5-7 วัน/ครั้ง
การทำปุ๋ยซุปเปอร์ พด.2 (เร่งการเจริญเติบโต)
ส่วนผสม
                1. ปุ๋ยน้ำ พด.2(ต้ม)           5              ลิตร
                2. น้ำหัวไชเท้า                 3              ลิตร
                3. น้ำกาวเครือขาวหรือเอ็นเอเอ       3              ลิตร
                4. น้ำเมล็ดกำลังงอกหรือจิบเบอเรลลิ 3              ลิตร
                5. น้ำมะพร้าว                     10           ลิตร
                6. นมสด                          2              ลิตร
                7. ธาตุอาหารเสริม              3              ซอง
                8. ปุ๋ยเกล็ดสูตร 25-5-5      2            กิโลกรัม
                9. คลูโคลส                           1             กิโลกรัม
นำส่วนผสมทั้งหมดเทใส่ถังพลาสติก คนให้เข้ากันเก็บไว้ใช้ได้เลย
วิธีใช้    20-30 ซีซี ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่น 7-10 วัน ต่อครั้ง
การทำปุ๋ยน้ำสูตรเร่งโตผล
ส่วนผสม
                1. น้ำเปลือกกุ้งและใส้ปลา                1              แก้ว
                2. น้ำคั้นหัวไชเท้า                           1              แก้ว
                3. น้ำคั้นกาวเครือขาว                      1              แก้ว
                4. น้ำคั้นเมล็ดกำลังงอก,ลูกอ่อน        1               แก้ว
                5. น้ำมะพร้าว                                1              แก้ว
                6. เฟตริลอนคอมบิ                         1              ซอง
                7. คลูโคส                                    2              แก้ว
                8. ผงกันบูด                                  1              ซอง
                นำส่วนผสมทั้งหมดเทใส่ถังพลาสติก คนให้เข้ากันแล้วเก็บไว้ใช้ได้เลย
วิธีใช้      2-3 ช้อนแกง/น้ำ 20 ลิตรเวลาใช้ให้ผสมผงธาตุอาหารเสริม-แคลเซียม-โบรอน 1-2 ช้อนแกง+สมุนไพร
+เชื้อราผสมคนให้เข้ากันฉีดพ่นทางใบ 5-7 วัน/ครั้ง
การทำซุปเปอร์ พด2. (สูตรเปิดตาดอก)
ส่วนผสม
                1. ปุ๋ยน้ำ พด.2(ต้ม)                           5              ลิตร
                2. น้ำหัวไชเท้า                                 3              ลิตร
                3. น้ำกาวเครือขาวหรือเอ็นเอเอ            3              ลิตร
                4. น้ำเมล็ดกำลังงอกหรือจิบเบอเรลลิน   3              ลิตร
                5. น้ำมะพร้าว                                   5              ลิตร
                6. นมสด                                         3              ลิตร
                7. ไข่ไก่หรือไข่หอย                          4              กิโลกรัม
                8. ซุปไก่                                        1              ขวด
                9. คลูโคลส                                     2             กิโลกรัม
10.ปุ๋ยเกล็ด สูตร 30-20-10                      2            กิโลกรัม
นำส่วนผสมทั้งหมดเทใส่ถังพลาสติก คนให้เข้ากันเก็บไว้ใช้ได้เลย
วิธีใช้    20-30 ซีซี ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่น 7-10 วัน ต่อครั้ง  นาข้าวใช้ในช่วงส่งรวง( ห้ามฉีดพ่นในช่วงข้าวตากเกสร
ปุ๋ยน้ำ พด. สูตรรวมมิตร
ส่วนผสม
                1. กุ้ง หอย ปู ปลา                           30           กิโลกรัม
                2. กากน้ำตาล                                 30           กิโลกรัม
                3. พืช ผัก   ผลไม้                           20           กิโลกรัม
                4. น้ำมะพร้าว น้ำซาวข้าว น้ำล้างหมู ปลา   ตามความเหมาะสม
                5. สารเร่ง พด. 2                             1              ซอง ( 25  ซอง )
                6. หน่อกล้วย                                  1-2          หน่อ
วิธีการผสมสาเร่ง พด.2
1.       นำสารเร่ง พด. 2 จำนวน 1 ซอง ผสมในน้ำที่เตรียมไว้คนให้เข้ากัน
2.       นำหน่อกล้วยมาสับให้ละเอียดก่อนหมัก และกากน้ำตาล หรือใช่น้ำตาลทรายแดง น้ำอ้อย ก็ได้ลงในถัง 200 ลิตร แล้วเทสาร พด.2ลงในถัง
3.       นำกุ้ง หอย ปู   ปลา และพืชผักผลไม้มาคลุกเคล้าหรือคนให้เข้ากัน ปิดฝาหลวมๆ ตั้งไว้ในที่ร่ม
วิธีการใช้
                เจือจางปุ๋ยอินทรีย์น้ำ ต่อน้ำ อัตราส่วน 1:500-1:1,000
                ฉีดพ่นหรือลดลงดิน ในช่วงการเจริญเติบโตของพืช
4. การผลิตเชื้อจุลินทรีย์ควบคุมเชื้อสาเหตุโรคพืช โดยใช้สารซุปเปอร์ พด.3
                สารเร่งซุปเปอร์ พด.3 เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีคุณสมบัติในการควบคุมเชื้อสาเหตุโรคพืชในดิน 
สามารถทำลายหรือยับยั้งการเจริญของเชื้อจุลินทรีย์ในดินที่เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการรากเน่าหรือโคนเน่า
ในพืชที่ปลูกในสภาพที่ดอน และที่ลุ่ม    กลุ่มจุลินทรีย์ในสารเร่งซุปเปอร์ พด. 3 ประกอบด้วยเชื้อราไตรโคเดอร์มา
และเชื้อแบคทีเรียบาซิลลัส
จุดเด่นของสารเร่งซุปเปอร์ พด.3
1.       ทำลายหรือยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์ในดินที่เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการรากเน่าหรือ
โคนเน่าในพืช
2.       ลดและควบคุมปริมาณเชื้อสาเหตุโรคพืชในดินทั้งในสภาพที่ดอนและที่สุ่ม
3.       ทำให้ดินมีธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อพืชเพิ่มขึ้นเนื่องจากจุลินทรีย์ในสารเร่งผลิตกรดอินทรีย์
เพื่อละลายแร่ธาตุในดินให้อยู่ในรูปที่เป็นประโยชน์
4.       รากพืชแข็งแรง พืชเจริญเติบโตดี เนื่องจากพืชได้รับธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์เพิ่มมากขึ้น
วิธีการขยายเชื้อซุปเปอร์ พด.3
วัสดุสำหรับการขยายเชื้อ
ปุ๋ยหมัก                                                 100         กิโลกรัม
รำข้าว หรือมูลไก่ หรือมูลค้างคาว                1              กิโลกรัม
สารเร่งซุปเปอร์ พด. 3                              1              ซอง(25กรัม)
วิธีการขยายเชื้อ
1. ผสมสารเร่งซุปเปอร์ พด. 3 ในน้ำสะอาด คนให้เข้ากันนาน 5 นาที
2.       รดสารละลายซุปเปอร์ พด.3ลงในกองปุ๋ยหมักและรำข้าวคลุกเคล้าให้เข้ากัน
3.       ตั้งกองปุ๋ยที่คลุกผสมเข้ากันดีแล้ว เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ให้มีความสูง 50 เซนติเมตร และใช้วัสดุคลุมกองปุ๋ย 
เพื่อรักษาความชื้นให้ได้60-70 เปอร์เซ็น
4.       กองปุ๋ยหมักให้อยู่ในที่ร่มเป็นเวลา 7 วัน
การดูแลรักษา
1. รักษาความชื้นกองปุ๋ยหมักอย่างสม่ำเสมอ โดยใช้วัสดุคลุม   หรืออาจใช้วิธีการกรอกปุ๋ยที่คลุกผสมเข้ากันดีแล้ว
ลงในถุงปุ๋ย แล้วมัดปากถุงเพื่อรักษาความชื้นเป็นเวลา 7 วัน
2. หลังจากขยายเชื้อเป็นเวลา 7 วัน เชื้อจุลินทรีย์ในกองปุ๋ยหมักจะเพิ่มปริมาณขึ้น สังเกตได้จากกลุ่มเส้นใยสีขาว  
และสปอร์สีเขียวเจริญในกองปุ๋ยหมักเป็นจำนวนมาก
3. คลุกเคล้าปุ๋ยหมักให้เข้ากัน นำไปเก็บไว้ในที่ร่ม
วิธีการใช้
1.       พืชไร่ พืชผัก และไม้ดอกไม้ประดับ ใช้อัตราส่วน 100 กิโลกรัมต่อไร่ ใส่ระหว่างแถวก่อนปลูกพืช
2.       ไม้ผล   และไม้ยืนต้น ใช้อัตราส่วน 3-6 กิโลกรัมต่อต้นใช้รองก้นหลุมและใส่รอบทรงพุ่ม
3.       แปลงเพาะกล้า ใช้อัตราส่วน 1-2 กิโลกรัมต่อพื้นที่ 10 ตารางเมตร โรยให้ทั่วแปลง       เพาะกล้า        
การผลิตสารป้องกันแมลงศัตรูพืช โดยใช้สารเร่ง พด. 7
สารเร่ง พด.7
                เป็นเชื้อจุลินทรีย์ที่มีคุณสมบัติในการเพิ่มประสิทธิภาพการหมักและย่อยสลายพืชสมุนไพรชนิดต่าง ๆ
ในสภาพที่ไม่มีออกซิเจน เพื่อผลิตสารป้องกันแมลงศัตรูพืช
 ชนิดของจุลินทรีย์ในสารเร่ง พด.7
            £ยีสต์ผลิตแอลกอฮอล์ และกรดอินทรีย์
£แบคทีเรียผลิตเอนไซม์เซลลูเลสย่อยสลายสารประกอบเซลลูโลศ
£ แบคทีเรียผลิตกรดแลคติก
ชนิดพืชสมุนไพร
             Øสมุนไพรที่ใช้ป้องกันพวกเพลี้ย ได้แก่ ตะไคร้หอม หางไหล สาบเสือ หนอนตายหยาก บอระเพ็ด  
กระทกรก และข่า เป็นต้น
Øสมุนไพรป้องกันหนอนกระทู้   หนอนชอนใบ   ได้แก่ ฟ้าทลายโจร หางไหล ตระไคร้หอม เปลือกแค 
สาบเสือ หนอนตายหยาก สะเดา ว่านเศรษฐี และว่านน้ำ เป็นต้น
Øสมุนไพรที่ป้องกันและเป็นพิษต่อแมลงวันทอง ได้แก่ หมาก เมล็ดน้อยหน่า เมล็ดเงาะ ยาสูบ พริกไทยดำ 
ขิง และพญาไร้ใบ
Øสมุนไพรที่ใช้ไล่แมลงไม่ให้วางไข่    ได้แก่ คำแสด มะกรูด ตะไคร้ เมล็ดละหุ่ง มะนาว   พริก  
และพริกไทย เป็นต้น
วัสดุสำหรับผลิตสารป้องกันแมลงศัตรูพืช
                1. พืชสมุนไพร                  30           กิโลกรัม
                2. น้ำตาล                         10           กิโลกรัม
                3. น้ำ                              50           ลิตร
                4. สารเร่ง พด. 7                1              ซอง(25 กรัม)
วิธีทำ
1. สับพืชสมุนไพรให้เป็นชิ้นเล็ก   ทุบหรือตำให้แตก
2. นำพืชสมุนไพรและน้ำตาลใส่ลงในถังหมักผสมคลุกเคล้าให้เข้ากัน
3. ละลายสารเร่ง พด.7 ในน้ำ 50 ลิตร ผสมให้เข้ากันนาน 5 นาที
4. เทสารละลายสารเร่ง พด.7 ใส่ลงในถังหมักคลุกเคล้าหรือคนให้ส่วนผสมเข้ากันอีกครั้ง
5. ปิดฝาไม่ต้องสนิท และตั้งไว้ในที่ร่มใช้ระยะเวลาในการหมัก 20 วัน
การพิจารณาลักษณะที่ดีทางกายภาพในระหว่างการหมักเพื่อผลิตสารป้องกันและแมลงศัตรูพืช
การเจริญของจุลินทรีย์        -   เกิดฝ้าของเชื้อจุลินทรีย์เจริญเต็มผิวหน้า หลังจากการหมัก 1-3 วัน
การเกิดฟองก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์ - มีฟองก๊าซเกิดขึ้นบนพื้นผิวและใต้วัสดุหมัก
การเกิดกลิ่นแอลกอฮอล์   -   ได้กลิ่นแอลกอฮอล์ฉุนมาก
ความใสของสารละลาย    -    เป็นของเหลวใสและมีสีเข้ม
การพิจารณาสารป้องกันแมลงศัตรูพืชที่สมบูรณ์แล้ว
X    การเจริญของจุลินทรีย์ลดลง
X   กลิ่นแอลกอฮอล์ลดลง
X   กลิ่นเปรี้ยวเพิ่มสูงขึ้น
X  ไม่ปรากฏฟองก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์ 
X       ความเป็นกรดเป็นด่างของสารป้องกันแมลงศัตรูพืชมี pH ต่ำกว่า 4
อัตราการใช้
    X       สารป้องกันแมลงและศตรูพืช : น้ำเท่ากับ 1:200 สำหรับพืชไร่และไม้ผล                                               
    X       สารป้องกันแมลงศัตรูพืช : น้ำเท่ากับ   1:500 สำหรับพืชผัก และไม้ดอก
วิธีการใช้
                X   สารป้องกันแมลงศัตรูพืชที่เจือจางแล้วอัตรา 50   ลิตร ต่อไร่ สำหรับใช้ในพืชไร่ พืชผัก และไม้ดอก
                X   สารป้องกันแมลงศัตรูพืชที่เจือจางแล้วอัตรา   100   ลิตร ต่อไร่สำหรับใช้ในไม้ผล 
    X       โดยฉีดพ่นที่ใบ ลำต้น และรดลงดินทุก 20 วัน หรือในช่วงที่มี แมลงศัตรูพืชระบาดให้ฉีดพ่นทุก ๆ 3 วัน 
ติดต่อกัน 3 ครั้ง
การใช้ปุ๋ยพืชสดในนาข้าว
พืชปุ๋ยสดที่นิยมใช้ในนาข้าว เป็นพืชตระกูลถั่ว   จำพวก โสนอัฟริกัน เพราะชอบที่ลุ่มมีน้ำขังและทนต่อสภาพ             ดินเค็มได้ ส่วนถั่วพุ่ม ถั่วพร้า และปอเทืองเป็นพืชปุ๋ยสดในที่ดอน ทนแล้งไม่ทนเค็มแต่ก็สามารถปลูกในนาข้าวที่ลุ่มได้              แต่ในระหว่างเจริญเติบโตต้องไม่มีน้ำขัง หลังจากไถกลบแล้วจึงปล่อยน้ำเข้านาได้ พืชตระกูลถั่วมีสมบัติพิเศษ คือ มีปม              ที่รากสามารถตรึงไนโตรเจนจากอากาศ มาเก็บไว้ในปมรากถั่ว   และสะสมในต้นพืชเมื่อพืชปุ๋ยสดย่อยสลายจะเป็นการ           เพิ่มธาตุไนโตรเจน และ อินทรียวัตถุให้แก่ดิน
  
การใช้พืชตระกูลถั่วเป็นปุ๋ยพืชสดในนาข้าว
                วิธีที่ 1 ปลูกพืชปุ๋ยสดก่อนการทำนา เช่น โสนอัฟริกัน   ปอเทือง ถั่วพุ่ม   หรือ ถั่วพร้า ในอัตรเมล็ด 5,5,8            และ 10 กิโลกรัมต่อไร่ ตามลำดับ ปลูกในระหว่าง เดือนเมษายนถึงพฤษภาคม ไถกลบระยะออกดอก ทิ้งให้ย่อยสลาย            7 วัน จึงปลูกข้าวตาม เมล็ดโสนอัฟริกันก่อนปลูก ควรแช่น้ำนาน 12 ชั่วโมง เพื่อทำให้เมล็ดงอกดีขึ้นเนื่องจากเปลือกหุ้ม
เมล็ดมีความหนา
                วิธีที่ 2 ปลูกพืชปุ๋ยสดพร้อมกันกับข้าว โดยปลูกพืชตระกูลถั่ว เช่น ถั่วพุ่ม และถั่วพร้า 
ใช้อัตราเมล็ด 8 และ 10 กิโลกรัมต่อไร่ตามลำดับ พร้อมกับหว่านข้าวในนาหว่านข้าวแห้ง เพื่อให้ถั่วเจริญเติบโตพร้อม
กับต้นข้าวในช่วงที่น้ำยังไม่ขังในนา แต่ถ้ามีน้ำขังพืชปุ๋ยสดที่ปลูกจะตายเน่าสลายให้ธาตุอาหาร อินทรียวัตถุแก่ดินและ
ต้นข้าว
                วิธีที่ 3 ปลูกพืชปุ๋ยสดหลังทำนา เช่น ดสนอัฟริกัน ปอเทือง ถั่วพุ่ม หรือถั่วพร้า ใช้อัตราเมล็ด 5,5,8 และ
10 กิโลกรัมต่อไร่ตามลำดับ   ปลูกโดยไม่ไถพรวน ไม่ต้องเกี่ยวตอซังข้าวออกใช้เมล็ดถั่วหยอดลงไปในนาโดยตรง 
และปลูกทันทีที่เกี่ยวข้าวเสร็จ ในขณะที่ดินยังมีความชื้นอยู่หรือจะปลูกโดยการไถพรวนดินอย่างดีก็ได้ และไถกลบ
ระยะออกดอกทิ้งให้ย่อยสลายจึงปลูกข้าว
การไถกลบพืชปุ๋ยสด
                การไถกลบ ตั้งแต่ช่วงที่พืชปุ๋ยสดออกดอก จนถึงดอกบาน   ซึ่งเป็นช่วงที่ให้น้ำหนักสด และธาตุอาหาร
พืชสูงสุดปล่อยให้ย่อยสลายประมาณ 7 วัน จึงปลูกพืชเศรษฐกิจตามการใช้ปุ๋ยพืชสดจะสามรถเพิ่มผลผลิตข้าว ลดการ
ใช้ปุ๋ยเคมีได้ครึ่งหนึ่ง ลดต้นทุนการผลิตเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรโดยจะต้องปลูกพืชปุ๋ยสดให้มีน้ำหนักสดไม่ต่ำกว่า
2 ตันต่อไร่
กิจกรรมการให้บริการความรู้
1.       เป็นแหล่งศึกษาดูงาน
2.       ให้บริการความรู้เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง(ไร่นาสวนผสม)
3.       เป็นแหล่งเรียนรู้ในเรื่องการทำปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ
กระบวนการเรียนรู้/ความชำนาญการ
1.       บรรยายให้ความรู้แก่คณะที่มาศึกษาดูงานได้อย่างถูกต้องและชัดเจน
2.       นำคณะศึกษาดูงานดูสถานที่ปฏิบัติจริง
3.       สาธิตการทำปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ
การนำเสนอข้อมูล
                - เอกสารแผ่นพับ
                - วิทยากรบรรยาย
การจัดแสดงภายในอาคาร
                - จัดป้ายข้อมูลพื้นฐาน
                - จัดป้ายขั้นตอนการทำปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ
               
ค่าใช้จ่ายในการเข้ารับบริการ/ร่วมบริการ
                ไม่เสียค่าใช้จ่าย     
วัน   เวลา   ที่ให้บริการ
วันจันทร์-วันเสาร์             เวลา    09.00 น.-16.30 น.             
ผู้รับผิดชอบ
                นางสาวนุจนารถ    สุขโข               ครูอาสาสมัครการศึกษานอกโรงเรียน
                นางอุษา     นันทา                       ครูศูนย์การเรียนชุมชน
แผนที่/ข้อมูลในการเดินทาง
                - ระยะเวลาในการเดินทางจากจังหวัดฉะเชิงเทราถึงแหล่งเรียนรู้การทำปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ ประมาณ  
2 ชั่วโมง   
             - ระยะทางจากจังหวัดฉะเชิงเทราถึงศูนย์แหล่งเรียนรู้การทำปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ   
ประมาณ 97 กิโลเมตร
 - พาหนะในการเดินทาง (ใช้รถยนต์ในการเดินทาง)
กิจกรรมที่จัดในแหล่งการเรียนรู้
            1.  โครงการการทำปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ  โดยใช้คูปองส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต  จัดระหว่างวันที่ 23 มิถุนายน 52
ถึงวันที่  9  กรกฎาคม  2552  จำนวน  1  กลุ่ม  
                                                        
                                      ถาพกิจกรรม
               
2.  โครงการเรียนรู้วิถีชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง วันที่ 16 สิงหาคม 2552 

จำนวน 1 กลุ่ม 20 คน

                           ภาพกิจกรรม

     


เข้าชม : 1563


แหล่งเรียนรู้ 5 อันดับล่าสุด

      ศูนย์การเรียนชุมชนตำบลลาดกระทิง 21 / ส.ค. / 2552
      แหล่งเรียนรู้วิสาหกิจชุมชน กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านบึงตะเข้ 17 / ส.ค. / 2552
      แหล่งเรียนรู้การทำปุ่ยอินทรีย์ชีวภาพ 3 / ส.ค. / 2552
      กิจกรรมศูนย์การเรียนชุมชนตำบลคู้ยายหมี 28 / ก.ค. / 2552
      แหล่งเรียนรู้ "การเพาะเห็ดฟางปลอดสารพิษ" 5 / ก.ย. / 2551
ccs.nfe.go.th/sanamchai/index.php?name...file...id=48 -









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-05-10 (3450 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©