-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 422 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

อินทรีย์ชีวภาพ




หน้า: 1/2


แหล่งธาตุอาหารพืช

      

กากน้ำตาล
100 เปอร์เซ็นต์.......ประกอบด้วยธาตุอาหารพืช ดังนี้
น้ำ 20.65    ซูโครส 36.60     ริคิวซิงซูการ์ 13.00     น้ำตาลหมักเชื้อ 50.10   เถ้าฟอสเฟต 15.00  
ยางและแป้ง 3.43    ขี้ผึ้งหรือไข 0.38      ไนโตรเจน 0.95   ซิลิก้า 0.46   ฟอสเฟต 0.12   
โปแตสเซียม 4.19    และแคลเซียม 1.12      



ปุ๋ยอินทรีย์

รายการ..............ไนโตรเจน..............ฟอสฟอรัส.................โปแตสเซียม

ปุ๋ยปลา............... 8.45 .................... 0 ....................... 4.73
ปุ๋ยอินทรีย์........... 1.42  .................. 2.05 .................... 0.42
ปุ๋ยคอก.............. 0.49 ................... 0.54 .................... 0.47
อุจจาระ.............. 3.25 ................... 2.95 .................... 0.40
กากผงชูรส.......... 1.98 ................... 0.41 ..................... 0.65
มูลไก่...............  2.28 ................... 0.49 .................... 0.30
มูลวัว................ 1.73 ...................  0.49 .................... 0.30
มูลสุกร.............. 2.83 ................... 16.25 ................... 0.15 
 



               
ปริมาณธาตุอาหารพืช (%)
 
ในปุ๋ยน้ำชีวภาพปลาหมัก
ธาตุอาหารพืช...................ปุ๋ยปลาเชิงการค้า.................ปุ๋ยปลาของ วท.
ไนโตรเจน.......................... 3.35 .......................... 3.28
ฟอสฟอรัส......................... 1.25 ........................... 8.48
โปแตสเซียม....................... 0.03 ........................... 0.15
แคลเซียม.......................... 0.50 ........................... 0.48
แม็กเนเซียม........................ 0.08 ........................... 0.08
เหล็ก............................... 0.02 ........................... 0.35
แมงกานิส.......................... 0.1 ............................. 1.00
ทองแดง........................... น้อยมาก ......................... 0.05 




ธาตุอาหารพืชในพืชต่างๆ               
รายการ...............ไนโตรเจน............ฟอสฟอรัส...........โปแตสเซียม...........เหล็ก

มะเขือเทศดิบ........... 1.3 ................. 27 .................. 244 ................ 3
กะหล่ำดอก............. 25 .................. 56 .................. 295 ................ 1.1
คะน้า................... 249 ................  93 .................. 378 ................ 2.7

กระเทียมต้น............ 52 .................. 50 ................... 347 ................ 1.1
บล็อกโคลี่.............. 103 ................ 78 ................... 382 ................. 1.1
ผักกาดขาว.............. 43 ................. 40 ................... 253 ................. 0.6

ผักกะเฉด............... 387 ................  7 ....................  ? ................... 5.3
ป๊วยเหล็ง............... 93 .................. 51 ................... 470 ................. 3.1
ปอ................... 2,500 ................. ? .....................  ? ................... 4.0

พริกสดแก่............. 16 ................... 49 ................... 564 ................. 1.4
ผลฟักเขียว............ 30 ................... 20 ...................  ? ....................  ?
ใบแก่ฟักทอง......... 392 .................. 112 ..................  ? ....................  ?

ใบแก่เผือก........... 227 .................... ? ....................  ? ................... 10.0
กระเจี๊ยบเขียว........ 92 .................... 51 .................... 249 ................. 0.8
ข้าวโพดหวาน......... 3 ..................... 111 ................... 280 ................ 0.1

แตงกวา.............. 25 .................... 27 ..................... 160 ................ 1.1
แตงโม............... 7 ...................... 10 ..................... 100 ................ 0.5
แคนตาลูป .......... 14 ..................... 16 ..................... 251 ................ 0.4

ถั่วแขกสด........... 56 ..................... 44 ..................... 132 ................ 0.8
ถั่วแขกแห้ง.......... 144 ................... 425 ................... 1,196 .............. 7.8
ถั่วลันเตาสด.......... 62 .................... 90 ..................... 170 ................ 0.7

ถั่วผีแห้ง............. 64 ..................... 340 ................... 1,005 .............. 5.1   





ธาตุอาหารพืชในธรรมชาติ


ไนโตรเจน
ในพืช :
- ส่วนสีเขียวเข้มแก่จัดของพืชทุกชนิด. ต้นถั่วทุกชนิด. ใบพืชตระกูลถั่ว (ก้ามปู. พุทรา.
มะขามเทศ. มัยราบ. ทองหลาง. กระถินทุกชนิด. โสนทุกชนิด). สาหร่ายน้ำจืดทุกชนิด.
แหนแดง.  สาหร่ายเขียวแกมน้ำเงิน.

ในสัตว์ :
- เมือก-คาว-เลือด-เนื้อ สดๆ จากปลายังมีชีวิต. ปัสสาวะ (คน/สัตว์) สดใหม่.

ในน้ำ :
- น้ำฝน. น้ำค้าง. น้ำในแหล่งธรรมชาติ. 



ฟอสฟอรัส

ในพืช :
- รากสดแก่จัด. เมล็ดในสดแก่จัด. ใบแก่ชะอม-ขจร-ถั่วพู-กระถิน-มะระ-บัวบก-ผักบุ้งจีน-
สะระแหน่-หน่อไม้ฝรั่ง. งาดำ. ถั่วดำ. ถั่วลิสง. ถั่วเหลือง. เมล็ดบัว. ลูกเดือย. ดอกตูมและ
เกสร. สาหร่ายทะเล
- เนื้อผลไม้รสหวานสนิทแก่จัดสุกงอมจนออกกลิ่นฉุน เช่น กล้วย. เงาะ. มะละกอ. ทุเรียน.
ละมุด. ฝรั่ง. น้อยหน่า. แก้วมังกร. มะปรางหวาน. มะยงชิด. ลองกอง. ลางสาด. มะขามหวาน.
แตงโม. แคนตาลูป.

ในสัตว์ :
- เกร็ด-ก้าง-กระดูกปลาทะเล สด/แห้ง-เก่า/ใหม่.  มูล-น้ำปัสสาวะ (คน/สัตว์) สดใหม่.

ในอาหารคน :
- มัสตาส. นมผงขาดมันเนย. เนยแข็ง. ลูกชิ้นกุ้ง. กะปิเคย 

ในธรรมชาติ :
หินที่ละลายน้ำ (ร็อคฟอสเฟต),  หินแร่



โปแตสเซียม
ในพืช :
- เปลือกและเนื้อของผลไม้รสหวานสนิทแก่จัดสุกงอมจนออกกลิ่นฉุนเหมือนฟอสฟอรัส
- ผลดิบแก่จัด เช่น ฟักทอง. แตงทุกชนิด. กระเจี๊ยบ. พริกสด. มะเขือพวง.
- ผักสด เช่น บล็อกโคลี่. ผักกาดขาว. ผักกาดหอม. ป๊วยเหล็ง.
- เปลือกแห้ง/สด/ใหม่ของผลไม้รสหวาน เช่น ทุเรียน. กล้วย. มะละกอ (ยกเว้น มังคุดและเงาะ)

ในสัตว์ :
- เนื้อสดสัตว์น้ำจืด/ทะเล. เครื่องในสัตว์บก/ทะเล. น้ำปัสสาวะ (คน/สัตว์) สดใหม่. 



แคลเซียม
ในพืช :
- ผักผลสดแก่จัด เช่น ถั่วลันเตา. กระเจี๊ยบ. แตงดิบทุกชนิด. มะขามเทศมัน. กระถิน. มะระ.
มะเขือเทศดิบ. บวบเหลี่ยม. งาดำ
- ผักใบสดแก่จัด เช่น คะน้า. โขม. กะเฉด. บล็อกโคลี่. ยอดปอ. ใบแก่ฟักทอง
- ผลดิบสดแก่จัดรสฝาดยังไม่สุก เช่น ฝรั่ง. อะโวคาโด. ผล/เมล็ดแตงแก่สดทุกชนิด. เมล็ดถั่ว
เขียว. มะขามเทศฝาด. มะขามป้อม. ขุยมะพร้าว.

ในสัตว์ :
- เกร็ด-ก้าง-กระดูกของปลาสดมีชีวิต. เปลือกไข่. เปลือกหอยสด/แห้ง/เก่า/ใหม่. นมสดสัตว์
รีดใหม่. กุ้งฝอยสด/แห้ง. หอยจูน. หอยทราย.  น้ำปัสสาวะ (คน/สัตว์) สดใหม่.

ในอาหารคน :
- นมพร่องมันเนย. เนยแข็ง. ผงกะหรี่. ไข่สด

ในธรรมชาติ :
- ยิบซั่มธรรมชาติ. ปูนหินเผา. ปูนเปลือกหอมเผา.  ปูนมาร์ล.  โดโลไมท์. 



แม็กเนเซียม
ในพืช :
- เปลือก-ใบ-ตา-ต้นสีเขียวเข้มแก่จัด.   เมล็ดในสดแก่จัด.   เนื้อ/เปลือกผลไม้สดแก่จัดสุก
งอมรสหวานอมเปรี้ยว  เช่น  สับปะรด.   สตรอเบอรี่.   มะเฟือง.   ระกำ.   สละ.   เชอรี่.  
มะเขือเทศดิบ

ในสัตว์ :
- เกร็ด-ก้าง-กระดูกสัตว์สด/แห้ง-ใหม่/เก่า.  ปลาทะเล.

ในธรรมชาติ :
- ปูนมาร์ล. โดโลไมท์.

 
                
กำมะถัน

ในพืช :
- พืชสด/แห้งแก่จัดที่มีกลิ่นฉุน เช่น หอมแดง. หอมหัวใหญ่. กระเทียม. ขึ้นฉ่าย. ผักชี.
สะตอ. พริกสด/แห้ง

ในสัตว์ :
- เมือก-เลือด-เนื้อสดใหม่จากปลาทะเลมีชีวิต

ในอาหารคน :
- ไข่สด

ในธรรมชาติ :
- ยางติดเปลือกมังคุด. กำมะถันผง 



เหล็ก
ในพืช :
- ตาที่กำลังอั้นเต็มที่. ยอดอ่อน. เนื้อ/ใบสดแก่จัดของฟักทอง-ฟักเขียว-เผือก-กะเฉด-
ผลพริกสด-ยอดปอ. มะเขือพวง. เมล็ดถั่วแขกแห้ง. เมล็ดบัว. เมล็ดกระถิน. ถั่วลิสง.
ลูกเดือย. ยอดขี้เหล็ก. ผักดูด. เห็ดหูหนู. มัสตาด. จมูกข้าว.

ในสัตว์ :
- เมือก-เลือด-เครื่องในสดจากปลาทะเลมีชีวิต. เลือดวัว/ควาย/ไก่/แพะ. นมสดสัตว์รีดใหม่.

ในอาหารคน :
- มัสตาด. นมกล่องจืด/เปรี้ยว. ไข่สด. 



ทองแดง

ในพืช :
- ส่วนสีเขียวสดแก่จัด. เมล็ดในสดแก่จัด. พืชตระกูลถั่ว.

ในสัตว์ :
- เครื่องในสดจากปลาทะเลมีชีวิต 



สังกะสี

ในพืช :
- หัวสดแก่จัดเป็นเสี้ยนจนกินไม่ได้ เช่น ไชเท้า. แครอท. มันเทศ. มันแกว
- เหง้าหรือไหลสดแก่จัด เช่น ผักปอด. พุทธรักษา. กล้วย. เตย. ตำลึง.
- เมล็ดสดแก่จัด เช่น ฟักทอง. บวบ. แตง. ถั่วเขียว. 

ในสัตว์ :
- หอยทะเล.  ปลาทะเล.



แมงกานิส

ในพืช :
- มะเขือเทศสุก. ผลตำลึงสุก. ผลวัชพืชสุก. เมล็ดอ่อน. ส่วนที่เป็นน้ำหรือเยื่อเจริญของพืช. 


ในสัตว์ :
- เครื่องในสดปลาทะเล.



โมลิบดินั่ม
ในพืช :
- เยื่อเจริญ                



โบรอน

ในพืช :
- ผลอ่อน-ยอดอ่อน-ใบอ่อน-รากอ่อน ลักษณะกรอบ เปราะ เด็ดได้ด้วยมือ เช่น ผล/ยอดแตง-
กะเฉด-ตำลึง-ผักบุ้ง-ยอดอ่อนของพืชเลื้อยทุกชนิด-เปลือกสดเขียวส่วนปลายกิ่งที่กำลังมีผลอ่อน. 
ทะลายปล์ม.

ในสารสังเคราะห์ :
- น้ำประสานทอง. โบรอนพืช (เกรด 10 โมเลกุลน้ำ). 



ซิลิก้า

ในพืช :
- แกลบดิบ. หญ้าคา. หญ้าขน. พืชตระกูลหญ้า.  กากน้ำตาล.

ในธรรมชาติ :
- หินภูเขาไฟ 



โซเดียม

ในสัตว์ :
- เครื่องในสดใหม่ปลาทะเลมีชีวิต. มูลควาย. น้ำปัสสาวะ (คน/สัตว์) สดใหม่.

ในธรรมชาติ :
- เกลือสมุทร. คาร์บอน

ในสารธรรมชาติ :
- แกลบดำ. ถ่าน. ขี้เถ้า. ควันไฟ. 



จิ๊บเบอเรลลิน
ในพืช :
- เมล็ดเริ่มงอก.  น้ำมะพร้าวอ่อน.  ผลอ่อนของผลไม้ที่มีลักษณะยาว.  ยอดอ่อนพืชเด็ด
ได้ด้วยมือ.  เถาบอระเพ็ดสดแก่จัดช่วงความสูง 1 ม.แรกจากพื้น.  เปลือกสดปลายกิ่งส่วน
ที่เป็นสีเขียวขณะมีผลแก่.  รากถั่วงอก.

ในสัตว์ :
- น้ำล้างเขียงทำปลา. 



ไซโตคินนิน

ในพืช :
- หัวไชเท้า.  ผักปรัง.  ข้าวโพดหวาน.  ข้าวระยะน้ำนม.  โสมไทย.  หน่อไม้ฝรั่ง. 
หน่อไม้ไผ่ตง.   น้ำมะพร้าวแก่.   แป้งในพืชหัวระยะกำลังเจริญเติบโต.   สาหร่ายทะเล.

ในสัตว์ :
- สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง เช่น  กุ้ง.  เคย.  ปู.  หนอน.  แมลง.  กิ้งกือ.  ไส้เดือน.  
กระดองเต่า/ตะพาบ. ปลิงทะเล/น้ำจืด.  ลิ้นทะเล.  สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง.  รกสัตว์. 
ไข่อ่อน.  ไข่ขาว.  น้ำหอยเผา.    



อะมิโน
ในพืช :
- น้ำเต้าหู้พร้อมดื่ม.  

ในสัตว์ :
- ปลาทะเล. เยื่อหุ้มเมล็ดเลือด.

ในอาหารคน :
- ซุปไก่สกัด.  น้ำก้นหม้อนึ่งปลา.  น้ำเนื้อตุ๋น. ผงชูรส. 



โอเมก้า-3
ในสัตว์ :
- เครื่องในสัตว์ทะเลสดมีชีวิต. หนอน. เนื้อปลาทะเลสด.

ในอาหารคน :
- ไข่สด. นมสด. 

 

เอ็นเอเอ.
ในพืช :
- หัวกวาวเครือขาวสดแก่จัด 



พาโคลบิวทาโซล

ในพืช :
- เหง้าตำลึงสดแก่จัดเป็นเสี้ยน ใบข่อยสดแก่จัด ผักปรังต้นแก่จัด ผักเสี้ยนต้นแก่จัด.
หัวสดแก่จัดจนเนื้อเป็นเสี้ยนกินไม่ได้ เช่น หัวไชเท้า. มันเทศ. มันแกว. 



วิตามิน บี.

ในพืช :
- เมล็ดทานตะวัน. น้ำมันพืช.

ในอาหารคน :
- ไข่สด

ในสัตว์ :
- หนังปลาสดใหม่ 



วิตามิน อี.
ในสัตว์ : 
- ไข่แดง.  หนังปลา. 

ในพืช :
- แตงกวา


โปรตีน.
ในพืช :
- ถั่วเหลือง,  ใบสำปะหลังแห้ง (18%),  ใบสำปะหลังสด (6%),  เปลือกเมล็ดถั่วเขียว.

ในสัตว์ : 
- เนื้อสัตว์สดใหม่.

ในอาหารคน : 
- เนื้อสัตว์ทุกชนิด (ในปลามากที่สุด).  นม.  ไข่ขาว.  น้ำเต้าหู้.   น้ำต้มตุ๋น.  



เอสโตรเจน.

ในพืช :
น้ำมะพร้าวแก่.

ในสัตว์ : 
- น้ำเชื้อ.  ปลาทะเล.

ในอาหารคน : 
- ยาเม็ดคุมกำเนิดแถวบำรุง.   ไวอากร้า.  เอสไพริน. 



แอมโมเนีย

ในสัตว์ :
- น้ำปัสสาวะ (คน/สัตว์) สดใหม่.


แซนโทฟิน
ในพืช : 
- ดอกดาวเรือง,  ใบสำปะหลังแห้ง,


ฟาโวนอยด์
ในสัตว์ :
- ปลาทะเล

ในพืช :
- เปลือกส้มประเภทเปลือกล่อน
- เมล็องุ่น
- มะรุม
- มะเขือพวง

กลูโตซามิน
ในอาหารคน :
กลูโคสน้ำ


      หมายเหตุ :
    - ธาตุอาหารพืชต่างๆที่ได้จากพืชและสัตว์เป็น  "ธาตุอาหารอินทรีย์"  แท้ๆ เป็นธาตุ
โมเลกุลเดี่ยวที่พืชสามารถนำไปใช้ได้ทันทีโดยไม่จำเป็นต้องผ่านกระบวนการเอ็นไซม์จาก
จุลินทรนีย์ก่อน  
    - จุดด้อยของธาตุอาหารอินทรีย์ คือ 
       1) ไม่เสถียรหรือคงทน อายุการเก็บไม่นาน 
       2) ไม่ทนทานต่อแสงสว่าง หรือแสงแดด หรือรังสีอุลตร้าไวโอเลต 
       3) ปริมาณหรือเปอร์เซ็นต์ไม่สูงและไม่แน่นอน
    - เกษตรกรสหรัฐอเมริการู้จักการทำและใช้ปุ๋ยน้ำชีวภาพมานานกว่า 50 ปีแล้ว โดยปุ๋ย
น้ำชีวภาพที่ใช้ทำจากวัสดุส่วนผสมแบบเลือกสรรพิเศษพบว่ามีธาตุอาหารพืชกลุ่ม “อะมิโน
โปรตีน”  เป็นหลัก และวันนี้ เกษตรกรเกาหลี ญี่ปุ่น อินเดีย ก็ได้มีการใช้กันอย่างกว้างขวาง
และจริงจัง

    - ผู้ค้นพบปุ๋ยหมักครั้งแรก คือ นักวิชาการเกษตรอินเดียได้เข้ามาเผยแพร่ในประเทศไทย
เมื่อประมาณ 60 ปีที่แล้ว  ถึงวันนี้ก็ยังได้รับความนิยม และความเชื่อถือจากเกษตรไทยน้อยมาก
 
   - ปัจจุบันเกษตรกรเยอรมันที่มีเทคโนโลยีวิทยาศาสตร์การเกษตรสูงมาก ได้ปรับเปลี่ยนแนว
ทางทำการเกษตรแบบเคมีวิทยาศาสตร์ล้วนๆ มาสู่รูปแบบ “อินทรีย์ชีวภาพนำ-เคมีวิทยาศาสตร์เสริม” 
อย่างกว้างขวาง โดยมีหลักวิชาการเข้ามาประกอบการใช้ ส่งผลให้ผลผลิตเพิ่ม ต้นทุนลด อนาคต
การทำอาชีพเกษตรกรรมดีขึ้น  




 

แนวความคิดในการทำธาตุอาหารพืช

1. รู้......พืชต้องการธาตุอาหารตัวใด ?
2. รู้......ธาตุอาหารที่พืชต้องการนั้นมีอยู่ในวัสดุใด ?
3. รู้......วิธีแปรสภาพวัสดุนั้นให้เป็นธาตุอาหารสำหรับพืชได้อย่างไร ?
4. รู้......วัสดุที่แปรสภาพแล้วนั้นได้ธาตุอาหารพืชตัวใด ?
5. รู้......วิธีให้ธาตุอาหารที่แปรรูปแล้วแก่พืชอย่างไร ?
6. รู้......ประสิทธิภาพของธาตุอาหารที่ได้มีประโยชน์ต่อพืชอย่างไร ?
7. รู้......คุณลักษณะทางเคมีของธาตุอาหารพืชแต่ละตัวที่ได้เป็นอย่างไร ?
8. รู้......ปริมาณธาตุอาหารแต่ละตัวว่ามีจำนวนเท่าใด ?

ในธรรมชาติไม่มีตัวเลขหรือสูตรสำเร็จ  การปฏิบัติบำรุงต่อพืชด้วยวิธีการเดียวกันแต่ได้ผลต่าง
กันเพราะปัจจัยพื้นฐานที่เกี่ยวกับพืชแต่ละต้นไม่เหมือนกันนั่นเอง  สูตรปุ๋ยน้ำชีวภาพจากสำนัก
ใดถือว่าเป็น  “สูตรของสำนัก” นั้น  ครั้นเมื่อผู้ที่ได้รับสูตรแล้วมาทำใช้เองด้วยมือตัวเอง 
ย่อมถือว่าเป็น “สูตรของผู้ทำ”  ดังนั้น  ก่อนใช้งานจริง ผู้ทำจะต้องทดสอบสูตรที่ตัวเองทำก่อนเสมอ...





หน้าถัดไป (2/2) หน้าถัดไป


Content ©