-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 406 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

อินทรีย์ชีวภาพ




หน้า: 1/3






 

ประวัติของปุ๋ยน้ำชีวภาพ



เรื่องราวของปุ๋ยน้ำชีวภาพหรือน้ำสกัดชีวภาพนี้เกิดขึ้นเมื่อประมาณ กลางปี พ.ศ 2540
เกิดขึ้นในขณะที่ประเทศไทยประสบภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจทำให้ประชาชนคนไทยต้อง
เดือดร้อนไปทั่วทุกหย่อมหญ้า จนต้องไปพึ่งพาเจ้าพ่อ ไอเอ็มเอ็ฟ จนทุกวันนี้ แต่ประเทศ
ไทยก็ไม่ได้โชคร้ายเสียทีเดียว ท่ามกลางความโชคร้ายก็ได้เกิดความโชคดีขึ้นมา โชคดี
ที่ว่านั้นคือคนไทยได้รู้จักวิธีการทำปุ๋ยน้ำชีวภาพใช้เอง เรื่องราวความเป็นมาของปุ๋ยน้ำชีว
ภาพหรือน้ำสกัดชีวภาพเริ่มต้นขึ้นเมื่อเดือน กรกฏาคม 2540 โดยอาจารย์ภรณ์ ภูมิพันนา
ได้เชิญ มร.ฮาน คิว โช ซึ่งต่อไปนี้ผมขอเรียกชื่อท่านง่ายๆว่า มร.โช นายกสมาคมเกษตร
ธรรมชาติแห่งประเทศเกาหลี มาบรรยายเกี่ยวกับเทคนิควิธีการทำเกษตรธรรมชาติให้ปลอด
ภัยจากสารพิษโดยใช้เชื้อจุลินทรีย์ ตอนที่เชิญเข้ามาตอนนั้นเจ้าภาพที่เชิญจัดหาสถานที่
จัดอบรมไม่ได้ก็เลยไปขอใช้ห้องประชุมกรมวิชาการเกษตรจาก ท่านรองชนวน รัตนวราหะ
รองอธิบดีกรมวิชาการเกษตรในสมัยนั้น เป็นสถานที่จัดอบรม โดยท่านรองฯได้ช่วยเป็นธุระ
ในการติดต่อผู้คนให้เข้ามารับฟัง มีเกษตรกรผู้สนใจแนวทางในการทำการเกษตรธรรมชาติ
ข้าราชการ องค์กรพัฒนาเอกชนต่าง ๆ และผู้ที่สนใจจำนวนหนึ่งเข้ารับการอบรม หลัง
จากอบรมในวันนั้นแล้ว มร.โช ก็ได้ตระเวณไปบรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการผลิต
พืชแบบเกษตรธรรมชาติโดยใช้จุลินทรีย์ให้แก่ชาวชุมชนราชธานีอโศกตามสถานที่ต่างๆ
เช่น ที่ศูนย์ฝึกอบรมเทคโนโลยีไร้สารพิษและสิ่งแวดล้อม หมู่บ้านราชธานีอโศก ตำบล บุ่ง
ไหม อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี ระหว่างวันที่ 2-4 สิงหาคม พ.ศ.2540
เป็นต้น

          
มร.โช เป็น นายกสมาคมเกษตรธรรมชาติแห่งประเทศเกาหลี เป็นผู้ที่ศึกษาค้นคว้าการทำ
การเกษตรธรรมชาติมาเป็นเวลายาวนานกว่า 40 ปีมีเทคนิควิธีการต่างๆที่ใช้ได้ผลอย่างชัด
เจนเป็นที่แพร่หลายและได้รับการยอมรับจากภาครัฐบาลของประเทศเกาหลี สิ่งที่ มร.โช
นำมาเปิดเผยในครั้งนั้นไม่ใช่ปุ๋ยน้ำชีวภาพหรือน้ำสกัดชีวภาพเพียงอย่างเดียวหากแต่นำ
เทคนิควิธีการหลายรูปแบบรวมทั้งสิ้น 7 รูปแบบในการผลิตพืชโดยวิธีการทางธรรมชาติ ไม่
ใช้สารเคมีเข้ามาเผยแพร่ด้วย นับเป็นการทำการเกษตรแบบพึ่งพาตนเองอย่างแท้จริง
เทคนิคที่นำมาถ่ายทอดในครั้งนั้นได้แก่


1. จุลินทรีย์ในพื้นที่ (lndigenous Micro-organism : IMO)
2. น้ำหวานหมักจากพืชสดสีเขียว (Fermented Plant Juice : FPJ)
3. น้ำหวานหมักจากผลไม้ (Fermented Fruit Juice : FFJ)
4. น้ำหวานหมักจากเศษปลาสด (Fish Amino Acid : FAA)
5. ซีรั่มของจุลินทรีย์ในกรดน้ำนม (Lactic Acid Bacteria Serum:LAS)
6. น้ำส้มสายชูหมักจากข้าวกล้อง (Brown Rice Vinegar : BRV)

จากคำบรรยายในหัวข้อเรื่องความรู้เรื่องจุลินทรีย์ในพื้นที่และการนำไปใช้ประโยชน์
ในระบบเกษตรธรรมชาติ มร.โช อธิบายว่าในเรื่องเกษตรธรรมชาตินี้ไม่สามารถที่จะ
ยกมากล่าวเฉพาะเรื่องใดเรื่องหนึ่งได้ เนื่องมาจากการทำเกษตรธรรมชาติเป็นเรื่อง
ที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันของสิ่งต่างๆในระบบนิเวศน์ ซึ่งมนุษย์จะทำหน้าที่เป็น
ผู้จัดการให้แต่ละสิ่งนั้นสัมพันธ์กันและดำเนินไปในทางที่ก่อให้เกิดผลผลิตสูงสุด
โดยไม่ไปตัดหรือทำลายส่วนใดส่วนหนึ่งของระบบ มร.โช กล่าวถึงสิ่งสำคัญ 3
ประการในการที่จะช่วยเพิ่มผลิตผลทางการเกษตรให้เพิ่มมากยิ่งขึ้น ได้แก่ การ
สร้างดินโดยจุลินทรีย์
ธาตุอาหารของพืชในดิน และความแข็งแรงของเมล็ดพันธุ์
ซึ่งในการทำเกษตรธรรมชาติ จุลินทรีย์ จะเข้ามามีบทบาทอย่างสำคัญ โดยมนุษย์
จะมีหน้าที่ทำให้จุลินทรีย์มีความแข็งแรงและมีมากเพียงพอที่จะดำเนินกิจกรรม
เหล่านั้นได้


การสร้างดินโดยจุลินทรีย์
เราจะต้องคำนึงถึงการสร้างที่อยู่อาศัยและการให้อาหาร
แก่จุลินทรีย์
ซึ่ง มร.โช ได้ยกตัวอย่างการใช้ถ่านแกลบซึ่งมีการใช้น้ำส้มสายชูที่
หมักจากผลไม้ช่วยลดความเป็นด่างเพื่อเป็นที่อยู่อาศัยของจุลินทรีย์และการให้อิน
ทรียวัตถุจำพวกฟางข้าว ตอซังข้าวโพด ชานอ้อย ฯลฯ เพื่อใช้เป็นอาหารสำหรับ
จุลินทรีย์ มร.โช ได้กล่าวถึง ธาตุอาหารพืชในดิน ว่า
พืชไม่ได้รับธาตุอาหารจาก
อินทรียวัตถุไม่ว่าจะเป็นเศษเหลือของพืชหรือมูลสัตว์ต่าง ๆ แต่อินทรียวัตถุเหล่า
นั้นจะเป็นอาหารให้แก่จุลินทรีย์ ซึ่งจะย่อยให้ออกมาเป็นธาตุอาหารสำหรับพืชอีก
ต่อหนึ่ง
ในส่วนของ ความแข็งแรงของเมล็ดพันธุ์ หรือความแข็งแรงของพืชนั้นจะ
ต้องให้ความสำคัญกับระบบการเจริญเติบโตของรากเป็นอันดับหนึ่ง โดยที่เปรียบ
รากเหมือนระบบทางเดินอาหารที่ทำหน้าที่ในการย่อยและดูดซึมซึ่งจะใช้จุลินทรีย์
ในการกระตุ้นตั้งแต่ยังเป็นเมล็ดพันธุ์ ซึ่งรูปแบบของจุลินทรีย์ที่นำมาใช้เพื่อให้สา
มารถดำเนินบทบาทต่างๆดังกล่าวข้างต้นนั้น สามารถแยกกล่าวเป็นข้อๆ ซึ่งแต่ละ
รูปแบบนั้นมีรายละเอียดวิธีการทำและการนำไปประยุกต์ใช้ที่แตกต่างกัน


1.จุลินทรีย์ในพื้นที่หรือ IMO (lndigenous Micro-organism)
ในธรรมชาติจุลินทรีย์จะมีอยู่ทั่วไปแต่จุลินทรีย์ที่เราจะนำมาใช้ตามเทคโนโลยีของ
สมาคมเกษตรธรรมชาติเกาหลีนั้นจะมีมากในแหล่งที่มีใบไม้หล่นทับถมกัน จุลินทรีย์
IMO ที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดจะอยู่ใต้กอไผ่ เพราะระบบรากของไผ่มีรสหวาน
จุลินทรีย์ของเราชอบความหวานที่สุด
เราจะพบว่าเราสามารถเก็บจุลินทรีย์ IMO
ได้ทั่วไป เช่นในดงไผ่ ในป่า ในสวนใกล้ ๆบ้าน แม้แต่บนบ้านก็เก็บจุลินทรีย์ได้
เพราะมีอยู่ทั่วไป


วิธีการเก็บจุลินทรีย์ในพื้นที่
เราสามารถเก็บจุลินทรีย์ในพื้นที่ได้โดยใช้กล่องไม้สี่เหลี่ยมสูงประมาณ 10 เซ็นติเมตร
ใส่ข้าวเจ้าที่หุงสุกค่อนข้างแห้ง หนาไม่เกิน 7 เซ็นติเมตร เพราะถ้าข้าวหนาเกิน 7 เซนติ
เมตร จุลินทรีย์ที่เราต้องการจะตายเพราะขาดออกซิเจน จุลินทรีย์ที่เราจะเก็บไปใช้นี้เป็น
จุลินทรีย์ที่ต้องการออกซิเจน (aerobic micro-organism) เราไม่เลือกใช้
จุลินทรีย์ที่ไม่ต้องการออกซิเจน เราจึงต้องมีที่สำหรับให้ออกซิเจนอยู่เพื่อให้มันหายใจ
เพราะเมื่อเรานำเอาจุลินทรีย์ที่ต้องการออกซิเจนไปใช้ในดิน มันก็จะสร้างบ้านของมันให้
มีที่สำหรับออกซิเจนเพื่อตัวมันเองจะได้หายใจได้ จะได้ดำรงชีวิตอย่างเหมาะสม รากต้น
ไม้ซึ่งต้องการออกซิเจนเหมือนกันก็จะได้อาศัยออกซิเจนที่จุลินทรีย์ IMO สร้างขึ้นด้วย
 เท่ากับว่ามันได้ใช้ประโยชน์จากออกซิเจนเพื่อชีวิตของมันเองและเผื่อไปถึงต้นไม้ด้วย


มีเคล็ดลับอยู่อย่างหนึ่งว่าเวลาตักข้าวใส่กล่องต้องใส่ให้โปร่ง อย่าให้ข้าวเป็นก้อน
อย่าใช้มือแตะต้อง ใช้ทัพพีตัก เกลี่ยข้าวอย่างเบามือ อย่ากดอัด ใช้กระดาษปิดแทน
การใช้ฝาและผูกด้วยเชือกให้แน่น อย่าให้น้ำเข้าได้ เราอาจจะใช้ผ้าพลาสติกก็ได้เพื่อ
กันน้ำ ทิ้งกล่องไว้ใต้กองใบไม้ แล้วควรใช้ผ้าพลาสติกผืนใหญ่คลุมกองใบไม้ไว้อีกชั้น
หนึ่ง เอาก้อนหินทับ 4 มุมกันลมพัด ถ้าต้องการป้องกันหนูให้ใช้ตะแกรงลวดคลุมทับ
พลาสติกอีกชั้นหนึ่ง ที่เมืองไทยอากาศร้อนและความชื้นสูง ไม่ควรทิ้งกล่องไว้เกิน 3
วัน ถ้าน้ำเข้าได้จะเกิดจุลินทรีย์สีดำ ก่อนที่จะกลายเป็นตัวแก่สีดำมันจะมีสีชมพูส้ม เป็น
จุลินทรีย์ที่ไม่ต้องการออกซิเจน เราจะใช้มันสำหรับใส่ในดินที่มีการไถพรวนลึก ๆ เนื่อง
จากว่ามันเป็นจุลินทรีย์


ที่ไม่ต้องการออกซิเจน มันจะหนีออกซิเจนลงไปในดินในส่วนที่ออกซิเจนเข้าไปไม่ถึง
โดยการแทรกตัวลงไปในดิน ก็เท่ากับว่ามันช่วยซุยดินให้เราโดยที่เราไม่ต้องไปไถ


วิธีใช้ประโยชน์จากจุลินทรีย์ในพื้นที่
จุลินทรีย์ IMO นี้ จะเป็นองค์ประกอบหลักในการทำดินหมัก หลังจากหมกกล่องข้าวไว้ 3 วัน
จุลินทรีย์ IMO จะฟักตัวบนข้าวเป็นแพสีขาวหนา ให้นำเอาข้าวที่เก็บมาไปขยำผสมกับน้ำตาล
แดงในอัตราส่วนเท่า ๆ กัน เราจะได้น้ำข้นสีแดงเข้ม เสร็จแล้วเก็บไว้ในภาชนะทึบแสงเอากระดาษ
ปิด ผูกเชือกทิ้งไว้ 3 วัน เวลาใช้ให้ผสมน้ำในอัตราส่วน 1:1,000 (IMO1ส่วน:น้ำ1,000
ส่วน) แล้วคลุกผสมกับรำข้าว สัดส่วนที่เหมาะสมจะกำหนดได้ยาก เราต้องทดลองกำดู ผสมแล้ว
กำไว้ เมื่อคลายมือแบออกก้อนรำผสมนั้นจะอยู่คงรูป ถ้าส่วนผสมเหลวเกินไปเพราะน้ำมากไปเราจะ
ต้องเติมรำเข้าไปคลุกอีกจนได้ลักษณะที่ต้องการ
ส่วนผสมที่เราทำขึ้นนี้จะเป็นเชื้อดินหมักที่เราจะ
ใช้สำหรับเอาไปโรยบนดินที่ต้องการทำการเพาะปลูก เมื่อผสมแล้วเราต้องเอาฟางคลุมทิ้งไว้อีก
7-10 วัน เชื้อดินหมักจะได้ที่ ฟางที่คลุมนั้นถ้าสานเป็นเสื่อฟางได้จะดีมาก จุลินทรีย์ IMO ชอบ
นอนใต้ฟาง กองเชื้อดินหมักนี้ต้องทำในร่ม ใต้หลังคา อย่าให้ถูกฝนถูกน้ำ จากนั้นเอาดินในพื้นที่
ของเราน้ำหนักเท่ากับเชื้อดินหมัก คลุกเคล้าให้เข้ากัน ทำเป็นกอง เอาฟางคลุมไว้ดังเดิม ทิ้งไว้อีก
3 วันแล้วจึงนำไปใช้โรยในไร่นาเพื่อเตรียมดินทำการเพาะปลูกได้ งานนี้จะช่วยประหยัดแรงงานได้
มากทีเดียว



2.น้ำหวานหมักจากพืชสดสีเขียว
 FPJ (Fermentented Plant Juice)
เป็นน้ำหวานที่ได้มาจากการหมักพืชสีเขียวด้วยน้ำตาลทรายแดง (Raw Sugar) ซึ่งน้ำตาล
ทรายแดงจะเป็นสารที่ดูดเอาน้ำเลี้ยงในต้นพืชออกมาและเกิดการหมักขึ้น น้ำเลี้ยงนี้เป็นส่วนที่สำคัญ
เนื่องจากว่าประกอบด้วยสารหลายชนิด เช่น เอนไซม์ ฮอร์โมนพืช และวิตามินต่าง ๆ FPJที่ได้จะมี
ลักษณะเป็นของเหลวข้นเหนียวสีน้ำตาลไหม้มีกลิ่นหอมหวาน หรืออาจมีกลิ่นแอลกอฮอล์บ้างคุณ
สมบัติของFPJนี้จะแตกต่างกันไปตามชนิดของพืชที่ใช้เป็นวัตถุดิบที่ใช้ในการหมัก FPJ    
ที่ได้มาจากพืชตะกูลถั่วเหมาะที่จะใช้กับข้าวโพด ส่วน FPJที่ได้จากพืชตะกูลหญ้าเช่นข้าวโพด ข้าว
เหมาะที่จะใช้กับพืชผัก มร.โช แนะนำว่า ผักบุ้ง ขึ้นฉ่าย  และลำต้นกล้วย สามารถทำ FPJ ที่มี
คุณภาพดีเหมาะสำหรับใช้กับพืชทุกชนิด FPJ ที่ผลิตจากพืชชนิดใดก็จะมีประสิทธิภาพมากที่สุดเมื่อ
ใช้กับพืชชนิดนั้น


ขั้นตอนในการทำ FPJ มีดังนี้คือ
1. เก็บพืชที่จะใช้ทำ FPJ ช่วงเวลาที่เหมาะสมคือช่วงเช้าก่อนพระอาทิตย์ขึ้น

2. ตัดให้มีความยาวประมาณ 3-5 เซ็นติเมตร

3.ชั่งน้ำตาลทรายแดงที่เหลือน้ำหนักเป็น1/2ของพืชแบ่งส่วนหนึ่งไว้สำหรับโรยปิด
หน้าภาชนะ

4. นำน้ำตาลทรายแดงที่เหลือนำมาคลุกกับพืชที่หั่นเตรียมไว้ ค่อยๆ คลุกให้เข้ากัน

5. นำส่วนผสมที่ได้มาใส่ในภาชนะ อาจใช้ไหดินหรือภาชนะพลาสติกก็ได้ แต่ต้องทึ
บแสงกะปริมาณให้เมื่อหมักแล้วเหลือประมาณ 2/3 ของภาชนะ

6. โรยปิดด้วยน้ำตาลทรายแดงบริเวณผิวหน้า

7. กดทับด้วยของหนัก ๆ เช่น ถุงพลาสติกใส่น้ำ หรือก้อนหิน

8. ทิ้งไว้ 24 ชั่วโมง นำของที่กดทับไว้ออกและปิดปากภาชนะด้วยกระดาษแล้วรัด
ด้วยยางรัดของ

9. หมักไว้เป็นระยะเวลาประมาณ 5 - 7 วันจึงนำออกใช้

การประยุกต์ใช้ FPJ ในรูปแบบต่างๆ
1. ใช้ฉีดต้นพืชโดยผสมน้ำในอัตราส่วน 1:500 จากคำบอกเล่าของเกษตรกรที่บุรีรัมย์
ที่เคยใช้ FPJ พบว่าผลผลิตดีขึ้น

2. ใช้ฉีดร่วมกับ IMO ในการปรับปรุงบำรุงดิน

3. ใช้ร่วมกับ IMO ในการรองพื้นคอกสัตว์ซึ่งจะย่อยสลายมูลสัตว์ให้เป็นปุ๋ยได้อย่างรวด
เร็ว ลดการเกิดกลิ่นเหม็น

4. สามารถให้สัตว์ดื่มเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของจุลินทรีย์ในทางเดินอาหาร ผลจากการใช้
พบว่าสุขภาพของสัตว์ดีขึ้นมาก

5. สามารถใช้ผสมน้ำ 25 เปอร์เซ็นต์ เป็นเครื่องดื่มของคน เพื่อเพิ่มความแข็งแรงของจุลิน
ทรีย์ในทางเดินอาหาร เพิ่มความสดชื่น

6. เป็นส่วนผสมในการกระตุ้นการเจริญของเมล็ดพันธุ์หรือต้นพันธุ์

ข้อสังเกตในการทำ FPJ
พบว่าพืชที่มีลักษณะข้อยาวเจริญเติบโตเร็วเช่นผักบุ้ง เถาหรือยอดของแตงกวาและหน่อไม้เป็น
วัตถุดิบที่ดีในการทำ FPJ ทุกส่วนของพืชสามารถใช้ทำได้ทุกส่วนยกเว้นราก และไม่ควรใช้พืช
ที่มีพิษเป็นวัตถุดิบ
 


3. น้ำหวานหมักจากผลไม้ (Fermented Fruit Juice : FFJ)

มีวิธีการและขั้นตอนต่างๆเหมือนการทำ FPJ แตกต่างกันที่วัตถุดิบเป็นผลไม้สุกได้แก่ กล้วย
สับปะรด มะละกอ หมักกับน้ำตาลทรายแดงในสัดส่วน 1:1 ทั้งนี้เนื่องจากผลไม้สุกจะมีน้ำเป็น
องค์ประกอบในปริมาณมากนั่นเอง FFJ นี้มีการใช้เช่นเดียวกันกับ FPJ คือสามารถใช้ในคอก
ปศุสัตว์ ใช้ฉีดบำรุงต้นพืช แต่ในการใช้กับพืชนี้จะมีการผสม FFJ กับ FPJ ในปริมาณที่แตก
ต่างกันเพื่อที่จะใช้กับพืชขณะที่มีอายุแตกต่างกัน เช่น ในพืชขณะที่กำลังเป็นต้นอ่อนจะใช้ FFJ
ต่อ FPJ เท่ากับ 1:10 ขณะที่กำลังเจริญเติบโตก่อนที่จะออกดอกใช้ 1:1 และในขณะที่
ออกดอกไปจนถึงเป็นผลจะใช้ที่สัดส่วน 10:1   อาจผสมเกลือสินเธาว์(เกลือจากดินไม่ใช่
เกลือจากทะเล)ร่วมกับน้ำตาลทรายแดงในขณะที่คลุกเคล้ากับพืชได้ โดยให้สัดส่วนของเกลือ
กับน้ำตาลเท่ากับ 2:1 ทั้งนี้เพื่อประหยัดรายจ่ายค่าน้ำตาลลง

4. น้ำหวานหมักจากเศษปลาสด ( Fish Amino Acid : FAA
ท่านอาจารย์ภรณ์ ภูมิพันนา ได้กล่าวถึงวิธีการทำน้ำหวานหมักจากเศษปลาสดไว้ดังนี้

อุปกรณ์
1. เศษ ก้าง หัว หาง ฯลฯ ของปลาสด
2. น้ำตาลทรายแดง น้ำหนักเท่าเศษปลา
3. ภาชนะเคลือบหรือดินเผา

วิธีการทำ
1. ชั่งน้ำหนักเศษปลา และเตรียมน้ำตาลทรายแดง น้ำหนักเท่ากัน
2. เอาเศษปลาใส่ลงในภาชนะ ใส่น้ำตาลลงคลุกเคล้า
3. อย่าใส่ปลาจนเต็มภาชนะ ต้องมีที่ว่าง 2/3 ของภาชนะเพื่อให้จุลินทรีย์หายใจ
4. ใช้กระดาษผูกติดไว้ 3 วันจะได้น้ำหวานหมักจากเศษปลามาใช้
5. เศษเนื้อที่ติดก้าง จะละลายเป็นของเหลวภายใน 15 วัน

วิธีการใช้
1. ใช้ปั๊มดูดน้ำขึ้นมาผสมน้ำในอัตรา 1:1,000 (2 ช้อนแกง/น้ำ 20 ลิตร)
2. รดต้นไม้ รดดินและใช้ในการทำหัวเชื้อดินหมักจุลินทรีย์

น้ำหวานหมักจากเศษปลาสดนี้จะมีกลิ่นหอมหวานของจุลินทรีย์ไม่ใช่กลิ่นน้ำปลาอย่างที่เราเคยชิน



5. ซีรั่มของจุลินทรีย์ในกรดน้ำนม (Lactic Acid Bacteria Serum : LAS)

เนื่องจากผลิตโดยการหมักน้ำนม ในที่นี้จึงขอเรียกว่า ซีรั่มน้ำนม ๆ นี้ได้จากการเก็บแลคติก
แอซิด แบคทีเรียโดยใช้น้ำซาวข้าวแล้วนำเอามาหมักน้ำนมจนได้ของเหลวสีเหลือง มร.โช
เล่าว่า การใช้ LAS นี้ฉีดพ่นทางใบให้แก่พืชสามารถเพิ่มการเจริญเติบโตและผลผลิตได้เป็น
สองเท่า


ขั้นตอนการทำซีรั่มของจุลินทรีย์ในกรดน้ำนม (LAS)
1. นำน้ำซาวข้าวใส่ในโถให้มีความสูงประมาณ 15-20 เซนติเมตร ปิดปากภาชนะด้วย
กระดาษแล้วรัดด้วยยางรัดของ เก็บไว้ในที่มืดและค่อนข้างเย็นเป็นเวลาประมาณ 1 สัปดาห์


2. น้ำซาวข้าวที่ได้จะมีกลิ่นออกเปรี้ยว ให้นำมาผสมกับน้ำนมในสัดส่วน 1:10 เก็บหมัก
ไว้อีก 1 สัปดาห์


3. น้ำนมที่หมักแล้วจะเกิดการรวมตัวและลอยตัวขึ้นของไขมันโปรตีนและคาร์โบไฮเดรท


4. น้ำที่อยู่ส่วนล่างมีสีเหลืองคือ LAS

วิธีการใช้ซีรั่มของจุลินทรีย์ในกรดน้ำนม
ให้ใช้โดยผสมน้ำในสัดส่วน 1 : 1,000 นำไปใช้ฉีดพ่นที่ต้นและใบพืช

นอกจากการกล่าวถึงการใช้ประโยชน์จากเชื้อจุลินทรีย์ในรูปแบบต่างๆ แล้ว มร.โช ยังได้กล่าวถึงหลักการพื้นฐานของการทำการเกษตรกรรมธรรมชาติว่า สิ่งที่สำคัญที่สุดในการปลูกพืชคือเรื่องระบบของรากซึ่งจะต้องมีความแข็งแรง มร.โช ไม่สนับสนุนให้มีการไถพรวนดินโดยแสดงตัวอย่างของระบบรากของต้นข้าวที่ขึ้นในนาที่มีการไถพรวนกับต้นข้าวที่งอกขึ้นเองตามธรรมชาติ ซึ่งพบว่าระบบรากของพืชที่ขึ้นเองตามธรรมชาติมีความแข็งแรงมากกว่า ซึ่งแสดงถึงความสามารถในการหาอาหารมาสร้างผลผลิตนั่นเอง โดย มร.โช แนะนำให้มีการปรับโครงสร้างของดินโดยการใช้จุลินทรีย์ การนำเทคนิคต่างๆ มาใช้ในขั้นตอนต่างๆ ของการปลูกพืชมีรายละเอียดดังนี้คือ


1. การปรับปรุงดิน ใช้ IMO ร่วมกับอินทรียวัตถุคลุมดิน เช่น ฟางข้าว ชานอ้อย ตอซังข้าวโพด โดยอาจทำการไถพรวนเพียงเล็กน้อย ไม่ควรให้ลึกเกิน 3 เซ็นติเมตร


2.การสร้างความแข็งแรงให้เมล็ดพันธุ์โดยการแช่เมล็ดพันธุ์ในสารละลายผสม 0.2 เปอร์เซ็นต์ ของ FPJ BRV และ OHN


3. การบำรุงพืชในขณะเจริญเติบโต โดยการใช้ 0.2 เปอร์เซ็นต์ FPJ ฉีดพ่นทางใบและทางราก


4. การป้องกันกำจัดแมลง โดยใช้ภาชนะใส่ 0.2 เปอร์เซ็นต์ FPJ เพื่อล่อแมลงในบริเวณแปลงเพาะปลูกให้มากินน้ำหวานหมัก ซึ่งแมลงจะเมาและบินกลับไม่ได้


5. การบำรุงพืชในขณะให้ผลผลิต ถ้าพืชติดผลแล้วให้ใช้ 0.2 เปอร์เซ็นต์ FFJ ฉีดร่วมกับ FPJ


6. การควบคุมวัชพืช โดยอาศัยหลักการของการปลูกพืชคลุมดิน และตัดลงคลุมดิน

 หลังจาก มร.โช กลับไป ศิษย์ยานุศิษย์ที่ มร.โช เคยสั่งสอนก็ได้เริ่มทดลองตามความรู้ที่ได้รับการถ่ายทอดมา โดยอาจารย์ภรณ์ ภูมิพันนา เรียกผลิตภัณฑ์ที่ผลิตได้ว่า น้ำหวานหมัก กลุ่มของชมรมเกษตรธรรมชาติไทย โดย ดร.อรรถ บุญนิธีและคณะ เรียกน้ำที่ได้จากการหมักในระยะเริ่มต้นนี้ว่า น้ำหมักพืช (Fermented Plant Juice) และต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น น้ำสกัดชีวภาพ (Bio-Extract) หรือเรียกว่า น้ำบีอี ไม่ทราบว่าตั้งเอาเคล็ดเพื่อสู้กับ อีเอ็ม หรือไม่ เพราะมี อี เหมือนกัน โดย อีเอ็ม อี เขาอยู่หน้า ส่วนของ ดร.อรรถ บีอี อี นี่อยู่ข้างหลัง แต่ไม่ว่าอยู่หน้าหรืออยู่หลังก็ดังระเบิดด้วยกันทั้งคู่ บางท่านก็เรียกว่า ปุ๋ยจุลินทรีย์ บางท่านก็เรียก ปุ๋ยน้ำหมัก บางท่านก็เรียกว่า ปุ๋ยน้ำชีวภาพ ทำให้นักวิชาการบางท่านค้อนออกมาว่ามาเรียกว่าปุ๋ยชีวภาพได้อย่างไร และเรียกในชื่ออื่น ๆอีกมากมาย ด้วยภูมิปัญญาไทยก็ได้เกิดการพัฒนาวิธีการหมักปุ๋ยน้ำชีวภาพหรือน้ำสกัดชีวภาพขึ้นมาเป็นจำนวนมากซึ่งในที่นี้ผมขอจำแนกออกเป็น 7 ประเภทดังนี้


1. การผลิตปุ๋ยน้ำชีวภาพจากพืชสด

2. การผลิตปุ๋ยน้ำชีวภาพจากผลไม้

3. การผลิตปุ๋ยน้ำชีวภาพจากสัตว์(หอยเชอรี่)

4. การผลิตปุ๋ยน้ำชีวภาพจากสัตว์(ปลา)

5. การผลิตปุ๋ยน้ำชีวภาพจากมูลสัตว์

6. การผลิตปุ๋ยน้ำชีวภาพจากขยะในครัวเรือน

7. การผลิตปุ๋ยน้ำชีวภาพสูตรรวมมิตร


โดยในลำดับต่อไปจะขอเสนอรูปแบบและวีธีการทำปุ๋ยน้ำชีวภาพสูตรต่าง ๆทั้งในเรื่องของชื่อผลิตภัณฑ์ ผู้เผยแพร่ และรายละเอียดวิธีการทำตามลำดับดังนี้ 


1. การผลิตปุ๋ยน้ำชีวภาพจากพืชสด

1.1 การทำน้ำหวานหมักจากพืชสดสีเขียว( FPJ: Fermented Plant
Juice)


ผู้เผยแพร่
: อาจารย์ภรณ์ ภูมิพันนา สำนักสันติอโศก กรุงเทพมหานครพืชสดสีเขียว
หมายถึงพืชสีเขียวทุกชนิดที่กินได้น้ำหวานจากพืช หมายถึง น้ำเลี้ยงของพืชที่อยู่ใน
ท่อส่งอาหารของพืช น้ำหวานของพืชใดก็จะเป็นอาหารธรรมชาติที่ดีที่สุดของพืชชนิด
นั้น
เช่น น้ำหวานหมักจากข้าวโพดก็จะให้ธาตุอาหารที่ดีที่สุดสำหรับข้าวโพด หรือน้ำ
หวานหมักจากอ้อยก็จะให้ธาตุอาหารที่ดีที่สุดสำหรับอ้อยแต่จะมีพืชบางชนิดที่ให้ธาตุ
อาหารที่มีประโยชน์ต่อพืชอื่นๆโดยทั่วไปได้ดี เช่น ผักบุ้ง หยวกกล้วย หน่อไม้ เป็นต้น
พืชที่ช่วงความยาวระหว่างข้อภายในกิ่งยาวยิ่งดีและควรเป็นพืชโตเร็วเพราะพืชที่โตเร็ว
มีพลังธรรมชาติที่จะสร้างพลังชีวิตได้มากและเร็ว


น้ำหวานจากพืชนี้ เป็นทรัพยากรธรรมชาติภายในพื้นที่ที่ประเมินค่ามิได้สำหรับเกษตรกร
เพราะไม่ต้องนำเข้าปุ๋ยหรือสารบำรุงพืชใดๆ เนื่องจากน้ำหวานจากพืชเป็นอาหารที่ดีที่
สุดของพืชอยู่แล้ว ทั้งยังไม่ต้องจ่ายเงินซื้อ จะช่วยลดต้นทุนการผลิต ลดการใช้สารเคมี
รักษาความสมดุลของระบบนิเวศและสภาพแวดล้อม เป็นผลดีต่อสุขภาพผู้ผลิตและผู้บริ
โภคอีกด้วย

 อุปกรณ์ที่ใช้ในการทำน้ำหวานหมักจากพืชสดสีเขียว

1. พืชสดสีเขียว

2. น้ำตาลทรายแดง (น้ำตาลผง แห้งจากน้ำอ้อย)

3. ไหดินเผาเคลือบ สะอาด แห้ง

4. ผ้าพลาสติกปูรอง

5. มีด

6. เขียง

7. ตาชั่ง

8. อ่างคลุกพืช

9. กระดาษสะอาดสำหรับปิดปากไห

10. เชือกสำหรับมัดปากไห

11. ถุงพลาสติกสำหรับใส่น้ำเป็นน้ำหนักทับปากไห

12. ยางรัดถุงพลาสติก

ขั้นตอนการทำน้ำหวานหมักจากพืชสดสีเขียว

คุณโชย้ำนักย้ำหนาว่า พลังงานที่ออกจากสิ่งมีชีวิตไม่ว่าจะทางกาย ทางวาจา ทางใจ
หรือทางอารมณ์ ความรู้สึกย่อมจะถ่ายทอดเป็นคลื่นไปสู่สิ่งมีชีวิตอื่น ต้นไม้กิ่งไม้ก็จะ
รับพลังงานร้อน เย็นจากจิตใจคนเราได้
ก่อนที่จะทำอะไรกับพืช เราควรรักษาใจรักษา
อารมณ์ให้ผ่องใสเยือกเย็น นุ่มนวล ถ้ากำลังอารมณ์ไม่ดีอย่าไปยุ่งกับพืช เพราะพืช
ต้องการรับและจะให้พลังเย็น ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อดินและการเจริญเติบโตของมัน


1.ช่วงเวลาที่ดีที่สุดในเก็บเกี่ยวพืชที่ต้องการทำน้ำหวานหมัก คือ ก่อนพระอาทิตย์
ขึ้น ไม่ต้องล้าง เพราะไม่ต้องการให้จุลินทรีย์ที่อยู่บนใบพืชถูกชะล้างออกไป
ถ้าเปียก
ฝน ผึ่งในร่มให้หมาดก่อน เปียกน้ำค้างไม่เป็นไร เพราะน้ำค้างมีธาตุอาหารของพืชบาง
ส่วน ที่ใบพืชจะมีน้ำหวานของพืชซึมติดอยู่ที่ปลายท่ออาหาร จุลินทรีย์จะไปเกาะกินน้ำ
เลี้ยงที่ซึมอยู่บนใบ จุลินทรีย์เหล่านี้มีประโยชน์มากต่อพืชตระกูลหญ้า เช่น ข้าว อ้อย
ข้าวโพด ฯลฯ


2. ก่อนหยิบมีดตัดพืช ตั้งสติตั้งใจให้สะอาด ผ่องใส ตัดพืชเป็นท่อนๆยาวประมาณ 3-5
ซ.ม. สำหรับหยวก เอามาทั้งต้น ไม่ต้องตัด ไม่ต้องลอกกาบ และแน่นอน ไม่ต้องล้าง
ซอยโคนให้เป็นแฉกๆกว้างประมาณ 2 ซ.ม แล้วสับขวางอีกครั้ง ให้ยาวประมาณ 3-4
ซ.ม. หน่อไม้ก็เช่นเดียวกัน อย่าลืมว่าไม่ต้องล้างพืชก่อนตัด


3. ชั่งน้ำหนักพืชที่ตัดแล้ว เพื่อกำหนดสัดส่วนของน้ำตาลทรายแดงที่จะใช้ผสม ในการ
ทำน้ำหวานหมักจากพืชสดสีเขียว เราจะใช้น้ำตาลครึ่งหนึ่งของน้ำหนักพืชสด ในระยะต้น
ที่เรายังกะประมาณไม่เป็นเพราะยังขาดประสบการณ์ ควรชั่งเพื่อความถูกต้องแน่นอน เมื่อ
เราชำนาญแล้วก็ประมาณเอาได้ แบ่งน้ำตาลออกเป็น 6 ส่วน 1 ส่วน เก็บไว้ปิดหน้าไห
2 ส่วนใช้คลุกอ่างแรก อีก 3 ส่วนใช้คลุกอ่างที่สอง


4. ถ้าเรามีเกลือสินเธาว์ คือ เกลือจากดิน ไม่ใช่เกลือจากทะเล เราจะใช้เกลือสินเธาว์
ผสมในส่วนของน้ำตาลได้ ในสัดส่วนเดิม คือให้เกลือผสมน้ำตาลมีน้ำหนักเท่ากับครึ่งหนึ่ง
ของน้ำหนักพืช เช่น พืช 6 กิโลกรัมปกติต้องใช้น้ำตาล 3 กิโลกรัม ถ้าเป็นเกลือผสมน้ำ
ตาล ก็ต้องเป็น 3 กิโลกรัมเหมือนกัน ควรใช้เกลือน้อยกว่าน้ำตาล จึงเป็นน้ำตาล 2 กิโล
กรัม และเกลือ 1 กิโลกรัม เกลือสินเธาว์มีธาตุอาหารสำหรับพืชมาก จะทำให้น้ำหวานหมัก
ของเรา มีธาตุอาหารสำหรับพืชเพิ่มขึ้น และน้ำหวานก็จะมีมากขึ้น


5. แบ่งพืชที่หั่นและชั่งแล้วออกเป็น 2 ส่วน เอาพืชส่วนหนึ่งใส่อ่าง โรยน้ำตาลทรายแดง
ผงกอง 2 ส่วนลงบนพืช ไม่ต้องมากนัก แล้วใช้มือทั้งสองกอบพลิกพืช คลุกเคล้ากับน้ำตาล
ผงที่โรยให้เข้ากัน ระมัดระวัง ทะนุถนอม อย่าให้พืชช้ำ ทุกอย่างต้องเบามือ แล้วค่อยๆเอามือ
ทั้งสองกอบพืชใส่ไหที่เตรียมไว้ เกลี่ยให้เรียบเสมอ กดเบาๆ ให้แน่นทุกกอบที่ใส่ลงไป


มีเคล็ดจากผู้มีประสบการณ์ท่านหนึ่งบอกว่า เวลาเคล้าพืชนั้น ถ้าพลิกพืชและเคลื่อนมือทวน
เข็มนาฬิกาไปเรื่อยๆ จะเกิดความเย็นขึ้นเรื่อยๆ รู้สึกได้แม้เมื่อเอามือแตะนอกอ่าง ใบและกิ่ง
ก้านพืชจะมันเหมือนเคลือบน้ำมันและน้ำหวานจะออกมากทีเดียว ลองทำแล้วค่ะได้ผลจริง


6. ขั้นต่อไป โรยน้ำตาลผงกอง 3 ส่วน ลงบนพืชส่วนที่เหลือในอ่างใบที่สอง ถ้าน้ำตาล
เป็นก้อนควรบี้ให้แหลก เหลือน้ำตาลกอง 1 ส่วนสุดท้ายไว้ปิดหน้าพืชที่ปากไห หมักพืช
ส่วนที่สองที่คลุกเคล้าน้ำตาลแล้วนี้ทิ้งไว้ในอ่าง 2 ชั่วโมง เอากระดาษสะอาดปิดคลุมอ่าง
ไว้


7. ค่อยๆกอบพืชจากอ่างคลุก เติมลงในไห กดพืชให้แน่นไปเรื่อยๆด้วยปลายนิ้วทั้งสี่ ทั้ง
สองมือพร้อมกัน จนพืชหมดอ่าง ใส่น้ำตาลที่เหลือปิดหน้าพืชให้ทึบ เอาผ้าสะอาดชุบน้ำหมาดๆ
เช็ดปากไห ขอบไหและภายนอกตัวไห อย่าให้มีคราบน้ำตาลเพราะมดจะขึ้น ใช้กระดาษสะอาด
ปิดปากไห ทิ้งไว้ 3 ชั่วโมง ในระหว่าง 3 ชั่วโมงนี้ พืชจะยุบตัวโดยธรรมชาติ ถ้าน้ำหวานออก
มากและพืชยุบตัวลงเหลือประมาณ 2/3 ของไห แล้วเอากระดาษสะอาดปิดปากไห และผูก
เชือกได้เลย


8. สำหรับพืชที่น้ำออกน้อย ควรเอาถุงพลาสติกใส่น้ำ ผูกปากให้แน่น วางทับหน้าพืชเป็น
น้ำหนักอีก ทำความสะอาดภายนอกไหอีกครั้ง ให้หมดน้ำตาล ทิ้งไว้ 1 คืน จึงเอาถุงน้ำออก


9. พืชเขียวต้องอยู่ประมาณ 2/3 ของไห ต้องมีที่ว่างประมาณ 1/3 ที่ปากไห เพื่อให้
จุลินทรีย์หายใจ
เอากระดาษสะอาดปิดปากไห (ห้ามใช้กระดาษหนังสือพิมพ์) แล้วเอายาง
หรือเชือกรัดปากไห เขียนชื่อพืช วันเวลาที่ทำปิดไว้กันลืม สำหรับชาวบ้านที่หากระดาษสะอาด
ได้ยาก ดิฉันมักจะแนะให้ขอกระดาษสมุดจากลูก เลือกหน้าคู่ที่ยังไม่ได้เขียน


10. ไหที่ทำน้ำหวานหมัก ต้องวางไว้ในร่ม ภายในหลังคา อย่าให้ถูกฝน จะใช้โถแก้วก็ได้
แต่ต้องหาผ้าหรือกระดาษปิดให้ทึบ อย่าให้แสงเข้าได้


11. พืชส่วนใหญ่จะใช้เวลา 8-10 วัน จนเกิดการหมักที่สมบูรณ์ ช่วง 4-5 วันแรกจะเป็น
เพียงน้ำหวาน การหมักยังไม่สมบูรณ์ เมื่อสมบูรณ์แล้วจะมีกลิ่นหอมหวาน และพืชจะกลายเป็น
สีเหลืองจางๆเพราะธาตุสีเขียว(คลอโรฟีลล์) ถ่ายเทมาอยู่ในของเหลวแล้ว


12. เมื่อได้ที่ เปิดกระดาษที่ปิดไว้ออก ใช้ปั๊มดูดน้ำหวานหมักออก ใส่ขวดแก้วสีทึบไว้ ปิดฝา
ห้ามใส่ขวดพลาสติก เพราะจะมีปฏิกริยาเกิดแก๊สพุ่งออกมา
ปริมาณที่ใส่ในขวดก็เหมือนเดิม คือ
2/3 ของขวด เพื่อมีที่ให้จุลินทรีย์หายใจ ถ้าไม่มีตู้เย็น เก็บไว้ในที่ร่มเย็น ถ้ากลิ่นเปลี่ยนเป็น
กลิ่นเปรี้ยวหรือกลิ่นแอลกอฮอล์ ให้เติมน้ำตาลลงไป 1/3 ของปริมาณน้ำ เป็นอาหารจุลินทรีย์
แต่ไม่ควรทำไว้มากเกินความต้องการใช้ในแต่ละครั้ง


ก่อนใช้น้ำหวานหมักจากพืชสดสีเขียวต้อง ผสมน้ำ 1:500 ส่วน อย่าลืมนะคะ เคยมาแล้ว ผสม
เข้มข้นไปผักพับไปคาตาทีเดียว ไม่เชื่อก็ลองดูจะว่าไม่เตือน น้ำนี้รดพืชผักได้ เป็นอาหารโดยตรง
ของพืช โดยหลักแล้วจะใช้ประโยชน์จากพืช 3 ตระกูลคือตระกูลหญ้า ตระกูลถั่วและตระกูลผัก
ซึ่งจะให้ธาตุอาหารที่เหมาะสมตามความต้องการของพืชทุกชนิด
ในแต่ละช่วงการเจริญเติบโต
น้ำหวานตัวกลางนี้สำหรับประเทศไทยคุณโชแนะนำผักบุ้ง หยวกกล้วยทั้งต้นและหน่อไม้ทั้งหน่อ
ไม่ลอกกาบ


นอกจากนี้น้ำหวานหมักจากพืชสดสีเขียว ยังเป็นตัวประกอบหลักในการทำหัวเชื้อดินหมักจุลินทรีย์
อีกด้วย


1.2 วิธีการผลิตน้ำสกัดชีวภาพ

ผู้เผยแพร่ : ดร.อรรถ บุญนิธี ชมรมเกษตรธรรมชาติแห่งประเทศไทย กองพัฒนาการ
บริหารงานเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร โทร (02) 902-8928


น้ำสกัดชีวภาพ คือ น้ำที่ได้จากการหมักดองพืชอวบน้ำ เช่น ผัก ผลไม้ ด้วยน้ำตาลในสภาพ
ไร้อากาศ น้ำที่ได้รับจะประกอบด้วยจุลินทรีย์และสารอินทรีย์หลากหลายชนิด จุลินทรีย์ส่วน
ใหญ่จะเป็นพวกยีสต์ แบคทีเรียสร้างกรดแลกติกและพวกรา แบคทีเรียสังเคราะห์แสงก็เคย
พบในน้ำสกัด ชีวภาพ


วัสดุและอุปกรณ์ในการทำ

1. ถังหมักที่มีฝาปิดสนิทจะเป็นถังพลาสติก ถังโลหะหรือกระเบื้องเคลือบหรือจะใช้ถุงพลาส
ติกก็ได้

2. น้ำตาล สามารถใช้น้ำตาลได้ทุกชนิด ถ้าได้กากน้ำตาลยิ่งดี เพราะมีราคาถูกและมีธาตุ
อาหารอื่นๆ ของจุลินทรีย์ นอกจากน้ำตาลอยู่ด้วย

3. พืชอวบน้ำทุกชนิด เช่น ผัก ผลไม้ทั้งแก่และอ่อน รวมทั้งเปลือกผลไม้อวบน้ำที่สดไม่
เน่าเปื่อย เช่น เปลือกแตงโม เปลือกสับปะรด เปลือกขนุนและเปลือกมะม่วง เป็นต้น

4. ของหนัก เช่นอิฐบล็อก หรือก้อนหิน

วิธีทำ

1. นำพืช ผัก ผลไม้ลงผสมกับน้ำตาลในภาชนะที่เตรียมไว้ในอัตราน้ำตาล 1 ส่วน ต่อพืช
ผัก ผลไม้ 3 ส่วน คลุกให้เข้ากันหรือถ้ามีปริมาณมากจะโรยทับสลับกันเป็นชั้นๆ ก็ได้


2. ใช้ของหนักวางทับบนพืชผักที่หมักเพื่อกดไล่อากาศที่อยู่ระหว่างพืชผัก ของหนักที่ใช้
ทับควรมีน้ำหนักประมาณ 1 ใน 3 ของน้ำหนักพืชผัก วางทับไว้ 1 คืน ก็เอาออกได้


3.ปิดฝาภาชนะที่หมักให้สนิท ถ้าเป็นถุงพลาสติกก็มัดปากถุงพลาสติกให้แน่นเพื่อป้องกัน
ไม่ให้อากาศเข้าไปได้ เป็นการสร้างสภาพที่เหมาะสมให้แก่จุลินทรีย์หมักดองลงไปทำงาน


4. หมักทิ้งไว้ 3–5 วัน จากการละลายตัวของน้ำตาลและน้ำเลี้ยงจากเซลล์ของพืชผักน้ำ
ตาลและน้ำเลี้ยงเป็นอาหารของจุลินทรีย์ จุลินทรีย์หมักดองก็จะเพิ่มปริมาณมากมายพร้อม
กับผลิตสารอินทรีย์หลากหลายชนิดดังกล่าวข้างต้น ของเหลวที่ได้เรียกว่า “ น้ำสกัดชีวภาพ ”


5. เมื่อน้ำสกัดชีวภาพมีปริมาณมากพอประมาณ 10–14 วัน ก็ถ่ายน้ำสกัดชีวภาพออกบรรจุ
ลงในภาชนะพลาสติก อย่ารีบถ่ายน้ำสกัดชีวภาพออกเร็วเกินไป เพราะเราต้องการให้มีปริมาณ
จุลินทรีย์มากๆ เพื่อเร่งกระบวนการหมัก น้ำสกัดชีวภาพที่ถ่ายออกมาใหม่ๆ กระบวนการ


6.หมักยังไม่สมบูรณ์จะมีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เกิดขึ้น ต้องคอยเปิดฝาภาชนะบรรจุทุกวัน
จนกว่าจะหมดก๊าซ
ปริมาณของน้ำสกัดชีวภาพที่ได้จากการหมักจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับชนิด
ของพืชผัก ผลไม้ที่ใช้หมักซึ่งจะมีน้ำอยู่ 95–98 เปอร์เซ็นต์ สีของน้ำสกัดชีวภาพก็ขึ้นอยู่กับ
ชนิดของน้ำตาลที่ใช้หมัก ถ้าเป็นน้ำตาลฟอกขาวก็จะมีสีอ่อน ถ้าเป็นกากน้ำตาลน้ำสกัดชีวภาพ
ก็จะเป็นสีน้ำตาลแก่


7.ควรเก็บถังหมักและน้ำสกัดชีวภาพไว้ในที่ร่มอย่าให้ถูกฝนและแสงแดดจัด ๆน้ำสกัดชีวภาพ
ที่ผ่านการหมักสมบูรณ์แล้วถ้าปิดฝาสนิทสามารถเก็บไว้ได้หลายๆเดือน


8. กากที่เหลือจากการหมัก สามารถนำไปฝังเป็นปุ๋ยบริเวณทรงพุ่มของต้นไม้ได้ หรือจะคลุก
กับดินหมักเอาไว้ใช้เป็นดินปลูกต้นไม้ก็ได้


หมายเหตุ
ในกรณีที่มีการหมักต่อเนื่องก็ไม่จำเป็นต้องเอากากออก สามารถใส่พืช ผักลง
ไปเรื่อยๆ ก็ได้หรือในกรณีที่หมักยังไม่เต็มถังก็สามารถเติมจนเต็มถังก็ได้ทุกครั้ง
หลังจากเปิดถังต้องปิดฝาหรือมัดปากถุงให้แน่นเหมือนเดิมเพื่อป้องกันอากาศเข้า
เพราะถ้าอากาศเข้ามากๆ จะมีจุลินทรีย์อื่นๆที่เราไม่ต้องการลงไปทำให้เสียมีกลิ่น
เหม็นเน่าได้


น้ำสกัดชีวภาพที่มีคุณภาพดีจะมีกลิ่นหมักดองและมีกลิ่นแอลกอฮอล์บ้าง มากน้อย
ขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำตาลและปริมาณผลไม้ที่หมัก ถ้าชิมดูน้ำสกัดชีวภาพจะมีรสเปรี้ยว


วิธีใช้ในพืช

1. ผสมน้ำสกัดชีวภาพกับน้ำในอัตรา 1 ส่วนต่อน้ำ 500–1,000 ส่วน รดต้นไม้
หรือฉีดพ่นบนใบ

2. เริ่มฉีดพ่นเมื่อพืชเริ่มงอกก่อนที่โรคและแมลงจะมารบกวนและควรทำในตอนเช้า
หรือหลังจากฝนตกหนัก

3. ควรให้อย่างสม่ำเสมอและในดินต้องมีอินทรียวัตถุอย่างพอเพียง เช่น ปุ๋ยหมัก
ปุ๋ยคอก หญ้าแห้ง ใบไม้แห้งและฟาง เป็นต้น

4. ใช้ได้กับพืชทุกชนิด

5. น้ำสกัดชีวภาพเจือจางใช้แช่เมล็ดพืชก่อนนำไปเพาะ จะช่วยให้เมล็ดงอกเร็วขึ้น
และจะได้ต้นกล้าที่แข็งแรงและสมบูรณ์
ระโยชน์


ในน้ำสกัดชีวภาพประกอบด้วยสารอินทรีย์ต่างๆ หลากหลายชนิด เช่น เอนไซม์ ฮอร์
โมน และธาตุอาหารต่างๆ เอนไซม์บางชนิดจะทำหน้าที่ย่อยสลายอินทรียวัตถุให้เป็น
สารอินทรีย์ เป็นอาหารของจุลินทรีย์เองและเป็นอาหารของต้นพืชฮอร์โมนหลายชนิด
ที่จุลินทรีย์สร้างขึ้นก็เป็นประโยชน์ต่อพืชถ้าให้ในปริมาณเล็กน้อย แต่จะมีโทษถ้าให้
ในปริมาณที่เข้มข้นเกินไป ฉะนั้นในการใช้น้ำสกัดชีวภาพในพืช จำเป็นต้องให้ในอัตรา
เจือจาง สารอินทรีย์บางชนิดสร้างขึ้นเป็นสารเพิ่มความต้านทานให้แก่พืช ทำให้พืชมี
ความต้านทานต่อโรคและแมลง
และทนทานต่อสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอย่าง
กระทันหัน

 http://www.doae.go.th/soil_fert/biofert/fpj1plant.htm




หน้าถัดไป (2/3) หน้าถัดไป


Content ©