-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 301 บุคคลทั่วไป และ 1 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

นาข้าว








ทำนาแบบภูมิปัญญาชาวบ้าน ป้องกันวัชพืช  



ความหลากหลายของวิธีการปลูกข้าว

ชาวนามีวิธีการปลูกข้าวหลากหลาย ถือปฏิบัติตามความเหมาะสมของสภาพพื้นที่ และปัจจัยการผลิตหลัก คือ น้ำ
1) ในพื้นที่สูงมีความลาดเทมากชาวไร่จะใช้วิธีหยอดโดยไถดะกำจัดวัชพืช 1 ครั้ง ไถพรวน 1 ครั้ง หลังจากนั้นใช้แรงงานคนแรกใช้วัสดุปลายแหลมพอเหมาะกระทุ้งทำหลุม แล้วจึงหยอดข้าวแห้งและกลบหลุม

2) ในพื้นที่ดอนน้ำไม่พอเพียงในช่วงต้นฤด ูก็จะเตรียมแปลงเหมือนข้าวไร่แต่ปลูกโดยวิธีหว่านข้าวแห้ง

3) ที่ลุ่มอาศัยน้ำฝนพื้นที่มีระดับแตกต่างกันมาก ชาวนาจึงทำคันดิน กั้นแบ่งเป็นกระทงนาเล็กๆให้มีระดับใกล้เคียงกัน ในแปลงเดียวกันคันดินนั้น ช่วยกักเก็บน้ำฝนไว้ในระยะเวลานานพอที่จะรอฝนครั้งต่อไป ชาวนาจึงเลือกปลูกด้วยวิธีตกกล้าให้ได้ต้นกล้าที่โตพอสมควรแล้วจึงปลูกด้วยวิธีปักดำ และหลังจากปลูกข้าวสามารถกักน้ำได้มาก

4) ที่ลุ่มมีระบบชลประทานชาวนาสามารถจัดหาน้ำได้ ตามต้องการจึงเลือกวิธีการทำนา โดยทำเทือก เหมือนนาดำ แต่ทำด้วยความปราณีตกว่าทั้งนี้เนื่องจากพื้นที่นาผ่านการจัดรูปที่ดินหรือปรับระดับอย่างดีมาแล้ว ชาวนาจึงเลือกวิธีการปลูกแบบนาหว่านน้ำตมแผนใหม่ที่มีการใช้เมล็ดข้าวงอกหว่านบนเทือก หลังหว่าน 2-3 สัปดาห์ข้าวตั้งตัวแล้วจึงเริ่มกักน้ำในระดับ 5-10 ซ.ม.

5) ในพื้นที่ลุ่มน้ำลึกมีน้ำขังลึก 1-2 เมตรในช่วงน้ำหลากชาวนาจะเตรียมดินในช่วงที่ดินยังแห้งอยู่โดยไถดะด้วยรถแทรคเตอร์ชุดไถผาล 7 อาจคราดอีก 1 ครั้งแล้วจึงหว่านข้าวแห้งรอฝนโดยกะให้ข้าวมีเวลาเจริญเติบโต 2-3 เดือนก่อนที่น้ำจะเพิ่มระดับสูง ระยะเวลาดังกล่าวจะมากพอให้ข้าวมีความสามารถยืดตัวหนีระดับน้ำลึกได้


วิธีการปลูกข้าวที่กล่าวมาทั้งหมดนี้มีความแตกต่างของปัจจัยต่างๆ ดังได้กล่าวมาแล้ว หลังปลูกข้าวจะมีวัชพืชรบกวนมากน้อยจนต้องมีการกำจัดหลังปลูกข้าวแตกต่างกันไปตามความปราณีต และความพร้อมของปัจจัยการผลิตที่สำคัญคือน้ำ การปลูกที่ไม่มีน้ำขังตั้งแต่ข้าวเริ่มงอกจะมีวัชพืชที่ชอบสภาพดินค่อนข้างแห้งขึ้นรบกวน หากแปลงข้าว ไม่มีน้ำขังเป็นเวลานานข้าวก็จะต่อสู้กับวัชพืชเป็นเวลานาน แต่หากมีน้ำขังเร็ววัชพืชหลายชนิดจะแพ้น้ำ และเจริญเติบโตในสภาพน้ำขังได้ไม่ดีเท่าข้าว การปลูกข้าวด้วยวิธีปักดำหากมีน้ำขังตลอดไปหลังปักดำหรือหลังข้าวตั้งตัวภายใน 1 สัปดาห์ก็คงมีปัญหาวัชพืชน้อย แต่ในความเป็นจริงชาวนามักปล่อยน้ำหลังปักดำเพื่อให้ข้าวตั้งตัวและป้องกันปัญหาปูกัดกินต้นกล้าหากทิ้งช่วงนานกว่า 1 สัปดาห์แล้วจึงมีน้ำขังก็คงมีปัญหา วัชพืชไม่แพ้วิธีการปลูกแบบอื่น การปลูกแบบหว่านน้ำตมแผนใหม่นั้นคล้ายกับว่าเป็นการพบกันครึ่งทางระหว่างวิธีหว่านข้าวแห้งกับวิธีปักดำเพราะมีการเตรียมดินอย่างปราณีตแล้วปลูกด้วยเมล็ดข้าวงอกหากมีการขังน้ำช้าก็จะมีปัญหาวัชพืชมากเช่นกัน



นาหว่านน้ำตม ( แบบเดิม )

ยังมีการปลูกข้าวที่น่าสนใจอีกวิธีหนึ่งที่แม้ไม่แพร่หลายนักแต่มีชาวนาปฏิบัติมานานและยังคงทำอยู่ในปัจจุบันคือนาหว่านน้ำตม(แบบเดิม) คาดว่าคงจะเป็นต้นแบบของนาหว่านน้ำตมแผนใหม่ ท่านผู้อ่านสามารถพบวิธีการปลูกข้าวแบบนี้ในชาวนาบางรายแถบอำเภอเมือง, ศรีมหาโพธิ์, ศรีมโหสภ และบ้านสร้าง จังหวัดปราจีนบุรี อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา และในพื้นที่อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรีก็ใช้วิธีการปลูกข้าว แบบนี้ด้วยเช่นกัน ชาวนาจะเริ่มฤดูทำนาในช่วงที่เริ่มเข้าหน้าฝนและมีน้ำเพียงพอ โดยทำเทือกแบบนาดำแล้วขังน้ำในระดับลึก 10-30 ซ.ม. หลังทำเทือกและ ปล่อยให้น้ำตกตะกอนใสพอสมควร แล้วจึงหว่านเมล็ดข้าวที่งอกน้อยกว่าหรือใกล้เคียงกับข้าวงอกในการทำนาหว่านน้ำตมแผนใหม ่ เมล็ดข้าวจะ งอกและเติบโตเป็นกล้าข้าวโผล่พ้นน้ำในระยะเวลา 5-7 วันแล้วแต่ความลึกของน้ำ ที่น่าสนใจอย่างยิ่งคือข้าวสามารถงอกและ เจริญเติบโตจนโผล่ พ้นน้ำในสภาพน้ำลึกระดับนี้ได้อย่างไร ในสภาพอย่างนี้วัชพืชที่สำคัญเกือบทุกชนิดไม่สามารถเจริญเติบโตแข่งขันกับข้าวได้เลย

จากการสังเกตุวิธีปฏิบัติและการสัมภาษณ์ชาวนาหลายราย ตลอดจนการทดลองเบื้องต้นของผู้เขียนเองพบว่าชาวนาจะสามารถใช้วิธีการปลูก แบบนี้ในฤดูนาปีเท่านั้นเพราะใช้พันธุ์ข้าวนาสวนต้นสูง เช่น ขาวดอกมะลิ105, เหลืองประทิว123 และขาวหลวง (พันธุ์พื้นเมือง) พันธุ์ข้าวเหล่านี้ มีลักษณะต้นสูงและน่าจะมีความสามารถเติบโตใต้น้ำได้ดี จากการทดลองเบื้องต้นพบว่าข้าวพันธุ์ชัยนาท 1 ไม่สามารถเติบโตใต้ระดับน้ำลึก10 ซ.ม. ในขณะที่ข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ105 และพลายงามปราจีนบุรีเติบโตได้ดีในสภาพนี้ น่าจะเนื่องจากชัยนาท 1 เป็นข้าวนาสวนต้นเตี้ย หลังเตรียมดิน ชาวนาจะทิ้งให้น้ำตกตะกอนนานพอสมควรจึงหว่านข้าวงอกที่เตรียมไว้ ในบางพื้นที่ดินมีลักษณะเป็นดินเปรี้ยวน้ำจะตกตะกอนใสเร็วใช้เวลาไม่ กี่ชั่วโมงก็สามารถมองเห็นพื้นดินได้ แต่ในพื้นที่ไม่เป็นดินเปรี้ยวน้ำตกตะกอนช้า และน้ำไม่ใสมากหลังเตรียมดินแล้วชาวนาจะทิ้งไว้ข้ามคืนจึง หว่านข้าวงอกในวันรุ่งขึ้น ระดับน้ำที่ใช้อยู่ในระหว่าง 10-30 ซ.ม. หากเตรียมแปลงสม่ำเสมอดี ก็จะใช้ระดับน้ำเพียง 10 ซ.ม. หากเตรียมแปลงไม่ สม่ำเสมออาจต้องใช้ระดับน้ำลึกถึง 30 ซ.ม.น้ำจึงจะขังครอบคลุมแปลงได้ทั้งหมด ซึ่งระดับน้ำยิ่งลึกข้าวก็จะยิ่งใช้เวลานานกว่าจะงอกโผล่พ้นน้ำการ งอกเติบโตจากใต้น้ำจนโผล่พ้นน้ำชาวนาเรียกว่า " ลอยใบบัว " การเตรียมข้าวงอกก็เป็นเทคนิคของชาวนาแต่ละราย ข้าวงอกที่ใช้อาจเป็นข้าวที่ งอกเพียงเล็กน้อยผ่านการแช่น้ำเพียง 1 คืนและหุ้มอีก 1 คืน ข้าวงอกเพียงตุ่มตาขาวๆเล็กนิดเดียวและถูกเรียกว่า "ข้าวเบียม" หรือบางรายอาจ ใช้ข้าวที่งอกใกล้เคียงกับที่ใช้ในนาหว่านน้ำตมแผนใหม่ทั่วไป



* ข้อดีและข้อเสีย

การปลูกข้าวด้วยวิธีนี้มีข้อดีและเสียตลอดจนข้อจำกัดหลายประการ
1. พันธุ์ข้าวที่ใช้ต้องเป็นพันธุ์ข้าวที่มีความสามารถเติบโตใต้สภาพน้ำลึก 10-30 ซ.ม.ซึ่งพันธุ์ข้าวนาสวนต้นสูงทุกพันธุ์น่าจะมีลักษณะนี้อยู่แล้ว อย่างไรก็ตามในระดับน้ำที่ไม่ลึกนักข้าวพันธุ์ชัยนาท 1 สามารถเติบโตใต้น้ำลึก 5 ซ.ม. จากการทดลองในถังซีเมนต์เส้นผ่าศูนย์กลาง 80 ซ.ม. ดิน ร่วนทรายชุดมาบบอนหลังตีเลน ทำเทือกเติมน้ำใสให้ได้ระดับ 5 ซ.ม. แล้วรักษาระดับน้ำนี้ไว้ 3 สัปดาห์ ข้าวเติบโตได้ไม่แตกต่างจากระดับน้ำ 0 ซ.ม.

2. การเตรียมดิน และการรอเวลาให้น้ำใสเป็นเทคนิคที่ต้องเรียนรู้เพื่อปฏิบัติให้เหมาะสมในแต่ละพื้นที่ หากหลังทำเทือกแล้วดิน เละอ่อน นุ่มมากข้าวงอกที่ใช้ต้องงอกมากพอที่เมล็ดจะไม่จมลงไปในดินเลน เทือกที่แข็งตัวกว่าต้องใช้ข้าวที่งอกน้อยกว่าเพื่อเมล็ดที่งอกจะไม่หลุดลอยขึ้นมา บนผิวน้ำได้ การขังน้ำที่ไม่ลึกนักก็ไม่จำเป็นต้องเป็นน้ำใสจนมองเห็นพื้นดินชัดเจนเพียงมองเห็นเมล็ดข้าวงอกที่หว่านลงไปก็เพียงพอ

3. การเจริญเติบโตจากเมล็ดข้าวงอกใต้ระดับน้ำลึกเป็นต้นกล้าในระยะเวลา 5-7 วัน ข้าวจะมีลักษณะผอมและอ่อน กล้าข้าวบางต้นที่รากเกาะ ยึดดินไม่ดีอาจถูกกระแสลมที่แรงเกินไป ซัดทำให้กล้าเหล่านี้หลุดลอยขึ้นเสียหายได้ ในประเด็นนี้ชาวนาต้องมีความชำนาญใน การเตรียมแปลง ให้สม่ำเสมอเพื่อให้มีระดับน้ำน้อยที่สุด เมล็ดข้าวงอกที่ใช้ต้องงอกได้พอเหมาะกับสภาพเทือกและน้ำในแปลงนั้นเพื่อกล้าข้าวที่เติบโตมาจะไม่มีปัญ หาการหลุดลอยได้ กล้าข้าวที่ผอมและฉ่ำน้ำคงจะอ่อนแอต่อการทำลายของศัตรูข้าวหลายชนิด อย่างไรก็ตามจากการปฏิบัติของชาวนาไม่มีปัญหาใน เรื่องนี้

4. การปลูกข้าวด้วยวิธีนี้แทบจะไม่มีวัชพืชรบกวนข้าวเลย แต่สัตว์น้ำหลายชนิดอาจเป็นปัญหาได้เช่นหอยชนิดต่างๆ และปลากินพืช อย่างไรก็ตามปัญหานี้ไม่เกิดในการปฏิบัติจริงของชาวนา 



บทความโดย
พิสิฐ พรหมนารท


ที่มา : ศูนย์สารสนเทศ กรมวิชาการเกษตร

http://www.pandinthong.com/ViewContent.php?ContentID=3912









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-05-10 (4109 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©