-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 401 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

นาข้าว




หน้า: 2/2



เด็กเมืองดอกบัวปฏิวัติการทำนา ฟื้นข้าวพื้นเมือง ทำปุ๋ยอินทรีย์ Express

               เมื่อเร็ว ๆ นี้ กลุ่มเยาวชนสืบสานภูมิปัญญาหนองบัวฮี ต.หนองบัวฮี  อ.พิบูลมังสาหาร  จ.อุบลราชธานี ร่วมกับโครงการข้าว ปลา อาหาร อีสานมั่นยืน มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จัดกิจกรรม “เรียนรู้ เท่าทัน สานฝันชาวนา”  ขึ้น ณ โรงเรียนหนองบัวฮีวิทยาคม เพื่อจัดกระบวนการให้เด็กและเยาวชนในเครือข่ายเยาวชนสืบสานภูมิปัญญา ได้เรียนรู้การปลูกข้าวทฤษฏีใหม่ที่สามารถพึ่งตนเองได้ ให้สมกับเป็นเยาวชนลูกชาวนาอย่างแท้จริง”

               ตำบลหนองบัวฮี เป็นพื้นที่ในเขตบริการน้ำชลประทานจากเขื่อนสิรินธร ทำให้เยาวชนและชาวบ้านส่วนมากทำนาปีละ 2 ครั้ง จึงทำให้ทั้งคนและที่ดินโดนใช้งานอย่างหนัก ชาวบ้านจึงต้องใช้เครื่องจักรกล ปุ๋ยเคมี และ ยาฆ่าหญ้า เข้ามาช่วยเพื่อให้ทันต่อช่วงเวลาของการผลิตในแต่ละครั้ง ซึ่งเป็นการทำนาที่ไม่คุ้มค่ากับการลงทุน ด้วยเหตุนี้ ทำให้กลุ่มเยาวชนสืบสานภูมิปัญญา หนองบัวฮี หันมาตระหนักในสภาวะการณ์ดังกล่าว จึงร่วมกันเรียนรู้กระบวนการชาวนาแบบทฤษฏีใหม่อย่างเป็นระบบแบบแผนระยะยาวตลอดฤดูกาล เพื่อหวังจะเป็นศูนย์การเรียนรู้เรื่องการทำนาให้กับเยาวชนชนและสังคมต่อไป

               กิจกรรม เรียนรู้ เท่าทัน สานฝันชาวนา มีการจัดกระบวนการเรียนรู้ด้วยการปลูกจิตสำนึกรัก หวงแหน และกระตุ้นให้เห็นความสำคัญของวิถีชาวนาในอดีต แล้วฉายภาพให้เห็นถึงวิกฤติการเปลี่ยนแปลงของวิถีชาวนาอีสาน ที่ถูกครอบงำด้วยเครื่องจักรกล ที่สะดวกสบายรวดเร็ว ในทุกขั้นตอนการทำนา   สุดท้ายก็ถูกนายทุน เอารัดเอาเปรียบทั้งในด้านราคา และผลผลิต จากนั้นก็เข้าสู่ภาคปฏิบัติโดยการฝึกคัดเลือกเมล็ดพันธุ์ที่ดี ด้วยการแทะเปลือกข้าวออกให้เป็นเม็ดข้าวสารแล้วดูทีละเมล็ด เพื่อคัดเลือกเอาเฉพาะเมล็ดที่สมบูรณ์ ไม่หัก ไม่งอ ไปเป็นเมล็ดพันธุ์  เมื่อได้เมล็ดพันธุ์แล้ว ก็เอาเมล็ดพันธุ์เหล่านั้นไปปลูกในกระถางเพื่อเพาะให้เป็นต้นกล้าข้าวก่อนนำไปปลูกลงที่นาซึ่งเป็นแปลงทดลองของเยาวชนเองภายในโรงเรียนโดยใช้หลักการปลูกข้าวต้นเดียว ระยะห่างพอประมาณ30–40 เซนติเมตร ขึ้นอยู่กับพันธุ์ข้าวแต่ละชนิด เป็นต้น  กิจกรรมนี้เยาวชนทดลองปลูกข้าวพื้นบ้านที่เป็นพันธุ์แท้ของจังหวัดอุบลฯ เอง จำนวน 16 สายพันธุ์ด้วยกัน

               เมื่อปลูกข้าวเสร็จ เยาวชนได้ร่วมกันเรียนรู้วิธีการทำปุ๋ยอินทรีย์แบบใช้ด่วน จากปราชญ์ชาวบ้านที่มาร่วมเป็นวิทยากร ให้ความรู้โดยการนำมูลวัวมูลควาย มาผสมกับแกลบดำ ผสมกับรำข้าว แล้วเติมกากน้ำตาล พร้อมหัวเชื้อจุลินทรีย์ ลงไป เพื่อเป็นหัวเชื้อปุ๋ยใช้หว่านในขั้นตอนก่อนไถกลบหน้าดินให้เป็นตัวทำปฏิกิริยาในการย่อยสลายพืชสดต่อไป

               บรรยากาศในการเรียนรู้ เต็มไปด้วยความตื่นเต้น แปลกใหม่ และสนุกสนานเยาวชนมีความหวังว่ากระบวนการดังกล่าวจะนำไปสู่การเกิดศูนย์การเรียนรู้เรื่องการทำนาทฤษฎีใหม่ และเป็นแหล่งรวบรวมพันธุ์ข้าวพื้นบ้านเพื่อขยายผลสู่ชุมชนในอนาคต  ก่อนปิดกิจกรรมเยาวชนได้นัดหมายกันเพื่อลงปักดำข้าวในแปลงนาทดลอง   ในวันที่ 12 กรกฎาคม 2552  จึงประกาศเชิญชวน เพื่อนพ้อง พี่น้อง หรือผู้สนใจทั่วไปที่อยากจะเรียนรู้เกี่ยวกับการทำนาทฤษฎีใหม่ที่ลงทุนน้อยแต่ได้ผลผลิตสูง เข้าร่วมกิจกรรม ในวันดังกล่าว        

กลุ่มเยาวชนสืบสานภูมิปัญญา รายงาน



http://guideubon.com/news/view.php?t=115&s_id=755&d_id=755

guideubon.com/news/view.php?t=115&s_id=755... -



ข้าวพันธุ์พื้นเมือง ของดี ที่ (เกือบ) ถูกลืม


รัชดา ธราภาค

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ 8 พ.ย. 52 - อาหารหลักของไทยที่กลายเป็นวัฒนธรรม แต่กลับถูกลืมเลือนในช่วงหลายสิบปี โชคดีที่วันนี้ ข้าวพื้นเมือง ถูกใส่ใจศึกษา เพื่อพบว่าคุณค่าสูงส่ง

วัฒนธรรม ข้าวของไทย ก่อตัวมาพร้อม 'ข้าวพื้นเมือง' หลากสายพันธุ์ แต่เมื่อข้าวพัฒนาตัวเป็นผลิตผลการเกษตรที่สำคัญของชาติ ไม่ใช่แค่ผู้บริโภค ที่เริ่มลืมเลือนชื่ออย่าง สังข์หยด, เหลืองเลาขวัญ, กันตัง, กอเตี้ย, หอมหมาตื่น ฯลฯ เพราะแม้แต่ชาวนายุคนี้เองก็เหมือนจะรู้จักข้าวแค่พันธุ์ กข ไปจนถึงไม่รู้เลยว่าข้าวที่ปลูกอยู่มีชื่อพันธุ์ว่าอะไร

ข้าวพันธุ์พื้นเมือง ได้รับความสนใจให้ความสำคัญอีกครั้งในยุคที่การดูแลสุขภาพและรักษ์สิ่งแวด ล้อมกลายเป็นกระแส แต่ก็เป็นช่วงเวลาที่เกือบจะสายเกินไปในเมื่อเกษตรกรของยุคนี้ต่างหันไปปลูก ข้าวพันธุ์เดียวกันทั้งประเทศ

คุณวิลิต เตชะไพบูลย์ ทายาทตระกูลดัง ที่ทิ้งธุรกิจโรงแรมและท่องเที่ยวของครอบครัวไว้เบื้องหลัง แล้วหันไปเป็นชาวนา กลายเป็นหนึ่งในน้อยรายของผู้ที่รื้อฟื้นและผลิตข้าวพันธุ์พื้นเมืองออกสู่ตลาดให้เป็นทางเลือกสำหรับผู้บริโภค

"ตอนแรกผมคิดแค่การทำนาข้าวอินทรีย์ ที่ไม่ใช้สารเคมี แต่พอไปทำแล้วจึงพบว่าพันธุ์ข้าวที่เหมาะสมกับพื้นที่ก็คือข้าวพันธุ์พื้น บ้านเพราะมันเหมาะกับสภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศของแต่ละท้องที่ ทำให้ไม่ต้องอัดปุ๋ยหรือใช้ยาฆ่าแมลง"

'วิลิต' ย้อนความหลังเมื่อเกือบ 10 ปีมาแล้ว ที่เขาหันไปยึดวิถีเกษตรกรเลี้ยงชีพบนที่ดิน 8 ไร่ในจังหวัดเพชรบุรี ซึ่งเป็นการประกาศตัวเป็นเกษตรกร 'ออร์แกนิค' ท่ามกลางไร่นาเคมี แต่พันธุ์ข้าวพื้นบ้านที่เขาบอกว่าดีนั้น มีความหมายว่าต้องดั้นด้นไปเสาะหากันถึงท้องถิ่นชนบทห่างไกล ที่เหลือชาวบ้านเพียงไม่กี่รายที่ยังปลูกข้าวพันธุ์ 'ขาวนางพญา' เอาไว้กินกันเองในครัวเรือน

"ช่วงปีแรกค่อนข้างขลุกขลัก พยายามแบ่งโซนเพื่อแยกสายพันธุ์ไม่ให้ปะปนกัน" แม้จะไม่ได้ราบรื่น แต่นาของ 'วิลิต' ก็ให้ผลผลิตตอบแทนแรงกายและแรงใจแบบไม่น้อยหน้าไปกว่าที่ชาวนาในอดีตเคย สร้างทำ แม้ตัวเลข 50 ถัง ต่อไร่ จากนาของเขาจะน้อยกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับผลผลิต 100-120 ถัง ของชาวนาทั่วไป แต่ต้นทุนต่ำกว่าหลายเท่าเมื่อไม่ต้องควักกระเป๋าเป็นค่าปุ๋ยและยาฆ่าแมลง

"ตัวที่หลอกเราคือพันธุ์ข้าว ข้าวพันธุ์ กข ทั้งหมดที่กรมการข้าวนำมา มันมาพร้อมกับการต้องใช้ปุ๋ยและยาฆ่าแมลง เป้าหมายเพื่อให้ได้ผลผลิตสูง จากที่เคยได้ 60-70 ถัง พอใช้ปุ๋ยใช้ยา อาจได้ถึง 100-120 ถัง ดูน่าตื่นเต้น"

แต่สิ่งที่ตามมาคือต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้นทุกปี ๆ เพราะพื้นดินที่เสื่อมทรามลง กับโรคแมลงต่าง ๆ ที่พัฒนาตัวสู้กับยา ยิ่งทำให้เกษตรกรต้องหาซื้อปุ๋ยและยาฆ่าแมลงมาใช้ในไร่นาเพิ่มขึ้นอย่างต่อ เนื่อง จนชาวนาพากันจมกองหนี้ ขณะที่ผู้บริโภครับสารเคมีไปเต็ม ๆ ...

ผ่านไปหลายปี 'นาวิลิต' ให้ผลผลิตพอเลี้ยงตัว พร้อม ๆ กับการทำหน้าที่เป็นแปลงทดลองสำหรับการปลูกข้าวหลายสายพันธุ์ หนุ่มจากเมืองกรุงเริ่มแสวงหาพันธุ์ข้าวจากแหล่งต่าง ๆ มาซอยแปลง เพื่อลองปลูกในพื้นที่ เพื่อจะพบว่า..

"ข้าวพื้นบ้านแต่ละพันธุ์มีธรรมชาติที่แตกต่างกัน ข้าวภาคกลางส่วนมากเม็ดยาว หุงแล้วร่วน มีความหอมแตกต่างกัน"

คุณค่าทางโภชนาการของข้าวพันธุ์พื้นเมือง ที่ถูกปลูกในแต่ละท้องถิ่นมีความแตกต่างกันด้วย 'วิลิต' ส่งข้าวในนาไปตรวจสอบกับ สถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล พบว่าในตัวอย่าง ข้าวกล้องเหลืองเลาขวัญ ข้าวกล้องนางพญา และ ข้าวกล้องกันตัง อย่างละ 100 กรัม จากที่นาของเขา มีธาตุเหล็กและไนอะซินค่อนข้างสูง คือ 1.4-6.60, 1.0-5.86 และ 1.1-5.24 ตามลำดับ

ข้าวพันธุ์ดี มีแบรนด์
จากการทดลองปล่อยข้าวพันธุ์พื้นเมืองสู่ ตลาดในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา วิลิต พบว่า กระแสนิยมเน้นข้าวนิ่ม หุงขึ้นหม้อ ซึ่งเป็นคุณสมบัติของข้าวหอมมะลิ ที่กลายเป็นต้นแบบของข้าวไทยที่ได้รับความนิยมจากคนส่วนใหญ่ กระนั้น ข้อมูลจากการวิจัยด้านคุณค่าทางโภชนาการ และแนวคิดเรื่องความหลากหลายทางธรรมชาติ รวมทั้งความใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อมของคนรุ่นใหม่ ทำให้ตลาดสำหรับข้าวพันธุ์พื้นบ้านที่ผลิตจากนาของเขาเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ และเริ่มขยายตัวทีละน้อย โดยมีเกษตรกรจากนาใกล้เคียงทยอยมาขอแบ่งพันธุ์ข้าวไปทดลองปลูกในนาของตัวเอง แม้จะเพียงจำนวนไม่เกินนิ้วนับ

วันนี้พันธุ์ข้าวจากนา 8 ไร่ของวิลิต ประกอบด้วย พันธุ์สันป่าตอง กันตัง ปทุมเทพ เหลืองปะทิว หอมดิน หอมมะลิแดง หอมนิล และ เหลืองเลาขวัญ นอกจากนี้ ยังมีที่ปลูกไว้เพื่อคัดพันธุ์ ได้แก่ เหลืองทอง แดงใหญ่ พวงเงิน บาสมาติก และมีที่คัดพันธุ์เก็บไว้แล้วอีกกว่า 10 สายพันธุ์

"ปลูกพันธุ์ที่มีต้นกำเนิดในท้องที่เป็นหลัก เน้น 8 พันธุ์หลัก แต่ก็มีพันธุ์อื่น ๆ ที่พร้อมจะมาสลับเพื่อให้ได้ผลผลิตที่แตกต่างกันในแต่ละรอบปีการผลิต วิลิต พูดถึงพันธุ์ข้าวที่มีพร้อมผลิตสู่ตลาดอย่างหลากหลายให้ผู้บริโภคได้เลือก ลิ้มลอง"

เขายังมีแบรนด์ นาวิลิต และร้าน บ้านนาวิลิต ที่ตึกรีเจ้นท์ ถนนราชดำริ สินค้ามีทั้งที่มาจากไร่นาของเขาเอง และรับมาจากเกษตรกรในท้องที่จังหวัดเพชรบุรีและจังหวัดต่าง ๆ ทั่วประเทศ ไม่ว่าจะเป็นข้าวกล้อง ผัก-ผลไม้ น้ำตาลโตนด ธัญพืช ผลิตภัณฑ์นม น้ำผึ้ง ไข่ ฯลฯ ซึ่งแน่นอนว่าทั้งหมดเป็นผลิตภัณฑ์ออร์แกนิค

"ตลาดอินทรีย์สดใส มี 'ผู้บริโภคสีเขียว' ที่ใส่ใจสุขภาพและห่วงใยสิ่งแวดล้อมพร้อมจะให้การสนับสนุนผลผลิตเหล่านี้" วิลิต สรุปบทเรียนการเป็นผู้ผลิตในไร่นาอินทรีย์เกือบ 10 ปี ได้เห็นการเติบโตอย่างต่อเนื่องของ 'ตลาดสีเขียว' ซึ่งแตกต่างอย่างลิบลับกับเมื่อสิบกว่าปีที่แล้ว ..แต่ปัญหาวันนี้ 'วิลิต' ชี้ว่าอยู่ที่ภาคการผลิต

"เกษตรกรอยู่ในวังวนของหนี้สิน พวกเขาไม่กล้าเสี่ยงที่จะเปลี่ยนการผลิตจากที่เคยทำมา"

และนั่นจึงเป็นคำตอบของข้อสงสัยที่ว่า ทำไมผลผลิตการเกษตรที่ปลอดภัยสำหรับผู้บริโภคและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมทั้งข้าวพันธุ์พื้นบ้านที่ถูกกล่าวขวัญถึงในวันนี้ จึงหาซื้อไม่ง่าย จนหลายคนท้อที่จะดิ้นรน

ยกเว้น หนุ่มนาข้าวจากเมืองกรุงคนนี้...
* ข้าวพื้นเมือง เรื่องของสุขภาพ

ข้าวเป็นอาหารหลักไม่เฉพาะของไทย แต่รวมไปถึงอีกหลายประเทศในโลก นักวิจัยจึงมีแนวคิดที่จะปรับปรุงเมล็ดข้าวให้ทำหน้าที่เหมือน 'เม็ดยา' ที่กินง่าย รสดี แถมมีสรรพคุณป้องกันโรคได้ด้วย และเมื่อไม่อยากใช้เทคนิคตัดต่อพันธุกรรม หรือ GMOs ที่ มีกระแสต่อต้านทั่วโลก อีกทางเลือกที่เป็นไปได้คือการมองหาพันธุ์ข้าวที่มีศักยภาพ เพื่อหวังจะพัฒนาให้ได้คุณสมบัติตามต้องการต่อไปในอนาคต

ผศ.ดร.รัชนี คงคาฉุยฉาย จากสถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ทำวิจัยเพื่อตรวจสอบสารอาหารในข้าวสายพันธุ์พื้นเมือง ไม่ใช่แค่ประโยชน์สำหรับนักปรับปรุงพันธุ์พืช แต่ประชาชนทั่วไปก็จะได้ทราบข้อมูลเพื่อการบริโภค และที่เลือกข้าวพื้นเมืองก็เนื่องจากข้าวขาวมีปริมาณสารอาหารเหลืออยู่น้อย มากถึงขั้นไม่มีเลย แต่ข้าวกล้องพื้นเมืองกลับเป็นแหล่งของสารอาหารหลากชนิด ไม่ว่าจะเป็นธาตุเหล็ก สังกะสี ทองแดง วิตามินอี และเบต้าแคโรทีน

จากการวิจัยครั้งนี้ ดร.รัชนี พบว่าข้าวแต่ละสายพันธุ์มีคุณค่าทางโภชนาการที่แตกต่างกัน ขึ้นกับสิ่งแวดล้อม อากาศ ปุ๋ย ดิน น้ำ รวมทั้งพันธุกรรมของข้าวชนิดนั้นๆ อาทิ ข้าวพื้นเมืองที่ปลูกทางภาคใต้ เช่น จังหวัดพัทลุง จะมีปริมาณธาตุเหล็กและสังกะสีสูงกว่าที่ปลูกในจังหวัดอื่น (ข้าวปทุมธานีหนึ่ง ที่ปลูกในจังหวัดพัทลุงมีธาตุเหล็ก 36 มิลลิกรัม/ 1 กิโลกรัมข้าวดิบ สูงกว่าข้าวพันธุ์เดียวกันซึ่งปลูกที่อื่น ที่มีธาตุเหล็กอยู่เพียง 25-27 มิลลิกรัม/ 1 กิโลกรัมข้าวดิบ)

ขณะที่ 'เบต้าแคโรทีน' ซึ่งทำหน้าที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ และช่วยชะลอความเสื่อมของตาเนื่องจากวัย รวมทั้งลดความเสี่ยงเกิดต้อกระจก ผลวิจัยพบว่าข้าวกล้องอีก่ำจากอุบลราชธานีและข้าวเหนียวดำจากพัทลุง มีปริมาณเบต้าแคโรทีนสูงที่สุด คือ 30.04 และ 34.76 ไมโครกรัม/ 100 กรัม

นอกจากนี้ ยังพบด้วยว่าข้าวที่มีสีเข้มเป็นแหล่งของสารต้านอนุมูลอิสระ อาทิ วิตามินอี เบต้าแคโรทีน และสารแคโรทีนอยด์ (ลูทีน) อีกด้วย

* 'ข้าวจีไอ' ของดี ตีทะเบียน
หน่วยงานภาครัฐมีความตื่นตัวเรื่องข้าวพันธุ์พื้นเมืองด้วยเช่นกัน โดยมีการส่งเสริมการนำข้าวพันธุ์พื้นเมืองจดทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์กับกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ หรือที่เรียกว่า จีไอ (GI - Geographical Indications) เพื่อที่ 'ชุมชน' ซึ่งเป็นแหล่งผลิตวัตถุดิบเฉพาะพื้นที่ได้รับประโยชน์ในการผลิตสินค้าท้อง ถิ่น ทำให้สามารถสร้างผลิตภัณฑ์ที่มีคุณลักษณะพิเศษ ที่ผู้ผลิตถิ่นอื่นไม่สามารถผลิตสินค้าในชื่อเดียวกันมาแข่งขันได้

ล่าสุด ข้อมูลถึงเดือนพฤษภาคม ปีนี้ พบว่ามี 'ข้าวจีไอ' หลายสายพันธุ์ อาทิ ข้าวหอมมะลิสุรินทร์, สังข์หยดเมืองพัทลุง, ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้, ข้าวฮางหอมทองสกลทวาปี

นอกจากนี้ ยังมีข้าวที่อยู่ระหว่างดำเนินการจดทะเบียนจีไออีก 5 รายการ ได้แก่ ข้าวเจ๊กเชยเสาไห้, ข้าวเหนียวเขาวงกาฬสินธุ์, ข้าวหอมมะลิบุรีรัมย์, ข้าวเหลืองปะทิวชุมพร และข้าวก่ำล้านนา

คุณสมบัติพิเศษของข้าวจีไอเหล่านี้ เช่น 'ข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุง' เป็นข้าวที่ปลูกในจังหวัดพัทลุงกันมากว่า 100 ปี เป็นข้าวที่มีความนุ่ม น่ากิน สีของเมล็ดข้าวกล้องเป็นสีแดง ถ้าขัดสีจนเป็นข้าวสารจะมีสีชมพูและขาว ปัจจุบันเป็นที่นิยมในหมู่ผู้บริโภครักสุขภาพ เพราะในข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุงซ้อมมือ 100 กรัม มีธาตุเหล็ก 0.52 มิลลิกรัม, ฟอสฟอรัส 165 มิลลิกรัม, วิตามินบี 1 0.18 มิลลิกรัม และไนอาซิน 3.97 มิลลิกรัม

ส่วน 'ข้าวเหลืองปะทิวชุมพร' เป็นพันธุ์ข้าวเก่าแก่ของ อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร ปัจจุบันมีเกษตรกรปลูก 30 ราย ครอบคลุมที่นา 500 ไร่ เป็นข้าวที่หุงสุกจะแข็ง-ร่วน ขึ้นหม้อ เหมาะกับการทำข้าวราดแกง และเป็นวัตถุดิบสำหรับทำขนมจีน มีสารอาหารไนอะซีน (วิตามินบี 3) สูงถึง 9.32%


http://www.biothai.net/statement

www.biothai.net/news/1333 -




การตั้งชื่อพันธุ์ข้าวพื้นเมืองไทย

การตั้งชื่อพันธุ์ข้าวพื้นเมืองไทย
จากการบันทึกข้อมูลเบื้องต้นพบว่าการตั้งชื่อพันธุ์ข้าวพื้นเมืองไทยที่รวบรวมมาจากถิ่นเดิม แหล่งต่างๆ จะเป็นการตั้งชื่อตามความพอใจของเจ้าของพันธุ์ โดยมิได้ประเมินคุณลักษณะประจำพันธุ์ทางด้านวิชาการมาก่อนดังนั้น โอกาสที่จะเป็นพันธุ์ที่ซ้ำกันมีโอกาสเป็นไปได้ สำหรับการตั้งชื่อพันธุ์จะตั้งตามสถานที่แหล่งที่พบหรือสถานที่เก็บรวบรวมมา ตามลักษณะรูปพรรณสัณฐานที่พบ ตามจังหวัด ตามชื่อคน ชื่อดอกไม้ ชื่อผลไม้ ชื่อสัตว์ ชื่อสิงของ และชื่อที่บ่งบอกความหมาย เป็นต้น ตัวอย่างชื่อพันธุ์ข้าวพื้นเมืองไทย ได้แก่
1. แสดงความรักชาติ : กู้บ้านกู้เมือง กู้เมืองหลวง กษัตริย์ ในหลวง สมเด็จ ฟ้าชาย พระเทพ ฯลฯ
2. ชื่อบอกความหมาย : แขกทิ้งเคียว ขอมใบลาน พญาหยุดรถ พญาหยุดช้าง สังข์ทอง พม่าแหกคุก แม่ยายขำ แม่หม้ายคานหัก ลอยขอหอก สำเภาลอย ตะเภาทอง ตะเภาแก้ว ตะวันขึ้น เจ๊กกระโดด ฯลฯ
3. ชื่อสถานที่ : กาฬสินธุ์ ชัยนาท ชุมพร เชียงใหม่ เพชรบูรณ์ บางกอก สงขลา นครไชยศรี นครนายก นครพนม มหาสารคาม กันตัง แก่งคอย นาโพธิ์ ตลิ่งชัน บางพระ บ้านนา โคกโพธิ์ ฯลฯ
4. เครื่องประดับ : กำไล เข็มเงิน เข็มทอง เข็มเพชร ปิ่นทอง สังวาลย์ ฯลฯ
5. ลักษณะเมล็ด : ก้นจุด ก้นงอน ข้าวป้อม ข้าวลาย เมล็ดสั้น เมล็ดเล็ก เมล็ดยาว ฯลฯ
6. สีเปลือก : ขาว เขียว แดง ดำ ม่วง เหลือง
7. ชื่อคน : บุญมา บุญมี เฉี้ยง อินตา ตาเชื้อ ตาเรือง ตาแม้น สุรพล เพชรา เจ็กเฮง จินตรา จันทรา คุณอาจ ลุงฉ่อย นางผุด นางปรุง นางฝ้าย ฯลฯ
8. ชื่อผลไม้ : ช่อละมุด ช่อลางสาด ช่อมะพร้าว มะขาม มะม่วง มะปราง ฯลฯ
9. ชื่อดอกไม้ : กระดังงา มะลิ ลำเจียก จำปา จำปี ดอกแก้ว ดอกพยอม ดอกพุด ดอกรัก ดอกประดู่ บัวหลวง บัวขาว บัวแดง ฯลฯ
10. ชื่อสัตว์ : จิ้งหรีด นกเขา นกกระทา นกเอี้ยง ปลาซิวขาว ปลาบู่ ปลาหลด ปลาไหล หางกระรอก หางชะมด หางช้าง หางนกยูง หางนาค หางม้า หางหมาใน หางหมู ฯลฯห



--------------------------------------------------------------------------------

ข้อมูลโดยสำนักคุ้มครองพันธุ์พืชแห่งชาติ และศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี สถาบันวิจัยข้าว
พัฒนาขึ้นเว็บโดย ศูนย์สารสนเทศการเกษตร กรมวิชาการเกษตร
 
http://www.kasetcity.com/data/articledetails.asp?GID=143
www.kasetcity.com/data/articledetails.asp?GID=143 -



-:- การตั้งชื่อพันธุ์ข้าว -:-

เมื่อดูจากชื่อพันธุ์ข้าวแล้วจะพบว่า การตั้งชื่อพันธุ์ข้าวพื้นเมือง นอกจากจะตั้งชื่อตามชื่อคน ชื่อสถานที่ และลักษณะตามธรรมชาติของข้าวซึ่งเป็นพืชชนิดหนึ่งแล้ว ชื่ออื่นๆ มักเป็นไปในทางดี เป็นมงคลทั้งนั้น ทั้งนี้เป็นเพราะคนไทยส่วนมากมีอาชีพในทางทำไร่ทำนาข้าวเป็นทั้งอาหารหลักและพืชเศรษฐกิจที่ทำรายได้ให้แก่ชาวบ้าน พืชที่เพาะปลูกจึงถือว่าเป็นสิ่งดี เป็นมงคล เป็นคุณประโยชน์แก่ชาวบ้าน ความรู้สึกของชาวนาที่มีต่อข้าว จึงเป็นความรู้สึกสำนึกถึงบุญคุณของข้าวที่มีต่อวิถีชีวิตของตน เมื่อต้องการตั้งชื่อพืชที่มีความสำคัญยิ่งต่อตัวเอง จึงต้องตั้งชื่อที่ดีและเป็นมงคลเพื่อผลผลิตจะได้ดีตามไปด้วย

1.การตั้งชื่อพันธุ์ข้าวพื้นเมือง อาจจำแนกรูปแบบการตั้งชื่อได้ดังนี้
    ตามชื่อของชาวนาหรือชาวบ้าน เช่น ขาวตาแห้ง ขาวตารัตน์ ขาวตาเป๋ ขาวตาเจือ เหลืองตากุย  นายยวน เป็นต้น
    ตามสถานที่ เช่น ขาวเพชรบูรณ์ ขาวสุพรรณ เหลืองร้อยเอ็ด สันป่าตอง เป็นต้น
    ตามลักษณะเด่นของเมล็ดข้าว เช่น ขาวเมล็ดเล็ก ขาวมะลิ ขาวอำไพ ขาวคัด ขาวเม็ดยาว ข้าวหอมพระอินทร์ เป็นต้น
    ตามธรรมชาติของการได้ผลผลิต คือ ข้าวหนักซึ่งได้ผลผลิตช้ากว่าข้าวเบาก็เรียกชื่อตามนั้น เช่น ขาวสะอาดหนัก เศรษฐีหนัก เจ๊กสกิด (หนัก) จำปาหนัก ห้าเหลืองเบา เบาหอม เป็นต้น
    ชื่อที่มีความหมายในทางที่ดีเป็นสิริมงคล บ่งบอกถึงความร่ำรวย หรือการได้ผลผลิตมาก ๆ เช่น ขาวเศรษฐี ล้นยุ้ง ขาวหลุดหนี้ ก้อนแก้ว เกวียนหัก เหลืองควายล้า ขาวทุ่งทอง เป็นต้น
    ตามธรรมชาติของพันธุ์ข้าว เช่น ขาวสูง เหลืองพวงล้า ข้าวใบตก เหลืองเตี้ย ขาวพวง เจ็ดรวงเบา พันธุ์เบื่อน้ำ หางหมาจอก สามรวง เป็นต้น
    ตามสีที่เกี่ยวข้องกับพันธุ์ข้าวหรือเมล็ดข้าว เช่น เขียวนางงาม เหลืองปลากริม เขียวหนัก แก้วลาย รวงดำ เป็นต้น
    ตามพืชชนิดอื่น เช่น ขาวดอกมะลิ จำปา ดอกพุด ขาวมะนาว จำปาทอง ดอกจันทร์ แตงกวา ไทรขาว  อบเชย  เป็นต้น
    ชื่ออื่น ๆ เช่นข้าวจังหวัด ขาวห้าร้อย ขาวเกษตร เหลืองสองคลอง เหลืองไร่ นางงาม
   นางเอก ตับบิ้ง หลวงแจก เป็นต้น


2.การตั้งชื่อพันธุ์ข้าวปรับปรุง เป็นดังนี้คือ
       พันธุ์ข้าวที่พัฒนาจากพันธุ์พื้นเมืองที่เลือกสรรมาโดยการคัดเลือกพันธุ์ มักจะใช้ชื่อพันธุ์พื้นเมืองเป็นฐานแล้วใส่ตัวเลขที่ระบุถึงหมายเลขประกวด (เช่น นางมล s-4 ขาวตาแห้ง 17 เป็นต้น) หรือตัวเลขตามสายพันธุ์ ( เช่น ขาวดอกมะลิ 105 ปิ่นแก้ว 56 เล็บมือนาง 111 เป็นต้น)

       พันธุ์ข้าวใหม่จากข้าวพันธุ์ผสม เช่น กข 1 กข 2 และกข 3 เป็นต้น "กข" มาจากกรมการข้าว ซึ่งเป็นผู้ริเริ่มทำการผสมพันธุ์ข้าวเหล่านี้ ในปี 2512 โดยนำพันธุ์ข้าว IR8 จากสถาบันวิจัยข้าวนานาชาติ (International Rice Research Institute หรือ IRRI) มาผสมกับพันธุ์ข้าวเหลืองทองของไทย ลูกพันธุ์ผสมที่คัดเลือกได้เป็นสายพันธุ์ดีเด่น ก็คือ กข 1 และ กข3 ซึ่งเป็นพันธุ์ข้าวเจ้าที่ให้ผลผลิตสูง และมีความดีเด่นที่สามารถแก้ปัญหาการระบาดของเพลี้ยจักจั่นสีเขียว ซึ่งเป็นพาหะของโรคใบสีเหลืองส้ม ที่กำลังระบาดอยู่ในภาคกลาง ส่วนพันธุ์ข้าว กข 2 เป็นพันธุ์ข้าวเหนียวต้นเตี้ยพันธุ์แรก ที่ให้ผลผลิตสูง และต้านทานเพลี้ยจักจั่นสีเขียว นั่นคือ เลขคู่จะบ่งถึงข้าวเหนียว และเลขคี่จะเป็นข้าวเจ้า วิธีการตั้งชื่อแบบนี้ ใช้มาจนถึงปี พ.ศ. 2524 ซึ่งออกพันธุ์ข้าว กข 27

      ในปี พ.ศ. 2526 ได้มีระบบการตั้งชื่อใหม่ โดยให้เรียกชื่อพันธุ์พืชที่มาจากการปรับปรุงพันธุ์โดยวิธีการผสมพันธุ์ตามชื่อของศูนย์วิจัย หรือสถานีทดลองที่ทำการปรับปรุงพันธุ์พืชนั้นๆ ตัวเลขที่ตามหลังชื่อ ก็ไม่ได้กำหนดว่าเลขไหนเป็นข้าวเจ้า เลขไหนเป็นข้าวเหนียว ในปี พ.ศ. 2530 ซึ่งเป็นปีที่มีการเฉลิมฉลองในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช มีพระชนมพรรษาครบ 5 รอบ พันธุ์ข้าวที่ได้รับการรับรองพันธุ์ในปีนั้น จึงใช้เลข 60 ตามชื่อของศูนย์วิจัยหรือสถานีทดลองที่ทำการปรับปรุงพันธุ์นั้นๆ เช่น สุพรรณบุรี 60 ปทุมธานี 60 ชุมแพ 60 พัทลุง 60 หันตรา 60 เป็นต้น

      ส่วนพันธุ์ข้าวพื้นเมืองหรือพันธุ์ท้องถิ่นที่นำมาทำการพัฒนา ก็จะใช้ชื่อเดิมพ่วงต่อกับชื่อของศูนย์วิจัย หรือสถานีทดลองข้าวที่ทำการพัฒนาปรับปรุงพันธุ์ เช่น เหนียวอุบล พลายงามปราจีนบุรี เล็บนกปัตตานี เฉี้ยงพัทลุง เป็นต้น ในปี พ.ศ. 2543 ซึ่งเป็นปีที่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงมีพระชนมายุครบ 90 พรรษา ข้าวสุพรรณบุรี 90 ก็เป็นพันธุ์ข้าวเฉลิมพระเกียรติอีกพันธุ์หนึ่งที่ได้รับการรับรอง และแนะนำให้เกษตรกรปลูก


http://kpspstaff.awardspace.com/kpsp_rice/rice002.html

kpspstaff.awardspace.com/kpsp_rice/rice002.html -







ลาวเจ๋งซุ่มพัฒนาพันธุ์ข้าวพื้นเมืองเตรียมส่งออก

ASTV  ผู้จัดการรายวัน — นักวิทยาศาสตร์และผู้เชี่ยวชาญของลาวกำลังทดลองพันธุ์ข้าวอีกหลายสายพันธุ์เพื่อให้มีข้าวพันธุ์ดีแจกจ่ายให้แก่เกษตรกรมากขึ้น ขณะที่ลาวประกาศจะเป็นผู้ส่งออกข้าวอีกรายหนึ่งในอนุภูมิภาค
 

            นอกจากข้าวเหนียวพันธุ์ “ท่าดอกคำ 1″ ถึง “ท่าดอกคำ 11″ ที่รู้จักกันดีและได้รับความนิยมจากชาวนาเกษตรกรแล้ว ปัจจุบันผู้เชี่ยวชาญที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าวนาพอก นครเวียงจันทน์กำลังพัฒนาข้าวพันธุ์ผสมอีกหลายสายพันธุ์ รวมทั้งข้าวพันธุ์พื้นเมือง “ท่าสะโน 1″ ผสมกับ “ข้าวหอมนางนวน” และ “ข้าวหอมนางนวน” ผสมกับ “ข้าวไก่น้อยเหลือง” เพื่อให้ได้สายพันธุ์ดีที่สุด

       สื่อของทางการได้รายงานเรื่องราวดังกล่าวระหว่าง นายบัวสอน บุบผาวัน นายกรัฐมนตรีไปเยี่ยมชมกิจการโครงการชลประทานนาพอก ในเขตเมืองไซทานี ปลายสัปดาห์ที่แล้ว ที่นั่นยังใช้เป็นศูนย์พัฒนาและวิจัยพันธุ์ข้าวอีกด้วย
       
       ศูนย์วิจัยและพัฒนาดังกล่าวเป็นหนึ่งใน 97 โครงการพัฒนาด้านกสิกรรมของนครเวียงจันทน์ และอยู่ในแผนการพัฒนาและผลิตพันธุ์ข้าวของรัฐบาล ที่ดำเนินมาตั้งแต่ปี 2525 โดยได้รับความช่วยเหลือการก่อสร้างจากรัฐบาลออสเตรเลีย หนังสือพิมพ์เวียงจันทน์ใหม่กล่าวในฉบับวันจันทร์ (30 มี.ค.)
       
       ในช่วงหลายปีต่อมาได้มีการพัฒนาและขยายโครงการชลประทานดังกล่าวด้วยความช่วยเหลือของหลายหน่วยงาม รวมทั้งธนาคารโลกและองค์การเพื่อการพัฒนาแห่งฝรั่งเศส โครงการเครื่องสูบน้ำชลประทานนี้ ถูกใช้เป็นแหล่งวิจัยพันธุ์ข้าวและเมล็ดพันธุ์แห่งชาติมาตั้ง แต่ปี 2550 ในเนื้อที่ 400 เฮกตาร์ (2,500 ไร่)
       
       ที่นั่นเป็นหนึ่งใน 10 ศูนย์ที่ขึ้นตรงกับสถาบันค้นความกสิกรรมและป่าไม้ของกระทรวงชื่อเดียวกันมีภารกิจในการค้นคว้าทดลอง รวบรวมและอนุรักษ์พันธุ์พื้นเมือง พัฒนาและปรับปรุงให้ได้พันธุ์ใหม่ออกมาที่ให้ผลผลิตสูงโดยร่วมมือกับโครงการต่างประเทศ
       
       ศูนย์ค้นคว้าวิจัยแห่งนี้สามารถคัดสายพันธุ์ข้าวและพืชเศรษฐกิจอื่นๆ ออกมาได้จำนวนมาก ปัจจุบันกำลังเน้นหนักไปที่การคัดสายพันธุ์ข้าวหอมคุณภาพดี พันธุ์ผสม เวียงจันทน์ใหม่กล่าว
       
       ตามรายงานของหนังสือพิมพ์ “ประชาชน” ของศูนย์กลางพรรคประชาชนปฏิวัติลาว ศูนย์นาพอกตั้งอยู่ที่หมู่บ้านท่าดอกคำ ประสบความสำเร็จอย่างสูงในการพัฒนาข้าวสายพันธุ์ “ท่าดอกคำ” ปัจจุบันสามารถผลิตเมล็ดพันธุ์ประมาณ 50 ตันเพื่อเตรียมแจกจ่ายให้แก่เกษตรกรสำหรับฤดูการผลิตหน้า
       
       ศูนย์ฯ แห่งนี้ยังผลิตเมล็ดพันธุ์พืชตระกูลถั่ว กับพืชเศรษฐกิจชนิดอื่นๆ ได้จำนวนหนึ่งอีกด้วย
       
       กลางเดือน มี.ค.ที่ผ่านมาสำนักงานองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organization) ประจำนครเวียงจันทน์ได้เปิดเผยความคืบหน้าในการช่วยเหลือลาวจัดตั้ง “สตอคข้าวกลาง” โดยการเก็บข้อมูลต่างๆ จะแล้วเสร็จในเดือน ก.ค.ศกนี้
       
       FAO ดำเนินการเรื่องนี้มาตั้งแต่ปีที่แล้วหลังได้รับการร้องขอจากฝ่ายลาว ซึ่งจะเป็นส่วนประกอบสำคัญในการติดตามสถานการณ์ข้าวตลอดปี พิจารณาปริมาณข้าวเพื่อบริโภคในประเทศและปริมาณที่ส่งออกได้ ช่วยให้เกิดความเข้าใจต่อสถานการณ์ข้าวในประเทศ ช่วยให้การวางแผนเกี่ยวกับการพัฒนาการผลิตข้าว สภาพแวดล้อมและการพัฒนาเศรษฐกิจได้ดียิ่งขึ้น
       
       รัฐบาลลาวได้ประกาศเมื่อปีที่แล้วเกี่ยวกับแผนการเพิ่มการผลิตและเป็นประเทศส่งออกข้าวอีกรายหนึ่งในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า


ที่มา  ผู้จัดการออนไลน์ 
http://www.isanresources.org/wp_isan/?p=202
www.isanresources.org/wp_isan/?p=202 -


มหัศจรรย์ พันธุ์ข้าวพื้นเมือง

การ พัฒนาพันธุ์ข้าวของไทยซึ่งเริ่มตั้งแต่ยุคปฏิวัติเขียว เมื่อประมาณกว่า 4 ทศวรรษที่ผ่านมา เน้นการพัฒนาพันธุ์ข้าวเพื่อเพิ่มผลผลิต มากกว่าจะคำนึงถึงคุณค่าทางโภชนาการของพันธุ์ข้าว
 
ระบบการส่งเสริมการปลูกข้าวสมัยใหม่ที่เน้นการปลูกข้าวเชิงเดี่ยวโดยใช้สาย พันธุ์ข้าวหลัก ๆ เพียงไม่กี่สาย ทำให้พันธุ์ข้าวพื้นบ้านจำนวนมากหายไปจากผืนนา ทั้ง ๆ ที่พันธุ์ข้าวพื้นบ้านเหล่านั้น มีคุณค่าทางโภชนาการสูงกว่าพันธุ์ข้าวทั่วไปที่เรารู้จักหลายเท่า
 
แผนงานฐานทรัพยากรอาหาร สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับมูลนิธิชีววิถี มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก และโครงการข้าวปลาอาหารอีสานมั่นยืน ทำการรวบรวมพันธุ์ข้าวพื้นบ้านที่เชื่อว่ามีคุณค่าอาหารสูง ป้องกันและรักษาโรคบางชนิดได้ ผลผลิตสูง หอมนุ่มรับประทานอร่อย นำไปวิเคราะห์คุณค่าทางโภชนาการ รวมถึงศักยภาพในการป้องกันและรักษาโรค โดยความร่วมมือของสถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล
 
ผลการวิเคราะห์คุณค่าทางโภชนาการพบว่า พันธุ์ข้าวพื้นบ้านหลายสายพันธุ์มีคุณค่าทางโภชนาการที่น่ามหัศจรรย์ 
 
ผลการวิเคราะห์พบว่า ข้าวเจ้าหน่วยเขือมีวิตามินอีสูงถึง 26.2 เท่า ข้าวหอมมะลิแดงและมะลิดั้งเดิมมีวิตามินอีสูง 11-12 เท่า ข้าวเหนียวเล้าแตกมีวิตามินอีสูง 10.3 เท่า ข้าวเหนียวเปลือกดำมีวิตามินอีสูง 6.5 เท่า และข้าวช่อขิงมีวิตามินอีสูง 6 เท่า เมื่อเทียบกับข้าวกล้องทั่วไป
 
ไม่เพียงแต่จะมีลูทีนสูงถึง 25 เท่าของข้าวหอมมะลิ ข้าวเหนียวก่ำเปลือกดำยังมีสารเบต้าแคโรทีนสูงถึง 3.18 เท่าของข้าวกล้องทั่วไป นอกจากนี้การบริโภคข้าวเหนียวก่ำเปลือกดำร่วมกับผักพื้นบ้าน เช่น ยอดแค ตำลึง ชะอม ขี้เหล็ก กระถิน ยังจะช่วยเพิ่มวิตามินเอให้กับร่างกายอีกด้วย
 
ข้าวหน่วยเขือมีเบต้าแคโรทีนสูง 1.68 เท่า ส่วนข้าวเล้าแตกมีเบต้าแคโรทีนสูง 1.58 เท่าของข้าวเจ้ากล้องทั่วไป การรับประทานอาหารประเภทที่มีเบต้าแคโรทีนสูง จะช่วยบำรุงสายตา ลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ช่วยให้กระดูก ผม ฟัน และเหงือกแข็งแรง สร้างความต้านทานให้ระบบหายใจ
 
ข้าวพื้นบ้านหลายชนิดมีธาตุเหล็กสูงกว่าข้าวกล้องทั่วไป 2-3 เท่า ผลการวิเคราะห์คุณค่าทางโภชนาการ พบว่า ข้าวหน่วยเขือมีธาตุเหล็กสูง 2.90 เท่า หอมมะลิแดงมีธาตุเหล็กสูง 2.86 เท่า หอมมะลิดั้งเดิมมีธาตุเหล็กสูง 2.43 เท่า ข้าวเหนียวก่ำเปลือกดำมีธาตุเหล็กสูง 2.26 เท่า ข้าวเหนียวเล้าแตกมีธาตุเหล็กสูง 2.19 เท่า ข้าวช่อขิงมีธาตุเหล็กสูง 1.90 เท่า ของข้าวกล้องทั่วไป
    
จากการรายงานของกระทรวงสาธารณสุข พบว่ามีการขาดธาตุเหล็กในกลุ่มเด็กวัยเรียน และหญิงวัยเจริญพันธุ์ร้อยละ 25.2 และ 22.3 ตามลำดับ มีผลเสียต่อระบบการทำงานของร่างกาย และการเจริญเติบโตเป็นอย่างมาก เนื่องจากธาตุเหล็กเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของการสร้างเม็ดเลือดแดง
 
การบริโภคข้าวพื้นบ้าน และการพัฒนาพันธุ์ข้าวพื้นบ้านให้มีธาตุเหล็กสูงขึ้น จะช่วยลดปัญหาการขาดธาตุเหล็กของเด็ก โดยเฉพาะในชนบทอันห่างไกลได้
 
ผลการวิเคราะห์คุณค่าทางโภชนาการยังพบอีกว่า ข้าวหน่วยเขือ หอมมะลิแดง ข้าวเหนียวหอมทุ่งยังมีสารอาหารทองแดงที่เป็นสารอาหารที่สำคัญอีกตัวหนึ่ง สูง 4-5 เท่าของข้าวกล้องทั่วไป สารอาหารทองแดงเป็นส่วนประกอบในเอนไซม์หลายตัวในร่างกาย การขาดทองแดงก่อให้เกิดภาวะซีดจากโลหิตจาง เม็ดเลือดขาวมีมากเม็ดเลือดแดงลดลง คอเลสเตอรอลในเลือดสูง และการเต้นของหัวใจผิดปกติ
 
ข้าวหอมมะลิแดงยังมีศักยภาพในการป้องกันและบรรเทาโรคเบาหวานได้เป็นอย่างดี จากการทดสอบพบว่าข้าวหอมมะลิแดงที่หุงสุกแล้วมีการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำตาล กลูโคสในช่วง 20 นาทีแรกค่อนข้างช้า คือ 10.60 กรัมต่อ 100 กรัม และปริมาณน้ำตาลกลูโคสหลังจากย่อยผ่านไป 120 นาที มีค่าเพียง 8.59 กรัม ต่อ 100 กรัม
 
แสดงให้เห็นว่าข้าวหอมมะลิแดงน่าจะเป็นข้าวพื้นเมืองที่มีดัชนีน้ำตาลที่ เหมาะกับการส่งเสริมให้ผู้บริโภคที่อยู่ในภาวะปกติ หรือผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 รับประทาน เพราะเมื่อรับประทานเข้าไปแล้ว ร่างกายจะมีปริมาณน้ำตาลกลูโคสเพิ่มสูงขึ้นช้ากว่าข้าวเจ้าทั่วไป
 
“ในอดีต ประเทศไทยมีพันธุ์ข้าวพื้นบ้านนับหมื่นนับแสนสายพันธุ์ แต่สายพันธุ์ข้าวท้องถิ่นเหล่านั้นกำลังสูญหายไปอย่างรวดเร็ว ตัวอย่างเช่น ข้าวหน่วยเขือ ซึ่งมีคุณค่าทางอาหารสูงนั้น มีการปลูกน้อยมากในปัจจุบัน การตระหนักถึงคุณค่าของข้าวพื้นบ้านซึ่งมีความสำคัญต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม จะทำให้ทุกฝ่ายหันมาร่วมมือกันเพื่ออนุรักษ์และพัฒนาสายพันธุ์ข้าวพื้นบ้าน ให้กลับมางอกงามแพร่หลาย และหลากหลายยิ่ง ๆ ขึ้นไป” วิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ ผู้อำนวยการมูลนิธิชีววิถี กล่าวสรุป.



ศศิมา ดำรงสุกิจ


http://www.oknation.net/blog/summer/2008/09/21/entry-26/comment
www.oknation.net/blog/summer/2008/09/21/entry-26/comment -




ค้นพบ “ข้าวจิ๊บ” ซึ่งเป็นข้าวพื้นบ้านพันธุ์ดีที่
บ้านลิ่มทอง อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์





ค้นพบ “ข้าวจิ๊บ” ซึ่งเป็นข้าวพื้นบ้านพันธุ์ดีที่ บ้านลิ่มทอง อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์ มีคุณภาพและลักษณะแตกต่างกับข้าวพันธุ์อื่นทั่วไป ขณะนี้มูลนิธิไทยคม ส่งเสริมให้เกษตรกรเพาะปลูกในแปลงทดลอง เพื่อให้ขยายพันธุ์เป็นพืชเศรษฐกิจต่อไป วันนี้ (10 ก.ย.53) นางสนิท ทิพย์นางรอง ประธานศูนย์นวัตกรรมการเรียนรู้ 80 พรรษา บ้านลิ่มทอง ต.หนองโบสถ์ อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์ พร้อมตัวแทนมูลนิธิไทยคม ได้นำข้าวที่ค้นพบ ที่ชาวบ้านเรียกว่า “ข้าวจิ๊บ” ซึ่งเป็นข้าวพื้นเมืองที่ชาวบ้านลิ่มทองเพาะปลูกกันมาตั้งแต่ปู่ ย่า ตา ยาย สืบต่อกันมา แต่ยังไม่มีการนำไปวิจัยขยายพันธุ์ในการเพาะปลูกยังถิ่นอื่น

การค้นพบข้าวจิ๊บดังกล่าว เป็นการค้นพบระหว่างดำเนินโครงการเพิ่มคุณค่าผืนนาชุมชนของมูลนิธิไทยคม ซึ่งเป็นโครงการต่อเนื่องจากโครงการรักษ์ผืนดิน

เป็นการศึกษาเกี่ยวกับข้าวตั้งแต่พันธุ์ข้าวพื้นเมือง การคัดเลือกพันธุ์ข้าว การอนุรักษ์พันธุ์ข้าว และการเพิ่มผลผลิตข้าว ซึ่งเป็นอาชีพหลักของชุมชนบ้านลิ่มทอง

ข้าวจิ๊บเป็นข้าวสายพันธุ์พิเศษทนต่อสภาพความแห้งแล้ง มีลักษณะเมล็ดยาวเรียว หุงขึ้นหม้อ ไม่แตกต่างข้าวสายพันธุ์อื่นที่ขึ้นชื่อ และได้รับความสนใจจากศูนย์พันธุ์ข้าว จ.นครราชสีมา

ในการทำการวิจัย ด้าน นายบพิธ โกมลภิส ผู้จัดการโครงการอาวุโส มูลนิธิไทยคม ระบุว่า จากผลการวิเคราะห์เกี่ยวกับข้าวจิ๊บ ทำให้มูลนิธิฯ ได้เข้ามาสนับสนุนบ้านลิ่มทอง ในการปลูกข้าวจิ๊บในแปลงทดลองจำนวน 3 ไร่ เพื่อขยายพันธุ์ข้าวจิ๊บส่งเสริมให้เป็นพืชเศรษฐกิจ และเป็นเอกลักษณ์ของบ้านลิ่มทอง สร้างรายได้ให้ชุมชนต่อไป
 

ข้อมูลข่าวและที่มา
ผู้สื่อข่าว : บุรีรัมย์(สวท.)   Rewriter : ธนวัต วงศ์วิริยะวณิช
สำนักข่าวแห่งชาติ กรมประชาสัมพันธ์ :
http://thainews.prd.go.th


 วันที่ข่าว : 10 กันยายน 2553

http://thainews.prd.go.th/view.php?m_newsid=255309100141&tb=N255309&return=ok&news_headline=%22%A4%E9%B9%BE%BA%20%93%A2%E9%D2%C7%A8%D4%EA%BA%94%20%AB%D6%E8%A7%E0%BB%E7%B9%A2%E9%D2%C7%BE%D7%E9%B9%BA%E9%D2%B9%BE%D1%B9%B8%D8%EC%B4%D5%B7%D5%E8%20%BA%E9%D2%B9%C5%D4%E8%C1%B7%CD%A7%20%CD.%B9%D2%A7%C3%CD%A7%20%A8.%BA%D8%C3%D5%C3%D1%C1%C2%EC%20%20%22

thainews.prd.go.th/view.php?..."







หน้าก่อน หน้าก่อน (1/2)


สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-05-10 (7337 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©