-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 306 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

นาข้าว





 พันธุ์ข้าวต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล  

เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลเป็นแมลงศัตรูข้าวที่มักระบาดในช่วงที่อากาศร้อนและความชื้นค่อนข้างสูง ทำให้ผลผลิตข้าวลดลงทั้งในเขตนาชลประทานภาคกลางและภาคเหนือตอนล่าง ในปี พ.ศ. 2533 มีการระบาดรุนแรงในพื้นที่นาภาคกลาง ผลผลิตลดลง 1.5-1.8 ล้านตันข้าวเปลือก คิดเป็นมูลค่าในขณะนั้นประมาณ 5,000 - 6,000 ล้านบาท และเมื่อต้นปี พ.ศ. 2551 พบการแพร่ระบาดรุนแรงใน อ.สามโก้ จ.อ่างทอง มีพื้นที่นาเสียหาย 100% เกือบ 1,000 ไร่ และพบการระบาดกว่า 70-80% ของพื้นที่การเกษตร ทั้งหมด 40,000 ไร่  เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล มีปากแทงดูดกินน้ำเลี้ยงจากกาบใบและคอรวงต้นข้าว ตัวเต็มวัยสีน้ำตาลทำลายต้นข้าวในทุกระยะการเจริญเติบโต โดยเฉพาะแปลงนาที่ปลูกข้าวติดต่อกันนานโดยไม่เว้น ช่วงพักมีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชผิดประเภทในนาข้าว ทำให้เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลระบาดมากขึ้น เนื่องจากแมลงตัวห้ำศัตรูธรรมชาติของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลถูกทำลาย ในขณะที่เพลี้ยปรับตัวได้ ต้นข้าวที่ถูกเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลทำลายจะเหี่ยวแห้งเป็นสีน้ำตาลแก่ในระยะกล้า ต้นข้าวที่ออกรวงมีเมล็ดไม่สมบูรณ์และมีน้ำหนักเบา นอกจากทำลายต้นข้าวโดยตรงแล้ว เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลยังเป็นพาหะนำเชื้อไวรัสโรคใบหงิก ทำให้ใบข้าวหงิกไม่สามารถออกรวงได้ 

การปลูกข้าวพันธุ์ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลเป็นวิธีที่ดีในการควบคุมประชากรเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลให้ลดลง อย่างไรตาม เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลปรับตัวได้อย่างรวดเร็ว ทำให้พันธุ์ข้าวที่พัฒนา มีความต้านทานระยะสั้น นักวิจัยจึงต้องพัฒนาพันธุ์ข้าวที่มีความต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน ถึงแม้ว่าในเขตนาน้ำฝน เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลยังไม่เป็นปัญหาหลัก แต่จากข้อมูลหลายปีที่ผ่านมาชี้ให้เห็นว่าการระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลมีเพิ่มมากขึ้น และจะกลายเป็นปัญหาที่สำคัญอีกปัญหาหนึ่ง  ในการปลูกข้าวนาน้ำฝน และจากการที่ข้าวขาวดอกมะลิ 105 และ กข 6 เป็นข้าวสายพันธุ์ดีที่ปลูกในเขตนาน้ำฝน และไม่ต้านทานต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล

ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยี ชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) โดยหน่วยปฏิบัติการค้นหาและใช้ประโยชน์ยีนข้าว ซึ่งเป็นหน่วย ปฏิบัติการวิจัยร่วมระหว่างมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และไบโอเทค ได้ร่วมมือกับ กรมการข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ทำงานวิจัยเพื่อพัฒนาพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 และพันธุ์ กข 6 ให้ ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล 

คณะนักวิจัยทำการรวบรวมและศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลเพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลในการสืบหาพันธุกรรมข้าวที่ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และใช้ เทคโนโลยี ดีเอ็นเอ ในการสืบหาตำแหน่งของยีน เพื่อนำมาใช้ในการคัดเลือกพันธุ์ข้าวต้านทาน ซึ่งคณะนักวิจัยพบว่า ข้าวสายพันธุ์จากประเทศศรีลังกาและอินเดีย มีความต้านทานต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในประเทศไทยจึงเป็นแหล่งพันธุกรรมของความต้านทานที่ดี และเมื่อสืบหายีนควบคุมลักษณะความต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในข้าวทั้งสองพันธุ์ พบว่า พันธุ์ข้าวจากศรี ลังกามียีนต้านทานอยู่บนโครโมโซมที่ 6 และ 12 ส่วนพันธุ์ข้าวจากอินเดียมียีนต้านทานอยู่บนโครโมโซมที่ 6 จึงพัฒนาโมเลกุลเครื่องหมาย ดีเอ็นเอ ที่ มีความแม่นยำ สำหรับช่วยในการคัด เลือกความต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลจากพันธุ์ข้าวทั้งสองพันธุ์ 

คณะนักวิจัยได้ปรับปรุงข้าวสายพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 ให้ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลโดยใช้ พันธุ์ข้าวจากศรีลังกาและอินเดีย ผสมกับพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 และใช้เครื่องหมายโมเลกุล ในการติดตามและคัดเลือกต้นข้าวขาวดอกมะลิที่มียีนต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ปัจจุบัน พันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 ใหม่ที่มียีนต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลอยู่ในระหว่างการปลูกคัดเลือกลักษณะทางการเกษตร และทดสอบด้านผลผลิตและการปรับตัวในแปลงเกษตรกร สำหรับการปรับปรุงพันธุ์ข้าวสายพันธุ์ กข 6 ให้ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ปัจจุบันอยู่ในกระบวนการคัดเลือกและทดสอบความต้านทาน 

นอกจากนี้ คณะนักวิจัยยังปรับปรุงข้าวสายพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 ให้ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ต้านทานโรคขอบใบแห้ง และทนน้ำท่วมฉับพลัน และได้พันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 ที่มีลักษณะต้านทานทั้งสามรวมอยู่ด้วยกัน และอยู่ในระหว่างการปลูกคัดเลือกลักษณะทางการเกษตร และทดสอบด้านผลผลิตและการปรับตัวในแปลงเกษตรกร 


ผลงานเด่นไบโอเทค :
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ติดต่อขอรายละเอียดเพิ่มเติม : ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ
113 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12120
โทรศัพท์ 0 2564 6700 โทรสาร 0 2564 6701-5

ที่มา  :  สวทช









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-05-10 (2358 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©