-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 612 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

นาข้าว





“ข้าวพันธุ์ใหม่” ปลอดจีเอ็มโอ ปลูกดินเค็มได้-ให้ผลผลิตสูง


“ข้าว”เป็นอาหารหลักของคนไทย และเป็นพืชเศรษฐกิจของประเทศ แต่การปลูกข้าวในสถานที่ที่มีพื้นที่ดินเค็ม ยังเป็นปัญหาสำคัญที่ทำเอาเหล่ากระดูกสันหลังของชาติต้องกุมขมับ เพราะนอกจากจะมีพันธุ์ข้าวไม่กี่พันธุ์ที่สามารถปลูกในดินเค็มได้แล้ว ยังให้ผลผลิตต่ำอีกด้วย นักวิจัยไทยจึงได้คิดค้นข้าวพันธุ์ใหม่ ที่ปลอดจีเอ็มโอ แต่สามารถปลูกในดินเค็มและให้ผลผลิตสูง
       
ดร.สุริยันตร์ ฉะอุ่ม นักวิจัย ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) ได้พัฒนา"ข้าวสายพันธุ์บริสุทธิ์ทนความเค็ม”(Pure line) ด้วยการผสมเกษรระหว่างพันธุ์ ข้าวขาวดอกมะลิ 105 และพันธุ์ข้าวปทุมธานี 1 โดย ดร.สุริยันตร์ เล่าถึงที่มาของงานวิจัยว่า เนื่องจากภาคอีสานเป็นพื้นที่ที่มีการปลูกข้าวขาวดอกมะลิ 105 เพื่อการส่งออกมากที่สุด แต่ปัญหาพื้นที่ดินเค็มทำให้ผลผลิตต่อไร่ของข้าว ค่อนข้างต่ำมาก เมื่อเทียบกับประเทศจีน ที่แม้ไม่ได้ผลิตข้าวเพื่อส่งออก แต่ก็ผลิตข้าวเพื่อการบริโภค เพราะมีประชากรในประเทศเป็นจำนวนมาก ส่วนประเทศญี่ปุ่นก็สามารถผลิตข้าวได้เกือบ 1,600 กิโลกรัมต่อไร่ ในขณะที่ประเทศไทยบ้านผลิตได้เพียง 300-400 กิโลกรัมต่อไร่ เท่านั้น
       
“ในเมื่อบ้านเรามีฐานพันธุกรรมข้าวอยู่พอสมควรก็สามารถทำได้ โดยได้ไปขอพันธุ์ข้าวที่ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี กรมวิชาการเกษตร แล้วนำมาทดสอบว่า พันธุ์ข้าวชนิดใดมีความสามารถปลูกในพื้นที่ดินเค็มได้ โดยคัดเลือกเอาพันธุ์ข้าวทนความเค็มมาผสมพันธุ์กับข้าวขาวดอกมะลิ 105 โดยคาดหวังว่าความสามารถในการทนความเค็มจะเข้าไปในยีนส์ของข้าวขาวดอกมะลิ 105 หรือปทุมธานี 1 โดยเหตุที่สนใจเฉพาะข้าว 2 พันธุ์นี้ เนื่องจากข้าวขาวดอกมะลิ 105 เป็นข้าวไวแสงปลูกได้ปีละหน ส่วนพันธุ์ข้าวปทุมธานี 1 สามารถปลูกในบริเวณภาคกลางและเก็บเกี่ยวได้ถึง 3 รอบ”
       
ดร.สุริยันตร์ อธิบายถึงปัญหาดินเค็มว่า ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะภาคอีสานเท่านั้น หากแต่พื้นที่ภาคกลางก็มีปัญหาเช่นกัน โดยมีหลายสาเหตุ อาทิ การขนน้ำทะเลมาเลี้ยงกุ้ง การทำเกษตรกรรมที่มีการปลดปล่อยน้ำเสียออกมา การปนเปื้อนของเกลือในดิน ฯลฯ จึงมองไปที่ข้าวทั้ง 2 พันธุ์นี้ ซึ่งเป็นพันธุ์ที่มีคุณสมบัติดีอยู่แล้ว หากแต่ต้องการให้สามารถปลูกได้ในพื้นที่ดินเค็ม
       
ทั้งนี้ การปรับปรุงพื้นที่ดินเค็มที่นิยมทำอยู่มี 2 วิธี คือ การล้างหน้าดิน และการปลูกไม้ยืนต้น เพื่อกดไม่ให้เกลือขึ้นมา ซึ่งวิธีนี้จะมีต้นทุนค่อนข้างสูง และยังเกิดปัญหาในการหาแหล่งน้ำเนื่องจากภาคอีสานมีพื้นที่แห้งแล้ง ที่สำคัญพื้นที่ข้างล่างจะเป็นภูเขาหินเหลือ ซึ่งมีปริมาณเกลือจำนวนมากจนมีการคาดว่า สามารถเลี้ยงประชากรโลกได้ถึง 1,000 ปี จึงเป็นเรื่องยากที่ปรับปรุงสภาพดินเค็ม ดังนั้น การปรับปรุงพันธุ์ข้าวจึงเป็นทางเลือกที่น่าจะแก้ไขปัญหาได้อย่างตรงจุด
       
“ขณะนี้การพัฒนาข้าวสายพันธุ์บริสุทธิ์ทนความเค็ม อยู่ในขั้นตอนการทดลองปลูกบนพื้นที่ดินเค็ม ของบริษัทเกลือพิมาย จำกัด จ.นครราชสีมา เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีคราบเกลือค้างอยู่ โดยจะปลดปล่อยพันธุ์ข้าวจนมั่นใจว่าความสามารถในการทนความเค็มนิ่งพอ มีการปลูกและเก็บเมล็ดพันธุ์ข้าวอย่างน้อย 6 รุ่น เพื่อให้ได้พันธุ์ข้าวที่ไม่แปรปรวนพันธุกรรม ซึ่งขณะนี้เก็บได้ 1-2 รุ่น แล้วหลังจากนั้น จะทำการตรวจสอบคุณภาพการหุงต้ม และคุณค่าทางโภชนาการ ซึ่งต้องใช้ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์มาอธิบาย โดยต่อไปจะขยายไปปลูกทดสอบในจังหวัดต่างๆของภาคอีสานต่อไป เพื่อดูการตอบสนองของพันธุ์ข้าวต่อสภาพแวดล้อมในพื้นที่ต่างๆ”
       
นักวิจัยที่ทำการพัฒนาข้าวสายพันธุ์บริสุทธิ์ทนความเค็ม กล่าวถึงเป้าหมายในการคิดค้นผลงานวิจัยดังกล่าวว่า นอกจากข้าวพันธุ์นี้จะสามารถปลูกในพื้นที่ดินเค็มแล้ว ยังให้ผลผลิตในปริมาณที่สูงกว่าข้าวขาวดอกมะลิ 105 ประมาณ 1.5 เท่า ซึ่งในต่างประเทศได้นำเทคโนโลยีการตัดต่อพันธุกรรม(จีเอ็มโอ)มาใช้ เพื่อแก้ไขปัญหาพันธุกรรมของข้าว แต่งานวิจัยนี้จะไม่ใช่การทำจีเอ็มโอ
       
นับเป็นผลงานวิจัยที่มีคุณค่าต่อเกษตรกรไทย และเพิ่มปริมาณการส่งออกข้าวไทยไปยังต่างประเทศ ซึ่งหาก“พันธุ์ข้าวบริสุทธิ์ทนความเค็ม”ประสบความสำเร็จ และนำไปขยายผลใช้ปลูกในพื้นที่ต่างๆได้อย่างแพร่หลาย ในอนาคตปัญหาสภาพดินเค็มคงไม่ใช่อุปสรรคที่จะทำให้เราปลูกข้าวไม่ได้อีกต่อไป











สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-05-10 (2756 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©