-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 324 บุคคลทั่วไป และ 1 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

นาข้าว





กำจัดหอยเชอรี่          


กับดัก                    
- ช่วงสูบน้ำเข้านา ใช้ตาข่ายไนล่อนตาถี่ๆ กรองไข่หอยที่ติดมากับน้ำไม่ให้เข้าไปในแปลง
-  ทำแอ่งน้ำด้านลาดต่ำของแปลงใส่ ใบตำลึงสด ใบสำปะหลังสด ใบกระทกรกสดอย่างใดอย่างหนึ่งโดยมีกระด้งรองด้านล่าง จากนั้นค่อยๆปล่อยน้ำออกจากแปลง ซึ่งน้ำจะไหลไปทางลาดต่ำเสมอ เมื่อน้ำเริ่มไหลออก หอยเชอรี่คิดว่าน้ำในแปลงจะแห้งในเร็วๆนี้ก็จะตามน้ำไป จนกระทั่งไปพบแอ่งซึ่งมีระดับน้ำลึกกว่าปกติ แถมมีอาหารของชอบให้กินด้วยก็จะเข้าในแอ่งน้ำนั้น จากนั้นก็ให้จับตัวหอยเชอรี่ไปทำลาย         


       
สมุนไพร                
- ใช้ผลมะกรูดสดแก่จัด ใส่ถุงตาข่ายไนล่อน เขย่าให้ผิวช้ำจนมีน้ำมันออกมา  แล้วผ่าผลมะกรูดเป็น 2 หรือ 4 ชิ้น นำชิ้นผลมะกรูดที่ผ่าแล้วหว่านในแปลงนา มีน้ำลึก 10-20 ซม. ห่างกัน ตร.ว.ละชิ้น น้ำมันผิวมะกรูดจะออกมาลอยอยู่บนผิวน้ำ บางส่วนจะลอยไปตามลม เมื่อหอยเชอรี่สัมผัสกับน้ำมันผิวมะกรูดก็จะหนีไปเอง
- ใช้ปุ๋ยน้ำชีวภาพ + สารสกัดกลอย-ซาก-บอระเพ็ด อัตรา 3-5 ล./ไร่ ใส่ในแปลงช่วงทำเทือก
        


       
งดน้ำ                

เนื่องจากหอยเชอรี่เป็นสัตว์น้ำย่อมต้องอาศัยอยู่ในน้ำเสมอ ดังนั้นมาตรการปล่อยน้ำออกจากแปลง แล้วปล่อยตากแดด 5-10 วัน ก็สามารถทำให้หอยเชอรี่อยู่ไม่ได้หรือตายไปในที่สุด แปลงนาที่ผ่านการเตรียมดิน (ทำเทือก)แบบไถกลบฟาง + อินทรีย์วัตถุ แม้จะไม่มีน้ำในแปลงนาน 5-10 วัน  ต้นข้าวจะไม่ชะงักการเจริญเติบโตเนื่องจากขาดน้ำ ทั้งนี้เพราะฟางกับอินทรีย์วัตถุได้ช่วยซับหรืออุ้มน้ำใต้ผิวดินไว้ให้แล้วนั่นเอง
                  

หมายเหตุ  :               
ธรรมชาติของหอยเชอรี่ต้องอยู่ที่ผิวดินเสมอและขุดดินฝังตังเองไม่เป็น แต่ปัจจุบันหอยเชอรี่ได้ “ผสม
พันธุ์กับหอยโข่ง”  ทำให้เกิดเป็นหอยเชอรี่สายพันธุ์ใหม่สามารถขุดดินฝังตัวเองลงใต้ผิวดินยามที่ไม่มีน้ำได้เช่นเดียวกับหอยโข่ง ทำให้มาตรการกำจัดยุ่งยากขึ้นไปอีก
       
ในอดีตหอยขมซึ่งชอบเกาะกิ่งไม้ใต้น้ำ และไม่เคยกัดกินต้นข้าว  แต่วันนี้หอยขมกัดกินต้นข้าวเหมือน
หอยเชอรี่แล้ว  


ด้านนายประเสริฐ โกศัลวิตร อธิบดีกรมการข้าว กล่าวเพิ่มเติมว่า หอยเชอรี่ เป็นศัตรูข้าวที่ เกษตรกรควรเฝ้ าระวังเป็นอันดับต้นๆ โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝนที่มักเกิดการระบาดอยู่เสมอ เนื่องจากหอยเชอรี่จะเคลื่อนย้ายไปตามกระแสน้า ในฤดูฝนจะมีน้าไหลหลาก ซึ่งสร้างปัญหาให้กับ ชาวนาเป็นประจำทุกปี โดยหอยเชอรี่ (Pomacea canaliulata Lamarck ) เป็นหอยทากน้าจืดชนิด หนึ่ง มีลักษณะคล้ายหอยโข่งแต่เปลือกมีสีอ่อนกว่า คือมีสีเขียวเข้มปนดำผสมกับแถบสีจางๆ พาดตามความยาวเปลือก บางตัวมีสีเขียวเข้มปนดำ บางตัวมีสีเหลืองปนน้าตาล ตัวเต็มวัยอายุ 3 เดือน สามารถผสมพันธุ์วางไข่ได้ เพศเมียวางไข่ในที่แห้งเหนือระดับน้า


หอยเชอรี่สามารถวางไข่ได้ตลอดปี โดยเฉพาะฤดูฝนวางไข่ได้ 10-14 ครั้งต่อเดือน ไข่มีสี ชมพูเกาะติดกันเป็นกลุ่มๆ ละ 388-3,000 ฟอง ระยะไข่ 7-12 วัน ลูกหอยตัวเล็กๆ จะกินสิ่งอ่อนนิ่ม เช่น สาหร่ายเป็นอาหาร และเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว เมื่อมีขนาด 1.6 เซนติเมตร ก็เริ่มกัดกินต้น ข้าวได้ โดยหอยเชอรี่จะกัดกินต้นข้าวทันทีหลังจากปักดำ หรือปล่อยน้าเข้านา โดยเฉพาะในนา
หว่านน้าตม ซึ่งจะกัดกินลำต้นข้าวและใบข้าวทำให้ใบขาดลอยน้า หอยเชอรี่สามารถกัดกินต้นข้าว หมดทั้งแปลงภายในคืนเดียว ถ้าหอยมีปริมาณมาก


สำหรับวิธีการป้ องกันและกําจัดหอยเชอรี่ในนาข้าวนั้น แบ่งเป็นการป้ องกันด้วยวิธีกล ซึ่ง เป็นวิธีที่ง่ายใช้ได้ผลดีที่สุดและประหยัด ปลอดภัยไม่กระทบต่อสิ่งแวดล้อม เพราะใช้การจับมา ทำลาย หรือจับมาทำประโยชน์ โดยใช้ไม้ปักหรือใบมะละกอวางตามข้างๆ คันนาทุก 10 ก้าว เพื่ อ ล่อให้หอยมาไข่แล้วเก็บออกไปทำลาย และควรเก็บตัวหอยเชอรี่ในช่วงเช้า หรือเย็น ซึ่งเป็นช่วงที่ แดดอ่อนหรือน้าในนาไม่ร้อนจัด ถ้าหากแสงแดดร้อนจัดหอยเชอรี่จะหลบอยู่บริเวณน้าลึก หรือ หมกตัวกับโคลนทำให้ยากในการเก็บ ควรหมั่นเก็บไข่หอยและหอยทุกๆ 1–2 วัน ตลอดเวลาที่มีน้า ขังในนา นอกจากนี ้ จะต้องทำแผงตาข่ายตาถี่กั้นทางน้าเข้านาเพื่อกันหอยเข้ามาเพิ่มในแปลง


อีกวิธีหนึ่งคือการใช้สารฆ่าหอยเมื่อจำเป็นและใช้เพียงครั้งเดียวต่อฤดูปลูก โดยสารฆ่าหอย ที่แนะนำ คือ กากเมล็ดชา เป็นสารที่ได้จากพืชหรือส่วนของพืชบดเป็นผง ใช้หว่านในนาข้าว อัตรา 3 กิโลกรัมต่อไร่ หรือนิโคซาไมด์ (ไบลุสไซด์ 70% ดับบลิวพี) อัตรา 50 กรัมต่อไร่ เมทัลดีไฮด์ (แองโกล-สลัก 5%) เดทมีล 4 % ชนิดเม็ดใช้หว่านอัตรา 0.5-1 กิโลกรัมต่อไร่ หรือ เดทมีล 80% ชนิดผง ใช้ละลายน้าฉีดพ่นอัตรา 100 กรัม/ไร่ คอปเปอร์ ซัลเฟต ใช้ในอัตรา 1 กิโลกรัมต่อไร่ และ ที่สำคัญห้ามใช้สารเอ็นโดซัลแฟน เพราะจะทำลายสภาพแวดล้อม ทั้งนี้ในการใช้สารเคมีป้ องกัน กำจัดศัตรูพืช เกษตรกรควรใช้ด้วยความระมัดระวังและคำนึงถึงความปลอดภัยต่อตัวผู้ใช้และ สภาพแวดล้อม

ช่วงนี้เป็นช่วงที่เสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของหอยเชอรี่ ศัตรูข้าวตัวฉกาจ จึงขอเตือนให้ เกษตรกรหมั่นสำรวจแปลงนา หากพบการระบาดให้รีบดำเนินการตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ หรือแจ้งหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องโดยด่วน เพื่อป้ องกันความสูญเสียที่อาจเกิดขึ้น


/////////////////////////////



กลุ่มประชาสัมพันธ์ ศูนย์สารสนเทศ



http://www.ricethailand.go.th/rice%20web/Letter%20rice/1_10Sep10.pdf









หอยเชอรี่ : สัตว์ศัตรูที่สำคัญของไทย

โดย พูลสุข หฤทัยธนาสันติ์


    
เกษตรไทยต้องเผชิญกับปัญหาศัตรูข้าวเพิ่มขึ้นอีกชนิดหนึ่งนอกเหนือจากศัตรูข้าว (สัตว์) ที่ทำลายข้าวอยู่เป็นประจำได้แก่ หนู นก ปูนา (ชมพูนุชและทักษิณ 2542) นั่นคือ หอยเชอรี่ ๆ จัดเป็นศัตรูข้าวชนิดใหม่และไม่ใช่เป็นหอยประจำถิ่นฐานของประเทศไทย แต่มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาและมีผู้นำเข้ามาจากประเทศญี่ปุ่นและฟิลิปปินส์ เพื่อเลี้ยงเป็นการค้าโดยเลี้ยงขายเป็นหอยสวยงามในตู้ปลา นอกจากนั้นยังมีการทำฟาร์มเลี้ยงเพื่อส่งออกเป็นอาหาร เมื่อหาตลาดไม่ได้ประกอบกับหอยเจริญเติบโตและสืบพันธุ์ได้รวดเร็วสามารถปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมได้ดีจึงแพร่กระจายไปทั่วประเทศ ทำความเสียหายแก่ต้นข้าวและพืชน้ำต่าง ๆ ในท้องที่เกือบ 60 จังหวัด มีการรายงานถึงการระบาดของหอยเชอรี่ได้เกิดขึ้นในประเทศญี่ปุ่นและ ฟิลิปปินส์ตั้งแต่ปี 2526 และ 2528 ตามลำดับ ซึ่งการระบาดได้ขยายพื้นที่เข้าไปยังประเทศแถบเอเซียเกือบทุกประเทศและขยายขอบเขตการระบาดถึงปาปัวนิวกินีและฮาวาย
     หอยเชอรี่เป็นหอยทากน้ำมีชื่อสามัญว่า golden apple snail บางครั้งเรียกว่า หอยโข่งอเมริกาใต้ หรือเป๋าฮื้อน้ำจืด คาดว่าหอยชนิดนี้ที่ระบาดในประเทศไทยมีอยู่ 3 ชนิด คือ Pomacea canaliculata Lamarck, P. insularus และ P. sp.


ลักษณะทั่วไป
      หอยเชอรี่ เป็นหอยฝาเดียว ตัวหอยสามารถหลบเข้าอยู่ในเปลือกแล้วปิดฝาเพื่อป้องกันอันตราย การเคลื่อนตัวของหอยใช้เท้าซึ่งมีลักษณะเป็นกล้ามเนื้อหนาอาจยืดยาวหรือกว้างแบนใช้คืบคลาน เท้ายังสามารถคลานไปตามพื้นดินใต้น้ำหรือปล่อยตัวลอยไปตามกระแสน้ำหรือขึ้นสู่ผิวน้ำได้ส่วนหัวมีลักษณะเป็นแผ่น ริมฝีปากยื่นออกทางด้านข้างปากทั้งสองข้าง ภายในปากมีกรามขนาดใหญ่หนึ่งคู่ใช้กัดกินอาหาร ถัดกรามเข้าไปภายในฟันจะมีฟันซี่เล็กทำหน้าที่บดอาหารภายในช่องท้องแบ่งออกเป็นสองส่วนด้านขวาเป็นช่องซึ่งดัดแปลงใช้ในการหายใจเมื่ออยู่ในน้ำด้านซ้ายมีอวัยวะคล้ายปอดทำหน้าที่ช่วยหายใจเมื่ออยู่บนบกได้บางเวลา นอกจากนี้ยังมีเนื้อเยื่อส่วนที่โค้งพับเป็นหลอดและยืดหดได้เป็นท่อหายใจยาว 6-7 ซม. ใช้หายใจในน้ำที่ไม่มีออกซิเจนละลายอยู่ การขยายพันธุ์ของหอยเชอรี่ ๆ มีเพศแยก เพศผู้และเพศเมีย เมื่อไข่ผสมกับน้ำเชื้อของเพศผู้แล้วจึงจะสร้างเปลือกและวางไข่ตามที่แห้งเหนือน้ำและฟักเป็นตัวใช้เวลา 7-12 วัน ถ้าอยู่ในเขตหนาวจะใช้เวลานานกว่า 1 เดือน การวางไข่ตัวเมียสามารถวางไข่ได้ตลอดทั้งปีและตลอดอายุขัย 2-3 ปี


การกินอาหาร
      หอยเชอรี่ กินพืชน้ำได้เกือบทุกชนิดที่มีลักษณะใบอ่อนนิ่ม เช่น แหน แหนแดง จอก ผักบุ้ง ผักกระเฉด สาหร่ายต่าง ๆ ต้นกล้าข้าว รวมถึงซากพืชและสัตว์ที่เน่าเปื่อยในน้ำที่อยู่ใกล้ตัวสามารถกินได้รวดเร็วเฉลี่ยวันละ 50% ของน้ำหนักตัวและกินได้ตลอด 24 ชั่วโมง (ชมพูนุช และทักษิณ, 2532)


ที่อยู่อาศัย

     หอยเชอรี่สามารถอยู่ได้ตามแหล่งน้ำทุกประเภท แม้กระทั่งน้ำตื้นเพียงไม่กี่นิ้วก็ตามสภาพน้ำไม่เป็นกรดจัดและอุณหภูมิประมาณ 30 OC เป็นสภาพที่เหมาะสมในการเจริญเติบโต ในสภาพที่ไม่เหมาะสมหอยเชอรี่สามารถจำศีลได้ในดินนานถึง 7 เดือน ชมพูนุชและทักษิณ (2534) รายงานว่าในห้องปฏิบัติการหอยเชอรี่มีชีวิตอยู่ได้นานถึง 11 เดือน ดังนั้น หอยเชอรี่จะจำศีลอยู่ในพื้นที่นาตลอดฤดูแล้งได้ถึงแม้จะทำนาน้ำฝนปีละเพียงครั้งเดียวก็ตาม
    
มีรายงานการแพร่กระจายของหอยเชอรี่ในประเทศต่าง ๆ ดังนี้ ไต้หวัน เมื่อ พ.ศ. 2522-2524 มีการลักลอบนำเข้ามาเพื่อเลี้ยงในฟาร์มและส่งขายเป็นอาหาร ปรากฏว่ารสชาติของเนื้อหอยไม่เป็นที่นิยมของตลาด จึงถูกปล่อยทิ้งลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติและแพร่กระจายไปยังนาข้าว ได้ทำความเสียหายกับต้นข้าวระยะข้าวกล้าทำให้ฝ่ายกักกันพืชได้ประกาศห้ามนำเข้า หลังจากนั้นได้มีรายงานการระบาดของหอยเชอรี่ในนาข้าวอย่างเป็นทางการในครั้งแรก พ.ศ. 2525 ต้องใช้เงินงบประมาณทางการในครั้งแรก พ.ศ. 2525 ต้องใช้เงินงบประมาณในโครงการรณรงค์เพื่อกำจัดและหยุดการแพร่กระจายตั้งแต่ปี 2525-2531 ถึงปีละ 1 ล้านดอลลาร์ ในพื้นที่ทั่วประเทศ 85,000-100,000 เฮกตาร์ ซึ่งเป็นพื้นที่นา 501,492 เฮกตาร์ ปัจจุบันยังดำเนินการรณรงค์อย่างต่อเนื่องแต่ยังประสบความสำเร็จน้อยมาก
    
ญี่ปุ่น ในปี 2523 ได้มีการเลี้ยงฟาร์มหอยเชอรี่ในทางตอนใต้ของญี่ปุ่นและได้ทำความเสียหายแก่พืชน้ำ เช่น บัว เผือก กก และต้นข้าว กระทรวงเกษตรของญี่ปุ่นจึงประกาศเป็นศัตรูพืชชนิดหนึ่งในปี 2526 และห้ามนำเข้าประเทศในปีต่อมายังพบการระบาดของหอยเชอรี่เพิ่มขึ้น 3-9 เท่าต่อปี จนถึงปี 2529 พบว่าหอยแพร่กระจายไปทั่วประเทศ แม้แต่ในเขตหนาวทางตอนเหนือของประเทศ 
    
ฟิลิปปินส์ ปี 2523-2526 มีการนำเข้าจากสหรัฐอเมริกาและไต้หวัน เพื่อมาเลี้ยงเป็นอาหารหอยเชอรี่ได้เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็วและแพร่กระจายตามแหล่งน้ำธรรมชาติและคลองชลประทานไปสู่ไร่นา ในปี 2528 ได้มีการรายงานการเข้าทำลายของหอยเชอรี่ครั้งแรกบริเวณตอนเหนือของเกาะลูซอน ในนาข้าวและแปลงแหนแดงซึ่งเป็นเนื้อที่ปลูกข้าว 80,420 เฮกตาร์ ปัจจุบันได้ขยายการระบาดทั่วไปทั้งพื้นที่ปลูกข้าวและพื้นที่ว่างเปล่า โดยทำให้ต้นข้าวเสียหายในบางพื้นที่สูงถึง 93 เปอร์เซ็นต์ 
    
ฮ่องกง มีการนำเข้าปี 2528 และแพร่กระจายไปทั่วแหล่งน้ำ บ่อน้ำ และนาข้าว โดยทำลายพืชน้ำนอกเหนือต้นกล้าข้าว ฝ่ายควบคุมพืชไม่สามารถควบคุมการระบาดของหอยเชอรี่ได้
    
เวียตนาม ได้นำเข้าประเทศ ปี 2531 ได้เริ่มระบาดทางภาคใต้ของเวียตนาม ในปี 2535 ทำลายข้าวและพืชน้ำ ปัจจุบันได้ระบาดเกือบทั่วประเทศ (93% ของพื้นที่ทั้งหมด) คิดเป็นพื้นที่นาข้าว 109,715 เฮกตาร์ ผักบุ้งซึ่งเป็นอาหารหลักสำคัญของเวียตนามมีพื้นที่ 3,479 เฮกตาร์


การแพร่กระจายและการระบาด
     หอยเชอรี่ในประเทศไทย จากการสำรวจโดยการสอบถามเกษตรกรพบว่าได้มีการนำหอยเข้ามาจากญี่ปุ่น ไต้หวัน และฟิลิปปินส์ ในปี 2525-2526 เพื่อนำมาเลี้ยงส่งขายประเทศญี่ปุ่น และขายเป็นหอยสวยงามตามร้านตู้ปลาในสวนจตุจักร เมื่อต้นปี 2530 มีการแพร่ระบาดของหอยที่แปลงทดลองของสถานีทดลองข้าวบางเขน กรมวิชาการเกษตร ซึ่งเกิดจากการที่นิสิตนำหอยเชอรี่ที่ได้ทดลองแล้วไปปล่อยลงคลองส่งน้ำของสถานีทดลอง ในปี 2531 ได้รับรายงานการระบาดครั้งแรกในนาข้าวเกษตรกรที่ อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ และ อ.กระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร ตามลำดับ ปัจจุบันได้พบว่าหอยเชอรี่ระบาดและทำลายนาข้าวไปเกือบทั่วประเทศทั้งนี้ เนื่องจากเกิดอุทกภัยเมื่อปี 2538 ทำให้หอยเชอรี่เริ่มแพร่กระจายโดยน้ำเป็นตัวพาไปตามแหล่งน้ำ ลำธาร คลอง และแม่น้ำต่าง ๆ อย่างรวดเร็ว เนื่องจากสภาพภูมิอากาศในประเทศไทยมีความเหมาะสมต่อการดำรงชีพของหอยเชอรี่ นอกจากนี้มนุษย์ยังเป็นต้นเหุตสำคัญที่ช่วยแพร่พันธุ์ของหอยเชอรี่โดยไม่ทราบถึงอันตรายของหอยเชอรี่ ขณะนี้ได้มีรายงานการเข้าทำลายพืชน้ำอื่น ๆ เช่นเดียวกับประเทศต่าง ๆ ในแถบเอเซีย

    
การป้องกันและกำจัดหอยเชอรี่
     กองกีฏและสัตววิทยาได้ให้คำแนะนำวิธีที่ได้ผลมีประสิทธิภาพและได้ให้คำแนะนำวิธีที่ได้ผลมีประสิทธิภาพและปลอดภัยต่อผู้ใช้และสิ่งแวดล้อมคือ การป้องกันและกำจัดแบบวิธีผสมผสาน หลักการก็คือให้ใช้วัสดุกั้นทางที่ให้น้ำเข้านา ทำลายไข่และตัวหอย และควบคุมระดับน้ำร่วมกับการใช้สารฆ่าหอย เพื่อทำลายหอยที่จำศีลอยู่ในนา ในฤดูที่ผ่านมา คำแนะนำของกีฏ และสัตววิทยาได้นำไปเผยแพร่ใช้ในช่วงการระบาดของหอยเชอรี่เมื่อปี พ.ศ. 2538 แต่ยังไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร ทั้งนี้มีสาเหตุหลายประการ สาเหตุหนึ่งที่สำคัญคือความสามารถในการแพร่พันธุ์ของหอยสูงมาก และความทนทานต่อสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมของหอยเชอรี่เองและการจำศีล จึงมีการศึกษาป้องกันและกำจัดอื่น ๆ นอกเหนือจากคำแนะนำของกองกีฏและสัตววิทยา เป็นต้นว่า การนำหอยมาใช้ประโยชน์ (สมศักดิ์, 2542 และศักดา, 2542) การจัดการทางสรีรวิทยาและชีววิธี (นิตยาและคณะ, 2542 ก) การใช้สารสกัดจากพืช (นิตยาและคณะ, 2542 และศักดา, 2542) การจัดการทาง สรีรวิทยาและชีววิธี (นิตยาและคณะ, 2542 ก) การใช้สารสกัดจากพืช (นิตยาและคณะ, 2542 ข) และการใช้ตัวห้ำ คือ มวนแมงดาสวน (สยาม, 2542) ขณะเดียวกันชาวนาพยายามคิดค้นวิธีกำจัดหอยด้วยตนเอง และได้เลือกใช้ endosulfan ซึ่งเป็นสารกำจัดแมลงในการฆ่าหอย และได้มีการบอกต่อ ๆ กัน จนมีการใช้อย่างแพร่หลาย จึงเป็นการใช้สารกำจัดแมลงผิดประเภทและไม่ใช้สารตามคำแนะนำของหน่วยงานราชการ โดยไม่คำนึงถึงอันตรายที่เกิดจากการใช้สารชนิดนี้ ที่มีพิษต่อสิ่งมีชีวิตที่อยู่ในน้ำเพราะมีความเป็นพิษต่อปลาสูงมาก (Hartley and Hamish, 1991) โดยมีค่าความเป็นพิษต่อปลา (LC50)2 ?g/L จากเอกสารเกี่ยวกับการประเมินด้านสิ่งแวดล้อม (environmental assessment) ได้รายงานการรับพิษจากสิ่งแวดล้อม (environmental exposure) ของสาร endosulfan (NRA, 1998) โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับสิ่งมีชีวิตในน้ำ ดังนี้ ANZECC (Australia and New Zealand Environment and Conservation Council) ได้กำหนดแนวทางการปนเปื้อนของ endosulfan ในสิ่งแวดล้อมเพื่อป้องกันชีวิตของสัตว์น้ำไว้ 0.01 ?g/L เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศแคนนาดายอมให้มี 0.02 ?g/L ขององค์กรพิทักษ์สิ่งแวดล้อมของสหรัฐอเมริกา (US EPA) ได้กำหนดการปนเปื้อนสำหรับสิ่งมีชีวิตในน้ำจืดในกรณีรับพิษเฉียบพลันไว้ 0.22 ?g/L และเมื่อรับพิษเรื้อรัง 0.056 ?g/L อย่างไรก็ตาม US National Academy of Science แนะนำค่อนข้างเข้มงวดมากขึ้นโดยมีข้อกำหนดยอมให้มีเพียง 0.003 ?g/L สำหรับการป้องกันสิ่งมีชีวิตในน้ำ ในประเทศไทย สาร endosulfan ได้ขึ้นทะเบียนเป็นสารกำจัดแมลงที่ใช้กับพืชไร่เท่านั้น
    
เนื่องจากมาตรฐานการควบคุมการใช้วัตถุมีพิษการเกษตรของเราไม่เข้มงวดทำให้เกษตรกรไม่สนใจที่จะใช้วัตถุมีพิษตามคำแนะนำประกอบกับสารชนิดนี้ราคาถูกกว่าสารที่ทางการแนะนำมาก ขณะเดียวกันมีผู้ค้าบางรายฉวยโอกาสเอารูปหอยเชอรี่ติดไว้ที่ข้างขวด บางบริษัทได้ละเมิดกฎหมายโดยออกรายการวิทยุ โฆษณา ผลิตภัณฑ์นี้สามารถใช้ฆ่าหอยเชอรี่ซึ่งเป็นเรื่องที่ทางราชการจะต้องเข้าไปดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย ด้วยเหตุนี้ทำให้มีการร้องเรียนเรื่องการใช้ endosulfan กำจัดหอยเชอรี่ในนาข้าวว่าทำให้เกิดผลกระทบทำให้ปลาและสัตว์น้ำอื่น ๆ ตาย และสารนี้ถูกห้ามใช้ในนาข้าวในหลายประเทศในทวีเอเซีย จึงมีข้อเสนอให้ ห้ามจำหน่ายสารนี้โดยเข้มงวดในนาข้าวหรือถ้าห้ามไม่ได้ก็ควรห้ามนำเข้า เนื่องจากยังขาดข้อมูลในเรื่องผลกระทบที่เกิดจากการใช้ endosulfan กำจัดหอยเชอรี่ในนาข้าว และได้มีการแถลงข่าวในความก้าวหน้าของโครงการฯ (เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2542 ที่โรงแรมหลุยเทเวน) ซึ่งตรงกับมติข้อหนึ่งของคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณาการขึ้นทะเบียนวัตถุอันตรายทางการเกษตร ได้ระบุว่า ในช่วงเวลารณรงค์ ให้เกษตรใช้ endosulfan ตามคำแนะนำในฉลากอย่างเข้มงวดในเวลาหนึ่งปีและให้ภาครัฐดำเนินการดังนี้
         
1. ศึกษาและรวบรวมผลกระทบของ endosulfan ต่อผู้ใช้ ปลา สัตว์น้ำ และสิ่งมีชีวิตอื่น รวมทั้งสิ่งแวดล้อมด้วย
          2. ศึกษาวงจรชีวิตของหอยเชอรี่ การระบาด และการป้องกันกำจัด
          3. จัดสัมมนาเพื่อระดมความคิดเห็นในการป้องกันกำจัดหอยเชอรี่ ทั้งในระยะสั้นและระยะยาวหลังจากนั้นให้นำผลจาก
    
การศึกษาผลกระทบมาแถลงให้สาธารณชนทราบการระบาดของหอยเชอรี่ในนาข้าว มีความเสียหายใกล้เคียงกับการระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล โดยทำความเสียหายได้รวดเร็วและแพร่กระจายไปทั่วประเทศ จนต้องมีโครงการพิเศษของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ให้ศึกษาเรื่องการป้องกัน กำจัดและควบคุมเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในนาข้าว ปี 2535-2539 จนสามารถควบคุมสถานการณ์ระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และมีการรณรงค์อย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน (กรมวิชาการเกษตร, 2538)
    
ในกรณีของหอยเชอรี่วิกฤติการระบาดในอนาคตคาดว่าน่าจะควบคุมสถานการณ์ได้เช่นเดียวกันกับการระบาดของเพลี้ยกระโดยสีน้ำตาล โดยมีเงื่อนไขหรือมาตรการที่เข้มงวดและปฏิบัติกันอย่างต่อเนื่องรวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องร่วมมือกันอย่างจริงจัง จัดทำโครงการวิจัยการป้องกันกำจัดหอยเชอรี่ เสนอในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะแก้ปัญหาการระบาดทั้งในระยะสั้นและระยะยาว มีการวิจัยและพัฒนาการป้องกันในรูปแบบต่าง ๆ และถ่ายทอดความรู้ที่ได้จากการวิจัยและพัฒนาสู่บุคคลเป้าหมายทุกรูปแบบ รวมทั้งปรับปรุงกฎหมายการนำเข้าและการใช้วัตถุมีพิษโดยกำจัดทั้งชนิดและปริมาณ เพื่อสามารถควบคุมการใช้วัตถุมีพิษการเกษตรของเกษตรกรได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้กรมวิชาการเกษตรได้กำหนดนโยบายการอารักขาพืชรวมทั้งมาตรการ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ นักวิชาการ และนักวิจัย สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางการปฏิบัติงานและคู่มือในการวิจัย นโยบายอารักขาพืชมี 4 ข้อ
          1. เน้นป้องกันศัตรูพืชตั้งแต่ก่อนปลูกแทนการกำจัดศัตรูพืชหลังการระบาด
          2. เน้นวิธีการป้องกันกำจัดศัตรูพืชที่ไม่ใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืชที่มีอันตรายสูง เพื่อเป็นทางเลือกให้เกษตรกร
          3. ใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชอย่างถูกต้องและปลอดภัย
          4. เน้นการปลูกจิตสำนึกและการมีส่วนร่วมให้กับบุคคล องค์กรที่เกี่ยวข้องและประชาชนทั่วไป ตลอดจนเสริมสร้างจริยธรรม และจรรยาบรรณแก่เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องและผู้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับอารักขาพืชส่วนมาตรการที่ใช้กับนโยบายอารักขาพืชประกอบด้วย มาตรการทางกฎหมาย มาตรการส่งเสริมเพื่อพัฒนาเจ้าหน้าที่ และเทคโนโลยีให้เหมาะสม มาตรการจูงใจให้เกษตรกรมีการอารักขาที่ถูกต้อง และมาตรการสุดท้ายเป็นการติดตามประเมินผลเพื่อปรับนโยบายและวิธีการตามสถานการณ์เป็นระยะ ๆ จะทำให้นโยบายเกิดประสิทธิภาพและมีผลในทางปฏิบัติจริง (กรมวิชาการเกษตร, 2542)






เอกสารอ้างอิง
-  กรมวิชาการเกษตร. 2538. โครงการวิจัยป้องกันกำจัดเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลและโรคใบหงิก.
เอกสารประกอบการสัมมนา "เทคนิคการติดตามผลงานวิจัยและพัฒนากรมวิชาการเกษตร" ครึ่งปีงบประมาณ 17-19 กรกฎาคม 2538 กรมวิชาการเกษตร, กรุงเทพฯ. 30 หน้า
-  กรมวิชาการเกษตร. 2542. นโยบายการอารักขาพืชของกรมวิชาการเกษตร. กระทรวงเกษตรและ สหกรณ์, กรกฎาคม 2542. 20 หน้า
-  ชมพูนุท จรรยาเพศ และทักษิณ อาชวาคม. 2532. ทดสอบอัตราการกินต้นข้าวของหอยเชอรี่.
รายงานผลงานการค้นคว้าวิจัยประจำปี 2532. กองกีฎและสัตววิทยา กรมวิชาการเกษตร.
-  ชมพูนุท จรรยาเพศ และทักษิณ อาชวาคม. 2534. ชีววิทยาของหอยเชอรี่.
รายงานผลงานการค้นคว้าวิจัยประจำปี 2534. กองกีฎและสัตววิทยา กรมวิชาการเกษตร.
-  ชมพูนุท จรรยาเพศ และทักษิณ อาชวาคม. 2542. หอยเชอรี่. เอกสารประกอบการประชุมสัมมนา
เรื่องหอยเชอรี่ 24 กันยายน 2542 โรงแรมโซฟิเทล ราชา ออคิด, ขอนแก่น. หน้า (1-1)-(1-15)
-  นิตยา เลาหะจินดา โชคชัย เสนะวงค์ ธนินทร์ พงศ์มาศ วีระศักดิ์ อุดมโชค อรรณพ หอมจันทร์
และนิพนธ์ มาฆกาน. 2542(ก). การป้องกันและควบคุมหอยเชอรี่โดยการจัดการทางสรีรวิทยาและชีววิธี. เอกสารประกอบการประชุมสัมมนา เรื่อง หอยเชอรี่ 24 กันยายน 2542 โรงแรม โซฟิเทล ราชา ออคิด, ขอนแก่น. หน้า (2-1)-(2-3)
-  นิตยา เลาหะจินดา จารุวรรณ สมศิริและนิพนธ์ มาฆกาน 2542(ข). แนวทางการควบคุมและกำจัด
หอยเชอรี่เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดีกว่า. เอกสารประกอบการประชุมสัมมนาเรื่องหอยเชอรี่ 24 กันยายน 2542 โรงแรง โซฟิเทลราชา ออคิด, ขอนแก่น. หน้า (3-1)-(3-13)
-  ศักดา ศรีนิเวศน์. 2542. หอยเชอรี่อาหารโปรตีนยามยาก. เอกสารประกอบการประชุมสัมมนาหอย
เชอรี่ 24 กันยายน 2542 โรงแรม โซพิเทล ราชา ออคิด, ขอนแก่น. หน้า (8-1)-(8-3)
-  สมศักดิ์ เพ็ชรปานกัน. 2542. การใช้หอยเชอรี่บดตากแห้งทดแทนปลาป่นในสูตรอาหารไก่ไข่.
เอกสารประชุมสัมมนาเรื่องหอยเชอรี่ 24 กันยายน 2542 โรงแรง โซฟิเทลราชา ออคิด, ขอนแก่น. หน้า (9-1)-(9-17)
-  สยาม อรุณศรีมรกต. 2542. ชีววิทยาและประสิทธิภาพของมวนแมงดาสวนในการกำจัดหอยโข่ง
อเมริกาใต้. เอกสารประกอบการประชุมสัมมนา เรื่อง หอยเชอรี่ 24 กันยายน 2542 โรงแรม โซพิเทล ราชา ออคิด, ขอนแก่น. หน้า (10-1)-(10-10)
-  Hartley, D. and K. Hamish, 1991. Endosulfan. The Agrochemicals Handbook. Third Edition AO
175/Aug 91. National Registration Authority (NRA) for Agricultural and Veterinary
Chemicals Australia. 1998. Section 1 : Summary of Assessment and Review Outcomes. The
NRA review of Endosulfan, August 1998, Volume I : 62 pp.


http://www.nicaonline.com/articles9/site/view_article.asp?idarticle=138









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-05-10 (4222 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©