-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 295 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

นาข้าว




หน้า: 1/2


นาข้าวล้มตอซัง                        


         
หลักการและเหตุผล                 
ข้าว คือ พืชตระกูลหญ้า  ลักษณะการขยายพันธุ์อย่างหนึ่งระหว่างต้นข้าวกับต้นต้นหญ้าที่เหมือนกัน
คือ  หลังจากลำต้นถูกตัดไปจนเหลือแต่ตอแล้ว  ยังสามารถแตกหน่อใหม่จากข้อที่ตอแล้วเจริญเติบ
โตจนออกดอกติดผลได้  โดยผลผลิตที่ได้ยังมีคุณภาพและปริมาณไม่ต่างจากต้นข้าวหรือต้นหญ้าปลูก
ใหม่แต่อย่างใด                
         
ประโยชน์ที่ได้รับจากการทำนาข้าวแบบล้มตอซังที่เห็นได้ชัด คือ  ลดต้นทุนค่าไถ  ทำเทือก 
หมักฟาง  หว่าน/ดำ   เมล็ดพันธุ์  และอื่นๆ  ที่ต้องเตรียมการก่อนลงมือหว่านดำ
                
         
แนวทางปฏิบัติ                
1.หลังจากเกี่ยวข้าวด้วยมือหรือรถเกี่ยวเสร็จ ให้สำรวจหน้าดินว่ายังมีความชื้นเพียงพอต่อการที่จะทำ
นาแบบล้มตอซังต่อไปหรือไม่ กล่าวคือ ดินต้องมีความชื้นระดับนำขึ้นมาปั้นเป็นลูกยางหนังสติ๊กได้พอ
ดีๆ ไม่อ่อนเละหรือแข็งเกินไปจนปั้นเป็นลูกกลมๆไม่ได้      

วัตถุประสงค์ของการสำรวจความชื้นหน้าดิน ก็เพื่อจะได้อาศัยความชื้นนี้ส่งเสริมให้เกิดการแตกยอด
ใหม่จากตอซังนั่นเอง                
 
2.ผลสำรวจความชื้นน้าดิน  ถ้ายังมีระดับความชื้นตามต้องการแล้ว ให้ลงมือเกลี่ยเศษฟางที่รถเกี่ยว
พ่นออกมา ทั้งส่วนที่กองทับอยู่บนตอซังและบริเวณอื่นๆ  หรือกรณีเกี่ยวด้วยมือก็ให้เกลี่ยตอซังที่ล้ม
ทับกันให้แผ่กระจายออกเสมอกันทั่วทั้งแปลง                     
        
วัตถุประสงค์ของการเกลี่ยฟาง ก็เพื่อให้มีฟางปกคลุมหน้าดินหนาเสมอกันเท่ากันทั้งแปลงนั่นเอง
                
3.ดัดแปลงยางนอกรถบรรทุก 10 ล้อ จำนวน 6-8 วง นำมาต่อกันทางข้างเกิดเป็นหน้ากว้าง 
แล้วเชื่อมต่อเข้าด้วยกันโดยมีเพลาเป็นแกนกลาง เรียกว่า ล้อย่ำตอซัง เมื่อจะใช้งานก็ให้ใช้รถไถเดิน
ตามลากล้อย่ำตอซังนี้วิ่งทับไปบนฟาง วิ่งทับทั้งส่วนที่ยังเป็นตอซังตั้งอยู่ และเศษฟางที่เกลี่ยแผ่
กระจายออกไป...กรณีรถที่ลากล้อย่ำตอซังควรเป็นรถไถเดินตามหรือรถไถนั่งขับขนาดเล็กเท่านั้น
เพราะจะได้น้ำหนักที่พอดีต่อการย่ำตอ ไม่ควรใช้รถไถใหญ่เพราะจะทำให้ตอซังช้ำเสียหายมากเกินไป
                
        
วัตถุประสงค์ของการใช้รถย่ำน้ำหนักเบา ก็เพื่อรักษาข้อของลำต้นส่วนที่เป็นตอที่อยู่ต่ำกว่าระดับผิวดิน
ไม่ให้แตกช้ำมาก เพราะต้องการให้เกิดการแตกยอดใหม่ออกมาจากข้อใต้ผิวดินมากกว่า แต่ส่วนของ
ลำต้นที่อยู่เหนือผิวดินต้องให้แตกช้ำจนไม่สามารถแตกยอดใหม่ได้
         
ยอดที่แตกออกมาจากข้อของลำต้นส่วนที่อยู่เหนือผิวดิน จะเป็นยอดที่ไม่มีคุณภาพ แต่ยอดที่แตก
ออกมาจากข้อของลำต้นส่วนที่อยู่ใต้ผิวดินจะเป็นยอดที่มีคุณภาพดี จำนวนรอบในการย่ำกำหนดตายตัว
ไม่ได้ ทั้งนี้ให้สังเกตลักษณะตอหลังจากย่ำไปแล้วว่าแตกช้ำเฉพาะส่วนที่อยู่เหนือผิวดินแต่ส่วนที่อยู่
ใต้ผิวดินยังดีอยู่ นอกจากนี้ระดับความชื้นหน้าดิน (อ่อน/แข็ง) กับน้ำหนักของล้อย่ำตอซังและ
น้ำหนักรถลากก็มีส่วนทำให้ตอเหนือผิวดินกับตอใต้ผิวดินแตกช้ำมากหรือน้อยอีกด้วย
                
4.หลังจากย่ำฟางและตอซังแล้ว ถ้าหน้าดินมีความชื้นพอดีก็ให้ปล่อยทิ้งไว้อย่างนั้นแต่ถ้าหน้าดินมี
ความชื้นน้อยถึงน้อยมากจำเป็นต้องฉีดพ่นน้ำเปล่าบ้างเพื่อเพิ่มความชื้น ซึ่งขั้นตอนฉีดพ่นน้ำนี้ จะต้อง
พิจารณาความเหมาะสมว่าคุ้มค่าต้นทุนหรือทำได้หรือไม่และเพียงใด
                                  
          
หมายเหตุ :                                
- แปลงนาที่เนื้อดินมีอินทรีย์วัตถุและสารปรับปรุงบำรุงดินสะสมมานาน แม้หน้าดินจะแห้งถึงระดับรถ
เกี่ยวเข้าทำงานได้สะดวกดีนั้น เนื้อดินด้านล่างลึกจะยังคงมีความชุ่มชื้นอยู่ถึงระดับช่วยให้ตอซังแตก
ยอดใหม่ได้                

- ฟางที่เกลี่ยดี นอกจากจะช่วยป้องกันแสงแดดจัดเผาหน้าดินจนแห้งแล้ว ยังช่วยรักษาความชื้นให้
แก่หน้าดินและจุลินทรีย์อีกด้วย                
     

5.หลังจาก ย่ำตอ-ปล่อยทิ้งไว้ หรือ ย่ำตอ-ฉีดพ่นน้ำเพิ่มความชื้น แล้ว จะมียอดใหม่แตกออกมา
จากข้อของตอใต้ผิวดินแล้วแทงทะลุเศษฟางขึ้นมาให้เห็น ให้รอจนระทั่งยอดแตกใหม่เจริญเติบโตเป็น
ต้นกล้าข้าวได้ใบใหม่ 2-3 ใบ ก็ให้ปล่อยน้ำเข้า พร้อมกับควบคุมระดับน้ำให้พอเปียกหน้าดินหรือท่วม
คอต้นกล้าใหม่                

          
หมายเหตุ :                
- แปลงนาที่ผ่านการ “เตรียมแปลง” โดยปรับหน้าดินราบเสมอกันดี น้ำที่ปล่อยเข้าไปจะเสมอกันทั้ง
แปลง ส่งผลให้ต้นข้าวทั้งที่แตกใหม่และเป็นต้นโตแล้วได้รับน้ำเท่ากันทั่วทั้งแปลง ซึ่งต่างจากแปลงที่
บางส่วนดอน (สูง)บางส่วนลุ่ม (ต่ำ)จึงทำให้ระดับน้ำลึกไม่เท่ากัน สุดท้ายก็ส่งผลให้ต้นข้าวเจริญ
เติบโตไม่เท่ากันอีกด้วย                

- ต้นข้าวที่งอกขึ้นมาใหม่จะมีทั้งต้นที่งอกขึ้นมาจากข้อของตอ ต้นที่งอกขึ้นมาจากเมล็ดข้าวร่วง 
และเมล็ดที่หลุดออกมาจากรถเกี่ยว ซึ่งแหล่งกำเนิดของต้นข้าวเหล่านี้ไม่มีผลต่อคุณภาพและปริมาณ
ในอนาคตแต่อย่างใด                   
          
บางบริเวณอาจจะไม่มีหน่อหรือยอดต้นข้าวแตกใหม่จากข้อของตอใต้ดิน เนื่องจากส่วนตอใต้ผิวดิน
บริเวณนั้น ถูกย่ำทำลายโดยล้อสายพานรถเกี่ยวช้ำเสียหายจนไม่อาจงอกใหม่ได้นั่นเอง วิธีแก้ไข
คือ ให้ขุดแซะต้นกล้าที่งอกจากตอบริเวณที่หนาแน่นกว่าบริเวณอื่น ขุดแซะพอให้มีดินหุ้มรากติดมา
บ้างเล็กน้อยแล้วนำมาปลูกซ่อมลงในบริเวณที่ตอถูกทำลายจนไม่มีหน่อหรือยอดใหม่
               
- ต้นข้าวที่เกิดจากเมล็ดโดยการหว่านหรือดำ อัตราการแตกกอจะต่างกัน เช่น ข้าวพันธุ์สุพรรณ-1
มีอัตราการแตกหน่อดีมาก ส่วนข้าวพันธุ์ชัยนาท-1 และปทุมธานี-1 มีอัตราการแตกหน่อพอใช้ได้
หรือดีน้อยกว่าสุพรรณ-1 ในขณะที่การทำนาข้าวแบบล้มตอซังซึ่งจะมีต้นใหม่งอกออกมาจากข้อของ
ตอซังนั้นการแตกกอก็ต่างกันอีก  กล่าวคือ  ข้าวพันธุ์สุพรรณ-1 อัตราการแตกกอไม่ค่อยดี  ข้าว
พันธุ์ชัยนาท-1 แตกกอดีพอประมาณ และข้าวพันธุ์ปทุมธานี-1 อัตราการแตกกอไม่ดี

- ขั้นตอนปล่อยน้ำเข้าแปลงเพื่อหล่อเลี้ยงต้นข้าวเกิดใหม่  หลังจากปล่อยน้ำเข้าจนได้ระดับที่เหมาะ
สมแล้วใส่  "ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง 5 ล.+ 16-8-8(5 กก.)/1 ไร่ โดยการฉีดพ่นให้
ทั่วแปลง               
     

6.หลังจากต้นกล้าที่แตกออกมาจากข้อของตอใต้ผิวดิน ต้นกล้าปลูกซ่อม และต้นกล้าจากเมล็ดข้าว
ร่วง เจริญเติบโตขึ้นมาได้แล้วก็ให้เข้าสู่ขั้นตอนการปฏิบัติบำรุงต่อต้นข้าวด้วยวิธี ทำนาข้าวแบบประณีต
ต่อไปจนกระทั่งถึงเก็บเกี่ยว    





การศึกษา “ผลตอบแทนการผลิตข้าวแบบล้มตอซังของเกษตรกร
ในพื้นที่ อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี”


ผู้วิจัย       นางหัทยา  ทับสวัสดิ์ 
สังกัด  กลุ่มจัดการฟาร์ม ส่วนวิจัยครัวเรือนเกษตรการจัดการฟาร์มและปัจจัยการผลิตสำนักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร 
โทร  02-5792982  
โทรสาร 02-5797564 
E-mail 
hataya@oae.go.th

 
ประวัติและผลงาน
การทำการเกษตรในปัจจุบันมักประสบกับปัญหาการมีทรัพยากรจำกัด รวมทั้งการขาดเทคโนโลยีการ
ผลิตที่เหมาะสม สำหรับการผลิตข้าวในเขตพื้นที่ชลประทานซึ่งสามารถปลูกข้าวได้ปีละหลายครั้ง ต้อง
ประสบปัญหาปริมาณน้ำในการทำนาปรังไม่เพียงพอ ประกอบกับต้นทุนการผลิตมีแนวโน้มสูงขึ้นทุกปี
การศึกษา “ผลตอบแทนการผลิตข้าวแบบล้มตอซังของเกษตรกรในพื้นที่ อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัด
ปทุมธานี” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาที่มาและขั้นตอนการผลิต และข้อจำกัดของการผลิตข้าวแบบล้มตอ
ซัง รวมทั้ง การศึกษาเปรียบเทียบผลตอบแทนเชิงเศรษฐกิจการผลิตข้าวแบบล้มตอซังกับการผลิต
ข้าวนาหว่านน้ำตม โดยการวิเคราะห์เชิงพรรณนาบรรยายผลที่ได้จากข้อมูลการสัมภาษณ์เกษตรกร เพื่อ
ให้ทราบถึงวิธีการผลิตข้าว ต้นทุนและผลตอบแทนจากการผลิตข้าวทั้ง 2 วิธี
 
ผลการศึกษาสรุปได้ว่า การปลูกข้าวแบบล้มตอซังเกิดจากภูมิปัญญาชาวบ้านซึ่งถูกค้นพบโดยเกษตรกร
ชื่อ นายละเมียด ครุฑเงิน จากการสังเกตและประสบการณ์การทำนา เป็นการปลูกข้าวที่ปล่อยให้มีการ
แตกหน่อจากตอซังข้าวที่มีข้าวต้นแม่พันธุ์รุ่นแรกมีอายุเก็บเกี่ยวประมาณ 120 วัน การปลูกข้าวด้วยวิธี
การนี้สามารถลดต้นทุนการผลิตลงได้ ทั้งยังมีระยะการเก็บเกี่ยวที่สั้น แต่การผลิตข้าวโดยวิธีนี้ต้องอาศัย
ความประณีตในขั้นตอนการปฏิบัติ สำหรับการศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนการผลิตข้าวทั้ง 2 วิธี

ปรากฏว่า ข้าวล้มตอซังซึ่งมีต้นทุนรวมเฉลี่ย 1,310 บาทต่อไร่ ผลผลิตเฉลี่ย 86.55 ถัง/ไร่ และ
ผลตอบแทนสุทธิเฉลี่ย 2,152 บาทต่อไร่ ส่วนข้าวนาหว่านน้ำตมมีต้นทุนรวมเฉลี่ย 1,856 บาท
ผลผลิตเฉลี่ย 100 ถังต่อไร่ ผลตอบแทนสุทธิเฉลี่ย 2,144 บาทต่อไร่ เมื่อพิจารณาค่าใช้จ่ายและ
ผลตอบแทนจากการผลิตข้าวตลอดปี ปรากฏว่า เกษตรกรที่ผลิตข้าวนาหว่านน้ำตมตามด้วยข้าวแบบล้ม
ตอซัง 2 รุ่น จะมีค่าใช้จ่ายในการผลิตต่ำกว่าการปลูกข้าวนาหว่านน้ำตม 3 รุ่นตลอดปี แต่มีผลตอบ
แทนที่ได้รับสูงกว่าเช่นกัน ดังนั้น การผลิตข้าวแบบล้มตอซังจึงควรที่จะได้รับการสนับสนุนให้มีการเผย
แพร่ขยายผลอย่างกว้างขวาง ขณะเดียวกันต้องทำการศึกษาวิจัยเพิ่มเติมว่าตอซังที่เหลือในนาควรมี
ความยาวประมาณเท่าใดจึงเหมาะสมต่อการให้ผลผลิตสูง และเปรียบเทียบหาพันธุ์ที่เหมาะสม ตลอด
จนศึกษาถึงพื้นที่ที่เหมาะสมเพื่อเป็นการสร้างความมั่นใจให้แก่เกษตรกรที่จะยอมรับเทคโนโลยีนี้ต่อไป




การปลูกข้าวแบบล้มตอซัง


ที่มาของการปลูกข้าวแบบล้มตอซัง

           ปี 2539 เกษตรกรประเภท "หัวไวใจสู้" ชื่อ นายละเมียด ครุฑเงิน อายุ 43 ปี อยู่บ้านเลขที่ 46 หมู่ 9 ตำบลระแหง อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี เป็นคนช่างสังเกต และสะสมประสบการณ์ในการทำนามานาน ได้สังเกตเห็นว่าตอซังข้าวที่ถูกล้อรถเก็บเกี่ยว (combine) เหยียบย่ำล้มลงราบกับพื้นนาในขณะที่ดินมีความชื้นหมาด ๆ คือ ไม่แห้งและเปียกเกินไป หลังจากเก็บเกี่ยวเสร็จแล้ว 7-10 วันนั้น จะมีหน่อข้าวแทงขึ้นมาจากโคนตอซังส่วนที่ติดอยู่กับดิน เจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว และต่อเนื่องเท่าที่ดินยังมีความชื้นเพียงพอ แต่ตอซังข้าวที่ไม่ถูกล้อรถเก็บเกี่ยวทับ จะมีหน่อแตกงอกออกจากข้อของต้นตอซังข้าว สังเกตเห็นว่าหน่อจะงอกช้ากว่า และขนาดเล็กกว่าหน่อที่งอก ออกจากตอซังที่ล้มลงด้วยล้อรถเก็บเกี่ยวทับ จากการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อตอบสนองความอยากรู้ของเกษตรกรเอง และคิดว่าสามารถลดต้นทุนลงหลายอย่าง เช่น ค่าเมล็ดพันธุ์ ค่าเตรียมดิน นายละเมียด ครุฑเงิน ได้ทำการทดสอบ 4 ฤดู โดยปลูกข้าวพันธุ์สุพรรณบุรี 1 พบว่า ได้ผลผลิตสูงไม่แตกต่างจากการใช้เมล็ดหว่าน อีกทั้งยังประหยัดเรื่องของเมล็ดพันธุ์ การเตรียมดิน และอายุสั้นเพียง 90 วันเท่านั้น ซึ่งวิธีการปลูกข้าวเช่นนี้เกษตรกรเรียกว่า "การปลูกข้าวด้วยตอซัง" ปี 2543 มีเกษตรกรอำเภอลาดหลุมแก้วทำตามกรรมวิธีของนายละเมียด ครุฑเงิน รวมพื้นที่ 45,000 ไร่/ฤดู และยังได้ขยายผลไปสู่เกษตรกรจังหวัดใกล้เคียง เช่น สิงห์บุรี

การปลูกข้าวแบบล้มตอซัง

            "การปลูกข้าวแบบล้มตอซัง" เป็น เทคโนโลยีชาวบ้านซึ่งเกิดจาก “ภูมิปัญญาท้องถิ่น” (local wisdom หรือ indigenous knowledge) เกษตรกรเป็นผู้ค้นพบโดยบังเอิญ มีเทคนิคและวิธีการปฏิบัติ โดยไม่ต้องเตรียมดิน และไม่ใช้เมล็ดพันธุ์ปลูก ซึ่งมีเทคนิคในการปฏิบัติ โดยเกลี่ยฟางข้าวให้กระจายทั่วแปลงและย่ำตอซังให้ราบติดพื้นนา ในขณะที่ดินต้องมีความชื้นหมาด ๆ การปลูกข้าวด้วยวิธีนี้เกษตรกรบางพื้นที่เรียกว่า “การปลูกข้าวด้วยตอซัง” และนักวิชากาด้านรข้าว เรียกว่า “การปลูกข้าวข่มตอ” (lodge ratoon rice)

เทคนิคการปลูกข้าวแบบล้มตอซัง

            1. แปลงที่ปลูกข้าวรุ่นแรก ต้องมีการเตรียมดินและทำเทือก ให้ได้ระดับสม่ำเสมอ และปลูกข้าวโดยวิธีหว่านน้ำตม ใช้พันธุ์ข้าวไม่ไวต่อช่วงแสง อัตราเมล็ดพันธุ์ 15-20 กก./ไร่ อายุเก็บเกี่ยวประมาณ 120 วัน
            2. ก่อนเก็บเกี่ยวข้าวรุ่นแรกประมาณ 10 วัน ถ้ามีน้ำขังให้ระบายออกจากแปลง ถ้าไม่มีน้ำขังให้ระบายน้ำเข้าแปลง เมื่อดินในแปลงเปียกทั่วกันแล้วให้ระบายน้ำออก เพื่อให้ดินมีความชื้นหมาด ๆ คือ ไม่แห้งหรือเปียกเกินไปหลังเก็บเกี่ยวข้าว
            3. เก็บเกี่ยวข้าวในระยะ “พลับพลึง” ห้ามเผาฟางเด็ดขาด และเกษตรกรจะต้องเกลี่ยฟางข้าวให้ทั่วทั้งแปลง อย่างสม่ำเสมอภายใน 1–3 วัน ด้วยอุปกรณ์ติดท้ายแทรกเตอร์ขนาดเล็ก หรือใช้แรงงานคน เพื่อรักษาความชื้น คลุมวัชพืช และเป็นปุ๋ยหมักให้แก่ต้นข้าว
            4. ย่ำตอซังให้ล้มนอนราบกับดินที่มีความชื้นหมาด ๆ โดยใช้รถแทรกเตอร์หรือล้อยางย่ำไปในทิศทางเดียวกัน 2–3 เที่ยว เกษตรกรนิยมย่ำตอนเช้ามืด เนื่องจากมีน้ำค้างช่วยให้ฟางข้าวนุ่มและตอซังล้มง่าย
            5. หลังจากย่ำตอซังแล้ว ต้องคอยดูแลไม่ให้น้ำเข้าแปลง โดยทำร่องระบายน้ำเมื่อมีฝนตกลงมาต้องรีบระบายออกให้ทัน ถ้าปล่อยไว้หน่อข้าวจะเสียหาย
            6. เมื่อหน่อข้าวมีใบ 3–4 ใบ หรือ 10–15 วัน หลังล้มตอซัง ให้ระบายน้ำเข้าแปลงให้ดินแฉะแต่ไม่ท่วมขัง ใส่ปุ๋ยครั้งแรก สูตร 46-0-0 อัตรา 15–20 กก./ไร่ เพื่อเป็นปุ๋ยแก่ต้นข้าว และช่วยการย่อยสลายฟางได้ดีขึ้น
            7. หลังจากใส่ปุ๋ยครั้งแรก 5–7 วัน ระบายน้ำเข้าท่วมขังในแปลงระดับสูง 5 ซม.
            8. เมื่อข้าวอายุได้ 35–40 วัน หลังล้มตอซัง ใส่ปุ๋ยครั้งที่สอง สูตร 16-20-0 อัตรา 20 – 25กก./ไร่
            9. เมื่อข้าวอายุได้ 50-55 วัน หลังล้มตอซัง ถ้าข้าวเจริญเติบโตไม่ดีให้ ใส่ปุ๋ยครั้งที่สาม สูตร 46-0-0 อัตรา
15–20 กก./ไร่
          10. เมื่อข้าวอายุใกล้เก็บเกี่ยว (ประมาณ 80 วันหลังล้มตอซัง) ให้ปฏิบัติเช่นเดียวกับข้อ 2 เพื่อให้ดินมีความชื้น พอเหมาะแก่การงอกของตาข้าว ซึ่งเรียกว่า  “ข้าวตอที่ 2” ต่อไป

เงื่อนไขและข้อจำกัด การปลูกข้าวแบบล้มตอซัง

            1. อยู่ในเขตที่มีน้ำชลประทานสมบูรณ์
            2. เก็บเกี่ยวข้าวในระยะ “พลับพลึง” ซึ่งต้นข้าวจะยังสดไม่แห้งเกินไปเวลาใช้ทำเป็น “ต้นพันธุ์ (clone)” หน่อข้าวจะแตกเป็นต้นข้าวใหม่ที่แข็งแรงและเจริญเติบโตดี
            3. เกลี่ยฟางข้าวคลุมตอซังให้สม่ำเสมอทั่วทั้งแปลง
            4. ตอซังที่ใช้ปลูกข้าวแบบล้มตอซังต้องไม่มีโรคและแมลงรบกวน ถ้ามีโรคและแมลงรบกวนต้องไถทิ้ง เตรียมดินและปลูกแบบหว่านน้ำตมใหม่
            5. การปลูกข้าวแบบล้มตอซังไม่ต้องหว่านเมล็ดพันธุ์ข้าวเสริม

ข้อดีของการปลูกข้าวแบบล้มตอซัง

           1. ผลผลิต 800–900 กก./ไร่ ขณะที่อายุเก็บเกี่ยวประมาณ 90 วัน
           2. ลดค่าเตรียมดินประมาณ 150 บาท/ไร่
           3. ลดค่าเมล็ดพันธุ์ 300–400 บาท/ไร่
           4. ลดค่าสารเคมีควบคุมและกำจัดวัชพืช 100–200 บาท/ไร่
           5. ลดค่าสารเคมีกำจัดหอยเชอรี่ 60–80 บาท/ไร่
           6. ลดต้นทุนรวมทั้งสิ้น 500-700 บาท/ไร่ หรือ 30–40 % ของต้นทุนทั้งหมด

แหล่งขยายผลและพัฒนาการปลูกข้าวแบบล้มตอซัง

           ปี 2542 เกษตรกรบ้านจ่า ตำบลเชิงกลัด อำเภอบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี นำวิธีการปลูกข้าวด้วยตอซังมาปฏิบัติ และพัฒนาเทคนิคบางอย่าง เช่น ใช้ปุ๋ยเคมีสูตร16-20-0 แทนสูตร 46-0-0 (ปุ๋ยยูเรีย) คิดค้นเครื่องเกลี่ยฟางข้าวติดท้าย รถแทรกเตอร์เพื่อเกลี่ยฟางข้าวให้กระจายคลุมตอซังทั่วทั้งแปลง และประดิษฐ์เครื่องมือย่ำล้มตอซังขึ้นมาใช้ โดยนำล้อยางรถยนต์ที่เสื่อมสภาพมาประดิษฐ์เป็นชุดพวงล้อยาง จำนวน8 - 10 เส้น ลากทับตอซังโดยติดท้ายรถแทรกเตอร์ เพื่อย่ำล้มตอซังให้ติดแนบกับพื้นนา และรับจ้างเกษตรกรรายอื่น ได้ค่าจ้างไร่ละ 100 บาท ค่าเกลี่ยฟางข้าวไร่ละ 50 บาท โดยเรียกวิธีการนี้ว่า "การปลูกข้าวแบบล้มตอซัง"

           ปี 2543 พื้นที่อำเภอบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี มีเกษตรกรปลูกข้าวแบบล้มตอซัง มีพื้นที่ปลูกมากกว่า 10,000 ไร่ และขยายผลไปยังพื้นที่ใกล้เคียง เช่น จังหวัดชัยนาท และสุพรรณบุรี

      ที่มา : เอกสารคำแนะนำสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 5 การปลูกข้าวแบบล้มตอซัง : ภูมิปัญญาท้องถิ่น

อัครินทร์ ท้วมขำ
สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 5
กรมวิชาการเกษตร
สิงหาคม 2547

 
 
 
 
   
 


 



ข้าวล้มตอซังผลผลิตดี


ข้าวล้มตอ คือ การทำนาข้าวด้วยตอซังข้าวเดิมแทนการหว่านด้วย เมล็ดพันธุ์ข้าว โดยย่ำตอข้าวเดิมให้ล้มหลังการเกี่ยวข้าว ตามฤดูกาลเสร็จเรียบร้อย ภายในเวลา 10-15 วัน ต้นข้าวรุ่นที่ 2 จะแตกหน่อขึ้นมาจากกอข้าวเดิม
   
ต้นข้าวที่งอกขึ้นมาใหม่จะเติบโตและให้ผลผลิตเช่นเดียวกับข้าวนาหว่านน้ำตมในครั้งแรก หลังจากเก็บเกี่ยวข้าวแล้วโดยไม่ต้องไถพรวนดินและหว่านกล้า เหมือนการทำนาหว่านน้ำตม ตามปกติ เพียงแต่เกลี่ยฟางข้าวให้สม่ำเสมอ ย่ำให้ตอข้าวล้ม หลังจากนั้น 10-15 วัน ก็วิดน้ำเข้านาและคอยดูแลน้ำไม่ให้ขาดหลังย่ำตอข้าวแล้ว อย่าให้น้ำขังจนกว่าข้าวจะงอก หลังจากข้าวงอก วิดน้ำเข้านาอย่าให้ดินแห้งเกิน 10 วัน ไม่เช่นนั้นข้าวเปลือกที่ตกอยู่บนพื้นดินในนาจะงอกขึ้นมาแทรกกับต้นข้าวที่งอกจากตอ ทำให้มีข้าวสองรุ่นอยู่ในแปลงเดียวกัน ข้าวสองรุ่นอายุไม่เท่ากันก็จะแก่ไม่เท่ากันทำให้เก็บเกี่ยวลำบาก
   
การปลูกข้าวโดยใช้ตอซังเดิมเกิดผลดีต่อดินคือ ฟางข้าวที่นวดแล้ว จะเน่าเปื่อยผุพัง เป็นปุ๋ยธรรมชาติ ทำให้ดินร่วนซุยดีขึ้น และช่วยลดปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมีลงได้ครึ่งต่อครึ่ง ข้อดีอีกประการของการทำนาข้าวล้มตอ คือได้ต้นข้าวที่แข็งแรง และทนทานต่อการรบกวนของศัตรูพืช อย่าง หอยเชอรี่และเพลี้ยไฟมากกว่าข้าวหว่านนาน้ำตม ข้อควรคำนึงในการปลูกข้าวล้มตอซัง คือแปลงนาต้องสม่ำเสมอ พื้นที่ที่เป็นท้องกระทะ แบบตรงกลางลึก ข้าง ๆ เป็นที่ดอน ไม่ควรทำการปลูกข้าวล้มตอซังเพราะจะทำให้มีน้ำขังและจะทำให้ตอซังเน่า ต้นข้าวที่ปลูกครั้งแรกด้วยเมล็ดต้องแข็งแรงปราศจากโรคแมลง
   
เก็บเกี่ยวข้าวในระยะพลับพลึง โดยระบายน้ำออกจากแปลงนา ให้ดินมีความชื้นเหมาะสมประมาณ 50% ทดสอบได้ด้วยการหยิบดินในแปลงนาปั้นเป็นลูกกระสุนได้แสดงว่าความชื่นเหมาะสม
   
การปลูกข้าวตอซัง จะเริ่มตั้งแต่หลังการเก็บเกี่ยว ให้กระจายฟางคลุม ตอซังทั่วแปลงนา ใช้ลูกยางย่ำตอซัง ประมาณ 4 เที่ยว ย่ำให้ราบติดกับพื้นดิน ฟางที่คลุมให้ราบเรียบ อย่าให้ตอซังกระดกขึ้น จากนั้นประมาณ 3-4 วัน ข้าวจะเริ่มแทงหน่อเล็กจากข้อที่ 2-3 หรือปลายตอซังออกมา
   
หลังย่ำตอซังเกษตรกรต้องตรวจสอบว่าฟางที่คลุมจุดใดหนาให้เอาออก คลุมบาง ๆ ปล่อยทิ้งไว้รอจนกว่าหน่อข้าวงอกขึ้นมามี 2-3 ใบ ซึ่งอายุข้าวจะประมาณ 10 วัน นับจากวันย่ำฟาง สังเกตว่าการเจริญเติบโตจะแตกต่างกันกับข้าวหว่านน้ำตม โดยต้นจะใหญ่กว่า รากจะหนาแน่นกว่า หาอาหารได้ดีกว่า ข้าวล้มตอซังที่สมบูรณ์ จะแตกหน่อ 3-4 หน่อ ต่อ 1 ต้นซัง
   
สูบน้ำเข้าแปลงนาและใส่น้ำหมักชีวภาพ ในอัตรา 200 ลิตร ต่อพื้นที่ 15 ไร่ พอแฉะ แต่อย่าให้น้ำมากจะทำให้ฟางที่คลุมลอย หลังระบายน้ำเข้า 1 วัน ใส่ปุ๋ยสูตรเร่งการเจริญเติบโต และเร่งขบวนการย่อยสลายของตอซังและฟาง จากนั้นรักษาน้ำในนาไม่ให้รั่ว เพื่อไม่ให้ปุ๋ยที่ใส่สูญหายจากนั้นก็คอยดูแลการเจริญเติบโตของต้นข้าวและรอวันเก็บเกี่ยว
   
การปลูกข้าวแบบล้มตอซังจะช่วยให้เกษตรกรสามารถลดต้นทุนในการเพาะปลูกได้มาก ขณะที่ผลผลิตที่ออกมาไม่ต่างจากการปลูกในครั้งแรก.

tidtangkaset@dailynews.co.th


http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=339&contentID=115094




หน้าถัดไป (2/2) หน้าถัดไป


Content ©