-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 289 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

ไม้ดอก-ไม้ประดับ




หน้า: 1/2






การปลูกลิลลี่
 




พันธุ์
 ลิลลี่ปลูกเป็นการค้า แบ่งเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่
     1. กลุ่มลูกผสมลองจิฟลอรัม เช่น พันธุ์สโนว์ ควีน , ไวท์ยุโรป
     2. กลุ่มลูกผสมเอเซียติก เช่น พันธุ์อิลิท
3. กลุ่มลูกผสมออเรียลเทิล เช่น พันธุ์มอนทานา , โอลิมปิคสตาร์

 


การขยายพันธุ์
1. การเก็บหัว หลังจากตัดดอกแล้ว ตัดส่วนของลำต้นให้เหลือประมาณ 10-20 ซม. เหนือดิน ทิ้งให้หัวอยู่ในดินประมาณ 2 เดือน เพื่อให้หัวลูกเจริญเต็มที่   
    เมื่อใบเริ่มเป็นสีน้ำตาลจึงเก็บหัวขึ้น ไม่ต้องตัดรากหรือล้างราก นำไปบรรจุในถุงพลาสติกที่มีวัสดุเพาะชำ เช่น ขุยมะพร้าวชื้น ๆ เก็บที่อุณหภูมิ 2๐C  
    เป็นเวลา 3 เดือน หลังจากนั้นหัวจะพร้อมปลูก ถ้ายังไม่ปลูกทันทีให้เก็บที่อุณหภูมิ -2๐C สามารถเก็บหัวได้นานถึง 1 ปี
2. การชำกลีบ โดยแยกกลีบออก นำไปจุ่มในสารเคมีกันเชื้อรา ปลูกประมาณ 30-50 กลีบ ต่อแถวยาว 30 ซม. แต่ละแถวห่างกันประมาณ 30-35 ซม.
3. การชำหัวย่อย ชำหัวย่อยใต้ดิน  วิธีนี้สามารถให้หัวที่มีขนาดใหญ่ได้เร็วกว่าวิธีอื่น ๆ 
   ชำหัวย่อยเหนือดิน
  วิธีนี้ต้องใช้เวลานานหลายปีกว่าจะได้หัวใหญ่
4. การชำใบ โดยตัดใบและชำในวัสดุชำที่ชื้นลึก 1.5 ซม. ที่อุณหภูมิ 20๐C
5. การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เป็นวิธีหลักที่ใช้ในการขยายพันธุ์ใหม่ ๆ ก่อนลงปลูกในแปลง โดยมากจะใช้กลีบเป็นชิ้นส่วนเริ่มต้น



 

การปลูกและการจัดการ
พื้นที่ปลูก 
    ลิลลี่สามารถปลูกได้ดีในดินที่มีการระบายน้ำดี มีอินทรีย์วัตถุสูง
อุณหภูมิ 
    ช่วงแรกของการเจริญเติบโต ควรรักษาอุณหภูมิประมาณ 12-13๐C หลังจากนั้นอุณหภูมิที่เหมาะสมในการเจริญของลิลลี่ คือ กลางคืน 14-16๐C และ 
    กลางวัน 22-25๐C
ความชื้น 
    ความชื้นสัมพัทธ์ ร้อยละ 80-85
แสง 
    ควรมีการพรางแสงในช่วงอากาศร้อน เพื่อรักษาความชื้น
แปลงปลูก 
    ยกแปลงสูง 20-30 ซม. กว้าง 1 เมตร เว้นทางเดิน 50 ซม.
ระยะปลูก 
    ขึ้นอยู่กับขนาดของหัว
การให้น้ำ 
    ควรรดน้ำ 2-3 วันก่อนปลูกเพื่อให้ดินชื้น จากนั้นควรรดน้ำวันละครั้งในช่วงเช้า
การให้ปุ๋ย 
    ครั้งแรกให้ปุ๋ยแคลเซียมไนเตรท สูตร 15.5-0-0 อัตรา 1 กก./พื้นที่ 100 ตรม. หลังปลูก 3 สัปดาห์ ต่อมาให้ปุ๋ยสูตร 12-10-18 ทุก 2 สัปดาห์

หลังตัดดอกแล้วหากต้องการเก็บหัวควรให้ปุ๋ยที่มีโปแตสเซียมสูง เพื่อช่วยในการพัฒนาหัว เช่น สูตร 13-13-21 ทุก 2 สัปดาห์



 

ศัตรูที่สำคัญ
1. โรครากเน่า สาเหตุจากเชื้อ Rhizoctonia solani ลักษณะการทำลายใบอ่อนใบล่างจะเป็นจุดสีน้ำตาลอ่อนโดยทั่วไป ถ้าเป็นมากระบบราก
    จะถูกทำลาย ทำให้ต้นชะงักการเจริญเติบโต

การป้องกันกำจัด 

    อบดินโดยใช้สารเคมี เช่น เม็ธธิลโบรไมด์ หรือโซดาเม็ท หรือรดเครื่องปลูกด้วยควีนโตซีน

2. โรครากเน่า สาเหตุจากเชื้อ Phytophthora spp. โคนต้น จะเป็นจุดสีน้ำตาลอมม่วงแล้วลามขึ้นมา ใบเหลืองเริ่มจากใบล่าง การเจริญเติบโต
    จะชะงัก และต้นเหี่ยวอย่างฉับพลัน

การป้องกันกำจัด
 
    อบดินโดยใช้สารเคมี เช่น เม็ธธิลโบรไมด์ หรือโซดาเม็ท หรือมาแนบ

3. โรคใบจุด สาเหตุจากเชื้อ Botrytis spp. ในช่วงที่อากาศชื้นมาก ใบหรือต้นจะเป็นจุดสีน้ำตาลเข้ม ขนาด 1-2 มม. ดอกบานจะเสียหายได้ง่าย 
    โดยจะเป็นจุดอวบน้ำสีเทา

การป้องกันกำจัด
 
    ฉีดพ้นด้วยสารเคมีเบนเลทผสมแมนโคเซ็บ ทุกสัปดาห์ ช่วงออกดอกควรใช้สารคลอโรธานิล

4. เพลี้ยอ่อน ลักษณะการทำลาย จะทำให้ใบบน ๆ โค้งงอในระยะแรกและจะบิดเบี้ยว ดอกอ่อนจะมีจุดสีเขียวและไม่ได้ทรง

การป้องกันกำจัด
 
    ใช้สารเคมี เช่น เดลต้ามีธริน หรือไพริมิคาร็บ ฉีดพ่นทุก ๆ 5-6 สัปดาห์



 

การเก็บเกี่ยวและการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว
การตัด 
    ควรตัดดอกลิลลี่ในระยะที่ดอกล่างสุดตูม เริ่มแสดงสี และพร้อมที่จะบานในวันถ้ดไป การตัดอกเร็วเกินไปจะทำให้ดอกบานช้า สีซีด   
    จำนวนดอกบานน้อยและคุณภาพต่ำ ควรตัดช่อดอกโดยเหลือต้นไว้เหนือดินประมาณ 10-20 ซม.

การคัดเกรด
 
    คัดเกรดตามจำนวนดอก ความยาว และความแข็งแรงของก้าน ควรริดใบที่โคนก้านประมาณ 10 ซม. เพื่อยืดอายุการปักแจกัน และป้องกันน้ำเสีย 
    หลังการตัดดอกควรแช่ในสารซิลเวอร์ไธโอซัลเฟต อัตรา 30 มล./น้ำ 1 ล. เป็นเวลา 20 นาที จากนั้นจึงย้ายใส่น้ำสะอาดที่ปรับค่าพีเอช เท่ากับ 3.5 
    เก็บที่อุณภูมิ 3-5๐C



 
ระยะปลูกลิลลี่ที่แนะนำ ตามขนาดของหัว

ขนาดหัว
 เส้นรอบวง (ซม.)
ระยะปลูกระหว่างหัว (ซม.)
Asiatic Oriental Longiflorum
9 - 10 12.5x12.5 - -
10 - 12 12.5x12.5 15x15 12.5x12.5
12 - 14 12.5x12.5 15x15 12.5x12.5
14 - 16 12.5x12.5 15x15

15x15

16 - 18 15x15 17.5x17.5 15x15







ที่มา  :
สำนักงานเกษตรจังหวัดนครราชสีมา
โทร. 044-241211 , 044-255652
ที่มา กองส่งเสริมพืชสวน กรมส่งเสริมการเกษตร









ดอกลิลลี่


 



ชื่อวิทยาศาสตร์ Lilium hybrids

ชื่อสามัญ Lily, Easter Lily


ลิลลี่ (Lily, Lilium hybrids) เป็นไม้ดอกประเภทหัว มีดอกขนาดใหญ่เป็นสง่าและสวยงามมาก บางชนิดมีกลิ่นหอมมาก นับว่าเป็นดอกไม้ที่มีราคาแพงที่สุดในปัจจุบัน ใช้ได้ทั้งเป็นไม้ตัดดอกและไม้กระถาง ชนิดที่นิยมปลูกในปัจจุบันคือ ลิลลี่ปากแตร เนื่องจากดอกมีรูปทรงเหมือนแตร ชนิดนี้มีดอกสีขาวมีกลิ่นหอม ในต่างประเทศเรียก Easter lily อีกชนิดหนึ่งเป็นลูกผสมเอเชีย (Asiatic hybrids) มีช่อดอกตั้ง มีดอกหลายสี ชนิดนี้มีดอกไม่หอม อีกชนิดหนึ่งมีดอกหอมมากมีราคาแพงที่สุด คือลูกผสม Oriental hybrids

ในพื้นที่ของโครงการหลวง เช่น ดอยปุย ดอยอ่างขาง และดอยอินทนนท์ พบว่ามีลิลลี่พันธุ์พื้นเมือง หรือเรียกว่าลิลลี่ดอยขึ้นอยู่ในป่า ออกดอกในเดือนสิงหาคมดอกหอมมากโดยเฉพาะในเวลากลางคืนที่มีอากาศหนาวเย็น
 

ปัจจุบันนี้โครงการหลวงได้ทำการวิจัยขยายพันธุ์ลิลลี่ โดยวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อให้เกษตรกรชาวเขาปลูก นอกจากนี้ยังได้ทำการปรับปรุงพันธุ์ลิลลี่ลูกผสมต่างชนิด โดยใช้พ่อแม่พันธุ์ที่นำเข้าจากต่างประเทศผสมกับลิลลี่ดอยอีกด้วย
 


สภาพที่เหมาะสมในการผลิต

1. วัสดุปลูก ลิลลี่ปลูกได้ในดินที่มีการระบายน้ำ และอากาศดี มีอินทรีย์วัตถุสูง ph 6 – 7 รักษาความชื้นในแปลงโดยการคลุมดิน ด้วยวัสดุคลุมดิน เช่น ฟางข้าว หรือเปลือกถั่ว


2.อุณหภูมิ ช่วงแรกของการเจริญเติบโต ต้องการอุณหภูมิประมาณ 12–15 ซ.หากต่ำกว่านี้จะทำให้ยอดเจริญช้าเกินไป หลังจากนั้นอุณหภูมิที่เหมาะสมในการเจริญเติบโตของลิลลี่ คือ กลางคืน 14–16 ซ. และกลางวัน 22–25 ซ.


3. ความชื้น ที่เหมาะสมในการเจริญเติบโต ของลิลลี่ คือความชื้น สัมพัทธ์ ร้อยละ 80– 85 ควรหลีกเลี่ยงการเปลี่ยนแปลงความชื้น แบบกระทันหัน เพราะจะทำให้เกิดใบไหม้ (leaf scorn) ในพันธุ์ที่อ่อนแอ กับอาการนี้ หารมีการเปลี่ยนแปลงควรค่อยเป็น ค่อยไป จึงควรใช้การพรางแสง การระบายอากาศ และการให้น้ำ เพื่อป้องกันการเปลี่ยนแปลง อันรวดเร็วน


4. แสง ในช่วงอากาศร้อน อุณหภูมิสูง ทำให้คุณภาพดอกต่ำ ในช่วงแดดจัดควร พรางแสงให้ ลิลลี่กลุ่มเอเชียติก และลองจิฟลอรัม ร้อยละ 50 ส่วนกลุ่ม ออเรียนเทิล ร้อบละ 70 การพรางแสง ยังช่วยรักษาความชื้นด้วย



การปลูก

แปลงปลูกควรยกแปลงสูง 20–30 ซ.ม กว้าง 1 เมตร เว้นทางเดิน 50 ซ.ม

ระยะปลูก ขึ้นอยู่กับขนาดของหัวพันธุ์ เมื่อได้รับหัวพันธุ์ ในลักษณะแช่แข็ง (-4 ซ.) ให้เปิดถุงพลาสติกในร่มมีหลังคา และปล่อยให้ละลายในถุง เป็นเวลา 1–2 วัน จากนั้น จึงนำไปปลูก โดยขุดหลุม และกลบดินเหนือหัวพันธุ์ประมาณ 10–15 ซ.ม เพื่อให้รากที่เกิดขึ้นบนต้นเหนือหัวพันธุ์เจริญได้สมบูรณ์ที่สุด ร้อยละ 90 ของการเจริญของลิลลี่ขึ้นอยู่กับรากนี้



การให้น้ำ

ควรให้น้ำ 2–3 วันก่อนปลูกเพื่อให้ดินชื้น ในระยะแรกที่ปลูกใหม่ จากนั้น ควรรดน้ำวันละครั้ง ในช่วงเช้า พยายามให้ดินมีความชื้นอยู่ เสมอ



การให้ปุ๋ย

ควรใส่ปุ๋ยคอกเก่า ๆ หรือปุ๋ยหมัก ปริมาณ 1 ลูกบาตรเมตร ต่อพื้นที่ 100 ตรม. ให้ปุ๋ยครั้งแรก 3 สัปดาห์หลังปลูก ควรให้ปุ๋ย แคลเซี่ยมไนเตรต สูตร 15–0–0 อัตรา 1 กก. ต่อพื้นที่ 100 ตรม. ต่อมาให้สูตร 12–10–18 ทุก 2 สัปดาห์ หลังตัดดอกแล้วหากต้องการเก็บหัวพันธุ์ ควรให้ปุ๋ยที่มี โปแตสเซี่ยมสูง เพื่อช่วยในการพัฒนาหัว เช่นสูตร 13 – 13-21 ทุก 2 สัปดาห์



การเก็บเกี่ยวและปฏิบัติหลังเก็บเกี่ยว

ระยะที่เหมาะสมในการตัดดอกลิลลี่ นั้น จะแตกต่างกันแล้วแต่สายพันธุ์ แต่หลักการทั่วไป คือ ควรตัดดอกลิลลี่ ในระยะที่ดอกล่างสุดตูม เริ่มแสดงสี และพร้อมที่จะบานในวันถัดไป เพื่อความสะดวกในการขนส่ง หรือสังเกต ระยะก่อนดอกบาน 1 วัน เป็นระยะที่เหมาะสมในการตัดดอก การตัดดอกเร็วเกินไปทำให้ทำให้ดอกบานช้า สีซีด จำนวนดอกบานน้อย และคุณภาพต่ำ ควรตัดช่อ โดยเหลือต้นไว้เหนือดินประมาณ 10-20 ซม. จากนั้นควรคัดเกรด ตามจำนวนดอก ความยาว และความแข็งแรงของก้าน ควรริดใบที่โคนก้านใบประมาณ 10 ซม. เพื่อยืดอายุการปักแจกัน และป้องกันน้ำเสีย มัดกำ คัดก้าน เนื่องจากดอกลิลลี่เสียหายง่าย หากได้รับแก๊สเอ็ทธิลีน หลังการตัดดอก ควรแช่ในสาร ชิลเวอร์ไธโอซัลเฟส อัตรา 30 ซีซี. ต่อน้ำ 1 ลิตร เป็นเวลา 20 นาที จากนั้นจึงย้ายใส่ในน้ำสะอาด ที่ปรับค่า ph เท่ากับ 3.5 เก็บที่อุณหภูมิ 3-5 ซม. หากได้รับการปฏิบัติที่ถูกต้อง จะสามารถเก็บดอก ลิลลี่ ในห้องเย็นเป็นเวลา นานถึง 4 สัปดาห์ แต่ใบอาจเป็นสีเหลือง หรือน้ำตาลแม้ว่าจะเก็บในช่วง สั้นก็ตาม




 http://zack43095.wordpress.com/page/2/




ดอกทิวลิบ


ทิวลิปเป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว รูปใบเล็กเรียวยาว ปลายใบแหลม เส้นแขนงใบจะเป็นแนวขนานไปตามความยาวของใบ และเรียวลู่ไปรวมกันที่บริเวณปลายใบ ใบแต่ละใบจะออกสลับทิศทางตรงข้ามกัน ต้นหนึ่งๆ จะออกใบประมาณ 3-4 ใบ

โดยปรกติทิวลิปจะมีขนาดสูงระหว่าง 12-18 นิ้ว ซึ่งก็ต้องแล้วแต่พันธุ์และชนิดของทิวลิปแต่ละอย่าง ดอกของทิวลิปก็เช่นเดียวกัน มีหลายแบบ หลายสี และหลายขนาด แต่โดยปรกติดอกทิวลิปจะเป็นดอกไม้รูปถ้วย ยามบานไม่บานแฉ่ง แต่จะบานเพียงแค่แย้มๆ กลีบออก ให้รู้ว่าเป็นดอกทิวลิปที่บานแล้ว แต่อย่างบานแฉ่งก็มีบ้างเหมือนกัน เช่น พวกดอกทิวลิปซ้อนหลายๆ ชั้น

ปรกติดอกทิวลิปจะมีกลีบดอกซ้อนกันเพียง 2 ชั้นๆ ละ 3 กลีบ กลีบดอกของทิวลิปมีสีสันต่างๆ มากมายหลายเฉดสี นับตั้งแต่สีแสด แดง ส้ม เหลืองเข้ม เหลือง เหลืองอ่อน ชมพู ขาว และสีสลับลายหลายอย่าง มีทั้งสีเดียวล้วนๆ และสีผสมในดอกเดียว หรือที่เรียกว่า ”Broken Tulips”

เกสรผู้เป็นสีเหลืองอ่อน หรือขาวเป็นแท่งรูปหัวศรมี 6 เส้น เกสรเมียมีขนาดโตกว่าเกสรผู้ อยู่กึ่งกลางเกสรผู้ เป็นลักษณะแท่งรูปสามเหลี่ยมยาว 2–2.5 เซนติเมตร (ซึ่งมีขนาดยาวไล่เลี่ยกับเกสรผู้) ปลายเกสรเมียแต่ละเหลี่ยม งอลงเป็นสามแฉก ส่วนที่ปลายเกสรผู้บางพันธุ์อาจจะเป็นติ่งสีน้ำตาลเข้ม หรือสีดำก็มี

http://zack43095.wordpress.com/page/2/





หน้าถัดไป (2/2) หน้าถัดไป


Content ©