-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 380 บุคคลทั่วไป และ 1 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

ไม้ดอก-ไม้ประดับ





ปทุมมา


                 

ปทุมมานับเป็นพืชหวังใหม่ของคนไทย มีมูลค่าส่งออกประมาณ 30 ล้านบาทต่อปี ตลาดต่างประเทศที่สำคัญคือ เนเธอร์แลนด์, ญี่ปุ่น, อเมริกา และกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจยุโรป (EU)



ลักษณะทั่วไปของพืช

ปทุมมาและกระเจียว จัดอยู่ในสกุลขมิ้น (Curcuma Spp) วงศ์ขิง (Zingiberaceae) พบกระจายอยู่ในประเทศเขตร้อน ตั้งแต่ทวีปออสเตรเลีย เอเชีย และแอฟริกา ซึ่งจากรายงานพบว่ามีประมาณ 70 ชนิด เฉพาะในประเทศไทยพบประมาณ 30 ชนิด จึงนับได้ว่าประเทศไทยเป็นแหล่งพันธุกรรมของไม้ดอกสกุลขมิ้นที่มีความหลากหลายมาก ปทุมมาและกระเจียวจัดเป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว มีลำต้นใต้ดินทำหน้าที่สะสมอาหารเรียก “ เหง้า ” ส่วนลำต้นเหนือดินหรือลำต้นเทียมนั้น เกิดจากกาบใบที่ห่อตัวกันแน่น


ปทุมมาและกระเจียวเป็นไม้หัว ช่วงเวลาการเจริญเติบโตและให้ดอกจะเป็นช่วงฤดูฝน มีการพักตัวในช่วงอากาศแล้งและช่วงวันสั้น (ตั้งแต่ปลายกันยายน) และจะเริ่มเจริญเติบโตได้ใหม่อีกครั้งประมาณเดือนเมษายน




พื้นที่ปลูก

เชียงใหม่, เชียงราย, ลำพูนและพะเยา




พันธุ์ที่ส่งเสริม

ปทุมมา (C.alismatifolia), กระเจียวส้ม (C.roscoena orange), บัวชั้น (C.roscoena pink), บัวลาย (C.parviflora violet), เทพรำลึก (C. parviflora “white angle”) และเทพอัปสร (บัวขาว) (C.thorelii Gsgnep “chiangmai snow”)



ต้นทุนการผลิตต่อไร่   
    
ต้นทุนไม่ต่ำกว่า 40,320 บาท/ไร่

 


การใช้ประโยชน      
ผลิตหัวพันธุ์ส่งต่างประเทศ, ไม้กระถาง, ไม้ตัดดอก

 


สถานการณ์การตลาด

การส่งออกหัวพันธุ์ปทุมมาของไทยสภาพค่อนข้างดี เนื่องจากเป็นประเทศเดียวที่ดำเนินการส่งออก ยังไม่มีคู่แข่งทางการค้า มีศักยภาพในการส่งออกในรูปหัวพันธุ์ โดยมีตลาดรองรับที่สำคัญ ได้แก่ ญี่ปุ่น เนเธอร์แลนด์ สหรัฐอเมริการและโปรตุเกส ซึ่งในปี 2542 นี้ ในช่วง 6 เดือนแรกมีการส่งออก 2.02 ล้านหัว มูลค่า 28.7 ล้านบาท ราคาที่เกษตรกรได้รับเพิ่มขึ้น 1 เท่าตัวจากเดิม ปี 2540 ราคา 40 บาท/กก. ในปี 2541 ราคา 80 บาท/กก. หรือร้อยละ 100 บาท คิดราคาเฉลี่ย 5 บาท/หัว ปริมาณการส่งออกไปยังเนเธอร์แลนด์ เพิ่มจากปี 2540 จำนวน 12.5 ตัน ในช่วงเวลาตั้งแต่ปี 2540 เป็นต้นมาการส่งออกเหง้าพันธุ์ประสบปัญหา ประเทศเนเธอร์แลนด์เข้มงวดในการตรวจสอบเชื้อแบคทีเรีย Ralstonia (Psuedomonas) Solanacearum เป็นสาเหตุของโรค ซึ่งจำเป็นต้องแนะนำเกษตรกรปลูกและดูแลรักษาอย่างถูกต้อง เพื่อป้องกันการระบาดของโรค




วิธีการปลูก

เดิมการปลูกปทุมมาและกระเจียวมักเป็นการปลูกลงแปลง ดินที่เหมาะสมเป็นดินร่วนปนทราย pH 6.0 – 6.5 ระยะปลูก ( 20-30 ) x 30 ซม. แต่เนื่องจากสถานการณ์โรคเหี่ยวเน่า ที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Ralstonia Solanacearum รุนแรงมากขึ้น ปัจจุบันกรมส่งเสริมการเกษตร จึงพยายามแนะนำให้เกษตรกรปลูกปทุมมาและกระเจียวลงถุงเพาะชำขนาด 7 x 14 นิ้ว หรือ 8 x 12 นิ้ว เพื่อลดปัญหาการแพร่ระบาดและความเสียหายจากโรคเหี่ยวเน่าและไม่แนะนำให้เกษตรกรใช้ดินที่เคยปลูกปทุมมาและกระเจียว รวมทั้งพืชตระกูลใกล้เคียง เช่น พริก มะเขือ ยาสูบ เป็นต้น มาใช้ปลูกปทุมมาและกระเจียวเพราะอาจมีเชื้อสาเหตุโรคติดไปกับดินปลูกและเข้าทำลายปทุมมาและกระเจียวได้


การให้ปุ๋ย

ควรรองพื้นก่อนปลูกด้วยสูตร 15-15-15 หรือ 16-16-16 ประมาณ 0.5-1 ช้อนชา/ต้น และให้ปุ๋ยทุกเดือน ๆ ละครั้ง โรยรอบโคนต้นในอัตรา 0.5 – 1 ช้อนชา หรือ 50 กก./ไร่ เพื่อเร่งการเจริญเติบโตของลำต้นและใบ ใช้ติดต่อกัน 2 เดือน จากนั้นให้ปุ๋ยสูตรที่มีตัวกลางและตัวท้ายสูง เช่น 9-24-24 , 13-13-21 ในปริมาณ05-1 ช้อนชา 50 กก./ไร่ ใช้ติดต่อกัน 3 เดือน เพื่อช่วยให้มีการสะสมอาหารไว้ในเหง้าและมีตุ้มรากมากขึ้น ทำให้เหง้ามีขนาดใหญ่และสมบูรณ์ซึ่งจะให้ดอกที่มีคุณภาพสูง


การให้น้ำ

ระบบการให้น้ำอาจใช้ระบบสปริงเกอร์ กับแปลงปลูกที่มีขนาดใหญ่ ส่วนแปลงขนาดเล็กอาจใช้สายยางใส่หัวฝักบัวรดน้ำ ควรให้น้ำตอนเช้าประมาณเวลา 8.00 น. วันละ 1 ครั้ง ยกเว้นในวันที่ฝนตก


การพรางแสง

กลุ่มปทุมมาส่วนใหญ่สามารถปลูกในสภาพแสง 70-100 % กลุ่มกระเจียวส่วนใหญ่จะเจริญเติบโตได้ดีในสภาพพรางแสง โดยให้แสงผ่านได้ 50-75 %





โรคแมลง ศัตรู และการป้องกันกำจัด

โรค

1. โรคเหี่ยว เกิดจากเชื้อ Ralstonia solanacearum การป้องกันกำจัด ถ้าพบต้นที่เริ่มแสดงอาการเป็นโรค ควรรีบขุดต้นและดินรอบ ๆ รัศมี 50 ซม. ทำลายโดยการเผาไฟทิ้ง แล้วโรยปูนขาวผสมยูเรียอัตราส่วน 10 : 1 หรือใช้คลอร๊อกซ์หรือน้ำยาซักผ้าขาวที่มีขายอยู่ทั่วไปในท้องตลาด 1 ส่วน ผสมน้ำ 9 ส่วน ราดดินบริเวณนั้น

                   
วิธีการตรวจแปลง ให้ออกตรวจแปลงปลูกในตอนเช้า ก่อนให้น้ำเพื่อดูลักษณะอาการของพืชโดยให้สังเกตลักษณะอาการโรคเหี่ยวที่เด่นชัด คือ ใบแก่ด้านล่างจะแสดงอาการเหี่ยวแห้ง ใบห่อตามความยาวใบและม้วนเป็นหลอด ถ้าอาการรุนแรงจะสามารถดึงยอดหรือหน่อให้หลุดออกได้ จากกอได้โดยง่ายและถ้าสังเกตจะพบว่าบริเวณโคนยอด/หน่อที่ดึงหลุดมานั้นจะมีเมือกเยิ้มสีขาวขุ่น ๆ คล้ายน้ำนม มีกลิ่นเหม็นเฉพาะของเชื้อ - สาเหตุ ภายในลำต้นส่วนท่ออาหารจะถูกทำลายกลายเป็นสีคล้ำหรือน้ำตาล

 

           
แมลง

ได้แก่ หนอนม้วนใบ ตั๊กแตน ซึ่งกัดทำลายใบ และไรแดงที่ทำลายใบประดับให้เป็นจุด

การป้องกันกำจัด ใช้ยาโมโนโครโตฟอส ( อโซดริน ) และ โปรพาไลท์ (โอไมท์ ) อัตราตามฉลากคำแนะนำ


           
สัตว์

1. หอยทาก พบมากในพื้นที่ปลูกที่มีความชื้นสูง ควบคุมโดย โรยปูนขาวรอบพื้นที่ปลูกหรือใช้เหยื่อพิษ เช่น เม็กซิลดีไฮด์ ( แองโกลสลัก ) หรือใช้กระดาษหนังสือพิมพ์ชุบเบียร์และยาเลนเนททำเป็นเหยื่อพิษวางไว้ไกล้ ๆ บริเวณที่หอยทากชอบเข้าทำลาย

2.ไส้เดือนฝอย พบมากในดินทราย การป้องกันโดยวิธีเขตกรรม

           
ฤดูออกดอก

ให้ดอกหลังปลูกประมาณ 2-3 เดือน ตั้งแต่ ประมาณกรกฎาคม เป็นต้นไป




การเก็บรักษา

1. ดอก การบรรจุหีบห่อควรมัดก้านช่อดอก 10 ก้านรวมกัน นำสำลีชุบน้ำประปาห่อปลายก้าน เพื่อยืดอายุระหว่างรอบรรจุหีบห่อ ปัจจุบันวิธีการเก็บรักษาดอกสดยังอยู่ระหว่างการพัฒนา

2. การเก็บหัวปทุมมา รอให้พืชพักตัวให้เต็มที่คือส่วนของลำต้นเหี่ยว ใบและกาบใบเหี่ยวแห้งสนิท ประมาณเดือนธันวาคม ก่อนวันเก็บเกี่ยวให้รดน้ำในถุงปลูกพอหมาด ๆ เพื่อให้ดินร่วนขึ้นง่ายต่อการเก็บเกี่ยว จากนั้นลำเลียงถุงปลูกออกจากแปลงเป็นช่วง ๆ ตามที่วางถุงปลูก (1 ช่วง 40 ถุง) ไปยังบริเวณที่จะเก็บและล้างทำความสะอาดหัว ใช้มีดโกนกรีดถุงให้ขาด แล้วฉีดล้างด้วยน้ำ ให้สะอาด

                   
ระวังอย่าให้หัวและตุ้มสะสมอาหาร หักฉีกขาดเป็นแผลเพราะจะเป็นช่องทางให้เชื้อโรคเข้าทำลายหรือแอบแฝงอยู่กับหัวพันธุ์ได้ เมื่อล้างน้ำแรกสะอาดแล้ว หากพบว่ากอใดมีอาการหัว/รากเน่าให้นำไปทำลายทิ้งทั้งกอ จากนั้นนำกอที่ปกติไปแยกและตัดแต่งรากที่หักและรากที่ไม่สมบูรณ์ออกให้หมด แล้วจึงนำไปล้างน้ำที่สองด้วยแรงดันน้ำสูง นำไปชุบสารเคมี เบนโนมิล (เบนเลทที) 3 ช้อนชาผสมน้ำ 20 ลิตร, โปรคลอราซ แมงกานีส คอมแพลกซ์ ( octave) 2 ช้อนโต๊ะผสมน้ำ 20 ลิตร และ แคงเกอร์เอกซ์ 2 ช้อนโต๊ะผสมน้ำ 20 ลิตร โดยแต่ละครั้งแช่นาน 10-15 นาที แล้วผึ่งให้แห้งในที่ร่มอากาศถ่ายเทได้สะดวก นานประมาณ 2 สัปดาห์ จากนั้นนำไปเก็บในภาชนะโปร่งในห้องที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวกและสามารถป้องกันสัตว์ศัตรูพืชได้ เช่น หนู มด เพลี้ย เป็นต้น









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-05-10 (2792 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©