-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 418 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

ไม้ดอก-ไม้ประดับ




หน้า: 6/6




การผสมปุ๋ยใช้เองกับกล้วยไม้

นการปลุกเลี้ยงกล้วยไม้ นอกจากมีโรงเรือนที่ดีแล้ว เกษตรกรยังต้องรู้จักกล้วยไม้ที่ปลูกเป็นอย่างดีเช่นเดียวกับต้องรู้จักการใช้สารเคมีอย่างถูกต้องและใช้ปุ๋ยให้เหมาะสมสำหรับการเจริญเติบโตและการใช้ผลผลิตดอกกล้วยไม้ที่มีคุณภาพที่ดี


ปุ๋ยยอดนิยม

ชาวสวนไม้ผลมีปุ๋ยที่ใช้กันอยู่ 3 สูตร คือ 15-15-15,8-24-24 และ 13-13-21 สำหรับเร่งการเจริญเติบโตหลังการเก็บเกี่ยวผลผลิต การกระตุ้นการออกดอก และเพิ่มคุณภาพผลผลิต ตามลำดับ ในสวนกล้วยไม้ก็เช่นเดียวกัน จากการสอบถามข้อมูลการใช้ปุ๋ยของชาวสวนกล้วยไม้ ไม่ว่าจะปลุกล้วยไม้สกุลไหนก็พบว่า ปุ๋ยที่นิยมใช้พ่นมีอยู่ 2 สูตรคือ 20-20-20 หรือ 21-21-21,10-52-17 และ 16-21-27 สำหรับการเติบโตระยะแรก ระยะการออกดอก และเพิ่มคุณภาพดอก นอกจากเกษตรกรยังมีการเปลี่ยนแปลงสูตรปุ๋ยให้สอดคล้องกบสภาพดินฟ้าอากาศด้วย โดยที่ในฤดูฝนเกษตรกรจะใช้ปุ๋ยที่มีธาตในโตรเจนต่ำ และใช้ปุ๋ยที่มีโพรแทสเซียมสูงในช่วงที่อากาศเปลี่ยน และก็มีบ้างที่ใช้ปุ๋ยเม็ดละลายช้าในสวนที่ปลูกกล้วยไม้ในวัสดุปลูกต่างๆ ปุ๋ยสำหรับกล้วยไม้ที่อยู่ในปัจจุบันเป็นปุ๋ยเกล็ดที่ละลายน้ำได้ 100%ใช้พ่นทางใบและรากกล้วยไม้ นอกจากนี้ ผู้เขียนยังได้ข้อมูลเพิ่มเติมอีกว่า การใช้ปุ๋ยที่มียูเรียสูงทำให้กล้วยไม้เน่าตาย และการใช้ปุ๋ยที่มีคลอไรค์จะทำให้กล้วยไม้เจริญเติบโตช้า


ความเข้มข้นของสารละลายปุ๋ย

ความเข้มข้นของสารละลายปุ๋ยที่พ่นให้แก่กล้วยไม้มีความเข้มข้นตั้งแต่ 1,000 ถึง 4,000 ppm ขึ้นอยู่กับชนิดของกล้วยไม้ที่ปลูก โดยที่ชาวสวนจะใช้ปุ๋ยที่มีความเข้มข้นต่ำ 1,000 ถึง 2,000 ppm พ่นให้แก่ออนซีเดียม ขณะที่ใช้ปุ๋ยความเข้มข้น 3,000 ถึง 4,000 ppm พ่นให้แก่แวนดา และหวาย ตามลำดับ การใช้ปุ๋ยกล้วยไม้โดยทั่วไปนั้นชาวสวนจะใช้สัปดาห์ละ 1ครั้ง และมีการให้น้ำวันะล 1ครั้ง วันที่ให้ปุ๋ยก๋พ่นสารละลายของปุ๋ยแทนการให้น้ำปกติไปเลย ซึ่งการปฏิบัติเช่นนี้ก็ทำผู้เขียนมีคำถามเกิดขึ้นในใจว่า ในเมื่อชาวสวนต้องการรดน้ำทุกวันหรือเว้นวันอยู่แล้ว ทำไมไม่ให้ปุ๋ยกล้วยไม้ทุกครั้งที่รดน้ำด้วย โดยปรับลดความเข้มข้นของสารละลายปุ๋ยลง ซึ่งน่าจะได้ผลดีกว่า และมีการสูญเสียของปุ๋ยน้อยกว่า แต่เมื่อถามชาวสวนกล้วยไม้ว่าทำไม ไม่พ่นสารละลายปุ๋ยเจือจางทุกวันก็ได้คำตอบเป็นเสียงเดียวกันว่า การให้ปุ๋ยกล้วยไม้ทุกวันจะทำให้กล้วยไม้เน่าตายได้ง่ายกว่าการพ่นปุ๋ยใช้น้ำน้อยกว่าการให้น้ำตามปกติ


ทำไมไม่ผสมปุ๋ยใช้เอง 
ชาวสวนส่วนใหญ่คิดว่า การผสมปุ๋ยใช้เองเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก ไม่รู้จะเลือกใช้แม่ป๋ยอะไร และไม่รู้จะผสมอย่างไร ประกอบกับผู้ผลิตบริษัทปุ๋ย เกล็ดสูตรต่างๆที่กล่าวมาข้างต้น ได้ผสมธาตุอาหารรองและจุลธาตุไว้อย่างครบถ้วน ทำให้การใช้ปุ๋ยเกล็ดสำเร็จรูป กับกล้วยไม้ประสบผลสำแร็จเป็นอย่างดี นอกจากนี้ต้นทุนค่าปุ๋ยในการผลิตกล้วยไม้ไม่สูงมากนักเมื่อเทียบกับค่าจ้างแรงงงานและค่าสารเคมีป้องกันกำจัดโรคและแมลงศัตรูกล้วยไม้ ด้วยเหตุผลเหล่านี้ทำให้การผสมปุ๋ยใช้เองไม่ได้รับความสนใจจากชาวสวนกล้วยไม้เท่าที่ควรในแวลาที่ผ่านมา และจากภาวะวิกฤติป๋ยและสารเคมีป้องกันศัตรูพืชแพงในปัจจุบัน และราคาดอกกล้วยไม้ที่ไม่สำพันธ์กับราคาของปัจจัยการผลิต ทำให้เกษตรกรจำนวนมากเริ่มหาวิธีต้นทุนการผลิต ซึ่งการผสมปุ๋ยใช้เองก็เป็นวิธีหนึ่งทีสามารถลดต้นทุนการผลิตได้มาก ถ้ามีการเลือกใช้อย่างถูกต้อง 

ปุ๋ยทุกชนิดที่ละลายน้ำสามารถใช้รดน้ำกล้วยไม้ได้ชาวสวนไม่จำเป็นต้องใช้ปุ๋ยเกล็ดต่างๆ หรือปุ๋ยพิเศษใดๆเลย ผู้เขียนขอย้ำว่า “แม่ปุ๋ยที่ละลายน้ำได้สามารถใช้เป็นปุ๋ยกล้วยไม้ได้เหมือนกับการใช้ปุ๋ยเกล็ดที่มีราคาค่อนข้างแพง” หรือแม้แต่ปุ๋ยเม็ดที่ละลายน้ำค่อนข้างช้าและมีกากกใช้ได้ เพียงแต่ชาวสวนต้องรู้จักเลือกใช้และมีการจัดการที่ถูกต้อง สำหรับการเลือกใช้แม่ปุ๋ยที่ละลายได้ดีนั้น การจัดการที่ผู้เขียนขอเน้นนั้นความสำคัญก็คือ การผสมเข้ากันได้ขแงแม่ปุ๋ยแต่ละชนิด และการผสมจุลธาติและธาติอาหารรองทุกชนิดร่วมกับการใช้ปุ๋ยไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม อย่างครบถ้วน ซึ่งการเติมจุลธาตุ และธาตุอาหารรองต่างๆ ลงในแม่ปุ๋ยผสม ก็ไม่ใช่เรื่องยุ่งยากหรือซับซ้อนแต่อย่างใด ชาวสวนสามารถเลือกใช้จุลธาติรวมสำเร็จรูปซึ่งมักมีธาตุอาหารรองผสมอยู่ด้วย แล้ว หรือจะเลือกปุ๋ยที่ให้ธาตุอาหารแต่ละชนิดก็ได้ นอกจากการใช้ปุ๋ยเกล็ดแล้ว ชาวสวนก็มีการเพิ่มต้นทุนการผลิตโดยการสรรหาฮอร์โมน วิตามิน หรือปุ๋ยน้ำที่เรียกกันว่าปุ๋ยชีวภาพมาใช้โดยที่ไม่ทราบเลยว่าสิ่งเหล่านี้มีผลเด่นชัดอะไรต่อการเจริญเติบโตและให้ผลผลิตของกล้วยไม้ แต่ผู้เขียนคิดว่าคงจะมีผลทางใจมากกว่า ว่าอย่างน้อยเราก็ได้ทำเหมือนสวนอื่น ทั้งนี้ชาวสวนอาจจะลืมไปว่า การคิดหรือลองทำไม่เหมือนคนอื่นดูบ้างอาจได้ผลที่ดีกว่าก็ได้ 


การยอมรับ

เป็นที่ทราบกันว่า การยอมรับเทคโนโลยีใหม่ๆ ของชาวสวนเป็นเรื่องไม่ง่ายนัก ต้องการมีการพิสูจน์ให้เห็นด้วยตาว่าเทคโนโลยีเหล่านั้นได้ผลดีจริง ดังนั้นหลังจากการอ่านตำรับตำราทางวิชาการเกี่ยวกับกล้วยไม้ (ผู้เขียนไม่เคยรู้เรื่องหรือสนใจในการปลูกเลี้ยงกล้วยไม้มาก่อนเลยในชีวิตจนกระทั่งถูกเชิญมาร่วมทำงานวิจัยปุ๋ยกล้วยไม้)และจาการพูดคุยหรือสอบถามเรื่องราวต่างๆในการจัดการปุ๋ยและน้ำในสวนกล้วยไม้จากชาวสวนผู้มีประสบการณ์และผู้เขียนก็เริ่มคิดหากุศโลบายในการดำเนินงานเพื่อให้เกิดการยอมรับ โดยวางแผนการดำเนินงาน ในสวนกล้วยไม้ที่เจ้าของสวนสนใจและยอเสี่ยง (แบบมีหลักการหลังจากที่ผู้เขียนอธิบายว่าข้อดีมีมากกว่าข้อเสีย)ให้ผู้เขียนศุกษากับต้นกล้วยไม้ในสวนได้เป็นขั้นตอนดังนี้

 ขั้นที่ 1 เพื่อให้เกิดการยอมรับว่า "การผสมปุ๋ยใช้เองไม่ใช่เรื่องยาก" ผู้เขียนไดด้คิดการคำนวณปุ๋ยสูตรต่างๆ โดยใช้โปรแกรมเอ็กเซล (Excel)เพื่อให้ง่ายต่อการคำนวณปริมาณปุ๋ยแต่ละชนิดที่ต้องใช้ในการผสมให้ได้สูตรปุ๋ย ความเข้มข้นปุ๋ย และปริมาณของสารละละปุ๋ยตามที่ต้องการซึ่งชางสวนที่มีคอมพิวเตอร์สามารถคิดคำนวณได้เองหรือให้ลูกหลานคำนวณให้กูได้ และการผสมก็ทำได้ง่ายเพียง ชั่งปุ๋ยแต่ละชนิด ใส่ลงในถังแล้วก็เดิมน้ำตามปริมาณที่ต้องการใช้กวนให้ปุ๋ยละลายหมดก็ใช้พ่นกล้วยไม้ได้เลย

 
ขั้นที่ 2 เพื่อให้เกิดการยอมรับว่า “การใช้ปุ๋ยที่ผสมเองให้ผลไม่แตกต่างกับการใช้ปุ๋ยเกล็ด”ผู้เขียนเลือกใช้แม่ปุ๋ยไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียมที่ละลายน้ำได้ดี และไม่มีคลอไรด์เป็นองค์ประกอบ ได้แก่ 40-0-0,15-0-0,0-52-34 และ 13-0-46 มาผสมให้ได้ปุ๋ยสูตรเดียวกันกับปุ๋ยเกล็ด ที่ชาวสวนใช้อยู่เดิม และให้ชาวสวนตัดสินใจเลือกใช้ปุ๋ยสำเร็จรูปที่มีธาตุอาหารรองและจุลธาตุที่จำเป็นสำหรับการเจริญเติบโตผสมลงไปด้วยเพื่อให้กล้วยไม้ได้รับธาตุอาหารอย่างครบถ้วน และสะดวกแก่ชาวสวนในการจัดการ

 
ขั้นที่ 3  หาปุ๋ย "สูตรที่ใช่"หรือ "สูตรที่เหมาะสม"
กับกล้วยไม้ทุกอายุ จากประสบการณ์ในการศึกษาความต้องการธาติอาหารของพืชสวนหลายชนิด และจากข้อมูลที่ได้จากวิเคราะห์ธาตุอาหารในพืชพบว่า สัดส่วนของปริมาณธาตุอาหารไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียมในพืชโดยทั่วไปไม่ใช่ 1:1:1 (ปุ๋ยสูตร 20-20-20, 21-21-21,หรือ 15-15-15 มีสัดส่วนของธาตุอาหารไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียมเท่ากับ 1:1:1) การพ่นปุ๋ยสูตรเสมอแก่กล้วยไม้เปรียบเสมือนคนบังคับให้ทานอาหารสำเร็จรูปหรืออาหารจานด่วนมากกว่าสุขภาพ

 
ขั้นที่ 4 ลดต้นทุนค่าปุ๋ยโดยการใช้ธาตุรองและจุลธาตุแต่ละชนิดมาผสมเอง เนื่องจากปุ๋ยสำเร็จรูปที่มีธาตุรองและจุลธาตุครบถ้วนมีราคาค่อนข้างแพงการทดลองที่องค์ประกอบของธาติอาหารเหล่านี้ให้ครบถ้วนตามที่กล้วยไม้ต้องการน่าจะลดต้นทุนค่าปุ๋ยได้อีกอย่างน้อย 20%

  
ขั้นที่ 5 ศึกษานความเป็นไปได้ในการใช้แม่ปุ๋ยที่มีคลอรีนเป็นองค์ประกอบ ชาวสวนกล้วยไม้ทุกคนไม่กล้าใช้ปุ๋ยคลอรีนเป็นองค์ประกอบทั้งๆที่ คลอรีนเป็นธาตุอาหารที่จำเป็นธาตุหนึ่งสำหรับการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตของพืชทุกชนิด เนื่องจากแม่ปุ๋ยที่มีคลอไรค์มีราคาถูกและละลายน้ำได้ดีการใช้ปุ๋ยที่มีคลอไรค์จะสมบ้างจะช่วยลดต้นทุนค่าปุ๋ยลงได้อีกส่วนหนึ่ง


  
ขั้นที่ 6 หาเวลาในการใช้ปุ๋ยที่เหมาะสม และมีประสิทธิภาพสูงสุดเนื่องจากกล้วยมีการสังเคราะห์แสงแบบพืชกลางคืน (ปากใบของพืชกลางคืนปิดเวลากลางวันเพื่อลดการสูญสียน้ำ และเปิดเวลากลางคืน เมื่ออุณหภูมิลดต่ำลงเพื่อรับคาร์บอนไดออกไซต์เข้าสู่ใบ) จึงเกิดคำถามว่า "จำเป็นหรือไม่" ที่ต้องการให้ปุ๋ย และน้ำในเวลาที่สอดคล้องกันกับเวลาการปิดเปิดของปากใบทั้งๆที่ สามารถละลายปุ๋ยสามารถซึมผ่านผิวใบได้โดยไม่จำเป็นต้องเข้าทางปากใบ

ารศึกษาการผสมปุ๋ยใช้เองกับกล้วยไม้เริ่มในปีงบประมาณ 2549โดยดำเนินการศึกษาที่ ศูนย์วิจัยพืชสวนเชียงราย และสวนเกษตรกรในจังหวัดกาญจนบุรี นครปฐม นนท์บุรี และอยุธยา รวม 4ราย นอกจากนี้ ยังมีเกษตรกรให้ต้นกล้วยไม้นำไปทดลองที่เชียงรายด้วยผู้เขียนต้องขอขอบพระคุณเกษตรกรทุกท่านที่ให้ความอนุเคราะห์ต่อผู้เขียน จากเริ่มต้นจนถึงปัจจุบัน ก็เป็นเวลาเกือบ 3 ปี การศึกษามีความก้าวหน้ามาจนถึงขึ้นที่ 5 แล้ว ผลการศึกษาพบว่าการผสมปุ๋ยใช้เองโดยใช้แม่ปุ๋ยที่ละลายน้ำได้ดีและมีราคาถูก ได้แก่ปุ๋ย 40-0-0และ 15-0-0เป็นแม่ปุ๋ยไนโตรเจน ปุ๋ย 0-52-34 และ 12-60-0 เป็นแม่ปุ๋ยฟอสฟอรัส และปุ๋ย 13-0-46 เป็นแม่ปุ๋ยโพแทสเซียม ผสมเป็นปุ๋ยสูตรต่างๆ ที่เกษตรกรนิยมใช้ ได้แก่ ปุ๋ยสูตร 20-20-20 ,21-21-21 ,16-21-27 และ 10-52-17 และผสมจุลธาตุสำเร็จรูปลงไปก่อนนำไปใช้นั้นใช้ผลเช่นเดียวกับการใช้ปุ๋ยสูตรสำเร็จรูปที่มีขายทั่วไป แต่การผสมปุ๋ยใช้เองมีต้นทุนต่ำกว่า ในภาวะที่ปุ๋ยเคมีมีราคาแพงมากหรือหาซื้อได้ยากในอย่างปัจจุบันนี้ทำให้เกษตรกรหันมาให้ความสนใจกับการผสมปุ๋ยใช้เองกันมากขึ้น นอกจากจะมีเกษตรกรสนใจโปรแกรมกาคำนวนปุ๋ยใช้เองมากขึ้นแล้ว ยังมีเกษตรกรไปดูงานในสวนที่มีการใช้ปุ๋ยผสมเองมากขึ้นดเวย ปัจจุบันผู้เขียนได้ทำตารางการผสมจุลธาตุเพิ่มเติมแทนการใช้จุลธาตุสำเร็จรูปเพื่อให้ปุ๋ยที่ผสมเองมีราคาถูกลงอีกและกำลังดำเนินการทดลอง ในสวนแวนดาที่จังหวัดนครปฐมที่พ่นด้วยปุ๋ยที่ผสมเองทั้งหมดก็มีกาเจริญติบโตดีไม่แตกต่างการใช้ปุ๋ยราคาแพงเหลือเพียงการเฝ้าดูรอดูการออกดอกและคุณภาพของดอกเท่านั้นว่าจะดีทัดเทียมกันหรือไม่ อย่างไรก็ตาม เกษตรกรที่ทดลองผสมปุ๋ยใช้เองก็พอใจที่ต้นกล้วยไม้เจริญเติบโตดี และมีความแข็งแรงกว่าเดิม
 
ตั้งแต่ต้องมารับผิดชอบดำเนินงานวิจัยเรื่องปุ๋ยกล้วยไม้ ผู้เขียนก็เริ่มหากล้วยไม้มาปลูกต้นเล็กบ้าง ใหญ่บ้าง แต่ชอบที่จะเลือกหาแต่ต้นเล็กๆมาปลูกเป็นส่วนใหญ่ เพื่อที่จะได้สังเกต และเรียนรู้เรื่องการเจริญเติบโตของกล้วยไม้ไปด้วย ที่บ้านใช้น้ำประปารดน้ำต้นไม้หลากชนิด ที่ปลูกไว้ผู้เขียนก็ใช้น้ำประปาผสมปุ๋ยพ่นกล้วยไม้ ที่บ้านใช้น้ำประปารดต้นไม้หลากชนิดที่ปลูกไว้ ผู้เขียนก้ใช้น้ำประปาผสมปุ๋ยพ่นยกล้วยไม้ และใช้น้ำประปารดต้นกล้วยไม้เช่นเดียวกับต้นไม้อื่น ๆเป็นประจำทุกวันโดยไม่มีการเก็บน้ำใส่โอ่งไว้ก่อนเพื่อรอให้คลอรีนในน้ำประปาระเหยหายไป ต้นกล้วยไม้ก็จะเจริญเจิบโตดีในสายตาของผู้เขียน และก็ทยอยออกดอกให้ชื่นชมอยู่เรื่อยๆ ข้อเสียของการใช้น้ำประปาก็คงมีอยู่เพียงประการเดียว คือ มีราคแพงแต่ก็คงไม่มีทางเลือกอื่นสำหรับคนที่อยู่ในกรุงเทพมหานครหรือหมู่บ้านจัดสรรทั้งในเขตกรุงเทพและปริมณฑลที่อยากมีเรือนกล้วยไม้เล็กๆ ไว้ชื่นชมจากการที่ผู้เขียนใช้น้ำประปารดกล้วยไม้และกล้วยไม้มีการเจริญเติบแออกดอกเป็นปกตินี้ ทำให้คิดว่าคลอไรค์ไม่น่าที่จะมีผลเสียต่อกล้วยไม้มากอย่างที่แกษตรกรมีความเชื่อกันมานาน ซึ่งงานวิจัยใช้ปุ๋ยที่มีคลอไรค์ที่กำลังดำเนินการทอลองอยู่ที่ศูนย์วิจัยพืชสวนเชียงรายก็มีแนวโน้มให้เห็ฯว่ากล้วยไม้ที่ได้รับปุ๋ยคลอไรค์ก็มีการเจริญเติบโตไม่แตกต่างจากต้นกล้วยไม้ที่ใส่ปุ๋ยที่ไม่มีคลอไรค์
 
ทั้งหมดที่เขียนเล่าสู่กันฟังนี้ ก็หวังว่าจะเป็นประโยชน์เล็กๆน้อยๆแก่ชาวสวนกล้วยไม้ และเมื่องานวัยสิ้นสุดลงในอีก 2 ปีข้างหน้าคงจะมีโอกาสได้นำผลการศึกษาทั้งมดมาเล่าสู่กันฟังต่อไป







 

การผสมปุ๋ยใช้เอง จำนวน 1,000 ลิตร (50 ปิ๊บ)
เข้มข้น 4,000 ppm



  
 สำหรับกล้วยไม้สกุลหวาย 

สูตรปุ๋ยที่ต้องการ
แม่ปุ๋ย(กรัม)
15-0-0
46-0-0
12-60-0
13-0-46
4-2-5
277.8
1748.5
801.3
1672.4
20-20-20
274.3
1524.3
1582.3
619.2
16-21-27
214.5
1001.1
1624.2
1160.2

สูตรปุ๋ยที่ต้องการ
แม่ปุ๋ย(กรัม)
15-0-0
46-0-0
12-60-0
13-0-46
4-2-5
268.6
870.2
671.5
2189.7
20-20-20
256.9
783.1
1284.5
1675.5
16-21-27
200.6
275.5
1316.4
2207.6

สูตรปุ๋ยที่ต้องการ
แม่ปุ๋ย(กรัม)
15-0-0
46-0-0
12-60-0
0-0-50
4-2-5
241.8
1340.3
604.5
1813.4
20-20-20
236.8
1158.3
1184
1420.8
16-21-27
180.4
808.9
1184
1826.7
 
สูตรปุ๋ยที่ต้องการ
แม่ปุ๋ย(กรัม)
15-0-0
46-0-0
0-52-34
13-0-46
4-2-5
256.1
1586.7
738.8
1418.4
20-20-20
265.9
16447.6
1534.3
552.3
16-21-27
202.6
1255.2
1534.1
1008.1
 
สูตรปุ๋ยที่ต้องการ
แม่ปุ๋ย(กรัม)
15-0-0
46-0-0
12-60-0
0-52-34
10-52-17
127.1
314.9
1651.9
1906.1
9-45-15
130.6
349.0
1600.2
1920.2

** ทุกสูตรต้องผสมจุลธาตุรวมสำเร็จรูปอัตรา 100-150 กรัม/สารละลายปุ๋ย 1,000 ลิตร ก่อนนำไปพ่น


การผสมปุ๋ยใช้เอง จำนวน 1,000 ลิตร (50 ปิ๊บ)เข้มข้น 3,000 ppm

   สำหรับกล้วยไม้สกุลแวนดา ออนซิเดียม ม็อคคารา 

สูตรปุ๋ยที่ต้องการ
แม่ปุ๋ย(กรัม)
15-0-0
46-0-0
0-52-34
13-0-46
4:2:5
127.4
981.9
612.5
1278.2
3:2:5
108.9
736.4
698
1456.7
3:1:5
115.2
701.8
369.2
1813.8

สูตรปุ๋ยที่ต้องการ
แม่ปุ๋ย(กรัม)
15-0-0
46-0-0
12-60-0
13-0-46
4:2:5
123.1
619.4
512.9
1672.6
3:2:5
104.7
416.2
581.8
1897.2
3:1:5
112.8
530.1
313.4
2043.7

สูตรปุ๋ยที่ต้องการ
แม่ปุ๋ย(กรัม)
15-0-0
46-0-0
12-60-0
0-0-50
4:2:5
110.6
1046.0
460.9
1382.6
3:2:5
92.8
844.2
515.7
1547.2
3:1:5
99.1
973.3
275.4
1652.2

สูตรปุ๋ยที่ต้องการ
แม่ปุ๋ย(กรัม)
15-0-0
46-0-0
0-52-34
0-0-50
4:2:5
117.3
1236.4
563.8
1082.5
3:2:5
99.1
1045.2
635.5
1220.1
3:1:5
102.6
1081.9
328.9
1486.6
 
สูตรปุ๋ยที่ต้องการ
แม่ปุ๋ย(กรัม)
15-0-0
46-0-0
12-60-0
0-52-34
10-52-17
57.4
262.2
1244.5
1435.9
9-45-15
59.0
288.6
1205.6
1446.8

** ทุกสูตรต้องผสมจุลธาตุรวมสำเร็จรูปอัตรา 100-150 กรัม/สารละลายปุ๋ย 1,000 ลิตร ก่อนนำไปพ่น



แหล่งที่มา : นันทรัตน์ ศุภกำเนิด กลุ่มวิชาการ สถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร โทร 02 9405484 ต่อ 143
เอกสารประกอบ :
http://orchidnet.doae.go.th/home/print_view_word.php?id=54&c=1&d=3






การให้ปุ๋ยกล้วยไม้ 

ธาตุอาหาร

ธาตุอาหารที่จำเป็นสำหรับการเจริญเติบโตของพืช มี 13 ชนิด แบ่งเป็น 3 กลุ่มตามปริมาณพืชที่ต้องการ คือ

               
ธาตุอาหารหลัก พืชต้องการในปริมาณมาก มี 3 ชนิด คือ ไนโตรเจน(N) ฟอสฟอรัส(P) และโปแตสเซียม(K) 
               

ธาตุอาหารรอง
พืชต้องการในปริมาณมากแต่น้อยกว่ากลุ่มแรก มี 3 ชนิด คือ แคลเซียม แคลเซียม(Ca) แมกนีเซียม(Mg) และกำมะถัน(S)
           

จุลธาตุอาหาร
พืชต้องการในปริมาณเล็กน้อยแต่หากขาดก็จะแสดงอาการผิดปกติ มี 7 ชนิด คือ เหล็ก(Fe) แมงกานีส(Mn) สังกะสี(Zn) ทองแดง(Cu)โบรอน(B)โมลิบดีนัม(Mo) และคลอรีน(Ci)


ปุ๋ย หมายถึง สารประกอบทางเคมีที่มีธาตุอาหารที่จำเป็นสำหรับการเจริญเติบโตของพืช ส่วนใหญ่ประกอบด้วยธาตุอาหารหลัก ซึ่งพืชต้องการในปริมาณมากและน้อยในธรรมชาติ 3 ชนิด คือ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโปแตสเซียม สูตรปุ๋ย     

สูตรปุ๋ย หมายถึง เลข 3 จำนวนที่เรียงกันเพื่อบอกปริมาณหรือเปอร์เซนต์ของธาตุอาหาร 3 ชนิดที่มีอยู่ในปุ๋ยนั้น ๆ คือ ไนโตรเจนในรูป N ฟอสฟอรัสในรูป P2O5

เรโช ปุ๋ย                
เรโชของปุ๋ย หมายถึง สัดส่วนของปริมาณธาตุไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโปแตสเซียม ที่มีอยู่ในปุ๋ยนั้น ๆ เช่น ปุ๋ยเรโช 3:2:1 หมายความว่า ปุ๋ยนี้มีไนโตรเจน 3 ส่วน ฟอสฟอรัส 2 ส่วน และโปแตสเซียม 1 ส่วน
               

กล้วยไม้ที่ต่างสกุลหรือต่างพันธุ์หรือพันธุ์เดียวกันแต่ระยะการเจริญเติบโตต่างกัน หรือกล้วยไม้ที่อยู่ในสภาพแวดล้อมแตกต่างกัน จะมีความต้องการปุ๋ยทีมีปริมาณและเรโชของธาตุไนโตรเจน ฟอสฟอรัสและโปแตสเซียมแตกต่างกัน โดยใช้หลักการพิจารณา ดังนี้

1.    ปุ๋ยที่มีเรโชของธาตุไนโตรเจนสูง เช่น 3:1:1 ช่วยเร่งการเจริญเติบโตทางลำดับลำดับมากกว่ารากเหมาะกับลูกกล้วยไม้เล็ก ๆ ที่ต้องการให้ตั้งตัวเร็ว ไม้ที่หั่นแยกลำใหม่ ๆ หรือไม้ใหญ่ที่ทรุดโทรม แต่หากให้ปุ๋ยเรโชนี้เป็นระยะเวลานานเกินไป กล้วยไม้สกุลหวายจะมีการต่อยอด

2.    ปุ๋ยที่มีเรโชของธาตุฟอสฟอรัสสูง เช่น1:3:1 ใช่สำหรับเร่งราก เร่งการออกดอกทำให้ต้นกล้วยไม้ลดความเขียวจัด ไม่อวบน้ำมากเกินไป ทำให้แข็งแรงทนทานต่อโรคและแมลงได้ดีขึ้น เหมาะกับกล้วยไม้ที่เลี้ยงอยู่ในร่มเกินไป จนมีอาการเฝือใบ ใบอวบ ควรใช้กับกล้วยไม้ที่ได้รับปุ๋ยเรโชอื่นมาแล้วเปานปกติแต่อาจจะงามเกินไป ระบบรากไม่แข็งแรง หรือใช้เร่งกล้วยไม้ที่ออกดอกยากให้ออกดอก

3.    ปุ๋ยที่มีเรโชของโปแตสเซียมสูง เช่น  1:1:3 ใช้กับกล้วยไม้ที่ต้องการให้ทนทานต่อสภาพแห้งแล้งได้ดีขึ้น ไม่หยุดชะงักการเจริญเติบโตในฤดูแล้ง โดยควรใช้ก่อนถึงฤดูแล้ง 2-3 เดือน ปุ๋ยนี้ยังช่วยในการเจริญเติบโตของรา ทำให้ดอกมีสีสดและบานทน

4.    ปุ๋ยที่มีเรโชสมดุล เช่น  1:1:1 ใช้กับกล้วยไม้ที่ปลูกในสภาพแวดล้อมี่ถูกต้องและเหมาะสม เหมาะกับกล้วยไม้ที่โตแล้วหรือกำลังจะออกดอก


วิธีการใช้ปุ๋ย
1.    เน้นการให้ปุ๋ยทางราก เพราะปุ๋ยส่วนใหญ่เข้าสู่ต้นกล้วยไม่ทางราก ส่วนใบและยอดอ่อนกล้วยไม้สามารถดูดปุ๋ยเข้าสู่ลำต้นได้บ้างโดยเฉพาะขณะต้นยังมีขนาดเล็ก แต่เมื่อโตขึ้นหากให้ปุ๋ยเฉพาะที่ใบต้นกล้วยไม้จะได้รับาตุอาหารไม่เพียงพอ

2.    ก่อนฉีดพ่นปุ๋ยควรรดน้ำต้านกล้วยไม่ให้ชื้น แล้วจึงฉีดปุ๋ยตาม เพราะปุ๋ยจะแพร่กระจายดีขึ้นและถูกดูดซึมได้ดีขึ้น วิธีนี้ทำน้ำเข้าไปแย่งที่ปุ๋ย หรือรากกล้วยไม้ดูดปุ๋ยน้อยลง เพราะการดูดน้ำและปุ๋ยของต้นกล้วยไม้แยกกันอยู่คนละช่องทาง

3.    หากไม่สามารถให้น้ำก่อนฉีดปุ๋ย ก็ควรฉีดปุ๋ยเป็นละอองทั้งด้านบนและล่างของใบ และฉีดจนกระทั่งเริ่มมีหยดน้ำไหลลงมาจากใบ

4.    แดพ่นปุ๋ยในช่วงเช้าที่มีอุณหภูมิต่ำแดดไม่จัดและความชื้นสัมพัทธ์สูง เพื่อให้ปุ๋ยคงสภาพเป็นสารละลายให้ต้นดูดซึมได้นานที่สุด

5.    ในวันที่ไม่มีแสงแดดไม่ควรใส่ปุ๋ย หากจำเป็นต้องให้ก็ลดความเข้มข้นของปุ๋ยลง

6.   
น้ำที่ใช้ละลายปุ๋ยควรเป็นน้ำสะอาด มีตะกอนน้อยมีสภาพเป็นกรดอ่อนหรือปานกลาง
ปุ๋ยกล้วยไม้ปุ๋ยที่ใช้นี้ เป็นปุ๋ยเกร็ดที่ละลายน้ำได้อย่างรวดเร็วไม่มีตะกอนตกค้างอยู่จึงเป้นเหตุหนึ่งที่ราคาของปุ๋ยกล้วยไม้นั้นมีราคาแพงกว่าปุ๋ยที่ใช้กับต้นไม้อื่นๆ โดยทั่วไปการให้ปุ๋ย ควรให้อย่างอ่อนๆ แต่บ่อยครั้ง ดีกว่าการให้ครั้งละมากๆ

ข้อสำคัญคือ การที่ให้ปุ๋ยได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น อาจต้องตรวจค่ากรด-ด่าง ซึ่งจำเป้นอย่างมาก นั่นคือค่าปุ๋ยเมื่อผสมน้ำแล้วมีค่า PH ไม่เกิน 7.0 หรือเฉลี่ยอยู่ที่ 5.5-6.5 หากเกินกว่านี้ หรือเกิน

7 ปุ๋ยที่ให้ก้อเหมือนกับการรดน้ำเปล่า ทั้งนี้ เพราะปุ๋ยจะแตกตัวไม่ทำงาน เนื่องจากเป็นด่างสูง

ปุ๋ยจะมีแม่ปุ๋ยเป้นตัวหลักอยู่ 3 ตัวฮะ คือ
N =ไนโตเจน
P=ฟอสฟอรัส
K=โพแทสเซียม

ปุ๋ยสำเร็จรูปที่มีขายเพื่อกล้วยไม้ดดยเฉพาะ จะมีช่วงระยะเวลาการใช้งานแตกต่างกันไป เช่น

N-P-K =16-16-16 หรือ 21-21-21 เป้นต้น

และในหน้าฝนห้ามใช้ตัว N สูงเด็ดขาด เพราะในฝนก้อมี N สูงอยู่แล้ว อีกทั้ง การที่ให้ n เพิ่มไปอีกจะส่งผลให้ กล้วยไม้จะต่อยอดเป้นต้น แทนที่จะเป้นช่อดอก และต้นก้อดูไม่แข็งแรง ดังนั้นควรใช้สูตร 16-21-27 หรือ 10-52-17

สำหรับช่วงหน้าหนาวอาจให้ตัวกลางสูง (P)1 สลับบ้าง เพื่อเป้นกระตุ้นให้กล้วยไม้แทงช่อดอก

นักเลี้ยงกล้วยไม้บางราย เมื่อใช้สูตรเสมอในหน้าร้อน จะมีการปรับปรุงพลิกแพลงสูตร โดยเติม K ลงไปอัตรา 1 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ 1ปีบ จะทำให้กล้วยไม้นั้นมีใบหนาแข็งแรงและสภาพต้นดุสมบูรณ์

สำหรับกรณีที่ไม่ใช่กล้วยไม้ ก้ออาจจะใช้ปุ๋ยไนโตรเจนใส่ ซึ่งขอแนะนำว่าการใช้ไนดตรเจนที่ทำจากไนเตรดจะดีกว่าไนดตรเจนที่ทำจากยูเรีย เพราะจะละลายน้ำได้เร็ว
สวัสดีครับเพื่อนๆ สมาชิก จากนี้ไปถึงปายปีและต้นปีหน้าจะเป็นฤดูหลักที่กล้วยไม้ส่วนมากจะให้ดอกสวยๆ หอมๆ มาชื่นชมกันแล้วนะครับ ดังนั้นเราเลยตัดสินใจเอาเรื่องของการให้ปุ๋ยมาแบ่งปันกันก่อนเพื่อบำรุงกล้วยไม้ในสวนให้พร้อมเต็มที่ครับ พอถึงเวลาจะได้แทงดอกมาให้ชมไม่ใช่มีแค่ซองหลอกครับ

การให้ปุ๋ยของผลจะเน้นไปที่แคทลียาเป็นหลักนะครับ และรูปแบบนั้นได้สอบถามจากผู้เชี่ยวชาญทั้งที่ทำสวนเป็นธุรกิจและงานอดิเรกครับ จากนั้นก็มาปรับใช้แบบบ้านๆ ของผมเอง โดยเน้นที่ความสะดวกเป็นหลักเพราะเนื่องจากงานประจำของผมที่ทำให้มีเวลาจำกัดครับ

มาเริ่มกันเลยนะครับ

เริ่มแรกก็ต้องคุยไปที่การจัดที่จัดทางของเค้าก่อน เราควรแยกกล้วยไม้ตามอายุตามขนาดของเค้าให้อยู่ในพื้นที่เดียวกันครับ เพราะแต่ละขนาดนั้นต้องการการดูแลที่ต่างกัน โดยผมจะแบ่งเป็น 5 กลุ่มหลักๆ ดังนี้

1. ไม้ตระกร้า ไม้นิ้ว
2. ไม่รุ่น
3. ไม้พร้อมให้ดอก (ไม้ที่ใกล้ให้ดอก)
4. ไม้ที่ให้ดอกแล้ว ไม้พักฟื้น
5. กลุ่มอื่นๆ เช่น ไม้แบ่งลำ, ไม้ดอกกำลังบาน ฯลฯ

การแบ่งพื้นที่แบบนี้ทำให้ง่ายต่อการดูแลครับ ไม่ว่าจะเป็นการให้ปุ๋ย ยากันรา ฯลฯ เพราะแต่ละแบบนั้นมีความต้องการอาหารต่างๆ กันไป (ถ้าให้ดีและมีพื้นที่พอควรแบ่งตามประเภทด้วย เพราะไม้แต่ละประเภทก็ต้องการสื่งแวดล้อมต่างกัน เช่น แวนด้า ช้าง ที่มักไม่นิยมใช้เครื่องปลูกจึงจะต้องให้ความชื้นค่อนข้างมาก แคทลียามีเครื่องปลูกถ้าชื้นมากก็เป็นโรคง่าย ) จากนั้นก็มาดูการให้ปุ๋ย ดังนี้

ไม้นิ้ว ไม้เล็กๆ - ใช้ปุ๋ยเกล็ดสูตรตัวหน้าสูง เช่น 30-20-10 ฉีดพ่น (มีพ่นปุ๋ยยูเรีย 40-0-0 สลับ 1 ครั้งต่อเดือน) ยกเว้นในหน้าฝนจะงดยูเรียเนื่องจากในฝนมีไนโตรเจนเยอะอยู่แล้ว

ไม่รุ่น - ใช้สูตรเสมอ เช่น 21-21-21 หรือ 20-20-20

ไม้พร้อมให้ดอก (ไม้ที่ใกล้ให้ดอก) - ใช้ปุ๋ยตัวกลางสูงและหลังสูง

ไม้ที่ให้ดอกแล้ว ไม้พักฟื้น - ใช้สูตรเสมอ เช่น 21-21-21 หรือ 20-20-20 จนกระทั่งใกล้จะแทงซองใหม่จึงเปลี่ยนมาใช้ตัวกลางสูงและหลังสูงอีกที

นอกจากนี้ยังมีการพ่นปุ๋ยบำรุงใบ ไคโตรซาน B1 สารอาหาร ฯลฯ เพิ่มบ้างตามโอกาสครับ

ที่สำคัญการให้ปุ๋ยในช่วงที่กำลังแทงดอกหรือให้แทงดอกมากแล้วนั้น จะไม่ได้ผลเพราะเนื่องจากกล้วยไม้ดูดซึมได้ก็จริงแต่เอาไปใช้ไม่ทันที่ดอกจะบาน ดังนั้นการให้ปุ๋ยที่ดีควรจะต้องให้อย่างถูกต้องและเหมาะสมครับ

เพิ่มเติม
1. ไม่ควรผสมเกินอัตราส่วนที่ระบุเพระอาจจะทำให้ใบไหม้ได้
2. ไม่ควนพ่นโดนดอก (แม้แต่น้ำ) เพราะจะทำให้ดอกเฉาเร็วขึ้น
3. ควนพ่นในช่วงเช้าก่อนที่แดดจะแรง ประมาณ 6 – 9 โมง เพราะกล้วยไม้จะนำไปสังเคราะห์แสงได้เต็มที่ (ยากันราพ่นเย็นหรือกลางคืนเพราะว่ายาจะร้อน กลางคืนอากาศเย็นจะช่วยกล้วยไม้ได้ดี)
4. การพ่นยากับปุ๋ย สามารถผสมพ่นร่วมกันได้แต่ไม่แนะนำ เพราะเป็นเคมีทั้งคู่ซึ่งอาจจะทำปฎิกริยาแล้วเป็นพิษต่อกล้วยไม้ได้
5. Safety First อย่าลืมใส่หน้ากากป้องกันทุกครั้งเวลาฉีดพ่น เสร็จแล้วให้ชำระร้างให้สะอาด และที่สำคัญให้ศึกษาคำแนะนำในฉลากอย่างละเอียด โดยเฉพาะการปฐมพยาบาลเบื้องต้นครับ “อุบัติเหตุเกิดได้เสมอแม้ไม่ประมาท”
ปุ๋ยสำหรับกล้วยไม้สกุลแวนด้านั้น เราจะเน้นสูตร16-21-27เป็นหลัก โดยจะใช้ปุ๋ยสูตร16-21-27 +ยาเร่งราก เช่น วิตามินB1 ฉีดพ่น อาทิตย์ละ 1ครั้ง โดยจะฉีดพ่นปุ๋ยสูตร 16-21-27  2-3ครั้ง สลับกับ ปุ๋ยสูตรเสมอ 1 ครั้ง วนไปเรื่อยๆพอกล้วยไม้สมบูรณ์เต็มที่แต่ยังไม่ให้ดอกให้ฉีดพ่นปุ๋ยสูตร 16-21-27 อาทิตย์ละ1ครั้ง 2-3ครั้งสลับกับ ปุ๋ยสูตร 10-52-17+ยาเร่งราก  1-2 ครั้ง จนออกดอกบานครับ กล้วยไม้สกุลแวนด้าก็จะออกดอกมาให้ชมได้เรื่อยๆครับ

http://www.hangchang.cc.cc/store_user_menu.php?no=17253







หน้าก่อน หน้าก่อน (5/6)


สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-05-10 (29263 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©