-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 593 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

ไม้ดอก-ไม้ประดับ




หน้า: 2/6



องอาจ ตัณฑวณิช ชมรมกล้วยไม้ปากช่อง www.ongart04@yahoo.com

เหลืองจันทบูร สวยงาม ล้ำค่า

แถบจังหวัดทางภาคตะวันออก ซึ่งมีจังหวัดจันทบุรี ระยอง ตราด เป็นพื้นที่ติดชายฝั่งทะเลมีความชุ่มชื้นสูง ปริมาณฝนในภาคนี้จะมากถึง 2,858 มิลลิเมตร ต่อปี ซึ่งสูงกว่าภาคอื่น การเกษตรกรรมของภาคนี้จะเป็นพืชสวนเสียส่วนใหญ่ จึงทำให้พื้นที่มีความชุ่มชื้น เหมาะสำหรับกล้วยไม้หลากหลายชนิดที่ขึ้นตามต้นไม้ในธรรมชาติ และส่วนหนึ่งยังอาศัยบนต้นไม้เศรษฐกิจที่ชาวบ้านปลูกอีก เช่น ต้นเงาะ ต้นทุเรียน โดยเฉพาะในสวนผลไม้ที่มีอายุหลายสิบปี เราจะเห็นกล้วยไม้อิงอาศัยชนิดต่างๆ ติดอยู่ตามต้นระเกะระกะไปหมด ยิ่งกล้วยไม้สกุลหวาย (Dendrobium) เช่น เหลืองจันทบูร (Dendrobium friedericksianum) เอื้องดอกมะเขือ (Dendrodium hercoglossum) ในสมัยนั้นกล้วยไม้ดังกล่าวมีมากมายในสวน ซึ่งชาวสวนบางส่วนคิดว่าเป็นกาฝากที่ทำให้ต้นไม้ทรุดโทรมไปด้วยซ้ำ

จึงได้สอยลงมาปลูกเล่นไว้ตามบ้าน ใครมาขอก็ให้ไปโดยไม่เห็นความสำคัญ ต่อมาปริมาณเหลืองจันทบูร จึงหายไปจากสวนผลไม้ เนื่องจากเหลืองจันทรบูรตอนออกดอกมีความสวยงามโดดเด่น มีคนต่างถิ่นที่รักกล้วยไม้มาซื้อหา ความสำคัญของเหลืองจันท์ในวงการกล้วยไม้มีมากขึ้น ซึ่งในปัจจุบันถือเป็นกล้วยไม้ที่หายาก

ต้นของเหลืองจันท์จะเหมือนต้นของหวายตัดดอกทั่วๆ ไป ยาว 40- 60 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 1-1.5 เซนติเมตร ต่างกับหวายทั่วไปคือ เหลืองจันท์จะห้อยต้นลงไม่ตั้งขึ้น เมื่อถึงหน้าฝนจะแตกลำใหม่ออกมา มีใบขนาดไม่ใหญ่ตามข้อปล้อง เมื่อเริ่มเข้าฤดูหนาว ต้นจะเริ่มทิ้งใบและแตกตาดอกแล้วจะเริ่มบานดอกในเดือนกุมภาพันธ์ถึงมีนาคมของทุกปี เป็นวัฐจักรเรื่อยไป ลำต้นไหนออกดอกแล้วจะไม่อีก ในปีต่อไปการออกดอกจะเป็นหน้าที่ของลำต้นใหม่ที่เจริญเติบโตในฤดูกาลนั้นๆ การอาศัยอยู่ในถิ่นธรรมชาติ เหลืองจันทบูรเป็นกล้วยไม้ที่พบครั้งแรกในจังหวัดจันทบุรี พบในบริเวณป่าดิบชื้น มีลักษณะค่อนข้างโปร่ง แสงแดดส่องถึง ไม่มีต้นไม้ขึ้นหนาแน่นมาก พบทั่วไปทั้งเชิงเขาและยอดเขา ทางทิศตะวันออกและทิศตะวันตกจะพบมาก เนื่องจากแสงแดดส่องตรง ส่วนทางทิศใต้และเหนือพบน้อยมาก เหลืองจันท์ที่พบในธรรมชาติจะพบที่กิ่งขนาดใหญ่ที่ยื่นออกมาจากลำต้น ซึ่งสามารถรับแสงแดดได้เต็มที่ ส่วนใดที่มีลักษณะทึบจะไม่พบเห็นเหลืองจันท์ ในป่าธรรมชาติเหลืองจันท์จะเกาะไม้แทบทุกชนิด ส่วนในสวนผลไม้มักจะพบว่าเหลืองจันท์จะเกาะในสวนทุเรียนมากกว่าสวนเงาะ อาจจะเป็นเพราะว่าทรงพุ่มของต้นทุเรียนค่อนข้างโปร่งกว่าต้นเงาะ และเท่าที่มีการสำรวจกัน เหลืองจันท์มีถิ่นอาศัยเหนือระดับน้ำทะเลไม่เกิน 500-600 เมตร เนื่องจากบริเวณเขาสอยดาวในจังหวัดจันทบุรีมีความสูงเหนือระดับน้ำทะเล 700-800 เมตร ไม่ปรากฏว่าพบต้นเหลืองจันท์ในระดับความสูงขนาดนั้นเลย

งานอนุรักษ์เหลืองจันท์
เริ่มต้นจาก ปี 2542 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตจันทบุรี ได้อนุรักษ์เหลืองจันท์โดยการเริ่มปลูกเลี้ยงในแปลงของมหาวิทยาลัยก่อน จากการดูแลเป็นอย่างดี ทำให้เหลืองจันท์เติบโตได้ดีเหมือนในธรรมชาติ ตามที่ได้คาดหวังไว้ มหาวิทยาลัยจึงผสมพันธุ์เหลืองจันท์โดยคัดเลือกแต่ละต้นที่มีความโดดเด่น เช่น ต้นแม่ที่มีฟอร์มดอกสี ช่อแน่น และต้นพ่อที่มีสีเหลืองเข้มมาผสมพันธุ์กัน เพื่อให้ได้ลูกไม้ที่มีความโดดเด่นทั้งของต้นพ่อและต้นแม่รวมกัน ทั้งนี้ จะไม่ได้หมายความว่าจะได้ลูกไม้ที่ดีทุกต้น แต่ในจำนวนหนึ่งจะได้ต้นที่มีความสวยงามโดยช่อดอกแน่น ฟอร์มดอกสวย รวมทั้งสีที่เหลืองเข้ม ซึ่งจะถูกนำมาเป็นพ่อแม่พันธุ์ที่ดีในรุ่นต่อๆ ไป ในการคัดเลือกพันธุ์ที่ดีของเหลืองจันท์จะทำให้เราไม่ต้องไปรบกวนกล้วยไม้ในธรรมชาติจนสูญพันธุ์

ดอกเหลืองจันทบูรในธรรมชาติจะแบ่งเป็นสองแบบ คือ เหลืองปลอด กับ เหลืองจุด หรือที่ชาวบ้านแถบเมืองจันท์เรียกว่า นกขมิ้น ซึ่งหมายถึง เหลืองจันทบูร ที่ดอกเหลืองแล้วตรงกลางดอกจะมีจุดหนึ่งหรือสองจุด

เป็นที่น่ายินดียิ่งที่หน่วยราชการท้องถิ่น เช่น องค์การบริหารส่วนจังหวัดจันทบุรี ให้ความสำคัญต่อการอนุรักษ์กล้วยไม้ประจำถิ่น เช่น เหลืองจันทบูร ได้อนุเคราะห์เรื่องงบประมาณส่วนหนึ่งให้กับสถาบันการศึกษาในการอนุรักษ์ ซึ่งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตจันทบุรี ได้นำมาเป็นค่าใช้จ่ายในห้องปฏิบัติการ เพื่อเพาะฝักกล้วยไม้และเลี้ยงดูต้นกล้าจนกระทั่งสามารถนำไปปลูกเลี้ยงได้ โดยส่วนใหญ่ส่วนราชการ โรงเรียน หรือวัด จะเป็นผู้ขอต้นกล้ากล้วยไม้เพื่อนำไปปลูกเลี้ยง เช่น ไปติดกับต้นไม้ที่ปลูกเลี้ยงไว้ ซึ่งจะขอได้จากวิทยาเขตจันทบุรี หรือผ่านหน่วยงาน อบจ.จันทบุรี หรือ ผศ.ดร สาโรจน์ ประเสริฐศิริวัฒน์ หัวหน้าโครงการ

ชมรมกล้วยไม้เมืองจันท์ โดย พลเรือเอกวสินธ์ สาริกะภูติ ประธานชมรม พร้อมกับคณะกรรมการชมรมได้มีส่วนช่วยในการประกวดและอนุรักษ์เหลืองจันท์เป็นอย่างมาก เพราะงานประกวดเป็นการกระตุ้นให้ประชาชนชาวจันทบุรีและจังหวัดใกล้เคียงมีความรู้สึกรักและหวงแหนในกล้วยไม้ประจำถิ่น ซึ่งถือว่าเป็นกล้วยไม้ประจำจังหวัดก็ว่าได้ ชมรมได้มีการประสานสมาคมและชมรมกล้วยไม้ทั่วประเทศนำกล้วยไม้ต่างๆ ชนิดกันมาประกวดกันในงานนี้ ซึ่งตลอดเวลาชมรมกล้วยไม้เมืองจันท์ได้มีการนำเหลืองจันท์ที่เพาะเลี้ยงโดยสมาชิกชมรมและกล้วยไม้อื่นๆ โดยเฉพาะกล้วยไม้พันธุ์แท้ไปปล่อยคืนสู่ป่า ซึ่งมักจะเป็นโรงเรียน สถานที่ราชการ วัดวาอารามต่างๆ ในจังหวัดจันทบุรี

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตจันทบุรี ร่วมกับชมรมกล้วยไม้จันทบุรี จัดงานเพื่ออนุรักษ์และประกวดประขันเหลืองจันทร์กับกล้วยไม้อื่น ในชื่องานว่า รักษ์เหลืองจันท์ ในทุกวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ของทุกปี ปีที่ผ่านมาจัดงานขึ้นระหว่าง วันที่ 12-16 กุมภาพันธ์ 2553 ที่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตจันทบุรี ในการจัดงานประกวดโดยปกติ จะจัดงาน 4-5 วัน ตอนจบจะเป็นวันเสาร์-อาทิตย์ และในวันที่มีการประกวดกล้วยไม้ จะมีกำหนด 2 วัน ในวันเสาร์และอาทิตย์ เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่นักกล้วยไม้ต่างจังหวัดที่นำกล้วยไม้มาประกวด กล้วยไม้ที่จะส่งประกวดนั้นจะส่งได้ในวันเสาร์ ตั้งแต่เวลา 08.00-13.00 น แต่ในปีนี้เนื่องจากวันประกวดตรงกับวันไหว้เจ้าในเทศกาลตรุษจีนของพี่น้องชาวไทยเชื้อสายจีน จึงเปลี่ยนเป็นวันอาทิตย์แทน แล้วให้เก็บกล้วยไม้ที่นำมาประกวดคืนในวันจันทร์หลังจากหมดเวลารับกล้วยไม้ประกวดแล้ว กรรมการแยกกล้วยไม้จะทำหน้าที่แยกชุดและประเภทกล้วยไม้ต่างๆ ตามที่ได้กำหนดไว้ แต่ก็มีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสมตามกล้วยไม้ประเภทต่างๆ ที่นำมาประกวดจริง และในแต่ละประเภทจะแบ่งเป็นชุดๆ ในแต่ละชุดจะต้องมีไม้คุณภาพพอที่จะประกวดได้จำนวนไม่ต่ำกว่า 5 ต้น ถ้าน้อยกว่านี้ก็อยู่ที่คณะกรรมการจะพิจารณาตามความเหมาะสม ในปีนี้คณะกรรมการจัดงาน แบ่งกล้วยไม้เป็น 120 ชุด 17 ประเภท เช่น แคทลียา แวนด้า หวาย รองเท้านารี กล้วยไม้ดิน เป็นต้น

การแบ่งชุดเหลืองจันทบูร
การแบ่งชุดในประเภทของการประกวด เฉพาะเหลืองจันทบูรมีดังนี้
1. กอใหญ่ (เหลืองปลอด)
2. กอกลาง (เหลืองปลอด)
3. กอเล็ก (เหลืองปลอด)
4. ช่อแรก (เหลืองปลอด)
5. กอใหญ่ (นกขมิ้น/เหลืองจุด)
6. กอกลาง (นกขมิ้น/เหลืองจุด)
7. กอเล็ก (นกขมิ้น/เหลืองจุด)
8. ช่อแรก (นกขมิ้น/เหลืองจุด)
9. ดอกคุณภาพ (เหลืองปลอด)
10. ดอกคุณภาพ (นกขมิ้น/เหลืองจุด)
11. ดอกคุณภาพ (เหลืองปลอด)
12. กอใหญ่พิเศษ (เหลืองปลอดและเหลืองจุด)

โดยทั้ง 12 ชุด จะนำเฉพาะที่ 1 ของแต่ละชุด มาตัดสินยอดเยี่ยมประเภทอีกครั้ง ต้นที่สวยที่สุดจะได้รางวัลอีก 1 รางวัล คือ รางวัลยอดเยี่ยมประเภท โดยปกติงานประกวดกล้วยไม้ จะนำต้นที่ได้รางวัลยอดเยี่ยมประเภทของทุกประเภทมาตัดสินหาต้นยอดเยี่ยมของงาน (Best of Show) โดยปกติจะมี 1-2 รางวัล ถ้ามี 2 รางวัล มักจะแยกเป็น พันธุ์แท้ (Specice) 1 รางวัล และลูกผสม (Hybird) 1 รางวัล แต่ถ้าเป็นงานที่มีจุดประสงค์อนุรักษ์กล้วยไม้ชนิดใดชนิดหนึ่ง แบ่งเป็น 2 รางวัลยอดเยี่ยมงานเช่นกัน แต่จะแบ่งเป็นยอดเยี่ยมงานทั่วไป กับยอดเยี่ยมงานชนิดของกล้วยไม้ที่ต้องการอนุรักษ์ เพราะฉะนั้นในงานรักษ์เหลืองจันท์ จึงมียอดเยี่ยมงานประเภททั่วไป กับยอดเยี่ยมงานประเภทเหลืองจันท์ ซึ่งเป็นไฮไลต์ของงาน ในการประกวดครั้งนี้มีกล้วยไม้เข้าประกวดน้อยกว่าปีที่แล้วเล็กน้อย เนื่องจากสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงมาก จนทำให้กล้วยไม้ออกดอกได้ไม่ปกติ แต่จำนวนเหลืองจันท์ที่เข้าประกวดก็มากถึง 200 ต้น ส่วนกล้วยไม้อื่นประมาณ 950 ต้น จำนวนกล้วยไม้ที่ส่งเข้าประกวดในงานนี้จึงมีถึง 1,150 ต้น บรรยากาศของการประกวดงานรักษ์เหลืองจันท์ไม่ค่อยเหมือนกับการประกวดที่อื่น เพราะเราจะเห็นชาวบ้านซึ่งไม่ใช่เป็นนักกล้วยไม้โดยตรง แต่ละคนมีเหลืองจันท์ที่บ้านคนละ 5 ต้น 10 ต้น ก็ยกเหลืองจันท์มาประกวดกันคนละต้นสองต้นโดยไม่หวังผลว่าจะแพ้หรือชนะ เหมือนเป็นการอวดเหลืองจันท์กันมากกว่า บรรยากาศการประกวดกล้วยไม้จึงแตกต่างออกไปจากการประกวดกล้วยไม้ที่อื่น

แนวทางในการอนุรักษ์ พันธุ์กล้วยไม้ท้องถิ่น
ความร่วมมือกันระหว่างมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีตะวันออก วิทยาเขตจันทบุรี ชมรมกล้วยไม้เมืองจันท์ และองค์การบริหารส่วนจังหวัดจันทบุรี เพื่ออนุรักษ์พันธุ์กล้วยไม้ท้องถิ่นเหลืองจันทบูรเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงความหวงแหนทรัพยากรของท้องถิ่น โดยไม่หักหาญน้ำใจใคร เพราะเมื่อได้พัฒนาจนเหลืองจันท์มีความสวยงามแล้ว และมีต้นกล้าเหลืองจันท์มากมายพอที่จะปลูกให้ทั่วเมืองจันท์ ยังจะมีใครไปนำเหลืองจันท์ออกจากป่าโดยการรังแกธรรมชาติอีก นับว่าน่าถือเอาเป็นแบบอย่างแก่ท้องถิ่นต่างๆ ที่ชื่อกล้วยไม้เป็นชื่อที่พ้องกับชื่อท้องถิ่น เช่น เหลืองปราจีน แดงอุบล (ชื่อกล้วยไม้น่ะครับ ไม่ใช่สีเสื้อ)

ความพร้อมของหน่วยงานดังกล่าวเหล่านี้ จากประสบการณ์ที่จัดงานมา 9 ปี นับว่ามีประวัติยาวนาน จึงสามารถจัดงานประกวดกล้วยไม้แห่งชาติซึ่งเลิกรามาตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2544 ได้อย่างสมบูรณ์ แต่เป็นที่น่าเสียดายที่หน่วยงานระดับจังหวัดไม่เห็นด้วยตามที่ขออนุมัติ จึงทำให้ประชาชนทั่วประเทศไม่ได้เห็นงานกล้วยไม้แห่งชาติที่เลิกราไป 9 ปีแล้ว ที่เมืองจันท์ คงเป็นอย่างที่เค้าว่ากันว่า "เมืองจันท์ไม่สนับสนุนไม้ดอก สนับสนุนแต่ไม้แด"


เหลืองจันทบูร
ชื่อสามัญ Dendrobium friedericksianum Rchb.f.

ประเภท กล้วยไม้กึ่งอากาศ/อิงอาศัย

ฤดูดอก เดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม

จำนวนดอกในช่อ 2-4 ดอก (แต่ละลำมีหลายช่อดอก)

วัสดุปลูก ถ่าน/กาบมะพร้าว/รากเฟิร์น/เกาะท่อนไม้

แสง แดดรำไร-แดดจัด

การขยายพันธุ์ เพาะเมล็ด/ปั่นตา

แหล่งอาศัยในธรรมชาติ ป่าดิบชื้นทางภาคตะวันออก

แหล่งที่พบในประเทศไทย จันทบุรี ระยอง ตราด

สถานที่ปลูกเลี้ยง ปลูกเลี้ยงได้ทุกภาค

สถานภาพ ใกล้สูญพันธุ์ในธรรมชาติ แต่มีการขยายพันธุ์ทั้งเพื่อการอนุรักษ์และการค้ากันอย่างกว้างขวาง
เขตการกระจายพันธุ์ พบเฉพาะในประเทศไทย


ที่มา  :  เทคโนโลยีชาวบ้าน







กิฎากรส์ ki_dakon@hotmail.com

บางกอก ฟลาวเวอร์ เซ็นเตอร์ กล้วยไม้เพื่อการส่งออกครบวงจร

ทุกครั้งที่ได้ฟัง ศ.ระพี สาคริก บิดาแห่งวงการกล้วยไม้เมืองไทยเล่าถึงวันวานของกล้วยไม้ในอดีต ภาพที่เกิดขึ้นในจินตนาการมองเห็นเพียงดอกไม้กลีบงามที่ประดับประดาในรั้วบ้านเศรษฐี เพราะเมื่อก่อนกล้วยไม้ในเมืองไทยนั้นมีแต่กลุ่มศักดินาเท่านั้นที่นำกล้วยไม้มาปลูกเลี้ยงเล่นเป็นงานอดิเรก ทั้งวิชาความรู้ในทุกด้านของกล้วยไม้ยังถูกจำกัดไว้ในวงแคบ

คงไม่ผิดนัก หากจะกล่าวว่า เพราะความมุ่งมั่นบนพื้นฐานของความเสียสละของ ศ.ระพี เพื่อการพัฒนาวงการกล้วยไม้เมืองไทย ส่งผลให้ในปัจจุบันผู้คนทั่วโลกหันมาให้ความสนใจกับกล้วยไม้ไทย จนกลายเป็นพืชเศรษฐกิจที่มีมูลค่าหลายพันล้านบาท ซึ่งมากกว่าพืชเศรษฐกิจอื่นๆ หลายชนิด ทั้งกลุ่มผู้ปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ก็ขยายวงกว้างมากขึ้น ไม่จำกัดเพียงคนฐานะสูงเช่นอดีต ก่อเกิดเป็นธุรกิจส่งออกกล้วยไม้ที่ทั่วโลกจับตามอง

บริษัท บางกอก ฟลาวเวอร์ เซ็นเตอร์ จำกัด หรือ บีเอฟซี (BFC) นับเป็นเอกชนรายหนึ่งที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงในการประกอบธุรกิจส่งออกกล้วยไม้ที่สั่งสมประสบการณ์มานานกว่า 40 ปี มีจุดเริ่มต้นจากการรวมกลุ่มของเกษตรกรจนกลายเป็นเครือข่ายธุรกิจกล้วยไม้ส่งออกที่ใหญ่ที่สุดของไทย ด้วยจำนวนสมาชิกกว่า 300 ราย ปัจจุบัน มีศูนย์รวบรวมผลผลิตและบรรจุสินค้าส่งออกในย่านถนนเพชรเกษม แขวงหนองค้างพลู เขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร บนพื้นที่กว่า 22 ไร่

"บีเอฟซี ดำเนินกิจการด้านการส่งออกกล้วยไม้ไปต่างประเทศ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2512 จนถึงปัจจุบัน เราเกิดจากการรวมกลุ่มโดยเกษตรกรที่ต้องการปลูกกล้วยไม้เพื่อการส่งออก ซึ่งขณะนั้นเริ่มมีตลาดต่างประเทศหันมาให้ความสนใจมาก จนปัจจุบันเราสามารถขยายตลาดจากยุโรป อเมริกา กระจายสู่เอเชีย ทั้งในญี่ปุ่น เกาหลี จีน และขยายตลาดสู่ประเทศในกลุ่ม OPEC ทั้งหมด ซึ่งปริมาณการส่งออกเพิ่มมากขึ้น ตอนนี้ถือได้ว่าบริษัทเราเป็นเจ้าของธุรกิจส่งออกกล้วยไม้ที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย" คุณวัชระ ทรัพย์สมบูรณ์ ผู้จัดการฝ่ายขายต่างประเทศของ บีเอฟซี กล่าวถึงจุดเริ่มต้น

ไม่เพียงระยะเวลาอันยาวนานบนเส้นทางกล้วยไม้ บีเอฟซี ยังมีกระบวนการผลิตกล้วยไม้ส่งออกแบบครบวงจร แม้จะไม่มีแปลงปลูกในนามของบริษัทเอง เนื่องจากรับกล้วยไม้จากเกษตรกรสมาชิกที่กระจายตามจังหวัดราชบุรี นครปฐม สุพรรณบุรี และเขตหนองแขมในกรุงเทพฯ แต่ บีเอฟซี ก็มีการจัดการอย่างเป็นระบบบนพื้นที่ใช้สอยที่มีอยู่อย่างจำกัด ประกอบด้วย ห้องแล็บใช้สำหรับเพาะเนื้อเยื่อ ห้องคัดดอกกล้วยไม้ ห้องบรรจุภัณฑ์ แปลงสาธิตเปิดราว 2 ไร่ และแปลงระบบปิดหรืออีแว้ป สำหรับกล้วยไม้ในขวดอีก 5 ไร่ มีกล้วยไม้สกุลต่างๆ เช่น สกุลหวาย คัทลียา ฟาแลนนอปซีส แวนด้า ออนซิเดียม ฯลฯ รวมถึงไม้ประดับ อาทิ อะโกลนีมา หมากผู้ หมากเมีย และดอกหน้าวัว เป็นต้น

คุณวัชระ บอกว่า ประเทศไทยยังเป็นผู้ส่งออกกล้วยไม้อันดับ 1 ของโลก การผลิตในประเทศอื่นๆ ยังมีต้นทุนที่สูงกว่า ในแต่ละปีตลาดกล้วยไม้มีการเติบโตราว 10% แต่เนื่องจากในปีที่ผ่านมา เกิดปัญหาด้านสภาพอากาศ ทำให้ปริมาณการส่งออกลดลง แต่มูลค่าการส่งสูงขึ้นตามหลักของดีมานด์ ซัพพลาย แต่เนื่องจากออเดอร์ของลูกค้าต่างประเทศ ต้องการกล้วยไม้มากถึง 20,000-3 0,000 ช่อ ต่อราย แต่ทางบริษัทสามารถรวบรวมผลผลิตจากเกษตรกรสมาชิกได้เพียง วันละ 10,000 ช่อ ต่อวันเท่านั้น บีเอฟซี จึงต้องมีการวางแผนการจัดการผลิตอย่างรอบคอบ และเก็บรักษากล้วยไม้ให้คงสภาพไว้ให้นานที่สุด โดยนำเทคโนโลยีต่างๆ มาปรับใช้ ทั้งวัสดุอุปกรณ์ และเทคนิควิธีการ อาทิ แช่น้ำยายืดอายุดอกกล้วยไม้อย่างน้อย 10 ชั่วโมง หลังการเก็บเกี่ยว ความพิถีพิถันในการคัดเลือกคุณภาพดอก (โดยเฉพาะเรื่องกลีบบานที่จะส่งไป อียู ในแต่ละช่อต้องมีดอกบานอย่างน้อย 4 ดอก) การเก็บรักษาและบรรจุภายในห้องเย็น ที่มีอุณหภูมิไม่เกิน 10-12 องศาเซลเซียส ที่สำคัญคือ ใช้วิธีการจุ่มน้ำยาแทนการรมยา เพราะก๊าซและความร้อนจากการรมยามีผลต่อความคงทนของดอกกล้วยไม้มาก เป็นต้น

คุณวัชระ ย้ำว่า นอกจากเงื่อนไขหรือข้อห้ามของแต่ละประเทศคู่ค้าที่กำหนดมาแล้ว บีเอฟซี จะยึดแนวทางกระบวนการผลิตตามมาตรฐาน เพื่อควบคุมคุณภาพและป้องกันการกีดกันทางการค้า โดยเฉพาะประเทศคู่ค้าในตลาด อียู ที่ค่อนข้างจะเข้มงวดทั้งเรื่องสารเคมี แมลงศัตรูพืช และเงื่อนไขด้านสิ่งแวดล้อม โดยใช้มาตรฐานกล้วยไม้และระบบการผลิต ภายใต้ตราสัญลักษณ์ Q ที่สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ประกาศใช้ ประกอบด้วยมาตรฐานจำนวน 3 เรื่อง ได้แก่ มาตรฐานฯ ช่อดอกกล้วยไม้ (มกษ.5001-2552) มาตรฐานฯ การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับกล้วยไม้ตัดดอก (มกษ.5501-2552) และมาตรฐานฯ การปฏิบัติที่ดีสำหรับโรงคัดบรรจุดอกกล้วยไม้ (มกษ.5502-2552)

"ปัญหากีดกันทางการค้าโดยภาพรวมแล้ว ยังไม่พบ แต่การกำหนดมาตรการส่งออกของ อียู ที่มีเงื่อนไขเพิ่มขึ้น เช่น การกำหนดจำนวนดอก การควบคุมการใช้สารเมทิลโบรไมด์ และมีการตรวจสอบด้านการเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ยังคงเป็นโจทย์ที่ต้องปรับปรุงต่อไป แต่ที่ยังเป็นข้อจำกัดของการส่งออกมากก็คือ ปัญหาเรื่องเพลี้ยไฟ เนื่องจากสภาพอากาศของประเทศไทยเอื้อต่อการระบาดของเพลี้ยไฟมาก หากประเทศคู่ค้ามีการตรวจสอบพบก็ต้องมีค่าใช้จ่ายในการกำจัดระหว่างขนส่งมาก ปัจจุบัน ทางบริษัทพยายามประสานกับกรมวิชาการเกษตรและปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญเพื่อแก้ไขปัญหานี้โดยตลอด แต่เนื่องจากสินค้าของเรามีคุณภาพได้มาตรฐาน จึงไม่มีผลกระทบด้านลบมากนัก" คุณวัชระ กล่าว

กล้วยไม้สกุลหวาย คือสินค้าที่ บีเอฟซี ตัดดอกส่งออกมากที่สุด เนื่องจากกล้วยไม้สกุลนี้ออกดอกตลอด สียอดนิยมคือ สีขาว ม่วง ชมพู ขณะที่กล้วยไม้บางสกุลจะออกปีละ 1-2 ครั้ง เท่านั้น และราคาสูง โดยเฉพาะมอคคาร่าและแวนด้า แต่ในขณะเดียวกัน แวนด้าก็เป็นที่ต้องการของตลาดเฉพาะกลุ่ม เกิดการแข่งขันในวงแคบ เนื่องจากปริมาณดอกมีอยู่อย่างจำกัด แต่เป็นที่ต้องการของกลุ่มประเทศตะวันออกกลาง เพื่อใช้ในงานพิธีแต่งงาน ชาวตะวันออกกลางต้องใช้แวนด้าสีม่วงในงานเท่านั้น

นอกจากล้วยไม้ตัดดอก บีเอฟซี ยังมีกล้วยไม้กระถางส่งจำหน่ายไปยังกลุ่มประเทศต่างๆ ซึ่งตลาดกลุ่มนี้อาจเป็นผลมาจากการที่ บีซีเอฟ สนับสนุนกล้วยไม้นานาชนิดไปประดับตกแต่งอาคารสถานที่ในสถานทูตต่างๆ เสมือนเป็นการประชาสัมพันธ์ไปในตัว แต่สินค้าที่กลุ่มลูกค้าทั่วโลกกำลังให้ความสนใจอย่างมากก็คือ กล้วยไม้บรรจุขวด โดย บีซีเอฟ มีการแยกโรงเรือนเพาะกล้วยไม้ในขวดไว้อย่างดี บนพื้นที่ราว 5 ไร่

"เป็นการขยายผลจากที่บริษัทเพาะเนื้อเยื่อกล้วยไม้สกุลต่างๆ ในขวด ซึ่งเป็นที่ต้องการของลูกค้าในต่างประเทศที่ต้องการกล้วยไม้ไปปลูกเลี้ยงต่อเนื่องจะสามารถประหยัดต้นทุนการขนส่งลงไปได้มาก อย่างกล้วยไม้ 1 ขวด จะมีต้นกล้าของกล้วยไม้ 40 ต้น จึงใช้พื้นที่ในการขนส่งน้อยกว่าการส่งแบบกระถางหลายเท่า กล้วยไม้ในขวดที่ว่านี้เป็นที่ต้องการมากในตลาดโลก แต่ละปีบริษัทต้องผลิตเพื่อส่งออก ปีละ 5.5 ล้านต้น แต่กว่าจะได้ขายนับตั้งแต่เริ่มต้นเพาะเนื้อเยื่อ อย่างสกุลหวายต้องใช้เวลา 6-9 เดือน กว่าจะขายได้ ขณะที่แวนด้า ต้องใช้เวลานานถึง 4 ปี แต่ละปีจะส่งกล้วยไม้ตัดดอก ตกปีละ 100 ล้านบาท กล้วยไม้ในขวดหรือบรรจุขวดอีก 200 ล้านบาท" คุณวัชระ กล่าว

นอกจากเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อในห้องแล็บ และโรงเรือนกล้วยไม้ในขวดแบบโรงเรือนอีแว้ปที่สามารถตอบสนองความต้องการของตลาดกล้วยไม้โลกได้อย่างดี บีซีเอฟ ยังเป็น 1 ใน 3 บริษัทของไทย ที่ส่งออกกล้วยไม้ในขวดพลาสติคทดแทนการใช้ขวดแก้ว ซึ่งมีต้นทุนสูงกว่า ทั้งยังช่วยในการลดน้ำหนักในการขนส่ง ช่วยลดต้นทุนในการส่งออกได้มหาศาล

มาตรฐานฯ ช่อดอกกล้วยไม้ (มกษ.5001-2552) ช่อดอกกล้วยไม้ทุกชั้นมีคุณภาพตามมาตรฐานช่อดอกกล้วยไม้ (มกษ.5001-2552) ดังนี้

คุณภาพขั้นพื้นฐาน

กำหนดให้มีจำนวนดอกบานไม่น้อยกว่า 40% ของจำนวนดอกทั้งหมดต่อช่อ ยกเว้นสกุลหวาย มีจำนวนดอกบานไม่ต่ำกว่า 4 ดอก สด สะอาด ไม่พบศัตรูพืช ปราศจากตำหนิและรอยช้ำ ไม่พบความผิดปกติของรูปทรงก้านช่อ และดอก

ชั้นคุณภาพช่อดอกกล้วยไม้ แบ่งเป็น 3 ชั้นคุณภาพ ดังนี้

1. ชั้นพิเศษ (extra class) ทุกส่วนของช่อดอกกล้วยไม้ในชั้นนี้ ต้องมีคุณลักษณะเป็นไปตามคุณภาพขั้นพื้นฐาน และมีรูปทรง ดอก สี ตรงตามชนิดและสายพันธุ์ ยกเว้นจำนวนดอกบาน ต้องมีจำนวนดอกบานไม่น้อยกว่า 65% ของจำนวนดอกทั้งหมดต่อช่อ

2. ชั้นหนึ่ง (class I) ทุกส่วนของช่อดอกกล้วยไม้ในชั้นนี้ ต้องมีคุณลักษณะเป็นไปตามคุณภาพขั้นพื้นฐาน และมีรูปทรง ดอก สี ตรงตามชนิดและสายพันธุ์ ยกเว้นจำนวนดอกบาน ต้องมีจำนวนดอกบานไม่น้อยกว่า 55% ของจำนวนดอกทั้งหมดต่อช่อ

3. ชั้นสอง (class II) ช่อดอกกล้วยไม้ในชั้นนี้ มีคุณภาพไม่เข้าชั้นที่สูงกว่า แต่มีคุณภาพไม่ต่ำกว่าคุณภาพขั้นพื้นฐาน

หมายเหตุ : ช่อดอกกล้วยไม้ทุกชั้นคุณภาพ อาจมีรอยการเด็ดดอกออกได้ หากไม่ทำให้รูปทรงเสียหาย



ที่มา  :  เทคโนโลยีชาวบ้าน





เพาะเมล็ดกล้วยไม้ด้วยตัวเอง



ผู้รักกล้วยไม้หลายท่านคงเคยลองเพาะเมล็ดกล้วยไม้กันมาบ้าง แต่เชื่อว่าส่วนใหญ่น่าจะประสบความล้มเหลว เพราะกล้วยไม้หลายพันธุ์ เรียกได้ว่าเป็นส่วนมาก จัดเป็นพืชที่เพาะจากเมล็ดค่อนข้างยากกว่าพืชอื่นๆ หลายท่านอาจมีคำถามต่อว่า แล้วกล้วยไม้ในป่าธรรมชาติขยายพันธุ์ได้อย่างไร ตอบได้ว่ากล้วยไม้ป่า ก็มีการผสมเกสรและขยายพันธุ์ตามธรรมชาติด้วยวิธีการงอกจากเมล็ดนี่แหละครับ โดยหลังจากดอกกล้วยไม้ได้รับการผสม ก็จะค่อยๆ พัฒนาต่อไปเป็นฝัก กล้วยไม้หนึ่งฝักมีเมล็ดบรรจุอยู่ภายในเป็นหมื่นเป็นแสนเมล็ด เมื่อฝักแก่และแตก เมล็ดกล้วยไม้จะปลิวไปตามลม พัดพาไปตามน้ำ หรือถูกสัตว์หรือแมลงพาไปตกตามที่ต่างๆ การงอกของเมล็ดกล้วยไม้จำเป็นต้องมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม กล้วยไม้หลายชนิดจะงอกได้ก็ต้องอาศัยการเกื้อกูลจากสิ่งมีชีวิตชนิดอื่น (Symbiosis) มีผลการศึกษาที่ยืนยันว่าเชื้อรา Mycorhiza สนับสนุนให้กล้วยไม้ในธรรมชาติมีอัตราการสูงขึ้น ปัจจุบันตามห้องปฏิบัติการหลายแห่งนิยมใส่เชื้อเห็ดหูหนู (Auricularia polytricha) ลงไปในอาหารวุ้น เพราะเชื่อว่าเชื้อราตัวนี้จะเป็นตัวส่งเสริมให้เมล็ดกล้วยไม้งอกได้ดีเช่นกัน ในป่าธรรมชาติเมื่อเมล็ดกล้วยไม้ได้รับความชื้นจากน้ำค้างและน้ำฝน ได้รับแหล่งพลังงานจากอินทรียวัตถุที่มันปลิวไปตก ได้รับแสงแดดจากดวงอาทิตย์ ก็ใช่ว่าเมล็ดกล้วยไม้เหล่านั้นจะงอกและมีชีวิตรอดได้ทั้งหมด เพราะหลังจากนั้นลูกกล้วยไม้ยังต้องต่อสู้กับความแปรปรวนของสิ่งแวดล้อม การตัดไม้ทำลายป่าซึ่งเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของกล้วยไม้ บ้างก็ถูกมนุษย์เก็บไปเลี้ยงในเมือง และมีจำนวนไม่น้อยที่ต้องตายก่อนวัยอันควรเนื่องจากไฟป่า

ทีนี้ลองมาดูกันครับว่าเราจะลองเพาะเมล็ดกล้วยไม้ด้วยตัวเองได้อย่างไรโดยไม่ต้องนำฝักไปจ้างห้องปฏิบัติการเพาะ ก่อนอื่นก็ต้องทำความเข้าใจสักนิดว่ากล้วยไม้แต่ละชนิดพันธุ์มีความยากง่ายในการงอกแตกต่างกัน กล้วยไม้หลายชนิดมีอัตราการงอกน้อยมาหรือไม่งอกเลย แม้ว่าในห้องปฏิบัติการมีการจัดการและควบคุมสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของกล้วยไม้เป็นอย่างดี ทั้งแหล่งธาตุอาหารและพลังงานที่จำเป็นสำหรับกล้วยไม้ นอกจากนี้ยังมีการควบคุมความชื้น ความดันและอุณหภูมิอย่างเหมาะสม แต่ก็ยังมีกลุ่มของกล้วยไม้ที่สามารถงอกง่ายๆ ที่พอจะหยิบยกเป็นตัวอย่างก็เช่น “กะเรกะร่อน (Cymbidium sp.)” ที่เราเห็นมันเกาะติดต้นปาล์มตามท้องนานั่นเอง “ม้าวิ่ง (Doritis pulcherima)” ก็เป็นกล้วยไม้ที่งอกได้ไม่ยากนัก

“กล้วยไม้ดินใบหมากหรือว่านจุก (Spathoglottis plicata)" เป็นกล้วยไม้อีกชนิดหนึ่งที่สามารถนำมาลองเพาะได้ดี ในประเทศไทยสามารถพบการกระจายพันธุ์ได้มากทางภาคใต้ ออกดอกเป็นช่อสีม่วงสด และหากสภาพแวดล้อมเหมาะสมจะทยอยให้ดอกได้เกือบทั้งปี กล้วยไม้ชนิดนี้สามารถปลูกเป็นไม้ประดับกลางแจ้งได้ดี หลังจากเกสรตัวเมียได้รับการผสมแล้ว เซลผนังรังไข่จะค่อยๆ โป่งขยายขนาดและพัฒนาเป็นฝักในที่สุด ระยะเวลาที่พัฒนาเป็นฝักแก่ใช้เวลาเพียง 30-40 วันเท่านั้น การเพาะเริ่มจาก
1. เตรียมเครื่องปลูก โดยนำอิฐมอญ (ชนิดที่ไม่มีรู) ทุบให้ละเอียดใส่ลงในกระถางดินเผา
2. นำฝักกล้วยไม้ที่สุกแก่ได้ที่ขยี้ลงบนเครื่องปลูกให้ทั่ว
3. นำกระถางเก็บไว้ภายใต้แสงรำไร ข้อสำคัญควรมีความชื้นบรรยากาศสูง

ดังนั้นหลังจากการเพาะเมล็ดแล้ว อาจใช้จานหล่อน้ำใต้กระถางไว้ เนื้อกระถางและอิฐมอญซึ่งเป็นดินเผาจะดูดซึมน้ำให้ชุ่มชื้นได้ตลอดเวลา หรืออาจนำกระถางที่เพาะแล้วไปบ่มไว้ในตู้ความชื้น (High moisture tunnel) ซึ่งมีลักษณะเป็นระบบปิด เพื่อรักษาสมดุลความชื้นได้ตลอดเวลา หรืออาจใช้วิธีนำแผ่นกระจกใสมาวางทับลงบนปากกระถาง ก็สามารถรักษาความชื้นได้ดีระดับหนึ่งเช่นกัน

หลังจากทำการเพาะประมาณ 1 เดือนครึ่ง ต้นกล้วยไม้จะเริ่มงอก เมื่อกล้าไม้เริ่มแข็งแรงจึงค่อยย้ายเปลี่ยนกระถางหรือนำไปปลูกลงแปลงก็ได้


www.bloggang.com/mainblog.php?id=nahoad&month=22...




หน้าก่อน หน้าก่อน (1/6) - หน้าถัดไป (3/6) หน้าถัดไป


Content ©