-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 280 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

แฟ้มงานวิจัย








  การสกัดโปรตีนเข้มข้นจากเมล็ดฝ้ายไร้ต่อมพิษและการปรับปรุงคุณภาพ ของโปรตีนที่ได้โดยการเสริมด้วยโปรตีนเข้มข้นจากเมล็ดงา และถั่วเหลือง
  พรรณวดี วิถีสำราญธรรม
  สุวิมล กีรติพิบูล
 
  โปรตีนจากพืช
การสกัด (เคมี)
ถั่วเหลือง
เมล็ดงา
เมล็ดฝ้าย
   
  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

  งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อปรับปรุงคุณภาพของโปรตีนเมล็ดฝ้ายไร้ต่อมพิษ โดยการผสมโปรตีนเมล็ดงาและโปรตีนเมล็ดถั่วเหลืองลงในโปรตีนเมล็ดฝ้ายไร้ต่อมพิษ ขั้นแรกศึกษาภาวะที่เหมาะสมในการสกัดโปรตีนจากกากเมล็ดพืชน้ำมันทั้ง 3 ชนิด โดยศึกษาหาอัตราส่วนของกากต่อน้ำที่เหมาะสมสำหรับการสกัดโปรตีนที่ pH 8 เป็นเวลา 30 นาทีในอัตราส่วน 1:20 1:40 1:60 และ 1:80 (กรัมต่อมิลลิลิตร) พบว่าอัตราส่วนของกากเมล็ดฝ้ายต่อน้ำและกากถั่วเหลืองต่อน้ำที่เหมาะสมคือ 1:40 และอัตราส่วนของกากงาต่อน้ำที่ 1:60 จะให้ปริมาณโปรตีนที่สกัดได้สูง 33.78% 61.88% และ 20.03% (โดยน้ำหนักแห้ง) ตามลำดับ จากนั้นศึกษาชนิดและความเข้มข้นของสารละลายด่างรวมทั้งเวลาที่ใช้ในการสกัดโปรตีน โดยสารละลายด่างที่ศึกษาได้แก่สารละลายแคลเซียมไฮดรอกไซด์และสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ พบว่าภาวะที่เหมาะสมในการสกัดโปรตีนจากกากเมล็ดฝ้าย การเมล็ดงา และกากเมล็ดถั่วเหลืองเหมือนกัน คือใช้สารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์เข้มข้น 0.02 โมล่าร์ เป็นเวลา 30 นาที (77.29% 94.87% และ 81.55% โดยน้ำหนักแห้ง ตามลำดับ) ต่อมาศึกษา pH ที่ทำให้โปรตีนมีความสามารถในการละลายต่ำสุดเพื่อใช้ในการตกตะกอนโปรตีน พบว่าที่ pH 3.5 โปรตีนเมล็ดฝ้ายจะมีความสามารถในการละลายต่ำสุด (13.33% โดยน้ำหนักแห้ง) และใช้ pH 5.4 และ 5.5 ในการตกตะกอนโปรตีนงาและโปรตีนถั่วเหลืองตามลำดับ จากนั้นจึงผลิตโปรตีนสกัดจากเมล็ดพืชน้ำมันทั้ง 3 ชนิด และเมื่อศึกษาองค์ประกอบทางเคมีของโปรตีนทั้ง 3 ชนิดพบว่า โปรตีนเมล็ดฝ้ายจะมีโปรตีน 73.76% โดยน้ำหนักแห้ง และมีสารกอสสลิปอลเพียง 0.0014% โดยน้ำหนักแห้ง ซึ่งปลอดภัยต่อการบริโภค ส่วนในโปรตีนงาและโปรตีนถั่วเหลืองจะมีโปรตีน 83.24% และ 88.16% โดยน้ำหนักแห้ง ตามลำดับ ซึ่งถือว่าโปรตีนทั้ง 3 ชนิดนี้เป็นเพียงโปรตีนเข้มข้น เพราะมีปริมาณโปรตีนน้อยกว่า 90% และศึกษาสมบัติการใช้งานของโปรตีนเมล็ดฝ้ายไร้ต่อมพิษ พบว่า โปรตีนเมล็ดฝ้ายมีสมบัติในการดูดซับน้ำและน้ำมันได้ (2.27 มิลลิลิตรของน้ำต่อโปรตีนสกัด 1 กรัม และ 3.09 มิลลิลิตรของน้ำมันต่อโปรตีนสกัด 1 กรัม ตามลำดับ) นอกจากนี้ยังมีสมบัติในการเกิดอิมัลชั่น (61.05% โดยน้ำหนัก) และสมบัติในการเกิดฟอง (110% โดยน้ำหนัก) แต่ฟองที่ได้จะมีความเสถียรภาพต่ำ และพบว่าระหว่าง pH ในช่วง 4-6 โปรตีนเมล็ดฝ้ายมีความสามารถในการละลายต่ำสุด (1.86-6.19% โดยน้ำหนัก) และเมื่อนำโปรตีนสกัดทั้ง 3 ชนิดมาวิเคราะห์ปริมาณกรดอะมิโน พบว่า โปรตีนเมล็ดฝ้ายไร้ต่อมพิษจะมีเมไธโอนีนและไลซีนเป็นกรดอะมิโนจำกัด แต่ในโปรตีนงาจะมีเมทไธโอนีนอยู่สูง และโปรตีนถั่วเหลืองจะมีไลซีนสูง ดังนั้นจีงเหมาะที่จะนำโปรตีนงาและโปรตีนถั่วเหลืองมาผสมกับโปรตีนเมล็ดฝ้ายเพื่อเพิ่มคุณภาพของโปรตีน ซึ่งเมื่อผสมโปรตีนจากเมล็ดพืชทั้ง 3 ชนิดเข้าด้วยกัน และเมื่อวิเคราะห์ปริมาณโปรตีนและคุณภาพของโปรตีนผสมพบว่า ปริมาณโปรตีนและคุณภาพของโปรตีนผสมจะสูงขึ้น เมื่อเทียบกับโปรรตีนเมล็ดฝ้ายไร้ต่อมพิษเพียงอย่างเดียว โดยอัตราส่วนการผสมของโปรตีนเมล็ดฝ้าย โปรตีนเมล็ดงาและโปรตีนเมล็ดถั่วเหลืองที่ 1:1:2 และ 1:1.5:1.5 โปรตีนผสมจะมีคุณภาพสูงกว่าที่อัตราส่วน 1:1:1: และ 1:2:1









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-05-10 (1115 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©