-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 195 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

แฟ้มงานวิจัย









 

การประเมินผลผลิตทางดินในระยะยาวและการสูญเสียการกักเก็บธาตุอาหาร
จากผลกระทบของการใช้สารเคมีปราบวัชพืชและการถางเผาแบบเข้มข้น ฯ
(งบแผ่นดิน ปี 2551)

Assessment of long-term soil productivity and loss of nutrient retention as affected by herbicide and intensified slash and burn practices under upland farming system in Lower Northern Thailand

หัวหน้าโครงการ ดร.จรัณธร บุญญานุภาพ
หน่วยงาน ภาควิชาทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม
แหล่งสนับสนุนงานวิจัย งบประมาณแผ่นดิน ปี 2551
ระยะเวลาดำเนินการ 1 กุมภาพันธ์ 2008 - 1 มกราคม 2009




กลุ่มวิจัย
  1. กลุ่มวิจัยสารเคมีทางการเกษตรและทรัพยากรสิ่งแวดล้อม

รายชื่อนักวิจัย
  1. ดร.จรัณธร บุญญานุภาพ (หัวหน้าโครงการ)
  2. รศ.เดช วัฒนชัยยิ่งเจริญ (นักวิจัยร่วม)
  3. รศ.ดร.เสวียน เปรมประสิทธิ์ (นักวิจัยร่วม)

รายการเงินงบประมาณ

  1. พ.ศ.2551   เป็นเงิน  300,000.00 บาท
 

วัตถุประสงค์โครงการ

1. เพื่อศึกษาผลกระทบของการใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชและการถางเผาแบบเข้มข้นต่อสถานภาพการกักเก็บธาตุอาหารในดินและศักยภาพในการผลิตด้านด้านเกษตรของดิน
    ในระยะยาว
2. เพื่อตรวจสอบปริมาณการสะสมของสารเคมีกำจัดวัชพืชที่สะสมและเคลื่อนย้ายในส่วนต่างๆ ของพืช ภายใต้ระบบการเพาะปลูกในสภาพปัจจุบัน
3. เพื่อกำหนดตัวชี้วัดที่เหมาะสมในการประเมินศักยภาพในการผลิตด้านด้านเกษตรของดินในระยะยาว (Long-term soil productivity index)

ลักษณะโครงการ

        เป็นการศึกษา เพื่อทดสอบสมมติฐาน เกี่ยวกับการปนเปื้อนในดินและการเคลื่อนย้ายของสารเคมีกำจัดวัชพืช (พาราควอท และ ไกลฟอเสท) เข้าสู่และสะสมในส่วนต่างๆ ของพืช ภายใต้พื้นที่ไร่เลื่อยลอยแบบถาง-เผา และมีสภาพการผุพังอยู่กับที่ของดินในระดับสูง
      สารเคมีกำจัดวัชพืช เช่น พาราควอท หรือ ไกลฟอเสท ที่ถูกดูดยึดไว้ด้วยอินทรีย์วัตถุในดินและอนุภาคของดินเหนียว อาจเป็นปัจจัยหลักในการควบคุมความสามารถในการแลกเปลี่ยนประจุบวก (CEC) และความสามารถในการอุ้มน้ำในดิน โดยเฉพาะพาราควอทจะถูกดูดยึดไว้กับอนุภาคของดินเหนียวด้วยพันธะที่รุนแรง (strongly bound) ทำให้พื้นที่ผิวของอนุภาคดินเหนียวลดความสามารถในการแลกเปลี่ยนธาตุอาหารประจุบวกที่เป็นเบส (basic cation) เช่น แคลเซียม แมกนีเซียม และโปแทสเซียมได้น้อยลง
        ดังนั้นการใช้สารกำจัดวัชพืชอย่างต่อเนื่องในระยะเวลาที่ยาวนาน อาจส่งผลถึงความสามารถในการกักเก็บธาตุอาหารและการปลดปล่อยธาตุอาหารจากอนุภาคดินเพื่อให้รากของพืชเศรษฐกิจนำไปใช้ประโยชน์ได้ และส่งผลกระทบถึงศักยภาพด้านผลผลิตทางการเกษตรของดินในระยะยาวลดลงตามไปด้วย นอกจากนี้บริเวณพื้นที่ที่มีสภาพการผุพังอยู่กับที่ของดินในระดับสูง ส่งผลให้ปริมาณของแร่ดินเหนียวชนิด kaolinite อาจมีมากกว่า 60% จึงทำให้สารเคมีกำจัดวัชพืช เช่น พาราควอท หรือ ไกลฟอเสท ที่ถูกดูดยึดไว้กับอนุภาคของดินเหนียวด้วยพันธะอย่างหลวมๆ (loosly bound) อาจส่งผลให้สารเคมีกำจัดวัชพืชเหล่านี้ถูดปลดปล่อย และปนเปื้อนในดิน แล้วเคลื่อนย้ายเข้าสู่และสะสมในส่วนต่างๆ ของพืชได้ ดั้งนั้นสมมติฐานของโครงการศึกษามีดังต่อไปนี้

1. การใช้สารกำจัดวัชพืชและการถางเผาพื้นที่เพาะปลูกอย่างต่อเนื่องในระยะเวลาที่ยาวนาน ส่งผลให้ความสามารถในการกักเก็บธาตุอาหารและการปลดปล่อยธาตุอาหาร
    ในดินลดลงรวมทั้งทำให้ศักยภาพด้านผลผลิตทางการเกษตรของดินในระยะยาวลดลงตามไปด้วย
2. การใช้สารกำจัดวัชพืชอย่างต่อเนื่องในระยะเวลาที่ยาวนาน ทำให้เกิดความเป็นพิษตกค้างต่อพืชที่เพาะปลูก

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1. องค์ความรู้ด้านความสัมพันธ์ระหว่างการถูกดูดซับของสารกำจัดวัชพืชโดยคอลลอยด์ดิน (อินทรีย์วัตถ์และแร่ดินเหนียว) และความสามารถในการกักเก็บและปลดปล่อย
    ธาตุอาหารในดินภายใต้ระบบการเกษตรแบบไร่เลื่อนลอย
2. ฐานข้อมูลและความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับคุณภาพสิ่งแวดล้อมทางดิน ภายใต้การเกษตรบนที่ดอน ที่ใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชและการถางเผาแบบเข้มข้นเป็นระยะเวลายาวนาน
     โดยผลักดันให้เกิดการนำผลจากการวิจัยไปสู่ชุมชนท้องถิ่นและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในพื้นที่
3. ความตระหนักและเข้าใจของ เกษตรกร เจ้าหน้าที่ด้านการเกษตร และเจ้าหน้าที่ป่าไม้ เกี่ยวกับผลกระทบจากการใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชและการถางเผาแบบเข้มข้นเป็นระยะ
    เวลายาวนาน ที่จะส่งผลต่อระบบนิเวศดินในสภาพปัจจุบัน









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-05-10 (719 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©