-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 431 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

แฟ้มงานวิจัย









 

การผลิตปุ๋ยน้ำชีวภาพจากวัสดุเหลือใช้จากโรงงานแป้งมันสำปะหลัง
Fluid Compost Production from Cassava Starch Waste.
 



หัวหน้าโครงการ ผศ.ดร.เสวียน เปรมประสิทธิ์
หน่วยงาน ภาควิชาทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม
แหล่งสนับสนุนงานวิจัย สำนักงานปลัดทบวงมหาวิทยาลัย
ระยะเวลาดำเนินการ 1 กรกฏาคม 2544 - 30 กันยายน 2545




รายชื่อนักวิจัย
  1. ผศ.ดร.เสวียน เปรมประสิทธิ์ (หัวหน้าโครงการ)

รายการเงินงบประมาณ

  1. พ.ศ.2544   เป็นเงิน  350,000.00 บาท
 

วัตถุประสงค์โครงการ

(1) เพื่อศึกษาถึงชนิดและปริมาณอัตราการเกิดวัสดุเหลือใช้จากกระบวนการผลิตของโรงงานผลิตแป้งมันสำปะหลัง
(2) เพื่อศึกษาแนวทางในการผลิตปุ๋ยน้ำชีวภาพจากวัสดุเศษเหลือของโรงงานแป้งมันสำปะหลัง
(3) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของปุ๋ยน้ำชีวภาพกับการปลูกพืชไม้ดอก

ลักษณะโครงการ

มันสำปะหลังและอุตสาหกรรมผลิตแป้งมันสำปะหลังเข้ามามีบทบาทสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศไทยเป็นเวลาช้านาน เพราะมันสำปะหลังเป็นพืชที่ปลูกได้ง่าย มีศัตรูพืชรบกวนน้อย เป็นพืชที่มีความทนทานต่อความไม่แน่นอนของสภาพดินฟ้าอากาศเป็นอย่างดี และยังมีฤดูปลูกรวมถึงฤดูการเก็บเกี่ยวไม่จำกัด สำหรับประเทศไทยสามารถผลิตมันสำปะหลังได้เป็นอันดับห้าของโลก แต่จำนวนการส่งออกมันสำปะหลังมีมากเป็นอันดับหนึ่งของโลก เนื่องจากความต้องการบริโภคในประเทศมีน้อย คือ ร้อยละ 4.31 ของผลผลิต(ประมาณปีละ 200,000 เมตตริกตัน) ที่เหลือร้อยละ95 จะถูกส่งไปจำหน่ายต่างประเทศ (วินิจ วีรยางกูร. 2525 : 1) ในรูปของมันอัดเม็ดและมันเส้นโดยตลาดที่สำคัญคือประเทศประชาคมยุโรป ได้แก่ ประเทศเนเธอร์แลนด์ เยอรมัน ฝรั่งเศส และเบลเยี่ยม ส่วนตลาดแป้งมันที่สำคัญ คือ ประเทศสหภาพโซเวียต ไต้หวัน ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย (อภิรดี ยิ้มละมัย. 2531 : 8) ในปัจจุบันประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังประมาณ 8.82 ล้านไร่ และพื้นที่ปลูกส่วนใหญ่ได้เปลี่ยนไปอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเฉพาะในจังหวัดนครราชสีมา ชัยภูมิ อุดรธานี กาฬสินธุ์ ขอนแก่น และหนองคาย มีพื้นที่เพราะปลูกรวมกันถึงประมาณร้อยละ 44.0 ของพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังทั้งหมดในประเทศไทย ผลผลิตหัวมันสำปะหลังสดซึ่งมีประมาณ 19.1 ล้านตัน นั้น ร้อยละ 70.0 (13.4 ล้านตัน) จะถูกนำไปใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตมันเส้นและมันอัดเม็ด และอีกประมาณร้อยละ 30.0 (5.7 ล้านตัน) จะถูกนำไปใช้ในอุตสาหกรรมผลิตแป้งมันสำปะหลัง (กรมโรงงานอุตสาหกรรม. 2540 : 3-1)
สำหรับอุตสาหกรรมแปรรูปมันสำปะหลังในประเทศไทย สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท ได้แก่ อุตสาหกรรมผลิตแป้งมันสำปะหลังชนิด Native Starch, อุตสาหกรรมผลิตแป้งมันดัดแปร และอุตสาหกรรมผลิตแป้งแปรรูป โดยที่แป้งมันสำปะหลังชนิด Native Starch จะเป็นวัตถุดิบของการผลิตแป้งมันดัดแปร และแป้งมันแปรรูป อุตสาหกรรมผลิตแป้งมันสำปะหลังเป็นอุตสาหกรรมที่สำคัญของประเทศ แต่เนื่องจากกระบวนการผลิตของโรงงานผลิตแป้งมันสำปะหลังจะทำให้เกิดวัสดุเหลือใช้ชนิดต่างๆ โดยแบ่งออกเป็น วัสดุเหลือใช้ที่เป็นของแข็ง ได้แก่ กากมันสำปะหลัง เปลือกและเศษหิน,ดิน,ทราย จากกระบวนการร่อนและปอกเปลือก วัสดุเหลือใช้ที่เป็นของเหลว ได้แก่ น้ำทิ้งจากขั้นตอนต่างๆ เช่น น้ำทิ้งจากการล้างรากมันสำปะหลัง และน้ำทิ้งจากเครื่องดีแคนเตอร์ (Decanter) เป็นขั้นตอนการแยกน้ำออกจากน้ำแป้ง และน้ำทิ้งจากขั้นตอนนี้มีความสกปรกทั้งในรูปค่าบีโอดี ซีโอดี และของแข็งแขวนลอยสูงที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับน้ำทิ้งจากส่วนอื่นๆ แสดงให้เห็นได้ว่าอุตสาหกรรมผลิตแป้งมันสำปะหลังเป็นแหล่งกำเนิดน้ำทิ้งที่มีความสกปรกสูงมาก นอกจากนี้ยังเป็นอุตสาหกรรมที่ใช้น้ำในกระบวนการผลิตสูงมาก ซึ่งในปัจจุบันโรงงานผลิตแป้งมันสำปะหลังโดยทั่วไปประสบปัญหาในเรื่องดังกล่าวเพราะเปลือกของมันสำปะหลังที่ตกค้างอยู่ในโรงงาน ซึ่งสร้างปัญหาเรื่องกลิ่นเหม็นในฤดูฝน รวมทั้งน้ำทิ้งจากกระบวนการผลิตที่มีปริมาณมากและมีความเข้มข้นของสารอินทรีย์ค่อนข้างสูง ปริมาณและลักษณะสมบัติของน้ำทิ้งจากโรงงานผลิตแป้งมันสำปะหลังสามารถสรุปได้ว่า ในขณะที่ผลิตแป้งมันสำปะหลังจำนวน 1 ตัน มีเปลือกมันสำปะหลังเกิดขึ้น 30 กิโลกรัม และเกิดน้ำทิ้งมีปริมาณ 10-20 ลูกบาศก์เมตร และมีค่า BOD ประมาณ 55-200 กิโลกรัม ค่า COD ประมาณ 130-400 กิโลกรัม และของแข็งแขวนลอย 40-140 กิโลกรัม ฟอสฟอรัสทั้งหมดประมาณ 0.2-0.6 กิโลกรัม และไนโตรเจนทั้งหมดประมาณ 3-10 กิโลกรัม ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบปริมาณความสกปรกที่เกิดจากน้ำทิ้งของโรงงานผลิตแป้งมันสำปะหลัง 1 ตันกับปริมาณความสกปรกจากประชากร พบว่าเท่ากับปริมาณความสกปรกจากประชากร 920-3,400 คน สำหรับโรงงานอุตสาหกรรมผลิตแป้งมันสำปะหลัง โดยทั่วไป 1 แห่ง ที่มีกำลังการผลิตเฉลี่ย 100-200 ตันแป้ง/วัน จะเป็นแหล่งกำเนิดน้ำทิ้งที่มีปริมาณความสกปรกเทียบเท่ากับประชากรจำนวน 92,000-680,000 คน (กรมโรงงานอุตสาหกรรม. 2540 : 3-6) จากลักษณะสมบัติของน้ำทิ้งดังกล่าวพบว่าจะมีไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม และแมกนีเซียม ที่เป็นธาตุอาหารที่จำเป็นสำหรับการเจริญเติบโตของพืชปะปนอยู่ในน้ำทิ้งของกระบวนการผลิตในปริมาณแตกต่างกัน โดยเฉพาะน้ำทิ้งจากเครื่องดีแคนเตอร์ (Decanter) จะมีอยู่มากกว่าส่วนอื่นๆ ซึ่งสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในทางการเกษตรได้ ดังนั้นการนำเปลือกมันสำปะหลังและน้ำทิ้งจากเครื่องดีแคนเตอร์ (Decanter) ซึ่งมีธาตุอาหารที่จำเป็นสำหรับการเจริญเติบโตของพืชนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในทางการเกษตร เป็นแนวทางเลือกหนึ่งในการลดปริมาณของวัสดุเหลือใช้จากอุตสาหกรรมผลิตแป้งมันสำปะหลัง ฉะนั้นงานวิจัยนี้จึงมุ่งเน้นที่จะศึกษาการใช้ประโยชน์น้ำทิ้งของเครื่องดีแคนเตอร์และเปลือกมันสำปะหลังที่เกิดจากกระบวนการผลิตและเป็นปัญหาแก่โรงงานในปัจจุบันมาเปลี่ยนให้เป็นทรัพยากรที่มีประโยชน์ต่อการปรับปรุงดินในรูปของปุ๋ยน้ำชีวภาพ ถือเป็นการเพิ่มมูลค่าให้แก่วัสดุเหลือใช้จากกระบวนการผลิต และสามารถแยกน้ำทิ้งจากขั้นตอนนี้โดยไม่ต้องนำเข้าสู่ระบบบำบัดน้ำเสีย เป็นแนวทางที่ช่วยกำจัดเปลือกมันสำปะหลังและลดปัญหาเรื่องกลิ่นเหม็นได้ รวมถึงสามารถลดปริมาณความสกปรกของน้ำทิ้งจากกระบวนการผลิตลงได้ซึ่งกระบวนการบำบัดน้ำทิ้งแบบชีววิทยาของโรงงานผลิตแป้งมันสำปะหลังยังไม่สามารถกำจัดสารอาหารเหล่านี้ให้มีปริมาณลดลงได้ เป็นการลดภาระในการบำบัดน้ำเสียของระบบบำบัดน้ำเสียเป็นอย่างยิ่ง นอกจากนี้ยังทำให้ช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายในการกำจัดวัสดุเหลือใช้จากกระบวนการผลิตแป้งมันสำปะหลัง และเป็นการควบคุมและป้องกันปัญหาสภาพแวดล้อมส่วนรวมที่จะเกิดขึ้นจากอุตสาหกรรมประเภทนี้อีกด้วย

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1 ลดปริมาณเปลือกมันสำปะหลังและปริมาณน้ำทิ้งจากกระบวนการผลิตแป้งมันสำปะหลัง
2 สามารถเพิ่มมูลค่าให้กับวัสดุเหลือใช้ที่เกิดขึ้นจากกระบวนการผลิตแป้งมันสำปะหลัง
3 สามารถทราบถึงแนวทางการใช้ประโยชน์จากวัสดุเหลือใช้ของกระบวนการผลิตแป้งมัน
สำปะหลัง และเป็นการควบคุม และป้องกันปัญหาสภาพแวดล้อมส่วนรวมที่จะเกิดขึ้นจากอุตสาหกรรมประเภทนี้ รวมถึงใช้เป็นแนวทางการจัดการของเสีย
4 สามารถใช้เป็นปุ๋ยชีวภาพในการปรับปรุงคุณสมบัติของดินในด้านต่างๆ ซึ่งจะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการซื้อปุ๋ยเคมี









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-05-10 (1280 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©