-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 461 บุคคลทั่วไป และ 1 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

แฟ้มงานวิจัย









การเพิ่มมูลค่าของข้าวลีบ กากมัน เปลือกมัน ขี้เถ้าแกลบ และกากตะกอนน้ำเสีย โดยการผลิตปุ๋ยหมัก เพื่อผลิตผักปลอดสารพิษ

หัวหน้าโครงการ ผศ.ดร.เสวียน เปรมประสิทธิ์
หน่วยงาน ภาควิชาทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม
แหล่งสนับสนุนงานวิจัย สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา
ระยะเวลาดำเนินการ 1 เมษายน 2547 - 31 มีนาคม 2548




รายชื่อนักวิจัย
  1. ผศ.ดร.เสวียน เปรมประสิทธิ์ (หัวหน้าโครงการ)

รายการเงินงบประมาณ

  1. พ.ศ.2547   เป็นเงิน  808,489.00 บาท
 

วัตถุประสงค์โครงการ

1. เพื่อเพิ่มมูลค่าของข้าวลีบ กากมัน เปลือกมัน ขี้เถ้าแกลบ และกากตะกอนน้ำเสีย
2. เพื่อศึกษาอัตราส่วนที่เหมาะสมของผลผลิตเหลือทิ้งจากการเกษตรและวัสดุเหลือใช้ จากโรงงานอุตสาหกรรมต่อการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรในการปลูกพืชผักปลอดสารพิษ
3. เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของปุ๋ยหมักกับการปลูกพืชผัก ผลไม้ และไม้ดอก
4. เพื่อหาปริมาณการสะสมและการปนเปื้อนของโลหะหนัก ในส่วนต่าง ๆ ของพืช

ลักษณะโครงการ

ในปัจจุบันนี้ จะเห็นได้ว่าประชาชนเริ่มตระหนักถึงอันตรายของสารเคมีที่ใช้กับผลผลิตทางการเกษตร จากสถิติการนำเข้าวัตถุอันตรายทางการเกษตร ระหว่างเดือนมกราคมถึงมีนาคม 2546 มีการนำเข้าถึง 11,292 ตัน (เทคโนโลยีชาวบ้าน.2546) สารเคมีเหล่านี้เมื่อนำไปใช้แล้วมีผลทำให้เกิดการตกค้างของสารพิษในดิน ซึ่งเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมและอีกส่วนหนึ่งส่งผลถึงผู้บริโภค มีรายงานว่า มีผู้ป่วยที่อาการป่วยเกิดจากสารอนุมูลอิสระจากการบริโภคอาหารที่ปนเปื้อนสารพิษ รวมทั้งสารเคมีตกค้างในผัก ผลไม้ ในปี 2528 ถึง 143.8 ต่อประชากร 100,000 คน (เทคโนโลยี ชาวบ้าน. 2546) และในปีถัดมาก็เพิ่มจำนวนสูงขึ้นเรื่อย ๆ ประเทศต้องศูนย์เสียเงินไปกับการรักษาถึง 20,000 ล้านบาท การแก้ไขปัญหาการลดลงของอินทรียวัตถุ การเสื่อมโทรมของดินและสารพิษอันตรายตกค้างในดิน สามารถทำได้โดยการนำวัสดุเหลือใช้จากโรงงานอุตสาหกรรม เช่น กากตะกอนน้ำเสียมาผลิตปุ๋ยหมัก เพื่อช่วยลดค่าใช้จ่ายในการซื้อปุ๋ยเคมี ลดสารพิษอันตรายตกค้างในดินและเพื่อจัดการวัสดุเหลือใช้เหล่านั้นให้มีประสิทธิภาพ
ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรมที่มีผลผลิตทางการเกษตรและวัสดุเหลือใช้จาก อุตสาหกรรมที่สำคัญ ได้แก่ แกลบ กากมันสำปะหลัง เปลือกมันสำปะหลัง ขี้เถ้าจากแกลบ ชานอ้อย กากปาล์ม กาบกะลามะพร้าว และกากตะกอนน้ำเสีย ซึ่งสามารถนำมาทำปุ๋ยหมักอินทรีย์ได้ ในกระบวนการเก็บเกี่ยวพืชผลทางการเกษตรนั้นได้ก่อให้เกิดชีวมวลเหลือทิ้งเป็นจำนวนมาก ซึ่งผลผลิตดังกล่าวมาจากอุตสาหกรรมแป้งมันสำปะหลัง อุตสาหกรรมน้ำตาล โรงสีข้าว และโรงงานน้ำมันปาล์ม แม้จะมีการใช้ชีวมวลเพิ่มขึ้นในอัตราส่วนประมาณร้อยละ 8 ต่อปี แต่เมื่อเปรียบเทียบกับการนำมาใช้ประโยชน์ด้านการทำปุ๋ยหมักเพื่อการเกษตรยังมีน้อยมาก ในการจัดการชีวมวลเหลือทิ้งทางการเกษตร เพื่อเพิ่มมูลค่าทางผลผลิตการทำปุ๋ยหมักจากชีวมวลเหลือทิ้งจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง จากรายงานของศูนย์พลังงานชีวภาพ (2546) ในปี 2543 มีปริมาณวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร ประมาณ 63 ล้านตันต่อปี จากการประเมินศักยภาพของผลผลิตเหลือทิ้งทางการเกษตรจากพืช 10 ชนิด ที่มีศักยภาพสูง ได้แก่ อ้อย ข้าว มันสำปะหลัง กาบกะลามะพร้าว แกลบ เป็นต้น วัสดุเหลือใช้เหล่านี้สามารถนำมาทำปุ๋ยหมัก เพื่อเป็นแนวทางในการรักษาความอุดมสมบูรณ์ให้กับดินและที่สำคัญสามารถจัดการเศษผลผลิตเหลือใช้จากการเกษตรได้ และจากรายงานของกลุ่มบริษัท เกษตรรุ่งเรือง จำกัด (2546) พบว่า ข้าวลีบ แกลบ ขี้เถ้า ที่เกิดขึ้นจากกระบวนการผลิต จำนวน 20-40 ตันต่อวัน เมื่อนำมาผลิตปุ๋ยหมักสามารถขายได้ในราคา 1,000 -1,500 บาทต่อตัน ที่ความชื้น 50 -60 เปอร์เซ็นต์ และสามารถในราคา 4,000 - 5,000 บาทต่อตัน ที่ความชื้น 10 -20 เปอร์เซ็นต์ จากการสำรวจของกองจัดการสารอันตราย กรมควบคุมมลพิษ (2536) พบว่า โรงงานอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม มีปริมาณ กากตะกอนน้ำเสียเกิดขึ้น 1,045,200 ตันต่อเดือนต่อโรงงานและมีการนำกากตะกอนน้ำเสียไปใช้ประโยชน์เพียงร้อยละ 10.36 ของปริมาณตะกอนที่เกิดขึ้น ทัศนีย์ อัตตนันท์ (2520) ได้ทำการวิเคราะห์องค์ประกอบของกากตะกอนน้ำเสียจากโรงงานผลิตน้ำอัดลม บริษัทเสริมสุข จำกัด พบว่า มีอินทรียสารคาร์บอนร้อยละ 82 ผลรวมไนโตรเจนร้อยละ 3.25 ผลรวมฟอสฟอรัสร้อยละ 1.86 ผลรวมโพแทสเซียมร้อยละ 0.40 จากการพิจารณาถึงคุณสมบัติและองค์ประกอบของกากตะกอนน้ำเสียจากโรงงานผลิตน้ำอัดลม จะเห็นได้ว่ากากตะกอนน้ำเสียเหล่านี้ยังคงมีปริมาณสารอินทรีย์อยู่เป็นจำนวนมาก มีปริมาณธาตุอาหารหลักต่าง ๆ เช่น ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม อยู่ในปริมาณมากพอที่จะสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในลักษณะเป็นปุ๋ยอินทรีย์บำรุงพืชได้ และจากการวิเคราะห์ชนิดและปริมาณธาตุต่างๆ ที่มีอยู่ในวัสดุเหลือใช้บางชนิด เช่น กากตะกอนน้ำเสียและ กากละหุ่ง พบว่า มีปริมาณธาตุอาหารหลักที่เป็นประโยชน์ต่อพืชในปริมาณมากพอสมควร (Sommers et al. 1976; Verasan et al.1980) ปุ๋ยมีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อเกษตร และปุ๋ยเคมีมีราคาสูง รวมทั้งหากใช้ในปริมาณมากเกินความต้องการจะมีผลทำให้คุณสมบัติของดินเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ไม่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืช การลดปัญหาเหล่านี้ทำได้โดยการนำชีวมวลเหลือทิ้งมาใช้แทนปุ๋ยเคมี ทางเลือกที่เหมาะสมในการจัดการกับชีวมวลเหลือทิ้งทางการเกษตรดังกล่าว คือ การนำมาทำ ปุ๋ยหมัก ซึ่งการทำปุ๋ยหมักนั้นมีข้อดีและประโยชน์หลายด้าน กล่าวคือ ไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อ คุณภาพน้ำและอากาศใช้พื้นที่ไม่มาก ใช้งบประมาณและค่าใช้จ่ายในการจัดการค่อนข้างต่ำ นอกจากนี้ปุ๋ยหมักที่ได้ยังสามารถนำไปใช้ปรับปรุงคุณภาพดินให้ดีขึ้น เช่น เพิ่มความร่วนและความสามารถ ในการอุ้มน้ำให้แก่ดินและยังลดปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมีได้อีกด้วย
ดังนั้น การผลิตปุ๋ยหมักจากผลผลิตเหลือทิ้งทางการเกษตรและวัสดุเหลือใช้จากโรงงาน อุตสาหกรรม จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการเพิ่มมูลค่าของผลผลิตทางการเกษตรและเป็นการลดต้นทุนทางด้านการผลิตสินค้าเพื่อการเกษตร ซึ่งสามารถตอบสนองนโยบายของรัฐบาลที่จะยกระดับให้ ครัวไทยกลายเป็นครัวของโลก เพื่อการบริโภคและปลูกพืชผักสารปลอดสารพิษและช่วยลดค่าใช้จ่ายทางด้านการจัดซื้อสารเคมี วัตถุอันตรายทางการเกษตร รวมทั้งเป็นการลดสารพิษตกค้างในดินและ สิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ยังเป็นการคืนธาตุอาหารต่าง ๆ สู่ธรรมชาติ เพื่อให้พืชนำกลับมาใช้ประโยชน์และลดปัญหาสิ่งแวดล้อมที่จะเกิดตามมา ที่สำคัญเป็นการปลูกฝังให้กับอนุชน เกษตรกรและประชาชนทั่วไปให้เข้าใจในวิชาการต่างๆ เกี่ยวกับปุ๋ยเคมีและการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ที่ถูกต้อง อันจะเป็นผลดีต่อ การเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรของประเทศต่อไป

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1. เป็นการเพิ่มมูลค่าของข้าวลีบ กากมัน เปลือกมัน ขี้เถ้าแกลบ และกากตะกอนน้ำเสีย
2. ส่งเสริมการผลิตปุ๋ยหมักจากผลผลิตเหลือทิ้งจากการเกษตรและวัสดุเหลือใช้จากโรงงาน อุตสาหกรรม ได้แก่ ข้าวลีบ กากมัน เปลือกมัน ขี้เถ้าแกลบ และกากตะกอนน้ำเสีย
3. ส่งเสริมผลผลิตทางการเกษตรที่ปลอดภัยและมีคุณภาพให้ตอบสนองความต้องการ ของผู้บริโภค ในประเทศและต่างประเทศ
4. ส่งเสริมในการเพิ่มการใช้ปัจจัยการผลิตที่ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-05-10 (751 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©