-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 306 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

แฟ้มงานวิจัย









  มทร.สุวรรณภูมิปิ๊งไอเดีย
วิจัยผักไมโครกรีนเพื่อสุขภาพ


จากกะแสความตื่นตัวด้านสุขภาพของผู้บริโภคที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทัศนะต่อสุขภาพแบบเดิมมาเป็นแนวคิดเรื่องสุขภาพองค์รวมที่ให้ความสำคัญกับกิจวัตรประจำวันในการดำเนินชีวิต โดยเฉพาะการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพ ความตื่นตัวเรื่องอาหารสุขภาพนี้เองที่ทำให้ผู้บริโภคหันมาให้ความสนใจกับการเลือกซื้อหาผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ ซึ่งถือว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัยมากที่สุด

ดังนั้นสาขาวิชาพืชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) สุวรรณภูมิ จึงได้จับกระแสรักสุขภาพดังวกล่าว โดยจัดทำโครงการศึกษาและวิจัยถึงชนิดของพืชพื้นบ้านที่เหมาะสมในการผลิตผักไมโครกรีนขึ้น

รศ.อุดมลักษณ์ มัจฉาชีพ หัวหน้าโครงการฯ กล่าวว่า ผักไมโครกรีน จัดว่าเป็นรูปแบบใหม่ในการบริโภคผักของคนไทยแต่ส่วนใหญ่เป็นไมโครกรีนจากผักต่างประเทศ ด้วยเหตุนี้คณะผู้วิจัยจึงมองว่าผักพื้นบ้านของไทยนั้น ก็สามารถนำมาปลูกในลักษณะของผักไมโครกรีนได้ เนื่องจากเป็นการปลูกผักในรูปของต้นกล้าขนาดเล็กเพาะจากเมล็ด มีขนาดยาวประมาณ 2-3 นิ้ว ลำต้นอวบและมีใบจริง 2-3 ใบ ดังนั้นผักไมโครกรีนจึงต่างจากถั่วงอกซึ่งเป็นเมล็ดที่เพิ่งงอกออกมา แต่ไมโครกรีนหมายถึงต้นกล้าที่มีการเจริญเติบโตต่อมาอีกระยะหนึ่งเป็นแหล่งของโปรตีน วิตามิน และสาร antioxidant ในรูปที่ใช้ประโยชน์ได้โดยตรงจากการบริโภค ซึ่งจุดเด่นของผักไมโครกรีน คือผลิตได้ตลอดทั้งปี ใช้ระยะเวลาสั้น ปลอดภัยจากสารเคมี จึงเป็นทางเลือกในการบริโภคผักของผู้ใส่ใจสุขภาพ และเป็นการเพิ่มมูลค่าใหักับผักพื้นบ้านอีกด้วย

สำหรับการศึกษาเพื่อหาพืชพื้นบ้านที่มีความเหมาะสมในการผลิตเป็นผักไมโครกรีน จะเลือกจากพืชพื้นบ้านที่มีเมล็ดจำนวนมาก มีเปอร์เซ็นการติดเมล็ดสูง ให้ต้นกล้ามีลักษณะน่ารับประทานและรสชาติดี นอกจากนี้ยังทำการวิเคราะห์คุณค่าทางอาหารของผักไมโครกรีนที่ได้ โดยทำการวิเคราะห์ความชื้น คาร์โบไฮเดรต โปรตีนไขมัน เส้นใย วิตามินซี และทำการวิเคราะห์หาปริมาณคลอโรฟิลล์ซึ่งผลจากการทดลอง โดยพิจารณาการงอก ความสูง และน้ำหนักของต้นกล้า ซึ่งเมล็ดที่มีการงอกสูงมากสามารถคัดเลือกได้ 3 ชนิด ได้แก่ ผักขี้หูด ผักเขียวน้อย และโสน ซึ่งลำต้นมีลักษณะอวบ ลำต้นสีขาว ใบสีเขียวสดน่ารับประทานและรสชาดดี

นอกจากผักทั้ง 3 ชนิดนี้ จะมีคุณค่าอาหารและวิตามินซีในปริมาณที่สูงแล้ว ยังมีสรรพคุณทางยาหลายประการ เช่น ผักขี้หูด ใบและต้นช่วยเจริญอาหาร ขับลม ส่วนเมล็ดใช้เป็นยาช่วยย่อย แก้ร้อนใน ลดอาการกระหายน้ำช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อให้แข็งแรง

ผักเขียวน้อย มีสรรพคุณในการยับยั้งเนื้องอกต้านเชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย ต้านการอักเสบ กระตุ้นการเจริญของเส้นผม มีเบต้าแคโรทีนสูงช่วยต้านอนุมูลอิสระ กระตุ้นการทำงานของกระเพาะอาหาร มีเส้นใยสูงและยังสร้างภูมิคุ้มกันโรคเอดส์ได้อีกด้วย

และสำหรับต้นโสน ส่วนดอกใช้เป็นยาสมานแผล ส่วนใบตำกับดินประสิวและดินสอพองพอกฝีแก้ปวด ถอนพิษส่วนลำต้นเผาแช่น้ำดื่มเพื่อขับปัสสาวะสรรพคุณครอบจักรวาลอย่างนี้ ไม่หามาลองรับประทานไม่ได้แล้ว

หากท่านใดสนใจสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ สาขาวิชาพืชศาสตร์ คณะเทคโนโลยีการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร มทร.สุวรรณภูมิ โทร. 0 3570 9103 ต่อ 6251

เกียรติยศ ศรีสกุล

ที่มา  :  แนวหน้า









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-05-10 (2260 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©