-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 221 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

แฟ้มงานวิจัย








เข็นงานประจำสู่งานวิจัย กรมส่งเสริมฯ รุกใช้ข้อมูล
การแลกเปลี่ยน-ความสามารถคิดเชิงระบบพัฒนาผลงาน

นายอนันต์ ลิลา รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เปิดเผยว่า สืบเนื่องจากกรมส่งเสริมการเกษตร มีภารกิจในการถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร การขึ้นทะเบียนเกษตรกร การส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน การช่วยเหลือและแก้ปัญหาจากการระบาดของศัตรูพืช และภัยธรรมชาติ ครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ ซึ่งการดำเนินงานส่งเสริมการเกษตร มีความแตกต่างกันทั้งในด้านสภาพพื้นที่ ภูมิอากาศ การตลาด และพฤติกรรมของเกษตรกร งานส่งเสริมการเกษตรจึงเป็นการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมเฉพาะพื้นที่และแก้ไขปัญหาของเกษตรกรตลอดเวลา

กรมส่งเสริมการเกษตร จึงมีนโยบายส่งเสริมให้เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรทุกระดับเก็บข้อมูลแลกเปลี่ยนเรียนรู้งานไปพร้อมๆ กับการปฎิบัติงาน สรุปเป็นบทเรียน และเผยแพร่บทเรียนสู่การปฏิบัติ ซึ่งถือว่าเป็นการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย (R2R: Routine to Research )

การทำวิจัยในงานประจำ เป็นกระบวนการแสวงหาความรู้ด้วยวิธีการที่เป็นระบบของผู้ปฎิบัติงานประจำในการแก้ไขปัญหางานที่ทำอยู่ และยกระดับการพัฒนางานที่รับผิดชอบ ซึ่งผลที่ได้คือการพัฒนาตนเอง พัฒนางาน และพัฒนาองค์กร

สำหรับการผลักดันให้เจ้าหน้าที่พัฒนางานประจำสู่งานวิจัยในปี 2553 นั้น กรมส่งเสริมการเกษตรได้ดำเนินการจัดทีมพี่เลี้ยงให้แก่เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรในส่วนกลาง จำนวน 60 คน ในทุกสาขางานที่ปฎิบัติ โดยจัด work shop ให้แก่เจ้าหน้าที่กลุ่มเป้าหมาย 3 ครั้งหลัก ประกอบด้วย 1.การสร้างความรู้ ความเข้าใจ เรื่อง R2R การพัฒนาโจทย์วิจัย การวางแผนงานวิจัยของงานในแต่ละสาขา 2.การพิจารณาร่างโครงงานวิจัย การวิเคราะห์และการสรุปบทเรียนร่วมกัน 3.การสรุปผลการวิจัย และนำผลงานวิจัยสู่การปฏิบัติ การดำเนินงานขณะนี้ อยู่ในขั้นตอนการวางแผนงานวิจัยของแต่ละหน่วยงาน โดยมีหัวข้องานวิจัยที่น่าสนใจ อาทิ การศึกษาความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการผลิตชา ต่อผลกระทบกับอาฟต้า , การเพิ่มประสิทธิภาพห้องปฏิบัติการ การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื้อพืช เป็นต้น


ที่มา  :  แนวหน้า









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-05-10 (746 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©