-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 314 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

แฟ้มงานวิจัย








จุลินทรีย์...ท้าสู้


โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เอกชัย ชูเกียรติโรจน์

ใครเลยจะนึกว่าจุลินทรีย์ซึ่งเป็นสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก จะมีความสามารถในการต่อกรกับสิ่งมีชีวิตขนาดใหญ่ เช่น สัตว์ ในฐานะของคู่ต่อสู้ในการแย่งชิงอาหารสำหรับการดำรงชีวิตได้ จากรายงานการวิจัยของ ศาสตราจารย์มาร์ก เฮย์ (Mark Hay) และทีมงาน ซึ่งได้รับการตีพิมพ์ลงในวารสาร Ecology ฉบับที่ 87 พ.ศ. 2549 พบว่า จุลินทรีย์อาจจะเป็นคู่ปรับที่สำคัญสำหรับสิ่งมีชีวิตในกลุ่มสัตว์ โดยเฉพาะพวกที่ดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยการบริโภคซากของสิ่งมีชีวิตชนิด อื่น โดยการผลิตสารเคมีที่มีกลิ่นรุนแรงไปรบกวนหรือ ขัดขวางผู้บริโภคอื่นๆ จากแหล่งอาหารสำคัญ อาทิ เนื้อสัตว์ เมล็ดธัญพืช และผลไม้ บทบาทของจุลินทรีย์ในระบบนิเวศ ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตแต่ละกลุ่มในระบบนิเวศ จะ มีความซับซ้อนแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับความหลากหลายของกลุ่มสิ่งมีชีวิตที่ปรากฏ ตลอดจนสภาพแวดล้อมโดยทั่วไปกลุ่มของสิ่งมีชีวิตจะมีบทบาทและความสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องกัน ดังจะเห็นได้จากความสัมพันธ์ในเรื่องของสายใยอาหาร โดยนักนิเวศวิทยาสามารถแบ่งกลุ่มของสิ่งมีชีวิตตามบทบาทของการถ่ายทอดพลังงานในสายใยอาหาร เป็น ผู้ผลิต (producer) ผู้บริโภค (consumer) และ ผู้ย่อยสลายอินทรียสาร (decomposer หรือ scavenger) สำหรับความสัมพันธ์ของกลุ่มสิ่งมีชีวิตที่อาศัยร่วมกันใน ระบบนิเวศอาจจะเป็นไปในลักษณะที่ส่งเสริมกัน หรือต้องแข่งขันกัน (ในเรื่องของปัจจัยอาหาร และสถานที่อยู่) ทั้งนี้ความสัมพันธ์ดังกล่าวจะเห็นได้ชัดเจนในกลุ่มสิ่งมีชีวิต ขนาดใหญ่ เช่น พืช และสัตว์ สำหรับจุลินทรีย์ บทบาทที่สำคัญในระบบนิเวศได้แก่การเป็นผู้ย่อยสลายอินทรียสาร ช่วยให้ซากอินทรีย์เน่าเปื่อย ไม่เกิดการสะสม และที่สำคัญคือทำให้เกิดการหมุนเวียน ของธาตุและสารอาหารในระบบนิเวศ

นอกจากนี้ จุลินทรีย์อาจจะเป็นผู้ผลิตที่สำคัญ เช่น กลุ่มไซยาโนแบคทีเรีย (cyanobacteria) โดยที่บทบาทของจุลินทรีย์ในฐานะผู้บริโภคมักจะถูกมองข้ามไป หรือคิดว่าไม่สำคัญ หรือแม้กระทั่งไม่น่าจะเป็นไปได้สำหรับสิ่งมีชีวิตในกลุ่มนี้ และนั่นคือที่มาของการศึกษาวิจัยครั้งนี้ โดยศาสตราจารย์เฮย์ ได้เปิดประเด็นในแง่ที่ว่า กลุ่มจุลินทรีย์ที่มีความสามารถในการครอบครองและป้องกันแหล่งอาหารจากสิ่งมีชีวิตกลุ่มอื่นๆ ได้ จะมีข้อได้เปรียบกว่ากลุ่มจุลินทรีย์ที่ไม่มีความสามารถดังกล่าว ศาสตราจารย์เฮย์ยังได้กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า ถ้าจุลินทรีย์สามารถผลิตสารเคมีที่ใช้ขับไล่สัตว์อื่น เช่น พวกปูหรือปลา จากแหล่งอาหารของมันได้

พวกจุลินทรีย์ เหล่านี้ก็สามารถที่จะใช้แหล่งอาหารนี้ได้อย่างเต็มที่ เพื่อ การเจริญเติบโตและขยายพันธุ์ จุลินทรีย์ในบทบาทของผู้บริโภค อย่างไรก็ตาม สมมติฐานที่ว่าจุลินทรีย์อาจจะมีความสัมพันธ์กับกลุ่มสิ่งมีชีวิตอื่นในลักษณะที่เป็นการแข่งขันเพื่อแย่งชิงปัจจัยอาหารนั้น ไม่ใช่แนวความคิดใหม่ทีเดียวนัก โดยใน พ.ศ.2520 นักนิเวศวิทยา ชื่อ แดน แจนเซน (Dan Janzen) ได้เสนอแนวความคิดที่ว่า จุลินทรีย์ที่ทำให้ผลไม้หรือเนื้อเน่านั้น จะทำให้เกิดกลิ่นเหม็นที่รุนแรง และมีผลกระทบต่อสัตว์อื่น เพื่อประโยชน์ของกลุ่มจุลินทรีย์เอง โดยที่จุลินทรีย์สามารถยึดครอง แพร่จำนวน และ ใช้แหล่งอาหารเหล่านี้โดยไม่มีการรบกวนจากกลุ่มสิ่งมีชีวิตอื่น การทดลองของศาสตราจารย์เฮย์ เพื่อที่จะทดสอบแนวความคิดดังกล่าว

ศาสตราจารย์เฮย์และคณะได้ออกแบบการทดลองโดยใช้เนื้อปลาเมนแฮเดน (menhaden) ซึ่งปลาชนิดนี้โดยทั่วไปนิยมใช้เป็นเหยื่อสำหรับตกปู หรือปลาขนาดใหญ่ เป็นเหยื่อล่อวางในกรงเพื่อใช้ดักจับสัตว์น้ำ เช่น ปู ปลา และหอยทาก โดยที่เหยื่อปลาเมนแฮเดนนั้นจะใช้ในลักษณะของเนื้อสด (มีจำนวนจุลินทรีย์อยู่น้อย) และในแบบของเนื้อที่ปล่อยให้เน่าตามธรรมชาติในกระแสน้ำเป็นเวลาหนึ่ง และสองวัน (ซึ่งจะมีการครอบครองของจุลินทรีย์อยู่) โดยในการทดลองขั้นแรก คณะผู้วิจัยได้เลือกทดสอบในแหล่งหนองน้ำธรรมชาติใกล้ กับเกาะ สกิดอะเวย์ รัฐจอร์เจีย

จากผลการทดลองแสดงให้เห็นถึงพฤติกรรมการเลือกบริโภคเหยื่อของสัตว์น้ำที่จับได้พบว่า สัตว์ส่วนใหญ่เลือกที่จะกินเหยื่อปลาเมนแฮเดนสด มากกว่าเหยื่อที่ปล่อยให้เน่าแล้ว ทั้งนี้โดยสังเกตจากจำนวนของสัตว์น้ำที่ดักจับได้ ในกรงที่ใส่เหยื่อปลาเมนแฮเดนทั้งสองแบบ โดยที่จำนวนของสัตว์น้ำโดยเฉลี่ยที่จับได้ในกรงที่ใส่เหยื่อแบบสดจะมีจำนวนมากกว่าที่พบในกรงที่ใส่เหยื่อที่ปล่อยให้เน่าแล้ว คิดเป็น 2.6 เท่า

นอกจากนี้ ทีมวิจัยได้ตรวจสอบถึงชนิดและจำนวนของสัตว์ที่เข้ามากินเหยื่อพบว่า จากจำนวนสัตว์ทั้งหมดที่จับได้ 339 ตัว เป็น ปูประมาณ 74 เปอร์เซ็นต์ ปลาประมาณ 15 เปอร์เซ็นต์ และหอยทากประมาณ 12 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งทางทีมวิจัยได้ให้ข้อสังเกตว่า กลุ่มของสัตว์ที่จับได้ดังกล่าวเป็นพวกที่ใช้ระบบประสาทที่เกี่ยวข้องกับ การรับกลิ่นในการเสาะหาแหล่งอาหาร จากนั้น ทีมวิจัยได้คัดเลือกปูหิน (stone crab) สำหรับทำการทดลองเพิ่มเติมในห้องปฏิบัติการ ซึ่งผลที่ได้ก็คล้ายคลึงกับผลการทดลองในตอนแรก

กล่าวคือ ปูหินยังคงเลือกที่จะกินเหยื่อแบบสดมากกว่า และถึงแม้ว่าในการทดลองที่มีเพียงเหยื่อที่เน่าแล้วเพียงอย่างเดียว ปูหินก็หลีกเลี่ยงที่จะกินอาหารดังกล่าว นอกจากนี้ คณะผู้วิจัยได้ศึกษาลงในรายละเอียดว่า หากมีการลดจำนวนของจุลินทรีย์ลง จะมีผลให้พฤติกรรมในการบริโภคดังกล่าวเปลี่ยนแปลงไปหรือไม่ โดยทีมวิจัยได้ทดลองใช้เหยื่อปลาเมนแฮเดนที่ปล่อยให้เน่าแบบเดิม เป็นเวลาสองวัน เปรียบเทียบกับเหยื่อที่ปล่อยให้เน่า แต่ว่ามีการใส่ยาปฏิชีวนะ คลอแรมเฟนิคอล (chloramphenicol) ลงไปด้วย

จากผลการทดลองพบว่าปูหินเลือกที่จะกินเหยื่อสด และเหยื่อเน่าที่มีการผสมยาปฏิชีวนะลงไปด้วย แต่ไม่กินเหยื่อเน่าที่ไม่ได้มีการผสมยา สำหรับการทดลองต่อมา ทีมวิจัยได้ทดลองสกัดสารเคมีจากเหยื่อที่เน่า
จากการวิเคราะห์พบว่าองค์ประกอบเป็นสารประกอบพวกเอสเทอร์ของกรดไขมัน ซึ่งสารเคมีกลุ่มนี้หากมีปริมาณมากมักจะทำให้อาหารมีกลิ่นเหม็นหืน ทำให้สัตว์หลายๆ ชนิดไม่ชอบและหลีกเลี่ยง จากการค้นพบองค์ประกอบของสารสกัดดังกล่าวน่าจะเป็นสิ่งที่ใช้อธิบายปรากฏการณ์ดังกล่าวได้ อย่างไรก็ตามทางทีมวิจัยพบว่า เมื่อนำสารสกัดดังกล่าวมาทดสอบโดยตรงกับเหยื่อแล้วสังเกตพฤติกรรมในการบริโภค

พบว่าการใช้สารสกัดนั้นไม่มีผล ต่อพฤติกรรมการบริโภคของปูหิน ถึงกระนั้นก็ตาม ทีมวิจัยยังเชื่อมั่นว่าการที่สัตว์ (ในกรณีนี้คือปูหิน) มีพฤติกรรมการบริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป คือไม่เลือกกินเหยื่อที่เน่านั้น เป็นผลมาจากสารเคมีที่จุลินทรีย์ผลิตขึ้น แต่ทั้งนี้เนื่องจากอาจมีข้อผิดพลาดจากวิธีการสกัด การเสื่อมสลายของสารเคมีในระหว่างการสกัด หรือแม้กระทั่งปริมาณของสารเคมีที่สกัดได้มีน้อยมากจนไม่สามารถตรวจสอบได้ จุลินทรีย์เป็นกลุ่มสิ่งมีชีวิตที่พบได้ทั่วไป และเป็นกลุ่มที่สำคัญในระบบนิเวศ ข้อมูลที่ได้จากการค้นพบครั้งนี้เป็น การชี้ให้เห็นถึงบทบาทและความสัมพันธ์ของจุลินทรีย์ในฐานะผู้แข่งขันกับกลุ่มสิ่งมีชีวิตพวกสัตว์ ในเรื่องของการครอบครองแหล่งอาหารในสายใยอาหาร ผลที่ได้จากการทดลองในครั้งนี้อาจจะช่วยให้นักวิทยาศาสตร์เปลี่ยนทัศนคติสำหรับบทบาทและความสัมพันธ์ของจุลินทรีย์ใหม่ หลังจากที่เคยสรุปว่าจุลินทรีย์มีบทบาทในฐานะเพียงผู้ย่อยสลายอินทรียสารเท่านั้น


แปลและเรียบเรียงจาก
Burkepile, D.E. et al. (2006) Chemically mediated competition between microbes and animals: microbes as consumers in food webs. Ecology 87: 2821-2831.
 
  









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-05-10 (769 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©