-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 318 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

แฟ้มงานวิจัย






เทคโนโลยีชีวภาพกล้วยไม้
Orchid Biotechnology



งานวิจัยที่ดำเนินการโดยศูนย์วิทยาการกล้วยไม้ ซึ่งเป็นศูนย์ความเป็นเลิศ ในสังกัดของ คณะเกษตร กำแพงแสน มีการดำเนินการในเรื่องต่างๆ ดังต่อไปนี้



1. การสร้างดีเอ็นเอเครื่องหมายชนิดไมโครแซทเทลไลท์ของกล้วยไม้สกุลหวาย
เทคโนโลยีดีเอ็นเอเครื่องหมาย (DNA Marker) เป็นเทคโนโลยีที่สามารถนำมาใช้ในการหาเอกลักษณ์พันธุกรรมของพืช (DNA Profiling) หรือนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการติดตามตำแหน่งของยีน ได้อย่างรวดเร็ว แม่นยำ ทางโครงการได้สร้างดีเอ็นเอเครื่องหมายชนิดไมโครแซทเทลไลท์ (microsatellite) ของกล้วยไม้สกุลหวาย (Dendrobium) จากกล้วยไม้พันธุ์บอมโจ จำนวน 106 เครื่องหมาย



2. การศึกษาความหลากหลายของกล้วยไม้สกุลหวายพันธุ์การค้า
การนำดีเอ็นเอเครื่องหมายชนิด ไมโครแซทเทลไลท์ ไปใช้ในการหาความสัมพันธ์ระหว่างกล้วยไม้สกุลหวายต่างๆ ตรวจสอบพันธุประวัติ ของ สายพันธุ์พ่อ แม่  และ สายพันธุ์การค้าของกล้วยไม้ในสกุลนี้ และเพื่อใช้ในการสร้างฐานข้อมูลของกล้วยไม้สกุลหวายที่สำคัญของประเทศไทย เพื่อใช้ประโยชน์สำหรับการปรับปรุงพันธุ์ในอนาคต



3. การศึกษาปริมาณดีเอ็นเอ และจำนวนชุดโครโมโซมของกล้วยไม้
เครื่องโฟล ไซโตมิเตอร์ (Flow Cytometer) เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการตรวจวัดปริมาณดีเอ็นเอในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตต่างๆ โดยการใช้เนื้อเยื่อจากใบอ่อน ดอก ราก เป็นต้น ใช้เนื้อเยื่อน้อยกว่า 1 กรัมมาตัดให้เป็นชิ้นเล็กๆ เพื่อเป็นการปลดปล่อยนิวเคลียสออกจากเซลล์จากนั้นนำนิวเคลียสไปย้อมด้วยสารเคมีเรืองแสง และนำไปผ่านเครื่องโฟล ไซโตมิเตอร์เพื่ออ่านปริมาณแสงของแต่ละนิวเคลียส พืชที่มีปริมาณดีเอ็นเอมาก เช่น กล้วยไม้ที่เป็นเตตระพลอยด์ (4N) ก็จะมีปริมาณดีเอ็นเอเป็น 2 เท่าของกล้วยไม้ที่เป็นดิพลอยด์ (2N) สามารถจะตรวจวัดได้โดยใช้เครื่องโฟลไซโตมิเตอร์นี้อย่างรวดเร็ว



4. การสร้างแผนที่โครโมโซมของกล้วยไม้สกุลหวาย
การศึกษาความสัมพันธ์ด้านพันธุกรรมของดีเอ็นเอเครื่องหมายที่ได้จัดสร้างขึ้น จำนวน 106 เครื่องหมาย และดีเอ็นเอเครื่องหมายชนิดไมโครแซทเทลไลท์ จากข้อมูลสาธารณะ จำนวน 22 เครื่องหมาย มาใช้ในการสร้างแผนที่โครโมโซม โดยศึกษากระจายตัวของดีเอ็นเอเครื่องหมายในประชากรกล้วยไม้สกุลหวายลูกผสมจำนวน 224 ต้น มาวิเคราะห์ความสัมพันธ์เพื่อสร้างกลุ่มลิงค์เกจ ที่ค่า LOD 4.0 สามารถสร้างเป็นกลุ่มลิงค์เกจได้ทั้งหมด 7 กลุ่ม มีจำนวนดีเอ็นเอเครื่องหมาย 23 เครื่องหมาย ครอบคลุมระยะทางพันธุกรรม 309.7 cM และปัจจุบันกำลังเพิ่มจำนวนดีเอ็นเอเครื่องหมายเพื่อให้แผนที่มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น



5. การศึกษาจีโนมเปรียบเทียบของกล้วยไม้และพืชใบเลี้ยงเดี่ยวอื่นๆ
การวางแผนที่โครโมโซมเป็นพื้นฐานในการศึกษาจีโนมของกล้วยไม้ เป็นพื้นฐานในการศึกษาเชื่อมโยงระหว่างยีน และลักษณะแสดงออก (Phenotype) อีกทั้งเป็นการเชื่อมโยงข้อมูลจีโนมิกส์ และ ทรานสคริปโตมิกส์ ที่จะเกิดขึ้นในเวลาอันใกล้ การใช้ประโยชน์จากข้อมูลจีโนมจากพืชใบเลี้ยงเดี่ยวที่อยู่ต่างวงศ์ และสกุลกับกล้วยไม้หวายจะทำให้สามารถศึกษาพันธุกรรมของกล้วยไม้หวายได้อย่างรวดเร็ว ปัจจุบันทางโครงการได้มีการศึกษาเปรียบเทียบกล้วยไม้กับพืชใบเลี้ยงเดี่ยวอื่น เช่น ข้าว ที่มีข้อมูลมากทั้งในระดับยีน หรือในระดับการสดงออกของยีน ซึ่งคาดว่าจะนำมาใช้ประโยชน์ในการศึกษากล้วยไม้หวายต่อไป





ที่มา  :  รศ.ดร. จุลภาค คุ้นวงศ์  ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร กำแพงแสน  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-05-10 (836 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©