-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 189 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

แฟ้มงานวิจัย








 

การศึกษาและทดสอบระบบเกษตรกรรมทางเลือก:
การผลิตพืชโดยใช้วิทยาการทดแทนสารเคมีในการผลิตพืชผักตระกูลกะหล่ำปลี
Feasibility Study of Alternative Agricultural System :
Plant Production by Avoiding the Usage of Agro-Chemical in Brassica Vegetables


ดร.อรพิน เกิดชูชื่น  (หัวหน้าโครงการ)
Orapin Kerdchoechuen. (Lecturer)
อ.ณัฎฐา เลาหกุลจิตต์
Nutta Laohakunjit. (Lecturer)
รศ.บุษยา บุนนาค
Boosya Bunnag. (Assoc. Prof.)
สายวิชาการจัดการทรัพยากรชีวภาพ
คณะทรัพยากรชีวภาพและเทคโนโลยี


 

ความสำคัญและที่มาของการวิจัย

ในช่วงระยะ 30 ปีที่ผ่านมา ตั้งแต่เริ่มมีการใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ การเกษตรของประเทศไทยได้ถูกผลักดันเข้าสู่ระบบเกษตรกรรมแผนใหม่ ซึ่งเน้นเป้าหมายไปที่ระบบธุรกิจการค้าสนับสนุนการปลูกพืชเศรษฐกิจเชิงเดี่ยวเป็นหลักมีการนำเอาเทคโนโลยีทางการเกษตรใหม่ ๆ เข้ามาใช้แทนแรงงานคนและแรงงานสัตว์ อีกทั้งมีการนำเข้าปุ๋ยเคมีและสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชเข้ามาใช้อย่างแพร่หลาย เพื่อเป้าหมายในการเพิ่มผลผลิตตอบสนองความต้องการของตลาด และเพิ่มรายได้จากการส่งออกสินค้าเกษตรนั้น แต่เป็นที่น่าเสียดายว่า ในขณะที่การพัฒนาการเกษตรดำเนินไปอย่างรวดเร็วภายใต้อิทธิพลของระบบเกษตรกรรมแผนใหม่ ได้ก่อให้เกิดปัญหาความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ดังเช่น มีการสูญเสียพื้นที่ป่าไม้เป็นจำนวนมาก ซึ่งนำให้เกิดปัญหาฝนแล้ง น้ำท่วม แผ่นดินถล่ม เกิดปัญหาการเสื่อมโทรมของความอุดมสมบูรณ์ของดิน ปัญหาสารเคมีตกค้างในสิ่งแวดล้อม เกิดผลกระทบต่อระบบนิเวศ ปัญหาความยากจนและหนี้สิน ปัญหาความล้มเหลวของชุมชนและระบบวัฒนธรรมรวมทั้งเกิดผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของเกษตกรและของผู้บริโภค อารันต์ พัฒโนทัยได้สรุปปัญหาซึ่งเป็นผลมาจากระบบเกษตรกรรมในช่วงที่ผ่านมาได้เป็น 3 หัวข้อใหญ่ ๆ ดังนี้
  1. การเสื่อมโทรมและสูญเสียของทรัพยากรธรรมชาติ ได้แก่ การเสื่อมโทรมของดิน การลดลงของปริมาณน้ำ การสูญเสียป่าไม้ การสูญเสียแหล่งพันธุกรรม การสูญเสียแหล่งพลังงาน
  2. สารเคมีที่ใช้ในการเกษตรก่อให้เกิดมลพิษต่อสภาพแวดล้อม
  3. การเกษตรสมัยใหม่ทำลายสังคมชนบท
ซึ่งโดยสรุปแล้วสาเหตุที่ทำให้เกษตรกรส่วนใหญ่ใช้วิธีปฏิบัติที่ส่งผลเสียต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นเพราะสถานการณ์ชักจูงหรือบีบบังคับสถานการณ์นั้นได้แก่ ความไม่รู้ถึงผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมการใช้เทคโนโลยีที่ไม่เหมาะสม (อาจมาจากคำแนะนำที่ไม่เหมาะสมหรือมีการใช้ปัจจัยบางอย่างเกินอัตรา)ทรัพยากรไม่เพียงพอที่จะใช้วิธีการปฏิบัติที่เหมาะสม รวมทั้งนโยบายของรัฐบาล เป็นต้น ดังนั้นจึงเกิดแนวคิดในการพัฒนาระบบการเกษตรไปในแนวทางใหม่ คือ ระบบเกษตรกรรมทางเลือกที่มีการปรับรูปแบบการผลิตให้สอดคล้องและฟื้นฟูระบบนิเวศใช้ปัจจัยการผลิตต่ำ หลีกเลี่ยงหรือเลิกใช้สารเคมีทางการเกษตร ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม และไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม อนชาติ พวงสำลี, พีระพัฒน์ โกศลศักดิ์สกุล และวีรบูรณ์ วิสารทสกุล ได้สรุปถึงหลักการต่าง ๆ ของระบบเกษตรกรทางเลือก ดังนี้คือ
  1. ระบบเกษตรกรรมทางเลือกดำเนินงานโดยใช้ทรัพยากรภายในไร่นาอย่างมีประสิทธิภาพ มีรูปแบบการผลิตและการจัดการหมุนเวียนทรัพยากรได้อย่างสมดุล โดยหลีกเลี่ยงการใช้ทรัพยากรจากภายนอก
  2. ให้ความสำคัญอย่างสูงต่อดินเพื่อประโยชน์ที่ยั่งยืน การรักษาดินนั้นหมายถึง การป้องกันมิให้มีการใช้ประโยชน์จากดินจนเกินความสามารถตามธรรมชาติของดิน และเกินระดับความสามารถในการจัดการของเกษตรกรที่จะฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ขึ้นมาใหม่ได้
  3. ป้องกันมลภาวะที่เกิดเนื่องจากวิธีการทำการเกษตร เกษตรกรรมทางเลือกจะงดเว้นการใช้ปุ๋ยเคมี สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ฮอร์โมน กระตุ้นการเจริญเติบโต และสารเคมีอื่น ๆโดยสิ้นเชิง โดยหันมาใชัพันธุ์พืชพันธุ์สัตว์ที่ต้านทานโรคและแมลงได้ดี การใช้สมุนไพรควบคุมแมลง การควบคุมศัตรูพืชโดยใช้ชีววิธี เป็นต้น
  4. เกษตรกรรมทางเลือก มุ่งผลิตอาหารที่มีคุณภาพทางโภชนาการ มีธาตุอาหารครบถ้วนในปริมาณที่พอเพียงต่อความต้องการ โดยมีเป้าหมายการผลิตที่มิได้เน้นที่ปริมาณผลผลิตแต่เพียงอย่างเดียวดังเช่นในระบบเกษตรกรรมแผนใหม่ที่กำลังดำเนินอยู่ในการเกษตรกระแสหลัก แต่เน้นที่คุณภาพในทางโภชนาการของผลผลิต ซึ่งถือเป็นคุณภาพที่แท้จริงของอาหาร
โดยในปัจจุบันระบบการเกษตรที่จัดอยู่ในระบบเกษตรกรรมทางเลือกมีด้วยกัน 3 ประเภท คือ
  1. การเกษตรแบบผสมผสาน หมายถึงระบบการเกษตรที่มีการปลูกพืชและ/หรือมีการเลี้ยงสัตว์หลายชนิดในพื้นที่เดียวกันโดยกิจกรรมการผลิตแต่ละชนิดสามารถเกื้อกูลประโยชน์ต่อกันได้อย่างมีประสิทธิภาพมีการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในไร่นา เช่น ดิน น้ำ แสงแดด อย่างเหมาะสม และเกิดประโยชน์สูงสุด มีความสมดุลย์ของสภาพแวดล้อมอย่างต่อเนื่องและเกิดผลในการเพิ่มพูนความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่ม คือ
    1. การปลูกพืชแบบผสมผสาน
    2. การผสมผสานการเลี้ยงสัตว์
    3. การปลูกพืชผสมผสานกับการเลี้ยงสัตว์
  2. เกษตรกรรมธรรมชาติ เป็นระบบเกษตรกรรมแบบไม่กระทำ ลดการแทรกแซงของมนุษย์ แสวงหาและกระทำเพียงสิ่งที่จำเป็นต่อการเกษตรเท่านั้น ปรับรูปแบบการเกษตรให้สอดคล้องกับระบบนิเวศและธรรมชาติ และไม่นำพาปัจจัยการผลิตจากภายนอกฟาร์มมาใช้ ได้รับการพัฒนาและเผยแพร่โดย นายมาซาโนบุ ฟูกูโอกะ นักเกษตรกรรมชาติชาวญี่ปุ่น โดยมีหลักการที่สำคัญ 4 ประการคือ
    1. ไม่ไถพรวนดิน
    2. งดเว้นการใส่ปุ๋ยบางชนิด
    3. ไม่กำจัดวัชพืช
    4. ไม่กำจัดโรคและแมลงศัตรูพืช
  3. เกษตรกรรมอินทรีย์ เป็นระบบการผลิตทางการเกษตรที่หลีกเลี่ยงการใช้ปุ๋ยเคมีสังเคราะห์ สารเคมีกำจัดศัตรูพืชและ ฮอร์โมนกระตุ้นการเจริญเติบโตของพืชและสัตว์ แต่อาศัยการปลูกพืชหมุนเวียน เศษซากพืช มูลสัตว์ พืชตระกูลถั่ว ปุ๋ยพืชสด เศษซากเหลือทิ้งต่าง ๆ การใช้ธาตุอาหารจากการผุพังของหิน แร่ รวมทั้งใช้หลักการควบคุมศัตรูพืชโดยชีววิธี ทั้งนี้เพื่อรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดินให้เป็นแหล่งอาหารของพืช รวมทั้งเป็นการควบคุมศัตรูพืชต่าง ๆ เช่น แมลง โรค และวัชพืช เป็นต้น
สำหรับเบื้องต้นของการศึกษา พืชผักที่สนใจและเป็นเป้าหมายในการทดสอบระบบการผลิตพืชโดยใช้วิทยาการทดแทนสารเคมี คือ ผักในตระกูลกะหล่ำ ได้แก่ ผักกาดขาว กะหล่ำปลี และ/หรือผักกาดกวางตุ้ง การผลิตพืชผักในตระกูลนี้มีรายละเอียดคล้ายกัน แต่ผักกาดขาว (Chinese Cabbage : Brassica campestris ssp. Pekinenis) มีการผลิตที่แตกต่างจากผักกาดชนิดอื่น ซึ่งเมืองทอง ทวนทวี และ สุรีรัตน์ ปัญญาโตนะ ทวนทวี ได้ให้รายละเอียดเกี่ยวกับพืชผักชนิดพันธุ์นี้ ไว้ดังนี้ ผักกาดขาว (Chinese Cabbage : Brassica campestris ssp. Pekinenis) เป็นผักประเภทรับประทานใบจัดอยู่ใน Family Cruciferae มีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชีย บริเวณประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ขนาดโดยทั่วไปต้นสูงประมาณ 25-45 เซนติเมตร ชนิดที่เข้าปลีกลมแน่น น้ำหนักเฉลี่ยหัวละ 1.8-2.2 กิโลกรัม สำหรับในประเทศไทยสามารถปลูกได้ตลอดปี แต่ปลูกได้ผลดีที่สุดในช่วงเดือนตุลาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์อุณหภูมิที่เหมาะสมอยู่ในช่วง 15-22 องศาเซลเซียส สำหรับพันธุ์ที่เข้าปลี ส่วนพันธุ์ที่ไม่ห่อปลีสามารถปลูกได้ที่อุณหภูมิสูงกว่านี้ ซึ่งสามารถแบ่งจำแนกตามลักษณะการเข้าปลีได้ 3 ชนิด คือ
  1. ชนิดที่เข้าปลีกลมแน่น ลักษณะปลีเป็นทรงสั้น อ้วนกลม จัดเป็น B. campestris var. cephalata ได้แก่พันธุ์ Saladia hybrid พันธุ์ Tropical pride hybrid
  2. ชนิดที่เข้าปลียาว (ผักกาดหางหงส์) ลักษณะปลีเป็นทรงสูง จัดเป็น B. campestris var. cylindrica ได้แก่ พันธุ์ Tropicana hybrid พันธุ์ W-R Crusader hybrid
  3. ชนิดที่เข้าปลีหลวม หรือไม่ห่อปลี จัดเป็น B. campestris var. laxa เหมาะสำหรับปลูกในเขตที่มีอุณหภูมิสูง ฝนชุก เช่น พันธุ์ผักกาดขาวที่ปลูกทั่วไป เช่น ผักกาดขาวใหญ่ ผักกาดขาวธรรมดา

วัตถุประสงค์ของโครงการ

  1. เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้สารเคมีทางการเกษตรของเกษตรกรผู้ปลูกผักในเขตอำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี
  2. เพื่อทดสอบระบบการผลิตพืชผักโดยใช้วิทยาการทดแทนสารเคมี ในเงื่อนไขของความเป็นไปได้ และความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ เมื่อเปรียบเทียบกับการผลิตผักตามสภาพปกติของเกษตรกร
  3. เพื่อเป็นการกระตุ้น และสร้างแนวคิดให้เกษตรกรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการผลิต เพื่อลดการพึ่งพาสารเคมีทางการเกษตร โดยใช้ปัจจัยการผลิตจากธรรมชาติมาทดแทน

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัย

  1. ทำให้ทราบถึงข้อมูลพื้นฐานการผลิตพืชผักตระกูลกะหล่ำบางชนิดของเกษตรกรในเขตอำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี
  2. เป็นการประเมินผลความเป็นไปได้ในการผลิตพืชผักตระกูลกะหล่ำโดยไม่ใช้สารเคมีทางการเกษตร
  3. ช่วยให้เกิดการกระตุ้น และเป็นแรงสนับสนุนให้เกษตรกร ปรับเปลี่ยนระบบการผลิตไปในทางที่เป็นประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อม
 









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-05-10 (653 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©